รับใช้พระคริสต์องค์มหากษัตริย์อย่างภักดี
รับใช้พระคริสต์องค์มหากษัตริย์อย่างภักดี
“ผู้นั้นได้รับมอบรัช, และเกียรติยศและอาณาจักร, เพื่อทุกประเทศทุกชาติทุกภาษาจะได้ปฏิบัติท่าน.”—ดานิเอล 7:14.
1, 2. เราทราบได้อย่างไรว่าพระคริสต์ไม่ได้รับมอบอำนาจราชอาณาจักรอย่างครบถ้วนในปี ส.ศ. 33?
ใครคือผู้ปกครองที่สามารถตายเพื่อราษฎรของเขา แต่ก็ยังกลับมามีชีวิตอีกเพื่อปกครองในฐานะกษัตริย์? ใครคือกษัตริย์ที่สามารถมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลก, สร้างความไว้วางใจและความภักดีในหมู่ราษฎร, และแล้วก็ปกครองจากสวรรค์? ผู้เดียวที่ทำได้อย่างนี้—และทำมากกว่านี้อีก—ก็คือพระเยซูคริสต์. (ลูกา 1:32, 33) ในวันเพนเทคอสต์ปีสากลศักราช 33 หลังจากพระคริสต์สิ้นพระชนม์, คืนพระชนม์, และเสด็จสู่สวรรค์ พระเจ้า “ทรงตั้งพระองค์เป็นประมุขเหนือทุกสิ่งเพื่อประชาคม.” (เอเฟโซ 1:20-22, ล.ม.; กิจการ 2:32-36) พระคริสต์จึงทรงเริ่มปกครองในลักษณะนี้เอง แต่เป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วน. คนกลุ่มแรกที่อยู่ใต้การปกครองของพระองค์ได้แก่เหล่าคริสเตียนผู้ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณ ซึ่งประกอบกันเป็นชาติอิสราเอลฝ่ายวิญญาณหรือ “ชาติอิสราเอลของพระเจ้า.”—ฆะลาเตีย 6:16, ล.ม.; โกโลซาย 1:13.
2 ผ่านไปเกือบ 30 ปีนับตั้งแต่วันเพนเทคอสต์ปี ส.ศ. 33 อัครสาวกเปาโลยืนยันว่าพระคริสต์ยังไม่ได้รับมอบอำนาจราชอาณาจักรอย่างเต็มที่ แต่พระองค์ทรงอยู่ “เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า, ตั้งแต่นี้ไปพระองค์คอยอยู่จนถึงบรรดาศัตรูของพระองค์จะถูกปราบลงเป็นที่รองพระบาทของพระองค์.” (เฮ็บราย 10:12, 13) ต่อมา เมื่อใกล้สิ้นศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช อัครสาวกโยฮันผู้สูงวัยเห็นภาพล่วงหน้าในนิมิตเกี่ยวกับสากลบรมเดชานุภาพว่าพระยะโฮวากำลังแต่งตั้งพระคริสต์เยซูให้ดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ที่เพิ่งก่อกำเนิด. (วิวรณ์ 11:15; 12:1-5) จากมุมมองของเรา ณ เวลานี้ในประวัติศาสตร์ เราสามารถทบทวนหลักฐานที่ให้ข้อสรุปอย่างชัดเจนซึ่งยืนยันว่าพระคริสต์ทรงเริ่มปกครองเป็นกษัตริย์มาซีฮาที่สวรรค์ในปี 1914. *
3. (ก) ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรมีแง่มุมใหม่อะไรเพิ่มเข้ามานับตั้งแต่ปี 1914? (ข) เราอาจถามตัวเราเองเช่นไร?
3 นับตั้งแต่ปี 1914 ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรมีแง่มุมที่น่าตื่นเต้นอีกอย่างหนึ่งเพิ่มเข้ามา. พระคริสต์ทรงขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้าและใช้อำนาจของพระองค์จริง ๆ แม้ว่าเป็นการปกครอง “ท่ามกลางศัตรู.” (บทเพลงสรรเสริญ 110:1, 2; มัดธาย 24:14; วิวรณ์ 12:7-12) นอกจากนั้น ตลอดทั่วโลก ราษฎรที่ภักดีของพระองค์กำลังตอบรับอย่างกระตือรือร้นต่ออำนาจของพระองค์โดยร่วมในโครงการสอนคัมภีร์ไบเบิลทั่วโลกซึ่งไม่มีโครงการใดในประวัติศาสตร์มนุษย์จะเทียบได้. (ดานิเอล 7:13, 14; มัดธาย 28:18) คริสเตียนผู้ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณ “เหล่าบุตรแห่งราชอาณาจักร” รับใช้เป็น “ราชทูตของพระคริสต์.” พวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างภักดีจากฝูงชนที่กำลังรุ่งเรืองเติบโตซึ่งเป็น “แกะอื่น” ของพระคริสต์ โดยที่คนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นอุปทูตแห่งราชอาณาจักรของพระเจ้า. (มัดธาย 13:38, ล.ม.; 2 โกรินโธ 5:20; โยฮัน 10:16) ถึงกระนั้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าเราเองยอมรับอำนาจของพระคริสต์อย่างแท้จริงหรือไม่. เราภักดีต่อพระองค์อย่างมั่นคงไหม? เราจะแสดงความภักดีต่อกษัตริย์ที่ปกครองอยู่ในสวรรค์ได้อย่างไร? แต่ทีแรก ให้เราพิจารณากันก่อนว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่เราควรภักดีต่อพระคริสต์.
กษัตริย์ผู้กระตุ้นให้ภักดี
4. พระเยซูทรงทำอะไรให้สำเร็จระหว่างที่ทรงรับใช้บนแผ่นดินโลกในฐานะผู้ถูกเลือกเพื่อจะเป็นกษัตริย์?
4 ความภักดีที่เรามีต่อพระคริสต์มีพื้นฐานอยู่ที่ความหยั่งรู้ค่าต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทำและคุณลักษณะที่โดดเด่นของพระองค์. (1 เปโตร 1:8) ขณะอยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูในฐานะผู้ที่ถูกเลือกไว้แล้วที่จะเป็นกษัตริย์แสดงให้เห็นในขอบเขตเล็ก ๆ ถึงสิ่งที่พระองค์จะทำตอนที่ทรงเป็นกษัตริย์ซึ่งจะปกครองทั่วทั้งโลกเมื่อถึงเวลากำหนดของพระเจ้า. พระองค์ทรงเลี้ยงอาหารผู้หิวโหย. พระองค์ทรงรักษาคนป่วย, คนตาบอด, คนทุพพลภาพ, คนหูหนวก, และคนใบ้. พระองค์ถึงกับปลุกคนที่ตายไปแล้วให้กลับมีชีวิตอีกเสียด้วยซ้ำ. (มัดธาย 15:30, 31; ลูกา 7:11-16; โยฮัน 6:5-13) นอกจากนั้น การรู้เรื่องราวชีวิตของพระเยซูบนแผ่นดินโลกยังช่วยเราให้รู้ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ในฐานะผู้ครองโลกในอนาคต—ที่นับว่าเด่นที่สุดได้แก่ความรักแบบเสียสละตัวเองของพระองค์. (มาระโก 1:40-45) ในเรื่องนี้ กล่าวกันว่า นโปเลียนโบนาปาร์ตพูดไว้ดังนี้: “อะเล็กซานเดอร์, ซีซาร์, ชาร์เลอมาญ, และตัวข้าพเจ้าเองได้สร้างอาณาจักรขึ้น แต่พวกเราอาศัยอะไรสำหรับการสร้างสรรค์แห่งอัจฉริยภาพของเรา? อาศัยอำนาจบังคับ. มีเพียงพระเยซูคริสต์ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้ก่อตั้งราชอาณาจักรของพระองค์บนฐานของความรัก และในทุกวันนี้มีหลายล้านคนที่พร้อมจะตายเพื่อพระองค์.”
5. เหตุใดบุคลิกภาพของพระเยซูจึงเป็นที่ดึงดูดใจอย่างยิ่ง?
5 เนื่องจากพระเยซูทรงมีพระทัยอ่อนโยนและถ่อม คนที่ท้อแท้เพราะความกดดันและภาระหนักต่าง ๆ จึงรู้สึกสดชื่นขึ้นด้วยคำสอนที่เสริมสร้างและบุคลิกภาพที่เปี่ยมด้วยความกรุณาของพระองค์. (มัดธาย 11:28-30) เด็ก ๆ รู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับพระองค์. พวกผู้ชายที่มีใจถ่อมและมีความสังเกตเข้าใจเข้ามาเป็นสาวกของพระองค์อย่างกระตือรือร้น. (มัดธาย 4:18-22; มาระโก 10:13-16) ท่าทีที่คำนึงถึงผู้อื่นและให้ความนับถือทำให้สตรีหลายคนที่เกรงกลัวพระเจ้าภักดีต่อพระองค์ ซึ่งก็มีบางคนที่ได้ให้เวลา, ความพยายาม, และทรัพย์สิ่งของเพื่อเอาใจใส่ดูแลพระองค์ขณะที่ทรงทำงานรับใช้.—ลูกา 8:1-3.
6. พระเยซูทรงเผยให้เห็นอารมณ์อันอ่อนละมุนเช่นไรเมื่อลาซะโรตาย?
6 พระคริสต์ทรงเผยความรู้สึกที่อ่อนละมุนที่สุดเมื่อลาซะโรสหายซึ่งพระองค์ทรงรักตาย. พระองค์ทรงรู้สึกสะเทือนพระทัยอย่างมากเมื่อเห็นความทุกข์ปวดร้าวใจของมาเรียและมาธาจนถึงกับไม่อาจหักห้ามพระองค์เองไม่ให้คร่ำครวญด้วยความปวดร้าวพระทัยยิ่ง และพระองค์ทรง “กันแสง.” พระองค์ทรง “ร้อนพระทัย”—กระวนกระวายใจด้วยความปวดร้าวพระทัยและความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง—แม้ทรงตั้งพระทัยไว้อยู่แล้วว่าพระองค์จะปลุกลาซะโรให้กลับมีชีวิตอีก. จากนั้น โดยถูกกระตุ้นจากความรักและความเมตตาสงสาร พระเยซูทรงใช้อำนาจที่พระเจ้าประทานให้และปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้นจากตาย.—โยฮัน 11:11-15, 33-35, 38-44.
7. เหตุใดพระเยซูทรงสมควรได้รับความภักดีจากเรา? (โปรดดูกรอบในหน้า 31 ด้วย.)
7 เรารู้สึกเคารพยำเกรงเมื่อเห็นความรักอันแรงกล้าของพระเยซูต่อสิ่งที่ถูกต้องและความเกลียดชังต่อความหน้าซื่อใจคดและความชั่วร้าย. สองครั้งสองคราที่พระองค์ทรงลงมือทำอย่างกล้าหาญเพื่อขับไล่พวกพ่อค้าผู้ละโมบออกไปจากพระวิหาร. (มัดธาย 21:12, 13; โยฮัน 2:14-17) นอกจากนั้น ตอนที่อยู่บนแผ่นดินโลกพระองค์ทรงเผชิญสถานการณ์เลวร้ายทุกชนิด ทำให้พระองค์มีความเข้าใจลึกซึ้งซึ่งได้มาโดยตรงจากประสบการณ์เกี่ยวกับความกดดันและปัญหาต่าง ๆ ที่เราเผชิญ. (เฮ็บราย 5:7-9) พระเยซูยังทราบด้วยว่าการตกเป็นเหยื่อของการกระทำที่จงเกลียดจงชังและอยุติธรรมนั้นเป็นเช่นไร. (โยฮัน 5:15-18; 11:53, 54; 18:38–19:16) ท้ายที่สุด พระองค์ทรงยอมสิ้นพระชนม์อย่างทารุณด้วยความกล้าหาญเพื่อให้พระทัยประสงค์ของพระบิดาสำเร็จและราษฎรของพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์. (โยฮัน 3:16) คุณลักษณะเช่นนี้ของพระคริสต์กระตุ้นใจคุณให้รับใช้พระองค์อย่างภักดีต่อ ๆ ไปมิใช่หรือ? (เฮ็บราย 13:8; วิวรณ์ 5:6-10) แต่มีข้อเรียกร้องอะไรเพื่อจะเป็นราษฎรของพระคริสต์องค์มหากษัตริย์?
การมีคุณสมบัติที่จะเป็นราษฎร
8. มีข้อเรียกร้องอะไรสำหรับผู้ที่จะเป็นราษฎรของพระคริสต์?
8 ขอให้คิดเทียบกันอย่างนี้: เพื่อใครคนหนึ่งจะได้เป็นพลเมืองของอีกประเทศหนึ่งตามปกติแล้วเขาต้องบรรลุคุณสมบัติพื้นฐานบางประการ. อาจมีข้อเรียกร้องว่าคนนั้นต้องมีชื่อเสียงดีและบรรลุมาตรฐานด้านสุขภาพบางอย่าง. คล้ายกัน ราษฎรของพระคริสต์จำต้องรักษามาตรฐานสูงด้านศีลธรรมและมีสุขภาพดีฝ่ายวิญญาณ.—1 โกรินโธ 6:9-11; ฆะลาเตีย 5:19-23.
9. เราจะแสดงได้อย่างไรว่าเราภักดีต่อพระคริสต์?
มัดธาย 6:31-34) พวกเขายังพยายามอย่างจริงจังที่จะสะท้อนบุคลิกภาพแบบพระคริสต์ แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากที่สุด. (1 เปโตร 2:21-23) นอกจากนั้น ราษฎรของพระคริสต์ดำเนินตามแบบอย่างของพระองค์โดยเป็นฝ่ายเริ่มก่อนในการทำดีต่อผู้อื่น.—มัดธาย 7:12; โยฮัน 13:3-17.
9 พระเยซูคริสต์ทรงเรียกร้องอย่างเหมาะสมด้วยว่าผู้ที่จะเป็นราษฎรของพระองค์ต้องภักดีต่อพระองค์และราชอาณาจักร. พวกเขาแสดงความภักดีเช่นนั้นโดยดำเนินชีวิตประสานกับสิ่งที่พระองค์ทรงสอนตอนที่พระองค์อยู่บนแผ่นดินโลกในฐานะผู้ถูกเลือกเพื่อจะเป็นกษัตริย์. ตัวอย่างเช่น พวกเขาให้ผลประโยชน์ของราชอาณาจักรและพระทัยประสงค์ของพระเจ้ามาก่อนการแสวงหาด้านวัตถุ. (10. เราจะแสดงความภักดีต่อพระคริสต์ได้อย่างไร (ก) ในวงครอบครัว และ (ข) ในประชาคม?
10 สาวกของพระเยซูยังแสดงความภักดีต่อพระองค์โดยสะท้อนคุณลักษณะของพระองค์ในวงครอบครัวด้วย. ตัวอย่างเช่น สามีแสดงความภักดีต่อกษัตริย์ของพวกเขาผู้อยู่ในสวรรค์โดยเลียนแบบคุณลักษณะของพระคริสต์ในการปฏิบัติต่อภรรยาและบุตร. (เอเฟโซ 5:25, 28-30; 6:4; 1 เปโตร 3:7) ภรรยาแสดงความภักดีต่อพระคริสต์ด้วยการประพฤติอันบริสุทธิ์และแสดง “น้ำใจสงบเสงี่ยมและอ่อนโยน.” (1 เปโตร 3:1-4, ล.ม.; เอเฟโซ 5:22-24) บุตรภักดีต่อพระคริสต์เมื่อพวกเขาติดตามแบบอย่างของพระองค์ในเรื่องการเชื่อฟัง. เมื่อทรงเป็นเยาวชน พระเยซูทรงอยู่ในโอวาทบิดามารดาเสมอ แม้ว่าท่านทั้งสองไม่สมบูรณ์. (ลูกา 2:51, 52; เอเฟโซ 6:1) ราษฎรของพระคริสต์พยายามอย่างยิ่งด้วยความภักดีที่จะเลียนแบบพระองค์โดย “แสดงความเห็นอกเห็นใจ มีความรักใคร่ฉันพี่น้อง” และแสดง “ความเมตตาสงสารอันอ่อนละมุน.” พวกเขาพยายามอย่างยิ่งที่จะเป็นเหมือนพระคริสต์ โดยมี “จิตใจถ่อม ไม่ตอบแทนความเสียหายด้วยความเสียหายหรือคำด่าด้วยคำด่า.”—1 เปโตร 3:8, 9, ล.ม.; 1 โกรินโธ 11:1.
ราษฎรที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
11. ราษฎรของพระคริสต์ยอมอยู่ใต้กฎหมายอะไร?
11 เช่นเดียวกับคนที่ประสงค์จะเป็นพลเมืองประเทศหนึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศใหม่ที่เขาจะไปอยู่ ราษฎรของพระคริสต์ก็ยอมอยู่ใต้ “พระบัญญัติของพระคริสต์” โดยดำเนินชีวิตประสานกับทุกสิ่งที่พระเยซูทรงสอนและบัญชา. (ฆะลาเตีย 6:2) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาดำเนินชีวิตอย่างภักดีตาม “พระราชบัญญัติ” แห่งความรัก. (ยาโกโบ 2:8) กฎหมายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
12, 13. เรายอมอยู่ใต้ “พระบัญญัติของพระคริสต์” อย่างภักดีอย่างไร?
12 ราษฎรของพระคริสต์ต่างก็มีข้อเสียและข้อบกพร่อง. (โรม 3:23) ดังนั้น พวกเขาต้องคอยปลูกฝัง “ความรักฉันพี่น้องอย่างที่ปราศจากมารยา” อยู่เรื่อยไป เพื่อจะ “รักกันและกันอย่างแรงกล้าจากหัวใจ.” (1 เปโตร 1:22, ล.ม.) “ถ้าผู้ใดมีสาเหตุจะบ่นว่าคนอื่น” คริสเตียนใช้พระบัญญัติของพระคริสต์อย่างภักดีโดย “ทนต่อกันอยู่เรื่อยไปและอภัยให้กันอย่างใจกว้าง.” การเชื่อฟังกฎหมายข้อนี้ช่วยให้พวกเขามองข้ามข้อเสียของผู้อื่นและมองหาเหตุผลที่จะรักกันและกันอยู่เสมอ. คุณหยั่งรู้ค่ามิใช่หรือที่ได้อยู่ร่วมกับคนที่สวมตัวด้วยความรักซึ่งเป็น “เครื่องผูกพันอันสมบูรณ์ที่ทำให้เป็นหนึ่ง เดียว” เพราะพวกเขายอมตัวอยู่ใต้อำนาจกษัตริย์ผู้เป็นที่รักของเราด้วยความภักดี?—โกโลซาย 3:13, 14, ล.ม.
13 นอกจากนั้น พระเยซูทรงอธิบายว่าความรักที่พระองค์ทรงวางแบบอย่างไว้นั้นยิ่งใหญ่กว่าความรักที่ผู้คนมักแสดงต่อกัน. (โยฮัน 13:34, 35) หากเรารักเฉพาะผู้ที่รักเรา เราคงไม่ได้ทำอะไร “เป็นพิเศษ.” เมื่อเป็นอย่างนั้น ความรักของเราคงจะไม่ครบถ้วนและขาดตกบกพร่อง. พระเยซูทรงกระตุ้นเราให้เลียนแบบความรักของพระบิดาพระองค์โดยมีความรักตามหลักการต่อศัตรูที่เกลียดชังและข่มเหงเราด้วยซ้ำ. (มัดธาย 5:46-48, ฉบับแปลใหม่) ความรักนี้ยังกระตุ้นราษฎรแห่งราชอาณาจักรด้วยให้ออกแรงแข็งขันอย่างภักดีในงานหลักของพวกเขา. งานหลักนั้นคืองานอะไร?
ความภักดีถูกทดสอบ
14. เหตุใดงานประกาศจึงสำคัญมาก?
14 ในเวลานี้ ราษฎรราชอาณาจักรของพระเจ้ามีงานที่สำคัญยิ่งในการ “ให้คำพยานอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้า.” (กิจการ 28:23, ล.ม.) การทำงานนี้สำคัญอย่างยิ่งเพราะราชอาณาจักรมาซีฮาจะพิสูจน์ความถูกต้องแห่งสากลบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา. (1 โกรินโธ 15:24-28) เมื่อเราประกาศข่าวดี ผู้ที่รับฟังมีโอกาสได้เข้ามาเป็นราษฎรราชอาณาจักรของพระเจ้า. นอกจากนี้ วิธีที่ผู้คนตอบรับหรือปฏิเสธข่าวสารนั้นเป็นเกณฑ์หรือมาตรฐานที่พระคริสต์ผู้เป็นกษัตริย์ใช้ในการตัดสินมนุษยชาติ. (มัดธาย 24:14; 2 เธซะโลนิเก 1:6-10) ด้วยเหตุนี้ วิธีหลักที่เราแสดงความภักดีต่อพระคริสต์คือการเชื่อฟังพระบัญชาที่ให้บอกคนอื่น ๆ เรื่องราชอาณาจักร.—มัดธาย 28:18-20.
15. เหตุใดความภักดีของคริสเตียนจึงถูกทดสอบ?
15 แน่นอน ซาตานต่อต้านงานประกาศด้วยวิธีใดก็ตามที่มันทำได้ และบรรดาผู้ปกครองมนุษย์ไม่ยอมรับอำนาจที่พระเจ้าประทานแก่พระคริสต์. (บทเพลงสรรเสริญ 2:1-3, 6-8) ดังนั้น พระเยซูทรงเตือนเหล่าสาวกว่า “บ่าวจะเป็นใหญ่กว่านายหามิได้ ถ้าเขาข่มเหงเราแล้ว, เขาคงจะข่มเหงท่านทั้งหลายด้วย.” (โยฮัน 15:20) ด้วยเหตุนั้น เหล่าสาวกของพระคริสต์จึงพบว่าตัวเขาเองอยู่ในสงครามฝ่ายวิญญาณที่เป็นการทดสอบความภักดีของเขา.—2 โกรินโธ 10:3-5; เอเฟโซ 6:10-12.
16. ราษฎรของราชอาณาจักรถวายคืน “ของของพระเจ้า . . . แก่พระเจ้า” อย่างไร?
16 อย่างไรก็ดี การที่ราษฎรราชอาณาจักรของพระเจ้ารักษาความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ผู้ไม่ปรากฏแก่ตานั้น ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่นับถือต่ออำนาจปกครองของมนุษย์. (ติโต 3:1, 2) พระเยซูตรัสว่า “ของของกายะซาจงถวายแก่กายะซา, และของของพระเจ้า จงถวายแก่พระเจ้า.” (มาระโก 12:13-17) ด้วยเหตุนั้น ราษฎรของพระคริสต์ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐบาลที่ไม่ขัดกับกฎหมายของพระเจ้า. (โรม 13:1-7) อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลสูงของยิวไม่คำนึงถึงกฎหมายของพระเจ้าโดยสั่งเหล่าสาวกของพระเยซูให้เลิกประกาศ พวกเขากล่าวอย่างหนักแน่นแต่ก็แสดงความนับถือว่าพวกเขาจำต้อง “เชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์.”—กิจการ 1:8; 5:27-32.
17. เหตุใดเราจึงสามารถเผชิญการทดสอบความภักดีด้วยความกล้าหาญ?
17 แน่นอน ต้องใช้ความกล้าหาญมากที่ราษฎรของพระคริสต์จะรักษาความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของพวกเขาเมื่อเผชิญการข่มเหง. ถึงกระนั้น พระเยซูตรัสว่า “เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหงและนินทาท่านทั้งหลายต่าง ๆ เป็นความเท็จเพราะเรา, ท่านก็เป็นสุข. จงชื่นชมยินดีอย่างยิ่งเพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์.” (มัดธาย 5:11, 12) เหล่าสาวกรุ่นแรก ๆ ของพระคริสต์มีประสบการณ์ที่แสดงถึงความสัตย์จริงของคำตรัสนี้. แม้แต่เมื่อพวกเขาถูกเฆี่ยนเพราะไม่ยอมเลิกประกาศเรื่องราชอาณาจักร พวกเขาชื่นชมยินดี “ที่ได้เห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น. เขาจึงได้สั่งสอนประกาศกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ในโบสถ์และตามบ้านเรือนทุก ๆ วันมิได้ขาด.” (กิจการ 5:41, 42) คุณสมควรได้รับคำชมเชยเมื่อคุณแสดงน้ำใจที่ภักดีอย่างเดียวกันนั้น เมื่อคุณอดทนความยากลำบาก, ความเจ็บป่วย, การสูญเสียผู้เป็นที่รัก, หรือการต่อต้านขัดขวาง.—โรม 5:3-5; เฮ็บราย 13:6.
18. คำตรัสของพระเยซูที่ตรัสแก่ปนเตียวปีลาตชี้ถึงอะไร?
โยฮัน 18:36, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น ราษฎรของราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์จึงไม่จับอาวุธต่อสู้ใครและไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการต่อสู้ของมนุษย์. ด้วยความภักดีต่อ “องค์สันติราช” พวกเขาวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริงในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สร้างความขัดแย้งในโลก.—ยะซายา 2:2-4; 9:6, 7.
18 ในช่วงที่พระองค์ทรงถูกเลือกไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ พระเยซูทรงอธิบายแก่ปนเตียวปีลาตผู้สำเร็จราชการโรมันว่า “ราชอาณาจักรของเรามิได้เป็นส่วนของโลกนี้. ถ้าราชอาณาจักรของเราเป็นส่วนของโลกนี้ บริวารของเราคงได้ต่อสู้เพื่อมิให้เราถูกมอบไว้กับพวกยิว. แต่ว่า ราชอาณาจักรของเรามิได้มาจากแหล่งนี้.” (บำเหน็จถาวรสำหรับราษฎรผู้ภักดี
19. เหตุใดราษฎรของพระคริสต์สามารถมองอนาคตด้วยความมั่นใจ?
19 ราษฎรที่ภักดีของพระคริสต์ผู้เป็น “กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย” มองอนาคตด้วยความมั่นใจ. พวกเขาตั้งตาคอยอย่างกระตือรือร้นที่จะได้เห็นการแสดงอำนาจเหนือธรรมชาติขององค์มหากษัตริย์ที่กำลังใกล้เข้ามา. (วิวรณ์ 19:11–20:3, ล.ม.; มัดธาย 24:30) ชนที่เหลือที่ภักดีของ “เหล่าบุตรแห่งราชอาณาจักร” ซึ่งถูกเจิมด้วยพระวิญญาณตั้งตาคอยที่จะได้รับมรดกอันล้ำค่าในฐานะกษัตริย์ที่ร่วมปกครองกับพระคริสต์ในสวรรค์. (มัดธาย 13:38, ล.ม.; ลูกา 12:32) “แกะอื่น” ที่ภักดีของพระคริสต์คอยท่าอย่างกระตือรือร้นที่พระมหากษัตริย์จะประกาศรับรองพวกเขาว่า “มาเถิด เจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา จงมารับ [อาณาเขตทางแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานของ] ราชอาณาจักรเป็นมรดกซึ่งตระเตรียมไว้สำหรับพวกเจ้าตั้งแต่การวางรากฐานโลก.” (โยฮัน 10:16; มัดธาย 25:34, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น ขอให้ราษฎรทั้งสิ้นแห่งราชอาณาจักรตั้งใจแน่วแน่จะรับใช้พระคริสต์องค์มหากษัตริย์อย่างภักดีต่อ ๆ ไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 2 โปรดดูหนังสือการหาเหตุผลจากพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) ในหัวข้อ “เหตุใดพยานพระยะโฮวาจึงบอกว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าได้รับการสถาปนาในปี 1914?” หน้า 95-97 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• เหตุใดพระคริสต์สมควรได้รับความภักดีจากเรา?
• ราษฎรของพระคริสต์แสดงความภักดีต่อพระองค์โดยวิธีใด?
• เหตุใดเราปรารถนาจะภักดีต่อพระคริสต์องค์มหากษัตริย์?
[คำถาม]
[กรอบหน้า 31]
คุณลักษณะอื่น ๆ ที่โดดเด่นของพระคริสต์
ความไม่ลำเอียง—โยฮัน 4:7-30.
ความเมตตาสงสาร—มัดธาย 9:35-38; 12:18-21; มาระโก 6:30-34.
ความรักแบบเสียสละตัวเอง—โยฮัน 13:1; 15:12-15.
ความภักดี—มัดธาย 4:1-11; 28:20; มาระโก 11:15-18.
ความร่วมรู้สึก—มาระโก 7:32-35; ลูกา 7:11-15; เฮ็บราย 4:15, 16.
ความมีเหตุผล—มัดธาย 15:21-28.
[ภาพหน้า 29]
โดยการแสดงความรักต่อกัน เราเชื่อฟัง “พระบัญญัติของพระคริสต์” อย่างภักดี
[ภาพหน้า 31]
คุณลักษณะต่าง ๆ ของพระคริสต์กระตุ้นใจคุณให้รับใช้พระองค์อย่างภักดีไหม?