คุณเตรียมพร้อมที่จะรอดชีวิตไหม?
คุณเตรียมพร้อมที่จะรอดชีวิตไหม?
“เจ้าจงเข้ามาในนาวาหมดทั้งครอบครัว: เพราะในชั่วอายุนี้เราเห็นมีแต่เจ้าเป็นผู้ชอบธรรมต่อหน้าของเรา.”—เยเนซิศ 7:1.
1. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรเพื่อช่วยให้รอดในสมัยโนฮา?
พระยะโฮวา “ทรงบันดาลให้น้ำมาท่วมแผ่นดินโลกแห่งทุรชนทั้งปวง” ในสมัยโนฮา แต่พระองค์ก็ทรงจัดเตรียมทางรอดให้ด้วย. (2 เปโตร 2:5) พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ทรงให้คำแนะนำที่ละเอียดชัดเจนแก่โนฮาผู้ชอบธรรมเกี่ยวกับวิธีสร้างนาวาเพื่อพิทักษ์ชีวิตให้รอดผ่านน้ำท่วมโลก. (เยเนซิศ 6:14-16) ดังที่เราอาจคาดหมายได้จากผู้รับใช้ของพระยะโฮวาที่สำนึกในหน้าที่ “โนอาห์ได้ทำตามทุกสิ่งที่พระเจ้าได้รับสั่งแก่ท่าน.” ที่จริง “ท่านได้ทำอย่างนั้นทีเดียว.” ส่วนหนึ่งนั้นเพราะการเชื่อฟังของโนฮา เราจึงมีชีวิตอยู่ในทุกวันนี้.—เยเนซิศ 6:22, ล.ม.
2, 3. (ก) ผู้คนในสมัยโนฮามีปฏิกิริยาอย่างไรต่องานที่โนฮาทำ? (ข) โนฮาเข้าในนาวาด้วยความเชื่อมั่นเช่นไร?
2 การสร้างนาวาไม่ใช่งานเล็ก ๆ. เป็นไปได้มากทีเดียวว่าหลายคนอาจรู้สึกทึ่งในงานอันใหญ่โตที่โนฮาและครอบครัวทำกันในตอนนั้น. กระนั้น นั่นก็ยังไม่พอที่จะทำให้เชื่อว่าพวกเขาต้องเข้าไปในนาวาจึงจะรอดได้. ในที่สุด ความอดทนของพระเจ้าต่อโลกชั่วก็หมดลง.—เยเนซิศ 6:3; 1 เปโตร 3:20.
3 หลังจากโนฮาและครอบครัวออกแรงบากบั่นทำงานนี้อยู่หลายสิบปี พระยะโฮวาทรงมีรับสั่งแก่โนฮาว่า “เจ้าจงเข้ามาในนาวาหมดทั้งครอบครัว: เพราะในชั่วอายุนี้เราเห็นมีแต่เจ้าเป็นผู้ชอบธรรมต่อหน้าของเรา.” ด้วยความเชื่อและความมั่นใจในพระดำรัสของพระยะโฮวา “โนฮากับบุตรภรรยาและบุตรสะใภ้ได้พากันเข้าไป.” พระยะโฮวาทรงปิดประตูเพื่อคุ้มครองผู้นมัสการพระองค์. เมื่อน้ำมาท่วมโลก ก็ปรากฏว่านาวานั้นเป็นการจัดเตรียมเพื่อช่วยให้รอดของพระเจ้าที่หมายพึ่งได้.—เยเนซิศ 7:1, 7, 10, 16.
คู่เทียบของสมัยโนฮาในปัจจุบัน
4, 5. (ก) พระเยซูทรงเทียบสมัยแห่งการประทับของพระองค์กับสมัยใด? (ข) มีความคล้ายคลึงกันเช่นไรระหว่างสมัยของโนฮากับสมัยของเรา?
4 “สมัยของโนฮาเป็นอย่างไร การประทับของบุตรมนุษย์ก็จะเป็นอย่างนั้น.” (มัดธาย 24:37, ล.ม.) โดยตรัสเช่นนี้ พระเยซูทรงชี้ว่าเวลาแห่งการประทับของพระองค์ซึ่งไม่ปรากฏแก่ตาจะคล้ายคลึงกับสมัยโนฮา และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ปี 1919 ได้มีการประกาศข่าวสารที่เป็นคำเตือนแก่ผู้คนในทุกชาติคล้าย ๆ กับข่าวสารที่โนฮาประกาศ. โดยมากแล้ว ปฏิกิริยาของผู้คนก็คล้ายกันกับในสมัยโนฮา.
5 ด้วยมหาอุทกภัย พระยะโฮวาทรงลงมือจัดการโลกที่ “เต็มไปด้วยความรุนแรง.” (เยเนซิศ 6:13, ล.ม.) การที่โนฮาและครอบครัวไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความรุนแรงเช่นนั้นและทำงานสร้างนาวาต่อ ๆ ไปอย่างสงบสุขย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ทุกคนที่มองพวกเขาอยู่. เราเห็นความคล้ายคลึงกันกับสมัยของเราในแง่นี้ด้วย. ในเวลานี้ ผู้คนที่จริงใจสามารถ “เห็นความแตกต่างระหว่างคนชอบธรรมและคนชั่ว, ระหว่างคนปรนนิบัติพระยะโฮวาและคนไม่ปรนนิบัติพระยะโฮวา.” (มาลาคี 3:18) ความซื่อสัตย์, ความกรุณา, ความรักสันติ, และความขยันขันแข็งของพยานพระยะโฮวาได้รับความชื่นชมจากผู้สังเกตการณ์ที่ปราศจากอคติ และคุณลักษณะเหล่านี้ทำให้เห็นชัดว่าประชาชนของพระเจ้าแตกต่างจากผู้คนทั่วไปในโลก. พยานฯ ปฏิเสธความรุนแรงในทุกรูปแบบและให้พระวิญญาณของพระยะโฮวาชี้นำพวกเขา. นั่นคือเหตุผลที่พวกเขามีสันติสุขและประพฤติตัวในแนวทางที่ชอบธรรม.—ยะซายา 60:17.
6, 7. (ก) ผู้คนในสมัยโนฮาไม่ตระหนักในเรื่องใด และคล้ายกับในทุกวันนี้อย่างไร? (ข) ตัวอย่างอะไรบ้างแสดงว่าพยานพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักว่าแตกต่างจากคนทั่วไป?
ฆะลาเตีย 5:22-25) ข้อเท็จจริงนี้น่าจะเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ข่าวสารของพวกเขา.
6 ผู้คนในสมัยโนฮาไม่ได้ตระหนักว่าโนฮาได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าและกำลังดำเนินงานภายใต้การชี้นำของพระองค์. ดังนั้น พวกเขาไม่ได้ถือว่าข่าวสารของโนฮาเป็นเรื่องจริงจังและไม่ได้ลงมือทำตามคำเตือนของท่าน. จะว่าอย่างไรสำหรับสมัยนี้? แม้ว่าหลายคนรู้สึกประทับใจในงานและความประพฤติของพยานพระยะโฮวา แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ถือว่าข่าวดีและคำเตือนในคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องจริงจัง. เพื่อนบ้าน, นายจ้าง, หรือญาติ ๆ อาจกล่าวชมคุณลักษณะที่ดีของคริสเตียนแท้แต่แล้วก็ครวญว่า “เสียอย่างเดียวที่เป็นพยานพระยะโฮวา!” สิ่งที่ผู้สังเกตการณ์เหล่านี้มองข้ามไปก็คือ พยานฯ แสดงคุณลักษณะเหล่านั้น เช่น ความรัก, สันติสุข, ความกรุณา, ความอ่อนสุภาพ, และการรู้จักบังคับตน เพราะพวกเขาได้รับการชี้นำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์. (7 เพื่อเป็นตัวอย่าง พยานพระยะโฮวาในรัสเซียกำลังสร้างหอประชุมราชอาณาจักร. ชายคนหนึ่งแวะเข้ามาคุยกับคนงานคนหนึ่งแล้วก็พูดว่า “นี่เป็นสถานก่อสร้างที่แปลกจริง ๆ—ไม่มีใครสูบบุหรี่, ไม่มีคำหยาบ, และไม่มีใครเมา! คุณเป็นพยานพระยะโฮวาใช่ไหม?” คนงานคนนั้นตอบเขาว่า “ถ้าผมบอกว่าไม่ใช่ คุณจะเชื่อไหมล่ะ?” ชายคนนั้นตอบทันทีว่า “ไม่เชื่อหรอก.” ในอีกเมืองหนึ่งของรัสเซีย นายกเทศมนตรีรู้สึกประทับใจอย่างมากเมื่อเขาเห็นพยานฯ สร้างหอประชุมราชอาณาจักรหลังใหม่. เขากล่าวว่าแม้ก่อนหน้านี้เขาเคยมองว่าศาสนาอะไรก็เหมือนกันทั้งนั้น แต่หลังจากที่เห็นความไม่เห็นแก่ตัวจากใจจริงของพยานพระยะโฮวาในภาคปฏิบัติแล้วเขาก็ไม่คิดอย่างนั้นอีกต่อไป. นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างที่แสดงว่าประชาชนของพระยะโฮวาแตกต่างจากคนที่ไม่ยึดมั่นมาตรฐานในคัมภีร์ไบเบิล.
8. การรอดชีวิตของเราผ่านอวสานของโลกชั่วนี้ขึ้นอยู่กับอะไร?
8 ระหว่างช่วงสุดท้ายของ “โลกในสมัยโบราณ” ซึ่งถูกทำลายในคราวน้ำท่วมโลก โนฮาเป็น “ผู้ประกาศความชอบธรรม” ที่ซื่อสัตย์. (2 เปโตร 2:5, ล.ม.) ในสมัยสุดท้ายของระบบปัจจุบัน ประชาชนของพระยะโฮวากำลังประกาศมาตรฐานอันชอบธรรมของพระเจ้าและประกาศข่าวดีเกี่ยวกับโอกาสที่จะรอดชีวิตผ่านเข้าสู่โลกใหม่. (2 เปโตร 3:9-13) เช่นเดียวกับที่โนฮาและครอบครัวซึ่งเกรงกลัวพระเจ้าได้รับการคุ้มครองในนาวา การรอดชีวิตของแต่ละคนในทุกวันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของพวกเขาและการร่วมสมทบอย่างภักดีกับสากลองค์การของพระยะโฮวาส่วนที่อยู่บนแผ่นดินโลก.
จำต้องมีความเชื่อเพื่อจะรอด
9, 10. เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีความเชื่อเพื่อที่เราจะรอดผ่านอวสานแห่งระบบของซาตาน?
9 คนเราต้องทำอะไรเพื่อจะรอดผ่านการทำลายโลกนี้ที่อยู่ใต้อำนาจของซาตานซึ่งจวนจะถึงอยู่แล้ว? (1 โยฮัน 5:19) ก่อนอื่น เขาต้องยอมรับในเรื่องความจำเป็นที่จะได้รับการคุ้มครอง. จากนั้น เขาต้องรับประโยชน์จากการคุ้มครองดังกล่าว. ผู้คนในสมัยโนฮาดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติและมองไม่เห็นความจำเป็นจะต้องได้รับการคุ้มครองจากความหายนะที่กำลังใกล้เข้ามา. พวกเขาขาดสิ่งหนึ่งไป นั่นคือความเชื่อในพระเจ้า.
10 ในทางตรงกันข้าม โนฮากับครอบครัวยอมรับว่าจำเป็นจะต้องได้รับการคุ้มครองและการช่วยให้รอด. พวกเขายังแสดงความเชื่อในพระยะโฮวาพระเจ้าผู้เป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพด้วย. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว, จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้ เพราะว่าผู้ที่มาหาพระเจ้าต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่, และต้องเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์.” เปาโลยังกล่าวเพิ่มอีกว่า “โดยความเชื่อ เมื่อพระเจ้าทรงเตือนถึงการณ์ที่ยังไม่ได้เห็น, โนฮาจึงมีใจเกรงกลัวจัดแจงต่อนาวาซึ่งเป็นที่ให้ครอบครัวของตนรอดได้ เพราะความเชื่อนั้นท่านจึงปรับโทษแก่โลก, และเป็นเจ้ามฤดกแห่งความชอบธรรมซึ่งบังเกิดแต่ความเชื่อ.”—เฮ็บราย 11:6, 7.
11. เราอาจเรียนอะไรได้จากวิธีที่พระยะโฮวาจัดเตรียมเพื่อให้การคุ้มครองในสมัยต่าง ๆ ในอดีต?
11 เพื่อจะรอดผ่านอวสานของระบบปัจจุบันอันชั่วช้า เราต้องทำมากกว่าเพียงแค่เชื่อว่าระบบนี้จะถูกทำลาย. เราต้องแสดงความเชื่อ โดยรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดเตรียมของพระเจ้าเพื่อความรอด. แน่นอน เราจำเป็นต้องแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า. (โยฮัน 3:16, 36) อย่างไรก็ตาม เราควรจำไว้ว่าเฉพาะคนที่อยู่ในนาวาของโนฮาจริง ๆ เท่านั้นที่รอดชีวิตจากมหาอุทกภัย. ในทำนองเดียวกัน เมืองคุ้มภัยในประเทศอิสราเอลโบราณให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาก็เฉพาะแต่เมื่อคนนั้นหนีไปยังเมืองคุ้มภัยก่อนและอยู่ในเมืองนั้นต่อ ๆ ไปจนกระทั่งมหาปุโรหิตสิ้นชีวิต. (อาฤธโม 35:11-32) ในภัยพิบัติประการที่สิบที่เกิดแก่อียิปต์ในสมัยโมเซ บุตรหัวปีของชาวอียิปต์ถูกสังหาร แต่บุตรหัวปีของชาวอิสราเอลได้รับการไว้ชีวิต. เพราะเหตุใด? พระยะโฮวาทรงมีรับสั่งแก่โมเซว่า “จงเอาเลือด [ของลูกแกะปัศคา] นั้นทาไว้ที่กรอบประตูทั้งสองข้างและกรอบข้างบนในเรือนที่เขา [ชาวอิสราเอล] เลี้ยงกันนั้นด้วย. . . . อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกไปพ้นประตูเรือนของตนจนถึงรุ่งเช้า.” (เอ็กโซโด 12:7, 22) มีบุตรหัวปีคนใดไหมในหมู่ชาวอิสราเอลที่กล้าละเลยพระบัญชาดังกล่าวของพระเจ้าโดยออกไปข้างนอกบ้านซึ่งได้หมายเอาไว้ด้วยเลือดที่พรมวงกบประตูทั้งสองข้างและข้างบน?
12. เราแต่ละคนควรถามตัวเองเช่นไร และเพราะเหตุใด?
12 ด้วยเหตุนั้น มีเหตุผลที่เราควรคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสถานการณ์ของเราเอง. เราอยู่ภายในการจัดเตรียมของพระยะโฮวาเพื่อจะได้รับการคุ้มครองฝ่ายวิญญาณจริง ๆ ไหม? เมื่อความทุกข์ลำบากใหญ่มาถึง น้ำตาแห่งความยินดีและขอบพระคุณจะอาบแก้มคนเหล่านั้นที่แสวงหาการคุ้มครองเช่นนั้น. ส่วนคนอื่น ๆ นอกนั้น จะมีก็เพียงน้ำตาแห่งความโศกเศร้าเสียใจ.
การปรับเปลี่ยนเป็นขั้น ๆ เตรียมเราไว้
13. (ก) การปรับเปลี่ยนในองค์การช่วยให้บรรลุจุดประสงค์อะไร? (ข) จงอธิบายเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบางอย่างเป็นขั้น ๆ.
13 พระยะโฮวาโปรดให้มีการปรับเปลี่ยนเป็นขั้น ๆ ในองค์การของพระองค์ทางแผ่นดินโลก. การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ช่วยเสริมให้การจัดเตรียมของพระองค์เพื่อคุ้มครองเราทางฝ่ายวิญญาณมีความสง่างาม, มั่นคง, และมีพลังยิ่งขึ้น. ตั้งแต่ทศวรรษ 1870 จนถึงปี 1932 ผู้ปกครองและมนตรีรับใช้มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกของสมาชิกในประชาคม. ในปี 1932 ได้มีการแทนที่ผู้ปกครองซึ่งมาจากการเลือกตั้งด้วยคณะกรรมการการรับใช้ซึ่งประชาคมได้เลือกตั้งเข้ามาเพื่อช่วยงานผู้อำนวยการการรับใช้ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง. ระหว่างปี 1938 ได้มีการจัดเตรียมเพื่อให้ผู้รับใช้ทั้งหมดที่ทำหน้าที่ในประชาคมได้รับการแต่งตั้งตามระบอบการของพระเจ้า. ภายใต้การชี้นำของคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวา นับตั้งแต่ปี 1972 ได้มีการเสนอชื่อขึ้นไป และถ้าอนุมัติประชาคมก็จะได้รับจดหมายแต่งตั้งผู้ดูแลและผู้ช่วยงานรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า. ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว บทบาทของคณะกรรมการปกครองได้เพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อทำให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้น.
14. แผนการฝึกอบรมอะไรเริ่มขึ้นในปี 1959?
14 ย้อนไปในปี 1950 การพิจารณาบทเพลงสรรเสริญ 45:16 (ล.ม.) อย่างละเอียดทำให้เกิดแผนการฝึกอบรมอย่างหนึ่งซึ่งยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง. ข้อพระคัมภีร์ดังกล่าวอ่านว่า “แทนบรรพบุรุษของท่านก็จะมีบุตรทั้งหลายของท่าน ผู้ซึ่งท่านจะแต่งตั้งเป็นเจ้าชายทั่วแผ่นดินโลก.” ผู้ปกครองทั้งหลายที่กำลังนำหน้าประชาคมต่าง ๆ อยู่ในตอนนี้กำลังได้รับการฝึกอบรมเพื่อทำหน้าที่ตามระบอบของพระเจ้าในเวลานี้และภายหลังอาร์มาเก็ดดอน. (วิวรณ์ 16:14, 16) โรงเรียนพระราชกิจเริ่มขึ้นในปี 1959. ในเวลานั้น หลักสูตรการเรียนการสอนหนึ่งเดือนจัดไว้ในอันดับแรกสำหรับผู้รับใช้ประชาคม (ชื่อที่ใช้เรียกผู้ดูแลผู้เป็นประธานในตอนนั้น). ปัจจุบัน โรงเรียนนี้ได้ขยายการเรียนการสอนครอบคลุมถึงผู้ดูแลทุกคนและผู้ช่วยงานรับใช้ด้วย. จากนั้น พี่น้องเหล่านี้ก็จะนำหน้าในการฝึกอบรมพยานพระยะโฮวาแต่ละคนในประชาคมของตนต่อไป. ด้วยเหตุนั้น ทุกคนจึงได้รับการช่วยทางฝ่ายวิญญาณและได้รับการช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพงานรับใช้ในฐานะผู้ประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.—มาระโก 13:10.
15. มีสองวิธีอะไรที่ช่วยรักษาไว้ซึ่งความสะอาดของประชาคมคริสเตียน?
15 แต่ละคนที่ต้องการเป็นส่วนของประชาคมคริสเตียนต้องบรรลุข้อเรียกร้องบางประการ. ตามเหตุผลแล้ว เหล่าผู้ประมาทหมิ่นในสมัยปัจจุบันไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็น2 เปโตร 3:3-7) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ปี 1952 พยานพระยะโฮวาได้ให้การสนับสนุนมากขึ้นต่อการจัดเตรียมที่ช่วยปกป้องประชาคม ซึ่งก็คือการตัดสัมพันธ์ผู้ทำบาปที่ไม่กลับใจ. แน่นอน ผู้ทำผิดที่กลับใจอย่างแท้จริงได้รับการช่วยเหลือด้วยความรักให้ ‘กระทำทางที่เท้าของเขาจะเดินไปนั้นให้ตรงไป.’—เฮ็บราย 12:12, 13; สุภาษิต 28:13; ฆะลาเตีย 6:1.
ส่วนหนึ่งของประชาคม เช่นเดียวกับที่คนเช่นนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในนาวาของโนฮา. (16. สภาพฝ่ายวิญญาณของประชาชนของพระยะโฮวาเป็นเช่นไร?
16 สภาพที่รุ่งเรืองฝ่ายวิญญาณของประชาชนของพระยะโฮวาไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหรือเรื่องบังเอิญ. โดยทางผู้พยากรณ์ยะซายา พระยะโฮวาตรัสว่า “ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะมีกิน, แต่พวกเจ้าจะหิว; ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะมีดื่ม, แต่พวกเจ้าจะระหาย; ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะอิ่มอกอิ่มใจ, แต่พวกเจ้าจะอับอายอดสู; ดูเถิด, ผู้รับใช้ของเราจะโห่ร้องด้วยความดีใจ, แต่พวกเจ้าจะร้องไห้ด้วยความเสียใจ, และจะพิลาปร่ำไห้เพราะจิตต์ใจชอกช้ำ.” (ยะซายา 65:13, 14) พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้เราได้รับอาหารฝ่ายวิญญาณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพตามเวลาอย่างบริบูรณ์ต่อ ๆ ไปเพื่อช่วยเรารักษาความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ.—มัดธาย 24:45.
ถูกเตรียมไว้พร้อมที่จะรอดชีวิต
17. อะไรจะช่วยเราให้เตรียมพร้อมที่จะรอดชีวิต?
17 ยิ่งกว่าสมัยใดในอดีต บัดนี้เป็นเวลาที่จะ “พิจารณาดูกันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี ไม่ขาดการประชุมร่วมกันเหมือนบางคนทำเป็นนิสัย แต่ชูใจซึ่งกันและกัน.” (เฮ็บราย 10:23-25, ล.ม.) การติดสนิทและร่วมกิจกรรมอยู่เสมอกับประชาคมของพยานพระยะโฮวาซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 98,000 ประชาคมจะช่วยเราเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรอดชีวิต. เราจะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมความเชื่อขณะที่เราพยายามอย่างจริงจังที่จะมี “บุคลิกภาพใหม่” และพยายามอย่างสุดหัวใจที่จะช่วยคนอื่น ๆ ให้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมของพระยะโฮวาเพื่อความรอด.—เอเฟโซ 4:22-24, ล.ม.; โกโลซาย 3:9, 10; 1 ติโมเธียว 4:16.
18. เหตุใดคุณจึงตั้งใจแน่วแน่ที่จะติดสนิทกับประชาคมคริสเตียน?
18 ซาตานและโลกชั่วของมันปรารถนาอย่างยิ่งที่จะล่อลวงและชักพาเราออกไปจากประชาคมคริสเตียน. อย่างไรก็ดี เราสามารถรักษาตัวเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมต่อ ๆ ไปและรอดผ่านอวสานของระบบชั่วในปัจจุบัน. ขอให้ความรักต่อพระยะโฮวาและความขอบพระคุณสำหรับการจัดเตรียมต่าง ๆ อันเปี่ยมด้วยความรักของพระองค์กระตุ้นเราให้ตั้งใจแน่วแน่ยิ่งกว่าเดิมที่จะขัดขวางความพยายามของซาตาน. การคิดรำพึงเกี่ยวกับพระพรที่เราได้รับในเวลานี้จะเสริมความตั้งใจของเรา. บทความถัดไปจะพิจารณาเกี่ยวกับพระพรเหล่านี้บางประการ.
คุณจะตอบอย่างไร?
• สมัยของเราคล้ายคลึงกับสมัยของโนฮาอย่างไร?
• คุณสมบัติอะไรที่จำเป็นเพื่อจะรอดชีวิต?
• การปรับเปลี่ยนเป็นขั้น ๆ เช่นไรที่ได้ทำให้การจัดเตรียมของพระยะโฮวาเพื่อคุ้มครองเรานั้นดียิ่งขึ้น?
• เราสามารถเตรียมพร้อมอย่างไรในส่วนของตัวเราเองเพื่อจะรอดชีวิต?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 22]
ผู้คนในสมัยโนฮาไม่ได้สนใจฟังโนฮาอย่างจริงจัง
[ภาพหน้า 23]
นับว่าคุ้มค่าที่จะเอาใจใส่ข่าวสารอันเป็นคำเตือนของพระเจ้าอย่างจริงจัง
[ภาพหน้า 24]
โรงเรียนพระราชกิจตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร?
[ภาพหน้า 25]
บัดนี้เป็นเวลาที่จะติดสนิทกับประชาคมคริสเตียน