พระยะโฮวาทรงบอก “ตั้งแต่ต้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนปลาย”
พระยะโฮวาทรงบอก “ตั้งแต่ต้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนปลาย”
“ผู้บอกเล่าตั้งแต่ต้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนปลาย, และบอกเล่าสิ่งซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ไว้ตั้งแต่เวลาโบราณ.”—ยะซายา 46:10.
1, 2. มีอะไรที่น่าทึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นล้มบาบิโลน และข้อเท็จจริงนี้บ่งชี้อะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา?
ในความเงียบสงัดของค่ำคืน ทหารศัตรูเคลื่อนพลอย่างลับ ๆ มาตามก้นแม่น้ำยูเฟรทิสมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย คือกรุงบาบิโลนอันเกรียงไกร. เมื่อใกล้จะถึงทางเข้ากรุง ภาพที่ชวนให้แปลกใจก็ปรากฏต่อสายตาพวกเขา. ประตูบานคู่ขนาดมหึมาที่กำแพงกรุงบาบิโลนเปิดอ้าอยู่! พวกเขาปีนขึ้นจากก้นแม่น้ำ แล้วก็เข้าไปในเมือง. กรุงแตกอย่างรวดเร็ว. ไซรัส ผู้นำของพวกเขา เข้ายึดครองดินแดนที่ถูกพิชิตทันทีและต่อมาก็ได้ออกราชกฤษฎีกาปล่อยชาวอิสราเอลที่เป็นเชลยให้เป็นอิสระ. ผู้ถูกเนรเทศนับแสนคนหวนคืนสู่มาตุภูมิเพื่อฟื้นฟูการนมัสการพระยะโฮวาในกรุงเยรูซาเลม.—2 โครนิกา 36:22, 23; เอษรา 1:1-4.
2 เหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 539-537 ก่อนสากลศักราชบัดนี้ได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่นจากบรรดานักประวัติศาสตร์. ที่นับว่าน่าทึ่งก็คือ เรื่องนี้เป็นที่รู้กันอยู่แล้วตั้งแต่ประมาณ 200 ปีก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์นี้. พระยะโฮวาทรงดลใจยะซายาผู้พยากรณ์ของพระองค์ให้พรรณนาไว้ล่วงหน้าถึงการล่มสลายของบาบิโลนนานถึงขนาดนั้นทีเดียว. (ยะซายา 44:24–45:7) พระเจ้าทรงเปิดเผยไม่เพียงกรณีแวดล้อมที่นำไปสู่การโค่นล้มบาบิโลน แต่ยังบอกแม้กระทั่งชื่อของผู้นำที่จะพิชิตกรุงนี้ด้วย. * เมื่อกล่าวถึงชาวอิสราเอล ซึ่งเป็นพยานของพระองค์ในตอนนั้น พระยะโฮวาตรัสว่า “จงระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้วในกาลก่อน, เราเป็นพระเจ้า, และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนเรา, เราเป็นผู้บอกเล่าตั้งแต่ต้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนปลาย, และบอกเล่าสิ่งซึ่งยังไม่เกิดขึ้นไว้ตั้งแต่เวลาโบราณ.” (ยะซายา 46:9, 10ก) พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าผู้สามารถรู้ล่วงหน้าอย่างแท้จริงว่าจะเกิดอะไรขึ้น.
3. เราจะพิจารณาคำตอบสำหรับคำถามอะไรในตอนนี้?
3 พระเจ้าทรงรู้อนาคตถึงขนาดไหน? พระยะโฮวาทรงทราบล่วงหน้าไหมว่าเราแต่ละคนจะทำอะไร? จริง ๆ แล้ว อนาคตของเราถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าไหม? เราจะพิจารณา
คำตอบที่คัมภีร์ไบเบิลให้ไว้ในเรื่องนี้ รวมถึงคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ในบทความนี้และบทความถัดไป.พระยะโฮวา—พระเจ้าแห่งคำพยากรณ์
4. ใครคือแหล่งที่มาของคำพยากรณ์ที่บันทึกในคัมภีร์ไบเบิล?
4 โดยที่ทรงสามารถทราบล่วงหน้าถึงอนาคต พระยะโฮวาทรงดลใจผู้รับใช้ของพระองค์ในสมัยคัมภีร์ไบเบิลให้บันทึกคำพยากรณ์หลายข้อ ซึ่งทำให้เราทราบล่วงหน้าถึงสิ่งที่พระยะโฮวาทรงมีพระประสงค์จะทำ. พระยะโฮวาทรงประกาศว่า “นี่แน่ะ, บรรดาสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นก็สำเร็จไปหมดแล้ว, และเราบอกล่วงหน้าถึงสิ่งใหม่ ๆ. เราประกาศสิ่งเหล่านั้นให้เจ้ารู้ก่อนสิ่งเหล่านั้นได้เกิดขึ้น.” (ยะซายา 42:9) ช่างเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ สำหรับประชาชนของพระเจ้า!
5. หน้าที่รับผิดชอบอะไรซึ่งเป็นผลมาจากการรู้ล่วงหน้าถึงสิ่งที่พระยะโฮวาจะทำ?
5 ผู้พยากรณ์อาโมศรับรองกับเราดังนี้: “พระยะโฮวามิได้ทำสิ่งใดเว้นแต่พระองค์สำแดงแก่ผู้รับใช้ของพระองค์, คือผู้พยากรณ์ซึ่งพระองค์ได้ดำริไว้นั้น.” การรู้ล่วงหน้าเช่นนี้นำมาซึ่งหน้าที่รับผิดชอบ. ขอให้สังเกตภาพตัวอย่างอันมีพลังที่อาโมศใช้ต่อจากนั้น: “สิงโตแผดเสียงแล้ว จะมีผู้ใดที่ไม่กลัวหรือ?” เช่นเดียวกับที่เสียงคำรามของสิงโตปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาทันทีทั้งในหมู่มนุษย์และสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้น ผู้พยากรณ์ทั้งหลาย เช่นอาโมศ ก็ประกาศในทันทีถึงถ้อยแถลงของพระยะโฮวา. “พระยะโฮวาเจ้าได้ตรัส จะมีผู้ใดที่จะไม่พยากรณ์หรือ?”—อาโมศ 3:7, 8.
“ถ้อยคำ” ของพระยะโฮวา “สำเร็จผลเป็นแน่”
6. “โครงการ” ของพระยะโฮวาประสบผลสำเร็จอย่างไรเกี่ยวข้องกับความพินาศของบาบิโลน?
6 โดยทางผู้พยากรณ์ยะซายา พระยะโฮวาตรัสว่า “โครงการของเราจะยั่งยืน, และเราจะทำตามความประสงค์ของเราทุกประการ.” (ยะซายา 46:10ข) “โครงการ” ของพระเจ้า ซึ่งก็คือพระทัยประสงค์หรือพระประสงค์ของพระองค์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบาบิโลน หมายรวมถึงการเรียกให้ไซรัสออกจากเปอร์เซียเพื่อไปพิชิตและโค่นล้มบาบิโลน. พระยะโฮวาทรงประกาศพระประสงค์นี้ไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน. ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว พระประสงค์นั้นสำเร็จเป็นจริงอย่างไม่ผิดพลาดในปี 539 ก่อน ส.ศ.
7. เหตุใดเราสามารถเชื่อมั่นว่า “ถ้อยคำ” ของพระยะโฮวาย่อมสำเร็จผลเสมอ?
7 เกือบสี่ศตวรรษก่อนที่ไซรัสจะพิชิตบาบิโลน กษัตริย์ยะโฮซาฟาดแห่งยูดาห์เผชิญหน้ากับกองกำลังผสมของอัมโมนกับโมอาบ. ท่านอธิษฐานด้วยความเชื่อมั่นว่า “ข้าแต่พระยะโฮวาพระเจ้าแห่งเชื้อวงศ์ปู่ย่าตายายของพวกข้าพเจ้า, พระองค์เป็นพระเจ้าในฟ้าในสวรรค์? และทรงครอบครองแผ่นดินทุกประเทศมิใช่หรือ? พระหัตถ์ของพระองค์ประกอบด้วยฤทธิ์และอำนาจ จึงไม่มีผู้ใดยั่งยืนต้านทานต่อพระองค์ได้?” (2 โครนิกา 20:6) ยะซายาแสดงออกซึ่งความเชื่อมั่นคล้าย ๆ กันเมื่อท่านกล่าวว่า “เมื่อพระยะโฮวาจอมพลโยธาได้กะโครงการไว้แล้ว, ใครเล่าจะมาลบล้างเสียได้? และเมื่อพระหัตถ์ของพระองค์ได้เหยียดออกไปแล้ว, ใครจะทำให้หดกลับได้เล่า?” (ยะซายา 14:27) ในเวลาต่อมา เมื่อสติของกษัตริย์นะบูคัดเนซัรแห่งบาบิโลนได้กลับคืนมาแล้วหลังจากที่วิกลจริตไปอยู่ช่วงหนึ่ง ท่านกล่าวยอมรับอย่างถ่อมใจว่า “ไม่มีใครอาจยึดหน่วงพระหัตถ์ของ [พระเจ้า] ไว้ได้, หรืออาจทูลถามพระองค์ว่า, ‘พระองค์ทรงกระทำอะไรพระเจ้าค่ะ?’ ” (ดานิเอล 4:35) พระยะโฮวาทรงรับรองกับประชาชนของพระองค์ว่า “ถ้อยคำ . . . ของเรา . . . จะไม่กลับมายังเราโดยไร้ผล แต่จะทำตามที่เราพอใจอย่างแน่นอน และจะสำเร็จผลเป็นแน่ตามที่เราได้ใช้ ไป.” (ยะซายา 55:11, ล.ม.) เราสามารถมีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่า “ถ้อยคำ” ของพระยะโฮวาเป็นจริงเสมอ. พระประสงค์ของพระเจ้าไม่มีวันล้มเหลว.
“พระประสงค์ชั่วนิรันดร์” ของพระเจ้า
8. “พระประสงค์ชั่วนิรันดร์” ของพระเจ้าคืออะไร?
8 ในจดหมายถึงคริสเตียนในเอเฟโซส์ อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงพระเจ้าว่าทรงมี “พระประสงค์ชั่วนิรันดร์.” (เอเฟโซ 3:11, ล.ม.) นี่ไม่ได้เป็นเพียงแผนการเพื่อลงมือทำอะไรบางอย่าง ราวกับว่าพระเจ้าต้องวางแผนอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่พระองค์จะทำให้สำเร็จ. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระประสงค์ชั่วนิรันดร์ของพระยะโฮวาเกี่ยวข้องกับความตั้งใจแน่วแน่ของพระองค์ที่จะทำให้สำเร็จตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้ตั้งแต่แรกสำหรับมนุษยชาติและแผ่นดินโลก. (เยเนซิศ 1:28) เพื่อจะช่วยเราให้เข้าใจในเรื่องความแน่นอนแห่งพระประสงค์ของพระองค์ ขอพิจารณาคำพยากรณ์แรกที่บันทึกในคัมภีร์ไบเบิล.
9. เยเนซิศ 3:15 เกี่ยวข้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างไร?
9 คำสัญญาที่เยเนซิศ 3:15 บ่งบอกว่าทันทีที่อาดามและฮาวาทำบาป พระยะโฮวาทรงตัดสินพระทัยว่าผู้หญิงโดยนัยของพระองค์จะต้องให้กำเนิดพงศ์พันธุ์หรือบุตร. พระยะโฮวาทรงเห็นล่วงหน้าด้วยถึงผลลัพธ์ของการเป็นศัตรูกันระหว่างผู้หญิงของพระองค์กับซาตานและระหว่างพงศ์พันธุ์ของทั้งสองซึ่งเป็นศัตรูกัน. แม้ว่าพระยะโฮวายอมให้พงศ์พันธุ์แห่งผู้หญิงของพระเจ้าถูกบดขยี้ที่ส้นเท้า แต่เมื่อถึงเวลากำหนดของพระองค์พงศ์พันธุ์นี้จะบดขยี้หัวของงูหรือซาตานพญามาร. ในระหว่างนั้น พระประสงค์ของพระยะโฮวาก็ได้คืบหน้าไปอย่างไม่ผิดพลาดโดยทางเชื้อสายที่ทรงเลือกไว้จนกระทั่งถึงการปรากฏของพระเยซูในฐานะพระมาซีฮาตามคำสัญญา.—ลูกา 3:15, 23-38; ฆะลาเตีย 4:4.
สิ่งที่พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า
10. พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นไหมว่าอาดามและฮาวาจะทำบาป? จงอธิบาย.
10 เมื่อกล่าวถึงบทบาทของพระเยซูในพระประสงค์ของพระเจ้า อัครสาวกเปโตรเขียนดังนี้: “พระองค์ [พระเยซู] เป็นที่รู้จักล่วงหน้าก่อนการวางรากของโลก แต่ทรงโปรดให้พระองค์ปรากฏในเวลาสุดท้ายเพราะเห็นแก่ท่านทั้งหลาย.” (1 เปโตร 1:20, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นเลยไหมว่าอาดามและฮาวาจะทำบาปและจำเป็นต้องใช้เครื่องบูชาไถ่ที่ทรงจัดเตรียมโดยทางพระเยซูคริสต์? ไม่. คำ “วางราก” นี้แปลมาจากคำกรีกซึ่งตามตัวอักษรหมายถึง “การหว่านเมล็ด.” ได้มี “การหว่านเมล็ด” หรือการให้กำเนิดลูกหลานมนุษย์ก่อนที่อาดามและฮาวาจะทำบาปไหม? ไม่. อาดามและฮาวาได้ให้กำเนิดบุตรหลังจากที่แสดงความไม่เชื่อฟังแล้ว. (เยเนซิศ 4:1) ดังนั้น พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการปรากฏของ “พงศ์พันธุ์” หลังจากที่เกิดการขืนอำนาจ แต่ว่าก่อนการให้กำเนิดบุตรหลานของอาดามและฮาวา. การสิ้นพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระเยซูจัดให้มีค่าไถ่อันเป็นการจัดเตรียมที่เปี่ยมด้วยความรัก ซึ่งก็โดยทางค่าไถ่นี้เองที่บาปอันเป็นมรดกตกทอดจะถูกขจัดออกไปและความพยายามทุกอย่างของซาตานจะล้มเหลว.—มัดธาย 20:28; เฮ็บราย 2:14; 1 โยฮัน 3:8.
11. พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าให้มีการดำเนินการอะไรเพื่อให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จลุล่วง?
เอเฟโซ 1:10, 11, ล.ม.) ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าให้มีมนุษย์จำนวนจำกัดกลุ่มหนึ่งที่จะประกอบกันเป็นพงศ์พันธุ์อันดับรองของผู้หญิงของพระเจ้า และพวกเขาจะร่วมกับพระคริสต์ในการกระจายผลประโยชน์แห่งค่าไถ่. (โรม 8:28-30) อัครสาวกเปโตรกล่าวถึงคนเหล่านี้โดยเรียกพวกเขาว่า “ชาติบริสุทธิ์.” (1 เปโตร 2:9, ล.ม.) อัครสาวกโยฮันมีสิทธิพิเศษที่ได้ทราบจากนิมิตว่าจำนวนคนที่จะเป็นรัชทายาทร่วมกับพระคริสต์มีทั้งสิ้น 144,000 คน. (วิวรณ์ 7:4-8; 14:1, 3) โดยสนับสนุนพระคริสต์ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ พวกเขารับใช้ “ให้เป็นการถวายคำสรรเสริญพระเกียรติของ [พระเจ้า].”—เอเฟโซ 1:12-14, ล.ม.
11 พระเจ้าทรงกำหนดอีกเรื่องหนึ่งไว้ล่วงหน้าที่จะดำเนินไปเพื่อให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จลุล่วง. เรื่องนี้เห็นได้จากข้อความที่เปาโลเขียนไปถึงชาวเอเฟโซส์ ที่ว่าพระเจ้าจะ “ทรงรวบรวมสิ่งสารพัดเข้าไว้ในพระคริสต์อีก คือสิ่งต่าง ๆ ในสวรรค์และสิ่งต่าง ๆ ที่แผ่นดินโลก.” ต่อจากนั้น โดยพาดพิงถึง “สิ่งต่าง ๆ ในสวรรค์” ซึ่งก็หมายถึงคนที่ถูกเลือกให้เป็นรัชทายาทร่วมกับพระคริสต์ เปาโลอธิบายว่า “เราถูกกำหนดเอาไว้ก่อนแล้ว ตามพระดำริของพระองค์ผู้ซึ่งกระทำสิ่งสารพัดตามวิถีทางที่เป็นน้ำพระทัยของพระองค์.” (12. เราทราบได้อย่างไรว่าชน 144,000 คนไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นรายบุคคล?
12 การกำหนดไว้ล่วงหน้าให้มีชน 144,000 คนไม่ได้หมายความว่ามีการกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นรายบุคคลว่าใครบ้างจะรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ในแนวทางนี้. อันที่จริง คำเตือนสติในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกได้เขียนขึ้นในเบื้องต้นเพื่อชี้นำและเสริมกำลังชนผู้ถูกเจิมให้รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงและรักษาตัวให้คู่ควรกับสิทธิพิเศษที่พวกเขาถูกเรียกให้ไปสวรรค์. (ฟิลิปปอย 2:12; 2 เธซะโลนิเก 1:5, 11; 2 เปโตร 1:10, 11) พระยะโฮวาทรงทราบล่วงหน้าว่าจะมีคนจำนวน 144,000 คนที่จะมีคุณวุฒิรับใช้ตามพระประสงค์ของพระองค์. ในจำนวนนี้จะมีใครบ้างขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ได้รับเชิญแต่ละคนเลือกดำเนินชีวิตอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง.—มัดธาย 24:13.
สิ่งที่พระยะโฮวาทรงทราบล่วงหน้า
13, 14. วิธีที่พระยะโฮวาทรงใช้การรู้ล่วงหน้าของพระองค์สอดคล้องกับอะไร และเพราะเหตุใด?
13 เนื่องจากพระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าแห่งคำพยากรณ์และพระประสงค์ พระองค์ทรงใช้การรู้ล่วงหน้าของพระองค์อย่างไร? ก่อนอื่น เรามั่นใจว่าแนวทางทั้งสิ้นของพระเจ้านั้นสัตย์จริง, ชอบธรรม, และเปี่ยมด้วยความรัก. เมื่อเขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรูในศตวรรษแรก อัครสาวกเปาโลกล่าวยืนยันว่าคำปฏิญาณและคำสัญญาของพระองค์นั้นเป็น “สองสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนได้ซึ่งในนั้นเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะตรัสมุสา.” (เฮ็บราย 6:17, 18, ล.ม.) ในจดหมายที่มีไปถึงสาวกติโต เปาโลก็แสดงแนวคิดนี้ด้วยเมื่อท่านเขียนว่าพระเจ้า “ตรัสมุสาไม่ได้.”—ติโต 1:2.
14 นอกจากนั้น แม้ว่าพระยะโฮวาทรงมีอำนาจไม่จำกัด พระองค์ไม่เคยปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม. โมเซพรรณนาถึงพระยะโฮวาว่าทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความจริงปราศจากความอสัตย์, เป็นผู้ชอบธรรมและซื่อสัตย์.” (พระบัญญัติ 32:4) สิ่งใดก็ตามที่พระยะโฮวาทรงทำล้วนสอดคล้องกับบุคลิกภาพอันยอดเยี่ยมของพระองค์. สิ่งที่พระองค์ทรงทำแสดงชัดถึงความผสานกลมกลืนกันอย่างสมบูรณ์แบบของความรัก, สติปัญญา, ความยุติธรรม, และอำนาจซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นของพระองค์.
15, 16. พระยะโฮวาทรงให้ทางเลือกอะไรไว้กับอาดามในสวนเอเดน?
เยเนซิศ 1:26-31; 2 เปโตร 2:12.
15 ขอพิจารณาวิธีที่ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในสวนเอเดน. ในฐานะพระบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก พระยะโฮวาทรงจัดให้มีทุกสิ่งที่สิ่งทรงสร้างซึ่งเป็นมนุษย์จำเป็นต้องมี. พระองค์ประทานให้อาดามมีความสามารถที่จะคิด, หาเหตุผล, และลงความเห็น. ไม่เหมือนกับสิ่งทรงสร้างที่เป็นสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการชี้นำโดยสัญชาตญาณ อาดามมีความสามารถที่จะเลือก. ผลจากการที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์แบบนี้คือ เมื่อพระเจ้าทรงทอดพระเนตรลงมาจากพระที่นั่งในสวรรค์ก็พบว่า “สิ่งทั้งปวงที่พระองค์ทรงสร้างไว้นั้น . . . ดีนัก.”—16 เมื่อพระยะโฮวาทรงเลือกที่จะมีพระบัญชาแก่อาดามไม่ให้กินผลจาก “ต้นไม้ที่ให้รู้ความดีและชั่ว” พระองค์ทรงจัดให้มีคำชี้แนะมากพอที่อาดามจะตัดสินใจได้ว่าจะทำเช่นไร. พระองค์ทรงอนุญาตให้อาดามกิน “บรรดาผลไม้ทุกอย่างในสวน” เว้นแต่ผลจากต้นไม้ต้นหนึ่งและทรงเตือนถึงผลร้ายแรงถึงตายของการกินจากต้นไม้ต้องห้ามนั้น. (เยเนซิศ 2:16, 17) พระองค์ทรงอธิบายให้อาดามทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของเขา. อาดามจะทำอะไร?
17. เหตุใดเราจึงกล่าวได้ว่าพระยะโฮวาทรงเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ความสามารถในการรู้ล่วงหน้าของพระองค์?
17 ดูเหมือนว่า พระยะโฮวาทรงเลือกที่จะไม่ใช้ความสามารถในการเห็นล่วงหน้าว่าอาดามและฮาวาจะทำอะไร แม้ว่าพระองค์ทรงมีความสามารถที่จะทราบทุกสิ่งล่วงหน้า. ด้วยเหตุนั้น คำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าพระยะโฮวาสามารถ เห็นล่วงหน้าถึงอนาคตหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าพระองค์เลือก ที่จะทำอย่างนั้นหรือไม่. นอกจากนั้น เราสามารถหาเหตุผลได้ด้วยว่าเนื่องจากพระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรัก พระองค์ย่อมจะไม่จงใจกำหนดเหตุการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างโหดร้ายว่าจะต้องเกิดการขืนอำนาจ รวมทั้งผลอันน่าเศร้าทั้งหมดของการขืนอำนาจนั้น. (มัดธาย 7:11; 1 โยฮัน 4:8) ด้วยเหตุนั้น พระยะโฮวาทรงเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ความสามารถในการรู้ล่วงหน้าของพระองค์.
18. เหตุใดการที่พระยะโฮวาทรงเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้การรู้ล่วงหน้าไม่ได้หมายความว่าพระองค์ไม่สมบูรณ์?
18 การที่พระยะโฮวาทรงเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ความสามารถในการรู้ล่วงหน้าหมายความว่าพระองค์ทรงบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ในทางใดทางหนึ่งไหม? ไม่. โมเซพรรณนาถึงพระยะโฮวาว่าทรงเป็น “ศิลา” แล้วก็กล่าวต่อว่า “กิจการของพระองค์สมบูรณ์พร้อม.” พระองค์ไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากบาปของมนุษย์. ผลเสียหายร้ายแรงที่เราทุกคนรู้สึกได้ในทุกวันนี้เกิดมาจากการกระทำที่ไม่ชอบธรรมของอาดามโดยการไม่เชื่อฟัง. อัครสาวกเปาโลหาเหตุผลไว้อย่างชัดเจนว่า “บาปเข้ามาในโลกโดยทางคนคนเดียวและความตายเข้ามาโดยทางบาป และด้วยเหตุนั้นความตายจึงลามถึงคนทั้งปวงเพราะพวกเขาล้วนได้ทำบาป.”—พระบัญญัติ 32:4, 5, ล.ม.; โรม 5:12, ล.ม.; ยิระมะยา 10:23.
19. จะมีการพิจารณาคำถามอะไรในบทความถัดไป?
19 เท่าที่เราได้พิจารณามาถึงตอนนี้ เราเห็นแล้วว่าพระยะโฮวาไม่มีความอยุติธรรม. (บทเพลงสรรเสริญ 33:5) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ความสามารถ, คุณลักษณะทางศีลธรรม, และมาตรฐานของพระยะโฮวาช่วยสนับสนุนพระประสงค์ของพระองค์. (โรม 8:28) ในฐานะพระเจ้าแห่งคำพยากรณ์ พระยะโฮวาทรงบอกเล่า “ตั้งแต่ต้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนปลาย, และบอกเล่าสิ่งซึ่งยังไม่เกิดขึ้นไว้ตั้งแต่เวลาโบราณ.” (ยะซายา 46:9, 10) เราได้เห็นแล้วเช่นเดียวกันว่าพระองค์ทรงเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้การรู้ล่วงหน้า. เรื่องนี้มีผลกระทบต่อเราอย่างไร? เราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าการตัดสินใจของเราสอดคล้องกับพระประสงค์อันเปี่ยมด้วยความรักของพระเจ้า? และการทำเช่นนั้นจะนำพระพรอะไรมาให้เราบ้าง? บทความถัดไปจะพิจารณาคำถามเหล่านี้.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 2 โปรดดูจุลสารหนังสือสำหรับทุกคน หน้า 28 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• ตัวอย่างอะไรบ้างในสมัยโบราณที่ยืนยันว่า “ถ้อยคำ” ของพระเจ้านั้น “สำเร็จผลเป็นแน่” เสมอ?
• อะไรที่พระยะโฮวาได้ทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าเกี่ยวข้องกับ “พระประสงค์ชั่วนิรันดร์” ของพระองค์?
• พระยะโฮวาทรงใช้การรู้ล่วงหน้าของพระองค์ในทางใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 22]
ยะโฮซาฟาดมีความเชื่อมั่นในพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 23]
พระเจ้าทรงบอกล่วงหน้าถึงการสิ้นพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระเยซู
[ภาพหน้า 24]
พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าไหมว่าอาดามกับฮาวาจะทำอะไร?