พระเจ้าใฝ่พระทัยผู้สูงอายุ
พระเจ้าใฝ่พระทัยผู้สูงอายุ
การปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุที่มีแพร่หลายในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก. คัมภีร์ไบเบิลได้บอกล่วงหน้านานมาแล้วว่าระหว่าง “สมัยสุดท้าย” ของระบบนี้ที่ไม่เกรงกลัวพระเจ้า ผู้คนจะเป็น “คนรักตัวเอง . . . ไม่มีความรักใคร่ตามธรรมชาติ.” (2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.) คำภาษากรีกที่ได้รับการแปลว่า “ความรักใคร่ตามธรรมชาติ” อาจรวมไปถึงความรักที่ตามปกติแล้วมีอยู่ภายในครอบครัว. ตรงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล ความรักชนิดนี้ขาดหายไปอย่างสังเกตได้ชัดในทุกวันนี้.
ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดกับคนเหล่านั้นที่ปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุ พระยะโฮวาพระเจ้าทรงถือว่าคนที่สูงอายุมีค่ายิ่งและทรงใฝ่พระทัยในพวกเขา. ขอพิจารณาว่ามีการแสดงให้เห็นเรื่องนี้อย่างไรในคัมภีร์ไบเบิล.
“ผู้พิพากษาของหญิงม่าย”
ความห่วงใยของพระยะโฮวาพระเจ้าที่มีต่อผู้สูงอายุปรากฏชัดในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู. ตัวอย่างเช่น ที่บทเพลงสรรเสริญ 68:5 (ล.ม.) ดาวิดเรียกพระเจ้าว่า “ผู้พิพากษาของหญิงม่าย” ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผู้สูงอายุ. * ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลอื่น ๆ คำ “ผู้พิพากษา” ได้รับการแปลว่า “ผู้ป้องกัน,” “ผู้คุ้มครอง,” “ผู้สนับสนุน.” เห็นได้ชัด พระยะโฮวาใฝ่พระทัยแม่ม่าย. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าหากพวกแม่ม่ายได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้าย พระพิโรธของพระองค์จะพลุ่งขึ้น. (เอ็กโซโด 22:22-24) พระเจ้าและผู้รับใช้ของพระองค์ทรงถือว่าแม่ม่าย—และผู้สูงอายุที่ซื่อสัตย์ทั้งหมด—มีค่าสูงส่ง. สุภาษิต 16:31 แสดงให้เห็นทัศนะของพระยะโฮวาพระเจ้าและประชาชนของพระองค์เมื่อกล่าวว่า “ผมหงอกบนศีรษะเป็นเหมือนมงกุฎแห่งสง่าราศีถ้าใจอยู่ในที่ชอบธรรม.”
ไม่น่าแปลกใจ ความนับถือต่อผู้สูงอายุเป็นส่วนสำคัญแห่งพระบัญญัติที่พระยะโฮวาได้ทรงประทานแก่ชาติเลวีติโก 19:32) ฉะนั้น ในอิสราเอล ความนับถือต่อผู้สูงอายุเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสัมพันธภาพของคนเรากับพระยะโฮวาพระเจ้าจริง ๆ. เขาไม่สามารถพูดได้ว่ารักพระเจ้าหากเขาปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุ.
อิสราเอล. ชาวอิสราเอลได้รับพระบัญชาว่า “จงคำนับคนผมหงอกและนับถือคนแก่, และเกรงกลัวพระเจ้า: เราเป็นยะโฮวา.” (คริสเตียนไม่ได้อยู่ใต้พระบัญญัติของโมเซ. อย่างไรก็ดี พวกเขาอยู่ใต้ “พระบัญญัติของพระคริสต์” ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความประพฤติและเจตคติของเขา รวมทั้งการแสดงความรักและความห่วงใยต่อบิดามารดาและผู้สูงอายุ. (ฆะลาเตีย 6:2; เอเฟโซ 6:1-3; 1 ติโมเธียว 5:1-3) และคริสเตียนแสดงความรักไม่เพียงเพราะได้รับพระบัญชาให้ทำเช่นนั้น แต่เพราะพวกเขาได้รับการกระตุ้นจากหัวใจ. อัครสาวกเปโตรได้กระตุ้นว่า “จงรักกันและกันอย่างแรงกล้าจากหัวใจ.”—1 เปโตร 1:22, ล.ม.
สาวกยาโกโบได้ให้เหตุผลต่อไปอีกเพื่อเราจะเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ. ท่านเขียนว่า “แบบแห่งการนมัสการที่สะอาดและปราศจากมลทินจากทัศนะของพระเจ้าและพระบิดาของเราเป็นดังนี้: ให้เอาใจใส่ลูกกำพร้าและหญิงม่ายในความทุกข์ยากของเขา และรักษาตัวให้ปราศจากด่างพร้อยของโลก.” (ยาโกโบ 1:27, ล.ม.) ยาโกโบเสนอจุดสำคัญที่ทำให้ซาบซึ้งตรึงใจ. คำพูดของท่านแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นที่รักดังกล่าวช่างสำคัญสักเพียงไรสำหรับพระยะโฮวา.
ฉะนั้น เพียงแต่ละเว้นจากการปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุยังไม่พอ. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เราควรแสดงความห่วงใยอย่างจริงใจต่อพวกเขาโดยการทำงานที่ก่อประโยชน์. (โปรดดูกรอบ “ความรักในภาคปฏิบัติ” หน้า 6-7.) ยาโกโบได้เขียนว่า “ความเชื่ออันปราศจากการประพฤติก็ตายแล้ว.”—ยาโกโบ 2:26.
ปลอบโยนผู้สูงอายุ “ในความทุกข์ยากของเขา”
มีอีกจุดหนึ่งที่เรียนได้จากคำพูดของยาโกโบ. สังเกตว่ายาโกโบได้บอกให้คริสเตียนเอาใจใส่หญิงม่าย “ในความทุกข์ยากของเขา.” คำภาษากรีกที่ได้รับการแปลว่า “ความทุกข์ยาก” โดยพื้นฐานแล้วหมายถึงความลำบาก, ความเดือดร้อน, หรือความทุกข์ซึ่งเป็นผลมาจากความกดดันของสภาพแวดล้อมในชีวิตของเรา. ไม่มีข้อสงสัยว่าหลายคนในบรรดาผู้สูงอายุประสบความลำบากเช่นนั้น. บางคนว้าเหว่. บางคนรู้สึกซึมเศร้าเนื่องจากขีดจำกัดที่เป็นผลมาจากวัยชรา. แม้แต่คนเหล่านั้นที่มีส่วนอย่างเต็มที่ในการรับใช้พระเจ้าก็อาจรู้สึกท้อใจ. ขอพิจารณาดูจอห์น * ผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งรับใช้อย่างซื่อสัตย์มาเป็นเวลากว่าสี่สิบปี เขาได้ใช้เวลาสามสิบปีหลังในการรับใช้เต็มเวลาแบบพิเศษ. จอห์นซึ่งตอนนี้อยู่ในวัย 80 กว่าปีแล้ว ยอมรับว่าเขารู้สึกท้อใจเป็นบางครั้ง. เขากล่าวว่า “ผมคิดถึงความหลังอยู่บ่อย ๆ และจำได้ถึงความผิดพลาดของตัวเอง ผมมีข้อผิดพลาดหลายอย่างจริง ๆ. ผมบอกตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้.”
คนเช่นนั้นอาจได้รับการปลอบประโลมใจที่รู้ว่าพระยะโฮวา ถึงแม้ทรงสมบูรณ์พร้อม ก็มิได้ทรงเรียกร้องให้เราเป็นคนสมบูรณ์พร้อม. แม้พระองค์ทรงทราบความผิดพลาดของเรา แต่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงพระองค์ว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ถ้าหากพระองค์จะทรงจดจำการอสัตย์อธรรมทั้งหมดไว้, ใครจะทนไหว?” (บทเพลงสรรเสริญ 130:3) ใช่แล้ว พระยะโฮวาไม่ทรงเพ่งเล็งความผิดพลาดของเรา แต่ทรงมองเห็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจเรา. เราทราบเรื่องนี้ได้อย่างไร?
กษัตริย์ดาวิดซึ่งเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์และได้ทำผิด ได้รับการดลใจจากพระเจ้าให้ประพันธ์ถ้อยคำต่อไปนี้ ดังบันทึกไว้ที่บทเพลงสรรเสริญ 139:1-3 (ล.ม.) ว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา พระองค์ได้ทรงพินิจพิเคราะห์ดูข้าพเจ้า และ พระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้า. พระองค์เองทรงทราบเมื่อข้าพเจ้านั่งลงและลุกขึ้น. พระองค์ได้ทรงพิจารณาดูความคิดของข้าพเจ้าจากที่ห่างไกล. การเดินทางของข้าพเจ้าและการเหยียดตัวนอนของข้าพเจ้า พระองค์ได้ทรงวัดแล้ว และพระองค์ทรงคุ้นเคยแม้กระทั่งวิถีทางทั้งปวงของข้าพเจ้า.” วลีที่ว่า “ทรงวัดแล้ว” ในที่นี้หมายความตามตัวอักษรว่า “ร่อน” ส่วนใหญ่แล้วทำในวิธีเดียวกับที่ชาวนาแยกแกลบออกไป เหลือเมล็ดข้าวไว้. ภายใต้การดลใจจากพระเจ้า ดาวิดทำให้เรามั่นใจว่า พระยะโฮวาทรงสามารถร่อนเอาความผิดพลาดของเราออกไปและทรงเก็บรักษาสิ่งดี ๆ ที่เราได้ทำไว้ในความทรงจำของพระองค์.
พระบิดาของเราองค์เปี่ยมด้วยความเมตตาผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ทรงระลึกถึงการงานที่ดีของเราและทรงถือว่าการนั้นมีค่า ตราบใดที่เรายังคงซื่อสัตย์ต่อพระองค์. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าพระองค์จะทรงถือว่าเป็นการอธรรมที่จะลืมการงานของเราและความรักที่เราแสดงต่อพระนามของพระองค์.—เฮ็บราย 6:10.
“เหตุการณ์ที่ได้มีอยู่แต่ดั้งเดิมนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว”
คัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าปัญหาเกี่ยวกับวัยชราไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์สำหรับมนุษยชาติ. เฉพาะแต่หลังจากบิดามารดาแรกเดิมของเรา มนุษย์ชายหญิงคู่แรกได้กบฏต่อพระผู้สร้าง ผลเสียหายที่เกิดจากความชราจึงกลายเป็นเยเนซิศ 3:17-19; โรม 5:12) สภาพการณ์เช่นนี้จะไม่มีอยู่ตลอดไป.
ส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์. (ดังที่กล่าวมาแล้ว สภาพการณ์ที่ไม่ดีหลายอย่างซึ่งเราประสบอยู่ในทุกวันนี้ รวมทั้งการปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุ ประกอบกันเป็นหลักฐานแสดงว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” ของระบบนี้. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะขจัดผลกระทบของบาปให้หมดสิ้นไป รวมทั้งผลเสียหายจากวัยชราและความตาย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุก ๆ หยดจากตาของเขา ความตายจะไม่มีต่อไป การคร่ำครวญและร้องไห้และการเจ็บปวดอย่างหนึ่งอย่างใดจะไม่มีอีกเลย เพราะเหตุการณ์ที่ได้มีอยู่แต่ดั้งเดิมนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว.”—วิวรณ์ 21:4.
ในโลกใหม่ของพระเจ้า ความเจ็บปวดที่เกิดจากวัยชราจะเป็นเรื่องของอดีต. การปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้สูงอายุก็จะหมดไปเช่นเดียวกัน. (มีคา 4:4) แม้แต่คนเหล่านั้นที่ได้เสียชีวิตไปและอยู่ในความทรงจำของพระเจ้าก็จะถูกปลุกให้มีชีวิตอีก เพื่อว่าพวกเขาจะมีโอกาสมีชีวิตอยู่ตลอดไปบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานด้วยเช่นกัน. (โยฮัน 5:28, 29) ในตอนนั้น จะปรากฏชัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเลยว่า พระยะโฮวาพระเจ้าใฝ่พระทัยไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ใฝ่พระทัยทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 แน่นอน แม่ม่ายบางคนไม่ใช่ผู้สูงอายุ. มีการแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่าพระเจ้าทรงใฝ่พระทัยแม่ม่ายที่อ่อนวัยด้วย ตัวอย่างเช่น ที่เลวีติโก 22:13.
^ วรรค 11 นามสมมุติ.
[กรอบ/ภาพหน้า 6, 7]
ความรักในภาคปฏิบัติ
ในท่ามกลางพยานพระยะโฮวา ผู้ปกครองในประชาคมนำหน้าในการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ. พวกเขาถือว่าคำตักเตือนของอัครสาวกเปโตรเป็นเรื่องสำคัญที่ว่า “จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน.” (1 เปโตร 5:2, ฉบับแปลใหม่) การเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุทางกายภาพเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลฝูงแกะของพระเจ้า. แต่เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ต้องใช้ความอดทนและอาจต้องไปเยี่ยมหลายครั้งพร้อมด้วยการสนทนากันฉันมิตรที่แสดงความสนใจเป็นส่วนตัวเพื่อจะสืบให้รู้แน่ชัดถึงความจำเป็นของผู้สูงอายุ. บางทีจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องการไปซื้อของและการทำความสะอาดบ้าน, การรับส่งไปยังการประชุมคริสเตียน, การอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือคริสเตียน, และสิ่งอื่นอีกหลายอย่าง. ในกรณีที่เป็นไปได้ ควรมีการจัดเตรียมที่ใช้ได้จริงและวางใจได้และดำเนินการตามนั้น. *
แต่จะว่าอย่างไรถ้าพี่น้องชายหญิงที่สูงวัยในประชาคมอยู่ในสภาพลำบากแสนสาหัส บางทีจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านการเงิน? ทีแรก คงจะเหมาะสมที่จะสอบถามดูว่ามีลูกหลานหรือญาติคนอื่น ๆ หรือไม่ที่สามารถช่วยเหลือได้. การทำเช่นนี้จะสอดคล้องกับสิ่งที่มีกล่าวไว้ใน 1 ติโมเธียว 5:4 (ล.ม.) ที่ว่า “ถ้าแม่ม่ายคนใดมีลูกหรือหลาน ก็ให้คนเหล่านี้เรียนรู้ที่จะแสดงความเลื่อมใสพระเจ้าในครอบครัวของตัวเองก่อน และทดแทนบุญคุณบิดามารดาหรือปู่ย่าตายายของตนเสมอ เพราะการทำอย่างนี้เป็นที่ชอบในสายพระเนตรพระเจ้า.”
อาจเป็นได้ที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการสืบหาว่าเขามีคุณสมบัติหรือไม่ที่จะได้รับการสงเคราะห์ใด ๆ ที่รัฐบาลจัดเตรียมให้. บางทีบางคนในประชาคมจะสามารถช่วยได้. หากไม่มีทางที่จะได้รับการสงเคราะห์ดังกล่าว ผู้ปกครองสามารถตัดสินว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติที่จะได้รับการช่วยเหลือจากประชาคมหรือไม่. ในบางกรณี มีการอนุญาตให้ทำเช่นนี้ในประชาคมศตวรรษแรก เพราะอัครสาวกเปาโลได้เขียนถึงติโมเธียวเพื่อนร่วมงานของท่านว่า “อย่าให้แม่ม่ายคนใดที่มีอายุน้อยกว่าหกสิบปีลงชื่อในทะเบียนแม่ม่ายนั้น, และให้ได้เป็นภรรยาของชายผู้เดียว, กับได้เคยมีชื่อเสียงว่าได้กระทำการดี, เช่นได้บำรุงเลี้ยงลูก, ได้เอาใจใส่ในการรับแขก, ได้ล้างเท้าสิทธชน, ได้สงเคราะห์คนที่ได้รับความลำบาก, และได้อุสส่าห์กระทำการดีทุกอย่าง.”—1 ติโมเธียว 5:9, 10.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 25 สำหรับการพิจารณาเพิ่มเติม โปรดดูบทความเรื่อง “การสนองความจำเป็นของผู้สูงอายุท่ามกลางพวกเรา—ข้อท้าทายสำหรับคริสเตียน” ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 สิงหาคม 1988.
[ภาพหน้า 5]
โดระกาเอาใจใส่ดูแลพวกแม่ม่ายที่ขัดสน.—กิจการ 9:36-39