รับใช้ด้วยความชื่นชมยินดีแม้ทุพพลภาพ
เรื่องราวชีวิตจริง
รับใช้ด้วยความชื่นชมยินดีแม้ทุพพลภาพ
เล่าโดย วาร์นาวัส สเปตซิโอทิส
ในปี 1990 เมื่ออายุ 68 ปี ผมเป็นอัมพาต. กระนั้น ผมรับใช้ ด้วยความชื่นชมยินดีฐานะผู้รับใช้เต็มเวลาบนเกาะไซปรัสจวบจนปัจจุบันก็ประมาณ 15 ปีแล้ว. มีสิ่งใดหรือช่วยผมให้มีกำลังเรี่ยวแรงทำงานรับใช้พระยะโฮวาได้ ทั้ง ๆ ที่ทุพพลภาพ?
ผมเกิดวันที่ 11 ตุลาคม ปี 1922 ในครอบครัวที่มีลูกเก้าคน—ลูกชายสี่ ลูกสาวห้า. เราอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคซิโลฟากู บนเกาะไซปรัส. แม้ฐานะของพ่อแม่ค่อนข้างดี แต่การทำมาหาเลี้ยงครอบครัวใหญ่ขนาดนี้ก็คงต้องตรากตรำงานหนักในเรือกสวนไร่นา.
อันดอนนิสพ่อของผม ปกติแล้วเป็นคนชอบศึกษาและอยากรู้อยากเห็น. ไม่นานหลังจากที่ผมเกิด พ่อได้แวะไปเยี่ยมครูโรงเรียนของหมู่บ้าน และได้สังเกตเห็นแผ่นพับชื่อธรรมาสน์ของประชาชน จัดพิมพ์โดยนักศึกษาพระคัมภีร์ในสมัยนั้น (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่าพยานพระยะโฮวา). พ่อเริ่มอ่านและไม่นานก็ฝักใฝ่ข่าวสารในแผ่นพับนั้น. สิ่งที่ตามมาคือ พ่อและแอนเดรอัส คริสตู เพื่อนของพ่ออยู่ในกลุ่มแรกบนเกาะนี้ที่คบหากับพยานพระยะโฮวา.
เจริญเติบโตแม้มีการขัดขวาง
ต่อมา ทั้งสองคนได้รับหนังสือและสิ่งพิมพ์อีกหลายอย่างซึ่งยึดคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักจากพยานพระยะโฮวา. ไม่นานหลังจากนั้น พ่อและแอนเดรอัสก็เกิดแรงกระตุ้นที่จะพูดคุยกับเพื่อนบ้านเกี่ยวกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลที่เขากำลังเรียนอยู่. งานประกาศเผยแพร่ของเขาเป็นเหตุให้มีการต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากนักบวชนิกายกรีกออร์โทด็อกซ์
และคนอื่น ๆ คิดว่าพยานพระยะโฮวาเป็นกลุ่มอิทธิพลที่อันตราย.ผู้สอนคัมภีร์ไบเบิลสองคนนี้เป็นที่นับถือของชาวบ้านในท้องถิ่น. พ่อของผมได้ชื่อว่าเป็นคนมีเมตตาและโอบอ้อมอารี. บ่อยครั้ง ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือครอบครัวต่าง ๆ ที่ยากจน. หลายครั้ง ท่านแอบออกจากบ้านตอนดึกพร้อมกับนำถุงแป้งสาลีหรือขนมปังไปวางไว้ตามประตูบ้านของครอบครัวที่ขัดสน. ความประพฤติแบบคริสเตียนอย่างไม่เห็นแก่ตัวของผู้เผยแพร่ทั้งสองคนได้เพิ่มคุณค่าของข่าวสารให้น่าดึงดูดใจมากขึ้น.—มัดธาย 5:16.
ผลสืบเนื่องปรากฏว่ามีประมาณสิบสองคนหันมาสนใจข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิล. ขณะที่การหยั่งรู้ค่าความจริงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาเห็นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาพระคัมภีร์เป็นกลุ่มในหลาย ๆ บ้าน. ราว ๆ ปี 1934 นิโคส มาเตอัคกิส ผู้เผยแพร่ประเภทเต็มเวลาจากประเทศกรีซได้มาถึงไซปรัสและร่วมการประชุมกับกลุ่มคซิโลฟากู. ด้วยความเพียรอดทนและความตั้งใจ บราเดอร์มาเตอัคกิสได้จัดระเบียบกลุ่ม และช่วยพวกเขาให้เข้าใจเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลดีขึ้น. ต่อมา กลุ่มนี้กลายเป็นประชาคมพยานพระยะโฮวาประชาคมแรกในไซปรัส.
ขณะที่การงานของคริสเตียนเจริญเติบโตและจำนวนประชาชนที่ยอมรับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเพิ่มขึ้น พวกพี่น้องเล็งเห็นความจำเป็นว่าพวกเขาต้องมีสถานประชุมที่ถาวร. พี่ชายคนโตของผมคือจอร์จและเอเลนีภรรยาได้ยกโรงนาของเขาให้เพื่อทำเป็นที่ประชุม. โรงนานี้ซึ่งอยู่ติดบ้านของเขาจึงได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมให้เหมาะสมสำหรับเป็นสถานที่ประชุม. พวกพี่น้องชายหญิงจึงเป็นเจ้าของหอประชุมราชอาณาจักรแห่งแรกบนเกาะนี้. พวกเขาสำนึกบุญคุณสักเพียงไร! และปรากฏว่าเป็นพลังกระตุ้นอย่างแท้จริงที่ทำให้กิจการเจริญเติบโตต่อไป!
การทำให้ความจริงเป็นของตัวเอง
ปี 1938 ตอนนั้นผมอายุ 16 ปี ผมได้ตัดสินใจเลือกอาชีพช่างไม้. ดังนั้น พ่อจึงส่งผมไปนิโคเซีย เมืองหลวงของไซปรัส. ด้วยความสุขุมมองการณ์ไกล พ่อจัดแจงให้ผมอาศัย
อยู่กับนิโคส มาเตอัคกิส. มีหลายคนบนเกาะยังคงระลึกถึงบราเดอร์ที่ซื่อสัตย์ผู้นี้ในด้านความกระตือรือร้นและการมีน้ำใจรับรองแขก. ความศรัทธาแรงกล้าอย่างเห็นได้ชัดและความกล้าหาญมั่นคงของเขาเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับคริสเตียนบนเกาะไซปรัสสมัยนั้น.บราเดอร์มาเตอัคกิสช่วยผมมากเพื่อให้ได้ความรู้พื้นฐานของคัมภีร์ไบเบิลและเพื่อจะก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ. ขณะพักอยู่กับเขา ผมได้เข้าร่วมการประชุมทุกรายการซึ่งจัดขึ้นที่บ้านของเขา. เป็นครั้งแรกที่ผมสำนึกว่าความรักที่ผมมีต่อพระยะโฮวานั้นแรงกล้ามากขึ้น. ผมจึงได้ตัดสินใจแน่วแน่จะสร้างสัมพันธภาพอย่างมีความหมายกับพระเจ้า. เพียงไม่กี่เดือน ผมก็ขอร่วมงานประกาศกับบราเดอร์มาเตอัคกิส. ตอนนั้นเป็นปี 1939.
ต่อมา ผมกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัว. การอยู่กับพ่อในช่วงหนึ่งเสริมความเชื่อมั่นของผมที่ได้พบความจริงและความหมายของชีวิต. เดือนกันยายนปี 1939 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2. หนุ่ม ๆ ในวัยเดียวกันกับผมหลายคนพากันอาสาสมัครออกไปทำสงคราม แต่เพราะเชื่อฟังการชี้นำของคัมภีร์ไบเบิล ผมจึงตัดสินใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด. (ยะซายา 2:4; โยฮัน 15:19) ณ ปีเดียวกันนั้นเองผมได้อุทิศตัวแด่พระยะโฮวาและรับบัพติสมาในปี 1940. เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกว่าไม่กลัวหน้ามนุษย์!
ปี 1948 ผมแต่งงานกับเอฟเปรเปีย และมีลูกด้วยกันสี่คน. ไม่ช้าเราก็ตระหนักว่าจะต้องทำงานหนักในการเลี้ยงดูลูก “ด้วยการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา.” (เอเฟโซ 6:4, ล.ม.) คำอธิษฐานและความบากบั่นของเรามุ่งอยู่ที่การปลูกฝังให้ลูก ๆ รักพระยะโฮวาอย่างลึกซึ้งและเคารพเชื่อฟังกฎหมายและหลักการต่าง ๆ ของพระองค์.
ปัญหาด้านสุขภาพเป็นสิ่งท้าทาย
ปี 1964 ตอนอายุ 42 ผมก็เริ่มรู้สึกชาตามมือและขาข้างขวา. อาการชาค่อย ๆ ลามไปถึงซีกซ้าย. การวินิจฉัยโรคบ่งชี้ว่ากล้ามเนื้อลีบ เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หาย และในที่สุดจะกลายเป็นอัมพาต. ผมตกใจมากเมื่อรู้ข่าวนี้. สภาพการณ์เหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างกะทันหันและโดยไม่คาดคิด! ผมหมกมุ่นคิดโกรธและคับแค้น ผมคิดว่า ‘ทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นกับผม? ผมทำผิดอะไรถึงได้ถูกลงโทษอย่างนี้?’ แต่ในเวลาต่อมา ผมก็สามารถระงับความวิตกกลัวผลการ
วินิจฉัยโรคในตอนแรกได้. แต่แล้ว ผมก็รู้สึกอัดแน่นไปด้วยความวิตกกังวลและความไม่แน่นอน. คำถามมากมายวนเวียนอยู่ในใจผม. ผมจะเป็นอัมพาตกระดิกตัวไม่ได้และต้องพึ่งอาศัยคนอื่นทุกอย่างไหม? ผมจะรับมืออย่างไร? ผมจะสามารถหาเลี้ยงครอบครัว—ภรรยากับลูกทั้งสี่คนของเราได้ไหม? เมื่อคิดเรื่องนี้ทีไร ผมรู้สึกปวดร้าวขึ้นมาทีเดียว.ชีวิตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออันวิกฤตนี้ ผมตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องหมายพึ่งพระยะโฮวายิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอธิษฐานทูลต่อพระยะโฮวาอย่างจริงใจเกี่ยวกับความกังวลและความทุกข์ร้อนใจทั้งมวล. ผมอธิษฐานทั้งน้ำตาอย่างไม่ละลดวันแล้ววันเล่า. ไม่นานหลังจากนั้น ผมรู้สึกสบายใจขึ้น. ถ้อยคำปลอบโยนที่ฟิลิปปอย 4:6, 7 (ล.ม.) เป็นจริงในกรณีของผมที่ว่า “อย่ากระวนกระวายด้วยสิ่งใด แต่ในทุกสิ่งจงทูลขอต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานและการวิงวอนพร้อมด้วยการขอบพระคุณ; แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่านไว้โดยพระคริสต์เยซู.”
สู้อัมพาต
อาการป่วยของผมหนักขึ้นเรื่อย ๆ. ผมตระหนักดีว่าต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับสภาวะใหม่ที่ผมเผชิญอยู่. เนื่องจากผมไม่สามารถทำงานช่างไม้ได้อีกต่อไป ผมจึงตัดสินใจทำอาชีพอื่นซึ่งไม่ใช่งานหนัก ทว่าเหมาะกับสภาพร่างกายของตัวเอง และผมยังจะหาเลี้ยงครอบครัวได้. ทีแรก ผมใช้รถยนต์คันเล็ก ๆ ออกเร่ขายไอศกรีม. ผมทำอย่างนี้ประมาณหกปีกระทั่งความเจ็บป่วยทำให้ผมต้องเปลี่ยนมาใช้เก้าอี้ล้อ. แล้วผมปรับเปลี่ยนการทำงานที่เบากว่าเท่าที่ผมทำไหว.
ตั้งแต่ปี 1990 สุขภาพร่างกายผมทรุดหนัก ถึงขั้นไม่สามารถประกอบอาชีพใด ๆ ได้เลย. ถึงตอนนี้ผมพึ่งการช่วยเหลือจากผู้อื่นอย่างสิ้นเชิง แม้กระทั่งกิจวัตรซึ่งคนปกติทำได้. ผมต้องมีคนช่วยเวลาเข้านอน, อาบน้ำ, และใส่เสื้อผ้า. การจะไปประชุมก็ต้องอาศัยคนช่วยเข็นเก้าลี้ล้อ แล้วอุ้มผมขึ้นรถยนต์. เมื่อถึงหอประชุม มีคนอุ้มผมออกจากรถและให้นั่งเก้าอี้ล้อ แล้วก็จะเข็นเก้าอี้เข้าไปข้างใน. ระหว่างการประชุมดำเนินอยู่ ผมมีเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าอยู่ใกล้ตัวเพื่อทำให้เท้าอุ่น.
ทั้ง ๆ ที่เป็นอัมพาต ผมเข้าร่วมการประชุมค่อนข้างสม่ำเสมอ. ผมตระหนักว่า ที่นี่เป็นแหล่งที่พระยะโฮวาทรงสั่งสอนเรา และการได้อยู่กับพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณเป็นที่คุ้มภัยอันมั่นคง อีกทั้งเป็นแหล่งช่วยเหลือและชูกำลังซึ่งกันและกันอีกด้วย. (เฮ็บราย 10:24, 25). การที่เพื่อนร่วมความเชื่อซึ่งอาวุโสฝ่ายวิญญาณมาเยี่ยมเป็นประจำเท่ากับให้การสงเคราะห์ผมอย่างต่อเนื่อง. จริง ๆ แล้ว ผมมีความรู้สึกเหมือนดาวิดที่ว่า “จอกดื่มของข้าพเจ้าเต็มล้นอยู่.”—บทเพลงสรรเสริญ 23:5.
ภรรยาสุดที่รักของผมเป็นผู้ช่วยที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ ตลอดหลายปี. ลูก ๆ ก็เช่นกันได้เกื้อกูลผมมากเหลือเกิน. นานหลายปีทีเดียวที่ลูกทุกคนได้จัดหาปัจจัยยังชีพประจำวันที่จำเป็นให้ผม. สิ่งที่พวกลูก ๆ ทำไปนั้นไม่ง่าย และยิ่งหลายปีผ่านไป การเอาใจใส่ดูแลผมก็ยิ่งยากลำบาก. อันที่จริง พวกเขาเป็นตัวอย่างด้านการปลูกฝังความเพียรอดทนและการสละตัวเอง และผมอธิษฐานขอพระยะโฮวาโปรดอวยพรพวกเขาเรื่อยไป.
การอธิษฐานเป็นวิธีการจัดเตรียมที่น่าพิศวงอีกอย่างหนึ่งจากพระยะโฮวาเพื่อเสริมกำลังใจผู้รับใช้ของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2) ในการตอบคำวิงวอนอย่างจริงใจนั้น พระยะโฮวาโปรดให้ผมมีกำลังเข้มแข็งคงอยู่ได้ในความเชื่อตลอดหลายปี. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผมรู้สึกท้อแท้ การอธิษฐานช่วยผมผ่อนคลายและช่วยผมคงไว้ซึ่งความยินดี. การติดต่อกับพระยะโฮวาอย่างไม่ละลดทำให้ผมสดชื่น และมีพลังมุ่งมั่นจะทำงานรับใช้ต่อ ๆ ไป. ผมมั่นใจจริง ๆ ว่าพระยะโฮวาสดับคำอธิษฐานของผู้รับใช้ของพระองค์ และทรงบันดาลความสงบใจแก่เขาตามที่จำเป็น.—บทเพลงสรรเสริญ 51:17; 1 เปโตร 5:7.
ที่สำคัญอย่างยิ่ง ผมสดชื่นร่าเริงมากขึ้นทุก ๆ ครั้งที่ระลึกว่า ในที่สุดพระเจ้าจะเยียวยาคนทั้งปวงที่ได้รับรางวัลคือชีวิตในอุทยานภายใต้การปกครองแห่งราชอาณาจักรของบทเพลงสรรเสริญ 37:11, 29; ลูกา 23:43; วิวรณ์ 21:3, 4.
พระบุตรเยซูคริสต์. หลายครั้งที่น้ำตาแห่งความยินดีของผมไหลอาบแก้มเมื่อคิดใคร่ครวญถึงความหวังอันน่าพิศวงนั้น.—รับใช้เป็นผู้เผยแพร่ประเภทเต็มเวลา
ประมาณปี 1991 ภายหลังการวิเคราะห์สภาพการณ์ส่วนตัวแล้ว ผมตระหนักว่าทางดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการสมเพชตัวเองคือใส่ใจในงานแจกปันข่าวดีอันล้ำค่าเรื่องราชอาณาจักรแก่ผู้อื่น. ปีนั้นเอง ผมก็เริ่มรับใช้เป็นผู้เผยแพร่ประเภทเต็มเวลา.
เนื่องจากทุพพลภาพ ผมจะให้คำพยานส่วนใหญ่โดยการเขียนจดหมาย. อย่างไรก็ตาม สำหรับผม การเขียนอะไรนั้นไม่ง่าย ต้องเพียรพยายามจริง ๆ. ผมรู้สึกว่ายากมากที่จะจับปากกาให้แน่น เพราะกล้ามเนื้อลีบ. กระนั้น ด้วยความอุตสาหะพากเพียรและการอธิษฐาน ผมให้คำพยานโดยทางจดหมาย ตอนนี้ผ่านมา 15 ปีกว่าแล้ว. นอกจากนั้น ผมใช้โทรศัพท์ในการประกาศข่าวสารแก่ผู้คนด้วย. ผมไม่เคยพลาดโอกาสสนทนาเรื่องความหวังเกี่ยวกับโลกใหม่และแผ่นดินโลกที่จะเป็นอุทยานกับญาติมิตรรวมถึงเพื่อนบ้านผู้ซึ่งแวะมาเยี่ยม.
ผลคือ ผมรู้สึกชื่นชมยินดีกับประสบการณ์มากมายที่ให้กำลังใจ. ผมปลาบปลื้มที่เห็นหลานชายคนที่ผมเคยนำการศึกษาพระคัมภีร์เมื่อ 12 ปีก่อนได้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณและแสดงความหยั่งรู้ค่าความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. โดยได้รับแรงกระตุ้นจากสติรู้สึกผิดชอบที่ถูกฝึกสอนตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิล เขายังคงรักษาความซื่อสัตย์ภักดีและมั่นคงในประเด็นความเป็นกลางของคริสเตียน.
ผมดีใจเป็นพิเศษเมื่อคนที่ผมเคยเขียนจดหมายให้คำพยานนั้นได้ติดต่อกลับมาเพราะอยากรู้เรื่องในคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้น. บางครั้ง เขาต้องการสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลอีก. ตัวอย่างเช่น สตรีคนหนึ่งโทรศัพท์กล่าวขอบคุณผมที่ส่งจดหมายหนุนใจสามีของเธอ. เธอเห็นว่าแนวคิดในจดหมายนั้นน่าสนใจมาก. นี่นำไปสู่การพิจารณาพระคัมภีร์กับเธอและสามีหลายครั้งที่บ้านของผมเอง.
มุมมองในทางบวก
ตลอดหลายปี ผมเห็นจำนวนผู้ประกาศราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นมากในภูมิภาคแถบนี้. หอประชุมราชอาณาจักรหลังเล็กที่อยู่ถัดบ้านจอร์จพี่ชายผม ได้ขยายและทำใหม่หลายครั้ง. มีสองประชาคมของพยานพระยะโฮวาใช้สถานนมัสการที่สวยงามนี้ร่วมกัน.
พ่อผมเสียชีวิตปี 1943 ในวัย 52. ทว่ามรดกฝ่ายวิญญาณที่ท่านได้ละไว้ช่างดีวิเศษเสียนี่กระไร! ลูกชายหญิงแปดคนของท่านรับรองเอาความจริงและยังคงรับใช้พระยะโฮวาอยู่. ในหมู่บ้านคซิโลฟากู บ้านเกิดของพ่อและหมู่บ้านใกล้เคียง เวลานี้มีสามประชาคม รวมผู้ประกาศทั้งสิ้น 230 คน!
ผลดีเยี่ยมดังกล่าวเป็นแหล่งให้ความชื่นชมยินดีอย่างมากมายแก่ผมเรื่อยมา. อายุผมตอนนี้ 83 ปีแล้ว ผมขอกล่าวซ้ำถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญด้วยความมั่นใจที่ว่า “สิงโตหนุ่ม ๆ ยังเคยต้องขัดสน, และแสบท้อง; แต่ส่วนเหล่าคนที่แสวงหาพระยะโฮวาจะไม่ขัดสนสิ่งที่ดีเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:10) ผมจดจ่อตั้งใจคอยเวลาเมื่อคำพยากรณ์ที่บันทึกลงในยะซายา 35:6 ปรากฏเป็นจริงที่ว่า “แล้วคนง่อยจะเต้นได้ดุจดังอีเก้ง.” จนกระทั่งถึงเวลานั้น ผมตั้งใจแน่วแน่จะรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยความชื่นชมยินดี แม้ผมเป็นคนทุพพลภาพ.
[แผนที่หน้า 17]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
ตุรกี
ซีเรีย
เลบานอน
ไซปรัส
นิโคเซีย
คซิโลฟากู
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
[ภาพหน้า 17]
หอประชุมแห่งแรกในคซิโลฟากู ปัจจุบันยังคงใช้อยู่
[ภาพหน้า 18]
กับเอฟเปรเปียในปี 1946 และปัจจุบัน
[ภาพหน้า 20]
ผมรู้สึกยินดีในการให้คำพยานทางโทรศัพท์และเขียนจดหมาย