การแสวงหาความสว่าง
การแสวงหาความสว่าง
“ความไม่รู้ไม่มีทางดีไปกว่าความรู้เลย” ลอรา เฟอร์มิ ภรรยาของเอนริโก เฟอร์มินักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้. บางคนอาจไม่เห็นด้วย โดยโต้แย้งว่าสิ่งที่คุณไม่รู้จะไม่มีวันก่อผลเสียหายแก่คุณ. อย่างไรก็ดี สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว คำกล่าวนี้เป็นความจริง ไม่เพียงในแวดวงการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่ในขอบเขตอื่นของชีวิตด้วย. การไม่รู้ความจริงได้ทำให้ผู้คนมากมายล้มลุกคลุกคลานอยู่ในความมืดทางด้านปัญญา, ด้านศีลธรรม, และด้านศาสนาเป็นเวลาหลายศตวรรษ.—เอเฟโซ 4:18.
เพราะเหตุนั้น คนช่างคิดจึงแสวงหาความสว่าง. พวกเขาต้องการทราบว่าเหตุใดเราจึงมีชีวิตอยู่และจะเกิดอะไรขึ้นกับเราในอนาคต. พวกเขาได้ใช้หลายแนวทางในการแสวงหาความสว่าง. ขอให้เราพิจารณาสั้น ๆ ถึงแนวทางบางอย่าง.
โดยแนวทางทางศาสนาหรือ?
ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาของศาสนาพุทธ สิทธารถเคาตมะ ผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ รู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งเนื่องจากความทุกข์และความตายของมนุษย์ จึงได้ขอครูสอนศาสนาชาวฮินดูให้ช่วยเหลือเพื่อจะพบ “ทางแห่งความจริง.” ครูสอนเหล่านี้บางคนได้แนะนำให้ใช้โยคะและการหักห้ามใจตัวเองอย่างเด็ดขาด. ในที่สุดเคาตมะเลือกขั้นตอนในการทำสมาธิด้วยตัวเองอย่างคร่ำเคร่งโดยถือว่าเป็นวิธีที่นำไปสู่การตรัสรู้หรือการรู้แจ้ง.
คนอื่น ๆ ได้ใช้ยาหลอนประสาทในการสืบค้นหาความจริง. ตัวอย่างเช่น ในทุกวันนี้ สมาชิกของคริสตจักรชาวพื้นเมืองอเมริกันพรรณนาถึงต้นกระบองเพชรชนิดหนึ่งที่มีสารออกฤทธิ์หลอนประสาทว่าเป็น “ตัวเปิดเผยความรู้ที่ซ่อนอยู่.”
ชอง-ชาก รูสโซ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่สิบแปดเชื่อว่าผู้ซักถามที่จริงใจไม่ว่าคนใดสามารถได้รับการเปิดเผยเป็นส่วนตัวจากพระเจ้า. โดยวิธีใด? โดยการฟัง “สิ่งที่พระเจ้าตรัสแก่หัวใจ.” ถ้าเช่นนั้น คุณรู้สึก อย่างไรในเรื่องสิ่งต่าง ๆ นั่นคือสิ่งที่อารมณ์ความรู้สึกและสติรู้สึกผิดชอบบอกคุณ—จะกลายเป็น “เครื่องนำทางที่วางใจได้มากกว่าในท่ามกลางความคิดเห็นของมนุษย์ที่ซับซ้อนอย่างมากมายเช่นนี้” รูสโซได้กล่าวไว้.—ประวัติของปรัชญาตะวันตก (ภาษาอังกฤษ).
โดยทางการหาเหตุผลไหม?
หลายคนในสมัยเดียวกันกับรูสโซไม่เห็นด้วยอย่างแข็งกร้าวกับวิธีการทางศาสนาเช่นนั้น. ตัวอย่างเช่น วอลแตร์เพื่อนร่วมชาติชาวฝรั่งเศสรู้สึกว่า แทนที่จะให้ความสว่างแก่ประชาชน ศาสนากลับเป็นปัจจัยหลักทำให้ยุโรปตกเข้าสู่ความไม่รู้แจ้ง, การถือโชคลาง, และการไม่ยอมให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นเวลาหลายศตวรรษระหว่างช่วงที่นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่าเป็นยุคมืด.
วอลแตร์ได้มาเป็นสมาชิกของขบวนการนักเหตุผลนิยมในยุโรปซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าขบวนการ
ยุคสว่าง. เหล่าสาวกของขบวนการนี้ได้รวมเอาแนวคิดของกรีกโบราณเข้าไว้ด้วย กล่าวคือ เหตุผลของมนุษย์และการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสว่างแท้. สมาชิกของขบวนการนักเหตุผลนิยมอีกคนหนึ่ง เบอร์นาร์ด เดอ ฟงเตอเนลคิดว่า เมื่อมนุษย์อาศัยเหตุผลของตนเอง ก็จะนำมนุษยชาติไปสู่ “ศตวรรษซึ่งจะมีการให้ความสว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจะถือว่าศตวรรษก่อนหน้านั้นทั้งหมดอยู่ในความมืดมนโดยการเปรียบเทียบ.”—สารานุกรมบริแทนนิกา.นี่เป็นเพียงแนวคิดบางอย่างในหลาย ๆ อย่างที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับวิธีบรรลุความสว่าง. มี “เครื่องนำทางที่วางใจได้” อย่างแท้จริงใด ๆ ไหมที่เราจะหมายพึ่งได้ในการแสวงหาความจริง? ขอพิจารณาสิ่งที่บทความถัดไปได้กล่าวไว้เกี่ยวกับแหล่งที่วางใจได้เกี่ยวกับความสว่าง.
[ภาพหน้า 3]
เคาตมะ (พระพุทธเจ้า), รูสโซ, และวอลแตร์มีแนวทางที่ต่างกันในการแสวงหาความสว่าง