พวกเขาถือกำเนิดในชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร
พวกเขาถือกำเนิดในชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร
“พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทรงเลือกท่าน . . . ให้มาเป็นชนชาติ . . . ของพระองค์.”—พระบัญญัติ 7:6, ฉบับแปลใหม่.
1, 2. พระยะโฮวาทรงทำการใหญ่อะไรเพื่อประโยชน์ของประชาชนของพระองค์ และชาวอิสราเอลได้เข้ามามีสายสัมพันธ์เช่นไรกับพระเจ้า?
ในปี 1513 ก่อนสากลศักราช พระยะโฮวาทรงนำผู้รับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลกเข้าสู่สายสัมพันธ์แบบใหม่กับพระองค์. ในปีนั้น พระองค์ทรงทำให้มหาอำนาจโลกในเวลานั้นต้องพบกับความอัปยศและช่วยชาวอิสราเอลหลุดพ้นจากการเป็นทาส. ด้วยการทำเช่นนั้น พระองค์ได้กลายมาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและเป็นเจ้าของพวกเขา. ก่อนจะทรงลงมือ พระเจ้าทรงบอกโมเซว่า “จงกล่าวแก่ชาติยิศราเอลนั้นว่า, เราคือยะโฮวา, เราจะนำหน้าเจ้าทั้งหลายให้ออกจากการเกณฑ์ของชนชาติอายฆุบโต. และจะให้พ้นจากการเป็นทาสของเขา, และเราจะให้เจ้ารอดด้วยกรที่เหยียดออก, และด้วยการปรับโทษอันใหญ่หลวง: เราจะรับเจ้าทั้งหลายเป็นพลไพร่, และเราจะเป็นพระเจ้าของเจ้า.”—เอ็กโซโด 6:6, 7; 15:1-7, 11.
2 ไม่นานหลังจากอพยพออกจากอียิปต์ ชาวอิสราเอลเข้ามามีสายสัมพันธ์กับพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเขาโดยอาศัยสัญญาที่ทำกับพระองค์. แทนที่จะดำเนินการกับบุคคล, ครอบครัว, หรือเผ่าพันธุ์เหมือนในอดีต นับแต่นั้นไปพระยะโฮวาจะทรงมีประชาชนของพระองค์ซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นชาติหนึ่งบนแผ่นดินโลก. (เอ็กโซโด 19:5, 6; 24:7) พระองค์ประทานกฎหมายแก่ประชาชนของพระองค์ซึ่งช่วยให้มีการจัดระเบียบสังคม และควบคุมในเรื่องที่สำคัญกว่าคือการนมัสการของพวกเขา. โมเซกล่าวแก่พวกเขาว่า “มีประเทศที่ไหนเป็นประเทศใหญ่, ผู้มีพระเจ้าอยู่ใกล้เขาทั้งหลาย, เหมือนอย่างพระยะโฮวาพระเจ้าของเราอยู่ใกล้เราทั้งหลายเมื่อเราอธิษฐานขอพระองค์นั้น? และมีประเทศไหนเป็นประเทศใหญ่, ที่มีกฎหมายและข้อพิพากษาอันยุติธรรมเหมือนอย่างข้อกฎหมายเหล่านี้, ที่เราตั้งไว้ให้แก่เจ้าทั้งหลายวันนี้?”—พระบัญญัติ 4:7, 8.
ถือกำเนิดในชาติที่เป็นพยาน
3, 4. อิสราเอลอยู่ในฐานะชาติด้วยเหตุผลสำคัญอะไร?
3 หลายศตวรรษต่อมา พระยะโฮวาทรงเตือนชาวอิสราเอล โดยทางผู้พยากรณ์ยะซายา ให้ระลึกถึงเหตุผลสำคัญที่พวกเขาอยู่ในฐานะชาติ. ยะซายากล่าวว่า “พระยะโฮวาผู้ได้ทรงสร้างเจ้าและได้ทรงปั้นเจ้า, ตรัสว่าดังนี้: ‘อย่ากลัวเลย, เพราะเราทรงไถ่ค่าตัวเจ้าแล้ว, เราได้เรียกเจ้าตามชื่อของเจ้า, เจ้าเป็นคนของเรา. ด้วยเราคือพระยะโฮวาเจ้าของเจ้า, องค์บริสุทธิ์แห่งชนชาติยิศราเอลเป็นผู้ช่วยให้รอดของเจ้า. . . . จงนำบุตราของเรามาแต่ไกล, และบุตรีของเราจากสุดปลายแผ่นดินโลก; คือทุกคนที่ถูกเรียกชื่อตามนามของเรา, และซึ่งเราได้สร้างขึ้นและได้ปั้นและได้แต่งตั้งเพื่อจะได้ถวายเกียรติยศแก่เรา.’ พระยะโฮวาตรัสว่า, ‘เจ้าทั้งหลายเป็นพยานของเรา, และเป็นผู้รับใช้ของเราที่เราได้ยะซายา 43:1, 3, 6, 7, 10, 21.
เลือกสรรไว้ . . . คือพลเมืองซึ่งเราได้สร้างไว้สำหรับตัวของเราเองเพื่อเขาจะได้สรรเสริญเรา.’ ”—4 ในฐานะประชาชนที่ถูกเรียกตามพระนามพระยะโฮวา ชาวอิสราเอลจะรับใช้เป็นพยานถึงพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ต่อชาติทั้งปวง. พวกเขาต้องเป็นประชาชนที่ ‘สร้างไว้เพื่อจะได้ถวายพระเกียรติแด่พระยะโฮวา.’ พวกเขาต้อง ‘สรรเสริญพระยะโฮวา’ บอกเล่าถึงพระราชกิจในการช่วยให้รอดอย่างมหัศจรรย์ และถวายพระเกียรติแด่พระนามอันบริสุทธิ์ของพระองค์โดยวิธีนั้น. กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พวกเขาต้องเป็นชาติที่เป็นพยานของพระยะโฮวา.
5. อิสราเอลเป็นชาติที่อุทิศตัวในแง่ใด?
5 ในศตวรรษที่ 11 ก่อน ส.ศ. กษัตริย์ซะโลโมบ่งชี้ว่าพระยะโฮวาได้ทรงแยกอิสราเอลไว้ต่างหากให้เป็นชาติหนึ่ง. ท่านกล่าวในคำอธิษฐานถึงพระยะโฮวาว่า “พระองค์ทรงแยกเขาจากท่ามกลางชนชาติทั้งหลายของแผ่นดินโลกให้เป็นมรดกของพระองค์.” (1 กษัตริย์ 8:53, ฉบับแปลใหม่) ชาวอิสราเอลแต่ละคนก็มีสายสัมพันธ์เป็นพิเศษกับพระยะโฮวาด้วย. ก่อนหน้านั้น โมเซได้บอกพวกเขาว่า “เจ้าทั้งหลายเป็นบุตรของพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า. . . . ด้วยเจ้าทั้งหลายเป็นชาติบริสุทธิ์แก่พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า.” (พระบัญญัติ 14:1, 2) ด้วยเหตุนั้น ผู้เยาว์ชาวอิสราเอลไม่จำเป็นต้องทำการอุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา. พวกเขาเกิดมาเป็นสมาชิกของประชาชนที่อุทิศตัวแด่พระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 79:13; 95:7) คนรุ่นใหม่ในแต่ละชั่วอายุได้รับการสอนกฎหมายของพระยะโฮวาและมีพันธะจะต้องรักษากฎหมายนี้เนื่องจากสัญญานั้นผูกพันชาติอิสราเอลไว้กับพระยะโฮวา.—พระบัญญัติ 11:18, 19.
มีอิสระที่จะเลือก
6. ชาวอิสราเอลแต่ละคนต้องเลือกอะไร?
6 แม้ว่าชาวอิสราเอลเกิดมาในชาติที่อุทิศตัว แต่ละคนต้องตัดสินใจเป็นส่วนตัวว่าจะรับใช้พระเจ้า. ก่อนพวกเขาเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา โมเซบอกพวกเขาว่า “วันนี้เราต้องอ้างสวรรค์และแผ่นดินมาให้เป็นพยานต่อหน้าเจ้าทั้งหลายว่า, เราได้ตั้งชีวิตและความตาย, กับความอวยพรและความแช่งไว้ตรงหน้าเจ้าทั้งหลาย; เหตุฉะนี้เจ้าทั้งหลายจะเลือกเอาข้างชีวิต, ตัวเจ้าและเผ่าพันธุ์ของเจ้าจะได้มีชีวิตจำเริญอยู่; เพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้รักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, เพื่อฟังถ้อยคำของพระองค์, และนับถือพระองค์, เพราะพระองค์เป็นชีวิตของเจ้า, เป็นผู้ทรงโปรดให้เจ้าทั้งหลายมีชีวิตยั่งยืนอยู่; เพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้ตั้งอยู่ในแผ่นดินซึ่งพระยะโฮวาได้ทรงปฏิญาณไว้กับปู่ย่าตายายของเจ้า, คืออับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบ, ว่าจะประทานให้แก่ท่าน.” (พระบัญญัติ 30:19, 20) ด้วยเหตุนี้ ชาวอิสราเอลแต่ละคนต้องเลือกที่จะรักพระยะโฮวา, ฟังพระสุรเสียงของพระองค์, และติดสนิทกับพระองค์. เนื่องจากชาวอิสราเอลมีเจตจำนงเสรี พวกเขาจะต้องรับผิดชอบผลพวงที่เกิดจากการเลือกของตน.—พระบัญญัติ 30:16-18.
7. เกิดอะไรขึ้นหลังจากคนในชั่วอายุของยะโฮซูอะเสียชีวิตไปแล้ว?
7 ช่วงเวลาที่เหล่าผู้วินิจฉัยปกครองให้ตัวอย่างที่ชัดเจนถึงผลของความซื่อสัตย์และความไม่ซื่อสัตย์. ก่อนที่ช่วงนี้จะเริ่มขึ้น ชาวอิสราเอลดำเนินตามตัวอย่างที่ดีของยะโฮซูอะและได้รับพระพร. “หมู่ชนทั้งหลายได้ปฏิบัติพระยะโฮวาตลอดชั่วอายุของยะโฮซูอะ, และทั้งชั่วอายุผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้เห็นการอัศจรรย์ใหญ่ต่าง ๆ ของพระยะโฮวา, ซึ่งพระองค์ได้ทรงกระทำแก่พวกยิศราเอลนั้น.” อย่างไรก็ตาม ผ่านไปได้ระยะหนึ่งหลังจากยะโฮซูอะสิ้นชีวิต “มีชนรุ่นใหม่เกิดขึ้น, ไม่รู้จักพระยะโฮวา; หรือการอัศจรรย์ซึ่งพระองค์ทรงกระทำแก่พวกยิศราเอล. พวกยิศราเอลกระทำผิดในคลองพระเนตรพระยะโฮวา.” (วินิจฉัย 2:7, 10, 11) ดูเหมือนว่า คนรุ่นหลังที่ขาดประสบการณ์ไม่ได้หยั่งรู้ค่ามรดกที่ตนได้รับในฐานะสมาชิกของชาติที่อุทิศตัว ซึ่งพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเขาได้ทำราชกิจอันยิ่งใหญ่หลายอย่างในอดีตก็เพื่อประโยชน์ของชาตินี้.—บทเพลงสรรเสริญ 78:3-7, 10, 11.
ดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของพวกเขา
8, 9. (ก) การจัดเตรียมอะไรทำให้ชาวอิสราเอลมีโอกาสได้แสดงการอุทิศตัวของตนแด่พระยะโฮวา? (ข) คนที่ถวายของถวายด้วยใจสมัครได้รับอะไรสำหรับตัวเขาเอง?
8 พระยะโฮวาทรงจัดให้ประชาชนของพระองค์มีโอกาสดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวในฐานะชาติ. ตัวอย่างเช่น พระบัญญัติของพระองค์จัดให้มีแบบแผนในการถวายเฮ็บราย 8:3) เครื่องบูชาเช่นนั้นรวมถึงเครื่องบูชาเผา, เครื่องบูชาธัญชาติ, และเครื่องบูชาสมานไมตรีซึ่งทั้งหมดนี้ถวายด้วยใจสมัคร—เป็นของถวายแด่พระยะโฮวาเพื่อจะได้ความโปรดปรานจากพระองค์และเพื่อแสดงความขอบพระคุณ.—เลวีติโก 7:11-13.
เครื่องบูชาหรือของถวาย ซึ่งบางอย่างเป็นการถวายที่พระบัญญัติกำหนดว่าต้องทำ แต่บางอย่างเป็นการถวายด้วยใจสมัคร. (9 เครื่องบูชาเหล่านี้ซึ่งถวายด้วยใจสมัครเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา. มีคำพรรณนาเครื่องบูชาเผาและเครื่องบูชาธัญชาติว่า “เป็นโอชารสอันหอมแก่พระยะโฮวา.” (เลวีติโก 1:9; 2:2) ในการถวายเครื่องบูชาสมานไมตรี โลหิตและมันของสัตว์จะถวายแด่พระยะโฮวา ในขณะที่เนื้อส่วนต่าง ๆ ปุโรหิตและผู้ถวายจะรับประทาน. ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นมื้ออาหารที่เป็นสัญลักษณ์แสดงนัยถึงสายสัมพันธ์อันสงบสุขกับพระยะโฮวา. พระบัญญัติกล่าวไว้ว่า “ถ้าผู้ใดจะถวายเครื่องบูชาสำหรับโมทนาพระคุณพระยะโฮวา, ให้ผู้นั้นถวายบูชาเป็นที่ให้มีความชอบ.” (เลวีติโก 19:5) แม้ชาวอิสราเอลทั้งสิ้นอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาเพราะเกิดในชาตินี้ แต่คนที่ทำให้การอุทิศตัวของตนมีความหมายโดยถวายของถวายด้วยใจสมัคร ‘ทำให้เขาเองได้ความชอบ’ และได้รับพระพรอย่างบริบูรณ์.—มาลาคี 3:10.
10. พระยะโฮวาทรงแสดงความไม่พอพระทัยอย่างไรในสมัยของยะซายาและสมัยของมาลาคี?
10 แต่บ่อยครั้ง ชาติอิสราเอลที่อุทิศตัวประพฤติอย่างไม่ซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวา. โดยทางผู้พยากรณ์ยะซายา พระยะโฮวาตรัสกับพวกเขาว่า “เจ้ามิได้นำแกะมาถวายเราเป็นเครื่องบูชายัญ; และเจ้าหาได้ให้เกียรติยศแก่เราโดยการนำเครื่องสักการะของเจ้ามาถวายเราไม่, ฝ่ายเราก็มิได้ทำให้เจ้าหนักอกด้วยเรื่อง [“มิได้บังคับเจ้าให้ถวาย,” ล.ม.] เครื่องบูชา.” (ยะซายา 43:23) นอกจากนั้น ของถวายที่ไม่ได้ถวายอย่างเต็มใจและด้วยแรงกระตุ้นของความรักไม่มีค่าในสายพระเนตรพระยะโฮวา. ตัวอย่างเช่น สามศตวรรษหลังจากยะซายาในสมัยของผู้พยากรณ์มาลาคี ชาวอิสราเอลถวายสัตว์ที่ไม่สมบูรณ์. ด้วยเหตุนี้ มาลาคีบอกพวกเขาว่า “พระยะโฮวาแห่งพลโยธาตรัสว่า . . . ‘เราไม่มีความยินดีในตัวเจ้าเลย, เราจะไม่รับเครื่องบูชาจากมือของเจ้า. . . . เจ้าเอาสัตว์ขาหักและเป็นโรคซ้ำขโมยเขามา, เจ้าได้เอาสัตว์ตัวนั้นมาถวายเป็นเครื่องบูชา.’ พระยะโฮวาตรัสถามว่า, ‘เราจะรับของเหล่านี้จากมือของเจ้าได้หรือ?’ ”—มาลาคี 1:10, 13; อาโมศ 5:22.
ถูกปฏิเสธในฐานะชาติที่อุทิศตัว
11. ชาติอิสราเอลได้รับโอกาสอะไร?
11 เมื่อครั้งที่ชาวอิสราเอลได้มาเป็นชาติที่อุทิศตัวแด่พระยะโฮวา พระองค์ทรงสัญญากับพวกเขาว่า “ถ้าเจ้าทั้งหลายจะฟังถ้อยคำของเราจริง ๆ, และรักษาคำสัญญาไมตรีของเราไว้, เจ้าจะเป็นทรัพย์ประเสริฐของเรายิ่งกว่าชาติทั้งปวง; เพราะเราเป็นเจ้าของโลกทั้งสิ้น. เจ้าทั้งหลายจะเป็นอาณาจักรแห่งปุโรหิต, และจะเป็นชนชาติอันบริสุทธิ์สำหรับเรา.” (เอ็กโซโด 19:5, 6) พระมาซีฮาตามคำสัญญาจะมาปรากฏท่ามกลางพวกเขาและให้โอกาสในอันดับแรกแก่พวกเขาที่จะได้เป็นสมาชิกในรัฐบาลราชอาณาจักรของพระเจ้า. (เยเนซิศ 22:17, 18; 49:10; 2 ซามูเอล 7:12, 16; ลูกา 1:31-33; โรม 9:4, 5) แต่คนส่วนใหญ่ในชาติอิสราเอลไม่ได้ดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของตน. (มัดธาย 22:14) พวกเขาปฏิเสธพระมาซีฮาและในที่สุดได้ฆ่าพระองค์.—กิจการ 7:51-53.
12. คำตรัสอะไรของพระเยซูที่แสดงว่าอิสราเอลถูกปฏิเสธในฐานะชาติที่อุทิศตัวแด่พระยะโฮวา?
12 ไม่กี่วันก่อนสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงบอกพวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านในคัมภีร์หรือซึ่งว่า ‘ศิลาซึ่งช่างก่อได้ทอดทิ้งเสียยังประกอบเข้าเป็นหัวมุมได้ และการนี้เป็นมาจากพระเจ้า, และเป็นที่อัศจรรย์ประจักษ์แก่ตาของเรา?’ เหตุฉะนั้นเราบอกท่านว่า, แผ่นดินของพระเจ้าจะต้องเอาไปจากท่าน, ยกให้แก่ประเทศหนึ่งประเทศใดซึ่งจะกระทำให้ผลเจริญสมกับแผ่นดินนั้น.” (มัดธาย 21:42, 43) เพื่อแสดงว่าพระยะโฮวาได้ปฏิเสธพวกเขาในฐานะชาติที่อุทิศตัวแด่พระองค์ พระเยซูตรัสว่า “โอยะรูซาเลม ๆ ที่ได้ฆ่าบรรดาศาสดาพยากรณ์, และเอาหินขว้างผู้ที่รับใช้มาหาเจ้า, เราใคร่จะรวบรวมลูกของเจ้าไว้เนือง ๆ เหมือนแม่ไก่กกลูกอยู่ใต้ปีกของมัน, แต่เจ้าไม่ยอม. นี่แหละเรือนของเจ้าก็ถูกปล่อยไว้ให้ร้างตามลำพังเจ้า.”—มัดธาย 23:37, 38.
ชาติใหม่ที่อุทิศตัว
13. พระยะโฮวาตรัสพยากรณ์อะไรในสมัยของยิระมะยา?
13 ในสมัยของผู้พยากรณ์ยิระมะยา พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าถึงสิ่งใหม่เกี่ยวกับประชาชนของพระองค์. เราอ่านดังนี้: “นี่แน่ะ, วันคืนทั้งหลายจะมา, เมื่อเราจะกระทำความสัญญาใหม่กับตระกูลยิศราเอล, แลตระกูลยะฮูดา, พระยะโฮวาได้ตรัส. จะไม่เหมือนความสัญญาซึ่งเราได้กระทำกับด้วยปู่ย่าตายายของเขาในวันที่เราได้จับมือของเขาเพื่อจะพาเขาทั้งปวงออกจากประเทศอายฆุบโต. ความสัญญาของเรานั้น. ถึงมาตรแม้นเราได้เป็นต่างสามีแก่เขา, เขาทั้งปวงได้หักคำสัญญาของเราเสีย, พระยะโฮวาได้ตรัส. แต่ความสัญญาที่เราจะกระทำกับด้วยตระกูลแห่งยิศราเอลจะเป็นดังนี้ (คือว่า) เมื่อวันเหล่านั้นจะพ้นไปแล้ว, พระยะโฮวาได้ตรัส, เราจะใส่บทบัญญัติของเราไว้ ณ ภายในตัวเขาทั้งปวง, แลจะเขียนบทบัญญัตินั้นในใจเขา, แลเราจะเป็นพระเจ้าแก่เขาทั้งหลาย, แลเขาจะเป็นไพร่พลของเรา.”—ยิระมะยา 31:31-33.
14. ชาติใหม่ที่อุทิศตัวแด่พระยะโฮวาเกิดขึ้นเมื่อไรและโดยอาศัยอะไรเป็นพื้นฐาน? ชาตินั้นคือใคร?
14 พื้นฐานของสัญญาใหม่นี้ได้วางไว้เมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์และหลังจากนั้นได้เสนอคุณค่าแห่งพระโลหิตที่หลั่งออกของพระองค์แก่พระบิดาในปีสากลศักราช 33. (ลูกา 22:20; เฮ็บราย 9:15, 24-26) อย่างไรก็ตาม ด้วยการเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 และชาติใหม่คือ “ชาติอิสราเอลของพระเจ้า” ก่อกำเนิดขึ้น สัญญาใหม่นั้นจึงมีผลบังคับใช้. (ฆะลาเตีย 6:16, ล.ม.; โรม 2:28, 29; 9:6; 11:25, 26) เมื่อเขียนถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิม อัครสาวกเปโตรประกาศว่า “ท่านทั้งหลายเป็น ‘เชื้อสายที่ทรงเลือกไว้, เป็นคณะปุโรหิตหลวง, เป็นชาติบริสุทธิ์, เป็น ชนชาติที่เป็นสมบัติพิเศษ เพื่อท่านทั้งหลายจะประกาศเผยแพร่คุณความดีอันล้ำเลิศ’ ของพระองค์ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลายออกจากความมืดเข้าสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์. เพราะเมื่อก่อนท่านทั้งหลายไม่ได้เป็นชนชาติหนึ่ง แต่บัดนี้เป็นชนชาติของพระเจ้า.” (1 เปโตร 2:9, 10, ล.ม.) สายสัมพันธ์พิเศษระหว่างพระยะโฮวากับชาติอิสราเอลฝ่ายเนื้อหนังได้สิ้นสุดไปแล้ว. ในปี ส.ศ. 33 ความโปรดปรานของพระยะโฮวาได้ถูกโยกย้ายจากชาติอิสราเอลทางแผ่นดินโลกไปยังชาติอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ คือประชาคมคริสเตียน ‘ชาติซึ่งกระทำให้ผลเจริญสมกับ’ ราชอาณาจักรมาซีฮา.—มัดธาย 21:43, ฉบับแปลใหม่.
อุทิศตัวเป็นรายบุคคล
15. ในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 เปโตรกระตุ้นผู้ฟังของท่านให้รับบัพติสมาแบบใด?
15 หลังวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 ทุกคนไม่ว่าเป็นชาวยิวหรือคนต่างชาติ ต้องอุทิศตัวแด่พระเจ้าเป็นส่วนตัวและรับบัพติสมา “ในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์.” * (มัดธาย 28:19) ในวันเพนเทคอสต์ อัครสาวกเปโตรบอกชาวยิวและผู้เปลี่ยนมาถือศาสนายิวที่ตอบรับว่า “จงกลับใจเสียใหม่และรับบัพติศมาในนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน, เพื่อความผิดบาปของท่านจะทรงยกเสีย แล้วท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (กิจการ 2:38) ชาวยิวและผู้เปลี่ยนมาถือศาสนายิวเหล่านั้นต้องทำให้เป็นที่รู้กันด้วยการรับบัพติสมาไม่เฉพาะแต่เพียงว่าพวกเขาได้อุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา แต่ยังรวมถึงการที่พวกเขาได้ยอมรับพระเยซูว่าเป็นวิถีทางที่พระยะโฮวาทรงใช้เพื่อให้อภัยบาปพวกเขาด้วย. พวกเขาต้องยอมรับพระองค์ในฐานะมหาปุโรหิตของพระยะโฮวาและองค์ผู้นำของพวกเขา และในฐานะประมุขของประชาคมคริสเตียน.—โกโลซาย 1:13, 14, 18.
16. ในสมัยของเปาโล คนที่มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้อง—ทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติ—ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชาติอิสราเอลฝ่ายวิญญาณโดยวิธีใด?
16 หลายปีต่อมา อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้กล่าวสั่งสอนเขา, ตั้งต้นที่เมืองดาเมเซ็กและในกรุงยะรูซาเลมทั่วแว่นแคว้นมณฑลยูดายและแก่ชาวต่างประเทศ, ให้กลับใจเสียใหม่, ให้หันมาหาพระเจ้า, และกระทำการซึ่งสมกับที่กลับใจเสียใหม่แล้ว.” (กิจการ 26:20) หลังจากช่วยผู้คนทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติให้มั่นใจว่าพระเยซูทรงเป็นพระคริสต์หรือพระมาซีฮา เปาโลช่วยพวกเขาให้อุทิศตัวและรับบัพติสมา. (กิจการ 16:14, 15, 31-33; 17:3, 4; 18:8) โดยหันมาหาพระเจ้า สาวกใหม่เหล่านั้นได้กลายมาเป็นสมาชิกของชาติอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ.
17. งานประทับตราอะไรที่กำลังใกล้จะสิ้นสุดลง และงานอะไรที่กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วในเวลานี้?
17 ปัจจุบัน การประทับตราชนที่เหลือแห่งอิสราเอลฝ่ายวิญญาณในขั้นสุดท้ายใกล้เข้ามาแล้ว. เมื่อการประทับตรานี้เสร็จสิ้นลง “ทูตสวรรค์สี่องค์” ซึ่งยึดลมแห่งการทำลายล้างของ “ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่” ไว้จะได้รับอำนาจให้ปล่อยลมนั้น. ในระหว่างนี้ การรวบรวม “ชนฝูงใหญ่” ซึ่งมีความหวังจะอยู่ตลอดไปบนแผ่นดินโลกกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว. “แกะอื่น” เหล่านี้เลือกด้วยความสมัครใจที่จะแสดงความเชื่อใน “พระโลหิตของพระเมษโปดก” และรับบัพติสมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการอุทิศตัวของพวกเขาแด่พระยะโฮวา. (วิวรณ์ 7:1-4, 9-15, ล.ม.; 22:17; โยฮัน 10:16; มัดธาย 28:19, 20) ในหมู่คนเหล่านี้มีเยาวชนหลายคนที่ได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่เป็นคริสเตียน. หากคุณเป็นคนหนึ่งในหมู่เยาวชนเหล่านั้น คุณคงสนใจที่จะอ่านบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
เพื่อทบทวน
• เหตุใดผู้เยาว์ชาวอิสราเอลไม่ต้องอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาเป็นส่วนตัว?
• ชาวอิสราเอลจะแสดงได้โดยวิธีใดว่าพวกเขาดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของตน?
• เหตุใดพระยะโฮวาทรงปฏิเสธชาติอิสราเอลในฐานะชาติที่อุทิศตัวแด่พระองค์ และมีการแทนที่ชาตินี้อย่างไร?
• นับจากวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 ทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นสมาชิกชาติอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
ผู้เยาว์ชาวอิสราเอลเกิดมาเป็นสมาชิกของชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร
[ภาพหน้า 23]
ชาวอิสราเอลแต่ละคนต้องตัดสินใจเป็นส่วนตัวที่จะรับใช้พระเจ้า
[ภาพหน้า 23]
ของถวายที่ถวายด้วยใจสมัครเปิดโอกาสให้ชาวอิสราเอลแสดงความรักของตนต่อพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 25]
หลังวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 ผู้ติดตามพระคริสต์ต้องอุทิศตัวแด่พระเจ้าเป็นส่วนตัวและแสดงสัญลักษณ์ด้วยการรับบัพติสมา