พวกเขาปีติยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า
พวกเขาปีติยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า
พระเยซูทรงวางแบบอย่างแก่คริสเตียนทั้งหลายโดยการอธิษฐานต่อพระบิดาของพระองค์ดังนี้: “ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า, ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์เถิด.” (ลูกา 22:42) การแสดงออกถึงความถ่อมโดยยอมอยู่ในอำนาจพระยะโฮวาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในผู้รับใช้หลายล้านคนของพระเจ้าในปัจจุบัน. ในจำนวนนี้มีนักเรียน 52 คน เรียนจบหลักสูตรโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียดรุ่นที่ 120. วันที่ 11 มีนาคม 2006 ผู้สำเร็จการศึกษาเหล่านี้รู้สึกยินดีพร้อมด้วยความคาดหวังจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในดินแดนต่าง ๆ แม้จะเผชิญสภาพการณ์หลายอย่างที่ท้าทาย.
อะไรกระตุ้นผู้สำเร็จการศึกษาเหล่านั้นยอมให้พระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาชี้นำชีวิตของเขา? คริสและเลสลีสองสามีภรรยาที่ได้รับมอบหมายให้เป็นมิชชันนารีในประเทศโบลิเวียกล่าวดังนี้: “เนื่องจากเราปฏิเสธตัวเอง เราจึงต้องการทำตัวให้อยู่พร้อมเพื่อจะได้ทำอะไรก็ตามในการมีส่วนร่วมกับองค์การของพระยะโฮวา.” (มาระโก 8:34) เจสันกับเชอรีซึ่งได้รับมอบหมายไปแอลเบเนียกล่าวเพิ่มเติมว่า “งานมอบหมายทุกอย่างที่เราได้รับจากองค์การของพระยะโฮวาล้วนมีข้อท้าทายทั้งนั้น. อย่างไรก็ดี เราประสบแล้วว่าพระยะโฮวาเป็นผู้ที่เราสมควรจะไว้วางใจอย่างเต็มที่.”
การสนับสนุนให้อ่อนน้อมต่อพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา
จอร์จ สมิท สมาชิกครอบครัวเบเธลซึ่งทำงานในแผนกศิลป์ได้เริ่มระเบียบวาระการสำเร็จการศึกษาด้วยการอธิษฐาน. สตีเฟน เลตต์สมาชิกคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาและประธานของระเบียบวาระการสำเร็จการศึกษาได้กล่าวต้อนรับทุกคนที่มาร่วมงาน. มีแขกจาก 23 ประเทศมาร่วมในโอกาสน่ายินดีนี้ ณ ศูนย์การศึกษาว็อชเทาเวอร์ที่แพตเทอร์สัน รัฐนิวยอร์ก. บราเดอร์เลตต์กล่าวกับนักเรียนรุ่นที่จะจบหลักสูตรนี้ว่า พวกเขากำลังจะทำ “บางสิ่งซึ่งมีพลังมาก” ให้บรรลุผลสำเร็จ. เขาชี้ไปยัง “สิ่งที่ฝังรากลึก” เช่น หลักคำสอนเท็จ ซึ่งมิชชันนารีใหม่จะสามารถใช้ฤทธิ์เดชแห่งพระคัมภีร์คว่ำสิ่งนี้ได้. (2 โกรินโธ 10:4, 5, ล.ม.) เขากล่าวสรุปดังนี้: “นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสักเพียงไรที่พระยะโฮวาทรงใช้คุณคว่ำสิ่งที่ฝังรากลึกในผู้ที่มีหัวใจสุจริตในเขตงานมอบหมายของคุณ!”
แฮโรลด์ แจ็กสัน สมาชิกของสำนักงานใหญ่ได้บรรยายในหัวข้อ “ข้อคิดบางประการที่พึงระลึกถึง.” เขาให้ข้อสังเกตว่า มิชชันนารีใหม่ไม่ควรหลงลืมที่จะ ‘แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน.’ (มัดธาย 6:33, ล.ม.) พวกมิชชันนารีพึงจดจำว่า “ความรักเสริมสร้างขึ้น” และเป็นเคล็ดลับไปสู่ความสำเร็จเสมอ. (1 โกรินโธ 8:1, ฉบับแปลใหม่) เขากล่าวว่า “เมื่อติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้คน จงให้ความรักชี้นำคุณ.”
ต่อจากนั้น เจฟฟรีย์ แจ็กสัน สมาชิกคณะกรรมการปกครองซึ่งเคยทำงานเป็นมิชชันนารีตั้งแต่ปี 1979 ถึงปี 2003 ได้ถามนักเรียนที่จบหลักสูตรคราวนี้ว่า “คุณสำนึกถึงความรับผิดชอบไหม?” เขาเน้นว่าจำเป็นต้องมีทัศนะที่สมดุลเกี่ยวกับตัวเองและงานรับใช้. คริสเตียนมีหน้าที่รับผิดชอบที่จะทำงานอย่างขยันขันแข็งทั้งในการปลูกเมล็ดแห่งความจริงและการรดน้ำ. อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตฝ่าย1 โกรินโธ 3:6-9) บราเดอร์แจ็กสันกล่าวเสริมว่า “พระยะโฮวาถือว่าคุณมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ. แต่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งของคุณคืออะไร? นั่นคือ ให้รักพระยะโฮวาและรักประชาชนที่คุณจะไปประกาศสั่งสอนพวกเขา.”
วิญญาณนั้นเป็นความรับผิดชอบของพระยะโฮวา เพราะ ‘พระเจ้าได้ทรงโปรดให้เกิดผล.’ (ลอว์เรนซ์ โบเวน ผู้สอนในโรงเรียนกิเลียดได้พิจารณาเรื่อง “จงรู้ว่าคุณควรประพฤติอย่างไร.” เขาเตือนใจนักเรียนให้รำลึกว่าพระยะโฮวาทรงนำทางและคุ้มครองพวกอิสราเอลผ่านป่าทุรกันดารอย่างน่าอัศจรรย์. (เอ็กโซโด 13:21, 22) ทุกวันนี้ พระองค์ทรงนำทางและคุ้มครองพวกเรา ส่วนหนึ่งโดยทางประชาคมคริสเตียนที่ได้รับการเจิม “ซึ่งเป็นหลักและรากแห่งความจริง.” (1 ติโมเธียว 3:14, 15) มิชชันนารีใหม่เหล่านี้จึงต้องส่งเสริมความจริงที่ให้การชี้นำและการคุ้มครองคนที่มีใจถ่อม.
ยะซายา 30:21; มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) โรงเรียนกิเลียดได้สนับสนุนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาให้หยั่งรู้ค่าชนชั้นทาสมากขึ้น. “ทาส” ถึงกับได้จัดให้มีพระคัมภีร์บริสุทธิ์ฉบับแปลโลกใหม่ ด้วยซ้ำ. ผู้บรรยายสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษาดังนี้: “จงรับเอาความรู้อันมีค่าที่สะสมไว้ในคลังทรัพย์นี้ และนำไปสอนคนอื่น ๆ.”—มัดธาย 13:52.
วอลเลซ ลิเวอร์รันซ์ ผู้สอนอีกคนหนึ่งได้กระตุ้นเตือนนักเรียนไม่ให้ลืมพระคำของพระเจ้าซึ่งอยู่ “ข้างหลัง” พวกเขา. พระคำของพระเจ้าอยู่ข้างหลังเราในความหมายที่ว่าคัมภีร์ไบเบิลเขียนเสร็จครบถ้วนหลายศตวรรษมาแล้ว. ผู้เลี้ยงแกะส่งเสียงเรียกตามหลังฝูงแกะฉันใด พระยะโฮวาทรงอยู่เบื้องหลังประชาชนของพระองค์ฉันนั้น พระองค์ชี้นำพวกเขาโดยทาง “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม.” (การทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาในงานเผยแพร่
ในส่วนคำบรรยายชื่อ “จงมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะประกาศข่าวดี” มาร์ก นูแมร์ผู้สอนของโรงเรียนกิเลียดได้เน้นบางประสบการณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมงานประกาศตามบ้านระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนกิเลียด. (โรม 1:15, ล.ม.) การสัมภาษณ์ผู้ที่จบการศึกษารุ่นนี้เผยให้เห็นว่า พวกเขาได้แสดงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะประกาศในทุกโอกาส.
ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับกำลังใจเพิ่มขึ้นเมื่อได้ฟังเคนเนท ฟลอดินสัมภาษณ์ผู้ดูแลเดินทางสามคนซึ่งเวลานี้รับใช้ในประเทศสหรัฐ. ริชาร์ด เคลเลอร์และอะเลฮานโดร ลาไกโย ซึ่งในอดีตเคยรับใช้ในอเมริกาใต้และอเมริกากลางได้อธิบายวิธีที่พวกเขารับมือกับความยากลำบากต่าง ๆ ทั้งยังเล่าว่าได้รับพระพรเช่นไรขณะรับใช้ฐานะมิชชันนารี. โมอะซีร์ เฟลิสบีนูเล่าถึงการฝึกอบรมที่ได้รับขณะทำงานใกล้ชิดกับมิชชันนารีในประเทศบราซิลที่เขาเติบโตขึ้นมา.
ดาวิด เชเฟอร์ได้สัมภาษณ์มิชชันนารีผู้มีประสบการณ์สามคนคือ โรเบิร์ต โจนส์, วูดเวิร์ท มิลส์, และคริสโตเฟอร์ สเลย์. บราเดอร์ทั้งสามเล่าถึงวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะลงมือปฏิบัติด้วยความมั่นใจในพระยะโฮวาเมื่อประสบความยากลำบาก. พวกเขารับรองกับนักเรียนรุ่นนี้ว่า การฝึกอบรมที่ได้รับจากองค์การของพระยะโฮวาได้เตรียมพวกเขาไว้พร้อมสำหรับงานมอบหมายมิชชันนารี. บราเดอร์มิลส์กล่าวสรุปดังนี้: “สิ่งที่ช่วยผมได้มากที่สุดไม่ใช่ความรู้จากโรงเรียนกิเลียด แต่เป็นความถ่อมใจและความรักที่ได้รับการสอนจากโรงเรียนนี้.”
กาย เพียร์ซ สมาชิกคณะกรรมการปกครองเป็นผู้ให้คำบรรยายสำคัญชื่อ “พระยะโฮวาจะไม่ทรงล้มเหลวเลย.” อาดามล้มเหลว แต่นั่นหมายความว่าพระเจ้าล้มเหลวด้วยไหม? พระเจ้าไม่ได้สร้างอาดามให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์เหมือนกับที่บางคนอ้างอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะ “พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ได้ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นคนซื่อตรง.” (ท่านผู้ประกาศ 7:29, ล.ม.) ผู้บรรยายให้ข้อสังเกตว่า แนวทางแห่งความซื่อสัตย์มั่นคงของพระเยซูภายใต้การทดลองครั้งยิ่งใหญ่บนแผ่นดินโลกเป็นข้อพิสูจน์ว่า “อาดามไม่มีข้อแก้ตัว ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะล้มเหลว.” การทดสอบความเชื่อฟังของอาดามในสวนเอเดนนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับการทดลองที่พระเยซูเผชิญอย่างประสบผลสำเร็จ. แต่อาดามกลับล้มเหลว. กระนั้นก็ดี พระยะโฮวาจะไม่มีวันล้มเหลว. พระประสงค์ของพระองค์จะสำเร็จเป็นแน่. (ยะซายา 55:11, ล.ม.) บราเดอร์เพียร์ซกล่าวกับมิชชันนารีใหม่ว่า “คุณมีสิทธิพิเศษที่จะถวายเกียรติพระยะโฮวาด้วยน้ำใจเสียสละตัวเองของคุณ. ขอพระยะโฮวาสถิตอยู่กับคุณแต่ละคนไม่ว่าคุณจะรับใช้พระองค์ฐานะมิชชันนารีที่ใดก็ตาม.”
หลังจากประกาศการฝากความรักและคิดถึงจากสำนักงานสาขาต่าง ๆ ของพยานพระยะโฮวาแล้ว บราเดอร์เลตต์ ประธานการประชุมได้มอบประกาศนียบัตรและเขตมอบหมายแก่นักเรียน. เวอร์นอน ไวซ์การ์เวอร์ ซึ่งเป็นสมาชิกเบเธลมานานเป็นผู้กล่าวคำอธิษฐานปิดการประชุม.
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 6,872 คนรู้สึกว่าระเบียบวาระสำหรับการสำเร็จการศึกษาได้ฟื้นฟูความมีใจแรงกล้าของพวกเขาขึ้นใหม่ในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 40:8) แอนดรูว์และอันนา ผู้สำเร็จการศึกษากล่าวว่า “เราอุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา. เราสัญญากับพระยะโฮวาว่าจะทำทุกสิ่ง ที่พระองค์ขอให้เราทำ. แล้วตอนนี้พระยะโฮวาก็เพิ่งขอให้เราไปแคเมอรูน แอฟริกา.” พวกเขาและสมาชิกคนอื่น ๆ ของนักเรียนชั้นนี้กระตือรือร้นที่จะเริ่มงานมอบหมายซึ่งจะทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จและชื่นชมยินดี. ใช่แล้ว พวกเขาปีติยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา.
[กรอบหน้า 17]
สถิติชั้นเรียน
ตัวแทนมาจาก: 6 ประเทศ
ได้รับมอบหมายไปยัง: 20 ประเทศ
จำนวนนักเรียน: 52 คน
เฉลี่ยอายุ: 35.7 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่อยู่ในความจริง: 18.3 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่รับใช้เต็มเวลา: 14.5 ปี
[ภาพหน้า 18]
ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 120 ของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด
รายชื่อข้างล่างนี้นับจากแถวหน้าไปแถวหลัง และรายชื่อเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาของแต่ละแถว.
(1) Wright, S.; Suárez, B.; Croisant, B.; Davenport, L. (2) Johnson, A.; Ali, C.; Cady, K.; Guerrero, P.; Ases, A. (3) Ortiz, L.; Lyall, K.; Uzeta, M.; Perez, R.; Backus, K.; Caterina, C. (4) Palmer, B.; Loving, D.; Macdonough, J.; Bostock, D.; Benetatos, L. (5) Jasicki, M.; Sarafianos, E.; Stelter, C.; Vaira, R.; Woon, J.; Prentice, K. (6) Davenport, H.; Croisant, H.; Perez, M.; Vaira, E.; Suárez, A.; Caterina, I.; Wright, C. (7) Cady, K.; Macdonough, J.; Ortiz, M.; Woon, J.; Ali, J.; Ases, M. (8) Sarafianos, G.; Lyall, D.; Uzeta, C.; Stelter, P.; Prentice, G.; Johnson, A.; Benetatos, C. (9) Palmer, J.; Jasicki, W.; Backus, J.; Bostock, S.; Guerrero, J. M.; Loving, S.