วิธีเข้าเฝ้า “ผู้สดับคำอธิษฐาน”
วิธีเข้าเฝ้า “ผู้สดับคำอธิษฐาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้สดับคำอธิษฐาน, บรรดามนุษย์โลกจะได้เข้ามาเฝ้าพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 65:2.
1. อะไรทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งทรงสร้างอื่น ๆ และความแตกต่างนี้ทำให้เรามีโอกาสอะไร?
ในบรรดาสิ่งทรงสร้างหลายแสนชนิดซึ่งมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลก มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีความสามารถในการนมัสการพระผู้สร้าง. เฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณและปรารถนาจะสนองความจำเป็นนี้. นี่ทำให้เรามีโอกาสอันยอดเยี่ยมที่จะมีสายสัมพันธ์เป็นส่วนตัวกับพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์.
2. บาปก่อผลกระทบในทางไม่ดีเช่นไรต่อสายสัมพันธ์ที่มนุษย์มีกับผู้ที่สร้างตัวเขา?
2 พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้มีความสามารถที่จะติดต่อสื่อความกับผู้ที่สร้างตัวเขา. อาดามและฮาวาถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากบาป. ด้วยเหตุนั้น ทั้งสองสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้อย่างอิสระแบบเดียวกับที่เด็กเข้าหาผู้เป็นพ่อ. อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษใหญ่หลวงนั้นถูกเพิกถอนไปเพราะบาป. อาดามและฮาวาไม่เชื่อฟังพระเจ้าและสูญเสียสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระองค์. (เยเนซิศ 3:8-13, 17-24) นั่นหมายความไหมว่าลูกหลานที่ไม่สมบูรณ์ของอาดามไม่อาจจะติดต่อกับพระเจ้าได้อีกต่อไป? ไม่เลย พระยะโฮวายังคงอนุญาตให้พวกเขาเข้าเฝ้าพระองค์ แต่พวกเขาต้องบรรลุเงื่อนไขบางประการ. เงื่อนไขเหล่านั้นคืออะไร?
ข้อเรียกร้องสำหรับการเข้าเฝ้าพระเจ้า
3. มนุษย์ผิดบาปควรเข้าเฝ้าพระเจ้าอย่างไร และตัวอย่างอะไรแสดงให้เห็นจุดนี้ชัดเจน?
3 เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุตรชายสองคนของอาดามช่วยให้เราเห็นว่าพระเจ้าทรงเรียกร้องอะไรจากมนุษย์ไม่สมบูรณ์ที่ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระองค์. ทั้งคายินและเฮเบลพยายามเข้าเฝ้าพระเจ้าโดยการถวายเครื่องบูชาแด่พระองค์. พระเจ้าทรงยอมรับเครื่องบูชาของเฮเบล ส่วนเครื่องบูชาของคายินพระองค์ไม่ยอมรับ. (เยเนซิศ 4:3-5) อะไรทำให้เกิดความแตกต่าง? เฮ็บราย 11:4 กล่าวว่า “โดยความเชื่อเฮเบลนั้นจึงได้นำเครื่องบูชาอันประเสริฐกว่าเครื่องบูชาของคายินมาถวายแก่พระเจ้า เพราะเหตุเครื่องบูชานั้นจึงมีพยานว่าเขาเป็นคนชอบธรรม.” ดังนั้น เห็นได้ชัดว่าความเชื่อคือเงื่อนไขหลักสำหรับการเข้าเฝ้าพระเจ้าอย่างที่พระองค์ทรงยอมรับ. เงื่อนไขหลักอีกอย่างหนึ่งนั้นเห็นได้จากคำตรัสของพระยะโฮวาต่อคายิน ที่ว่า “ถ้าเจ้าทำดีเราก็จะพอใจรับเจ้ามิใช่หรือ?” ใช่แล้ว การเข้าเฝ้าพระเจ้าของคายินจะได้รับการยอมรับหากคายินได้หันมาทำดี. แต่คายินปฏิเสธคำแนะนำของพระเจ้า, ฆ่าเฮเบล, และลงเอยด้วยการเป็นผู้ถูกเนรเทศ. (เยเนซิศ 4:7-12, ฉบับแปลใหม่) ด้วยเหตุนั้น ได้มีการเน้นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ เลยทีเดียวถึงความสำคัญของการเข้าเฝ้าพระเจ้าด้วยความเชื่อควบคู่ไปกับการทำดี.
4. เราควรยอมรับอะไรในเรื่องการเข้าเฝ้าพระเจ้า?
4 การยอมรับสภาพผิดบาปของเราเองเป็นเรื่องจำเป็นหากเราปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระเจ้า. มนุษย์ทุกคนล้วนผิดบาป และบาปเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นการเข้าเฝ้าพระเจ้า. ผู้พยากรณ์ยิระมะยาเขียนเกี่ยวกับชาติอิสราเอลว่า “พวกข้าพเจ้าได้กระทำผิด . . . พระองค์ได้ทรงคลุมพระกายไว้เสียด้วยเมฆ, เพื่อว่าการอธิษฐานของพวกข้าพเจ้าจะได้ไม่บรรลุไปถึงพระองค์ได้.” (บทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:42, 44) แม้ว่าเป็นอย่างนั้น ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์พระเจ้าได้ทรงแสดงพระองค์เองว่าทรงเต็มพระทัยจะยอมรับคำอธิษฐานของคนที่เข้าเฝ้าพระองค์ด้วยความเชื่อและด้วยเจตคติที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 119:145) คนเหล่านี้มีใครบ้าง และเราสามารถเรียนอะไรได้จากคำอธิษฐานของพวกเขา?
5, 6. เราอาจเรียนอะไรได้จากวิธีที่อับราฮามเข้าเฝ้าพระเจ้า?
ยะซายา 41:8) เราอาจเรียนอะไรได้จากการเข้าเฝ้าพระเจ้าของอับราฮาม? ปฐมบรรพบุรุษที่ซื่อสัตย์ผู้นี้ได้ถามพระยะโฮวาในเรื่องเกี่ยวกับทายาท โดยกล่าวว่า “พระองค์จะทรงโปรดพระราชทานอะไรแก่ข้าพเจ้าด้วยข้าพเจ้าไม่มีบุตร?” (เยเนซิศ 15:2, 3; 17:18) ในอีกโอกาสหนึ่ง ท่านแสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่ว่าใครจะได้รับการช่วยให้รอดเมื่อพระเจ้าทรงสำเร็จโทษคนชั่วในเมืองโซโดมและโกโมร์ราห์. (เยเนซิศ 18:23-33) อับราฮามยังวิงวอนขอเพื่อผู้อื่นด้วย. (เยเนซิศ 20:7, 17) และเช่นเดียวกับในกรณีของเฮเบล การเข้าเฝ้าพระเจ้าของอับราฮามในบางครั้งเกี่ยวข้องกับการถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา.—เยเนซิศ 22:9-14.
5 คนหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นคืออับราฮาม. พระเจ้าทรงยอมรับการเข้าเฝ้าของท่าน เพราะพระเจ้าทรงเรียกอับราฮามว่า “สหายของเรา.” (6 ในโอกาสเหล่านี้ทั้งหมด อับราฮามรู้สึกเป็นอิสระที่จะพูดกับพระยะโฮวา. อย่างไรก็ดี การพูดอย่างเป็นอิสระของท่านควบคู่ไปกับทัศนะที่ถ่อมใจในเรื่องฐานะของท่านเมื่อเทียบกับพระผู้สร้าง. ขอสังเกตคำพูดที่แสดงความนับถือของท่านดังพบในเยเนซิศ 18:27 ที่ว่า “ข้าแต่พระองค์, ข้าพเจ้าผู้เป็นผงคลีดินและมูลเถ้ายังบังอาจทูลขอต่อพระองค์เจ้า.” นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่น่าเลียนแบบจริง ๆ!
7. เหล่าปฐมบรรพบุรุษทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวาในเรื่องใดบ้าง?
7 เหล่าปฐมบรรพบุรุษอธิษฐานเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย และพระยะโฮวาทรงสดับคำอธิษฐานเหล่านั้น. ยาโคบกล่าวคำอธิษฐานในรูปของคำสัตย์สาบาน. หลังจากทูลขอการสนับสนุนจากพระเจ้า ท่านสัญญาอย่างหนักแน่นจริงจังว่า “สารพัตรที่พระองค์จะพระราชทานให้แก่ข้าพเจ้านั้น, ข้าพเจ้าจะแบ่งออกเป็นสิบส่วนถวายส่วนหนึ่งแก่พระองค์.” (เยเนซิศ 28:20-22) ภายหลัง เมื่อท่านกำลังจะเผชิญหน้ากับพี่ชาย ยาโคบวิงวอนขอการคุ้มครองจากพระยะโฮวา โดยกล่าวว่า “ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากมือเอซาวพี่ชายข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้ากลัวเอซาว.” (เยเนซิศ 32:9-12) โยบ ปฐมบรรพบุรุษอีกคนหนึ่งได้เข้าเฝ้ากราบทูลพระยะโฮวาและถวายเครื่องบูชาเพื่อครอบครัว. เมื่อสหายสามคนของโยบทำบาปทางวาจา โยบอธิษฐานเพื่อพวกเขา และ “พระยะโฮวาทรงรับรองท่านโยบ.” (โยบ 1:5; 42:7-9) เรื่องราวเหล่านี้ช่วยเราให้ทราบว่าเรื่องใดบ้างที่เราอาจทูลพระยะโฮวาในคำอธิษฐาน. เรายังเห็นอีกด้วยว่าพระยะโฮวาทรงพร้อมจะยอมรับคำอธิษฐานของคนที่เข้าเฝ้าพระองค์ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง.
ภายใต้สัญญาแห่งพระบัญญัติ
8. ภายใต้สัญญาแห่งพระบัญญัติ มีการนำเรื่องราวต่าง ๆ ขึ้นกราบทูลพระยะโฮวาอย่างไรเพื่อประโยชน์ของประชาชน?
8 หลังจากที่พระยะโฮวาทรงช่วยชาติอิสราเอลให้หลุดพ้นจากอียิปต์ พระองค์ประทานสัญญาแห่งพระบัญญัติให้1 ซามูเอล 8:21, 22; 14:36-41; ยิระมะยา 42:1-3) ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งอุทิศพระวิหาร กษัตริย์ซะโลโมทรงเข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยความรู้สึกจากหัวใจในคำทูลอธิษฐาน. ถัดจากนั้น พระยะโฮวาทรงแสดงการยอมรับคำอธิษฐานของซะโลโมโดยโปรดให้รัศมีของพระองค์แผ่เต็มพระวิหารและตรัสว่า “หูของเราจะฟังคำอธิษฐานซึ่งเขาทั้งหลายอธิษฐาน ณ สถานที่นี้.”—2 โครนิกา 6:12–7:3, 15, ฉบับแปลใหม่.
พวกเขา. พระบัญญัติกำหนดวิธีเข้าเฝ้าพระเจ้าโดยทางคณะปุโรหิตที่ถูกแต่งตั้งไว้. ชาวเลวีบางคนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นปุโรหิตเพื่อประโยชน์ของประชาชน. เมื่อมีเรื่องที่สำคัญระดับชาติเกิดขึ้น ตัวแทนของประชาชน—บางครั้งได้แก่กษัตริย์หรือผู้พยากรณ์—ก็จะนำเรื่องนั้นขึ้นกราบทูลพระเจ้าในคำอธิษฐาน. (9. มีข้อเรียกร้องอะไรเพื่อจะเข้าเฝ้าพระยะโฮวาอย่างถูกต้อง ณ สถานศักดิ์สิทธิ์?
9 ในพระบัญญัติที่ประทานแก่ชาติอิสราเอล พระยะโฮวาทรงกำหนดข้อเรียกร้องอย่างหนึ่งไว้สำหรับการเข้าเฝ้าอย่างที่พระองค์ทรงยอมรับ ณ สถานศักดิ์สิทธิ์. ข้อเรียกร้องนั้นคืออะไร? ทุกเช้าและทุกเย็น นอกจากจะถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาแล้ว มหาปุโรหิตต้องเผาเครื่องหอมเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวาด้วย. ต่อมา เหล่ารองปุโรหิตก็ถวายอย่างนี้ด้วย ยกเว้นในวันไถ่โทษ. หากปุโรหิตไม่ได้แสดงความเคารพเชิดชูเช่นนี้ พระยะโฮวาก็จะไม่พอพระทัยการรับใช้ของพวกเขา.—เอ็กโซโด 30:7, 8; 2 โครนิกา 13:11.
10, 11. เรามีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าพระยะโฮวาทรงยอมรับคำอธิษฐานของปัจเจกบุคคล?
10 ในอิสราเอลโบราณ การเข้าเฝ้าพระเจ้าเป็นไปได้เฉพาะแต่เมื่อเข้าเฝ้าโดยทางผู้แทนที่ทรงแต่งตั้งไว้เท่านั้นไหม? ไม่ พระคัมภีร์แสดงว่าพระยะโฮวาทรงยินดีรับคำอธิษฐานของแต่ละคนเป็นส่วนตัว. ในคำอธิษฐานของซะโลโมเมื่ออุทิศพระวิหาร ท่านวิงวอนพระยะโฮวาโดยกล่าวว่า “จะมีคำอธิษฐานหรือคำทูลขออย่างไร ๆ ที่คนหนึ่งคนใด, หรือที่บรรดาพวกยิศราเอลพลไพร่ของพระองค์จะทูลขอนั้น, ขณะเมื่อ . . . จะเหยียดมือออกไปตรงโบสถ์วิหารนี้ เมื่อนั้นขอพระองค์ทรงสดับฟังแต่สวรรค์.” (2 โครนิกา 6:29, 30) บันทึกของลูกาบอกเราว่า เมื่อซะคาเรียบิดาของโยฮันผู้ให้บัพติสมาถวายเครื่องหอมในสถานศักดิ์สิทธิ์อยู่นั้น ผู้นมัสการพระยะโฮวากลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ปุโรหิตกำลัง “อธิษฐานอยู่ภายนอก.” ดูเหมือนว่า เป็นธรรมเนียมที่ปกติแล้วผู้คนจะมารวมตัวกันนอกสถานศักดิ์สิทธิ์เพื่ออธิษฐานขณะที่มีการเผาเครื่องหอมถวายแด่พระยะโฮวาบนแท่นบูชาทองคำ.—ลูกา 1:8-10.
11 ด้วยเหตุนั้น เมื่อมีใครเข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยวิธีที่ถูกต้อง พระองค์ทรงยินดียอมรับคำวิงวอนขอจากคนที่เป็นตัวแทนของคนทั้งชาติและจากแต่ละคนที่พยายามเข้าเฝ้าพระองค์เป็นส่วนตัว. ในทุกวันนี้เราไม่ได้อยู่ใต้สัญญาแห่งพระบัญญัติอีกต่อไป. ถึงกระนั้น เราสามารถเรียนบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับการอธิษฐานจากวิธีที่ชาวอิสราเอลในสมัยโบราณเข้าเฝ้าพระเจ้า.
ภายใต้การจัดเตรียมสำหรับคริสเตียน
12. มีการจัดเตรียมอะไรสำหรับคริสเตียนที่จะเข้าเฝ้าพระยะโฮวา?
12 เวลานี้ เราอยู่ภายใต้การจัดเตรียมสำหรับคริสเตียน. ไม่มีพระวิหารซึ่งเป็นตัวตึกอีกต่อไป ซึ่งเป็นที่ที่ปุโรหิตเป็นตัวแทนประชาชนทั้งสิ้นของพระเจ้าหรือเป็นสถานที่ที่เราจะไปเพื่ออธิษฐานถึงพระเจ้า. อย่างไรก็ดี พระยะโฮวายังคงมีการจัดเตรียมไว้ให้เราเข้าเฝ้าพระองค์ได้. การจัด * พระวิหารฝ่ายวิญญาณนี้เป็นการจัดเตรียมใหม่เพื่อเข้าเฝ้าพระยะโฮวาในการนมัสการโดยอาศัยเครื่องบูชาระงับพระพิโรธของพระเยซูคริสต์.—เฮ็บราย 9:11, 12.
เตรียมนั้นคืออะไร? ในปีสากลศักราช 29 เมื่อพระคริสต์ถูกเจิมและได้รับการแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิต พระวิหารฝ่ายวิญญาณได้เริ่มดำเนินการ.13. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำอธิษฐาน มีอะไรที่เหมือนกันระหว่างพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมกับพระวิหารฝ่ายวิญญาณ?
13 ลักษณะเด่นหลายอย่างของพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมให้ภาพอย่างเหมาะเจาะถึงการจัดเตรียมเกี่ยวกับพระวิหารฝ่ายวิญญาณ รวมถึงการจัดเตรียมที่เกี่ยวข้องกับการอธิษฐาน. (เฮ็บราย 9:1-10) ตัวอย่างเช่น เครื่องหอมที่ถูกเผาถวาย ในตอนเช้าและตอนเย็น บนแท่นเผาเครื่องหอมในห้องบริสุทธิ์ของพระวิหารเป็นภาพแสดงถึงอะไร? ตามที่พระธรรมวิวรณ์บอกไว้ “เครื่องหอมนั้นหมายถึงคำอธิษฐานของเหล่าผู้บริสุทธิ์.” (วิวรณ์ 5:8, ล.ม.; 8:3, 4) ดาวิดได้รับการดลใจให้เขียนดังนี้: “ขอให้คำทูลของข้าพเจ้าขึ้นไปเป็นเหมือนเครื่องหอมถวายบูชาต่อพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 141:2) ด้วยเหตุนั้น ในการจัดเตรียมสำหรับคริสเตียน เครื่องหอมซึ่งมีกลิ่นหอมหวานเป็นเครื่องแสดงอย่างเหมาะเจาะถึงคำอธิษฐานและคำสรรเสริญที่พระยะโฮวาทรงยอมรับ.—1 เธซะโลนิเก 3:10.
14, 15. อาจกล่าวได้อย่างไรเกี่ยวกับการเข้าเฝ้าพระยะโฮวาของ (ก) คริสเตียนผู้ถูกเจิม? (ข) “แกะอื่น”?
14 ใครอาจเข้าเฝ้าพระเจ้าที่พระวิหารฝ่ายวิญญาณนี้? ณ พระวิหารที่เป็นตัวตึก ปุโรหิตและชาวเลวีมีสิทธิพิเศษรับใช้ในลานพระวิหารชั้นใน แต่ว่าเฉพาะปุโรหิตเท่านั้นที่เข้าไปในห้องบริสุทธิ์ได้. คริสเตียนที่ถูกเจิมผู้มีความหวังฝ่ายสวรรค์ชื่นชมยินดีกับสภาพฝ่ายวิญญาณที่ไม่มีอะไรเทียบได้ซึ่งลานพระวิหารชั้นในและห้องบริสุทธิ์เป็นภาพเล็งถึง. สภาพฝ่ายวิญญาณดังกล่าวทำให้พวกเขาสามารถทูลอธิษฐานและถวายคำสรรเสริญแด่พระเจ้า.
15 จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่มีความหวังชีวิตทางแผ่นดินโลก ซึ่งก็คือ “แกะอื่น”? (โยฮัน 10:16) ผู้พยากรณ์ยะซายาระบุว่าประชาชนจากชาติทั้งหลายจะมานมัสการพระยะโฮวา “เมื่อถึงสมัยสุดท้าย.” (ยะซายา 2:2, 3) ท่านเขียนด้วยว่า “คนต่างชาติ” จะมาร่วมอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา. เพื่อชี้ว่าพระองค์ทรงเต็มพระทัยจะยอมรับการเข้าเฝ้าของพวกเขา พระเจ้าตรัสว่า “เราจะ . . . ทำให้เขาชื่นบานในพลับพลาอธิษฐานของเรา.” (ยะซายา 56:6, 7) วิวรณ์ 7:9-15 (ล.ม.) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมอีก โดยพรรณนาถึง “ชนฝูงใหญ่” จาก ‘ชาติทั้งปวง’ ซึ่งรวมตัวกันในการนมัสการและอธิษฐานถึงพระเจ้า “ทั้งวันทั้งคืน” ขณะที่พวกเขายืนอยู่ที่ลานพระวิหารชั้นนอกของพระวิหารฝ่ายวิญญาณ. ช่างเป็นความคิดที่ให้การหนุนใจจริง ๆ ที่ผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้าในปัจจุบันสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้อย่างอิสระด้วยความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าพระองค์ทรงสดับฟังพวกเขา!
คำอธิษฐานเช่นไรได้รับการยอมรับ?
16. เราสามารถเรียนรู้อะไรได้จากคริสเตียนในยุคแรกเกี่ยวกับการอธิษฐาน?
16 คริสเตียนในยุคแรกเป็นกลุ่มชนที่ชอบอธิษฐาน. พวกเขาอธิษฐานเกี่ยวด้วยเรื่องอะไรบ้าง? คริสเตียนผู้ปกครองทูลขอการชี้นำในการเลือกชายที่จะทำหน้าที่ในองค์การ. (กิจการ 1:24, 25; 6:5, 6) เอปาฟรัสอธิษฐานเพื่อเพื่อนร่วมความเชื่อ. (โกโลซาย 4:12) สมาชิกประชาคมในกรุงเยรูซาเลมอธิษฐานเพื่อเปโตรเมื่อท่านถูกจำคุก. (กิจการ 12:5) คริสเตียนในยุคแรกทูลขอพระเจ้าให้ประทานความกล้าแก่ พวกเขาเมื่อเผชิญการต่อต้าน โดยกล่าวว่า “พระองค์เจ้าข้า, ขอโปรดทอดพระเนตรการขู่ของเขา, และโปรดประทานให้ผู้ทาสของพระองค์กล่าวถ้อยคำของพระองค์ด้วยใจกล้า.” (กิจการ 4:23-30) สาวกยาโกโบกระตุ้นคริสเตียนให้อธิษฐานถึงพระเจ้าเพื่อขอสติปัญญาเมื่อถูกทดลอง. (ยาโกโบ 1:5) คุณทูลเรื่องเหล่านี้ต่อพระยะโฮวาในคำอธิษฐานด้วยไหม?
17. พระยะโฮวาทรงยอมรับคำอธิษฐานของใคร?
17 พระเจ้าไม่ทรงยอมรับคำอธิษฐานทุกอย่าง. ถ้าอย่างนั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคำอธิษฐานของเราจะได้รับการยอมรับ? ผู้คนที่ซื่อสัตย์ในสมัยก่อนซึ่งพระเจ้าทรงสดับฟังเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยความจริงใจและด้วยเจตคติที่ถูกต้อง. พวกเขาแสดงความเชื่อ โดยเสริมด้วยการงานที่ดี. เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะสดับฟังคนที่เข้าเฝ้าพระองค์ด้วยท่าทีแบบเดียวกันในทุกวันนี้.
18. เพื่อพระเจ้าจะโปรดสดับฟังคำอธิษฐานของเขา มีข้อเรียกร้องอะไรสำหรับคริสเตียน?
18 มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่ง. อัครสาวกเปาโลอธิบายเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า “โดยพระองค์เรา . . . จึงมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดาได้โดยพระวิญญาณองค์เดียว.” เปาโลหมายถึงใครเมื่อท่านเขียนว่า “โดยพระองค์”? ท่านหมายถึงพระเยซูคริสต์. (เอเฟโซ 2:13, 18) ใช่แล้ว เราสามารถเข้าเฝ้าพระบิดาอย่างอิสระโดยทางพระเยซูเท่านั้น.—โยฮัน 14:6; 15:16; 16:23, 24.
19. (ก) การถวายเครื่องหอมในชาติอิสราเอลกลับกลายเป็นเรื่องที่ทำให้พระยะโฮวาขุ่นเคืองพระทัยเมื่อไร? (ข) เราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าคำอธิษฐานของเราเป็นเหมือนเครื่องหอมอันมีกลิ่นหอมหวานสำหรับพระยะโฮวา?
19 ดังได้กล่าวไปแล้ว เครื่องหอมที่ปุโรหิตชาวอิสราเอลถวายเป็นเครื่องแสดงถึงคำอธิษฐานที่ได้รับการยอมรับของผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้า. อย่างไรก็ตาม บางครั้งเครื่องหอมที่ชาวอิสราเอลถวายเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับพระยะโฮวา. เป็นเช่นนี้เมื่อชาวอิสราเอลเผาเครื่องหอมในพระวิหาร แต่ขณะเดียวกันก็ก้มกราบรูปเคารพ. (ยะเอศเคล 8:10, 11) เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ คำอธิษฐานของคนที่อ้างว่ารับใช้พระยะโฮวาแต่ขณะเดียวกันก็ประพฤติในแนวทางที่ขัดกับกฎหมายของพระองค์ย่อมเป็นเหมือนกลิ่นที่น่ารังเกียจสำหรับพระองค์. (สุภาษิต 15:8) ด้วยเหตุนั้น ให้เรารักษาชีวิตในทุกแง่มุมให้สะอาดต่อ ๆ ไป เพื่อคำอธิษฐานของเราจะเป็นเหมือนเครื่องหอมที่มีกลิ่นหอมหวานสำหรับพระเจ้า. พระยะโฮวาทรงยินดีในคำอธิษฐานของคนที่ดำเนินในแนวทางชอบธรรมของพระองค์. (โยฮัน 9:31) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคำถามบางอย่างค้างอยู่. เราควรอธิษฐานอย่างไร? เราจะอธิษฐานในเรื่องใดได้บ้าง? และพระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานของเราอย่างไร? บทความถัดไปจะพิจารณาคำถามเหล่านี้รวมทั้งคำถามอื่นด้วย.
[เชิงอรรถ]
คุณอธิบายได้ไหม?
• มนุษย์ไม่สมบูรณ์จะเข้าเฝ้าพระเจ้าอย่างที่พระองค์ทรงยอมรับได้โดยวิธีใด?
• ในคำอธิษฐานของเรา เราจะเลียนแบบเหล่าปฐมบรรพบุรุษได้อย่างไร?
• เราเรียนรู้อะไรจากคำอธิษฐานของคริสเตียนในยุคแรก?
• คำอธิษฐานของเราจะเป็นเหมือนเครื่องหอมที่มีกลิ่นหอมหวานสำหรับพระเจ้าเมื่อไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
เหตุใดพระเจ้าทรงยอมรับของถวายจากเฮเบลแต่ไม่ยอมรับของถวายจากคายิน?
[ภาพหน้า 24]
“ข้าพเจ้าผู้เป็นผงคลีดินและมูลเถ้า”
[ภาพหน้า 25]
“ข้าพเจ้าจะแบ่งออกเป็นสิบส่วนถวายส่วนหนึ่งแก่พระองค์”
[ภาพหน้า 26]
คำอธิษฐานของคุณเป็นเหมือนเครื่องหอมที่มีกลิ่นหอมหวานสำหรับพระยะโฮวาไหม?