จงคอยท่าพระยะโฮวาอย่างมีความหวังและจงกล้าหาญ
จงคอยท่าพระยะโฮวาอย่างมีความหวังและจงกล้าหาญ
“จงคอยท่าพระยะโฮวา [อย่างมีความหวัง]: จงตั้งข้อให้แข็งและทำใจไว้ให้กล้าหาญ. จงคอยท่าพระยะโฮวาเถิด.”—บทเพลงสรรเสริญ 27:14.
1. ความหวังสำคัญเพียงไร และมีการใช้คำนี้ในพระคัมภีร์อย่างไร?
ความหวังแท้เป็นเหมือนแสงอันเจิดจ้า. ความหวังแท้ช่วยเราให้มองเลยความยุ่งยากที่ประสบอยู่ในปัจจุบันและเผชิญอนาคตด้วยความกล้าหาญและยินดี. เฉพาะพระยะโฮวาเท่านั้นสามารถประทานความหวังที่แน่นอนให้เราได้ ซึ่งพระองค์ทรงทำเช่นนั้นโดยทางพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจ. (2 ติโมเธียว 3:16) ที่จริง คำที่เกี่ยวข้องกับความหวังมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลมากมายหลายแห่ง และใช้ในความหมายของการคาดหมายอย่างกระตือรือร้นและมั่นใจถึงสิ่งดี ๆ อีกทั้งยังใช้หมายถึงสิ่งที่เราคาดหมายด้วย. * ความหวังเช่นนั้นไม่ได้เป็นเพียงการตั้งความปรารถนาเฉย ๆ ซึ่งอาจไม่มีรากฐานหรือความคาดหวังว่าจะสำเร็จ.
2. ความหวังมีผลกระทบเช่นไรต่อชีวิตของพระเยซู?
2 เมื่อเผชิญการทดสอบความเชื่อและความยากลำบาก พระเยซูทรงมองเลยปัจจุบันไปและหวังในพระยะโฮวา. “เพราะเห็นแก่ความยินดีซึ่งมีอยู่ตรงหน้า พระองค์ยอมทนหลักทรมาน ไม่คำนึงถึงความละอาย แล้วพระองค์ได้เสด็จนั่งเบื้องขวาราชบัลลังก์ของพระเจ้า.” (เฮ็บราย 12:2, ล.ม.) เนื่องจากพระองค์ทรงคาดหวังด้วยใจจดจ่อที่จะได้พิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาและทำให้พระนามของพระเจ้าเป็นที่นับถือ พระเยซูไม่เคยหันเหไปจากแนวทางแห่งการเชื่อฟังพระเจ้าไม่ว่าจะเกิดผลเช่นไรต่อพระองค์เอง.
3. ความหวังมีผลกระทบเช่นไรต่อชีวิตของผู้รับใช้พระเจ้า?
3 กษัตริย์ดาวิดชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างความหวังกับความกล้าหาญ โดยกล่าวว่า “จงคอยท่าพระยะโฮวา [อย่างมีความหวัง]; จงตั้งข้อให้แข็งและทำใจไว้ให้กล้าหาญ. จงคอยท่าพระยะโฮวาเถิด.” (บทเพลงสรรเสริญ 27:14) หากเราอยากให้หัวใจเราเข้มแข็ง เราต้องไม่ปล่อยให้ความหวังของเราลางเลือนไป แต่จะรักษาความหวังไว้ให้แจ่มชัดเสมอในจิตใจและหัวใจ. การทำเช่นนั้นจะช่วยเราให้เลียนแบบพระเยซูในการแสดงความกล้าหาญและความกระตือรือร้นขณะที่เราร่วมทำงานที่พระองค์ทรงมอบหมายให้สาวก ของพระองค์ทำ. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) จริงทีเดียว ความหวังถูกกล่าวถึงพร้อมกันกับความเชื่อและความรักในฐานะเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและยั่งยืนซึ่งเป็นลักษณะเด่นในชีวิตผู้รับใช้ของพระเจ้า.—1 โกรินโธ 13:13.
คุณ “เปี่ยมด้วยความหวัง” ไหม?
4. คริสเตียนผู้ถูกเจิมและ “แกะอื่น” สหายของพวกเขาตั้งตารอคอยอะไรอย่างจริงจัง?
4 ประชาชนของพระเจ้ามีอนาคตอันยอดเยี่ยมอยู่ตรงหน้าพวกเขา. คริสเตียนผู้ถูกเจิมคอยท่าอย่างกระตือรือร้นที่จะรับใช้กับพระคริสต์ในสวรรค์ ในขณะที่ “แกะอื่น” หวังที่จะ “ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสความเสื่อมเสียและมีเสรีภาพอันรุ่งโรจน์แห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า [ที่อยู่บนแผ่นดินโลก].” (โยฮัน 10:16; โรม 8:19-21, ล.ม.; ฟิลิปปอย 3:20) “เสรีภาพอันรุ่งโรจน์” นั้นหมายรวมถึงการช่วยให้พ้นจากบาปและผลพวงอันน่ากลัวของบาป. จริงทีเดียว พระยะโฮวา—ผู้ประทาน “ของประทานอันดีทุกอย่าง และของประทานอันเลิศทุกอย่าง”—จะไม่มอบสิ่งที่มีค่าน้อยกว่านั้นแก่ผู้ภักดีต่อพระองค์.—ยาโกโบ 1:17; ยะซายา 25:8.
5. เราจะ “เปี่ยมด้วยความหวัง” ได้อย่างไร?
5 ความหวังสำหรับคริสเตียนควรมีส่วนมากขนาดไหนในชีวิตเรา? ที่โรม 15:13 (ฉบับแปลใหม่) เราอ่านดังนี้: “ขอพระเจ้าแห่งความหวังทรงโปรดให้ท่านบริบูรณ์ด้วยความชื่นชมยินดีและสันติสุขในความเชื่อ เพื่อท่านจะได้เปี่ยมด้วยความหวัง โดยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์.” ใช่แล้ว ความหวังอาจเปรียบได้ ไม่ใช่กับแสงเทียนในความมืด แต่กับแสงเจิดจ้าของแสงอาทิตย์ยามเช้า ซึ่งเติมชีวิตคนเราให้เปี่ยมด้วยสันติสุข, ความสุข, เป้าหมาย, และความกล้าหาญ. โปรดสังเกตว่า เรา “เปี่ยมด้วยความหวัง” เมื่อเรามีความเชื่อในพระคำของพระเจ้าที่มีบันทึกไว้และได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์. โรม 15:4 กล่าวว่า “สิ่งสารพัตรที่เขียนไว้แล้วคราวก่อนนั้นก็ได้เขียนไว้เพื่อสั่งสอนเราทั้งหลาย เพื่อเราทั้งหลายจะได้มีความหวังโดยความเพียรและความชูใจตามคำที่เขียนไว้แล้วนั้น.” ดังนั้น จงถามตัวเองว่า ‘ฉันรักษาความหวังของฉันให้แจ่มชัดไหมด้วยการเป็นนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่ดี อ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน? ฉันอธิษฐานขอพระวิญญาณของพระเจ้าบ่อย ๆ ไหม?’—ลูกา 11:13.
6. เพื่อรักษาความหวังของเราให้สดใส เราต้องระวังอะไร?
6 พระเยซู ผู้ทรงเป็นแบบอย่างของเรา ทรงได้รับการเสริมกำลังอย่างมากจากพระคำของพระเจ้า. โดยพิจารณาพระองค์อย่างละเอียด เราหลีกเลี่ยง ‘ความเหนื่อยล้าและหมดกำลังใจ.’ (เฮ็บราย 12:3, ล.ม.) ตามเหตุผล หากความหวังที่พระเจ้าโปรดประทานแก่เราเริ่มมัวลงในจิตใจและหัวใจเราหรือหากเราเปลี่ยนไปเน้นที่สิ่งอื่น—อาจจะเป็นสิ่งฝ่ายวัตถุหรือเป้าหมายทางโลก—ไม่ช้าความอ่อนล้าฝ่ายวิญญาณก็อาจเกิดขึ้นกับเรา และในที่สุดก็จะนำพาให้สูญเสียความเข้มแข็งและความกล้าหาญด้านศีลธรรม. เมื่อมีทัศนคติแบบนั้น เราอาจถึงกับ “เสียความเชื่อนั้นเหมือนเรืออับปาง.” (1 ติโมเธียว 1:19) ในทางตรงกันข้าม ความหวังแท้ช่วยเสริมความเชื่อของเรา.
ความหวัง—สำคัญต่อความเชื่อ
7. ความหวังมีความสำคัญต่อความเชื่ออย่างไร?
7 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ฝ่ายความเชื่อนั้นคือความแน่ใจในสิ่งที่เราหวังไว้, เป็นความรู้สึกอย่างแน่นอนว่าสิ่งที่ยังไม่ได้เห็นนั้นมีจริง.” (เฮ็บราย 11:1) ด้วยเหตุนั้น ความหวังไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของความเชื่อ หากแต่เป็นส่วนสำคัญของความเชื่อเลยทีเดียว. ขอให้พิจารณาอับราฮาม. จากมุมมองของมนุษย์ ท่านและภรรยาคือนางซารา อายุเกินวัยที่จะมีบุตรไปแล้วเมื่อพระยะโฮวาทรงสัญญาจะประทานทายาทให้แก่ทั้งสอง. (เยเนซิศ 17:15-17) อับราฮามมีปฏิกิริยาตอบอย่างไร? “แม้ดูเหมือนไม่มีหวัง แต่เนื่องด้วยความหวัง ท่านจึงเชื่อว่าท่านจะได้เป็นบิดาของหลายชาติ.” (โรม 4:18, ล.ม.) ใช่แล้ว ความหวังที่พระเจ้าประทานแก่อับราฮามทำให้ความเชื่อที่ว่าท่านจะมีบุตรหลานมีรากฐานหนักแน่น. ผลก็คือ ความเชื่อของท่านทำให้ความหวังของท่านแจ่มชัดและมั่นคง. คิดดูซิ อับราฮามและซาราถึงกับกล้าทิ้งบ้านทิ้งญาติพี่น้องแล้วไปอาศัยในกระโจมในต่างแดนจนชั่วชีวิต!
8. ความอดทนด้วยความซื่อสัตย์ช่วยเสริมความหวังอย่างไร?
8 อับราฮามรักษาความหวังให้มั่นคงโดยเชื่อฟังพระยะโฮวาอย่างไม่มีข้อสงสัย แม้เมื่อการเชื่อฟังอย่างนั้นเป็นเรื่องยาก. (เยเนซิศ 22:2, 12) คล้ายกัน โดยเชื่อฟังและอดทนในการรับใช้พระยะโฮวา เราสามารถมั่นใจได้ในเรื่องบำเหน็จที่เราจะได้. เปาโลเขียนว่า “ความเพียรอดทน” ทำให้ “เป็นที่ยอมรับของพระเจ้า” ซึ่งยังผลให้มีหวัง “และความหวังไม่ทำให้ผิดหวัง.” (โรม 5:4, 5, ล.ม.) นั่นคือเหตุที่เปาโลเขียนไว้ด้วยว่า “เราปรารถนาให้ท่านทั้งหลายต่างคนต่างสำแดงความอุสส่าห์เช่นเดียวกันจนถึงที่สุดปลาย จึงจะได้ความหวังใจ อย่างบริบูรณ์.” (เฮ็บราย 6:11) ทัศนะในแง่บวกเช่นนั้น ซึ่งอาศัยสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระยะโฮวา สามารถช่วยเราให้เผชิญความลำบากใด ๆ ด้วยความกล้าหาญและด้วยความยินดีด้วยซ้ำ.
“จงยินดีในความหวัง”
9. การทำอะไรเป็นประจำสามารถช่วยเราให้ “ยินดีในความหวัง”?
9 ความหวังที่พระเจ้าประทานแก่เรานั้นยอดเยี่ยมกว่าสิ่งใด ๆ ที่โลกนี้สามารถเสนอให้อย่างแน่นอน. บทเพลงสรรเสริญ 37:34 กล่าวว่า “จงคอยท่าพระยะโฮวา และรักษาทางของพระองค์ไว้, แล้วพระองค์จะทรงโปรดให้ท่านเลื่อนขึ้นได้มฤดกที่แผ่นดินนั้น. ท่านคงจะได้เห็น, เมื่อคนชั่วต้องถูกตัดขาดเสีย.” ใช่แล้ว เรามีเหตุผลทุกประการที่จะ “ยินดีในความหวัง.” (โรม 12:12) แต่เพื่อจะเป็นอย่างนั้น เราต้องรักษาความหวังให้แจ่มชัดในความคิดอยู่เสมอ. คุณใคร่ครวญอยู่เป็นประจำในเรื่องความหวังที่พระเจ้าประทานแก่คุณไหม? คุณสามารถเห็นตัวเองอยู่ในอุทยาน มีสุขภาพดี, ปราศจากความวิตกกังวล, แวดล้อมไปด้วยผู้คนที่คุณรัก, และทำการงานที่น่าพอใจอย่างแท้จริงไหม? คุณใคร่ครวญถึงทัศนียภาพในอุทยานตามที่พรรณนาในสรรพหนังสือของเราไหม? การใคร่ครวญเช่นนั้นเป็นประจำอาจเปรียบได้กับการทำความสะอาดกระจกหน้าต่างซึ่งเรามองออกไปแล้วเห็นภาพที่งดงาม. หากเราละเลยไม่ทำความสะอาดกระจก ไม่นานนักคราบสกปรกและเขม่าก็จะทำให้เรามองไม่เห็นภาพทิวทัศน์ที่กระจ่างตาและดึงดูดใจ. ถึงตอนนั้น สิ่งอื่น ๆ ก็อาจกลายเป็นจุดสนใจของเราแทน. ขออย่าปล่อยให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นกับเรา!
10. เหตุใดการที่เรามองไปที่รางวัลสะท้อนว่าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา?
10 แน่นอน เหตุผลหลักที่เรารับใช้พระยะโฮวาคือความรักที่เรามีต่อพระองค์. (มาระโก 12:30) แม้กระนั้น เราควรมองเขม้นไปที่บำเหน็จ. ที่จริง พระยะโฮวาทรงคาดหมายเราให้ทำอย่างนั้น! เฮ็บราย 11:6 กล่าวว่า “ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว, จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้ เพราะว่าผู้ที่มาหาพระเจ้าต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่, และต้องเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์.” เหตุใดพระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เรามองพระองค์ในฐานะผู้ประทานบำเหน็จ? เพราะเมื่อทำอย่างนั้น เราแสดงว่าเรารู้จักพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์ดี. พระองค์ทรงมีพระทัยเอื้อเฟื้อและรักเหล่าบุตรของพระองค์. ลองคิดดูว่าเราคงขาดความสุขและท้อใจได้ง่ายสักเพียงไรหากเราไม่มี “อนาคตและความหวังใจ.”—ยิระมะยา 29:11, ฉบับแปลใหม่.
11. ความหวังที่พระเจ้าประทานแก่โมเซช่วยท่านให้ตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมอย่างไร?
11 ตัวอย่างที่โดดเด่นของคนที่รักษาความสนใจในเรื่องความหวังที่พระเจ้าประทานไว้เสมอคือโมเซ. ในฐานะ “บุตรของราชธิดาฟาโรห์” โมเซมีอำนาจ, อิทธิพล, และความมั่งคั่งของอียิปต์อยู่ในกำมือ. ท่านจะมุ่งติดตามสิ่งเหล่านี้หรือจะรับใช้พระยะโฮวา? โมเซเลือกอย่างหลังด้วยความกล้าหาญ. เพราะเหตุใด? เพราะท่าน“มองเขม้น ไปถึงการปูนบำเหน็จ.” (เฮ็บราย 11:24-26, ล.ม.) ใช่แล้ว โมเซมิได้เพิกเฉยต่อความหวังที่พระยะโฮวาได้วางไว้ต่อหน้าท่าน.
12. เหตุใดความหวังของคริสเตียนจึงเปรียบได้กับหมวกเกราะ?
1 เธซะโลนิเก 5:8) คุณสวมหมวกเกราะโดยนัยนี้ไว้ตลอดเวลาไหม? หากเป็นอย่างนั้น คุณก็จะเป็นเช่นเดียวกับโมเซและเปาโล คือฝากความหวังไว้ “ไม่ใช่กับทรัพย์ที่ไม่แน่นอน แต่กับพระเจ้า ผู้ทรงจัดสิ่งสารพัดให้เราอย่างบริบูรณ์เพื่อความชื่นชมยินดีของเรา.” จริงอยู่ การสวนกระแสความนิยมโดยทั่วไปด้วยการหันหลังให้แก่กิจกรรมที่เห็นแก่ตัวต้องอาศัยความกล้า แต่ว่าคุ้มค่าความพยายาม! ที่จริง ทำไมจึงจะพอใจกับเพียงแค่สิ่งที่มีค่าน้อยกว่า “ชีวิตแท้” ซึ่งคอยท่าคนที่หวังในพระยะโฮวาและรักพระองค์ล่ะ?—1 ติโมเธียว 6:17, 19, ล.ม.
12 อัครสาวกเปาโลเปรียบเทียบความหวังกับหมวกเกราะ. หมวกเกราะโดยนัยที่เราสวมปกป้องความสามารถในการคิดของเรา ทำให้เราตัดสินใจได้อย่างฉลาดสุขุม, จัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง, และรักษาความซื่อสัตย์มั่นคง. (“เราจะไม่ละท่านไว้เลย”
13. พระยะโฮวาทรงให้คำรับรองอะไรแก่ผู้รับใช้ที่ภักดีต่อพระองค์?
13 คนที่ฝากความหวังไว้กับระบบปัจจุบันต้องคิดหนักเกี่ยวกับอนาคตเพราะมีเค้าลางชัดเจนถึงสิ่งเลวร้ายที่เขาต้องเผชิญ ขณะที่โลกประสบกับ “ความปวดร้าวแห่งความทุกข์” มากขึ้นเรื่อย ๆ. (มัดธาย 24:8, ล.ม.) แต่คนที่หวังในพระยะโฮวาไม่ต้องกลัวเช่นนั้น. พวกเขาจะ “อาศัยอยู่ด้วยความปลอดภัยและไม่ถูกรบกวนด้วยความหวาดกลัวเนื่องจากความหายนะ.” (สุภาษิต 1:33, ล.ม.) เนื่องจากความหวังของพวกเขาไม่ได้อยู่ที่ระบบปัจจุบัน พวกเขาจึงเอาใจใส่คำแนะนำของเปาโลด้วยความยินดี ที่ว่า “จงให้วิถีชีวิตของท่านพ้นจากการรักเงิน ขณะที่ท่านอิ่มใจด้วยสิ่งของที่มีอยู่นั้น. เพราะพระองค์ได้ตรัสไว้แล้วว่า ‘เราจะไม่ละท่านไว้เลยและจะไม่ทิ้งท่านเสียเลย.’ ”—เฮ็บราย 13:5, ล.ม.
14. เหตุใดคริสเตียนไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลจนเกินไปเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นด้านวัตถุ?
14 “เราจะไม่ละท่านไว้เลย”—คำตรัสนี้ที่เน้นอย่างหนักแน่นแสดงชัดเลยว่าพระเจ้าจะทรงดูแลเรา. พระเยซูทรงรับรองกับเราด้วยถึงความห่วงใยรักใคร่ของพระเจ้า โดยตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้า และความชอบธรรมของพระองค์ก่อน, แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ [สิ่งจำเป็นด้านวัตถุในชีวิต] ให้. เหตุฉะนั้นอย่ากระวนกระวายถึงพรุ่งนี้ เพราะว่าพรุ่งนี้คงมีการกระวนกระวายสำหรับพรุ่งนี้เอง.” (มัดธาย 6:33, 34) พระยะโฮวาทรงทราบว่าไม่ง่ายที่เราจะกระตือรือร้นเพื่อราชอาณาจักรของพระองค์และขณะเดียวกันก็รับหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการดูแลความจำเป็นด้านร่างกายของตนเอง. ดังนั้น ให้เราเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมในความสามารถและความปรารถนาของพระองค์ที่จะดูแลให้เรามีสิ่งจำเป็นต่าง ๆ.—มัดธาย 6:25-32; 11:28-30.
15. คริสเตียนคอยดูแล ‘ตาให้ปกติ’ อย่างไร?
15 เราแสดงให้เห็นว่าเราหมายพึ่งพระยะโฮวาเมื่อเราคอยดูแล ‘ตาให้ปกติ.’ (มัดธาย 6:22, 23) ตาที่ปกตินั้นหมายถึงแรงกระตุ้นที่จริงใจและบริสุทธิ์ อีกทั้งปราศจากความละโมบและความทะเยอทะยานอันเห็นแก่ตัว. การมีตาปกติไม่ได้หมายถึงการอยู่อย่างยากจนข้นแค้นหรือการละเลยไม่เอาใจใส่หน้าที่รับผิดชอบของเราในฐานะคริสเตียนต่อความจำเป็นด้านร่างกาย. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น การมีตาปกติหมายถึงการมี “สุขภาพจิตดี” ขณะที่เรารับใช้พระยะโฮวาเป็นอันดับแรกต่อ ๆ ไป.—2 ติโมเธียว 1:7, ล.ม.
16. เหตุใดจำเป็นต้องมีความเชื่อและความกล้าเพื่อจะรักษาตาให้ปกติ?
16 การรักษาตาให้ปกติจำเป็นต้องมีความเชื่อและความกล้าหาญ. ตัวอย่างเช่น หากนายจ้างยืนกรานว่าคุณต้องทำงานเป็นประจำในเวลาที่ตรงกับการประชุมคริสเตียน คุณจะกล้ายึดมั่นให้สิ่งฝ่ายวิญญาณมาเป็นอันดับแรกไหม? หากใครสงสัยว่าจริงหรือไม่ที่พระยะโฮวาจะทรงทำตามคำสัญญาว่าจะดูแลผู้รับใช้ของพระองค์ สิ่งที่ซาตานต้องทำก็เพียงแค่เพิ่มแรงกดดันเข้าไป แล้วคนที่สงสัยแบบนั้นก็อาจเลิกเข้าร่วมการประชุมไปเลย. ใช่แล้ว การที่เราขาดความเชื่ออาจทำให้ซาตานสามารถเข้าครอบงำเราจนทำให้มันกลายเป็นผู้ที่กำหนดว่าอะไรสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับเรา แทนที่จะเป็นพระยะโฮวา. ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าสักเพียงไรหากเป็นเช่นนั้น!—2 โกรินโธ 13:5.
“จงคอยท่าพระยะโฮวา”
17. คนที่ไว้วางใจพระยะโฮวาได้รับพระพรอย่างไรแม้แต่ในเวลานี้?
17 พระคัมภีร์แสดงครั้งแล้วครั้งเล่าว่าคนที่หวังในพระยะโฮวาและไว้วางใจพระองค์จะไม่มีวันล้มเหลว. (สุภาษิต 3:5, 6; ยิระมะยา 17:7) จริงอยู่ บางครั้งพวกเขาจำเป็นต้องพอใจกับสภาพที่มีไม่มากนักทางวัตถุ แต่ก็ถือว่านี่เป็นการเสียสละเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพระพรที่รอพวกเขาอยู่. ด้วย เหตุนั้น พวกเขาแสดงให้เห็นว่าพวกเขา “คอยท่าพระยะโฮวา [อย่างมีความหวัง]” และเชื่อมั่นว่าในที่สุดพระองค์จะโปรดให้คนที่ภักดีต่อพระองค์ได้รับทุกสิ่งตามความปรารถนาที่ชอบธรรมแห่งหัวใจของเขา. (บทเพลงสรรเสริญ 37:4, 34) ดังนั้น พวกเขามีความสุขแท้แม้แต่ในเวลานี้. “ความหวังใจของคนชอบธรรมจะเป็นที่ให้ปีติยินดีแต่ความมุ่งหวังของคนชั่วจะพินาศไป.”—สุภาษิต 10:28.
18, 19. (ก) พระยะโฮวาทรงให้คำรับรองอะไรแก่เราด้วยความรัก? (ข) เราจะให้พระยะโฮวาอยู่ที่ “เบื้องขวา” ของเราอยู่เสมอโดยวิธีใด?
18 เมื่อเด็กเล็กจับมือพ่อและเดินไปด้วยกัน เขารู้สึกมั่นคงปลอดภัย. เป็นจริงอย่างนั้นด้วยเมื่อเราดำเนินไปด้วยกันกับพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์. พระยะโฮวาตรัสแก่ชาติอิสราเอลว่า “อย่ากลัวเลย, ด้วยว่าเราอยู่กับเจ้า, . . . เออ, เราจะช่วยเจ้า, เออ, . . . ด้วยเรา, ยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, กำลังยึดมือข้างขวาของเจ้าอยู่, กำลังกล่าวแก่เจ้าว่า, ‘อย่ากลัวเลย, เราจะช่วยเจ้า.’ ”—ยะซายา 41:10, 13.
19 ช่างเป็นภาพที่ทำให้ชื่นใจสักเพียงไร—พระยะโฮวากำลังจับมือของคนเราไว้! ดาวิดเขียนดังนี้: “ข้าพเจ้าตั้งพระเจ้าไว้ตรงหน้าข้าพเจ้าเสมอ. เพราะพระองค์ประทับทางเบื้องขวาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นไหว.” (บทเพลงสรรเสริญ 16:8, ฉบับแปลใหม่) เราจะให้พระยะโฮวาอยู่ที่ “เบื้องขวา” ของเราอยู่เสมอโดยวิธีใด? เราทำอย่างนั้นได้อย่างน้อยในสองวิธี. วิธีแรก เราให้พระคำของพระองค์ชี้นำเราในทุกแง่มุมของชีวิต; และวิธีที่สอง เราเพ่งมองไปที่รางวัลอันประเสริฐที่พระยะโฮวาได้ทรงวางไว้ตรงหน้าเรา. อาซาฟผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงดังนี้: “ข้าพระองค์อยู่กับพระองค์เสมอ พระองค์ทรงจับมือขวาของข้าพระองค์ไว้. พระองค์ทรงนำข้าพระองค์ด้วยคำปรึกษาของพระองค์ และภายหลังพระองค์จะทรงนำข้าพระองค์ให้ได้รับเกียรติยศ.” (บทเพลงสรรเสริญ 73:23, 24, ฉบับแปลใหม่) ด้วยคำรับรองเช่นนั้น เราสามารถเผชิญอนาคตได้ด้วยความมั่นใจอย่างแท้จริง.
“ความรอด ของท่านใกล้จะถึงแล้ว”
20, 21. อนาคตเช่นไรคอยท่าคนที่หวังในพระยะโฮวา?
20 ขณะที่แต่ละวันผ่านไป เป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ที่เราจะให้พระยะโฮวาอยู่เบื้องขวาของเราอยู่เสมอ. อีกไม่ช้า โดยเริ่มกับการทำลายศาสนาเท็จ โลกของซาตานจะพบกับความทุกข์ลำบากใหญ่อย่างที่ไม่เคยประสบกันมาก่อน. (มัดธาย 24:21) ความกลัวจะแผ่คลุมมนุษยชาติที่ไม่มีความเชื่อ. กระนั้น ในช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายดังกล่าวผู้รับใช้ของพระยะโฮวาที่กล้าหาญจะชื่นชมยินดีในความหวังของพวกเขา! พระเยซูตรัสว่า “เมื่อเหตุการณ์ทั้งปวงนี้เริ่มจะบังเกิดขึ้นนั้น, ท่านทั้งหลายจงเงยหน้าและผงกศีรษะขึ้น, ด้วยความรอดของท่านใกล้จะถึงแล้ว.”—ลูกา 21:28.
21 ด้วยเหตุนั้น ให้เราชื่นชมยินดีในความหวังที่พระเจ้าประทานแก่เรา และอย่าได้ถูกซาตานหลอกล่อโดยสิ่งล่อใจต่าง ๆ อันฉลาดแกมโกงซึ่งทำให้ไขว้เขว. ขณะเดียวกัน ให้เราพยายามอย่างขันแข็งเพื่อปลูกฝังความเชื่อ, ความรัก, และความเกรงกลัวพระเจ้า. เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว เราจะมีความกล้าที่จะต่อต้านพญามารและเชื่อฟังพระยะโฮวาในทุกสถานการณ์. (ยาโกโบ 4:7, 8) ใช่แล้ว “ท่านทั้งหลายที่คอยท่าพระยะโฮวา, จงตั้งข้อให้แข็ง, และทำใจไว้ให้กล้าหาญเถิด.”—บทเพลงสรรเสริญ 31:24.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 แม้ว่าในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกคำ “ความหวัง” มักใช้หมายถึงบำเหน็จที่คริสเตียนผู้ถูกเจิมจะได้รับในสวรรค์ แต่ในบทความนี้จะพิจารณาคำนี้ในความหมายทั่วไป.
คุณตอบได้ไหม?
• ความหวังของพระเยซูช่วยเสริมความกล้าหาญแก่พระองค์อย่างไร?
• ความเชื่อกับความหวังสัมพันธ์กันอย่างไร?
• การมีความหวังควบคู่กับความเชื่อทำให้คริสเตียนมีความกล้าที่จะจัดลำดับสิ่งที่สำคัญกว่าในชีวิตได้อย่างไร?
• เหตุใดคนที่ “คอยท่าพระยะโฮวา [อย่างมีความหวัง]” มองอนาคตด้วยความมั่นใจ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 28]
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คุณสามารถเห็นตัวคุณเองในอุทยานไหม?