จงยอมรับการตีสอนจากพระยะโฮวาเสมอ
“อย่าประมาทต่อบทวินัย [“การตีสอน,” ล.ม.] ของพระยะโฮวา.”—สุภาษิต 3:11.
1. เหตุใดเราควรยอมรับการตีสอนของพระเจ้า?
กษัตริย์ซะโลโมแห่งอิสราเอลโบราณให้เหตุผลที่ดีแก่เราแต่ละคนในการยอมรับการตีสอนที่มาจากพระเจ้า. ท่านกล่าวว่า “บุตรชายของเราเอ๋ย, อย่าประมาทต่อบทวินัย [“การตีสอน,” ล.ม.] ของพระยะโฮวา; และอย่าอ่อนระอาต่อการเตือนสอนของพระองค์: เพราะผู้ใดที่พระยะโฮวาทรงรักพระองค์ทรงเตือนสอนผู้นั้น, เช่นบิดากระทำต่อบุตรที่ตนชื่นชม.” (สุภาษิต 3:11, 12) ใช่แล้ว พระบิดาของคุณผู้อยู่ในสวรรค์ทรงตีสอนคุณเพราะพระองค์ทรงรักคุณ.
2. มีการนิยาม “การตีสอน” ไว้อย่างไร และคนเราอาจได้รับการตีสอนโดยวิธีใด?
2 “การตีสอน” หมายถึงการเฆี่ยนตี, การว่ากล่าวแก้ไข, การสอน, และการฝึกอบรม. อัครสาวกเปาโลเขียนดังนี้: “การตีสอนทุกอย่างเมื่อกำลังถูกอยู่นั้นไม่เป็นการชื่นใจเลย, แต่เป็นการเศร้าใจ แต่ภายหลังก็กระทำให้เกิดผลเป็นความสุขสำราญแก่บรรดาคนที่ต้องทนอยู่นั้น, คือความชอบธรรมนั้นเอง.” (เฮ็บราย 12:11) การยอมรับและใช้ประโยชน์จากการตีสอนของพระเจ้าสามารถช่วยคุณให้มุ่งติดตามแนวทางอันชอบธรรม และด้วยเหตุนั้นจึงนำคุณให้เข้าใกล้พระยะโฮวาพระเจ้าองค์บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น. (บทเพลงสรรเสริญ 99:5) การว่ากล่าวแก้ไขอาจมาโดยทางเพื่อนร่วมความเชื่อ, โดยทางสิ่งที่เราเรียนรู้ ณ การประชุมคริสเตียน, และจากการศึกษาพระคำของพระเจ้าและสรรพหนังสือที่ “คนต้นเรือนที่สัตย์ซื่อ” จัดให้. (ลูกา 12:42-44, ล.ม.) คุณคงรู้สึกขอบคุณสักเพียงไรเมื่อได้รับการชี้แนะให้เอาใจใส่บางสิ่งที่คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน! แต่อาจจำเป็นต้องมีการตีสอนเช่นไรเมื่อมีการทำผิดร้ายแรง?
เหตุที่บางคนถูกตัดสัมพันธ์
3. การตัดสัมพันธ์เกิดขึ้นเมื่อไร?
3 ผู้รับใช้ของพระเจ้าศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือของคริสเตียน. มีการพิจารณามาตรฐานของพระยะโฮวาในการประชุมประชาคม, การประชุมหมวด, และการ
ประชุมภาค. ดังนั้น คริสเตียนอยู่ในฐานะที่ทราบว่าพระยะโฮวาทรงเรียกร้องอะไรจากพวกเขา. การตัดสัมพันธ์เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อสมาชิกคนหนึ่งของประชาคมทำผิดร้ายแรงโดยไม่กลับใจ.4, 5. มีตัวอย่างอะไรในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์ และเหตุใดประชาคมจึงถูกกระตุ้นให้รับชายคนนั้นกลับสู่ฐานะเดิม?
4 ขอให้พิจารณาตัวอย่างในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์. ประชาคมในเมืองโครินท์ยอมทนกับ “การผิดประเวณี, และการผิดนั้นถึงแม้ท่ามกลางพวกต่างประเทศก็ยังไม่เคยมีเลย, คือว่าคนหนึ่งได้เอาภรรยาบิดาเป็นเมียของตน.” (1 โกรินโธ 5:1-4) เปาโลกระตุ้นพี่น้องชาวโครินท์ให้ “มอบคนเช่นนั้นให้ซาตานเพื่อจะทำลายแรงชักจูงของเนื้อหนังที่ผิดบาป เพื่อรักษาน้ำใจอันดีของประชาคมไว้.” (1 โกรินโธ 5:5, ล.ม.) เมื่อถูกตัดสัมพันธ์และยังผลให้เขาถูกมอบไว้กับซาตาน คนบาปนั้นก็กลายเป็นส่วนของโลกของพญามารอีกครั้งหนึ่ง. (1 โยฮัน 5:19) การขับไล่คนนั้นเป็นการขจัดแรงชักจูงของเนื้อหนังที่ชั่วร้ายออกไปจากประชาคมและรักษาไว้ซึ่ง “น้ำใจ” หรือทัศนคติที่สะท้อนคุณลักษณะของพระเจ้า.—2 ติโมเธียว 4:22; 1 โกรินโธ 5:11-13.
5 ไม่นานนักหลังจากนั้น เปาโลกระตุ้นคริสเตียนในเมืองโครินท์ให้รับคนที่ทำผิดนั้นกลับสู่ฐานะเดิม. เพราะเหตุใด? ท่านอัครสาวกกล่าวว่า เพื่อ “ซาตานจะมิได้ชัยชนะแก่” พวกเขา. ดูเหมือนว่า ผู้ทำผิดได้กลับใจและเริ่มดำเนินชีวิตที่สะอาดด้านศีลธรรม. (2 โกรินโธ 2:8-11) หากพี่น้องชาวโครินท์ไม่ยอมรับชายที่กลับใจให้กลับสู่ฐานะเดิม ซาตานก็คงชนะพวกเขาในแง่ที่ว่า พวกเขามีใจแข็งกระด้างและไม่ยอมให้อภัยอย่างที่พญามารอยากให้พวกเขาเป็น. เป็นไปได้มากว่า ไม่นานหลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ “ยกโทษและปลอบใจ” ชายผู้กลับใจนั้น.—2 โกรินโธ 2:5-7, ฉบับแปล 2002.
6. การตัดสัมพันธ์สามารถทำอะไรให้บรรลุผล?
6 การตัดสัมพันธ์ทำอะไรให้บรรลุผล? การตัดสัมพันธ์รักษาพระนามบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาให้พ้นคำตำหนิและปกป้องชื่อเสียงที่ดีของประชาชนของพระองค์. (1 เปโตร 1:14-16) การขจัดผู้ทำผิดที่ไม่กลับใจออกจากประชาคมเป็นการเชิดชูมาตรฐานของพระเจ้าและธำรงไว้ซึ่งความสะอาดฝ่ายวิญญาณของประชาคม. นอกจากนี้ การทำเช่นนี้ยังอาจโน้มนำคนที่ไม่กลับใจให้ตระหนักถึงความร้ายแรงของบาปที่เขาทำ.
การกลับใจเป็นปัจจัยสำคัญ
7. ผลเป็นเช่นไรเมื่อดาวิดไม่ได้สารภาพความผิดของท่าน?
7 โดยมากแล้ว คนที่ทำผิดร้ายแรงมักจะกลับใจอย่างแท้จริงและไม่ถูกตัดสัมพันธ์ออกจากประชาคม. แน่นอน อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกลับใจอย่างแท้จริง. ขอให้พิจารณากรณีของดาวิด กษัตริย์ของชาติอิสราเอลซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญบท 32. เพลงบทนี้เผยให้เห็นว่าเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ดาวิดไม่ได้สารภาพบาปร้ายแรงของท่าน ซึ่งคงจะเป็นบาปที่ทำกับนางบัธเซบะ. ผลก็คือ ความทุกข์ใจเนื่องด้วยบาปนั้นทำให้ท่านหมดเรี่ยวแรง เหมือนต้นไม้ที่ความชุ่มชื้นเหือดหายไปเพราะถูกแดดฤดูร้อนแผดเผา. ดาวิดทนทุกข์ทั้งกายและใจ แต่เมื่อท่าน ‘สารภาพการล่วงละเมิดของท่าน พระยะโฮวาทรงโปรดยกความอสัตย์อธรรมของท่านเสีย.’ (บทเพลงสรรเสริญ 32:3-5) จากนั้น ดาวิดร้องเพลงดังนี้: “ความสุขย่อมมีแก่ผู้ที่พระยะโฮวาไม่ทรงถือโทษ.” (บทเพลงสรรเสริญ 32:1, 2) ช่างยอดเยี่ยมสักเพียงไรที่ได้รับความเมตตาจากพระเจ้า!
8, 9. การกลับใจจะปรากฏให้เห็นชัดโดยวิธีใด และการกลับใจสำคัญเพียงไรในการพิจารณารับคนที่ถูกตัดสัมพันธ์กลับสู่ฐานะเดิม?
8 ดังนั้น เห็นได้ชัดเลยว่าผู้ทำผิดต้องกลับใจจึงจะได้รับความเมตตา. อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกอายและการกลัวถูกเปิดโปงความผิดไม่ใช่การกลับใจ. “การกลับใจ” หมายถึง “การเปลี่ยนความคิด” ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำที่ไม่ดีของใครคนหนึ่ง เพราะเขาสำนึกเสียใจ. คนที่กลับใจมี “ใจแตกและฟกช้ำ” และต้องการ “แก้ตัวใหม่” หากเป็นไปได้.—บทเพลงสรรเสริญ 51:17; 2 โกรินโธ 7:11, ฉบับแปลใหม่.
9 การกลับใจเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการรับคนที่ถูกตัดสัมพันธ์กลับสู่ฐานะเดิมในประชาคมคริสเตียน. คนที่ถูกตัดสัมพันธ์ไม่ได้ถูกรับกลับสู่ประชาคมโดยอัตโนมัติหลังจากที่ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง. ก่อนที่เขาจะถูกรับกลับสู่ฐานะเดิมได้ สภาพหัวใจของเขาต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก. เขาต้องตระหนักว่าบาปที่เขาทำและคำตำหนิที่เขานำมาสู่พระยะโฮวาและประชาคมเป็นสิ่งร้ายแรงเพียงไร. คนทำผิดต้องกิจการ 26:20.
กลับใจ, อธิษฐานอย่างจริงใจขอการให้อภัย, และประพฤติสอดคล้องกับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระเจ้า. เมื่อร้องขอให้ประชาคมรับเขากลับสู่ฐานะเดิม เขาควรสามารถให้หลักฐานว่าเขาได้กลับใจแล้วและกำลังกระทำ “การซึ่งสมกับที่กลับใจเสียใหม่แล้ว.”—เหตุใดจึงต้องสารภาพความผิด?
10, 11. เหตุใดเราไม่ควรพยายามปกปิดความผิดไว้?
10 บางคนที่ได้ทำผิดอาจหาเหตุผลดังนี้: ‘ถ้าฉันบอกใครเกี่ยวกับความผิดที่ฉันทำ ฉันอาจต้องตอบคำถามที่เป็นเรื่องน่าอายและอาจถูกตัดสัมพันธ์. แต่ถ้าฉันเก็บเงียบเอาไว้ ก็คงไม่ต้องขายหน้าอย่างนั้น และก็จะไม่มีใครในประชาคมรู้.’ การคิดเช่นนั้นไม่ได้นำปัจจัยสำคัญบางอย่างเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย. ปัจจัยเหล่านั้นคืออะไร?
11 พระยะโฮวาทรงเป็น “พระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณา, ผู้ทรงอดพระทัยได้นาน, และบริบูรณ์ด้วยความดีและความจริง; ผู้ทรงเมตตาต่อมนุษย์ถึงหลายพันชั่วอายุคน, ผู้ทรงโปรดยกความชั่วการล่วงละเมิดและบาปของเขา.” ถึงกระนั้น พระองค์ทรงว่ากล่าวแก้ไขประชาชนของพระองค์ “แต่พอดี.” (เอ็กโซโด 34:6, 7; ยิระมะยา 30:11) หากคุณทำบาปร้ายแรง คุณจะได้รับความเมตตาจากพระเจ้าได้อย่างไรถ้าคุณพยายามปกปิดบาปที่คุณทำ? พระยะโฮวาทรงทราบเรื่องนั้น และพระองค์จะไม่เพียงแต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการทำผิด.—สุภาษิต 15:3; ฮะบาฆูค 1:13.
12, 13. การพยายามปกปิดความผิดไว้อาจก่อผลเช่นไรได้?
12 หากคุณได้ทำบาปร้ายแรง การสารภาพจะช่วยคุณได้ให้มีสติรู้สึกผิดชอบที่ดีอีกครั้งหนึ่ง. (1 ติโมเธียว 1:18-20) แต่การไม่สารภาพความผิดอาจก่อผลให้สติรู้สึกผิดชอบไม่สะอาดซึ่งอาจชักนำให้คุณทำบาปมากขึ้นไปอีก. จงจำไว้ว่าบาปของคุณไม่ได้เป็นเพียงบาปต่อมนุษย์หรือต่อประชาคม. นั่นเป็นบาปต่อพระเจ้า. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงว่า “พระยะโฮวา—ราชบัลลังก์ของพระองค์อยู่ในสวรรค์. พระเนตรของพระองค์เองทรงเพ่งดู พระเนตรที่เปล่งประกายของพระองค์เองตรวจสอบบุตรแห่งมนุษย์ทั้งหลาย. พระยะโฮวาเองทรงตรวจสอบคนชอบธรรมและคนอธรรมด้วย.”—บทเพลงสรรเสริญ 11:4, 5, ล.ม.
13 พระยะโฮวาจะไม่ทรงอวยพรใครก็ตามที่ปกปิดบาปร้ายแรงและพยายามอยู่ต่อไปในประชาคมคริสเตียนที่สะอาด. (ยาโกโบ 4:6) ดังนั้น หากคุณได้พลาดพลั้งทำบาปและต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่ารีรอที่จะสารภาพความผิดอย่างจริงใจ. หากไม่ทำอย่างนั้น คุณจะรู้สึกผิดอยู่ตลอด โดยเฉพาะเมื่อคุณอ่านหรือฟังคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่คล้าย ๆ กับบาปที่คุณเคยทำ. จะเป็นอย่างไรหากพระยะโฮวาทรงถอนพระวิญญาณจากคุณ เหมือนที่ทรงทำในกรณีของกษัตริย์ซาอูล? (1 ซามูเอล 16:14) เมื่อถูกถอนพระวิญญาณออกไปแล้ว คุณก็อาจพลาดพลั้งทำบาปที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นไปอีก.
จงไว้ใจพี่น้องที่ซื่อสัตย์
14. เหตุใดผู้ทำผิดควรทำตามคำแนะนำที่ยาโกโบ 5:14, 15?
14 ด้วยเหตุนั้น ผู้ทำผิดที่กลับใจควรทำอะไร? “จงให้เขาเชิญบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ของประชาคมมาหาตน และให้คนเหล่านั้นอธิษฐานเพื่อเขา เอาน้ำมันทาเขาในนามของพระยะโฮวา. และคำอธิษฐานด้วยความเชื่อจะทำให้ผู้ที่ไม่สบายหายเป็นปกติ และพระยะโฮวาจะทรงพยุงเขาขึ้น.” (ยาโกโบ 5:14, 15, ล.ม.) การเข้าหาผู้ปกครองเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คนทำผิด “เกิดผลให้สมกับการกลับใจ.” (มัดธาย 3:8, ฉบับแปล 2002) ชายเหล่านี้ซึ่งซื่อสัตย์และมีใจเมตตาจะ ‘อธิษฐานเพื่อเขาและเอาน้ำมันทาเขาในนามของพระยะโฮวา.’ เช่นเดียวกับน้ำมันที่ทำให้ผ่อนคลาย คำแนะนำของพวกเขาซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลจะให้การปลอบโยนแก่ใครก็ตามที่กลับใจอย่างแท้จริง.—ยิระมะยา 8:22.
15, 16. คริสเตียนผู้ปกครองดำเนินตามตัวอย่างที่พระเจ้าทรงวางไว้ดังบันทึกที่ยะเอศเคล 34:15, 16 อย่างไร?
15 ช่างเป็นตัวอย่างอันเปี่ยมด้วยความรักจริง ๆ ที่พระยะโฮวา ผู้เลี้ยงแกะองค์ยิ่งใหญ่ของเรา ทรงวางไว้เมื่อพระองค์ทรงปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นอิสระจากการเป็นเชลยที่บาบิโลนในปี 537 ก่อนสากลศักราช และเมื่อพระองค์ทรงปลดปล่อยอิสราเอลฝ่ายวิญญาณให้เป็นอิสระจาก “บาบิโลนใหญ่” ในปี ส.ศ. 1919! (วิวรณ์ 17:3-5, ล.ม.; ฆะลาเตีย 6:16) โดยวิธีนั้น พระองค์ทรงทำให้สำเร็จตามคำสัญญาของพระองค์ที่ว่า “ตัวเราเองจะเป็นผู้เลี้ยงแกะของเรา เราจะกระทำให้เขานอนลง . . . เราจะเที่ยวหาแกะที่หาย และเราจะนำแกะที่หลงกลับมา และเราจะพันผ้าให้แกะที่กระดูกหัก และเราจะเสริมกำลังแกะที่อ่อนเพลีย.”—ยะเอศเคล 34:15, 16, ฉบับแปลใหม่.
16 พระยะโฮวาทรงบำรุงเลี้ยงแกะโดยนัยของพระองค์, ให้พวกเขานอนลงอย่างปลอดภัย, และทรงเสาะหาผู้หลงหาย. คล้ายกัน คริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยงตรวจสอบให้แน่ใจว่าฝูงแกะของพระเจ้าได้รับการบำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณอย่างดีและมั่นคงปลอดภัย. ผู้ปกครองเสาะหาแกะที่หลงออกไปจากประชาคม. เช่นเดียวกับที่พระเจ้า ‘ทรงพันผ้าให้แกะที่กระดูกหัก’ ผู้ดูแล “พันผ้า” ให้แกะที่เจ็บช้ำจากคำพูดของบางคนหรือจากการกระทำของเขาเอง. และเช่นเดียวกับที่พระเจ้า “เสริมกำลังแกะที่อ่อนเพลีย” ผู้ปกครองช่วยคนที่ป่วยฝ่ายวิญญาณ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่เขาเองได้ทำผิด.
วิธีที่ผู้บำรุงเลี้ยงให้ความช่วยเหลือ
17. เหตุใดเราไม่ควรลังเลที่จะขอความช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณจากผู้ปกครอง?
17 ผู้ปกครองยินดีทำตามคำแนะนำนี้: “จงสำแดงความเมตตา . . . ต่อ ๆ ไป ทำเช่นนี้ด้วยความเกรงกลัว.” (ยูดา 23, ล.ม.) โดยพลาดพลั้งทำผิดศีลธรรมทางเพศ คริสเตียนบางคนได้ทำบาปร้ายแรง. แต่หากพวกเขากลับใจอย่างแท้จริง พวกเขาก็สามารถคาดหมายได้ว่าจะได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตารักใคร่จากผู้ปกครองซึ่งกระตือรือร้นที่จะช่วยพวกเขาทางฝ่ายวิญญาณ. เปาโลกล่าวถึงผู้ปกครองเหล่านั้นโดยรวมตัวท่านเองไว้ด้วยว่า “เราไม่ได้เป็นนายบังคับความเชื่อของท่าน แต่เป็นผู้ร่วมงานกับพวกท่าน เพื่อให้ท่านได้รับความชื่นชมยินดี.” (2 โกรินโธ 1:24, ฉบับแปล 2002) ด้วยเหตุนั้น อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณจากพวกเขา.
18. ผู้ปกครองปฏิบัติอย่างไรต่อเพื่อนร่วมความเชื่อที่ทำผิด?
18 หากคุณได้ทำบาปร้ายแรง เหตุใดคุณสามารถเชื่อมั่นในผู้ปกครอง? ทั้งนี้ก็เนื่องจากพวกเขามีบทบาทสำคัญเป็นผู้บำรุงเลี้ยง ฝูงแกะของพระเจ้า. (1 เปโตร 5:1-4) ไม่มีผู้บำรุงเลี้ยงที่เปี่ยมด้วยความรักคนใดตีแกะเชื่องที่ร้องครางเพราะมันทำให้ตัวมันเองได้รับบาดเจ็บ. เมื่อผู้ปกครองปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมความเชื่อที่ทำผิด พวกเขาจึงไม่ได้มุ่งสนใจที่การลงโทษ แต่จะมุ่งไปที่บาปและการฟื้นตัวทางฝ่ายวิญญาณเท่าที่จะทำได้. (ยาโกโบ 5:13-20) ผู้ปกครองต้องตัดสินด้วยความชอบธรรมและ “ปฏิบัติต่อฝูงแกะด้วยความอ่อนโยน.” (กิจการ 20:29, 30, ล.ม.; ยะซายา 32:1, 2) เช่นเดียวกับคริสเตียนคนอื่น ๆ ทั้งหมด ผู้ปกครองต้อง ‘สำแดงความยุติธรรม, รักความกรุณา, และเจียมตัวในการดำเนินกับพระเจ้า.’ (มีคา 6:8, ล.ม.) คุณลักษณะเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตและการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของ “แกะแห่งทุ่งหญ้าของ [พระยะโฮวา].”—บทเพลงสรรเสริญ 100:3, ฉบับแปลใหม่.
เช่นเดียวกับผู้เลี้ยงแกะในสมัยโบราณ คริสเตียนผู้ปกครอง “พันผ้า” แกะของพระเจ้าที่บาดเจ็บ
19. คริสเตียนผู้ปกครองพยายามปรับบางคนให้เข้าที่โดยมีทัศนคติเช่นไร?
19 คริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยงได้รับการแต่งตั้งจากพระวิญญาณบริสุทธิ์และพยายามให้พระวิญญาณชี้นำ. หาก “ผู้ใดก้าวพลาดไปประการใดก่อนที่เขารู้ตัว” คืออย่างที่ไม่ทันฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.; กิจการ 20:28) ด้วยความอ่อนโยนแต่ก็หนักแน่นตามมาตรฐานของพระเจ้า ผู้ปกครองพยายามปรับความคิดของคนนั้น เช่นเดียวกับหมอที่คิดถึงความรู้สึกของผู้ป่วยจัดกระดูกที่หักให้เข้าที่อย่างระมัดระวัง เพื่อจะไม่ทำให้เจ็บโดยไม่จำเป็น แต่ก็ยังจัดการแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อย. (โกโลซาย 3:12) เนื่องจากผู้ปกครองตัดสินใจว่าจะแสดงความเมตตาหรือไม่โดยอาศัยข้อพระคัมภีร์เป็นหลักพร้อมกับการอธิษฐาน การตัดสินใจของพวกเขาย่อมสะท้อนถึงทัศนะของพระเจ้าในเรื่องต่าง ๆ.—มัดธาย 18:18.
ระวังตัว—ชายที่มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณจะพยายาม “ปรับคนเช่นนั้นให้เข้าที่ด้วยน้ำใจอ่อนโยน.” (20. เมื่อไรที่อาจจำเป็นต้องประกาศต่อประชาคมว่าใครคนหนึ่งถูกว่ากล่าว?
20 หากความผิดเรื่องหนึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปหรือจะเป็นที่รู้กันในที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย คงเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะมีคำประกาศต่อประชาคมเพื่อป้องกันชื่อเสียงของประชาคม. จะมีคำประกาศด้วยเช่นกันหากประชาคมจำเป็นต้องรับทราบ. ในช่วงที่คนที่ถูกว่ากล่าวกำลังฟื้นตัวฝ่ายวิญญาณ อาจเปรียบเขาได้กับคนที่กำลังฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ ซึ่งทำให้เขาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้จำกัดอยู่ชั่วระยะหนึ่ง. คงจะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนที่ผู้แสดงการกลับใจจะฟัง แทนที่จะให้ความเห็น ณ การประชุม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง. ผู้ปกครองอาจจัดให้บางคนศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขาเพื่อเสริมความเข้มแข็งในจุดที่เขาอ่อนแอ เพื่อเขาจะกลับ “เข้มแข็งในความเชื่อ” อีกครั้งหนึ่ง. (ติโต 2:2, ล.ม.) ทั้งหมดนี้ทำด้วยความรักและโดยไม่ได้มุ่งจะลงโทษผู้ทำผิด.
21. อาจมีการจัดการอย่างไรสำหรับการกระทำผิดบางกรณี?
21 ผู้ปกครองสามารถให้ความช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณได้หลายวิธี. ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าพี่น้องชายคนหนึ่งซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องการดื่มได้ดื่มมากเกินไปครั้งสองครั้งเมื่อเขาอยู่บ้านคนเดียว. หรือบางคนที่เลิกนิสัยสูบบุหรี่ไปนานแล้วได้แอบสูบบุหรี่ครั้งสองครั้งในช่วงที่เขาอ่อนแอ. แม้ว่าเขาได้อธิษฐานแล้วและเชื่อว่าพระเจ้าได้ให้อภัยเขา แต่เขาควรขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครองเพื่อไม่ให้การทำบาปดังกล่าวกลายเป็นนิสัย. ผู้ปกครองคนหนึ่งหรือสองคนอาจจัดการในเรื่องนั้น. อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองที่จะจัดการเรื่องนั้นจะแจ้งให้ผู้ดูแลผู้เป็นประธานทราบ เนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย.
จงยอมรับการตีสอนจากพระเจ้าเรื่อยไป
22, 23. เหตุใดคุณควรยอมรับการตีสอนจากพระเจ้าเรื่อยไป?
22 เพื่อจะได้รับการยอมรับจากพระเจ้า คริสเตียนแต่ละคนต้องเอาใจใส่การตีสอนจากพระยะโฮวา. (1 ติโมเธียว 5:20) ดังนั้น จงใส่ใจการว่ากล่าวแก้ไขใด ๆ ที่ได้รับเมื่อคุณศึกษาพระคัมภีร์และสรรพหนังสือของคริสเตียนหรือเมื่อคุณฟังคำแนะนำที่มีการเสนอ ณ การประชุมประชาคม, การประชุมหมวด, และการประชุมภาคของประชาชนของพระยะโฮวา. จงตื่นตัวอยู่เสมอในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. เมื่อเป็นอย่างนั้น การตีสอนจากพระเจ้าจะช่วยคุณในการรักษาป้อมปราการฝ่ายวิญญาณให้เข้มแข็งเพื่อต้านทานบาป.
23 การยอมรับการตีสอนจากพระเจ้าจะทำให้คุณสามารถรักษาตัวให้อยู่ในความรักของพระเจ้า. จริงอยู่ บางคนได้ถูกขับออกจากประชาคมคริสเตียน แต่นี่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับคุณ หากคุณ ‘ป้องกันรักษาหัวใจของคุณ’ และ ‘ดำเนินเหมือนคนมีปัญญา.’ (สุภาษิต 4:23, ล.ม.; เอเฟโซ 5:15, ล.ม.) แต่หากคุณถูกตัดสัมพันธ์อยู่ในตอนนี้ คุณน่าจะดำเนินการตามขั้นตอนที่จะถูกรับกลับสู่ฐานะเดิมมิใช่หรือ? พระเจ้าทรงประสงค์ให้ทุกคนที่ได้อุทิศตัวแด่พระองค์แล้วนมัสการพระองค์อย่างซื่อสัตย์และด้วย “ใจโสมนัสยินดี.” (พระบัญญัติ 28:47) คุณสามารถทำอย่างนั้นได้ตลอดไปหากคุณยอมรับการตีสอนจากพระยะโฮวาเสมอ.—บทเพลงสรรเสริญ 100:2.