พระยะโฮวาจะ “ประทานความยุติธรรม”
พระยะโฮวาจะ “ประทานความยุติธรรม”
“พระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่คนที่พระองค์ทรงเลือกไว้ คือพวกที่ร้องถึงพระองค์ทั้งกลางวันกลางคืนหรือ?”—ลูกา 18:7, ฉบับแปล 2002.
1. ใครเป็นแหล่งแห่งการหนุนใจสำหรับคุณ และเพราะเหตุใด?
ทั่วโลกพยานพระยะโฮวามีสังคมพี่น้องที่ได้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์มานานปี. คุณรู้จักผู้เป็นที่รักเหล่านี้บางคนเป็นส่วนตัวไหม? คุณอาจนึกขึ้นได้ถึงพี่น้องหญิงสูงอายุที่รับบัพติสมานานหลายปีและแทบไม่ขาดการประชุมที่หอประชุมราชอาณาจักรเลย. หรือคุณอาจนึกถึงพี่น้องชายสูงอายุที่ให้การสนับสนุนงานรับใช้ของประชาคมอย่างภักดีสัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า ทำงานนี้มาหลายสิบปี. ที่จริง ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้หลายคนเคยคิดว่าถึงตอนนี้อาร์มาเก็ดดอนน่าจะมาถึงแล้ว. ถึงกระนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าโลกที่ไม่ยุติธรรมนี้ยังคงอยู่ไม่ได้เซาะกร่อนความเชื่อมั่นของพวกเขาต่อคำสัญญาของพระยะโฮวา และไม่ได้ทำให้ความตั้งใจแน่วแน่ของพวกเขาที่จะ “อดทนจนถึงที่สุด” อ่อนลงไป. (มัดธาย 24:13, ล.ม.) ความเชื่ออย่างลึกซึ้งที่ผู้รับใช้ที่ภักดีเหล่านี้ของพระยะโฮวาแสดงออกเป็นแหล่งแห่งการหนุนใจอย่างแท้จริงสำหรับพี่น้องทั้งประชาคม.—บทเพลงสรรเสริญ 147:11.
2. สถานการณ์เช่นไรที่ทำให้เราเศร้าใจ?
2 อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราอาจสังเกตเห็นเจตคติที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง. พยานฯ บางคนร่วมในงานรับใช้มาหลายปี แต่ในที่สุดความเชื่อของเขาที่มีต่อพระยะโฮวาก็เริ่มอ่อนลงไป และเขาเลิกคบหากับประชาคมคริสเตียน. เป็นเรื่องที่ทำให้เราเศร้าใจเมื่อเพื่อนเก่าได้ละทิ้งพระยะโฮวา และเราปรารถนาจากใจจริงที่จะพยายามช่วย “แกะหลง” แต่ละตัวต่อ ๆ ไปให้กลับเข้าฝูง. (บทเพลงสรรเสริญ 119:176; โรม 15:1) แม้กระนั้น ผลที่ตรงกันข้ามกัน—บางคนรักษาความเชื่อในขณะที่บางคนสูญเสียความเชื่อ—ทำให้เกิดคำถามขึ้นมา. อะไรสามารถช่วยพยานฯ จำนวนมากให้รักษาความเชื่อในคำสัญญาของพระยะโฮวาในขณะที่บางคนสูญเสียความเชื่อดังกล่าว? เราแต่ละคนสามารถทำอะไรได้เพื่อจะแน่ใจได้ว่าเราจะยังคงเชื่ออย่างมั่นคงว่า “วันใหญ่แห่งพระยะโฮวา” กำลังใกล้เข้ามา? (ซะฟันยา 1:14) ให้เรามาพิจารณาอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งที่พบในกิตติคุณของลูกา.
คำเตือนสำหรับคนที่มีชีวิตในสมัย “เมื่อบุตรมนุษย์มา”
3. ใครโดยเฉพาะสามารถได้รับประโยชน์จากอุทาหรณ์เรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษา และเพราะเหตุใด?
3 ในพระธรรมลูกาบท 18 เราพบอุทาหรณ์ของพระเยซูเกี่ยวกับหญิงม่ายและผู้พิพากษา. อุทาหรณ์นี้คล้ายกับอุทาหรณ์เรื่องเจ้าบ้านผู้ไม่ยอมละลดซึ่งเราได้พิจารณาในบทความก่อน. (ลูกา 11:5-13) อย่างไรก็ตาม บริบทของข้อความตอนนี้ในคัมภีร์ไบเบิลที่กล่าวถึงอุทาหรณ์เรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษาแสดงว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีชีวิตในสมัย “เมื่อบุตรมนุษย์มา” ด้วยขัตติยอำนาจแห่งราชอาณาจักร ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 1914.—ลูกา 18:8, ฉบับแปล 2002. *
4. พระเยซูทรงพิจารณาอะไรก่อนจะเล่าอุทาหรณ์ที่พบในลูกาบท 18?
4 ก่อนที่จะเล่าอุทาหรณ์ พระเยซูทรงบอกว่าหลักฐานลูกา 17:24; 21:10, 29-33) แม้กระนั้น คนส่วนใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ใน “เวลาอวสาน” จะไม่สนใจหลักฐานที่ชัดเจนนั้น. (ดานิเอล 12:4, ล.ม.) เพราะเหตุใด? ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ผู้คนในสมัยของโนฮาและโลตเพิกเฉยต่อคำเตือนของพระยะโฮวา. ย้อนไปในสมัยโน้น ผู้คน ‘กินดื่ม, ซื้อขาย, หว่านปลูก, และก่อสร้างจนถึงวันที่พวกเขาถูกทำลาย.’ (ลูกา 17:26-29) พวกเขาเสียชีวิตเพราะมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติจนไม่ได้ใส่ใจในเรื่องพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (มัดธาย 24:39) ในทุกวันนี้ ผู้คนทั่วไปก็เช่นกันหมกมุ่นอยู่กับกิจวัตรประจำวันจนมองไม่เห็นหลักฐานที่ว่าอวสานของโลกอธรรมนี้ใกล้จะมาถึงแล้ว.—ลูกา 17:30.
เรื่องการประทับของพระองค์ด้วยขัตติยอำนาจแห่งราชอาณาจักรจะเห็นได้อย่างกว้างขวาง “เหมือนฟ้าแลบ” ที่ “แลบออกจากฟ้าข้างหนึ่ง, ก็ส่องสว่างไปถึงฟ้าอีกข้างหนึ่ง.” (5. (ก) พระเยซูทรงให้คำเตือนแก่ใคร และเพราะเหตุใด? (ข) อะไรได้ทำให้บางคนสูญเสียความเชื่อ?
5 เห็นได้ชัด พระเยซูทรงเป็นห่วงว่าเหล่าสาวกด้วยเช่นกันจะถูกโลกของซาตานชักนำให้เขว ถึงขนาดที่พวกเขาอาจ ‘กลับไปหาสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง.’ (ลูกา 17:22, 31, ล.ม.) และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ กับคริสเตียนบางคน. เป็นเวลานานหลายปีที่คนเหล่านั้นปรารถนาอย่างยิ่งจะได้เห็นวันที่พระยะโฮวาจะนำอวสานมาสู่โลกชั่วนี้. แต่เมื่ออาร์มาเก็ดดอนไม่ได้มาตามเวลาที่พวกเขาคาดเอาไว้ พวกเขาก็เริ่มท้อใจ. ความเชื่อมั่นที่ว่าวันพิพากษาของพระยะโฮวาใกล้จะถึงแล้วค่อย ๆ อ่อนลงไป. พวกเขาเพลามือลงในงานรับใช้และค่อย ๆ หมกมุ่นอยู่กับกิจวัตรทั่วไปในชีวิตจนแทบไม่เหลือเวลาสำหรับสิ่งฝ่ายวิญญาณ. (ลูกา 8:11, 13, 14) ในที่สุด พวกเขาก็ ‘กลับไปหาสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง’—ช่างน่าเศร้าจริง ๆ!
ความจำเป็นที่ต้อง “อธิษฐานอยู่เสมอ”
6-8. (ก) จงเล่าอุทาหรณ์เรื่องแม่ม่ายกับผู้พิพากษา. (ข) พระเยซูทรงชี้ถึงประโยชน์ของอุทาหรณ์นี้อย่างไร?
6 เราอาจทำอะไรได้เพื่อให้แน่ใจว่าความเชื่ออันมั่นคงในความสำเร็จแห่งคำสัญญาของพระยะโฮวาจะไม่อ่อนลงไป? (เฮ็บราย 3:14) พระเยซูพิจารณาเกี่ยวกับคำถามดังกล่าวทันทีหลังจากที่ทรงเตือนเหล่าสาวกว่าอย่าได้หันกลับไปหาโลกชั่วของซาตาน.
7 ลูการายงานว่า พระเยซู “ตรัสอุปมาเรื่องหนึ่งให้พวกเขาฟัง เพื่อสอนว่าเขาทั้งหลายควรอธิษฐานอยู่เสมอและไม่อ่อนระอาใจ.” พระเยซูตรัสว่า “ในเมืองแห่งหนึ่งมีผู้พิพากษาอยู่คนหนึ่ง เป็นคนที่ไม่เกรงกลัวพระเจ้าและไม่เห็นแก่มนุษย์ด้วย. ในเมืองนั้นมีหญิงม่ายคนหนึ่งมาหาท่านพูดว่า ‘ขอให้ความยุติธรรมแก่ดิฉันในการสู้ความเถิด.’ แต่ผู้พิพากษาคนนั้นไม่ยอมทำจนเวลาผ่านไปนาน แต่ภายหลังเขานึกในใจว่า ‘แม้ว่าข้าจะไม่เกรงกลัวพระเจ้าและไม่เห็นแก่มนุษย์ แต่เพราะแม่ม่ายคนนี้มาทำให้ข้าลำบาก ข้าจะให้ความยุติธรรมแก่นางเพื่อไม่ให้นางมารบกวนให้รำคาญใจบ่อย ๆ.’ ”
8 หลังจากเล่าเรื่องนี้แล้ว พระเยซูทรงชี้ถึงประโยชน์ของเรื่องนี้ว่า “จงฟังคำที่ผู้พิพากษาอธรรมคนนี้พูด พระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่คนที่พระองค์ทรงเลือกไว้ คือพวกที่ร้องถึงพระองค์ทั้งกลางวันกลางคืนหรือ? พระองค์จะทรงอดทนได้หรือ? เราบอกพวกท่านว่า พระองค์ลูกา 18:1-8, ฉบับแปล 2002.
จะประทานความยุติธรรมแก่พวกเขาโดยเร็ว. แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านยังจะพบความเชื่อในแผ่นดินโลกหรือ?”—“ขอให้ความยุติธรรมแก่ดิฉัน”
9. แนวคิดหลักอะไรที่มีการเน้นชัดเจนในอุทาหรณ์เรื่องแม่ม่ายกับผู้พิพากษา?
9 แนวคิดหลักของอุทาหรณ์ที่แจ่มชัดนี้เห็นได้อย่างชัดเจน. บุคคลทั้งสองในอุทาหรณ์ต่างก็กล่าวถึงแนวคิดหลักดังกล่าวเช่นเดียวกับพระเยซู. หญิงม่ายวิงวอนว่า “ขอให้ความยุติธรรมแก่ดิฉัน.” ผู้พิพากษากล่าวว่า “ข้าจะให้ความยุติธรรมแก่นาง.” พระเยซูตรัสถามว่า ‘พระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมหรือ?’ และเมื่อตรัสถึงพระยะโฮวา พระเยซูทรงบอกว่า “พระองค์จะประทานความยุติธรรมแก่พวกเขาโดยเร็ว.” (ลูกา 18:3, 5, 7, 8, ฉบับแปล 2002) พระเจ้าจะ “ประทานความยุติธรรม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไร?
10. (ก) มีการลงโทษอย่างเป็นธรรมเมื่อไรในศตวรรษแรก? (ข) จะมีการให้ความยุติธรรมแก่ผู้รับใช้ของพระเจ้าในสมัยปัจจุบันเมื่อไรและโดยวิธีใด?
10 ในศตวรรษแรก “เวลาลงพระราชอาชญา” (หรือเวลาลงโทษอย่างเป็นธรรม) มาถึงในปีสากลศักราช 70 เมื่อกรุงเยรูซาเลมและพระวิหารของกรุงนี้ถูกทำลาย. (ลูกา 21:22) สำหรับประชาชนของพระเจ้าในสมัยนี้ พวกเขาจะได้รับความยุติธรรมใน “วันใหญ่แห่งพระยะโฮวา.” (ซะฟันยา 1:14; มัดธาย 24:21) เมื่อถึงเวลานั้น พระยะโฮวาจะ “ทรงเอาความยากลำบากไปตอบแทนให้กับคนเหล่านั้นที่ก่อความยากลำบาก” แก่ประชาชนของพระองค์ “และ [พระเยซูคริสต์] จะทรงสนองโทษแก่คนเหล่านั้นที่ไม่รู้จักพระเจ้า, และไม่เชื่อฟังกิตติคุณของพระเยซูเจ้าของเรา.”—2 เธซะโลนิเก 1:6-8; โรม 12:19.
11. ความยุติธรรมจะมา “โดยเร็ว” อย่างไร?
11 แต่เราควรเข้าใจคำรับรองของพระเยซูอย่างไร ที่ว่าพระยะโฮวาจะประทานความยุติธรรม “โดยเร็ว”? พระคำของพระเจ้าแสดงว่า ‘แม้พระยะโฮวาทรงอดพระทัยไว้ช้านาน’ แต่พระองค์จะจัดการตามความยุติธรรมอย่างรวดเร็วเมื่อถึงเวลา. (ลูกา 18:7, 8; 2 เปโตร 3:9, 10) ในสมัยของโนฮา เมื่อน้ำมาท่วมโลก คนชั่วถูกทำลายโดยไม่ล่าช้า. เช่นเดียวกัน ในสมัยของโลต เมื่อไฟตกลงมาจากสวรรค์ คนชั่วก็พินาศสิ้น. พระเยซูตรัสว่า “ในวันที่บุตรมนุษย์จะมาปรากฏก็จะเป็นเหมือนอย่างนั้น.” (ลูกา 17:27-30) อีกครั้งหนึ่ง คนชั่วจะประสบ “ความพินาศโดยฉับพลัน.” (1 เธซะโลนิเก 5:2, 3, ล.ม.) ที่จริง เราเชื่อมั่นได้เต็มที่ว่าพระยะโฮวาจะไม่ปล่อยให้โลกของซาตานคงอยู่ต่อไปเนิ่นนานเกินกว่าที่จำเป็นสำหรับความยุติธรรมแม้แต่วันเดียว.
“พระองค์จะประทานความยุติธรรม”
12, 13. (ก) อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษาสอนบทเรียนอย่างไร? (ข) เหตุใดเราสามารถมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะฟังคำอธิษฐานของเราและจะประทานความยุติธรรม?
12 อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษายังเน้นความจริงที่สำคัญอื่น ๆ ด้วย. เมื่อชี้ถึงประโยชน์ของอุทาหรณ์ พระเยซูตรัสว่า ‘จงฟังคำที่ผู้พิพากษาอธรรมคนนี้พูด พระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่คนที่พระองค์ทรงเลือกไว้หรือ?’ แน่นอน พระเยซูไม่ได้เปรียบพระยะโฮวากับผู้พิพากษาคนนั้นราวกับจะตรัสว่าพระเจ้าจะทรงปฏิบัติต่อผู้เชื่อถือในลักษณะเดียวกัน. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกถึงบทเรียนเกี่ยวกับพระยะโฮวาโดยทรงเน้นให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้พิพากษาคนนั้นกับพระเจ้า. มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน?
13 ผู้พิพากษาในอุทาหรณ์ของพระเยซูนั้นเป็นคน “อธรรม” ส่วน “พระเจ้าทรงเป็นผู้พิพากษาที่ชอบธรรม.” (บทเพลงสรรเสริญ 7:11, ฉบับแปลใหม่; 33:5) ผู้พิพากษาไม่สนใจไยดีเป็นส่วนตัวต่อหญิงม่าย แต่พระยะโฮวาทรงสนพระทัยในมนุษย์แต่ละคนเป็นส่วนตัว. (2 โครนิกา 6:29, 30) ผู้พิพากษาไม่เต็มใจช่วยหญิงม่าย แต่พระยะโฮวาทรงเต็มพระทัย—ที่จริง ทรงกระตือรือร้น—ที่จะช่วยคนที่รับใช้พระองค์. (ยะซายา 30:18, 19) บทเรียนคืออะไร? หากผู้พิพากษาอธรรมฟังคำร้องขอของหญิงม่ายและให้ความยุติธรรมแก่เธอ มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระยะโฮวาจะฟังคำอธิษฐานของประชาชนของพระองค์และจะประทานความยุติธรรมแก่พวกเขาอย่างแน่นอน!—สุภาษิต 15:29.
14. เหตุใดเราไม่ควรสูญเสียความเชื่อในเรื่องที่ว่าวันพิพากษาของพระเจ้ากำลังจะมาถึง?
โยบ 9:12) คำถามหนึ่งที่สมเหตุผลก็คือ เราเองจะรักษาตัวซื่อสัตย์หรือไม่? และเป็นเรื่องนี้เองที่พระเยซูทรงยกขึ้นมาพิจารณาในตอนท้ายของอุทาหรณ์เรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษา.
14 ด้วยเหตุนั้น คนที่สูญเสียความเชื่อในเรื่องการมาของวันแห่งการพิพากษาของพระเจ้าจึงทำผิดพลาดร้ายแรง. เพราะเหตุใด? โดยละทิ้งความเชื่ออันมั่นคงที่ว่า “วันใหญ่แห่งพระยะโฮวา” ใกล้จะถึงแล้ว ก็เหมือนกับพวกเขาตั้งข้อสงสัยว่าจะสามารถไว้วางใจพระยะโฮวาได้หรือไม่ว่าพระองค์จะรักษาคำสัญญาของพระองค์อย่างสัตย์ซื่อ. แต่ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะตั้งข้อสงสัยในเรื่องความสัตย์ซื่อของพระเจ้า. (“ท่านยังจะพบความเชื่อนี้ ในแผ่นดินโลกหรือ?”
15. (ก) พระเยซูทรงตั้งคำถามอะไร และเพราะเหตุใด? (ข) เราควรถามตัวเองเช่นไร?
15 พระเยซูทรงตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า “เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านยังจะพบความเชื่อในแผ่นดินโลกหรือ?” (ลูกา 18:8, ฉบับแปล 2002) เชิงอรรถของฉบับแปลโลกใหม่ที่มีข้ออ้างอิง ใช้คำว่า “ความเชื่อนี้” เพื่อชี้ว่าพระเยซูไม่ได้หมายถึงความเชื่อในความหมายทั่วไป แต่ทรงหมายถึงความเชื่อแบบหนึ่งโดยเฉพาะ—ความเชื่อแบบที่หญิงม่ายมี. พระเยซูไม่ได้ตอบคำถามดังกล่าว. พระองค์ยกคำถามนี้ขึ้นมาเพื่อให้เหล่าสาวกคิดถึงคุณภาพความเชื่อของตนเอง. ความเชื่อของเขากำลังอ่อนลงไปทีละน้อย จนเป็นอันตรายที่เขาอาจกลับไปหาสิ่งที่ได้ละทิ้งไว้เบื้องหลังไหม? หรือพวกเขามีความเชื่อแบบที่หญิงม่ายคนนี้มีเป็นแบบอย่าง? ในทุกวันนี้ เราควรถามตัวเราเองด้วยว่า ‘ความเชื่อแบบไหนที่ “บุตรมนุษย์” พบในหัวใจฉัน?’
16. หญิงม่ายมีความเชื่อแบบไหน?
16 เพื่อเราจะอยู่ในกลุ่มคนที่ได้รับความยุติธรรมจากพระยะโฮวา เราจำเป็นต้องดำเนินในแนวทางแบบเดียวกับหญิงม่าย. เธอมีความเชื่อแบบไหน? เธอแสดงความเชื่อโดยเพียร ‘ไปหา [ผู้พิพากษา] และพูดว่า “ขอให้ความยุติธรรมแก่ดิฉัน.”’ หญิงม่ายนี้ไม่ละลดในการขอความยุติธรรมจากชายผู้ไม่ชอบธรรม. คล้ายกัน ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้สามารถเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะได้รับความยุติธรรมจากพระยะโฮวา—แม้ว่าอาจต้องรอนานกว่าที่เขาคาดหมาย. นอกจากนั้น พวกเขาแสดงความเชื่อมั่นในคำสัญญาของพระเจ้าด้วยการอธิษฐานอย่างไม่ละลด—ใช่แล้ว โดย “ร้องถึงพระองค์ทั้งกลางวันกลางคืน.” (ลูกา 18:7, ฉบับแปล 2002) ที่จริง หากคริสเตียนเลิกอธิษฐานขอความยุติธรรม เขาคงแสดงให้เห็นว่าเขาได้สูญเสียความเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะลงมือจัดการเพื่อผู้รับใช้ของพระองค์.
17. เรามีเหตุผลอะไรที่จะหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอและรักษาความเชื่อในเรื่องความแน่นอนของวันพิพากษาของพระยะโฮวาที่กำลังจะมาถึง?
17 กรณีเฉพาะของหญิงม่ายนี้แสดงให้เราเห็นว่าเรามีเหตุผลเพิ่มเติมที่จะหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ. ขอให้พิจารณาความแตกต่างบางอย่างระหว่างสถานการณ์ของเธอกับสถานการณ์ของเรา. หญิงม่ายคนนี้เข้าหาผู้พิพากษาอยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าไม่มีใครสนับสนุนให้เธอทำอย่างนั้น แต่พระคำของพระเจ้าสนับสนุนเราอย่างมากให้ “หมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ.” (โรม 12:12) ไม่มีใครรับรองกับหญิงม่ายเลยว่าจะได้ตามคำขอ แต่พระยะโฮวาได้ทรงรับรองกับเราว่าจะประทานความยุติธรรม. พระยะโฮวาทรงบอกโดยทางผู้พยากรณ์ของพระองค์ว่า “ถึงแม้นิมิตจะเนิ่นช้า ก็จงคอยท่า; ด้วยว่าจะสำเร็จเป็นแน่ จะไม่ล่าช้าเลย.” (ฮะบาฆูค 2:3, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 97:10) หญิงม่ายไม่มีผู้ช่วยที่จะวิงวอนขอเพื่อเป็นแรงเสริมคำขอของเธอ. แต่เรามีผู้ช่วยที่ มีฤทธิ์อำนาจ คือพระเยซู ผู้ “ทรงสถิตอยู่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า, และทรงอธิษฐานขอเพื่อเราทั้งหลายด้วย.” (โรม 8:34; เฮ็บราย 7:25) ดังนั้น หากแม่ม่ายซึ่งแม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยังร้องขอต่อผู้พิพากษาอยู่เรื่อย ๆ โดยหวังจะได้รับความยุติธรรม มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดที่เราควรรักษาความเชื่อในเรื่องความแน่นอนของวันพิพากษาของพระยะโฮวาที่กำลังจะมาถึง!
18. โดยวิธีใดการอธิษฐานจะเสริมความเชื่อเราให้เข้มแข็งและช่วยเราให้ได้รับความยุติธรรม?
18 อุทาหรณ์เรื่องหญิงม่ายนี้สอนเราว่า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดระหว่างการอธิษฐานกับความเชื่อ และการที่เราหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอสามารถช่วยลบล้างแรงชักจูงต่าง ๆ ที่อาจทำให้ความเชื่อเราอ่อนลงไป. แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าเพียงแค่การแสดงให้ผู้คนเห็นว่าเราอธิษฐานก็เป็นเครื่องเยียวยาไม่ให้สูญเสียความเชื่อแล้ว. (มัดธาย 6:7, 8) เมื่อเราถูกกระตุ้นใจให้อธิษฐานเพราะเราตระหนักว่าเราจำเป็นต้องพึ่งอาศัยพระเจ้าอย่างเต็มที่ แล้วคำอธิษฐานก็จะชักนำเราให้เข้าใกล้พระเจ้าและเสริมความเชื่อเราให้เข้มแข็ง. และเนื่องจากจำเป็นต้องมีความเชื่อเพื่อจะรอด จึงไม่แปลกที่พระเยซูทรงเห็นว่าจำเป็นที่จะสนับสนุนเหล่าสาวกให้ “อธิษฐานอยู่เสมอและไม่อ่อนระอาใจ”! (ลูกา 18:1, ฉบับแปล 2002; 2 เธซะโลนิเก 3:13) จริงอยู่ “วันใหญ่แห่งพระยะโฮวา” จะมาเมื่อไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำอธิษฐานของเรา—วันของพระองค์จะมาไม่ว่าเราอธิษฐานขอหรือไม่. แต่เราเป็นส่วนตัวจะได้รับความยุติธรรมและรอดผ่านสงครามของพระเจ้าหรือไม่ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อที่เรามีและแนวทางชอบธรรมที่เราดำเนินพร้อมด้วยการอธิษฐาน.
19. เราพิสูจน์อย่างไรว่าเราเชื่ออย่างมั่นคงว่าพระเจ้าจะ “ประทานความยุติธรรม”?
19 ดังที่เราคงจำได้ พระเยซูทรงถามว่า “เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านยังจะพบความเชื่อนี้ในแผ่นดินโลกหรือ?” คำตอบสำหรับคำถามที่น่าสนใจข้อนี้ของพระองค์คืออะไร? เรามีความสุขสักเพียงไรที่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาหลายล้านคนทั่วโลกในปัจจุบันพิสูจน์โดยคำอธิษฐาน, ความอดทน, และความบากบั่นว่าพวกเขามีความเชื่อเช่นนี้! ด้วยเหตุนั้น คำถามของพระเยซูนั้นสามารถตอบได้ในแง่บวก. ถูกแล้ว แม้มีความอยุติธรรมหลายอย่างที่โลกของซาตานก่อให้เกิดขึ้นแก่เราในปัจจุบัน แต่เราเชื่ออย่างมั่นคงว่าพระเจ้าจะ “ประทานความยุติธรรมแก่คนที่พระองค์ทรงเลือกไว้.”
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 เพื่อจะเข้าใจเต็มที่ถึงความหมายของอุทาหรณ์นี้ ขอให้อ่านลูกา 17:22-33 และสังเกตว่าการกล่าวถึง “บุตรมนุษย์” ในลูกา 17:22, 24, 30 เกี่ยวข้องอย่างไรกับคำถามที่ถูกยกขึ้นมาถามในลูกา 18:8.
คุณจำได้ไหม?
• อะไรได้ทำให้คริสเตียนบางคนสูญเสียความเชื่อ?
• เหตุใดเราสามารถเชื่ออย่างมั่นคงว่าวันพิพากษาของพระยะโฮวาจะมาอย่างแน่นอน?
• เรามีเหตุผลอะไรที่จะหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ?
• การหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอจะช่วยป้องกันเราไว้อย่างไรไม่ให้สูญเสียความเชื่อ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 26]
อุทาหรณ์เรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษาเน้นเรื่องอะไร?
[ภาพหน้า 29]
หลายล้านคนในทุกวันนี้เชื่ออย่างมั่นคงว่าพระเจ้าจะ “ประทานความยุติธรรม”