พระยะโฮวาประทาน “พระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์”
พระยะโฮวาประทาน “พระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์”
“ถ้าท่านเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน, ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.”—ลูกา 11:13.
1. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไรที่เราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์?
‘ไม่มีทางที่ฉันจะรับมือกับเรื่องนี้ได้โดยลำพังตัวเอง. เฉพาะแต่ด้วยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เท่านั้นที่ทำให้ฉันอดทนการทดลองนี้ได้!’ คุณเคยแสดงความรู้สึกจากหัวใจอย่างนั้นไหม? คริสเตียนส่วนใหญ่เคย. บางทีคุณรู้สึกอย่างนั้นหลังจากที่ทราบว่าคุณเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง. หรืออาจเป็นตอนที่คู่ชีวิตซึ่งอยู่ด้วยกันมาตลอดชีวิตได้ล่วงหลับไปในความตาย. หรืออาจเป็นเมื่ออารมณ์ที่เคยสดชื่นแจ่มใสถูกคลุมด้วยเมฆดำแห่งโรคซึมเศร้า. ในยามเป็นทุกข์เจ็บปวดในชีวิต คุณอาจรู้สึกว่าคุณรอดมาได้ก็เฉพาะแต่เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาได้ให้ “กำลังที่มากกว่าปกติ.”—2 โกรินโธ 4:7-9, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 40:1, 2.
2. (ก) คริสเตียนแท้เผชิญข้อท้าทายอะไร? (ข) เราจะพิจารณาคำถามอะไรในบทความนี้?
2 คริสเตียนแท้ต้องรับมือกับความกดดันและการต่อต้านจากโลกอธรรมในทุกวันนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ. (1 โยฮัน 5:19) นอกจากนั้น สาวกของพระคริสต์ยังถูกโจมตีโดยซาตานพญามารเอง ซึ่งกำลังทำสงครามอย่างดุเดือดกับคนที่ “ทำตามข้อบัญญัติของพระเจ้าและทำงานเป็นพยานฝ่ายพระเยซู.” (วิวรณ์ 12:12, 17, ล.ม.) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ในเวลานี้เราจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากพระวิญญาณของพระเจ้ายิ่งกว่าที่แล้ว ๆ มา. เราจะทำอะไรได้เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าอย่างบริบูรณ์ต่อ ๆ ไป? และเหตุใดเราสามารถแน่ใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงเต็มพระทัยอย่างยิ่งที่จะประทานกำลังที่จำเป็นแก่เราในยามทุกข์ยาก? เราพบคำตอบสำหรับคำถามข้างต้นในอุทาหรณ์สองเรื่องของพระเยซู.
จงหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ
3, 4. พระเยซูทรงเล่าอุทาหรณ์อะไร และพระองค์ทรงใช้อุทาหรณ์นี้กับการอธิษฐานอย่างไร?
3 ครั้งหนึ่ง สาวกคนหนึ่งของพระเยซูทูลขอพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า, ขอสอนพวกข้าพเจ้าให้อธิษฐาน.” (ลูกา 11:1) ในคำตอบ พระเยซูทรงเล่าอุทาหรณ์สองเรื่องที่เกี่ยวข้องกันให้เหล่าสาวกฟัง. เรื่องแรกเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ต้อนรับแขกที่มาเยือน และเรื่องที่สองเกี่ยวกับบิดาคนหนึ่งที่ฟังคำขอของบุตร. ให้เรามาพิจารณาอุทาหรณ์ทั้งสองทีละเรื่อง.
4 พระเยซูตรัสว่า “ใครในพวกท่านที่มีเพื่อนคนหนึ่ง และเขาไปหาเพื่อนคนนั้นในเวลาเที่ยงคืน พูดกับเขาว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ขอยืมขนมปังสักสามก้อนเถิด เพราะเพื่อนของข้าเพิ่งเดินทางมาถึง และข้าไม่มีอะไรจะให้เขากิน’? เพื่อนที่อยู่ข้างในตอบว่า ‘อย่ารบกวนข้าเลย. ประตูปิดแล้ว ลูก ๆ กับตัวข้าก็เข้านอนกันหมดแล้ว ข้าไม่สามารถลุกขึ้นไปหยิบให้ท่านได้.’ เราบอกพวกท่านว่า แม้เขาจะไม่ลุกขึ้นไปหยิบให้คนนั้นเพราะเป็นเพื่อนกัน แต่ว่าเพราะถูกคนนั้นรบเร้าอย่างมาก เขาก็จะลุกขึ้นหยิบให้ตามที่คนนั้นต้องการ.” จากนั้น พระเยซูก็ทรงอธิบายว่าอุทาหรณ์นี้ใช้ได้อย่างไรกับการอธิษฐาน โดยตรัสว่า “เราบอกพวกท่านว่า จงขอ [“ต่อ ๆ ไป,” ล.ม.] แล้วจะได้ จงหา [“ต่อ ๆ ไป,” ล.ม.] แล้วจะพบ จงเคาะ [“ต่อ ๆ ไป,” ล.ม.] แล้วจะเปิดให้แก่ท่าน เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ และทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา.”—ลูกา 11:5-10, ฉบับแปล 2002.
5. อุทาหรณ์เรื่องชายที่ไม่ยอมละลดสอนอะไรแก่เราเกี่ยวกับท่าทีที่เราควรมีเมื่ออธิษฐาน?
ลูกา 11:8, ฉบับแปล 2002) คำ “รบเร้าอย่างมาก” นี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ไบเบิล. คำนี้แปลจากคำกรีกที่มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ความไม่อาย.” บ่อยครั้ง ความไม่อายบ่งบอกถึงนิสัยที่ไม่ดี. แต่เมื่อแสดงความไม่อายหรือการยืนหยัดด้วยเหตุผลที่ดีแล้ว ก็อาจเป็นคุณลักษณะที่น่าชมเชย. เป็นอย่างนั้นในกรณีของเจ้าบ้านที่รับรองแขกในอุทาหรณ์. เขาไม่รู้สึกอายที่จะวิงวอนอย่างไม่ละลดเพื่อจะได้สิ่งที่เขาจำเป็นต้องมี. เนื่องจากพระเยซูยกเจ้าบ้านคนนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างสำหรับเรา เราจึงควรอธิษฐานอย่างไม่ละลดเช่นเดียวกัน. พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เรา ‘ขอต่อ ๆ ไป, แสวงหาต่อ ๆ ไป, เคาะต่อ ๆ ไป.’ เมื่อเราทำอย่างนั้นแล้ว พระองค์จะ “ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.”
5 อุทาหรณ์ที่ชัดเจนเรื่องชายผู้ไม่ยอมละลดนี้แสดงให้เห็นว่าเราควรมีท่าทีเช่นไรเมื่อเราอธิษฐาน. โปรดสังเกตว่าพระเยซูตรัสว่าชายคนนี้ประสบผลสำเร็จในการได้สิ่งที่จำเป็น ‘เพราะรบเร้าอย่างมาก.’ (6. ในสมัยของพระเยซู ผู้คนมีทัศนะอย่างไรต่อธรรมเนียมในการแสดงน้ำใจต้อนรับแขก?
6 พระเยซูทรงแสดงให้เราเห็นไม่เพียงวิธีที่เราควรอธิษฐาน คืออย่างไม่ละลด แต่ยังบอกด้วยถึงเหตุผลที่เราควรทำอย่างนั้น. เพื่อจะเข้าใจบทเรียนอย่างชัดเจน เราควรพิจารณาว่าคนที่ฟังอุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องเจ้าบ้านผู้ไม่ยอมละลดนั้นมีทัศนะอย่างไรต่อธรรมเนียมในการแสดงน้ำใจต้อนรับแขก. เรื่องราวหลายตอนในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่า ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล การดูแลแขกผู้มาเยือนเป็นธรรมเนียมที่ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับผู้รับใช้ของพระเจ้า. (เยเนซิศ 18:2-5; เฮ็บราย 13:2) การไม่ได้แสดงน้ำใจต้อนรับแขกเป็นเรื่องน่าอาย. (ลูกา 7:36-38, 44-46) โดยจำข้อนี้ไว้ ให้เรามาพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งในเรื่องที่พระเยซูทรงเล่า.
7. เหตุใดเจ้าบ้านในอุทาหรณ์ของพระเยซูปลุกเพื่อนอย่างไม่เกรงใจให้ลุกขึ้นมา?
7 เจ้าบ้านในอุทาหรณ์ได้ต้อนรับแขกที่มาเยือนกลางดึก. เจ้าบ้านรู้สึกว่าจำเป็นต้องหาอาหารมาเลี้ยงแขกแต่ “ไม่มีอะไรจะให้เขากิน.” ในทัศนะของเขา นี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบจัดการ! เขาต้องหาขนมปังมาเลี้ยงแขก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากอย่างไรก็ตาม. ดังนั้น เขาไปหาเพื่อนและปลุกเพื่อนอย่างไม่เกรงใจให้ลุกขึ้นมา. เจ้าบ้านคนนี้เรียกเพื่อนว่า “เพื่อนเอ๋ย ขอยืมขนมปังสักสามก้อนเถิด.” เขาขอร้องอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งได้สิ่งที่เขาต้องการ. ต่อเมื่อมีขนมปังอยู่ในมือแล้วนั่นแหละ เขาจึงจะสามารถแสดงความเป็นเจ้าบ้านที่ดีได้.
ยิ่งจำเป็นมาก ก็ยิ่งต้องขอมาก
8. อะไรจะกระตุ้นเราให้อธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างไม่ละลด?
8 อุทาหรณ์นี้แสดงให้เห็นอะไรเกี่ยวกับเหตุผลที่เราต้องอธิษฐานอย่างไม่ละลด? ชายผู้นี้ขอขนมปังไม่หยุดเพราะเขาคิดว่าการมีขนมปังเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะสามารถทำหน้าที่เจ้าบ้าน. (ยะซายา 58:5-7) หากไม่มีขนมปัง เขาก็บกพร่องในการทำหน้าที่เจ้าบ้านที่ดี. คล้ายกัน เนื่องจากเราตระหนักว่าการมีพระวิญญาณของพระเจ้าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะทำงานรับใช้ในฐานะคริสเตียนแท้ให้สำเร็จได้ เราจึงอธิษฐานต่อพระเจ้าอยู่เสมอ เพื่อขอพระ วิญญาณนั้น. (ซะคาระยา 4:6) หากปราศจากพระวิญญาณ เราจะไม่ประสบผลสำเร็จ. (มัดธาย 26:41) คุณเห็นจุดสำคัญที่เราสามารถสรุปได้จากอุทาหรณ์นี้ไหม? หากเราเห็นว่าพระวิญญาณของพระเจ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับอย่างเร่งด่วน เราก็คงจะทูลขอพระวิญญาณนั้นอย่างไม่ละลด.
9, 10. (ก) จงยกตัวอย่างให้เห็นว่าเหตุใดเราจำเป็นต้องทูลขอพระวิญญาณจากพระเจ้าอย่างไม่ละลด? (ข) เราควรถามตัวเองเช่นไร และเพราะเหตุใด?
9 เพื่อจะใช้บทเรียนนี้ในสภาพปัจจุบัน ขอให้ลองนึกภาพว่าสมาชิกครอบครัวคนหนึ่งของเราเกิดป่วยขึ้นมากลางดึก. คุณจะปลุกหมอให้ตื่นและขอให้เขาช่วยไหม? ถ้าผู้ป่วยไม่สบายเพียงเล็กน้อยก็คงจะไม่. แต่ถ้าเขาหัวใจวาย คุณก็คงไม่เกรงใจที่จะเรียกหมอ. เพราะเหตุใด? เพราะคุณเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉิน. คุณตระหนักว่าความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง. หากไม่ขอความช่วยเหลืออาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต. คล้ายกัน อาจกล่าวโดยนัยได้ว่าคริสเตียนแท้เผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่โดยตลอด. ที่จริง ซาตานเที่ยวเดินไปเหมือน “สิงโตคำรามแผดเสียงร้อง” พยายามจะเขมือบกินเรา. (1 เปโตร 5:8) เพื่อเราจะตื่นตัวเสมอทางฝ่ายวิญญาณ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระเจ้า. การไม่ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอาจยังผลถึงตายได้. ดังนั้น เราทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้าอย่างไม่ละลด. (เอเฟโซ 3:14-16) เฉพาะแต่โดยทำอย่างนั้น เราจึงจะรักษาความเข้มแข็งที่จำเป็นเพื่อจะ “อดทนจนถึงที่สุด.”—มัดธาย 10:22; 24:13, ล.ม.
10 ด้วยเหตุนั้น จึงสำคัญที่บางครั้งบางคราวเราจะหยุดสักครู่เพื่อถามตัวเองว่า ‘ว่าตามจริงแล้ว ฉันอธิษฐานอย่างไม่ละลดไหม?’ จำไว้ว่า เมื่อเราตระหนักอย่างเต็มที่ว่าเราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า เราก็จะทูลอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้าอย่างไม่ละลดยิ่งขึ้น.
อะไรกระตุ้นเราให้อธิษฐานด้วยความมั่นใจ?
11. พระเยซูทรงใช้อุทาหรณ์เรื่องบิดากับบุตรให้เข้ากับเรื่องการอธิษฐานอย่างไร?
11 อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องเจ้าบ้านผู้ไม่ยอมละลดเน้นถึงท่าทีของผู้อธิษฐาน ซึ่งก็คือผู้ที่มีความเชื่อ. อุทาหรณ์ต่อไปเน้นท่าทีของผู้ฟังคำอธิษฐาน คือพระยะโฮวาพระเจ้า. พระเยซูทรงถามดังนี้: “มีผู้ใดในพวกท่านที่เป็นบิดา, ถ้าบุตรขอปลาจะเอางูให้เขาแทนปลาหรือ? หรือถ้าขอไข่จะเอาแมงป่องให้เขาหรือ?” พระเยซูทรงชี้ต่อไปให้เห็นประโยชน์ของอุทาหรณ์นี้ โดยตรัสว่า “เหตุฉะนั้นถ้าท่านเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน, ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.”—ลูกา 11:11-13.
12. อุทาหรณ์เกี่ยวกับบิดาที่ฟังคำขอร้องของบุตรเน้นให้เห็นอย่างไรถึงความเต็มพระทัยของพระยะโฮวาที่จะตอบคำอธิษฐานของเรา?
12 ด้วยตัวอย่างเรื่องบิดาตอบสนองคำขอของบุตรนี้ พระเยซูทรงเผยให้เห็นว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรต่อคนที่เข้าหาพระองค์ในคำทูลอธิษฐาน. (ลูกา 10:22) ก่อนอื่น ขอให้สังเกตข้อที่แตกต่างกัน. ไม่เหมือนกับชายในอุทาหรณ์แรกที่ไม่เต็มใจจะตอบคำอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ พระยะโฮวาทรงเป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ที่เป็นบิดาที่อาทร ซึ่งเต็มใจจะตอบสนองคำขอร้องจากบุตร. (บทเพลงสรรเสริญ 50:15) พระเยซูทรงเผยต่อไปถึงท่าทีอันเต็มพระทัยของพระยะโฮวาที่มีต่อเรา โดยทรงหาเหตุผลเทียบบิดา ที่เป็นมนุษย์กับพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์. พระองค์ตรัสว่าหากคนที่เป็นบิดาซึ่งแม้ว่า “เป็นคนบาป” เพราะได้รับบาปนั้นตกทอดมาก็ยังให้สิ่งที่ดีแก่บุตร มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรที่เราสามารถคาดหมายได้ว่าพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ ผู้ทรงเมตตากรุณา จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ครอบครัวแห่งผู้นมัสการพระองค์!—ยาโกโบ 1:17.
13. เรามั่นใจได้ในเรื่องใดเมื่อเราอธิษฐานถึงพระยะโฮวา?
13 บทเรียนสำหรับเราคืออะไร? เราสามารถมั่นใจว่าเมื่อเราขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ พระองค์ทรงเต็มพระทัยยิ่งกว่านั้นอีกที่จะประทานตามที่เราขอ. (1 โยฮัน 5:14) เมื่อเราเข้าหาพระองค์ในคำทูลอธิษฐานครั้งแล้วครั้งเล่า พระยะโฮวาจะไม่มีวันตรัสอย่างเดียวกับชายที่เป็นเพื่อนบ้านคนนั้น ที่บอกว่า “อย่ารบกวนข้าเลย. ประตูปิดแล้ว.” (ลูกา 11:7, ฉบับแปล 2002) ในทางตรงกันข้าม พระเยซูทรงบอกว่า “จงขอต่อ ๆ ไป และสิ่งนั้นจะประทานให้ท่าน; จงแสวงหาต่อ ๆ ไป และท่านจะพบ; จงเคาะต่อ ๆ ไป และจะเปิดให้แก่ท่าน.” (ลูกา 11:9, 10, ล.ม.) ใช่แล้ว พระยะโฮวาจะ ‘ทรงโปรดตอบเมื่อเราร้องทูล.’—บทเพลงสรรเสริญ 20:9; 145:18.
14. (ก) ความคิดผิด ๆ เช่นไรที่รบกวนใจบางคนที่เผชิญการทดลอง? (ข) เมื่อเผชิญการทดลอง เหตุใดเราอาจอธิษฐานถึงพระยะโฮวาด้วยความมั่นใจ?
14 อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องบิดาผู้อาทรต่อบุตรยังเน้นด้วยว่า ความดีของพระยะโฮวานั้นยิ่งใหญ่กว่าความดีของบิดาที่เป็นมนุษย์อย่างที่เทียบกันไม่ได้. ดังนั้น ไม่ควรมีใครในพวกเราที่รู้สึกว่าการทดลองที่เราอาจเผชิญนั้นแสดงว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยเรา. ซาตานศัตรูตัวสำคัญของเราต่างหากที่ต้องการให้เราคิดอย่างนั้น. (โยบ 4:1, 7, 8; โยฮัน 8:44) ไม่มีพื้นฐานตามหลักพระคัมภีร์สำหรับความคิดแบบประณามตัวเองเช่นนั้น. พระยะโฮวาไม่ทรงทดลองเรา “ด้วยสิ่งที่ชั่ว.” (ยาโกโบ 1:13, ล.ม.) พระองค์ไม่ยื่นการทดลองที่เป็นเหมือนงูหรือการทดสอบที่เป็นเหมือนแมงป่องให้เรา. พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ประทาน “ของดี แก่ผู้ที่ขอต่อพระองค์.” (มัดธาย 7:11; ลูกา 11:13) จริงทีเดียว ยิ่งเราหยั่งรู้ค่าความดีของพระยะโฮวาและความเต็มพระทัยของพระองค์ที่จะช่วยเรา เราก็จะยิ่งถูกกระตุ้นใจให้อธิษฐานด้วยความเชื่อมั่น. เมื่อเราทำอย่างนั้น เราเองก็จะสามารถแสดงความรู้สึกเหมือนกับที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้เขียนไว้ ที่ว่า “พระเจ้าได้ทรงสดับ; แน่ทีเดียว พระองค์ได้ทรงฟังเสียงคำอธิษฐานของข้าพเจ้า.”—บทเพลงสรรเสริญ 10:17; 66:19, ฉบับแปลใหม่.
วิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ช่วยของเรา
15. (ก) พระเยซูทรงสัญญาอะไรไว้เกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์? (ข) วิธีหนึ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเราคืออะไร?
15 ไม่นานก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงให้คำรับรองซ้ำอีกครั้งหนึ่งอย่างที่พระองค์ได้เคยให้ในอุทาหรณ์. เมื่อตรัสถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ทรงบอกเหล่าอัครสาวกว่า “เราจะขอพระบิดา, และพระองค์จะทรงประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งแก่ท่าน, เพื่อจะอยู่กับท่านเป็นนิตย์.” (โยฮัน 14:16) ด้วยเหตุนั้น พระเยซูทรงสัญญาว่าผู้ช่วย หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะอยู่กับเหล่าสาวกของพระองค์ในเวลาต่อมา รวมถึงในสมัยของเราด้วย. วิธีสำคัญวิธีหนึ่งที่เราในทุกวันนี้ได้รับการค้ำจุนเช่นนั้นคืออะไร? พระวิญญาณ บริสุทธิ์ช่วยเราให้อดทนการทดลองต่าง ๆ. เป็นเช่นนั้นโดยวิธีใด? อัครสาวกเปาโล ซึ่งตัวท่านเองก็เผชิญการทดสอบ พรรณนาไว้ในจดหมายถึงคริสเตียนในเมืองโครินท์เกี่ยวกับวิธีที่พระวิญญาณของพระเจ้าได้ช่วยท่าน. ให้เราพิจารณาด้วยกันสั้น ๆ ถึงสิ่งที่ท่านได้เขียนไว้.
16. สถานการณ์ของเราอาจคล้ายกันอย่างไรกับสถานการณ์ที่เปาโลเผชิญ?
16 ก่อนอื่น เปาโลบอกเพื่อนร่วมความเชื่ออย่างตรงไปตรงมาว่าท่านกำลังรับมือกับ “เสี้ยนหนามในเนื้อหนัง” ซึ่งหมายถึงบางสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์. จากนั้น ท่านกล่าวต่อว่า “ข้าพเจ้าได้อธิษฐานองค์พระผู้เป็นเจ้า [พระยะโฮวา] ถึงสามครั้งให้มันหลุดออกไปจากข้าพเจ้า.” (2 โกรินโธ 12:7, 8) แม้ว่าเปาโลวิงวอนขอให้พระเจ้าขจัดสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์เจ็บปวด แต่สิ่งนั้นก็ไม่ได้หมดไป. คุณอาจเผชิญสถานการณ์คล้าย ๆ กันในทุกวันนี้. เช่นเดียวกับเปาโล คุณอาจได้อธิษฐานอย่างไม่ละลดและอย่างเชื่อมั่น ทูลขอให้พระยะโฮวาช่วยขจัดสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์เดือดร้อน. แต่แม้ว่าคุณได้วิงวอนขอครั้งแล้วครั้งเล่า ปัญหานั้นก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม. นั่นหมายความว่าพระยะโฮวาไม่ตอบคำอธิษฐานของคุณและพระวิญญาณของพระองค์ไม่ช่วยคุณไหม? ไม่เลย! (บทเพลงสรรเสริญ 10:1, 17) โปรดสังเกตสิ่งที่เปาโลกล่าวต่อจากนั้น.
17. พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานของเปาโลอย่างไร?
17 พระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานของเปาโลโดยบอกท่านว่า “ความกรุณาอันไม่พึงได้รับของเราเพียงพอแล้วสำหรับเจ้า; ด้วยว่าฤทธิ์ของเราจะถูกทำให้สมบูรณ์ในความอ่อนแอ.” เปาโลกล่าวว่า “ฉะนั้น ด้วยความยินดีอย่างยิ่งข้าพเจ้าจะอวดในเรื่องความอ่อนแอของข้าพเจ้ามากกว่า เพื่อว่าฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะเสมือนเต็นท์อยู่เหนือข้าพเจ้าต่อ ๆ ไป.” (2 โกรินโธ 12:9, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 147:5) ด้วยเหตุนั้น เปาโลพบว่าโดยทางพระคริสต์การปกป้องอันทรงพลังของพระเจ้าเป็นเหมือนเต็นท์ที่แผ่คลุมอยู่เหนือท่าน. ในทุกวันนี้ พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานของเราในลักษณะคล้าย ๆ กัน. พระองค์ทรงแผ่การปกป้องของพระองค์เหมือนเป็นที่หลบภัยสำหรับผู้รับใช้ของพระองค์.
18. เหตุใดเราจึงสามารถอดทนการทดลองต่าง ๆ ได้?
18 แน่นอน เต็นท์ไม่ได้ทำให้ฝนหยุดตกหรือห้ามลมไม่ให้พัด แต่เต็นท์ช่วยปกป้องให้พ้นลมพ้นฝนในระดับหนึ่ง. คล้ายกัน ที่หลบภัยที่พระเจ้าประทานแก่เราโดย “ฤทธิ์เดชของพระคริสต์” ก็ไม่ได้ทำให้การทดลองหมดไปหรือทำให้ความทุกข์ยากไม่เกิดขึ้นกับเรา. ถึงกระนั้น ที่หลบภัยนั้นให้การปกป้องแก่เราจริง ๆ ทางฝ่ายวิญญาณให้พ้นจากสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายของโลกนี้และการโจมตีจากซาตานผู้ครองโลก. (วิวรณ์ 7:9, 15, 16) ด้วยเหตุนั้น แม้ว่าคุณอาจรับมืออยู่กับการทดลองที่ไม่ยอม ‘หลุดออกไปจากคุณ’ คุณสามารถมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงทราบถึงความยากลำบากของคุณและพระองค์ได้ตอบ ‘คำร้องขอของคุณ.’ (ยะซายา 30:19; 2 โกรินโธ 1:3, 4) เปาโลเขียนดังนี้: “พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงให้พวกท่านต้องถูกทดลองเกินกว่าที่ท่านจะทนได้ และเมื่อถูกทดลอง พระองค์จะทรงให้มีทางออกด้วย เพื่อพวกท่านจะมีกำลังทนได้.”—1 โกรินโธ 10:13, ฉบับแปล 2002; ฟิลิปปอย 4:6, 7.
19. คุณตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำอะไร และเพราะเหตุใด?
19 จริงอยู่ “สมัยสุดท้าย” ของโลกอธรรมในสมัยปัจจุบันนี้มีลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือเป็น “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้.” (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) แม้ว่าเป็นเช่นนั้น สำหรับผู้รับใช้ของพระเจ้าแล้ว ยุคสมัยนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางรับมือได้. เพราะเหตุใด? เพราะเราได้รับการสนับสนุนและการปกป้องจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า ซึ่งพระยะโฮวาประทานอย่างเต็มพระทัยและอย่างอุดมแก่ทุกคนที่ทูลขอจากพระองค์อย่างไม่ละลดและอย่างเชื่อมั่น. ดังนั้น ขอให้เราตั้งใจที่จะอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์เรื่อยไปทุก ๆ วัน.—บทเพลงสรรเสริญ 34:6; 1 โยฮัน 5:14, 15.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราจำเป็นต้องทำอะไรเพื่อจะรับเอาพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้า?
• เหตุใดเราสามารถเชื่อมั่นได้ว่าพระยะโฮวาจะตอบคำอธิษฐานที่เราทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระองค์?
• พระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเราอย่างไรให้อดทนการทดลองต่าง ๆ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
เราเรียนอะไรได้จากอุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องเจ้าบ้านผู้ไม่ยอมละลด?
[ภาพหน้า 22]
คุณอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้าอย่างไม่ละลดไหม?
[ภาพหน้า 23]
เราเรียนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวาจากอุทาหรณ์เรื่องบิดาผู้อาทร?