“เจ้าทั้งหลายจงมีความยินดีอย่างยิ่ง”
“เจ้าทั้งหลายจงมีความยินดีอย่างยิ่ง”
“เจ้าทั้งหลายจงถือการเลี้ยง . . . แก่พระยะโฮวา . . . เจ้าทั้งหลายจงมีความยินดีอย่างยิ่ง.”—พระบัญญัติ 16:15.
1. (ก) ซาตานยกประเด็นอะไรขึ้นมา? (ข) พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าไว้เช่นไรหลังจากที่อาดามและฮาวาขืนอำนาจ?
เมื่อซาตานชักพาอาดามและฮาวาให้ขืนอำนาจต่อพระผู้สร้าง มันได้ยกประเด็นสำคัญยิ่งขึ้นมาสองประเด็น. ประเด็นแรก มันท้าทายความสัตย์จริงของพระยะโฮวาและความถูกต้องในวิธีการปกครองของพระองค์. ประเด็นที่สอง ซาตานกล่าวเป็นนัย ๆ ว่ามนุษย์จะรับใช้พระเจ้าก็ด้วยเหตุผลที่เห็นแก่ตัวเท่านั้น. ประเด็นหลังนี้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนในสมัยของโยบ. (เยเนซิศ 3:1-6; โยบ 1:9, 10; 2:4, 5) อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงดำเนินการอย่างฉับไวเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้. แม้แต่ในช่วงที่อาดามและฮาวายังอยู่ในสวนเอเดน พระยะโฮวาได้บอกล่วงหน้าว่าพระองค์จะจัดการแก้ไขประเด็นดังกล่าวอย่างไร. พระองค์ทรงบอกล่วงหน้าถึงการมาของ “พงศ์พันธุ์” ซึ่งหลังจากถูกบดขยี้ส้นเท้าแล้ว พงศ์พันธุ์นี้จะบดขยี้หัวของซาตาน.—เยเนซิศ 3:15, ล.ม.
2. พระยะโฮวาทรงให้ความกระจ่างเช่นไรในเรื่องวิธีที่พระองค์จะทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ในเยเนซิศ 3:15?
2 เมื่อเวลาผ่านไป พระยะโฮวาทรงให้ความกระจ่างมากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับคำพยากรณ์ดังกล่าว และโดยวิธีนี้จึงแสดงให้เห็นว่าคำพยากรณ์นี้จะสำเร็จในที่สุดอย่างแน่นอน. ตัวอย่างเช่น พระเจ้าทรงบอกอับราฮามว่า “พงศ์พันธุ์” จะปรากฏในท่ามกลางลูกหลานของท่าน. (เยเนซิศ 22:15-18) ยาโคบหลานชายของอับราฮามได้กลายมาเป็นบิดาของ 12 ตระกูลของชาติอิสราเอล. ในปี 1513 ก่อนสากลศักราช เมื่อตระกูลเหล่านี้ได้กลายเป็นชาติหนึ่ง พระยะโฮวาประทานประมวลกฎหมายแก่พวกเขาซึ่งมีข้อกำหนดสำหรับเทศกาลต่าง ๆ ประจำปีรวมอยู่ในนั้นด้วย. อัครสาวกเปาโลกล่าวว่าเทศกาลเหล่านั้นเป็น “เงาของสิ่งที่จะมีมา.” (โกโลซาย 2:16, 17, ล.ม.; เฮ็บราย 10:1) เทศกาลเหล่านี้ให้ภาพแสดงล่วงหน้าถึงความสำเร็จแห่งพระประสงค์ของพระยะโฮวาสำหรับพงศ์พันธุ์. การฉลองเทศกาลเหล่านี้ก่อให้เกิดความยินดีอย่างมากมายในชาติอิสราเอล. การพิจารณาคร่าว ๆ เกี่ยวกับเทศกาลเหล่านี้จะเสริมความเชื่อของเราในเรื่องความน่าเชื่อถือของคำสัญญาของพระยะโฮวา.
พงศ์พันธุ์มาปรากฏ
3. ใครคือพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญา และส้นเท้าของพงศ์พันธุ์นี้ถูกบดขยี้อย่างไร?
3 เวลาผ่านไปกว่า 4,000 ปีหลังจากคำพยากรณ์แรกของพระยะโฮวา พงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญาไว้ก็มาปรากฏ. พงศ์พันธุ์นี้ได้แก่พระเยซู. (ฆะลาเตีย 3:16) ในฐานะมนุษย์สมบูรณ์ พระเยซูทรงรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ และโดยวิธีนี้จึงพิสูจน์ว่าคำกล่าวหาของซาตานไม่เป็นความจริง. นอกจากนั้น เนื่องจากพระเยซูทรงปราศจากบาป การสิ้นพระชนม์ของพระองค์จึงเป็นการเสียสละที่มีค่ามาก. โดยการเสียสละนี้ พระเยซูทรงจัดเตรียมให้ลูกหลานที่ซื่อสัตย์ของอาดามกับฮาวาได้รับการช่วยให้พ้นบาปและความตาย. การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูบนหลักทรมานเป็น ‘การบดขยี้ส้นเท้า’ ของพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญา.—เฮ็บราย 9:11-14.
4. มีการแสดงภาพล่วงหน้าอย่างไรถึงเครื่องบูชาของพระเยซู?
4 พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 14 เดือนไนซาน ส.ศ. 33. * ในชาติอิสราเอล วันที่ 14 เดือนไนซานเป็นวันฉลองปัศคาอันน่ายินดี. แต่ละปีในวันนั้น ครอบครัวต่าง ๆ จะรับประทานอาหารร่วมกันโดยมีเนื้อลูกแกะที่ปราศจากตำหนิในมื้ออาหารด้วย. โดยวิธีนี้ พวกเขาระลึกถึงบทบาทของเลือดของลูกแกะในการช่วยบุตรหัวปีของชาวอิสราเอลให้รอดเมื่อทูตสวรรค์ที่ทำหน้าที่เพชฌฆาตได้ฆ่าบุตรหัวปีของชาวอียิปต์ในวันที่ 14 เดือนไนซานปี 1513 ก่อน ส.ศ. (เอ็กโซโด 12:1-14) ลูกแกะปัศคาเป็นภาพเล็งถึงพระเยซู ซึ่งอัครสาวกเปาโลกล่าวถึงพระองค์ว่า “พระคริสต์ผู้เป็นปัศคา ของเราทั้งหลายได้ถูกฆ่าบูชาเสียแล้ว.” (1 โกรินโธ 5:7) เช่นเดียวกับเลือดของลูกแกะปัศคา พระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งออกทำให้ผู้คนมากมายได้รับความรอด.—โยฮัน 3:16, 36.
‘ผลแรกของผู้ที่ได้ตายไป’
5, 6. (ก) พระเยซูทรงถูกปลุกให้คืนพระชนม์เมื่อไร และเหตุการณ์นั้นมีภาพเล็งถึงในพระบัญญัติอย่างไร? (ข) การคืนพระชนม์ของพระเยซูทำให้เยเนซิศ 3:15 สำเร็จเป็นจริงได้อย่างไร?
5 ในวันที่สาม พระเยซูถูกปลุกให้คืนพระชนม์เพื่อเสนอคุณค่าแห่งเครื่องบูชาของพระองค์ต่อพระบิดา. (เฮ็บราย 9:24) การคืนพระชนม์ของพระองค์มีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้ในระหว่างอีกเทศกาลหนึ่ง. วันถัดจากวันที่ 14 เดือนไนซานเป็นวันเริ่มต้นเทศกาลกินขนมไม่มีเชื้อ. ในวันถัดมา คือไนซานที่ 16 ชาวอิสราเอลนำเอาฟ่อนข้าวที่เป็นผลแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวอย่างแรกสุดในอิสราเอล มาถวายให้ปุโรหิตโบกไปมาต่อพระพักตร์พระยะโฮวา. (เลวีติโก 23:6-14) ช่างเหมาะสมสักเพียงไรที่ในวันนั้นเองของปี ส.ศ. 33 พระยะโฮวาทรงขัดขวางความพยายามอันชั่วร้ายของซาตานที่จะกำจัด “พยานที่ซื่อสัตย์และสัตย์จริง” ของพระองค์อย่างถาวร! ในวันที่ 16 เดือนไนซาน ส.ศ. 33 พระยะโฮวาทรงปลุกพระเยซูให้คืนพระชนม์สู่ชีวิตที่เป็นกายวิญญาณอมตะ.—วิวรณ์ 3:14, ฉบับแปลใหม่; 1 เปโตร 3:18.
6 พระเยซูทรงกลายเป็น “ผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น.” (1 โกรินโธ 15:20) ต่างจากคนที่ถูกปลุกให้กลับมีชีวิตก่อนหน้านั้น พระเยซูไม่สิ้นพระชนม์อีก. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงขึ้นสู่สวรรค์ไปอยู่ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระยะโฮวา ซึ่งพระองค์ทรงคอยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรของพระยะโฮวาซึ่งอยู่ในสวรรค์. (บทเพลงสรรเสริญ 110:1; กิจการ 2:32, 33; เฮ็บราย 10:12, 13) นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ บัดนี้พระเยซูทรงอยู่ในฐานะที่จะบดขยี้หัวของศัตรูตัวสำคัญ คือซาตาน และทำลายพงศ์พันธุ์ของมัน.—วิวรณ์ 11:15, 18; 20:1-3, 10.
สมาชิกอื่น ๆ ในพงศ์พันธุ์ของอับราฮาม
7. เทศกาลสัปดาห์คืออะไร?
7 พระเยซูทรงเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญาไว้ในสวนเอเดน และโดยทางพระองค์พระยะโฮวาจะ “ทำลายกิจการของมารเสีย.” (1 โยฮัน 3:8) อย่างไรก็ตาม เมื่อพระยะโฮวาตรัสกับอับราฮาม พระองค์ทรงชี้ว่า “พงศ์พันธุ์” ของอับราฮามจะมีมากกว่าหนึ่งคน. พงศ์พันธุ์นั้นจะเป็น “ดุจดวงดาวบนฟ้า, และดุจเม็ดทรายที่ฝั่งมหาสมุทร.” (เยเนซิศ 22:17) การปรากฏของสมาชิกคนอื่น ๆ ของ “พงศ์พันธุ์” มีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้โดยเทศกาลที่น่ายินดีอีกเทศกาลหนึ่ง. ห้าสิบวันหลังจากวันที่ 16 เดือนไนซาน ชาติอิสราเอลก็จะฉลองเทศกาลสัปดาห์. พระบัญญัติเกี่ยวกับเทศกาลนี้มีแจ้งไว้ว่า “นับไปให้ได้ห้าสิบวันจนถึงวันถัดวันสะบาโตที่เจ็ดแล้วเจ้าจงนำข้าวใหม่มาถวายแด่พระเจ้าเป็นธัญญบูชา. จงนำขนมปังสองก้อนทำด้วยแป้งสองในสิบเอฟาห์จากที่อาศัยของเจ้ามาทำพิธียื่นถวายให้ทำด้วยยอดแป้งใส่เชื้อปิ้งเป็นผลรุ่นแรกถวายแด่พระเจ้า.” *—เลวีติโก 23:16, 17, 20, ฉบับแปลใหม่.
8. เกิดเหตุการณ์อันโดดเด่นอะไรขึ้นในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33?
8 เมื่อพระเยซูทรงอยู่บนแผ่นดินโลก เทศกาลสัปดาห์โรม 8:15-17) พวกเขากลายเป็นชาติใหม่ชาติหนึ่ง คือ “ชาติอิสราเอลของพระเจ้า.” (ฆะลาเตีย 6:16, ล.ม.) จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในที่สุดชาตินี้จะมีจำนวนทั้งสิ้น 144,000 คน.—วิวรณ์ 7:1-4.
เป็นที่รู้จักกันในนามเทศกาลเพนเทคอสต์ (จากคำภาษากรีกซึ่งมีความหมายว่า “ที่ห้าสิบ”). ในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ยิ่ง คือพระเยซูคริสต์ที่ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ ทรงเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงเหนือสาวกกลุ่มเล็ก ๆ 120 คนที่ชุมนุมกันในกรุงเยรูซาเลม. ด้วยเหตุนั้น สาวกเหล่านั้นจึงกลายมาเป็นบุตรที่ได้รับการเจิมของพระเจ้าและเป็นพี่น้องกับพระเยซูคริสต์. (9, 10. มีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้อย่างไรถึงประชาคมแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิมในวันเพนเทคอสต์?
9 ประชาคมแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิมนั้นมีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้โดยขนมปังใส่เชื้อสองก้อนที่ถูกยกขึ้นโบกต่อพระพักตร์พระยะโฮวาในวันเพนเทคอสต์แต่ละครั้ง. การที่ขนมปังนั้นใส่เชื้อแสดงว่าคริสเตียนผู้ถูกเจิมจะยังคงมีเชื้อแห่งบาปที่ได้รับตกทอดมา. อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถเข้าเฝ้าพระยะโฮวาโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู. (โรม 5:1, 2) ทำไมจึงมีสองก้อน? นั่นอาจชี้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในที่สุดเหล่าบุตรผู้ถูกเจิมของพระเจ้าจะถูกเรียกมาจากคนสองกลุ่ม—ทีแรกจากชาวยิวโดยกำเนิด และในภายหลังจากคนชาติอื่น ๆ.—ฆะลาเตีย 3:26-29; เอเฟโซ 2:13-18.
10 ขนมปังสองก้อนที่ถวายในวันเพนเทคอสต์มาจากผลแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวสาลี. สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังกล่าว คริสเตียนผู้กำเนิดด้วยพระวิญญาณถูกเรียกว่า “ผลแรกแห่งสรรพสิ่งซึ่งพระองค์ทรงสร้างนั้น.” (ยาโกโบ 1:18) พวกเขาเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับอภัยบาปโดยอาศัยพระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งออก และนั่นทำให้เป็นไปได้ที่พวกเขาจะได้รับอมตชีพในสวรรค์ ซึ่งพวกเขาปกครอง ณ ที่นั่นร่วมกับพระเยซูในราชอาณาจักรของพระองค์. (1 โกรินโธ 15:53; ฟิลิปปอย 3:20, 21; วิวรณ์ 20:6) ในฐานะดังกล่าว ในไม่ช้าพวกเขาจะ “บังคับบัญชา [ประชาชาติ] ด้วยคทาเหล็ก” และเห็น ‘ซาตานถูกปราบให้ยับเยินลงใต้เท้าของพวกเขา.’ (วิวรณ์ 2:26, 27; โรม 16:20) อัครสาวกโยฮันกล่าวว่า “พระเมษโปดกนั้นเสด็จไปข้างไหน, คนเหล่านี้ก็ตามเสด็จไป. คนเหล่านี้ทรงไถ่ออกจากท่ามกลางมนุษย์เป็นผลแรกถวายแด่พระเจ้าและแด่พระเมษโปดกนั้น.”—วิวรณ์ 14:4.
วันที่เน้นถึงการช่วยให้รอด
11, 12. (ก) เกิดอะไรขึ้นในวันไถ่โทษ? (ข) ชาติอิสราเอลได้รับประโยชน์อะไรจากเครื่องบูชาโคและแพะ?
11 ในวันที่สิบของเดือนเอธานิม (ภายหลังเรียกเดือน * ชาติอิสราเอลฉลองเทศกาลซึ่งเป็นภาพเล็งถึงวิธีใช้ผลประโยชน์จากเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู. ในวันนั้น ซึ่งเป็นวันไถ่โทษ ชาติทั้งชาติจะมารวมตัวกันเพื่อจะมีการถวายเครื่องบูชาสำหรับปิดคลุมบาปของพวกเขา.—เลวีติโก 16:29, 30.
ทิชรี)12 ในวันไถ่โทษมหาปุโรหิตจะฆ่าโคหนุ่ม และในห้องบริสุทธิ์ที่สุด เขาจะพรมส่วนหนึ่งของเลือดโคนั้นเจ็ดครั้งตรงหน้าพระที่นั่งกรุณาของหีบสัญญา ซึ่งการทำอย่างนั้นแทนการถวายเลือดนั้นต่อพระพักตร์พระยะโฮวา. การถวายนั้นทำเพื่อบาปของมหาปุโรหิตและ “ครอบครัวของตน” คือเหล่ารองปุโรหิตและพวกเลวี. จากนั้น มหาปุโรหิตก็จะพาแพะสองตัวมา. ตัวหนึ่งเขาจะฆ่าเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป “สำหรับประชาชน.” ส่วนหนึ่งของเลือดแพะนั้นก็จะถูกนำมาพรมตรงหน้าพระที่นั่งกรุณาของหีบสัญญาในห้องบริสุทธิ์ที่สุดด้วยเช่นกัน. ภายหลัง มหาปุโรหิตก็จะวางมือบนหัวของแพะตัวที่สองและสารภาพความผิดของบุตรหลานอิสราเอล. จากนั้น เขาก็จะให้คนพาแพะนั้นไปปล่อยเสียในถิ่นทุรกันดารเพื่อนำบาปของชาติทิ้งไปด้วยวิธีโดยนัยนี้.—เลวีติโก 16:3-16, 21, 22, ฉบับแปลใหม่.
13. เหตุการณ์ในวันไถ่โทษแสดงภาพล่วงหน้าอย่างไรถึงบทบาทที่พระเยซูจะทำ?
13 ดังที่การกระทำเหล่านั้นเป็นภาพเล็งถึง พระเยซูผู้เป็นมหาปุโรหิตองค์ยิ่งใหญ่ทรงใช้คุณค่าแห่งพระโลหิตของพระองค์เองเพื่อเปิดทางให้มีการอภัยบาป. ประการแรก คุณค่าแห่งพระโลหิตของพระองค์ใช้กับ “นิเวศฝ่ายวิญญาณ” แห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิม 144,000 คน ทำให้คนเหล่านี้ได้รับการประกาศว่าชอบธรรมและมีฐานะสะอาดจำเพาะพระยะโฮวา. (1 เปโตร 2:5, ล.ม.; 1 โกรินโธ 6:11) เรื่องนี้มีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้โดยเครื่องบูชาที่ใช้โค. โดยวิธีนี้ พวกเขาจึงมีโอกาสจะได้รับมรดกที่อยู่ในสวรรค์. ประการที่สอง คุณค่าแห่งพระโลหิตของพระเยซูถูกใช้เพื่อคนอื่น ๆ อีกหลายล้านคนที่แสดงความเชื่อในพระคริสต์ ดังที่มีการแสดงภาพล่วงหน้าไว้โดยเครื่องบูชาที่ใช้แพะ. คนเหล่านี้จะได้รับชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกนี้ ซึ่งเป็นมรดกที่อาดามและฮาวาทำให้สูญเสียไป. (บทเพลงสรรเสริญ 37:10, 11) โดยอาศัยพระโลหิตที่พระองค์หลั่ง พระเยซูทรงนำเอาบาปของมนุษยชาติออกไป เช่นเดียวกับแพะที่ไม่ได้ถูกฆ่าเป็นสัญลักษณ์ในการพาบาปของชาติอิสราเอลไปทิ้งในถิ่นทุรกันดาร.—ยะซายา 53:4, 5.
ชื่นชมยินดีต่อพระพักตร์พระยะโฮวา
14, 15. ชาวอิสราเอลทำอะไรระหว่างเทศกาลตั้งทับอาศัย และนั่นเตือนใจชาวอิสราเอลให้นึกถึงอะไร?
14 หลังจากวันไถ่โทษ ชาวอิสราเอลก็จะฉลองเทศกาลตั้งทับอาศัย เทศกาลที่น่ายินดีที่สุดในรอบปีของชาวยิว. เลวีติโก 23:34-43) เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันที่ 15 จนถึงวันที่ 21 เดือนเอธานิมและปิดท้ายด้วยการชุมนุมอย่างเป็นพิธีการในวันที่ 22 ของเดือนนั้น. เทศกาลนี้เป็นเหมือนเครื่องหมายบอกตอนสิ้นสุดของการเก็บเกี่ยวรวบรวมพืชผลและเป็นเวลาที่จะขอบพระคุณสำหรับความดีอันอุดมของพระเจ้า. ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระยะโฮวาทรงมีบัญชาแก่ผู้ร่วมฉลองว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าทรงอวยพรแก่เจ้าทั้งหลายในซึ่งได้จำเริญบริบูรณ์, และในบรรดาการงานซึ่งมือของเจ้ากระทำ, เจ้าทั้งหลายจงมีความยินดีอย่างยิ่ง.” (พระบัญญัติ 16:15) นั่นคงต้องเป็นเวลาที่มีความสุขสักเพียงไร!
(15 ระหว่างเทศกาลนั้น ชาวอิสราเอลอาศัยในเพิงพักชั่วคราวเป็นเวลาเจ็ดวัน. โดยวิธีนี้ พวกเขาได้รับการเตือนใจให้ระลึกว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเคยอาศัยในเพิงพักชั่วคราวในถิ่นทุรกันดาร. เทศกาลนี้ทำให้พวกเขามีโอกาสมากมายที่จะใคร่ครวญถึงการดูแลด้วยความรักแบบบิดาที่พระยะโฮวาทรงแสดงต่อพวกเขา. (พระบัญญัติ 8:15, 16) และเนื่องจากทุกคน ไม่ว่ามั่งมีหรือยากจน ล้วนพักอาศัยในเพิงพักชั่วคราวเหมือน ๆ กัน ชาวอิสราเอลจึงได้รับการเตือนใจให้ระลึกว่าในช่วงที่ฉลองเทศกาลนี้ทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน.—นะเฮมยา 8:14-16.
16. เทศกาลตั้งทับอาศัยเป็นภาพเล็งถึงอะไร?
16 เทศกาลตั้งทับอาศัยเป็นเทศกาลการเก็บเกี่ยว, การฉลองอันน่าชื่นใจยินดีของการเก็บรวบรวมพืชผล, และเป็นภาพเล็งถึงการรวบรวมคนที่แสดงความเชื่อในพระเยซูคริสต์ซึ่งเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี. การรวบรวมดังกล่าวเริ่มในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 เมื่อสาวก 120 คนของพระเยซูได้รับการเจิมให้เป็นส่วนหนึ่งของ “คณะปุโรหิตบริสุทธิ์.” ดังที่ชาวอิสราเอลอยู่ในทับอาศัยเป็นเวลาไม่กี่วัน ผู้ถูกเจิมทราบว่าพวกเขาเป็นเพียง “ผู้อาศัยชั่วคราว” ในโลกอธรรมนี้. ความหวังของพวกเขาเป็นความหวังทางภาคสวรรค์. (1 เปโตร 2:5, 11, ล.ม.) การรวบรวมคริสเตียนผู้ถูกเจิมกำลังจะถึงที่สิ้นสุดในระหว่าง “สมัยสุดท้าย” นี้ ซึ่งเป็นเวลาที่ชน 144,000 คนกลุ่มสุดท้ายกำลังถูกรวบรวม.—2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.
17, 18. (ก) อะไรที่ชี้ว่าคนอื่น ๆ นอกเหนือจากคริสเตียนผู้ถูกเจิมได้รับประโยชน์จากเครื่องบูชาของพระเยซู? (ข) ใครในทุกวันนี้กำลังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เทศกาลตั้งทับอาศัยเล็งถึง และเทศกาลที่น่ายินดีนี้จะบรรลุจุดสุดยอดเมื่อไร?
17 น่าสังเกตว่าระหว่างเทศกาลนี้ในสมัยโบราณ มีการอาฤธโม 29:12-34) ตัวเลข 70 เท่ากับ 7 คูณด้วย 10 ซึ่งเป็นตัวเลขที่คัมภีร์ไบเบิลใช้หมายถึงความสมบูรณ์ทางสวรรค์และแผ่นดินโลก. ดังนั้น เครื่องบูชาของพระเยซูจะเป็นประโยชน์ต่อเหล่าผู้ซื่อสัตย์ที่มาจากครอบครัวของมนุษยชาติจำนวนทั้งหมด 70 ครอบครัวที่สืบเชื้อสายจากโนฮา. (เยเนซิศ 10:1-29) สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ในสมัยของเราการรวบรวมได้ขยายออกไปรวมเอาปัจเจกบุคคลจากทุกชาติที่แสดงความเชื่อในพระเยซูและมีความหวังจะมีชีวิตบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน.
ถวายโค 70 ตัว. (18 อัครสาวกโยฮันเห็นการรวบรวมในสมัยปัจจุบันนี้ในนิมิต. ทีแรก ท่านได้ยินเสียงประกาศถึงการประทับตราชน 144,000 คนกลุ่มสุดท้าย. จากนั้น ท่านเห็น “ชนฝูงใหญ่ซึ่งไม่มีใครนับจำนวนได้” ยืนอยู่ต่อพระพักตร์พระยะโฮวาและพระเยซู มือ “ถือใบปาล์ม.” คนเหล่านี้ “ผ่านความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่” เข้าสู่โลกใหม่. พวกเขาด้วยเช่นกันที่ในเวลานี้เป็นผู้อาศัยชั่วคราวในระบบเก่า และพวกเขาตั้งตาคอยด้วยความมั่นใจว่าในที่สุดจะถึงเวลาเมื่อ “พระเมษโปดก . . . จะทรงเลี้ยงดูพวกเขา และจะทรงนำพวกเขาไปยังน้ำพุทั้งหลายที่มีน้ำแห่งชีวิต.” เมื่อถึงตอนนั้น “พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดจากตาของพวกเขา.” (วิวรณ์ 7:1-10, 14-17, ล.ม.) สิ่งที่เทศกาลตั้งทับอาศัยเล็งถึงจะบรรลุจุดสุดยอดหลังจากสิ้นสุดรัชสมัยพันปีของพระคริสต์ เมื่อชนฝูงใหญ่พร้อมกับเหล่าผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกปลุกให้กลับเป็นขึ้นจากตายได้รับชีวิตนิรันดร์.—วิวรณ์ 20:5.
19. เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการพิจารณาเรื่องเทศกาลต่าง ๆ ที่ฉลองกันในชาติอิสราเอล?
19 เราเองก็สามารถ “มีความยินดีอย่างยิ่ง” ขณะที่เราคิดรำพึงถึงความหมายของเทศกาลของชาวยิวในสมัยโบราณ. เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่จะพิจารณาว่าพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้เห็นล่วงหน้าถึงวิธีที่คำพยากรณ์ของพระองค์ย้อนไปจนถึงในสวนเอเดนจะสำเร็จเป็นจริง และน่าตื่นเต้นที่เห็นว่าคำพยากรณ์นี้กำลังสำเร็จจริง ๆ เป็นขั้น ๆ. ปัจจุบัน เราทราบว่าพงศ์พันธุ์ได้มาปรากฏแล้วและพระองค์ได้ถูกบดขยี้ที่ส้นเท้า. บัดนี้ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์อยู่ทางภาคสวรรค์. ยิ่งกว่านั้น ส่วนใหญ่ของชน 144,000 คนได้พิสูจน์ตัวซื่อสัตย์จนกระทั่งสิ้นชีวิต. ยังมีอะไรอีกที่จะต้องทำให้สำเร็จ? ยังอีกนานขนาดไหนที่คำพยากรณ์จะสำเร็จเป็นจริงอย่างครบถ้วน? จะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 เดือนไนซานตรงกับเดือนมีนาคมหรือเมษายนตามปฏิทินที่เราใช้ในปัจจุบัน.
^ วรรค 7 ในการโบกขนมปังใส่เชื้อสองก้อนซึ่งเป็นของถวายนี้ ปุโรหิตมักจะถือขนมปังไว้ในฝ่ามือทั้งสอง, ชูขึ้น, และโบกก้อนขนมปังนั้นไปมาจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง. การเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของการถวายสิ่งที่เป็นเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา—โปรดดูการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 528 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 11 เดือนเอธานิมหรือทิชรีตรงกับเดือนกันยายนหรือตุลาคมตามปฏิทินที่เราใช้ในปัจจุบัน.
คุณอธิบายได้ไหม?
• ลูกแกะปัศคาเป็นภาพเล็งถึงอะไร?
• เทศกาลเพนเทคอสต์เป็นภาพเล็งถึงการรวบรวมอะไร?
• ลักษณะเด่นอะไรของวันไถ่โทษที่ชี้ถึงวิธีใช้เครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู?
• ในลักษณะใดที่เทศกาลตั้งทับอาศัยเป็นภาพเล็งถึงการรวบรวมคริสเตียน?
[คำถาม]
[ตารางแผนภูมิหน้า 22]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
เหตุการณ์: เป็นภาพเล็งถึง:
เทศกาลปัศคา 14 เดือนไนซาน ลูกแกะปัศคาถูกฆ่า พระเยซูถูกถวาย
เป็นเครื่องบูชา
เทศกาล 15 เดือนไนซาน ซะบาโต
กินขนม
ไม่มีเชื้อ 16 เดือนไนซาน ถวายข้าวบาร์เลย์ พระเยซูทรงคืน
(15-21 เดือนไนซาน) พระชนม์
↑
50 วัน
↓
เทศกาล ถวายขนมปังสองก้อน พระเยซูทรงเสนอ
สัปดาห์ 6 เดือนซีวาน พี่น้องผู้ถูกเจิม
(“เพนเทคอสต์”) ของพระองค์
แด่พระยะโฮวา
วันไถ่โทษ 10 เดือนทิชรี ถวายโค พระเยซูทรงเสนอ
หนึ่งตัวกับ คุณค่าแห่งพระโลหิต
แพะสองตัว ของพระองค์เพื่อ
ประโยชน์ของ
มนุษยชาติทั้งมวล
เทศกาล 15-21 เดือนทิชรี ชาวอิสราเอล การรวบรวม
ตั้งทับอาศัย พักอาศัยในเพิง ผู้ถูกเจิมและ
(การเก็บเกี่ยว) พักชั่วคราวด้วย “ชนฝูงใหญ่”
ความยินดีและ
ชื่นใจกับ
พืชผลที่
เก็บเกี่ยวได้,
ถวายโค 70 ตัว
[ภาพหน้า 21]
เช่นเดียวกับเลือดของลูกแกะปัศคา พระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งออกทำให้ผู้คนมากมายได้รับความรอด
[ภาพหน้า 22]
ผลแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์ที่ถวายในวันที่ 16 เดือนไนซานเป็นภาพเล็งถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซู
[ภาพหน้า 23]
ขนมปังสองก้อนที่ถวายในวันเพนเทคอสต์เป็นภาพเล็งถึงประชาคมแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิม
[ภาพหน้า 24]
เทศกาลตั้งทับอาศัยเป็นภาพเล็งถึงการรวบรวมอันน่ายินดีทั้งผู้ถูกเจิมและ “ชนฝูงใหญ่” จากทุกชาติ