การตั้งมั่นคงเมื่อบุตรขืนอำนาจ
การตั้งมั่นคงเมื่อบุตรขืนอำนาจ
สตรีที่เราให้ชื่อว่าจอยได้บากบั่นเอาใจใส่เลี้ยงดูบุตรชายให้รักพระยะโฮวาพระเจ้า. แต่เมื่อบุตรโตเป็นหนุ่ม เขากลับขืนอำนาจและออกจากบ้านไป. จอยบอกว่า “มันเป็นความปวดร้าวอย่างยิ่งเท่าที่เคยประสบมา. ฉันรู้สึกว่าถูกหักหลัง, ระทมใจ, และผิดหวัง. ฉันเอาแต่ครุ่นคิดเรื่องต่าง ๆ ในแง่ร้าย.”
บางทีคุณเองได้พยายามเลี้ยงลูกให้รักและรับใช้พระเจ้าเช่นเดียวกัน แต่ทีหลังปรากฏว่าลูกคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นได้ละทิ้งพระองค์. คุณจะทำอย่างไรได้เพื่อรับมือความผิดหวังอันขมขื่นเช่นนั้น? อะไรจะช่วยคุณให้มั่นคงอยู่ในงานรับใช้พระยะโฮวา?
เมื่อบุตรทั้งหลายของพระยะโฮวากบฏ
ขั้นแรกเราต้องตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงทราบดีว่าคุณรู้สึกอย่างไร. ที่ยะซายา 49:15 (ล.ม.) เราอ่านดังนี้: “ภรรยาจะลืมบุตรที่ยังกินนมและถึงกับไม่สงสารบุตรจากครรภ์ของเธอได้หรือ? แม้ผู้หญิงเหล่านี้จะลืมได้ แต่เราเองจะไม่ลืมเจ้า.” ถูกแล้ว พระยะโฮวามีความรู้สึกเหมือนบิดามารดาทั่วไป. ดังนั้น นึกภาพดูสิ พระองค์คงต้องรู้สึกเบิกบานพระทัยเมื่อบุตรทั้งหลายของพระองค์คือเหล่าทูตสวรรค์แซ่ซ้องสรรเสริญและปรนนิบัติพระองค์. ขณะตอบโยบปฐมบรรพบุรุษ “จากกลุ่มพายุ” พระยะโฮวาทรงระลึกถึงกาลเวลาอันเปี่ยมสุขร่วมกับครอบครัวฝ่ายวิญญาณที่เป็นเอกภาพของพระองค์โดยตรัสว่า “เจ้านะอยู่ที่ไหนเมื่อเราได้วางรากแห่งพิภพโลก? . . . ขณะเมื่อหมู่ดาวประจำรุ่งแซ่ซ้องสรรเสริญ, และเหล่าบุตรของพระเจ้าส่งเสียงแสดงความยินดี?”—โยบ 38:1, 4, 7.
ต่อมา พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ทรงเห็นบุตรฐานะทูตสวรรค์องค์หนึ่งซึ่งปราศจากตำหนิได้กบฏต่อพระองค์ และกลายเป็นซาตาน ซึ่งในภาษาฮีบรูหมายความว่า “ผู้ต่อต้าน.” นอกจากนั้น พระยะโฮวาทรงเฝ้าดูอาดามบุตรคนแรกบนแผ่นดินโลกและฮาวาภรรยาของเขาซึ่งก็เป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้เข้าร่วมในการกบฏ. (เยเนซิศ 3:1-6; วิวรณ์ 12:9) อยู่มาภายหลัง ทูตสวรรค์อื่น ๆ “ได้ละทิ้งสถานที่อยู่อันควรของตน” และเป็นกบฏต่อพระเจ้า.—ยูดา 6, ล.ม.
พระคัมภีร์ไม่ได้แจ้งไว้ว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อบุตรที่สมบูรณ์ของพระองค์ได้ติดตามแนวทางกบฏนั้น. อย่างไรก็ตาม คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ชัดเจนว่า “พระยะโฮวาทรงเห็นว่า ความชั่วของมนุษย์มีมากมายในแผ่นดินโลกและความโน้มเอียงทุกอย่างแห่งความคิดในหัวใจของเขาล้วนแต่ชั่วตลอดเวลา. และพระยะโฮวาทรงรู้สึกเสียพระทัยที่ได้สร้างมนุษย์ไว้บนแผ่นดิน และพระองค์ทรงรู้สึกปวดเยเนซิศ 6:5, 6, ล.ม.) เมื่อประชาชนชาวอิสราเอล ชาติของพระองค์ที่ทรงเลือกสรรไว้นั้นได้ขืนอำนาจพระยะโฮวา พระองค์ทรง “เสียพระทัย” และ “ปวดร้าว” เช่นเดียวกัน.—บทเพลงสรรเสริญ 78:40, 41, ล.ม.
ร้าวพระทัย.” (ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระยะโฮวาทรงร่วมรู้สึกกับพ่อแม่ผู้ซึ่งเป็นทุกข์ปวดร้าวใจเนื่องด้วยพฤติกรรมของลูกที่ขืนอำนาจ. พระองค์ทรงประทานคำแนะนำที่มีเหตุผลและเป็นการหนุนใจไว้ในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์เพื่อช่วยบิดามารดาในภาวะดังกล่าวรับมือสภาพการณ์ของตน. พระเจ้าทรงกระตุ้นเขาให้มอบความวุ่นวายใจไว้กับพระองค์, ให้แสดงความถ่อม, และยืนหยัดต่อต้านซาตานพญามาร. ขอเราพิจารณาว่าการปฏิบัติตามคำแนะนำนี้จะช่วยคุณให้ตั้งมั่นต่อไปได้อย่างไรเมื่อบุตรของคุณขืนอำนาจ.
จงมอบความกระวนกระวายไว้กับพระยะโฮวา
พระยะโฮวาทรงทราบว่าบิดามารดากังวลใจอย่างยิ่งเมื่อรู้ว่าบุตรอยู่ในภาวะอันตรายอันอาจก่อผลเสียหายต่อตัวเองหรือถูกผู้อื่นทำอันตราย. อัครสาวกเปโตรชี้ให้เห็นวิธีหนึ่งเพื่อจะรับมือเรื่องนี้ อีกทั้งเรื่องอื่น ๆ. ท่านเขียนว่า “[จง] มอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นของท่านไว้กับพระองค์ เพราะว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.” (1 เปโตร 5:7, ล.ม.) ทำไมคำเชิญชวนและคำรับรองเช่นนี้จึงใช้ได้เป็นพิเศษกับบิดามารดาผู้ซึ่งบุตรได้ขืนอำนาจ?
ขณะที่บุตรของคุณอยู่ในวัยเด็ก คุณเฝ้าระวังดูแลเขาให้พ้นภัย และเขาคงตอบสนองการชี้นำด้วยความรักใคร่ของคุณ. อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาโตขึ้น อิทธิพลของคุณที่สามารถจูงใจบุตรให้คล้อยตามอาจลดน้อยลง แต่ความปรารถนาอันแรงกล้าของคุณที่จะปกป้องบุตรให้พ้นอันตรายมิได้ลดลง. ที่จริง อาจเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ.
ผลคือ เมื่อบุตรของคุณขืนอำนาจและได้รับความเสียหายฝ่ายวิญญาณ, ทางอารมณ์, หรือด้านร่างกาย คุณอาจคิดว่าตัวเองเป็นต้นเหตุ. จอย คนที่กล่าวถึงตอนต้นก็มีความรู้สึกแบบนี้. เธอพูดว่า “แต่ละวันที่ผ่านไป ความรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลวเป็นสิ่งที่ทรมานจิตใจมาก ฉันจึงครุ่นคิดถึงเรื่องในอดีตเพื่อจะได้เห็นว่าฉันทำอะไรผิดไป.” โดยเฉพาะยามใดที่คุณรู้สึกเช่นนั้น พระยะโฮวาประสงค์ให้คุณ ‘มอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นไว้กับพระองค์.’ หากคุณทำเช่นนั้น พระองค์จะช่วยคุณ. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวดังนี้: “จงปล่อยภาระของท่านไว้กับพระยะโฮวา และพระองค์เองจะทรงค้ำจุนท่าน. ไม่มีวันที่พระองค์จะทรงยอมให้คนชอบธรรมซวดเซเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 55:, ล.ม.) จอยได้รับการปลอบโยนจากถ้อยคำดังกล่าว. เธอชี้แจงว่า “ฉันทูลพระยะโฮวาเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกภายในใจทุกอย่าง. ความรู้สึกของฉันพรั่งพรูออกมา และมันเป็นการบรรเทาที่ดีเยี่ยม.” 22
เนื่องจากคุณเป็นบิดามารดาไม่สมบูรณ์ คุณอาจเคยผิดพลาดในช่วงที่เลี้ยงดูบุตร. แต่คุณจะมัวครุ่นคิดแต่ข้อผิดพลาดไปทำไม? เห็นได้ชัดว่าพระยะโฮวาไม่ทรงคำนึงแต่ข้อผิดเช่นนั้น เพราะผู้ประพันธ์เพลงที่รับการดลใจได้ร้องสรรเสริญดังนี้: “โอ้ยาห์ โอ้พระยะโฮวา ถ้าพระองค์คอยจับผิด ใครจะทนไหว?” (บทเพลงสรรเสริญ 130:3, ล.ม.) แม้คุณเป็นบิดาหรือมารดาที่ไร้ข้อตำหนิ บุตรของคุณอาจยังขืนอำนาจอยู่. ฉะนั้น จงทูลเสนอความรู้สึกของคุณในคำอธิษฐานต่อพระยะโฮวา และพระองค์จะทรงช่วยคุณรับมือ. อย่างไรก็ตาม หากคุณเองยังจะยืนหยัดมั่นคงต่อไปในงานรับใช้พระยะโฮวา และหลีกเลี่ยงการกลายเป็นเหยื่อของซาตาน คุณต้องทำมากกว่านี้.
จงถ่อมตัว
เปโตรได้เขียนไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถ่อมตัวลงภายใต้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระเจ้า เพื่อพระองค์จะทรงยกท่านทั้งหลายขึ้นในเวลาอันควร.” (1 เปโตร 5:6, ล.ม.) เหตุใดจำเป็นต้องถ่อมใจเมื่อบุตรของคุณขืนอำนาจ? บุตรที่ดื้อดึงขืนอำนาจไม่เพียงแต่เป็นเหตุให้คุณรู้สึกผิดและปวดร้าวเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้คุณรู้สึกอับอายขายหน้าด้วย. คุณอาจเป็นกังวลว่าการกระทำของบุตรได้ทำลายชื่อเสียงของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเขาถูกตัดสัมพันธ์จากประชาคมคริสเตียน. การตำหนิตัวเองประกอบกับความอับอายขายหน้าอาจทำให้คุณท้อแท้จนไม่อยากเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน.
ที่จะจัดการกับสภาพการณ์ดังกล่าว คุณต้องสำแดงสติปัญญาที่ใช้ได้จริง. สุภาษิต 18:1 เตือนดังนี้: “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.” โดยการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำทั้ง ๆ ที่คุณเศร้าหมอง คุณจะสามารถรับเอาคำแนะนำและการหนุนใจได้จากแหล่งที่สำคัญยิ่ง. จอยยอมรับว่า “ตอนแรก ๆ ฉันไม่ต้องการพบปะใคร ๆ แต่ฉันเตือนตัวเองให้นึกถึงความสำคัญของกิจวัตรฝ่ายวิญญาณ. นอกจากนั้น ถ้าฉันเอาแต่เก็บตัวอยู่ที่บ้าน ฉันคงหมกมุ่นครุ่นคิดแต่ปัญหาต่าง ๆ ของตัวเองเท่านั้น. การประชุมต่าง ๆ ช่วยฉันเพ่งเล็งสิ่งฝ่ายวิญญาณซึ่งเป็นการเสริมสร้าง. ฉันรู้สึกขอบคุณและดีใจเป็นอย่างมากที่ไม่ได้ปลีกตัวอยู่ตามลำพังแล้วพลาดโอกาสรับประโยชน์จากการสนับสนุนด้วยความรักของพี่น้องชายหญิงของฉัน.”—เฮ็บราย 10:24, 25.
พึงจดจำด้วยว่าแต่ละคนในครอบครัวต้อง “แบกภาระของตนเอง” ในเรื่องหน้าที่รับผิดชอบฐานะที่เป็นคริสเตียน. (ฆะลาเตีย 6:5) พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้บิดามารดารักและตีสอนบุตรของเขา. พระองค์ทรงคาดหมายให้ลูก ๆ เชื่อฟังและให้เกียรติพ่อแม่ด้วยเช่นกัน. ถ้าได้ทำดีที่สุดแล้วในการเลี้ยงดูอบรมบุตรด้วย “การตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา” บิดามารดาเองก็จะมีชื่อเสียงดีจำเพาะพระเจ้า. (เอเฟโซ 6:1-4, ล.ม.) ถ้าบุตรขืนอำนาจบิดามารดาที่ตีสอนด้วยความรัก บุตรนั่นแหละจะเสียชื่อเสียง. สุภาษิต 20:11 บอกว่า “ถึงเป็นเด็กอยู่ก็ยังสังเกตความประพฤติของเขาว่าจะเป็นคนดีหรือชั่ว.” เป็นที่แน่นอนว่าการกบฏของซาตานไม่ได้ทำให้ชื่อเสียงของพระยะโฮวาเสื่อมเสียแต่อย่างใดในหมู่ผู้คนที่รู้ข้อเท็จจริง.
จงยืนหยัดต่อต้านพญามาร
เปโตรเตือนว่า “จงรักษาสติของท่านไว้ จงระวังระไวให้ดี. พญามาร ปรปักษ์ของท่านทั้งหลาย เที่ยวเดินไปเหมือนสิงโตที่แผดเสียงร้อง เสาะหาคนหนึ่งคนใดที่มันจะขย้ำกลืนเสีย.” (1 เปโตร 5:8, ล.ม.) พญามารเปรียบเหมือนสิงโต บ่อยครั้งมันหมายเอาหนุ่มสาวและคนขาดประสบการณ์เป็นเป้า. ในสมัยโบราณ สิงโตเที่ยวเพ่นพ่านทั่วแผ่นดินอิสราเอล เป็นภัยคุกคามต่อสัตว์เลี้ยง. ถ้าลูกแกะตัวหนึ่งหลงฝูง มันจะกลายเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ. โดยสัญชาตญาณ แม่แกะอาจเสี่ยงชีวิตเข้าปกป้องลูกของมัน. อย่างไรก็ดี แม้แกะที่โตเต็มที่ก็ไม่อาจต้านทานสิงโตได้. ดังนั้น จำเป็นต้องมีคนเลี้ยงที่กล้าหาญคอยปกป้องฝูงแกะ.—1 ซามูเอล 17:34, 35.
เพื่อจะปกป้องแกะโดยนัยให้พ้น “สิงโตที่แผดเสียงร้อง” พระยะโฮวาทรงเตรียมการให้ผู้บำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณเฝ้าดูแลฝูงแกะภายใต้พระเยซูคริสต์ “ผู้บำรุงเลี้ยงองค์สำคัญ.” (1 เปโตร 5:4, ล.ม.) เปโตรได้กระตุ้นเตือนผู้บำรุงเลี้ยงที่ถูกแต่งตั้งดังนี้: “จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าในความอารักขาของท่านทั้งหลาย มิใช่เพราะถูกบังคับ แต่ด้วยความเต็มใจ; ไม่ใช่เพราะรักผลกำไรโดยมิชอบ แต่ด้วยใจจดจ่อ.” (1 เปโตร 5:1, 2, ล.ม.) ด้วยความร่วมมือของคุณฐานะบิดามารดา ผู้บำรุงเลี้ยงเหล่านี้อาจจะช่วยผู้เยาว์แก้ไขแนวทางฝ่ายวิญญาณของเขาได้.
เมื่อคริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยงต้องแนะนำบุตรของคุณที่ขืนอำนาจ คุณอาจรู้สึกถูกกระตุ้นให้ปกป้องเพื่อเขาจะไม่ถูกตีสอน. อย่างไรก็ดี การมุ่งจะทำเช่นนั้นคงเป็นการผิดพลาดร้ายแรง. เปโตรกล่าวว่า “จงยืนหยัดต่อต้าน [พญามาร]”—ไม่ใช่ต่อต้านผู้บำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณ.—1 เปโตร 5:9, ล.ม.
เมื่อการตีสอนรุนแรง
ถ้าบุตรของคุณไม่กลับใจ และเขาเป็นคริสเตียนที่รับบัพติสมาแล้ว เขาอาจได้รับการตีสอนแบบรุนแรงที่สุด นั่นคือการถูกตัดสัมพันธ์จากประชาคม. นับแต่นั้น การติดต่อพูดจากันระหว่างคุณกับบุตรควรจำกัดไว้แค่ไหน นั่นย่อมขึ้นอยู่กับอายุของบุตรและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ.
ถ้าบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะและอยู่ที่บ้าน ปกติแล้ว คุณจะดูแลความจำเป็นด้านร่างกายของเขาต่อไป. นอกจากนั้น เขาจะต้องได้รับการอบรมทางศีลธรรมและการตีสอน และสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคุณ. (สุภาษิต 1:8-18; 6:20-22; 29:17) คุณอาจต้องการนำการศึกษาพระคัมภีร์กับเขา ซึ่งรวมถึงการให้เขามีส่วนร่วมโดยตรง. คุณอาจดึงดูดความสนใจของเขาสู่ข้อคัมภีร์ต่าง ๆ และสรรพหนังสือที่จัดเตรียมโดย “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม.” (มัดธาย 24:45, ล.ม.) นอกจากนั้น คุณสามารถพาบุตรไปยังการประชุมคริสเตียนด้วยกันและให้เขานั่งกับคุณ. ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยความหวังว่าเขาจะรับคำแนะนำจากพระคัมภีร์ไว้ในหัวใจ.
สถานการณ์ย่อมต่างกันถ้าผู้ถูกตัดสัมพันธ์บรรลุนิติภาวะและไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้าน. อัครสาวกเปาโลเตือนคริสเตียนในเมืองโครินท์ดังนี้: “[จง] เลิกคลุกคลีกับใครก็ตามที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่น้องแล้วซึ่งเป็นคนผิดประเวณีหรือคนโลภหรือคนไหว้รูปเคารพหรือคนปากร้ายหรือคนขี้เมาหรือคนที่กรรโชกทรัพย์ แม้แต่จะกินร่วมกับคนเช่นนั้นก็อย่าเลย.” (1 โกรินโธ 5:11, ล.ม.) แม้ว่าการเอาใจใส่เรื่องจำเป็นของครอบครัวอาจเรียกร้องการติดต่อกันบ้างกับบุตรที่ถูกตัดสัมพันธ์ บิดามารดาคริสเตียนพึงพยายามเลี่ยงการเกี่ยวข้องที่ไม่จำเป็น.
เมื่อบุตรที่ทำผิดได้รับการตีสอนจากคริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยง ถ้าคุณพยายามปฏิเสธหรือถือว่าการดำเนินการของพวกเขาที่อาศัยหลักพระคัมภีร์เป็นเรื่องไม่สำคัญ นั่นคงไม่ฉลาดแน่ ๆ. การเข้าข้างบุตรที่ขืนอำนาจใช่ว่าจะคุ้มครองบุตรให้พ้นพญามารได้จริงแต่อย่างใด. ที่แท้แล้ว คุณจะทำให้สุขภาพฝ่ายวิญญาณของตัวเองเป็นอันตราย. อีกด้านหนึ่ง โดยการสนับสนุนความบากบั่นของบรรดาผู้บำรุงเลี้ยง คุณจะ “มั่นคงในความเชื่อ” ต่อไปและจะเป็นส่วนช่วยเหลือที่ดีที่สุดสำหรับบุตรของคุณ.—1 เปโตร 5:9, ล.ม.
พระยะโฮวาจะทรงค้ำจุนคุณ
หากบุตรของคุณขืนอำนาจ จงจำไว้ว่าไม่ใช่มีแต่คุณเท่านั้น. บิดามารดาคริสเตียนคนอื่น ๆ ก็เคยมีประสบการณ์ทำนองนี้. ไม่ว่าเราจำทนความยากลำบากใด ๆ พระยะโฮวาทรงสามารถค้ำจุนเราได้.—บทเพลงสรรเสริญ 68:19.
จงหมายพึ่งพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน. คบหาเป็นประจำกับประชาคมคริสเตียน. สนับสนุนการตีสอนของผู้บำรุงเลี้ยงที่ได้รับการแต่งตั้ง. เมื่อคุณทำเช่นนี้ คุณจะสามารถตั้งมั่นคงอยู่ได้. และตัวอย่างที่ดีของคุณอาจช่วยบุตรตอบรับการเชิญชวนด้วยความรักจากพระยะโฮวาให้หวนกลับมาหาพระองค์.—มาลาคี 3:6, 7.
[ภาพหน้า 18]
จงรับพลังจากการอธิษฐานและจากประชาคมคริสเตียน