ทำไมจึงพูดความจริง?
ทำไมจึงพูดความจริง?
เมื่ออายุ 18 ปี มันเฟรดเคยฝึกงานในสำนักงานแห่งหนึ่ง. * บริษัทที่เขาฝึกงานด้วยส่งเขากับเด็กฝึกงานคนอื่น ๆ หลายคนไปเรียนที่วิทยาลัยอาชีวะสัปดาห์ละสองวัน. วันหนึ่งครูให้เลิกเรียนเร็วกว่าปกติ. ตามกฎของบริษัท ผู้ที่ฝึกงานจะต้องกลับไปทำงานต่อจนหมดวัน. แต่ทุกคนพากันไปเที่ยว ยกเว้นมันเฟรดที่กลับไปทำงาน. วันนั้นผู้บริหารของบริษัทซึ่งรับผิดชอบดูแลเด็กฝึกงานเผอิญแวะมา. เมื่อเห็นมันเฟรดเขาก็ถามว่า “ทำไมวันนี้คุณไม่ไปเรียน? แล้วคนอื่น ๆ ล่ะ?” มันเฟรดควรจะตอบอย่างไร?
สถานการณ์ยุ่งยากที่มันเฟรดเผชิญนั้นเป็นเรื่องปกติ. เขาควรบอกความจริงไหม หรือเขาควรปกปิดความจริงเพื่อปกป้องเพื่อนร่วมชั้น? หากเขาพูดความจริง เขาก็จะทำให้คนอื่นเดือดร้อนและพวกนั้นจะไม่ชอบหน้าเขา. การโกหกในสภาพการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม? ถ้าเป็นคุณ คุณจะทำอย่างไร? เราจะกลับมาพูดถึงมันเฟรดกันทีหลัง แต่ก่อนอื่นให้เราดูว่ามีอะไรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเมื่อเราจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะพูดความจริงหรือไม่.
ความจริงและความเท็จ—ความเป็นปฏิปักษ์แต่ดั้งเดิม
ในตอนเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทุกสิ่งตั้งอยู่บนความจริง. ไม่มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่มีการพลิกแพลงความจริงหรือให้ข้อเท็จจริงแบบผิด ๆ. พระยะโฮวา พระผู้สร้างทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง.” พระคำของพระองค์เป็นความจริง, พระองค์ตรัสมุสาไม่ได้, และพระองค์ทรงตำหนิการโกหกและคนโกหก.—บทเพลงสรรเสริญ 31:5; โยฮัน 17:17; ติโต 1:2.
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเท็จมาจากไหน? พระเยซูคริสต์ทรงให้คำตอบที่เชื่อถือได้เมื่อพระองค์ตรัสกับผู้ต่อต้านทางศาสนาที่พยายามหาทางจะฆ่าพระองค์ว่า “ท่านทั้งหลายมาจากมารซึ่งเป็นพ่อของท่าน, และท่านใคร่จะทำตามความปรารถนาของพ่อของท่าน. มันเป็นผู้ฆ่าคนตั้งแต่เดิมมา, และมิได้ตั้งอยู่ในความจริง, เพราะความจริงมิได้อยู่ในมัน. เมื่อมันพูดมุสามันก็พูดแต่ตัวมันเอง ด้วยว่ามันเป็นช่างมุสา, และเป็นพ่อของการมุสานั้น.” (โยฮัน 8:44) ใช่แล้ว พระเยซูกำลังตรัสถึงเหตุการณ์ในสวนเอเดนตอนที่ซาตานชักจูงมนุษย์คู่แรกไม่ให้เชื่อฟังพระเจ้าและจึงตกเป็นเหยื่อของบาปและความตาย.—เยเนซิศ 3:1-5; โรม 5:12.
คำตรัสของพระเยซูระบุชัดว่า ซาตานเป็น “พ่อของการมุสา” คือเป็นผู้ริเริ่มการโกหกและการพูดเท็จ. ทุกวันนี้ ซาตานยังคงเป็นผู้สนับสนุนหลักของการพูดเท็จ และแท้จริงแล้ว มันกำลัง “ลวงมนุษย์โลกทั้งปวง.” มันคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบเกือบทั้งหมดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ในทุกวันนี้เนื่องจากการพูดเท็จที่แพร่ไปทั่ว.—ความเป็นปฏิปักษ์แต่ดั้งเดิมระหว่างความจริงกับความเท็จซึ่งเริ่มขึ้นโดยซาตานพญามารยังคงแพร่หลายจนทุกวันนี้. ความเป็นปฏิปักษ์นี้มีอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกระดับชั้น และมีผลกระทบต่อทุกคน. วิธีที่คนเราใช้ชีวิตทำให้เราตกอยู่ฝ่ายใดก็ได้. คนที่อยู่ฝ่ายพระเจ้าจะดำเนินชีวิตโดยอาศัยความจริงในพระคำของพระเจ้า คือคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก. ใครก็ตามที่ไม่ได้ดำเนินในแนวทางของความจริงก็ตกอยู่ในกำมือของซาตาน ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เพราะ “โลกทั้งสิ้นอยู่ในอำนาจตัวชั่วร้าย.”—1 โยฮัน 5:19, ล.ม.; มัดธาย 7:13, 14.
ทำไมจึงมีแนวโน้มจะโกหก?
ข้อเท็จจริงที่ว่า “โลกทั้งสิ้น” อยู่ในอำนาจซาตานทำให้เรารู้ว่าทำไมคนมากมายจึงพูดโกหก. แต่เราอาจถามว่า ‘ทำไมซาตาน “พ่อของการมุสา” จึงทำเช่นนั้น?’ ซาตานรู้ว่าพระยะโฮวาทรงมีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะปกครองเหนือทุกสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง รวมทั้งมนุษย์คู่แรก. ถึงกระนั้น ซาตานก็ยังปรารถนาจะได้ตำแหน่งอันสูงส่งนี้มาเป็นของตนทั้งที่ไม่มีสิทธิ์. ด้วยความละโมบและความทะเยอทะยานอันเห็นแก่ตัว มันวางแผนเพื่อจะแย่งตำแหน่งของพระยะโฮวา. เพื่อที่แผนการของมันจะสำเร็จ ซาตานจึงใช้การโกหกและการหลอกลวง.—1 ติโมเธียว 3:6.
ทุกวันนี้ล่ะเป็นอย่างไร? คุณไม่เห็นด้วยหรอกหรือว่าความโลภและความทะเยอทะยานอันเห็นแก่ตัวยังคงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากโกหก? ธุรกิจการค้าที่ละโมบ, การเมืองที่ทุจริต, และศาสนาเท็จล้วนเต็มไปด้วยการหลอกลวง, ความเท็จ, การพลิกแพลง, การฉ้อฉล. เพราะเหตุใด? เป็นเพราะบ่อยครั้งผู้คนถูกกระตุ้นโดยความโลภและความทะเยอทะยานที่จะเอาชนะผู้อื่นหรือแสวงหาความร่ำรวย, อิทธิพล, หรือฐานะตำแหน่งซึ่งตัวเขาเองไม่มีสิทธิ์มิใช่หรือ? กษัตริย์ซะโลโมผู้ปกครองที่ฉลาดสุขุมแห่งอิสราเอลโบราณเตือนเอาไว้ว่า “คนที่รีบจะเป็นคนมั่งมีจะพ้นโทษก็หามิได้.” (สุภาษิต 28:20) และอัครสาวกเปาโลเขียนว่า “การรักเงินทองนั้นก็เป็นรากแห่งความชั่วทุกอย่าง.” (1 ติโมเธียว 6:10) แน่นอนว่าอาจพูดได้อย่างเดียวกันนี้ในเรื่องความปรารถนาอันเกินสมควรเพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่.
อีกปัจจัยหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการโกหกคือความกลัว คือกลัวผลที่จะตามมาหรือกลัวว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรหากบอกความจริง. เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้คนปรารถนาจะเป็นที่ชื่นชอบหรือเป็นที่ยอมรับของคนอื่น. อย่างไรก็ตาม ความปรารถนานี้สามารถกระตุ้นพวกเขาให้บิดเบือนความจริง แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพื่อจะปกปิดข้อบกพร่องต่าง ๆ, เพื่อจะปิดซ่อนข้อปลีกย่อยที่ไม่ดี, หรือเพียงเพื่อสร้างความประทับใจ. ซะโลโมเขียนไว้เหมาะกับเรื่องนี้ทีเดียวว่า “การกลัวคนนั้นนำไปถึงบ่วงแร้ว; แต่ผู้ที่ยำเกรงพระยะโฮวาจะปลอดภัย.”—สุภาษิต 29:25.
ความภักดีต่อพระเจ้าแห่งความจริง
มันเฟรดพูดอย่างไรเมื่อผู้บริหารของบริษัทบอกให้เขาอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น? มันเฟรดพูดไปตามจริง. เขาบอกว่า “อาจารย์ปล่อยเราเร็วกว่าปกติ ผมจึงกลับมาทำงาน. แต่สำหรับคนอื่น ผมไม่สามารถจะพูดแทนพวกเขาได้. คุณถามพวกเขาเองดีกว่านะครับ.”
มันเฟรดอาจให้คำตอบที่มีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อทำให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นก็ได้ ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นเขาก็จะได้รับความนิยมชมชอบจากเด็กฝึกงานคนอื่น ๆ. แต่เขามีเหตุผลที่ดีที่จะยึดมั่นกับความจริงอย่างภักดี. มันเฟรดเป็นพยานพระยะโฮวา. ความซื่อสัตย์ช่วยรักษาสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาดของเขาเอา
ไว้ และยังทำให้เขาได้รับความไว้วางใจจากนายจ้างอีกด้วย. ในช่วงที่ฝึกงาน มันเฟรดได้รับมอบหมายให้ทำงานในแผนกอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งปกติแล้วไม่อนุญาตให้เด็กฝึกงานทำงานที่นั่น. ประมาณ 15 ปีต่อมา เมื่อมันเฟรดได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้มีหน้าที่รับผิดชอบสูงในบริษัท ผู้บริหารคนเดิมได้โทรศัพท์มาแสดงความยินดีและพูดถึงเหตุการณ์นั้นที่เขาได้ซื่อสัตย์ต่อความจริง.เนื่องจากพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าแห่งความจริง ใครก็ตามที่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระองค์จะต้อง “เลิกการพูดมุสาเสีย” และ “พูดตามความจริง.” ผู้รับใช้ของพระเจ้าควรรักความจริง. ชายผู้ฉลาดสุขุมกล่าวว่า “พยานที่สัตย์ซื่อจะไม่มุสา.” แต่การมุสาหรือการโกหกคืออะไร?—เอเฟโซ 4:25; สุภาษิต 14:5.
การโกหกคืออะไร?
การโกหกทุกอย่างเป็นการพูดไม่จริง แต่ไม่ใช่การพูดไม่จริงทุกอย่างเป็นการโกหก. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? พจนานุกรมฉบับหนึ่งนิยามคำ การโกหก ว่าเป็น “การกล่าวอ้างในสิ่งที่ผู้พูดรู้หรือเชื่ออยู่ว่าไม่เป็นความจริงโดยมีเจตนาจะหลอกลวง.” ใช่แล้ว การโกหกรวมเอาเจตนาที่จะหลอกคนอื่นไว้ด้วย. ดังนั้น การพูดไม่จริงโดยไม่ได้เจตนา เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือตัวเลขที่ไม่ถูกต้องแก่คนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจไม่ถือเป็นการพูดโกหก.
นอกจากนั้น เราต้องพิจารณาด้วยว่าคนที่ถามข้อมูลมีสิทธิ์ที่จะทราบคำตอบทั้งหมดหรือไม่. ตัวอย่างเช่น สมมุติว่ามันเฟรดถูกถามด้วยคำถามเดียวกัน โดยผู้ถามเป็นผู้บริหารของบริษัทอื่น. มันเฟรดจะต้องบอกเขาทุกอย่างไหม? คงจะไม่. เนื่องจากผู้บริหารคนนี้ไม่มีสิทธิ์จะทราบข้อมูลนั้น มันเฟรดคงไม่จำเป็นต้องบอกเขา. ทว่าแม้แต่ในกรณีนี้ เป็นการไม่ถูกต้องอย่างแน่นอนหากมันเฟรดจะโกหก.
พระเยซูคริสต์ทรงวางตัวอย่างอะไรในเรื่องนี้? ในโอกาสหนึ่ง พระเยซูทรงสนทนากับคนที่ไม่ใช่สาวกของพระองค์แต่ได้แสดงความสนใจในแผนการเดินทางของพระองค์. พวกเขาแนะนำพระองค์ว่า “จงออกจากที่นี่ไปยังมณฑลยูดาย.” พระเยซูทรงตอบอย่างไร? “ท่านทั้งหลายจงขึ้นไปที่การเลี้ยง [ในกรุงเยรูซาเลม] เถิด เรายังไม่ขึ้นไปที่การเลี้ยงนี้, เพราะว่ายังไม่ถึงเวลากำหนดของเรา.” แต่ไม่นานหลังจากนั้น พระองค์ก็เดินทางไปกรุงเยรูซาเลมเพื่อร่วมในเทศกาลนั้น. ทำไมพระองค์จึงตอบไปอย่างนั้น? ก็เพราะพวกเขาไม่มีสิทธิ์จะรู้รายละเอียดทุกอย่างว่าพระองค์จะไปที่ไหน. ดังนั้น แม้ว่าพระเยซูไม่ได้พูดโกหก แต่พระองค์ก็ไม่ได้ให้คำตอบที่ครบถ้วนแก่พวกเขา ทั้งนี้ก็เพื่อจำกัดโอกาสที่พวกเขาจะทำอันตรายแก่พระองค์หรือผู้ที่ติดตามพระองค์. นี่ไม่ใช่การโกหก เพราะอัครสาวกเปโตรเขียนเกี่ยวกับพระคริสต์ว่า “พระองค์ไม่ได้ทรงกระทำบาปประการใด, และอุบายในพระโอษฐ์ของพระองค์ก็ไม่มี.”—โยฮัน 7:1-13; 1 เปโตร 2:22.
แล้วจะว่าอย่างไรกับเปโตรเอง? ในคืนที่พระเยซูถูกจับ เปโตรโกหกสามครั้งและปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซูไม่ใช่หรือ? ถูกแล้ว เปโตรพ่ายแพ้ต่อความกลัวมนุษย์และได้โกหก. มัดธาย 26:69-75; กิจการ 4:18-20; 5:27-32; ยาโกโบ 3:2.
แต่แล้วในทันที เปโตร ‘ร้องเป็นทุกข์ยิ่งนัก’ และกลับใจ และบาปของท่านก็ได้รับการอภัย. ยิ่งกว่านั้น ท่านเรียนรู้จากความผิดพลาดของท่าน. ไม่นานหลังจากนั้น เปโตรได้พูดต่อหน้าสาธารณชนเกี่ยวกับพระเยซูและไม่ยอมหยุดพูดเมื่อถูกข่มขู่จากผู้มีตำแหน่งสูงชาวยิวในกรุงเยรูซาเลม. แน่ทีเดียว ความพลาดพลั้งเพียงชั่วครู่ของเปโตรและการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วควรให้กำลังใจแก่เราทุกคนซึ่งอาจยอมพ่ายแพ้แก่ความอ่อนแออย่างง่ายดายไปชั่วขณะหนึ่งและพลาดพลั้งในคำพูดและการกระทำ.—ความจริงจะตั้งมั่นคงถาวร
สุภาษิต 12:19 อธิบายว่า “ริมฝีปากที่กล่าวคำจริงจะตั้งมั่นคงถาวร, แต่ลิ้นมุสาจะคงอยู่ได้แต่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น.” ใช่แล้ว คำพูดที่จริงมีลักษณะสำคัญคือความคงทนถาวร. และความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกันจะมั่นคงและน่าพึงพอใจยิ่งขึ้นเมื่อทุกคนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะพูดความจริงและปฏิบัติอย่างที่สอดคล้องกับความจริง. อันที่จริง ความจริงนำมาซึ่งผลตอบแทนในทันที. ผลตอบแทนเหล่านี้รวมถึงสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาด, ชื่อเสียงที่ดี, และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในสายสมรส, ในครอบครัว, ในหมู่เพื่อน, และแม้แต่ในแวดวงธุรกิจ.
ตรงกันข้าม การโกหกไม่อาจคงอยู่ได้ตลอดไป. ลิ้นที่พูดเท็จอาจหลอกได้ในระยะหนึ่ง แต่ความเท็จจะไม่ได้รับชัยชนะในระยะยาว. ยิ่งกว่านั้น พระยะโฮวา พระเจ้าแห่งความจริง ได้ทรงกำหนดเวลาไว้แล้วว่าจะทรงทนกับความเท็จและคนที่สนับสนุนการโกหกไปอีกนานแค่ไหน. คัมภีร์ไบเบิลสัญญาว่าพระยะโฮวาจะกำจัดอิทธิพลของซาตานพญามาร พ่อของการมุสาผู้ชักนำมนุษย์ทั้งโลกให้หลง. ในไม่ช้า พระยะโฮวาจะทำให้การโกหกและคนที่โกหกทั้งหมดถึงจุดจบ.—วิวรณ์ 21:8.
เราคงจะโล่งใจจริง ๆ เมื่อในที่สุด “ริมฝีปากที่กล่าวคำจริง” จะตั้งมั่นคงถาวร!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 2 นามสมมุติ.
[คำโปรยหน้า 5]
ความโลภและความทะเยอทะยานที่เห็นแก่ตัวเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้คนมากมายโกหก
[คำโปรยหน้า 6]
การโกหกทุกอย่างเป็นการพูดไม่จริง แต่ไม่ใช่การพูดไม่จริงทุกอย่างเป็นการโกหก
[ภาพหน้า 6]
เราเรียนอะไรจากการที่เปโตรปฏิเสธพระคริสต์?
[ภาพหน้า 7]
การพูดความจริงทำให้มีสัมพันธภาพที่มั่นคงและน่าพึงพอใจ