เวสซัล กังส์ฟอร์ท “นักปฏิรูปก่อนยุคการปฏิรูป”
เวสซัล กังส์ฟอร์ท “นักปฏิรูปก่อนยุคการปฏิรูป”
ชื่อของลูเทอร์, ทินเดล, และแคลวินเป็น ที่รู้จักกันดีในบรรดาผู้ที่ศึกษาเรื่องการปฏิรูปโปรเตสแตนต์ซึ่งเริ่มในปี 1517. อย่างไรก็ตาม มีไม่กี่คนที่คุ้นกับชื่อของเวสซัล กังส์ฟอร์ท. เขาได้ชื่อว่าเป็น “นักปฏิรูปก่อนยุคการปฏิรูป.” คุณอยากรู้จักบุรุษผู้นี้มากขึ้นไหม?
เวสซัล เกิดปี 1419 ที่เมืองโกรนิงเกน ประเทศเนเธอร์แลนด์. ในศตวรรษที่ 15 น้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เรียนหนังสือ แต่เวสซัลได้เรียน. แม้เขาจะเรียนเก่งแต่ต้องออกจากโรงเรียนเมื่ออายุเก้าขวบเนื่องจากพ่อแม่ยากจนมาก. น่ายินดีที่มีหญิงม่ายผู้มั่งคั่งคนหนึ่งได้ยินเรื่องความฉลาดหลักแหลมของเวสซัล เธอจึงกลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์เขาและจ่ายค่าเล่าเรียนให้. ด้วยเหตุนั้น เวสซัลจึงสามารถเรียนต่อได้. ในที่สุด เขาก็ได้รับปริญญาโททางศิลปศาสตร์. ดูเหมือนว่า เขายังได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเทววิทยาในเวลาต่อมาด้วย.
เวสซัลหิวกระหายความรู้อย่างยิ่ง. อย่างไรก็ตาม สมัยนั้นมีห้องสมุดเพียงไม่กี่แห่ง. แม้ในยุคของเขาจะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ระบบตัวเรียงพิมพ์แล้วก็ตาม แต่หนังสือส่วนใหญ่ก็ยังคงเขียนด้วยมือและมีราคาแพง. เวสซัลเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้คงแก่เรียนกลุ่มหนึ่งซึ่งเดินทางจากห้องสมุดหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งและจากอารามหนึ่งไปยังอีกอารามหนึ่งเพื่อเสาะหาฉบับสำเนาพระคัมภีร์ที่หายากและหนังสือที่สาบสูญไปนานแล้ว. จากนั้น พวกเขาก็จะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือและเอกสารเหล่านั้นแก่กันและกัน. เวสซัลสั่งสมความรู้ไว้มากมายและเขียนบันทึกส่วนตัวโดยยกข้อความบางตอนจากงานเขียนภาษากรีกและละตินโบราณมาลงไว้ด้วย. บ่อยครั้งที่นักเทววิทยาคนอื่น ๆ รู้สึกสงสัยเนื่องจากเวสซัลรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน. เวสซัลถูกเรียกว่ามาจิสเตอร์ คอนทราดิคทิโอนิส หรือจอมโต้แย้ง.
“เหตุใดท่านจึงไม่ชี้นำข้าพเจ้าให้ไปหาพระคริสต์?”
ประมาณ 50 ปีก่อนการปฏิรูป เวสซัลได้พบกับโทมัส อะเคมปัส (ประมาณปี 1379-1471) ผู้ที่คนทั่วไปให้การยอมรับฐานะผู้แต่งหนังสือซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเด อิมมิเททิโอเน คริสตี (การเลียนแบบพระคริสต์). โทมัส อะเคมปัสเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรแห่งการดำเนินชีวิตเยี่ยงสามัญ (Brethren of the Common Life) ซึ่งเป็นขบวนการที่เน้นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินชีวิตอย่างถือเคร่ง. นักเขียนชีวประวัติของเวสซัลกล่าวว่า โทมัส อะเคมปัส กระตุ้นเวสซัลหลายต่อหลายครั้งให้วิงวอนพระแม่มาเรียเพื่อขอความช่วยเหลือ. เวสซัลโต้กลับโดยกล่าวว่า “เหตุใดท่านจึงไม่ชี้นำข้าพเจ้าให้ไปหาพระคริสต์ ผู้ซึ่งให้คำเชิญอย่างอบอุ่นแก่ทุกคนที่มีภาระหนักให้มาหาพระองค์?”
ตามที่รายงานไว้ เวสซัลไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการแต่งตั้งเขาให้เป็นบาทหลวง. เมื่อถูกถามว่าเหตุใดเขาจึงไม่ยอมปลงผมหรือโกนผมส่วนหนึ่งที่ศีรษะซึ่งบ่งชี้ถึงการเป็นสมาชิกของนักบวช เขาตอบว่าเขาไม่กลัวการแขวนคอตราบใดที่ยังมีสติครบถ้วน. ดูเหมือนว่า เขาพาดพิงถึงข้อเท็จจริงที่ว่านักบวชที่ได้รับการแต่งตั้งไม่อาจจะถูกฟ้องร้องได้ และที่จริงการปลงผมเป็นการปกป้องนักบวชหลายคนที่ทำผิดไม่ให้ถูกแขวนคอ! เวสซัลยังต่อต้านพิธีกรรมทางศาสนาที่ทำกันทั่วไปบางอย่าง. ตัวอย่างเช่น เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากปฏิเสธที่จะเชื่อเรื่องเหตุการณ์อัศจรรย์ต่าง ๆ ที่พรรณนาไว้ในหนังสือที่โด่งดังในสมัยของเขาที่ชื่อดิอะลอกุส มิราคูโลรุม. เพื่อเป็นการตอบโต้ เขากล่าวว่า “ดีกว่าที่จะอ่านจากพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์.”
“ยิ่งถามเท่าไรเราก็รู้มากเท่านั้น”
เวสซัลศึกษาภาษาฮีบรูและกรีกซึ่งทำให้เขาได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากงานเขียนของนักเขียนแห่งคริสตจักรรุ่นแรก. เนื่องจากเขามีชีวิตอยู่ก่อนสมัยเอราสมุสและรอยเคลน การที่เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษในภาษาดั้งเดิมที่ใช้เขียนคัมภีร์ไบเบิลนับเป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง. * ก่อนการปฏิรูป ความรู้ด้านภาษากรีกหาได้ยาก. ในเยอรมนีมีผู้คงแก่เรียนที่คุ้นเคยกับภาษากรีกเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น และไม่มีเครื่องช่วยในการเรียนภาษา. หลังจากที่พวกมุสลิมได้ยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี 1453 ดูเหมือนว่าเวสซัลได้มารู้จักกับนักบวชชาวกรีกที่หนีมายังประเทศตะวันตก และจึงทำให้เขามีโอกาสเรียนภาษากรีกพื้นฐานจากคนเหล่านั้น. ในสมัยนั้น ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ใช้ในหมู่ชาวยิว และดูเหมือนว่าเวสซัลเรียนภาษาฮีบรูพื้นฐานจากชาวยิวที่เปลี่ยนศาสนา.
เวสซัลรักคัมภีร์ไบเบิลอย่างยิ่ง. เขามองว่านี่เป็นหนังสือที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเชื่อว่าทุกพระธรรมในคัมภีร์ไบเบิลสอดคล้องลงรอยกันอย่างสมบูรณ์แบบ. สำหรับเวสซัลแล้ว การแปลข้อความในคัมภีร์ไบเบิลต้องสอดคล้องกับบริบทและไม่อาจบิดเบือนได้. คำอธิบายที่บิดเบือนมัดธาย 7:7 (ล.ม.) ที่กล่าวว่า “จงหาต่อ ๆ ไป แล้วท่านจะพบ.” เพราะข้อนี้นี่เองที่ทำให้เวสซัลเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า การถามเป็นเรื่องที่เหมาะสมเพราะ “ยิ่งถามเท่าไรเราก็รู้มากเท่านั้น.”
ทั้งหมดควรสงสัยว่าเป็นคำสอนนอกรีต. ข้อคัมภีร์โปรดข้อหนึ่งของเขาคือคำขอที่น่าประทับใจ
ในปี 1473 เวสซัลเดินทางไปที่โรม. ที่นั่นท่านได้รับอนุญาตให้พบโปปซิกส์ตุสที่ 4 ซึ่งเป็นโปปคนแรกในจำนวนหกคนที่การประพฤติผิดศีลธรรมอย่างชัดแจ้งของพวกเขานำไปสู่การปฏิรูปโปรเตสแตนต์ในที่สุด. บาร์บารา ดับเบิลยู. ทัคแมน นักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าซิกส์ตุสที่ 4 เป็นผู้เริ่มต้นยุคของ “การมุ่งติดตามผลประโยชน์ส่วนตัวและอำนาจทางการเมืองอย่างร้ายกาจ, โจ่งแจ้ง, ไร้ยางอาย.” เขาทำให้ผู้คนที่ไปโบสถ์และคนทั่วไปตกตะลึงเนื่องจากการเห็นแก่ญาติอย่างเปิดเผย. นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งเขียนว่า ซิกส์ตุสอาจต้องการให้ตำแหน่งโปปเป็นธุรกิจครอบครัว. มีไม่กี่คนที่กล้าตำหนิสิ่งที่ผิดเหล่านั้น.
อย่างไรก็ตาม เวสซัล กังส์ฟอร์ทต่างออกไป. วันหนึ่ง ซิกส์ตุสกล่าวกับเขาว่า “ลูกเอ๋ย จงขอสิ่งใดก็ได้ที่เจ้าประสงค์ และเราจะให้แก่เจ้า.” เวสซัลตอบทันทีว่า “พระบิดาองค์บริสุทธิ์ . . . เนื่องด้วยพระองค์ บนแผ่นดินโลกจึงมีที่สำหรับนักบวชและผู้บำรุงเลี้ยงที่สูงส่งที่สุด ข้าพระองค์ขอ . . . ให้พระองค์บรรลุหน้าที่อันสูงส่งในวิธีที่เมื่อผู้เลี้ยงแกะองค์ยิ่งใหญ่ . . . เสด็จมา พระเยซูอาจตรัสกับพระองค์ว่า ‘ดีมาก ผู้รับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ จงเข้าไปชื่นชมยินดีกับนายของเจ้า.’ ” ซิกส์ตุสตอบว่านี่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของท่านอยู่แล้วและกล่าวว่าเวสซัลน่าจะเลือกขอบางอย่างเพื่อตัวเอง. เวสซัลตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอคัมภีร์ไบเบิลที่มีภาษากรีกและฮีบรูเล่มหนึ่งจากห้องสมุดของวาติกัน.” โปปยอมให้ตามที่ขอแต่กล่าวว่าเวสซัลไม่ฉลาดเท่าไรและว่าเขาน่าจะขอตำแหน่งบิชอปมากกว่า!
“เรื่องโกหกและสิ่งที่ผิด”
เนื่องจากมีความต้องการเงินอย่างมากเพื่อสร้างวัดน้อยซิสตีนซึ่งมีชื่อเสียงในทุกวันนี้ ซิกส์ตุสจึงใช้วิธีการขาย
ใบลดโทษบาปสำหรับคนตาย. การลดโทษเช่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก. หนังสือตัวแทนของพระคริสต์—ด้านมืดของสถาบันโปป (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “แม่ม่ายและพ่อม่าย, บิดามารดาผู้เศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรได้ใช้เงินทั้งหมดเพื่อพยายามช่วยคนที่ตนรักให้พ้นจากไฟชำระ.” คนทั่วไปเต็มใจยอมรับการลดโทษบาป ซึ่งพวกเขาเชื่อเต็มที่ว่าโปปสามารถรับประกันว่าคนที่เขารักซึ่งเสียชีวิตไปจะได้ไปสวรรค์.อย่างไรก็ตาม เวสซัลเชื่ออย่างหนักแน่นว่าคริสตจักรคาทอลิก รวมถึงโปปด้วย ไม่สามารถให้อภัยบาปได้. เวสซัลเรียกอย่างเปิดเผยว่าการขายใบลดโทษบาปเป็น “เรื่องโกหกและสิ่งที่ผิด” อีกทั้งยังไม่เชื่อด้วยว่า การสารภาพบาปกับบาทหลวงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้รับการอภัยบาป.
เวสซัลยังตั้งข้อสงสัยความเชื่อที่ว่าโปปไม่มีวันผิดพลาดโดยกล่าวว่ารากฐานของความเชื่อคงจะอ่อนแอหากผู้คนถูกคาดหมายเสมอให้เชื่อในโปป เพราะแม้แต่โปปก็ยังทำผิด. เวสซัลเขียนว่า “หากพระราชาคณะไม่นับถือพระบัญชาของพระเจ้าและตั้งกฎของตนเองขึ้น . . . สิ่งที่เขาทำและบัญชาก็ไร้ประโยชน์.”
เวสซัลเตรียมทางสำหรับ การปฏิรูป
เวสซัลเสียชีวิตในปี 1489. แม้ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับบางสิ่งที่ผิดในคริสตจักร แต่เขาก็ยังคงเป็นคาทอลิก. กระนั้น เขาไม่เคยถูกประณามจากคริสตจักรว่าเป็นพวกนอกรีต. อย่างไรก็ตาม หลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว นักบวชชาวคาทอลิกที่คลั่งศาสนาพยายามทำลายงานเขียนของเขาเพราะถือว่าไม่บริสุทธิ์. พอถึงสมัยของลูเทอร์ ชื่อของเวสซัลก็เกือบจะถูกลืม ไม่มีการพิมพ์งานเขียนของเขา และมีต้นฉบับไม่มากนักที่รอดจากการถูกทำลายมาได้. ในที่สุด งานเขียนของเวสซัลฉบับพิมพ์ครั้งแรกได้ถูกนำมาตีพิมพ์ระหว่างปี 1520 และ 1522. สิ่งที่นำมาตีพิมพ์รวมไปถึงจดหมายที่ลูเทอร์เขียนเชิดชูผลงานของเวสซัลเป็นส่วนตัว.
แม้เวสซัลไม่ใช่นักปฏิรูปดังเช่นลูเทอร์ แต่เขาไม่รีรอที่จะตำหนิบางสิ่งที่ผิดซึ่งนำไปสู่การปฏิรูป. ที่จริง เขาได้รับการพรรณนาโดยไซโคลพีเดียของแมกคลินทอกและสตรองก์ว่าเป็น “บุคคลที่สำคัญที่สุดในท่ามกลางผู้ที่มีเชื้อสายเยอรมันซึ่งช่วยเตรียมทางไว้สำหรับการปฏิรูป.”
ลูเทอร์มองเวสซัลเป็นฝ่ายเดียวกัน. นักประพันธ์ ซี. เอากุสไตน์เขียนว่า “ลูเทอร์เปรียบยุคและชะตากรรมของตนเป็นเหมือนของเอลียา. เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์เอลียาที่คิดว่าตนถูกละไว้ให้สู้รบในสงครามของพระเจ้าเพียงลำพัง ลูเทอร์ก็รู้สึกว่ามีเพียงเขาเท่านั้นที่ต่อสู้กับคริสตจักร. แต่หลังจากอ่านงานเขียนของเวสซัล เขาตระหนักว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ช่วยชีวิต ‘ชนที่เหลือแห่งอิสราเอล.’ ” “ลูเทอร์ถึงกับประกาศว่า ‘หากข้าฯ อ่านงานเขียนของเขาก่อนหน้านี้ ศัตรูของข้าฯ อาจคิดว่าลูเทอร์ซึมซับเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาจากเวสซัล ความคิดของเขาตรงกับความคิดของข้าฯ มากถึงเพียงนี้.’ ” *
“ท่านจะพบ”
การปฏิรูปไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน. กระแสความคิดที่นำไปสู่การปฏิรูปได้หลั่งไหลมาระยะหนึ่งแล้ว. เวสซัลตระหนักว่า สถาบันโปปที่เสื่อมลงจะนำไปสู่ความปรารถนาที่จะทำการปฏิรูปในที่สุด. ครั้งหนึ่งเขากล่าวแก่นักศึกษาว่า “เยาวชนผู้ใฝ่หาความรู้เอ๋ย เจ้าจะมีชีวิตอยู่เพื่อเห็นสมัยเมื่อคำสอนของ . . . เหล่านักเทววิทยาที่ชอบโต้เถียงกันจะถูกปฏิเสธโดยบรรดาผู้คงแก่เรียนซึ่งเป็นคริสเตียนแท้.”
แม้เวสซัลเห็นกิจปฏิบัติบางอย่างที่เสื่อมเสียในสมัยของเขา แต่เขาก็ไม่สามารถทำให้แสงสว่างของความจริงในคัมภีร์ไบเบิลส่องสว่างได้อย่างเต็มที่. กระนั้น สำหรับเขาแล้ว คัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือที่ควรอ่านและศึกษา. ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสเตียน (ภาษาอังกฤษ) เวสซัล “ถือว่าคัมภีร์ไบเบิลซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเรื่องความเชื่อ.” ในโลกสมัยปัจจุบัน คริสเตียนแท้เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นพระคำของพระเจ้าที่มีขึ้นโดยการดลใจ. (2 ติโมเธียว 3:16) อย่างไรก็ตาม ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลใช่ว่าจะเคลือบคลุมหรือยากที่จะหาพบอีกต่อไป. ทุกวันนี้ หลักการของคัมภีร์ไบเบิลเป็นจริงยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมาที่ว่า “จงหาต่อ ๆ ไป แล้วท่านจะพบ.”—มัดธาย 7:7, ล.ม.; สุภาษิต 2:1-6.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 บุรุษทั้งสองเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้มีการศึกษาภาษาเดิมของคัมภีร์ไบเบิล. ในปี 1506 รอยเคลนตีพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ภาษาฮีบรูซึ่งนำไปสู่การศึกษาพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น. เอราสมุสตีพิมพ์ข้อความภาษากรีกที่เป็นต้นแบบของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกในปี 1516.
^ วรรค 21 เวสซัล กังส์ฟอร์ท (1419-1489) และมนุษยนิยมในยุโรปเหนือ (ภาษาดัตช์) หน้า 9, 15.
[กรอบ/ภาพหน้า 14]
เวสซัล และพระนามของพระเจ้า
ในงานเขียนของเวสซัล พระนามของพระเจ้าโดยทั่วไปใช้คำว่า “โยฮาวา.” อย่างไรก็ตาม เวสซัลใช้คำ “ยิโฮวา” อย่างน้อยสองครั้ง. ในการวิเคราะห์แนวคิดของเวสซัล นักประพันธ์ เอช. เอ. โอเบอร์มัน ลงความเห็นว่า เวสซัลรู้สึกว่า ถ้าโทมัส อะกวีนัสและคนอื่น ๆ รู้ภาษาฮีบรู “พวกเขาคงจะพบว่าพระนามของพระเจ้าที่เผยให้โมเซรู้ไม่ได้หมายความว่า ‘เราเป็นซึ่งเราเป็น’ แต่หมายความว่า ‘เราจะเป็นซึ่งเราจะเป็น.’ ” * ฉบับแปลโลกใหม่ ให้ความหมายที่ถูกต้องว่า “เราจะเป็นอย่างที่เราประสงค์จะเป็น.”—เอ็กโซโด 3:13, 14, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 30 เวสซัล กังส์ฟอร์ท (1419-1489) และมนุษยนิยมในยุโรปเหนือ (ภาษาดัตช์) หน้า 105.
[ที่มาของภาพ]
Manuscript: Universiteitsbibliotheek, Utrecht
[ภาพหน้า 15]
เวสซัลได้คัดค้านการขายใบลดโทษบาปที่โปปซิกส์ตุสที่ 4 เป็นผู้เห็นชอบ