ให้เรายกย่องพระนามพระยะโฮวาด้วยกัน
ให้เรายกย่องพระนามพระยะโฮวาด้วยกัน
“ท่านทั้งหลายจงมาสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันกับข้าพเจ้า, ให้เราพร้อมใจกันเยินยอพระนามของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 34:3.
1. พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีเช่นไรระหว่างทรงรับใช้บนแผ่นดินโลก?
ในคืนวันที่ 14 เดือนไนซาน สากลศักราช 33 พระเยซูและเหล่าอัครสาวกร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันในห้องชั้นบนของบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยรูซาเลม. (มัดธาย 26:30) นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่พระเยซูจะได้ทำอย่างนั้นกับเหล่าอัครสาวก. แต่นับว่าเหมาะที่พระองค์จะปิดท้ายการประชุมกับพวกเขาอย่างนั้น. ในการรับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลกตั้งแต่ต้นจนจบ พระเยซูทรงสรรเสริญพระบิดาและประกาศพระนามของพระบิดาอย่างกระตือรือร้น. (มัดธาย 4:10; 6:9; 22:37, 38; โยฮัน 12:28; 17:6) ที่จริง พระองค์ทรงสะท้อนความรู้สึกในคำเชิญอันอบอุ่นของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงมาสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันกับข้าพเจ้า, ให้เราพร้อมใจกันเยินยอพระนามของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:3) ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีจริง ๆ ที่เราควรเอาอย่าง!
2, 3. (ก) เราทราบได้อย่างไรว่าเพลงสรรเสริญบท 34 มีความหมายเชิงพยากรณ์? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้และบทความถัดไป?
2 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากร้องเพลงสรรเสริญด้วยกันกับพระเยซู อัครสาวกโยฮันก็เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ที่ต่างกันมาก. ท่านเห็นอาจารย์ของท่านและอาชญากรสองคนถูกตรึงให้ตายบนหลักทรมาน. ทหารโรมันทุบกระดูกขาของอาชญากรสองคนนั้นเพื่อเร่งให้ตายเร็วขึ้น. แต่โยฮันรายงานว่าพวกเขาไม่ได้ทุบกระดูกขาของพระเยซู. เมื่อพวกทหารมาถึงพระเยซู พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว. ในกิตติคุณของท่าน โยฮันระบุว่าเหตุการณ์นั้นเป็นความสำเร็จเป็นจริงของอีกส่วนหนึ่งในเพลงสรรเสริญบท 34 ที่ว่า “กระดูกของพระองค์จะไม่หักสักท่อนเดียว.”—โยฮัน 19:32-36, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 34:20.
3 เพลงสรรเสริญบท 34 มีจุดอื่นอีกหลายจุดที่น่าสนใจสำหรับคริสเตียน. ด้วยเหตุนั้น ในบทความนี้และบทความถัดไป เราจะทบทวนเหตุการณ์ที่ทำให้ดาวิดเขียนเพลงสรรเสริญบทนี้และจากนั้นก็จะพิจารณาตัวเนื้อหาที่ให้กำลังใจของเพลงสรรเสริญบทนี้.
ดาวิดหนีซาอูล
4. (ก) เหตุใดดาวิดจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์อิสราเอลในอนาคต? (ข) เหตุใดซาอูลจึง “ทรงรักดาวิดมาก”?
4 เมื่อดาวิดยังเยาว์ ซาอูลเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล. อย่างไรก็ตาม ซาอูลกลายเป็นคนไม่เชื่อฟังและสูญเสียความโปรดปรานจากพระยะโฮวา. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้พยากรณ์ซามูเอลจึงบอกท่านว่า “พระยะโฮวาได้ทรงบันดาลให้แผ่นดินยิศราเอลขาดจากท่านวันนี้, และทรงยกประทานให้แก่ผู้อื่นที่ดีกว่าท่าน.” (1 ซามูเอล 15:28) ต่อมา พระยะโฮวาทรงชี้นำซามูเอลให้เจิมดาวิด บุตรคนเล็กสุดของยิซัย ให้เป็นกษัตริย์อิสราเอลองค์ถัดไป. ในระหว่างนั้น เพราะสูญเสียพระวิญญาณของพระเจ้า กษัตริย์ซาอูลจึงมีอารมณ์ขุ่นมัว. ดาวิด ซึ่งเป็นนักดนตรีฝีมือดี ถูกเรียกตัวมายังเมืองกิบอาห์เพื่อรับใช้กษัตริย์ และดนตรีของดาวิดได้ช่วยขับกล่อมซาอูล ซาอูลจึง “ทรงรักดาวิดมาก.”—1 ซามูเอล 16:11, 13, 21, 23, ฉบับแปลใหม่.
5. เหตุใดเจตคติของซาอูลต่อดาวิดจึงเปลี่ยนไป และดาวิดถูกบีบให้ทำอะไร?
5 เมื่อเวลาผ่านไป เห็นได้ชัดว่าพระยะโฮวาทรงอยู่กับดาวิด. พระยะโฮวาทรงช่วยท่านให้เอาชนะฆาละยัธชายร่างยักษ์ชาวฟิลิสติน และทรงสนับสนุนท่านขณะที่ท่านกลายมาเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องในอิสราเอลเพราะความสามารถในการรบ. อย่างไรก็ตาม พระพรของพระยะโฮวาที่ดาวิดได้รับทำให้ซาอูลอิจฉา และกลับกลายเป็น1 ซามูเอล 18:11; 19:9, 10.
เกลียดดาวิด. สองครั้งสองคราขณะดาวิดบรรเลงพิณต่อพระพักตร์ซาอูล กษัตริย์ซัดหอกใส่ท่าน. ดาวิดหลบหอกได้ทั้งสองครั้ง. เมื่อซาอูลพยายามฆ่าท่านเป็นครั้งที่สาม ชายหนุ่มผู้จะเป็นกษัตริย์อิสราเอลในวันข้างหน้าก็ตระหนักว่าจำเป็นต้องหนีเอาชีวิตรอด. ในที่สุด เนื่องจากซาอูลพยายามอย่างไม่หยุดยั้งจะจับและฆ่าท่าน ดาวิดจึงตัดสินใจลี้ภัยไปอยู่นอกอาณาเขตของอิสราเอล.—6. เหตุใดซาอูลจึงออกคำสั่งฆ่าชาวเมืองโนบ?
6 ระหว่างทางไปยังชายแดนของอิสราเอล ดาวิดแวะที่เมืองโนบ ซึ่งพลับพลาของพระยะโฮวาตั้งอยู่ที่นั่น. ดูเหมือนว่า ดาวิดมาด้วยกันกับคนหนุ่มหลายคนที่ตามมาคุ้มกันท่าน และดาวิดได้ขออาหารและเครื่องดื่มสำหรับพวกเขาและตัวท่านเอง. ซาอูลได้ข่าวว่ามหาปุโรหิตได้ให้อาหารแก่ดาวิดและคนของท่าน อีกทั้งให้ดาบที่ดาวิดยึดเอามาจากศพฆาละยัธ. ด้วยความกริ้ว ซาอูลสั่งให้ฆ่าชาวเมืองทั้งสิ้นในเมืองนี้ รวมทั้งปุโรหิต 85 คน.—1 ซามูเอล 21:1, 2; 22:12, 13, 18, 19; มัดธาย 12:3, 4.
หนีเอาชีวิตรอดอีกครั้งหนึ่ง
7. เหตุใดเมืองกาทไม่ใช่ที่ซ่อนตัวที่ปลอดภัยสำหรับดาวิด?
7 จากเมืองโนบ ดาวิดหนีไปทางตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตรเข้าไปในเขตแดนฟิลิสติน และขอลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์อาคิศที่บ้านเกิดของฆาละยัธ คือเมืองกาท (ฆัธ). อาจเป็นได้ว่าดาวิดหาเหตุผลว่ากาทคงเป็นสถานที่แห่งสุดท้ายที่ซาอูลจะค้นหาท่าน. ทว่า ไม่นานนัก ข้าราชการของกษัตริย์เมืองกาทก็จำดาวิดได้. เมื่อดาวิดได้ยินว่ามีคนจำท่านได้ ท่านก็ “กลัวอาคิศเจ้าแผ่นดินฆัธอย่างยิ่ง.”—1 ซามูเอล 21:10-12.
8. (ก) เพลงสรรเสริญบท 56 บอกอะไรแก่เราเกี่ยวกับประสบการณ์ของดาวิดในเมืองกาท? (ข) ดาวิดรอดพ้นความตายได้อย่างหวุดหวิดอย่างไร?
8 จากนั้น พวกฟิลิสตินจับตัวดาวิดไว้. อาจเป็นในคราวนี้เองที่ดาวิดประพันธ์เพลงสรรเสริญที่แสดงความรู้สึกจากหัวใจ ซึ่งท่านวิงวอนต่อพระยะโฮวาว่า “พระองค์ทรงเก็บน้ำตาของข้าพเจ้าไว้ในขวดของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 56:8) โดยวิธีนั้น ท่านแสดงความเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะไม่ลืมความโศกเศร้าของท่าน แต่จะทรงดูแลและ ปกป้องท่านด้วยความรัก. ดาวิดยังได้คิดแผนขึ้นมาเพื่อหลอกกษัตริย์ฟิลิสติน. ท่านแสร้งทำกิริยาอาการเหมือนเป็นบ้า. เมื่อเห็นอย่างนั้น กษัตริย์อาคิศจึงดุว่าข้าราชการของเขาที่พา “คนบ้า” เข้ามาหาเขา. เห็นได้ชัด พระยะโฮวาทรงสนับสนุนแผนของดาวิด. ดาวิดถูกขับออกจากเมือง รอดพ้นความตายได้อย่างหวุดหวิด.—1 ซามูเอล 21:13-15.
9, 10. ดาวิดเขียนเพลงสรรเสริญบท 34 เพราะเหตุผลใด และดาวิดอาจคิดถึงใครเมื่อประพันธ์เพลงบทนี้?
9 คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าคนเหล่านั้นที่สนับสนุนดาวิดได้หนีเข้าไปอยู่ในเมืองกาทกับท่าน หรือว่าคอยเฝ้าระวังให้ท่านอยู่ในหมู่บ้านของอิสราเอลที่อยู่ใกล้ ๆ กัน. ไม่ว่าจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร คงต้องมีการกลับมารวมตัวกันอย่างมีความสุขเมื่อดาวิดรายงานให้พวกเขาทราบถึงวิธีที่พระยะโฮวาได้ช่วยท่านให้รอดอีกครั้งหนึ่ง. เหตุการณ์นั้นเป็นที่มาของข้อความในเพลงสรรเสริญบท 34 ดังแจ้งไว้ที่จ่าหน้าบท (ฉบับแปลใหม่). ในเจ็ดข้อแรกของเพลงสรรเสริญบทนี้ ดาวิดสรรเสริญพระเจ้าที่ได้ช่วยท่านให้รอดและเชิญเหล่าผู้สนับสนุนท่านให้ร่วมกับท่านในการยกย่องพระยะโฮวาในฐานะที่ทรงเป็นผู้ช่วยชีวิตองค์ยิ่งใหญ่สำหรับประชาชนของพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 34:3, 4, 7.
10 ดาวิดและคนของท่านพบที่ปลอดภัยในถ้ำอะดุลลัมในเขตภูเขาของอิสราเอล ห่างจากเมืองกาทไปทางตะวันออกประมาณสิบห้ากิโลเมตร. ที่นั่น ชาวอิสราเอลที่ไม่ชอบใจกับสภาพชีวิตภายใต้การปกครองของกษัตริย์ซาอูลเริ่มเข้ามาร่วมสมทบกับพวกเขา. (1 ซามูเอล 22:1, 2) เมื่อดาวิดประพันธ์เนื้อเพลงของบทเพลงสรรเสริญ 34:8-22 ท่านอาจนึกถึงคนเหล่านี้อยู่ในใจก็เป็นได้. ข้อเตือนใจในข้อเหล่านี้ยังสำคัญสำหรับเราในทุกวันนี้ด้วย และเราจะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนจากการพิจารณาเพลงสรรเสริญที่ไพเราะบทนี้อย่างละเอียด.
คุณมีความห่วงใยในอันดับแรกแบบดาวิดไหม?
11, 12. เรามีเหตุผลอะไรที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาอยู่เสมอ?
11 “ข้าพเจ้าจะถวายความสรรเสริญแก่พระยะโฮวาทุกเวลา; คำเพลงสรรเสริญพระองค์จะติดปากข้าพเจ้าอยู่เสมอ.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:1) โดยอยู่อย่างคนที่ถูกขับไล่ไสส่ง ดาวิดคงต้องมีความกังวลหลายอย่างด้านวัตถุ แต่ดังที่ถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็น ความทุกข์ใจในแต่ละวันไม่ได้บดบังความตั้งใจแน่วแน่ของท่านที่จะสรรเสริญพระยะโฮวา. ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีจริง ๆ สำหรับเราเมื่อเราเผชิญความยุ่งยากลำบาก! ไม่ว่าเราอยู่ที่โรงเรียน, อยู่ที่ทำงาน, อยู่กับเพื่อนคริสเตียน, หรืออยู่ในงานประกาศ ความปรารถนาสูงสุดของเราควรได้แก่การสรรเสริญพระยะโฮวา. ขอให้ลองคิดดูถึงเหตุผลนับไม่ถ้วนที่เราทำอย่างนั้น! ตัวอย่างเช่น มีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เราจะสำรวจและชื่นชมในฝีพระหัตถ์การทรงสร้างอันมหัศจรรย์ของพระเจ้าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด. และขอให้พิจารณาสิ่งที่พระองค์ได้ทำให้สำเร็จไปแล้วโดยทางองค์การของพระองค์ส่วนที่อยู่บนแผ่นดินโลก! แม้ว่าพวกเขาไม่สมบูรณ์ แต่พระยะโฮวาได้ใช้มนุษย์ที่ซื่อสัตย์อย่างมีพลังในสมัยปัจจุบัน. พระราชกิจของพระเจ้าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับงานของมนุษย์บางคนที่ผู้คนในโลกเคารพเทิดทูนราวกับพระเจ้า? คุณเห็นด้วยกับดาวิดมิใช่หรือ ซึ่งได้เขียนไว้ด้วยว่า “ข้าแต่พระเจ้า, ในท่ามกลางพระทั้งหลายหามีองค์ใดจะเหมือนพระองค์ไม่; หรือจะหากิจใด ๆ เหมือนกิจของพระองค์ก็หาไม่”?—บทเพลงสรรเสริญ 86:8.
12 เช่นเดียวกับดาวิด เรารู้สึกถูกกระตุ้นให้สรรเสริญพระยะโฮวาอยู่เสมอเพราะพระราชกิจของพระองค์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้. นอกจากนั้น เราตื่นเต้นอย่างยิ่งที่ทราบว่าบัดนี้ราชอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ในพระหัตถ์รัชทายาทองค์ถาวรของดาวิด คือพระเยซูคริสต์. (วิวรณ์ 11:15) นี่หมายความว่าอวสานของระบบนี้ใกล้จะถึงแล้ว. อนาคตถาวรของมนุษย์กว่าหกพันล้านคนอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อความหายนะ. ไม่เคยมีความจำเป็นมากกว่านี้มาก่อนที่จะบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าและสิ่งที่ราชอาณาจักรนี้จะทำในไม่ช้าเพื่อมนุษยชาติและเพื่อช่วยพวกเขาให้สรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันกับเรา. แน่นอน สิ่งสำคัญอันดับแรกในชีวิตเราควรได้แก่การใช้ทุกโอกาสเพื่อสนับสนุนคนอื่นให้รับเอา “ข่าวดี” นี้ก่อนที่จะสายเกินไป.—มัดธาย 24:14, ล.ม.
13. (ก) ดาวิดอวดใคร และผู้คนแบบไหนที่ตอบรับ? (ข) คนอ่อนน้อมถูกชักนำให้เข้ามาสู่ประชาคมคริสเตียนในปัจจุบันโดยวิธีใด?
13 “จิตต์วิญญาณของข้าพเจ้าจะอวดอ้างถึงพระยะโฮวา; ผู้ที่ถ่อมใจลงจะได้ยิน, และชื่นชม.” (บทเพลงสรรเสริญ ) ในที่นี้ ดาวิดไม่ได้โอ้อวดความสำเร็จใด ๆ ที่ท่านได้ทำ. ตัวอย่างเช่น ท่านไม่ได้โอ้อวดเกี่ยวกับวิธีที่ท่านหลอกกษัตริย์เมืองกาท. ท่านตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงปกป้องท่านเมื่อท่านอยู่ในเมืองกาท และที่ท่านรอดมาได้ก็เพราะความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา. ( 34:2สุภาษิต 21:1) ดังนั้น ดาวิดไม่อวดตัวท่านเอง แต่อวดพระยะโฮวา. เนื่องด้วยเหตุนี้ บรรดาคนอ่อนน้อมจึงถูกชักนำมาหาพระยะโฮวา. พระเยซูทรงสรรเสริญพระนามพระยะโฮวาเช่นเดียวกัน และนั่นชักนำผู้คนที่ใจถ่อมและสามารถสอนได้ให้มาหาพระยะโฮวา. ในทุกวันนี้ คนอ่อนน้อมจากชาติทั้งมวลถูกชักนำให้เข้ามาสู่ประชาคมนานาชาติแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิม ซึ่งมีพระเยซูเป็นประมุข. (โกโลซาย 1:18) หัวใจของคนอ่อนน้อมเช่นนั้นถูกกระตุ้นเมื่อพวกเขาได้ยินพระนามของพระเจ้าซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูโดยผู้รับใช้ที่มีใจถ่อมของพระองค์ และเมื่อพวกเขาได้ยินข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าช่วยพวกเขาให้เข้าใจได้.—โยฮัน 6:44; กิจการ 16:14.
การประชุมเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็ง
14. (ก) ดาวิดพอใจที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาเป็นส่วนตัวเท่านั้นไหม? (ข) พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรไว้ในเรื่องการประชุมเพื่อนมัสการ?
14 “ท่านทั้งหลายจงมาสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันกับข้าพเจ้า, ให้เราพร้อมใจกันเยินยอพระนามของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:3) ดาวิดไม่พอใจเพียงแค่การสรรเสริญพระยะโฮวาเป็นส่วนตัว. ท่านเชิญมิตรสหายอย่างอบอุ่นให้ร่วมกับท่านในการยกย่องเชิดชูพระนามของพระเจ้า. คล้ายกัน พระเยซูคริสต์ ดาวิดผู้ยิ่งใหญ่ ทรงยินดีที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาต่อหน้าผู้อื่น—ที่ธรรมศาลาในท้องถิ่น, ที่เทศกาล ณ พระวิหารของพระเจ้าในกรุงเยรูซาเลม, และเมื่อร่วมสมาคมคบหากับเหล่าสาวก. (ลูกา 2:49; 4:16-19; 10:21; โยฮัน 18:20) ช่างเป็นสิทธิพิเศษอันน่ายินดีจริง ๆ ที่จะทำตามแบบอย่างของพระเยซูด้วยการสรรเสริญพระยะโฮวาในทุกโอกาสที่เป็นไปได้ร่วมกับเพื่อนร่วมความเชื่อ โดยเฉพาะในเวลานี้เมื่อเรา “เห็นวันเวลานั้นใกล้เข้ามาแล้ว”!—เฮ็บราย 10:24, 25.
15. (ก) ประสบการณ์ของดาวิดมีผลกระทบเช่นไรต่อคนของท่าน? (ข) เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเข้าร่วมประชุม?
15 “เมื่อข้าพเจ้าได้แสวงหาพระยะโฮวา, พระองค์ได้ทรงตอบข้าพเจ้า, และได้ทรงช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากความหวาดกลัวทั้งปวง.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:4) ประสบการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อดาวิด. ด้วยเหตุนั้น ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า “คนอนาถาผู้นี้ได้ร้องทูลต่อพระยะโฮวา, และพระองค์ก็ได้ทรงสดับฟัง, และได้ช่วยเขาให้พ้นจากบรรดาความทุกข์ยากนั้น.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:6) เมื่อคบหาสมาคมกับเพื่อนร่วมความเชื่อ เรามีโอกาสมากมายที่จะเล่าประสบการณ์ที่เสริมสร้างเกี่ยวกับวิธีที่พระยะโฮวา ได้ช่วยเราให้อดทนสถานการณ์ที่ยุ่งยากลำบากต่าง ๆ. การทำอย่างนี้เสริมความเชื่อเพื่อนร่วมความเชื่อของเราให้เข้มแข็ง เช่นเดียวกับที่ถ้อยคำของดาวิดเสริมความเชื่อของเหล่าผู้สนับสนุนท่าน. ในกรณีของดาวิด สหายของท่าน “เพ่งดู [พระยะโฮวา] และเบิกบาน เพื่อหน้าตาของเขาจะไม่ต้องอาย.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:5, ฉบับแปลใหม่) แม้อยู่ในช่วงที่หนีกษัตริย์ซาอูล พวกเขาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย. พวกเขาเชื่อมั่นว่าพระเจ้าทรงหนุนหลังดาวิดอยู่ และใบหน้าของพวกเขาจึงเบิกบาน. ในทำนองเดียวกัน ผู้สนใจใหม่รวมทั้งคนที่เป็นคริสเตียนแท้มานานต่างก็หมายพึ่งการสนับสนุนจากพระยะโฮวา. เนื่องจากพวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์เป็นส่วนตัว ใบหน้าที่ฉายแววยินดีสะท้อนให้เห็นความตั้งใจแน่วแน่ของพวกเขาที่จะรักษาความซื่อสัตย์เสมอ.
จงหยั่งรู้ค่าความช่วยเหลือจากทูตสวรรค์
16. พระยะโฮวาได้ใช้ทูตสวรรค์ให้ช่วยเราอย่างไร?
16 “ทูตของพระยะโฮวาแวดล้อมเหล่าคนที่ยำเกรงพระองค์, และทรงช่วยเขาให้พ้นจากภัยอันตราย.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:7) ดาวิดไม่ได้มองว่าการช่วยให้พ้นอันตรายที่ท่านได้รับจากพระยะโฮวาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับท่านเท่านั้น. จริงอยู่ ดาวิดเป็นผู้ที่พระยะโฮวาทรงเจิมและจะเป็นกษัตริย์ของอิสราเอลในวันข้างหน้า; แต่ท่านทราบว่าพระยะโฮวาทรงใช้เหล่าทูตสวรรค์ให้สอดส่องดูแลผู้นมัสการที่ซื่อสัตย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคนมีชื่อเสียงหรือเป็นคนต่ำต้อย. ในสมัยปัจจุบันนี้ ผู้นมัสการแท้ทั้งหลายได้รับการปกป้องจากพระยะโฮวาด้วยเช่นกัน. ในเยอรมนีสมัยนาซี—รวมทั้งในแองโกลา, มาลาวี, โมซัมบิก, และในดินแดนอื่น ๆ อีกมากมาย—เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ดำเนินการโดยหวังจะกวาดล้างพยานพระยะโฮวาให้สิ้นซาก. ความพยายามของพวกเขาล้มเหลว. แทนที่จะเป็นอย่างที่เขาหวัง ประชาชนของพระยะโฮวาในดินแดนเหล่านั้นรุ่งเรืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พวกเขายกย่องเชิดชูพระนามของพระเจ้าด้วยกัน. เพราะเหตุใด? เพราะพระยะโฮวาทรงใช้เหล่าทูตสวรรค์บริสุทธิ์ให้ปกป้องและชี้นำประชาชนของพระองค์.—เฮ็บราย 1:14.
17. ทูตสวรรค์ของพระเจ้าช่วยเราในทางใดบ้าง?
17 นอกจากนั้น ทูตสวรรค์ของพระยะโฮวาสามารถจัดการด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อขจัดคนที่ทำให้ผู้อื่นสะดุดออกไปจากหมู่ประชาชนของพระยะโฮวา. (มัดธาย 13:41; 18:6, 10) และแม้ว่าเราอาจไม่รู้ตัวในตอนนั้น ทูตสวรรค์ขจัดอุปสรรคที่อาจขัดขวางงานรับใช้ที่เราถวายแด่พระเจ้า และพวกเขาปกป้องเราจากสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา. ที่สำคัญที่สุด พวกเขาชี้นำเราในงานประกาศ “ข่าวดีนิรันดร์” แก่มนุษยชาติทั้งสิ้น รวมถึงคนที่อยู่ในที่ที่งานประกาศดำเนินอยู่ภายใต้สภาพที่อันตราย. (วิวรณ์ 14:6, ล.ม.) หลักฐานเกี่ยวกับความช่วยเหลือของทูตสวรรค์มีลงอยู่บ่อย ๆ ในสรรพหนังสืออธิบายคัมภีร์ไบเบิลที่พยานพระยะโฮวาจัดพิมพ์. * ประสบการณ์เหล่านั้นมีจำนวนมากเกินกว่าจะถือว่าเป็นเรื่องบังเอิญ.
18. (ก) เราจำเป็นต้องทำอะไรเพื่อจะได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือของทูตสวรรค์? (ข) จะมีการพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
18 เพื่อจะได้รับประโยชน์ต่อ ๆ ไปจากการชี้นำและการปกป้องจากทูตสวรรค์ เราต้องยกย่องเชิดชูพระนามของพระยะโฮวาต่อไปแม้เมื่อเผชิญการต่อต้าน. จำไว้ว่า ทูตสวรรค์ของพระเจ้าแวดล้อมเฉพาะ “เหล่าคนที่ยำเกรง [พระยะโฮวา].” นั่นหมายถึงอะไร? ความเกรงกลัวพระเจ้าคืออะไร และเราจะปลูกฝังได้โดยวิธีใด? เหตุใดพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรักทรงประสงค์ให้เราเกรงกลัวพระองค์? จะมีการพิจารณาคำถามเหล่านี้ในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 โปรดดูพยานพระยะโฮวา—ผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า (ภาษาอังกฤษ) หน้า 550; หนังสือประจำปีแห่งพยานพระยะโฮวา 2005 (ภาษาอังกฤษ) หน้า 53, 54; หอสังเกตการณ์ 1 มีนาคม 2000 หน้า 5-6; 1 มกราคม 1991 หน้า 28; และ 15 กุมภาพันธ์ 1991 หน้า 22.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ดาวิดอดทนกับความยากลำบากอะไรเมื่อยังหนุ่ม?
• เช่นเดียวกับดาวิด เราเป็นห่วงสนใจในเรื่องใดเป็นอันดับแรก?
• เรามีทัศนะอย่างไรต่อการประชุมคริสเตียน?
• พระยะโฮวาทรงใช้ทูตสวรรค์ของพระองค์ให้ช่วยเราอย่างไร?
[คำถาม]
[แผนที่หน้า 21]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
รามาห์
กาท
ซิคลัก
กิบอาห์
เยรูซาเลม
อะดุลลัม
เคลาห์
เฮบโรน
ซิฟ
โฮเรช
มาโอน
โนบ
เบทเลเฮม
เอน-เกดี
คาร์เมล
ทะเลเค็ม
[ที่มาของภาพ]
Map: Based on maps copyrighted by Pictorial Archive (Near Eastern History) Est. and Survey of Israel
[ภาพหน้า 21]
แม้ตกอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย ดาวิดยกย่องเชิดชูพระนามของพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 23]
ความเชื่อของเราได้รับการเสริมให้เข้มแข็งเมื่อเราฟังประสบการณ์ที่เสริมสร้าง ณ การประชุมคริสเตียน