การถวายเครื่องบูชาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย
การถวายเครื่องบูชาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย
“ชีวิตเกิดจากความตาย—ชาวแอซเทกซึ่งบูชายัญมนุษย์จำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมโสอเมริกาเชื่อเช่นนั้น” หนังสือชาวแอซเทกผู้ยิ่งใหญ่ (ภาษาอังกฤษ) กล่าว. หนังสือนั้นกล่าวต่อไปว่า “เมื่อจักรวรรดินั้นขยายตัว มีแต่เลือดและเลือดมากขึ้นเท่านั้นที่จะเสริมสร้างความมั่นใจอันเปราะบางแก่จักรวรรดิ.” ตามที่อีกแหล่งอ้างอิงหนึ่งกล่าวไว้ ชาวแอซเทกบูชายัญมนุษย์ถึงปีละ 20,000 คน.
ตลอดประวัติศาสตร์มา มนุษย์ถวายเครื่องบูชาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่พระของตนเนื่องจากความกลัวและความไม่มั่นคง หรือถูกกระตุ้นโดยความรู้สึกผิดและความเสียใจ. ในอีกด้านหนึ่ง คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่าการถวายเครื่องบูชาบางอย่างได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยพระยะโฮวาพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ. ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะถามว่า “เครื่องบูชาชนิดใดที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย? และของถวายและเครื่องบูชาควรเป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการในทุกวันนี้ไหม?
ของถวายและเครื่องบูชาสำหรับการนมัสการแท้
เมื่อชาติอิสราเอลถูกตั้งขึ้น พระยะโฮวาประทานคำสั่งอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนมัสการที่พระองค์ประสงค์จากชาวอิสราเอล ซึ่งก็รวมถึงของถวายและเครื่องบูชา. (อาฤธโมบท 28 และ 29) ของถวายบางอย่างเป็นผลิตผลที่เกิดจากแผ่นดิน; ส่วนของถวายอย่างอื่นเป็นสัตว์ เช่น วัว, แกะ, แพะ, นกพิราบ, และนกเขา. (เลวีติโก 1:3, 5, 10, 14; 23:10-18; อาฤธโม 15:1-7; 28:7) มีเครื่องบูชาเผาที่ต้องเผาด้วยไฟทั้งตัว. (เอ็กโซโด 29:38-42) นอกจากนี้ยังมีเครื่องบูชาสมานไมตรี ซึ่งคนที่ถวายจะมีส่วนร่วมในการรับประทานเครื่องบูชาที่ถวายแด่พระเจ้า.—เลวีติโก 19:5-8.
ของถวายและเครื่องบูชาทุกอย่างที่ถวายแด่พระเจ้าภายใต้พระบัญญัติของโมเซเป็นวิธีหนึ่งในการนมัสการพระเจ้าและให้ผู้ถวายสำนึกว่าพระองค์เป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ. โดยทางเครื่องบูชาเช่นนั้น ชาวอิสราเอลแสดงความขอบพระคุณพระยะโฮวาสำหรับพระพรและการปกสุภาษิต 3:9, 10.
ป้องและได้รับการให้อภัยบาป. ตราบใดที่พวกเขายึดมั่นในการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพระยะโฮวาเรื่องการนมัสการ พวกเขาก็ได้รับพระพรอันอุดม.—สำหรับพระยะโฮวาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเจตคติของคนที่ถวายเครื่องบูชา. พระยะโฮวาตรัสผ่านผู้พยากรณ์โฮเซอาดังนี้: “เราพึงพอใจในความเมตตากรุณา, มิใช่ในการสักการบูชา; และพึงพอใจในการรู้จักพระเจ้ามากยิ่งกว่าเครื่องบูชาเผา.” (โฮเซอา 6:6) ด้วยเหตุนี้ เมื่อประชาชนหันเหไปจากการนมัสการแท้และประพฤติหละหลวมและทำให้โลหิตของผู้ไม่มีความผิดตก เครื่องบูชาที่พวกเขาถวายแด่พระยะโฮวาบนแท่นก็ไร้ความหมาย. นั่นเป็นเหตุที่พระยะโฮวาตรัสกับชาติอิสราเอลผ่านผู้พยากรณ์ยะซายาดังนี้: “เครื่องบูชาเผามากมายก่ายกองของเจ้าจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา? เราเบื่อเครื่องบูชาเผาแกะตัวผู้, และมันข้นแห่งสัตว์เลี้ยง; และมิได้ชื่นใจในโลหิตแห่งลูกโคผู้, หรือของลูกแกะ, หรือของแพะผู้.”—ยะซายา 1:11.
“ซึ่งเราไม่ได้สั่งให้เขาทำ”
ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับชาวอิสราเอล ชาวคะนาอันนำบุตรของตัวเองไปบูชายัญแด่พระของตน รวมถึงโมเลคซึ่งเป็นพระของชาติอำโมน. (1 กษัตริย์ 11:5, 7, 33; กิจการ 7:43) คู่มือคัมภีร์ไบเบิลของฮัลเลย์ กล่าวว่า “ชาวคะนาอันนมัสการโดยการทำผิดศีลธรรมทางเพศต่อหน้าพระของตนโดยถือว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา และแล้วก็ฆ่าบุตรหัวปีของตนเพื่อบูชายัญแด่พระองค์เดียวกันนั้น.”
กิจปฏิบัติเหล่านี้เป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวาพระเจ้าไหม? ไม่อย่างแน่นอน. ขณะที่ชาวอิสราเอลพร้อมจะเข้าไปในดินแดนคะนาอัน พระยะโฮวาบัญชาพวกเขาดังบันทึกที่เลวีติโก 20:2, 3 ดังนี้: “จงกล่าวแก่พวกยิศราเอลซ้ำอีกว่า, ‘ผู้ใดในพวกยิศราเอลหรือแขกเมืองที่อาศัยอยู่กับพวกยิศราเอล, จะให้ลูกหลานเผ่าพันธุ์แก่โมเล็กต้องฆ่าผู้นั้นเสีย: คนทั้งปวงในเมืองจะเอาหินขว้างผู้นั้นให้ตาย. และเราจะตั้งหน้าของเราต่อสู้คนนั้น, จะตัดชีวิตคนนั้นจากพลเมืองของเขา; เพราะเขาได้ให้เผ่าพันธุ์ของเขาแก่โมเล็ก, จะกระทำโบสถ์ของเราให้เป็นมลทินและนามอันบริสุทธิ์ของเราให้เสื่อมเสีย.’ ”
แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ แต่ชาวอิสราเอลบางคนซึ่งหันเหไปจากการนมัสการแท้ได้รับเอากิจปฏิบัติแบบภูตผีปิศาจโดยการนำบุตรของตนไปบูชายัญถวายพระเท็จ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ บทเพลงสรรเสริญ 106:35-38 กล่าวว่า “[พวกเขา] ได้อยู่ปะปนกับชาวต่างประเทศนั้น, หัดประพฤติตามกิจการของเขา, และได้ปฏิบัติรูปเคารพของพวกนั้น, ซึ่งกลับกลายเป็นบ่วงแร้วดักเขาเอง. เออ, มิหนำซ้ำได้พาบุตรชายหญิงของตนมาฆ่าบูชาแก่พวกปิศาจ, และได้กระทำโลหิตของผู้ซึ่งไม่มีผิดให้ไหลออก, เขากระทำแม้จนเลือดบุตรชายบุตรหญิงของเขา, ซึ่งเขาฆ่าบูชารูปเคารพของชาวคะนาอัน; และแผ่นดินนั้นก็อุลามกด้วยโลหิต.”
เพื่อเผยให้เห็นว่าพระองค์ทรงเกลียดชังกิจปฏิบัติเหล่านี้ พระยะโฮวาตรัสผ่านยิระมะยาผู้พยากรณ์ของพระองค์เกี่ยวกับลูกหลานของยูดาห์ดังนี้: “เขาทั้งปวงได้ตั้งของอันน่าเกลียดทั้งปวงของเขาในวิหารที่ได้ต้องเรียกโดยชื่อของเรา, ยิระมะยา 7:30, 31.
เพื่อจะให้วิหารนั้นชั่วลามกไป. แลเขาได้สร้างที่สูงทั้งหลายของโธเฟธ, ที่มีในหุบเขาของบุตรผู้ชายฮิโนม, เพื่อจะได้เผาบุตรชายแลบุตรหญิงทั้งปวงของเขาในไฟ, ซึ่งเราไม่ได้สั่งให้เขาทำ, แลการนั้นหาได้เข้าในใจของเราไม่.”—เนื่องจากชาวอิสราเอลเข้าร่วมในกิจปฏิบัติที่น่าสะอิดสะเอียนนี้ ในที่สุดพวกเขาจึงสูญเสียความโปรดปรานจากพระเจ้า. กรุงเยรูซาเลมเมืองหลวงถูกทำลายในที่สุด และประชาชนถูกจับเป็นเชลยในบาบิโลน. (ยิระมะยา 7:32-34) เห็นได้ชัดว่าการบูชายัญมนุษย์ไม่ได้มาจากพระเจ้าเที่ยงแท้และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการแท้. การบูชายัญมนุษย์ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามเกี่ยวข้องกับพวกปิศาจ และผู้นมัสการแท้ของพระเจ้าต้องหลีกหนีจากสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับกิจปฏิบัติเหล่านี้.
เครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์เยซู
อย่างไรก็ดี บางคนอาจถามว่า ‘แล้วเหตุใดกฎหมายของพระยะโฮวาสำหรับชาวอิสราเอลจึงกำหนดให้ถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชา? อัครสาวกเปาโลพิจารณาคำถามนี้และให้คำตอบว่า “ถ้าเช่นนั้นแล้วก็มีพระบัญญัติไว้ทำไมเล่า? พระบัญญัตินั้นทรงเพิ่มให้เพราะความผิด, จนกว่าพงศ์พันธุ์ที่ได้รับคำสัญญานั้นจะมา . . . เหตุฉะนั้นพระบัญญัติจึงเป็นครูสอนซึ่งนำเราให้มาถึงพระคริสต์.” (ฆะลาเตีย 3:19-24) การถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาภายใต้พระบัญญัติของโมเซเป็นภาพเล็งถึงเครื่องบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าซึ่งพระยะโฮวาพระเจ้าทรงจัดเตรียมเพื่อเห็นแก่มนุษยชาติ—ซึ่งก็ได้แก่เครื่องบูชาของพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์. พระเยซูกล่าวถึงการกระทำด้วยความรักนี้เมื่อตรัสว่า “พระเจ้าทรงรักโลก, จนได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์, เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะมิได้พินาศ, แต่มีชีวิตนิรันดร์.”—โยฮัน 3:16.
ด้วยความรักต่อพระเจ้าและต่อมนุษยชาติ พระเยซูเต็มใจสละชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เพื่อไถ่ลูกหลานของอาดาม. (โรม 5:12, 15) พระเยซูตรัสว่า “บุตรมนุษย์ก็ดีมิได้มาเพื่อให้เขาปรนนิบัติ. แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา, และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก.” (มัดธาย 20:28) ไม่มีมนุษย์คนอื่นบนแผ่นดินโลกที่สามารถไถ่ถอนคนเราให้พ้นจากพันธนาการของบาปและความตาย ซึ่งอาดามได้ทำให้มนุษย์ตกอยู่ในสภาพดังกล่าวเมื่อทำบาป. (บทเพลงสรรเสริญ 49:7, 8) ด้วยเหตุนี้ เปาโลจึงอธิบายว่าพระเยซู “ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป, แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เอง, เสด็จเข้าไปในที่บริสุทธิ์นั้นแต่เพียงครั้งเดียว, และทรงได้ความรอดนิรันดร์ไว้.” (เฮ็บราย 9:12) โดยการยอมรับในพระโลหิตของพระเยซูที่สละเป็นเครื่องบูชา พระเจ้า “ทรงลบเอกสารที่เขียนด้วยมืออันเป็นปฏิปักษ์ต่อเรา.” นั่นคือ พระยะโฮวาทรงยกเลิกสัญญาแห่งพระบัญญัติซึ่งเรียกร้องของถวายและเครื่องบูชา โดยวิธีนี้จึงนำ ‘ของประทานคือชีวิตนิรันดร์’ มาให้.—โกโลซาย 2:14, ล.ม.; โรม 6:23.
เครื่องบูชาและของถวายฝ่ายวิญญาณ
เนื่องจากเครื่องบูชาและของถวายที่เป็นสัตว์ไม่ได้เป็นข้อเรียกร้องของการนมัสการแท้อีกต่อไป มีเครื่องบูชาใด ๆ ที่เรายังคงต้องถวายในทุกวันนี้ไหม? ใช่แล้ว มีแน่นอน. พระเยซูคริสต์ดำเนินชีวิตแบบเสียสละในงานรับใช้ และในที่สุดก็ถวายพระองค์เองเพื่อเห็นแก่มนุษยชาติ. ฉะนั้น พระองค์ประกาศว่า “ถ้าผู้ใดจะใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเองและรับกางเขน [“เสาทรมาน,” ล.ม.] ของตนแบกตามเรามา.” (มัดธาย 16:24) นี่หมายความว่าใครก็ตามที่ประสงค์จะเป็นสาวกของพระเยซูต้องถวายเครื่องบูชาบางอย่าง. นั่นคืออะไร?
สิ่งหนึ่งคือ ผู้ติดตามพระคริสต์ที่จริงใจไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อตัวเองอีกต่อไปแต่เพื่อพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. เขาโรม 12:1, 2.
ให้พระทัยประสงค์และสิ่งที่พระเจ้าเรียกร้องมาก่อนความต้องการของตนเอง. ขอสังเกตว่าอัครสาวกเปาโลกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างไร: “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย, โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวแก่พระองค์เป็นเครื่องบูชาอันมีชีวิตอยู่, อันบริสุทธิ์, และเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า, ซึ่งเป็นการปฏิบัติสมกับฝ่ายวิญญาณจิตต์ของท่านทั้งหลาย. อย่าประพฤติตามอย่างชาวโลกนี้ แต่ว่าจงเปลี่ยนนิสัยเสียใหม่, เพื่อท่านทั้งหลายจะได้สังเกตรู้จักน้ำพระทัยของพระเจ้าว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบ และอะไรยอดเยี่ยม.”—นอกจากนั้น คัมภีร์ไบเบิลบ่งชี้ว่าการถวายคำสรรเสริญเปรียบเหมือนเครื่องบูชาที่ถวายแด่พระยะโฮวา. ผู้พยากรณ์โฮเซอาใช้ถ้อยคำที่ว่า “ผลแห่งริมฝีปากของข้าพเจ้ามาเป็นสักการบูชาต่างโค” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าถือว่าคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง. (โฮเซอา 14:2) อัครสาวกเปาโลกระตุ้นเตือนคริสเตียนชาวฮีบรูให้ “ถวายคำสรรเสริญพระเจ้าเป็นเครื่องบูชาเสมอ . . . , คือผลแห่งริมฝีปากที่กล่าวสรรเสริญพระนามของพระองค์.” (เฮ็บราย 13:15) ในทุกวันนี้ พยานพระยะโฮวายังคงขยันขันแข็งในการประกาศข่าวดีและในงานทำให้คนทุกชาติเป็นสาวก. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) พวกเขากำลังถวายคำสรรเสริญแด่พระเจ้าเป็นเครื่องบูชาทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดทั่วโลก.—วิวรณ์ 7:15.
นอกจากการประกาศแล้ว การทำสิ่งดีต่อผู้อื่นรวมอยู่ในเครื่องบูชาที่พระเจ้าพอพระทัย. เปาโลกระตุ้นเตือนว่า “อย่าลืมที่จะกระทำการดี, และมีใจปรานีซึ่งกันและกัน ด้วยว่าพระเจ้าทรงชอบพระทัยด้วยเครื่องบูชาอย่างนั้น.” (เฮ็บราย 13:16) ที่จริง เพื่อที่เครื่องบูชาแห่งการสรรเสริญจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า คนที่ถวายเครื่องบูชานี้จะต้องมีความประพฤติที่ดี. เปาโลเตือนว่า “ท่านทั้งหลายจงประพฤติให้สมกับกิตติคุณของพระคริสต์.”—ฟิลิปปอย 1:27; ยะซายา 52:11.
เช่นเดียวกับในอดีต เครื่องบูชาทุกอย่างที่ทำเพื่อส่งเสริมการนมัสการแท้จะส่งผลให้เกิดความสุขและพระพรจากพระยะโฮวา. ด้วยเหตุนั้น ให้เราทำดีที่สุดในการถวายเครื่องบูชาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยอย่างแท้จริง!
[ภาพหน้า 18]
“บุตรชายบุตรหญิงของเขา, . . . เขาฆ่าบูชารูปเคารพของชาวคะนาอัน”
[ภาพหน้า 20]
โดยการประกาศข่าวดีและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ คริสเตียนแท้ถวายเครื่องบูชาที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัย