ความเชื่อในคำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลช่วยรักษาชีวิต
ความเชื่อในคำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลช่วยรักษาชีวิต
ขณะที่พระเยซูกำลังเดินออกจากพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมเป็นครั้งสุดท้าย สาวกคนหนึ่งของพระองค์ก็ร้องขึ้นมาว่า “อาจารย์เจ้าข้า, ขอพระองค์ทอดพระเนตรดูศิลาและตึกใหญ่เหล่านี้.” ชาวยิวภูมิใจในพระวิหารนี้และถือว่ามีค่าสูงยิ่งทีเดียว. อย่างไรก็ตาม พระเยซูตอบว่า “ท่านเห็นตึกใหญ่เหล่านี้หรือ ศิลาที่ซ้อนทับกันอยู่ที่นี่ซึ่งจะไม่ถูกทำลายลงก็หามิได้.”—มาระโก 13:1, 2.
นั่นเป็นความคิดที่เหลือเชื่อ! หินบางก้อนที่ใช้สร้างพระวิหารมีขนาดใหญ่มาก. ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่พระเยซูกล่าวเกี่ยวกับพระวิหารยังบ่งนัยถึงพินาศกรรมของกรุงเยรูซาเลม และบางทีกระทั่งชาติยิวทั้งชาติซึ่งมีพระวิหารเป็นศูนย์กลางในการนมัสการ. ดังนั้น เหล่าสาวกของพระเยซูจึงถามพระองค์ต่อว่า “ขอโปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะบังเกิดขึ้นเมื่อไร. และสิ่งไรจะเป็นหมายสำคัญว่าการณ์ทั้งปวงนั้นจวนจะสำเร็จ?”—มาระโก 13:3, 4.
พระเยซูเตือนว่า “ที่สุดปลายยังไม่มาถึง.” ตอนแรกเหล่าสาวกจะได้ยินเรื่องสงคราม, แผ่นดินไหว, การกันดารอาหาร, และโรคระบาดแห่งแล้วแห่งเล่า. จากนั้น จะมีเหตุการณ์น่ากลัวที่ทำให้ชาติยิวตกเข้าสู่ความหายนะอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน ใช่แล้ว “ความทุกข์ลำบากใหญ่” นั่นเอง. แต่พระเจ้าจะทรงแทรกแซงเพื่อคุ้มครอง “ผู้ถูกเลือกสรร” หรือคริสเตียนที่ซื่อสัตย์ให้รอด. โดยวิธีใด?—มาระโก 13:7; มัดธาย 24:7, 21, 22; ลูกา 21:10, 11.
แข็งข้อต่อโรม
ยี่สิบแปดปีผ่านไป และคริสเตียนในเยรูซาเลมก็ยังคงคอยท่าเวลาอวสาน. ทั่วทั้งจักรวรรดิโรมันมีความทุกข์ยากลำบากเนื่องจากสงคราม, แผ่นดินไหว, การขาดแคลนอาหาร, และโรคระบาด. (ดูกรอบหน้า 9.) ยูเดียเป็นแหล่งแห่งการต่อสู้ในหมู่พลเรือนและกลุ่มชาติพันธุ์. กระนั้น ภายในกำแพงที่ให้การปกป้องของกรุงเยรูซาเลมค่อนข้างมีความสงบ. ผู้คนใช้ชีวิตตามปกติ กินดื่ม, ทำงาน, สมรส, และเลี้ยงดูบุตร. การมีพระวิหารที่ยิ่งใหญ่อยู่ตรงนั้นทำให้รู้สึกว่ากรุงนี้มั่นคงและถาวร.
ประมาณปีสากลศักราช 61 คริสเตียนในกรุงเยรูซาเลมได้รับจดหมายจากอัครสาวกเปาโล. ท่านชมเชยพวกเฮ็บราย 2:1; 5:11, 12) เปาโลกระตุ้นเตือนพวกเขาว่า “ฉะนั้น จงพูดด้วยความกล้าหาญต่อ ๆ ไป อย่าเลิก . . . เพราะว่ายัง ‘อีกหน่อยหนึ่ง’ และ ‘พระองค์ผู้จะเสด็จมาจะมาถึงและจะไม่ทรงเนิ่นช้า.’ ‘แต่ผู้ชอบธรรมของเราจะมีชีวิตเนื่องด้วยความเชื่อ’ และ ‘ถ้าเขาถอยกลับ เราจะไม่พอใจเขา.’ ” (เฮ็บราย 10:35-38, ล.ม.) ช่างเป็นคำแนะนำที่เหมาะกับเวลาจริง ๆ! แต่คริสเตียนจะแสดงความเชื่อและยังคงตื่นตัวต่อความสำเร็จแห่งคำพยากรณ์ของพระเยซูไหม? และจุดจบของกรุงเยรูซาเลมใกล้จะถึงแล้วจริง ๆ ไหม?
เขาเรื่องความอดทน แต่ท่านเป็นห่วงว่าบางคนในประชาคมดูเหมือนขาดความสำนึกถึงความเร่งด่วน. คริสเตียนบางคนกำลังลอยห่างทางฝ่ายวิญญาณหรือไม่อาวุโสฝ่ายคริสเตียน. (ตลอดห้าปีต่อมา สภาพการณ์ในกรุงเยรูซาเลมเสื่อมลงเรื่อย ๆ. ในที่สุดเมื่อปี ส.ศ. 66 ฟลอรุส ผู้ว่าราชการโรมันที่ทุจริตได้ยึดเงิน 17 ตะลันต์ซึ่งเป็น “ภาษีค้างชำระ” ไปจากตู้เก็บเงินถวายในพระวิหารศักดิ์สิทธิ์. ชาวยิวพากันโกรธแค้นและลุกฮือขึ้นก่อกบฏ. กบฏชาวยิว หรือ กลุ่มเซลอต บุกเข้ามาในกรุงเยรูซาเลมและสังหารทหารโรมันที่นั่น. แล้วพวกเขาก็ประกาศอย่างไม่เกรงกลัวว่ายูเดียจะไม่เป็นเมืองขึ้นของโรมอีกต่อไป. ตอนนี้ยูเดียและโรมจึงเข้าสู่สงครามกัน!
ภายในสามเดือน เซสติอุส กัลลุส ผู้ว่าราชการโรมันประจำซีเรียได้ยกทัพมาทางใต้พร้อมด้วยทหาร 30,000 นายเพื่อมาปราบกบฏชาวยิว. กองทัพของเขามาถึงเยรูซาเลมในช่วงเทศกาลตั้งทับอาศัยและบุกเข้ามาถึงชานกรุงอย่างรวดเร็ว. พวกเซลอตที่มีจำนวนน้อยกว่าพยายามหาที่กำบังในป้อมของพระวิหาร. ในไม่ช้า ทหารโรมันก็เริ่มทำลายกำแพงพระวิหาร. ชาวยิวพากันหวาดกลัวเพราะตอนนี้ทหารนอกรีตกำลังทำให้เกิดด่างพร้อยแก่สถานที่บริสุทธิ์ที่สุดของศาสนายิว! แต่คริสเตียนที่อยู่ในกรุงนึกถึงคำตรัสของพระเยซูที่ว่า ‘เมื่อเจ้าทั้งหลายมองเห็นสิ่งน่าสะอิดสะเอียนตั้งอยู่ในสถานบริสุทธิ์ ครั้นแล้วให้คนที่อยู่ในแคว้นยูเดียเริ่มหนีไปยังภูเขา.’ (มัดธาย 24:15, 16, ล.ม.) พวกเขาจะแสดงความเชื่อต่อคำตรัสเชิงพยากรณ์ของพระเยซูและได้รับการกระตุ้นให้ปฏิบัติสอดคล้องกันนั้นไหม? ดังที่จะได้เห็นภายหลัง ชีวิตของเขาขึ้นอยู่กับการทำเช่นนั้น. แต่จะหนีอย่างไร?
โดยกะทันหันและดูเหมือนไม่มีเหตุผล เซสติอุส กัลลุสถอยทัพและกลับไปทางชายฝั่งโดยมีพวกเซลอตไล่ตามไปติด ๆ. ความทุกข์ลำบากที่มีเหนือกรุงนั้นย่นสั้นลงอย่างน่าประหลาดใจ! เนื่องจากได้สำแดงความเชื่อในคำเตือนเชิงพยากรณ์ของพระเยซู คริสเตียนหนีจากกรุงเยรูซาเลมไปอยู่ที่เพลลา เมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งตั้งอยู่ในแถบภูเขาอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำจอร์แดน. พวกเขาหนีได้ทันเวลา. ไม่นานนัก พวกเซลอตก็กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมและบังคับชาว * ขณะเดียวกัน คริสเตียนที่อยู่อย่างปลอดภัยในเมืองเพลลากำลังเฝ้าคอยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปอีก.
เมืองที่เหลืออยู่ให้ร่วมมือในการก่อกบฏ.จมดิ่งลงสู่ความสับสนวุ่นวาย
ภายในไม่กี่เดือน กองทัพโรมันชุดใหม่มุ่งหน้ามาที่กรุงเยรูซาเลม. ในช่วงปี ส.ศ. 67 นายพลเวสปาเชียนและบุตรชายคือทิทุสได้ระดมกำลังเป็นกองทัพใหญ่ที่มีทหารมากถึง 60,000 นาย. อีกสองปีต่อมา กองทัพขนาดใหญ่นี้มุ่งหน้าไปยังกรุงเยรูซาเลม ทำลายล้างผลาญผู้ต่อต้านทั้งมวลที่อยู่ในเส้นทาง. ขณะเดียวกัน ภายในกรุงเยรูซาเลม ชาวยิวกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นอริกันได้ต่อสู้กันอย่างโหดเหี้ยม. ธัญญาหารสำรองของเมืองถูกทำลาย ชุมชนที่อยู่รอบ ๆ พระวิหารถูกทำลายจนราบเรียบ และมีชาวยิวมากกว่า 20,000 คนถูกฆ่า. เวสปาเชียนรอเวลาในการบุกเข้าไปในกรุงเยรูซาเลม เขาประกาศว่า ‘เทพเจ้าแห่งโรมทำหน้าที่นายพลโรมันได้ดีกว่าข้าเสียอีก ศัตรูของเรากำลังเข่นฆ่ากันเอง.’
เมื่อเนโรจักรพรรดิโรมันสิ้นพระชนม์ เวสปาเชียนกลับไปที่โรมเพื่อยึดบัลลังก์ ทิ้งให้ทิทุสทำสงครามกับยูเดียให้เสร็จสิ้น. ทิทุสบุกเข้ามาถึงกรุงเยรูซาเลมใกล้ช่วงเทศกาลปัศคาปี ส.ศ. 70 คนที่อาศัยอยู่ในกรุงและผู้แสวงบุญที่เดินทางเข้ามาตกอยู่ในสภาพติดกับ. ทหารตัดต้นไม้ตามเขตรอบนอกของแคว้นยูเดียทำเป็นรั้วไม้แหลมยาว 7 กิโลเมตรปักรอบเมืองหลวงที่ถูกล้อมไว้. นี่เป็นสิ่งที่พระเยซูตรัสไว้ล่วงหน้าที่ว่า “ศัตรูของเจ้าจะตั้งค่ายรอบเจ้า, และล้อมขังเจ้าไว้ทุกด้าน.”—ลูกา 19:43.
ไม่นานเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักภายในกรุงเยรูซาเลม. ฝูงชนที่ถืออาวุธเข้าปล้นบ้านของคนตายและคนที่กำลังจะตาย. อย่างน้อยมีหญิงที่สิ้นหวังหนึ่งคนฆ่าและกินลูกของตัวเอง ทำให้คำพยากรณ์ข้อหนึ่งสำเร็จเป็นจริงที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจะต้องกินผลกายของตนเองเป็นอาหาร คือเนื้อบุตรชายหญิงของเจ้า . . . เพราะความอดอาหารมากในเวลาที่พวกศัตรูจะมาตั้งค่ายล้อมรอบเมืองทั้งปวงของเจ้าไว้และเบียดเบียนเจ้า.”—พระบัญญัติ 28:53-57.
ในที่สุด หลังจากถูกล้อมได้ห้าเดือน กรุงเยรูซาเลมก็ถึงกาลอวสาน. กรุงนั้นและพระวิหารอันสง่างามถูกปล้นและดานิเอล 9:26) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดประมาณ 1,100,000 คน อีก 97,000 คนถูกขายไปเป็นทาส. * (พระบัญญัติ 28:68) ยูเดียแทบจะไม่มีชาวยิวเหลืออยู่เลย. จริงทีเดียว นั่นเป็นความหายนะระดับชาติที่ไม่มีสิ่งใดเทียบได้ และถือเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญของการเมือง, ศาสนา, และวัฒนธรรมของชาวยิว. *
ถูกเผา หินก้อนแล้วก้อนเล่าก็ถูกรื้อออกมา. (ในขณะเดียวกัน คริสเตียนในเมืองเพลลารู้สึกขอบพระคุณพระเจ้าอย่างสุดหัวใจในการช่วยให้รอดของพระองค์. ความเชื่อในคำพยากรณ์ของพระคัมภีร์ช่วยรักษาชีวิตของพวกเขาไว้จริง ๆ!
เมื่อมองย้อนไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น เราแต่ละคนในทุกวันนี้น่าจะถามตัวเองว่า ‘ฉันมีความเชื่อซึ่งจะรักษาชีวิตของฉันในช่วงความทุกข์ลำบากใหญ่ที่กำลังใกล้เข้ามาไหม?’ ฉัน “เป็นคนที่มีความเชื่อซึ่งจะรักษาชีวิตไว้” ไหม?—เฮ็บราย 10:39, ล.ม.; วิวรณ์ 7:14.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 โยเซฟุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวรายงานว่า พวกเซลอตตามกองทัพโรมันไปนานเจ็ดวันก่อนจะกลับมายังเยรูซาเลม.
^ วรรค 15 ตามที่มีการประมาณไว้ ชาวยิวในจักรวรรดิโรมันมากกว่าหนึ่งในเจ็ดคนถูกฆ่า.
^ วรรค 15 อัลเฟรด เอเดอร์ไชม์ ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลชาวยิวเขียนว่า “ความทุกข์ลำบากที่ผ่านมาในอดีตและแม้แต่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ไม่อาจเทียบได้กับความทุกข์ลำบากของชาวยิว [ครั้งนี้].”
[แผนภูมิหน้า 9]
แง่มุมต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ที่สำเร็จเป็นจริงในศตวรรษแรก
สงคราม:
โกล (ปี ส.ศ. 39-40)
แอฟริกาเหนือ (ปี ส.ศ. 41)
บริเตน (ปี ส.ศ. 43, 60)
อาร์เมเนีย (ปี ส.ศ. 58-62)
การต่อสู้ท่ามกลางพลเรือนและกลุ่มชาติพันธุ์ในยูเดีย (ปี ส.ศ. 50-66)
แผ่นดินไหว:
โรม (ปี ส.ศ. 54)
ปอมเปอี (ปี ส.ศ. 62)
เอเชียน้อย (ปี ส.ศ. 53, 62)
เกาะครีต (ปี ส.ศ. 62)
การกันดารอาหาร:
โรม, กรีซ, อียิปต์ (ประมาณปี ส.ศ. 42)
ยูเดีย (ประมาณปี ส.ศ. 46)
โรคระบาด:
บาบิโลน (ปี ส.ศ. 40)
โรม (ปี ส.ศ. 60, 65)
ผู้พยากรณ์เท็จ:
ยูเดีย (ประมาณปี ส.ศ. 56)
[แผนที่/ภาพหน้า 10]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
ยุทธการของกองทัพโรมันในปาเลสไตน์ ปี ส.ศ. 67-70
ปโตเลมี
ทะเลแกลิลี
เพลลา
พีเรีย
ซะมาเรีย
เยรูซาเลม
ทะเลเกลือ
ยูเดีย
ซีซาเรีย
[ที่มาของภาพ]
Map only: Based on maps copyrighted by Pictorial Archive (Near Eastern History) Est. and Survey of Israel
[ภาพหน้า 11]
‘ศัตรูของเรากำลังเข่นฆ่ากันเอง.’—เวสปาเชียน
[ภาพหน้า 11]
กองทัพโรมันทำลายกรุงเยรูซาเลมในปี ส.ศ. 70
[ที่มาของภาพหน้า 11]
Relief: Soprintendenza Archeologica di Roma; Vespasian: Bildarchiv Preussischer Kulturbesitz/Art Resource, NY