ความโหดร้ายทารุณจะมีวันหมดไปไหม?
ความโหดร้ายทารุณจะมีวันหมดไปไหม?
หลายคนคงจะเห็นด้วยทันทีว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้โลกทุกวันนี้มีความทารุณโหดร้าย. เมล็ดแห่งความเห็นแก่ตัวที่บ่มเพาะมานานหลายสิบปีก่อนโดยคนในยุคที่เรียกกันว่ายุคฉันก่อน ได้เกิดดอกออกผลเป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่เป็นห่วงเรื่องของตัวเองเป็นอันดับแรก. หลายคนจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งบ่อยครั้งยังผลให้มีการกระทำที่โหดร้ายทารุณ. นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นรายบุคคลเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับทั้งชาติด้วย.
ชีวิตของเพื่อนมนุษย์ดูเหมือนไม่ใช่สิ่งสำคัญอีกต่อไป. บางคนถึงกับชอบเป็นคนเหี้ยมโหดด้วยซ้ำ. พวกเขารู้สึกสนุกที่ได้ทำเช่นนั้น ซึ่งแทบไม่ต่างอะไรกับอาชญากรที่สารภาพว่าทำร้ายคนอื่นเพียงเพื่อความตื่นเต้น. และจะว่าอย่างไรกับหลายล้านคนที่ชอบดูภาพยนตร์ที่เน้นความรุนแรงและความโหดเหี้ยม ซึ่งสนับสนุนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ผลิตภาพยนตร์ประเภทนั้นมาก ๆ เพื่อจะได้กำไร? การชมสิ่งที่โหดเหี้ยมทารุณผ่านทางสื่อบันเทิงและข่าวเป็นประจำทำให้ความรู้สึกของหลายคนด้านชา.
บ่อยครั้ง ความโหดร้ายทารุณมักก่อให้เกิดผลเสียทางจิตและเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรแห่งความรุนแรง. ในการกล่าวถึงความรุนแรงซึ่งเกิดจากความโหดเหี้ยม โนเอมี ดิอัซ มาร์โรกีน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติของเม็กซิโกกล่าวว่า “ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ มันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเรา. . . . เราเรียนรู้วิธีที่จะแสดงออกในแบบที่รุนแรงเมื่อสภาพแวดล้อมเปิดช่องให้และกระตุ้นให้ทำ.” ด้วยเหตุนั้น เป็นไปได้มากทีเดียวที่ผู้เป็นเหยื่อของการกระทำทารุณ ท้ายที่สุดอาจเป็นคนที่ทำร้ายคนอื่น และบางทีถึงกับใช้วิธีเดียวกันกับที่เขาเคยถูกกระทำ.
ในกรณีอื่น ๆ คนที่ใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้าและยาเสพติดอาจลงเอยด้วยการมีพฤติกรรมรุนแรง. ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือบรรดาผู้ที่ไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่ดูแลความจำเป็นของประชาชน. ในความตั้งใจที่จะให้โลกรับรู้ความคิดเห็นของตน บางคนในพวกนี้ได้ใช้การกระทำที่ป่าเถื่อนและส่งเสริมการก่อการร้ายซึ่งบ่อยครั้งผู้ได้รับผลเสียหายคือผู้บริสุทธิ์.
คุณอาจสงสัยว่า ‘มนุษย์เรียนรู้การกระทำที่โหดร้ายได้เองไหม? มีอะไรอยู่เบื้องหลังสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้?’
จริง ๆ แล้วใครอยู่เบื้องหลังความโหดร้ายทารุณ?
คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่าซาตานพญามารแผ่อิทธิพลอันแข็งแกร่งเหนือโลกนี้ โดยเรียกมันว่า “พระของสมัยนี้.” (2 โกรินโธ 4:4) มันเป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัวและโหดร้ายที่สุดในเอกภพ. พระเยซูพรรณนาอย่างเหมาะเจาะว่ามันเป็น “ผู้ฆ่าคน” และ “พ่อของการมุสา.”—โยฮัน 8:44.
มนุษยชาติตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอันทรงพลังของซาตานนับตั้งแต่การไม่เชื่อฟังของอาดามและฮาวา. (เยเนซิศ 3: 1-7, 16-19) ประมาณ 15 ศตวรรษต่อมาหลังจากที่มนุษย์คู่แรกได้หันเหไปจากพระยะโฮวา ทูตสวรรค์ที่ขืนอำนาจได้แปลงร่างเป็นมนุษย์และมีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงและให้กำเนิดเผ่าพันธุ์ลูกผสมที่เรียกว่าเนฟิลิม. ลักษณะนิสัยเฉพาะของพวกเขาเป็นเช่นไร? ชื่อของพวกเขาก็บ่งบอกอยู่แล้ว. คำว่าเนฟิลิมหมายถึง “นักโค่น” หรือ “ผู้ที่ทำให้คนอื่นล้มลง.” เห็นได้ชัดว่า พวกนี้เป็นบุคคลที่ชอบความรุนแรงผู้เป็นต้นเหตุของความโหดร้ายทารุณและการทำผิดศีลธรรม มีเพียงน้ำท่วมใหญ่ที่พระเจ้าทำให้เกิดขึ้นเท่านั้นที่จะหยุดพวกเขาได้. (เยเนซิศ 6:4, 5, 17) แม้พวกเนฟิลิมจะถูกกำจัดไปแล้วในคราวน้ำท่วม แต่พ่อของพวกนี้ได้กลับไปที่แดนวิญญาณเป็นปิศาจที่มองไม่เห็น.—1 เปโตร 3:19, 20.
นิสัยโหดร้ายของทูตสวรรค์ที่ขืนอำนาจเห็นได้ชัดในกรณีของเด็กชายที่ถูกผีเข้าสิงในสมัยของพระเยซู. ผีปิศาจทำให้เด็กคนนั้นล้มลงชักดิ้นชักงอ ทำให้เขากระโจนเข้าไปในกองไฟและตกน้ำหมายจะฆ่าเสียให้ตาย. (มาระโก 9:17-22) เห็นได้ชัดว่า “บรรดาวิญญาณอันชั่ว” ดังกล่าวสะท้อนบุคลิกภาพที่โหดร้ายของซาตานพญามาร หัวหน้าใหญ่ที่นิสัยโหดเหี้ยมของพวกมัน.—เอเฟโซ 6:12.
ในทุกวันนี้ อิทธิพลของผีปิศาจยังคงส่งเสริมความโหดร้ายทารุณในท่ามกลางมนุษย์ต่อไป ดังที่บอกล่วงหน้าในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “ในคราวที่สุด [“สมัยสุดท้าย,” ล.ม.] นั้นจะบังเกิดกลียุค. เหตุว่าคนจะเป็นคนรักตัวเอง, . . . เป็นคนอวดตัว, เป็นคนจองหอง, . . . เป็นคนอกตัญญู, เป็นคนพาล, เป็นคนไม่รักซึ่งกันและกัน, เป็นคนไม่ยอมเป็นไมตรีกับใคร, เป็นคนหาความใส่เขา, เป็นคนไม่มีสติรั้งใจ, เป็นคนดุร้าย, เป็นคนชังคนดี, เป็นคนทรยศ, เป็นคนหัวดื้อ, เป็นคนหัวสูง, เป็นคนรักการสนุกสนานมากกว่ารักพระเจ้า เขามีสภาพธรรมภายนอก, แต่ฤทธิ์ของธรรมนั้นเขาปฏิเสธเสีย.”—2 ติโมเธียว 3:1-5.
คำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยว่ายุคสมัยของเราเป็นยุคที่วิกฤติอย่างยิ่ง เพราะหลังจากที่ราชอาณาจักรของพระเจ้าโดยพระคริสต์เยซูได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1914 ซาตานและเหล่าผีปิศาจถูกขับออกจากสวรรค์. คัมภีร์ไบเบิลแจ้งให้ทราบว่า “วิบัติจะมีแก่แผ่นดินโลกและทะเล เพราะว่ามารลงมาถึงเจ้ามีความโกรธยิ่งนัก ด้วยมันรู้ว่าเวลาของมันมีน้อย.”—วิวรณ์ 12:5-9, 12.
นี่หมายความว่าสภาพการณ์ไม่มีทางดีขึ้นเลยไหม? ดิอัซ มาร์โรกีน ซึ่งได้มีการเอ่ยถึงก่อนหน้านี้ กล่าวว่า “คนเรามีความสามารถในการเรียนรู้ที่จะเลิก” พฤติกรรมที่ไม่ดี. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอิทธิพลของซาตานกำลังแทรกซึมอยู่ทั่วโลกทุกวันนี้ มนุษย์คงจะไม่เลิกใช้ความรุนแรงเว้นแต่เขาจะยอมให้พลังที่เหนือกว่าที่ต่างออกไปมีอิทธิพลเหนือวิธีคิดและการกระทำของเขา. พลังนั้นคืออะไร?
เปลี่ยนได้—โดยวิธีใด?
น่ายินดี พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าเป็นพลังที่มีอานุภาพมากที่สุดที่มีอยู่ และสามารถเอาชนะอิทธิพลใด ๆ ของผีปิศาจ. พลังนี้ส่งเสริมให้เกิดความรักและสวัสดิภาพในหมู่มนุษย์. เพื่อจะได้รับพระวิญญาณของพระเจ้า ทุกคนที่ปรารถนาจะทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยต้องหลีกเลี่ยงความประพฤติที่แม้แต่จะส่อไปในทางโหดร้ายทารุณ. สิ่งนี้เรียกร้องการเปลี่ยนบุคลิกภาพของคนเราให้สอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. และพระทัยประสงค์นั้นคืออะไร? คือให้เราเลียนแบบแนวทางของพระเจ้าเท่าที่จะทำได้. นี่เกี่ยวข้องกับการมองคนอื่นอย่างที่พระเจ้าทรงมอง.—เอเฟโซ 5:1, 2; โกโลซาย 3:7-10.
การเรียนรู้แนวทางของพระเจ้าในการจัดการกับเรื่องต่าง ๆ จะทำให้คุณมั่นใจว่าพระยะโฮวาไม่เคยแสดงให้เห็นการขาดความสนใจไยดีต่อผู้อื่น. พระองค์ไม่เคยปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมต่อมนุษย์คนใด ๆ และที่จริงต่อสัตว์ด้วยซ้ำ. * (พระบัญญัติ 22:10; บทเพลงสรรเสริญ 36:7; สุภาษิต 12:10) พระองค์ชังความโหดร้ายทารุณและทุกคนที่ทำเช่นนั้น. (สุภาษิต 3:31, 32) บุคลิกภาพใหม่ที่พระยะโฮวาเรียกร้องให้คริสเตียนปลูกฝัง ช่วยพวกเขาให้ถือว่าคนอื่นดีกว่าและให้ความเคารพนับถือผู้อื่น. (ฟิลิปปอย 2:2-4) บุคลิกลักษณะใหม่แบบคริสเตียนนั้นรวมไปถึง “ความเมตตารักใคร่อันอ่อนละมุน, ความกรุณา, จิตใจอ่อนน้อม, ความอ่อนโยน, และความอดกลั้นไว้นาน.” ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ความรัก “เพราะความรักเป็นเครื่องผูกพันอันสมบูรณ์ที่ทำให้เป็นหนึ่งเดียว.” (โกโลซาย 3:12-14, ล.ม.) คุณเห็นด้วยมิใช่หรือว่าโลกนี้คงจะแตกต่างไปจากที่เป็นอยู่นี้มากหากคุณลักษณะเหล่านี้มีอยู่แพร่หลาย?
อย่างไรก็ตาม คุณอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนบุคลิกภาพอย่างถาวรจะเป็นไปได้จริง ๆ หรือ. ถ้าอย่างนั้น ขอพิจารณาตัวอย่างชีวิตจริงเรื่องหนึ่ง. มาร์ติน *เคยตะโกนใส่ภรรยาต่อหน้าลูก ๆ และทุบตีเธออย่างรุนแรง. ครั้งหนึ่ง สถานการณ์รุนแรงถึงขั้นที่ลูก ๆ ต้องวิ่งไปหาเพื่อนบ้านเพื่อขอความช่วยเหลือ. หลังจากผ่านไปหลายปี ครอบครัวนี้ก็เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวา. มาร์ตินได้เรียนรู้ว่าบุคคลชนิดใดที่เขาควรเป็นและเขาควรปฏิบัติต่อคนอื่น ๆ อย่างไร. เขาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไหม? ภรรยาของเขาตอบว่า “เมื่อก่อน ถ้าสามีของดิฉันโมโห เขาจะกลายเป็นคนละคนไปเลย. เพราะเหตุนี้ชีวิตของเราจึงมีแต่ความยุ่งยากวุ่นวายเรื่อยมา. ดิฉันไม่รู้จะสรรหาถ้อยคำใดมาขอบคุณพระยะโฮวาที่ช่วยให้มาร์ตินเปลี่ยนนิสัย. ตอนนี้เขาเป็นพ่อที่ดีและเป็นสามีที่ดีมากจริง ๆ.”
นั่นเป็นเพียงกรณีเดียวเท่านั้น. ตลอดทั่วโลก หลายล้านคนที่ได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาได้เลิกการกระทำที่ทารุณโหดร้าย. ถูกแล้ว การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้.
ความโหดร้ายทารุณทุกรูปแบบจะหมดสิ้นในไม่ช้า
ในอนาคตอันใกล้นี้ ราชอาณาจักรของพระเจ้า—รัฐบาลที่ตอนนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นแล้วในสวรรค์พร้อมด้วยผู้ปกครองที่กรุณา คือพระคริสต์เยซู—จะแสดงอำนาจเต็มที่เหนือแผ่นดินโลก. ราชอาณาจักรนี้ได้ขับซาตานซึ่งเป็นบ่อเกิดของความโหดร้ายทารุณทั้งปวง รวมทั้งเหล่าปิศาจ ออกจากสวรรค์แล้ว. ในไม่ช้า ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะสนองความจำเป็นของประชาชนที่รักสันติบนแผ่นดินโลก. (บทเพลงสรรเสริญ 37:10, 11; ยะซายา 11:2-5) นี่เป็นทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกที่แท้จริงเพียงทางเดียวเท่านั้น. แต่จะว่าอย่างไรหากในขณะที่กำลังคอยท่าราชอาณาจักรนี้คุณตกเป็นเหยื่อของความโหดร้ายทารุณ?
การตอบโต้ด้วยความโหดร้ายทารุณแบบเดียวกันคงไม่ได้ช่วยอะไร. การทำเช่นนั้นรังแต่จะส่งเสริมให้เกิดความยิระมะยา 17:10, ล.ม.) (ดูกรอบ “วิธีรับมือกับความโหดร้ายทารุณ.”) จริงอยู่ คุณอาจตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมที่โหดเหี้ยม. (ท่านผู้ประกาศ 9:11) แต่กระนั้น พระเจ้าสามารถปลดเปลื้องผลที่เกิดจากความโหดร้ายทารุณใด ๆ ก็ตาม แม้กระทั่งความตาย. ตามที่พระองค์สัญญาไว้ คนที่อยู่ในความทรงจำของพระองค์ซึ่งเสียชีวิตเพราะความโหดร้ายทารุณจะกลับมีชีวิตอีก.—โยฮัน 5:28, 29.
โหดร้ายทารุณเพิ่มขึ้น. คัมภีร์ไบเบิลเชิญเราให้วางใจในพระยะโฮวา ผู้ซึ่งเมื่อถึงเวลาพระองค์จะ “ให้แก่แต่ละคนสมกับแนวทางของเขา และสมกับผลแห่งการกระทำของเขา.” (แม้โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของความโหดร้ายทารุณยังคงมีอยู่ แต่เราสามารถพบการชูใจจากการมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าและมีความเชื่อที่หนักแน่นในคำสัญญาของพระองค์. ขอพิจารณาตัวอย่างของซาราซึ่งได้เลี้ยงดูลูกชายสองคนและพยายามดูแลให้ลูก ๆ ได้รับการศึกษาที่ดีทั้ง ๆ ที่ไม่มีสามีช่วย. แต่เมื่อแก่ตัวลง ลูก ๆ กลับทอดทิ้งเธอและไม่ได้ช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของหรือในยามเจ็บป่วย. อย่างไรก็ดี ซาราซึ่งตอนนี้เป็นคริสเตียนกล่าวว่า “แม้ดิฉันอดเสียใจไม่ได้ แต่พระยะโฮวาก็ไม่ทรงทอดทิ้งดิฉัน. ดิฉันรู้สึกว่าได้รับการเกื้อหนุนจากพระองค์โดยผ่านทางพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณผู้ซึ่งคอยเอาใจใส่ดูแลดิฉันเสมอ. ดิฉันเชื่อแน่ว่าในไม่ช้าพระองค์จะแก้ปัญหาไม่เฉพาะของดิฉันเท่านั้น แต่ของทุกคนที่วางใจในอำนาจของพระองค์และทำสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชา.”
ใครเป็นพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณที่ซารากล่าวถึง? พวกเขาเป็นเพื่อนคริสเตียนที่เธอคบหาด้วย ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวา. พวกเขาประกอบกันเป็นสังคมพี่น้องทั่วโลกที่แสดงความกรุณาผู้ซึ่งมั่นใจว่าในไม่ช้าความโหดร้ายทารุณจะหมดสิ้นไป. (1 เปโตร 2:17) ไม่ว่าจะเป็นซาตานพญามารซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดชอบต่อความโหดร้ายทารุณหรือใครก็ตามที่ทำสิ่งที่โหดร้ายเช่นเดียวกับมันจะถูกกำจัด. “ยุคแห่งความเหี้ยมโหด” นี้ อย่างที่นักเขียนคนหนึ่งกล่าวไว้ จะไม่มีอีกต่อไป. เหตุใดไม่ลองเรียนรู้เกี่ยวกับความหวังนี้โดยติดต่อกับพยานพระยะโฮวาดูล่ะ?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 16 สำหรับการพิจารณาคุณลักษณะต่าง ๆ และบุคลิกลักษณะของพระเจ้าอย่างละเอียด โปรดดูหนังสือจงเข้าใกล้พระยะโฮวา จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 17 บางชื่อเป็นนามสมมุติ.
[กรอบหน้า 6]
วิธีรับมือกับความโหดร้ายทารุณ
พระคำของพระเจ้าเสนอแนะวิธีที่จะรับมือกับความโหดร้ายทารุณ. ลองพิจารณาว่าคุณจะใช้ถ้อยคำแห่งสติปัญญาดังต่อไปนี้ได้อย่างไร:
“อย่ากล่าวว่า, ‘เราจะแก้แค้นเอง;’ จงคอยพระยะโฮวาเถิด, และพระองค์จะทรงช่วยท่าน.”—สุภาษิต 20:22.
“ถ้าเจ้าเห็นคนจนถูกข่มเหงก็ดี, ความยุติธรรมและความสัตย์ธรรม . . . ถูกคร่าเอาไปเสียก็ดี, เจ้าอย่าหลากใจในเรื่องนั้น: ด้วยว่ายังมีท่านผู้สูงกว่าที่คอยปกป้องรักษาอยู่.”—ท่านผู้ประกาศ 5:8.
“บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยนผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก.”—มัดธาย 5:5, ฉบับแปลใหม่.
“เหตุฉะนั้นสิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน.”—มัดธาย 7:12.
“อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย. จงประพฤติตามความชอบธรรมอันเป็นที่นิยมแก่คนทั้งปวง. เหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวกับท่านทั้งหลาย, หากท่านจัดได้จงกระทำตนให้เป็นที่สงบสุขแก่คนทั้งปวง. ดูก่อนท่านผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า, อย่าทำการแก้แค้น, แต่จงมอบการนั้นไว้ แล้วแต่พระเจ้าจะลงพระอาชญา ด้วยมีคำเขียนไว้แล้วว่า, องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า, ‘การแก้แค้นนั้นเป็นพนักงานของเรา, เราเองจะตอบแทน.’ ”—โรม 12:17-19.
“พระคริสต์ได้ทรงรับทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ให้เป็นแบบอย่างแก่ท่าน, เพื่อท่านจะได้ตามรอยพระบาทของพระองค์. . . . ครั้นเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์, พระองค์ไม่ได้กล่าวคำหยาบคายตอบแทนเลย เมื่อพระองค์ได้ทรงทนเอาการร้ายเช่นนั้น, พระองค์ไม่ได้ขู่ตวาด แต่ทรงฝากความของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาโดยชอบธรรม.”—1 เปโตร 2:21-23.
[ภาพหน้า 7]
พระยะโฮวาได้สอนหลายคนให้เลิกการกระทำที่โหดร้ายทารุณ