“พระองค์เจ้าข้า ไฉนพระองค์จึงทรงนิ่งเฉย?”
“พระองค์เจ้าข้า ไฉนพระองค์จึงทรงนิ่งเฉย?”
นี่คือคำกล่าวของโปปเบเนดิกต์ที่ 16 เมื่อได้มาเยือนสถานที่ซึ่งเคยเป็นค่ายกักกันที่เอาชวิทซ์ โปแลนด์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2006. ณ ที่ซึ่งพวกนาซีเคยสังหารชาวยิวและคนอื่น ๆ อีกนับแสน โปปได้กล่าวอีกว่า “เกิดคำถามขึ้นมากมายเหลือเกินในที่แห่งนี้! คำถามที่เกิดขึ้นเสมอคือ พระเจ้าทรงอยู่ที่ไหนในเวลานั้น? ทำไมพระองค์จึงทรงนิ่งเฉย? พระองค์ยอมให้คนแล้วคนเล่าถูกสังหาร และให้ความชั่วได้ชัยชนะเช่นนี้ได้อย่างไร? . . . เราต้องร้องขอพระเจ้าต่อ ๆ ไปอย่างถ่อมใจโดยไม่หยุดว่า ขอทรงทำอะไรสักอย่างเถิด! อย่าได้ทรงลืมมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างเลย!”
คำพูดของโปปทำให้เกิดปฏิกิริยาหลายอย่างตามมา. บางคนสังเกตได้ว่ามีบางอย่างที่โปปจงใจไม่กล่าวถึง เช่น เขาไม่ได้พูดถึงลัทธิต่อต้านยิวซึ่งเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายทารุณซึ่งเกิดขึ้นที่เอาชวิทซ์. คนอื่น ๆ ตีความหมายคำพูดของโปปว่า เขาพยายามจะทำให้คำขอโทษของโปปจอห์น ปอลที่สองสำหรับความผิดที่คริสตจักรทำไปกลายเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญ. นักหนังสือพิมพ์ชาวคาทอลิก ฟิลิปโป เจนติโลนี ให้ข้อสังเกตว่า “อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องเข้าใจได้ตามหลักเหตุผลที่นักวิจารณ์หลายคนเมื่อต้องเจอกับคำถามที่ตอบยากเรื่องพระเจ้าทรงอยู่ที่ไหน ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ ก็มักจะหันไปหาคำตอบให้กับคำถามที่ง่ายกว่า นั่นคือ โปปปิอุสที่ 12 อยู่ที่ไหนในเวลานั้น?” นักวิจารณ์กำลังหมายถึงการที่โปปปิอุสที่ 12 นิ่งเฉยไม่กล่าวอะไรเลยในตอนที่เกิดการสังหารหมู่ชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2.
การสังหารหมู่ดังกล่าวและการฆ่าล้างชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ทำกันตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ให้ข้อพิสูจน์ว่า “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.” (ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.) นอกจากนั้น พระผู้ทรงสร้างมนุษย์ไม่ได้ทรงนิ่งเฉยเมื่อทรงเห็นความน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นมากมาย. โดยทางคัมภีร์ไบเบิล พระองค์ได้ทรงเปิดเผยเหตุผลที่พระองค์ทรงยอมให้มีความชั่ว. พระเจ้ายังได้ทรงรับรองกับเราด้วยว่าพระองค์ไม่ได้ทรงลืมมวลมนุษย์. ที่จริง เวลาที่พระองค์ทรงปล่อยให้มนุษย์ปกครองตัวเองนั้นจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า. (ยิระมะยา 10:23) คุณต้องการทราบมากขึ้นเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อเราไหม? พยานพระยะโฮวายินดีช่วยคุณให้ทราบคำตอบจากคัมภีร์ไบเบิลสำหรับคำถามเหล่านั้นที่สร้างความงุนงงสงสัยให้กับโปปเบเนดิกต์ที่ 16.
[ภาพหน้า 32]
Oświęcim Museum