เหตุผลที่ความทุกข์ทั้งสิ้นจะยุติลงในไม่ช้า
เหตุผลที่ความทุกข์ทั้งสิ้นจะยุติลงในไม่ช้า
“ผู้เป็นศิลา กิจการของพระองค์สมบูรณ์พร้อม.”—พระบัญญัติ 32:4, ล.ม.
1, 2. (ก) เหตุใดคุณจึงถือว่าความหวังเรื่องการมีชีวิตตลอดไปมีค่าอย่างยิ่ง? (ข) อะไรกีดกันหลายคนไว้ไม่ให้เชื่อในพระเจ้าที่ทรงสัญญาอนาคตอันยอดเยี่ยม?
คุณชอบนึกภาพชีวิตในอุทยานไหม? คุณอาจมองเห็นภาพตัวเองกำลังสำรวจดาวเคราะห์ที่น่ามหัศจรรย์ดวงนี้และเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมีหลากหลายแทบไม่รู้จบสิ้น. หรือคุณอาจคิดถึงความอิ่มใจที่คุณจะรู้สึกขณะทำงานด้วยกันกับคนอื่น ๆ ในการดูแลแผ่นดินโลกและช่วยเปลี่ยนโลกให้กลายเป็นอุทยานทั่วทั้งลูกโลก. หรือคุณอาจใคร่ครวญถึงทักษะที่คุณสามารถพัฒนาในด้านศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, หรืองานอื่น ๆ ที่คุณไม่มีเวลาพอจะทำได้ในปัจจุบันนี้เพราะชีวิตมีแต่ความชุลมุนวุ่นวายและเร่งรีบ. ไม่ว่าจะนึกภาพแบบไหน คุณย่อมเห็นค่าความหวังในการมีชีวิตแบบที่คัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “ชีวิตแท้” กล่าวคือ ชีวิตแบบที่พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เรามี พร้อมกับมีความหวังจะได้ชีวิตชั่วนิรันดร์.—1 ติโมเธียว 6:19, ล.ม.
2 เป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นสิทธิพิเศษล้ำค่าที่จะบอกคนอื่นในเรื่องความหวังที่มีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลมิใช่หรือ? อย่างไรก็ตาม หลายคนปฏิเสธความหวังเช่นนั้น. พวกเขาปัดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันสำหรับคนที่ถูกหลอกได้ง่าย. พวกเขาอาจถึงกับรู้สึกว่ายากจะเชื่อในพระเจ้าที่ทรงสัญญาชีวิตนิรันดร์ในอุทยาน. เพราะเหตุใด? สำหรับบางคน อุปสรรคอาจได้แก่สิ่งที่มักเรียกกันว่าปัญหาเรื่องความชั่ว. พวกเขาเชื่อว่าหากพระเจ้ามีจริงและทรงฤทธานุภาพทุกประการและมีความรัก ก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมจึงมีความชั่วและความทุกข์ในโลก. พวกเขาหาเหตุผลว่าไม่มีทางมีพระเจ้าที่ยอมทนกับความชั่วแน่นอน—หรือหากพระเจ้าทรงมีจริง ก็แสดงว่าพระองค์ไม่ได้มีอำนาจสูงสุดหรือไม่ใฝ่พระทัยในมนุษย์เรา. สำหรับบางคนแล้ว การหาเหตุผลแบบนี้นับว่าฟังขึ้น. ซาตานได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วอย่างแน่นอนว่ามันเชี่ยวชาญในการทำให้จิตใจมนุษย์มืดไป.—2 โกรินโธ 4:4.
3. คำถามอะไรที่ตอบได้ยากซึ่งเราสามารถช่วยผู้คนให้ได้รับคำตอบ และเหตุใดเราจึงอยู่ในฐานะพิเศษไม่เหมือนใครที่จะทำอย่างนั้น?
3 ในฐานะพยานพระยะโฮวา เราอยู่ในฐานะพิเศษไม่เหมือนใครที่จะช่วยผู้คนที่กำลังถูกหลอกโดยซาตานและสติปัญญาของโลกนี้. (1 โกรินโธ 1:20; 3:19) เราเข้าใจว่าทำไมหลายคนจึงไม่เชื่อคำสัญญาในคัมภีร์ไบเบิล. พวกเขาเพียงแต่ไม่รู้จักพระยะโฮวา. พวกเขาอาจไม่รู้จักพระนามของพระองค์หรือความหมายของพระนามนั้น และพวกเขาคงรู้เพียงเล็กน้อยหรือไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์หรือประวัติในเรื่องการรักษาสัญญาของพระองค์. เราได้รับการอวยพรให้มีความรู้เช่นนั้น. นับว่าดีที่เราจะทบทวนเป็นครั้งคราวถึงวิธีที่ เราสามารถช่วยผู้คนที่อยู่ใน “ความมืดทางจิตใจ” ให้พบคำตอบสำหรับคำถามที่ยากที่สุดข้อหนึ่งที่คนเราถามกัน นั่นคือ “ทำไมพระเจ้าทรงยอมให้มีความชั่วและความทุกข์?” (เอเฟโซ 4:18, ล.ม.) ก่อนอื่น เราจะพิจารณากันถึงวิธีที่ได้ผลดีในการปูพื้นฐานไว้สำหรับคำตอบ. จากนั้น เราจะพิจารณากันถึงวิธีที่คุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวาปรากฏชัดในวิธีที่พระองค์ทรงจัดการในเรื่องความชั่ว.
หาวิธีตอบอย่างถูกต้อง
4, 5. เราอาจจำเป็นต้องทำอะไรก่อนเมื่อมีบางคนถามขึ้นมาว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์? จงอธิบาย.
4 เมื่อบางคนถามว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์ เราตอบอย่างไร? เราอาจมีแนวโน้มว่าจะให้คำอธิบายอย่างละเอียดในทันที เริ่มตั้งแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสวนเอเดน. ในบางกรณี การตอบอย่างนั้นอาจเหมาะสม. อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังด้วยเหมือนกัน. อาจจำเป็นต้องปูพื้นฐานบางอย่างไว้ก่อน. (สุภาษิต 25:11; โกโลซาย 4:6) ให้เราพิจารณาสามจุดที่อาจใช้ได้เพื่อช่วยผู้คนก่อนจะให้คำตอบสำหรับคำถามนั้น.
5 จุดแรก หากคนนั้นเป็นทุกข์ร้อนใจเป็นพิเศษในเรื่องความชั่วที่มีอยู่แพร่หลายในโลก อาจเป็นได้ว่าความชั่วนั้นได้ส่งผลกระทบต่อตัวเขาเองหรือบุคคลที่เขารัก. ถ้าอย่างนั้น คงนับว่าสุขุมที่จะเริ่มโดยแสดงความเห็นอกเห็นใจจากใจจริง. อัครสาวกเปาโลให้คำแนะนำแก่คริสเตียนดังนี้: “จงร้องไห้ด้วยกันกับผู้ที่ร้องไห้.” (โรม 12:15) การแสดงความ “เห็นอกเห็นใจ” อาจกระตุ้นใจคนนั้น. (1 เปโตร 3:8, ฉบับแปลใหม่) หากเขาเข้าใจว่าเราเป็นห่วงเขา เขาอาจมีแนวโน้มที่จะฟังสิ่งที่เราอยากบอกเขามากกว่า.
6, 7. เหตุใดจึงเหมาะที่เราจะชมเชยบุคคลผู้มีความจริงใจที่ตั้งคำถามเกี่ยวข้องกับเรื่องลึกซึ้งในคัมภีร์ไบเบิลที่รบกวนใจเขา?
6 จุดที่สอง เราอาจชมเชยบุคคลผู้มีความจริงใจคนนั้นที่ถามอย่างนี้. บางคนลงความเห็นว่าการที่เขากังวลสงสัยอย่างนี้แสดงว่าเขาเองไม่มีความเชื่อหรือไม่นับถือพระเจ้า. พวกนักเทศน์อาจบอกกับพวกเขาอย่างนั้นเสียด้วยซ้ำ. อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป. ที่จริง ผู้คนที่มีความเชื่อในสมัยคัมภีร์ไบเบิลก็ถามคล้าย ๆ กันนั้น. ตัวอย่างเช่น ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญถามว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ทำไมพระองค์จึงทรงยืนอยู่ห่างไกล? ทำไมจึงทรงซ่อนพระองค์เสียในเมื่อเกิดความทุกข์ยาก?” (บทเพลงสรรเสริญ 10:1) คล้ายกัน ผู้พยากรณ์ฮะบาฆูคถามว่า “โอ้พระยะโฮวา, ข้าพเจ้าจะร้องไห้นานเท่าใด, แลพระองค์จะไม่ทรงสดับฟังหรือ. ข้าพเจ้าร้องถึงพระองค์เพราะเหตุร้าย, แลพระองค์จะไม่ทรงโปรดช่วยให้รอด. เหตุใดพระองค์ให้ข้าพเจ้าเห็นความชั่ว, แลให้ข้าพเจ้าแลดูความทุกข์ยาก, เพราะความฉิบหายแลความอันตรายอยู่ตรงหน้าข้าพเจ้า, แลมีผู้วิวาทแลกล่าวแก่งแย่งยกย่องตนขึ้น?”—ฮะบาฆูค 1:2, 3.
7 คนเหล่านี้เป็นผู้ซื่อสัตย์ที่นับถือพระเจ้าอย่างยิ่ง. พวกเขาถูกตำหนิที่ตั้งคำถามที่แสดงความเดือดร้อนใจเช่นนั้นไหม? ตรงกันข้าม พระยะโฮวาทรงเห็นสมควรให้บันทึกคำถามอันจริงใจของพวกเขาไว้ในพระคำของพระองค์. ปัจจุบัน คนที่เป็นห่วงกังวลในเรื่องความชั่วที่มีอยู่อย่างแพร่หลายอันที่จริงแล้วอาจหิวกระหายฝ่ายวิญญาณ อยากจะได้คำตอบอย่างยิ่ง ซึ่งมีเพียงคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้นจะให้ได้. จำไว้ว่า พระเยซูทรงพูดถึงคนที่หิวกระหายฝ่ายวิญญาณ หรือคนที่ “รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน” ในแง่ดี. (มัดธาย 5:3, ล.ม.) นับเป็นสิทธิพิเศษสักเพียงไรที่จะช่วยคนเช่นนั้นให้พบความสุขที่พระเยซูทรงสัญญา!
8. คำสอนอะไรที่ทำให้สับสนซึ่งทำให้ผู้คนเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นต้นเหตุของความทุกข์ยาก และเราจะช่วยพวกเขาได้โดยวิธีใด?
8 จุดที่สาม เราอาจจำเป็นต้องช่วยคนนั้นให้เข้าใจว่าพระเจ้าไม่ใช่ต้นเหตุของความชั่วร้ายที่มีอยู่แพร่หลายในโลก. ผู้คนมากมายถูกสอนว่าพระเจ้าทรงปกครองโลกนี้ที่เราอาศัยอยู่, พระเจ้าทรงกำหนดทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราไว้นานแล้ว, และพระองค์ทรงมีเหตุผลอันเป็นเรื่องลึกลับที่ไม่อาจอธิบายได้สำหรับการก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่มนุษยชาติ. คำสอนเหล่านี้เป็นเรื่องเท็จ. คำสอนดังกล่าวไม่ให้เกียรติพระเจ้าและให้ภาพว่าพระองค์เป็นต้นเหตุของความชั่วร้ายและความทุกข์ในโลกนี้. ดังนั้น เราอาจจำเป็นต้องใช้พระคำของพระเจ้าเพื่อแก้ความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง. (2 ติโมเธียว 3:16) พระยะโฮวาไม่ใช่ผู้ปกครองระบบอันชั่วร้ายเลวทรามนี้ หากแต่เป็นซาตานพญามาร. (1 โยฮัน 5:19) พระยะโฮวาไม่ได้กำหนดชะตากรรมของสิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญาทั้งหลาย; พระองค์ทรงโปรดให้แต่ละคนมีเสรีภาพและโอกาสที่จะเลือกเอาเองระหว่างสิ่งที่ดีกับ สิ่งที่ชั่ว สิ่งที่ถูกต้องกับสิ่งที่ผิด. (พระบัญญัติ 30:19) และพระยะโฮวาไม่เคยเป็นต้นเหตุของความชั่ว; พระองค์ทรงเกลียดชังความชั่วและทรงห่วงใยคนที่ประสบทุกข์อย่างไม่ยุติธรรม.—โยบ 34:10; สุภาษิต 6:16-19; 1 เปโตร 5:7.
9. มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ได้จัดเตรียมให้เพื่อช่วยผู้คนให้เข้าใจว่าทำไมพระยะโฮวาพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์?
9 เมื่อคุณได้ปูพื้นฐานไว้แล้ว คุณก็อาจพบว่าผู้ฟังของคุณอยู่พร้อมจะเรียนรู้ว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้ความทุกข์มีอยู่. เพื่อช่วยคุณ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ได้จัดเตรียมเครื่องมือไว้ให้เป็นจำนวนมาก. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) ยกตัวอย่าง ณ การประชุมภาคประจำปี 2005/2006 “การเชื่อฟังพระเจ้า” ได้มีการออกแผ่นพับ ความทุกข์ทั้งสิ้นจะยุติลงในไม่ช้า! หากมีแผ่นพับนี้ในภาษาของคุณ คุณเองน่าจะทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาในแผ่นพับนี้มิใช่หรือ? คล้ายกัน หนังสือคัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริงๆ? ซึ่งเดี๋ยวนี้มีใน 157 ภาษา ก็ยกบทหนึ่งให้เพื่อตอบคำถามสำคัญนี้. จงใช้ประโยชน์ให้เต็มที่จากเครื่องมือเหล่านี้. สิ่งพิมพ์เหล่านี้อธิบายอย่างชัดเจนถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีพรรณนาในพระคัมภีร์ซึ่งทำให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับสากลบรมเดชานุภาพขึ้นในสวนเอเดน และเหตุผลที่พระยะโฮวาทรงจัดการกับการท้าทายนั้นอย่างที่พระองค์ทรงจัดการ. ขอให้จำไว้ด้วยว่าขณะที่คุณพิจารณาเรื่องนี้ คุณกำลังเปิดเผยให้ผู้ฟังทราบขอบข่ายความรู้ที่สำคัญที่สุดเท่าที่มีอยู่. นั่นคือความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวาและคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมของพระองค์.
จงเน้นคุณลักษณะของพระยะโฮวา
10. หลายคนรู้สึกว่ายากจะเข้าใจในเรื่องใดเกี่ยวกับการที่พระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์ และความรู้อะไรอาจช่วยเขาได้?
10 เมื่อคุณช่วยผู้คนให้เข้าใจเหตุผลที่พระยะโฮวาทรงยอมให้มนุษย์ปกครองตัวเองโดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของซาตาน จงพยายามดึงความสนใจของพวกเขาไปที่คุณลักษณะอันยอดเยี่ยมของพระยะโฮวา. ผู้คนมากมายรู้ว่าพระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยอำนาจ; พวกเขาคุ้นเคยกับข้อเท็จจริงนี้เพราะได้ยินคนอื่นเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ. อย่างไรก็ตาม พวกเขาอาจรู้สึกว่ายากพระบัญญัติ 32:4, ล.ม.) คุณจะเน้นคุณลักษณะเหล่านี้ให้เด่นชัดได้อย่างไรขณะที่คุณตอบคำถามซึ่งมักจะถามกันในเรื่องนี้? ให้เราพิจารณากันสักสองสามตัวอย่าง.
จะเข้าใจว่าทำไมพระองค์ไม่ใช้อำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ยุติความอยุติธรรมและความทุกข์ในทันที. พวกเขาอาจจะขาดความเข้าใจในเรื่องคุณลักษณะอื่น ๆ ของพระยะโฮวา เช่น ความบริสุทธิ์, ความยุติธรรม, สติปัญญา, และความรัก. พระยะโฮวาทรงแสดงคุณลักษณะเหล่านี้อย่างสมบูรณ์และสมดุล. ด้วยเหตุนั้น คัมภีร์ไบเบิลจึงกล่าวไว้ว่า “กิจการของพระองค์สมบูรณ์พร้อม.” (11, 12. (ก) เหตุใดการให้อภัยไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้เมื่ออาดามและฮาวาทำบาป? (ข) เหตุใดพระยะโฮวาจะไม่ทรงยอมทนกับบาปตลอดไป?
11 พระยะโฮวาจะเพียงแต่ให้อภัยอาดามและฮาวาได้ไหม? การให้อภัยไม่อาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในกรณีนี้. เนื่องจากอาดามและฮาวาซึ่งเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้จงใจเลือกจะปฏิเสธพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา และเลือกตอบรับการชี้นำจากซาตานแทน. ไม่น่าแปลกใจที่ไม่มีอะไรบ่งชี้เลยว่าผู้ขืนอำนาจเหล่านี้แสดงการกลับใจ. อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนถามว่าทำไมพระยะโฮวาไม่ทรงให้อภัย จริง ๆ แล้วพวกเขาอาจกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดพระยะโฮวาไม่เพียงแต่ลดมาตรฐานของพระองค์ลงแล้วก็ยอมทนกับการดำรงอยู่ของบาปและการขืนอำนาจ. คำตอบในเรื่องนี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับคุณลักษณะซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในคุณสมบัติอันแท้จริงของพระยะโฮวา นั่นคือความบริสุทธิ์ของพระองค์.—เอ็กโซโด 28:36; 39:30.
12 คัมภีร์ไบเบิลเน้นในเรื่องความบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาเป็นร้อย ๆ ครั้ง. แต่น่าเศร้า มีน้อยคนในโลกที่เสื่อมทรามนี้เข้าใจคุณลักษณะดังกล่าว. พระยะโฮวาทรงบริสุทธิ์สะอาดและแยกอยู่ต่างหากจากบาปทั้งสิ้น. (ยะซายา 6:3; 59:2) ในเรื่องบาป พระองค์ได้ทรงจัดเตรียมให้มีวิธีไถ่ถอนและขจัดบาปให้หมดสิ้นไป แต่พระองค์จะไม่ทรงยอมทนกับบาปตลอดไป. หากพระยะโฮวาทรงประสงค์จะยอมทนกับบาปไปชั่วนิรันดร์ เราก็จะไม่มีความหวังเลยในเรื่องอนาคต. (สุภาษิต 14:12) เมื่อถึงเวลากำหนดของพระองค์ พระยะโฮวาจะจัดการให้สิ่งทรงสร้างทั้งสิ้นของพระองค์กลับคืนสู่สภาพบริสุทธิ์. นั่นเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะนั่นคือพระทัยประสงค์ขององค์บริสุทธิ์.
13, 14. เหตุใดพระยะโฮวาไม่ได้เลือกที่จะทำลายผู้ขืนอำนาจในสวนเอเดน?
13 พระยะโฮวาจะเพียงแต่ทำลายผู้ขืนอำนาจในสวนเอเดนแล้วเริ่มทุกสิ่งใหม่ได้ไหม? พระองค์ทรงมีอำนาจที่จะทำอย่างนั้นได้แน่นอน; ในไม่ช้าพระองค์จะทรงใช้อำนาจนั้นทำลายคนชั่วทั้งสิ้น. บางคนอาจสงสัยว่า ‘แล้วทำไมพระองค์ไม่ทำอย่างนั้นเมื่อมีเพียงสามบุคคลที่เป็นผู้ทำบาปในเอกภพ? เมื่อทรงทำอย่างนั้น การแพร่กระจายของบาป—และความทุกข์ยากทั้งหมดที่เราเห็นในโลกนี้—ก็จะไม่เกิดขึ้นมิใช่หรือ?’ เหตุใดพระยะโฮวาไม่เลือกทำตามแนวทางนั้น? พระบัญญัติ 32:4 กล่าวว่า “ทางทั้งปวงของพระองค์ยุติธรรม.” พระยะโฮวาทรงมีความสำนึกอย่างแรงกล้าในเรื่องความยุติธรรม. ที่จริง “พระยะโฮวาทรงรักความยุติธรรม.” (บทเพลงสรรเสริญ 37:28) เนื่องจากทรงรักความยุติธรรม พระยะโฮวาจึงมิได้ทำลายล้างผู้ขืนอำนาจในสวนเอเดน. เพราะเหตุใด?
14 การขืนอำนาจของซาตานก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องเที่ยงธรรมแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระเจ้า. ความสำนึกในเรื่องความยุติธรรมของพระยะโฮวาทำให้จำเป็นต้องจัดให้มีคำตอบที่ยุติธรรมสำหรับการท้าทายของซาตาน. การสำเร็จโทษผู้ขืนอำนาจในทันที แม้ว่าสมควรแก่โทษ แต่จะไม่ได้ทำให้มีคำตอบเช่นนั้น. การทำอย่างนั้นจะให้ข้อพิสูจน์ว่าพระยะโฮวาทรงมีอำนาจสูงสุด แต่ว่าประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าพระยะโฮวาทรงมีอำนาจสูงสุดหรือไม่. นอกจากนั้น พระยะโฮวาได้บอกพระประสงค์ของพระองค์กับอาดามและฮาวาแล้ว. พวกเขาจะบังเกิดลูกหลานจนเต็มแผ่นดินโลก ปกครองดูแลแผ่นดินโลก และมีอำนาจเหนือสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้นบนแผ่นดินโลก. (เยเนซิศ 1:28) หากพระยะโฮวาเพียงแต่ทำลายอาดามและฮาวาเสีย พระประสงค์เกี่ยวกับมนุษย์ที่พระองค์ทรงประกาศไว้แล้วก็จะกลายเป็นคำตรัสที่ไร้ความหมาย. ความยุติธรรมของพระยะโฮวาจะไม่ยอมให้ผลออกมาอย่างนั้น เพราะพระองค์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จเสมอ.—ยะซายา 55:10, 11.
15, 16. เมื่อมีคนเสนอทางเลือกที่เป็น “วิธีแก้ปัญหา” สำหรับการท้าทายที่เกิดขึ้นในสวนเอเดน เราอาจช่วยเขาได้โดยวิธีใด?
15 มีใครไหมในเอกภพนี้สามารถจัดการกับการขืนอำนาจด้วยสติปัญญาที่เหนือกว่าพระยะโฮวา? บางคนอาจโรม 11:25; 16:25-27, ล.ม.
เสนอ “วิธีแก้ปัญหา” ของเขาเองสำหรับการขืนอำนาจที่เกิดขึ้นในสวนเอเดน. แต่การทำอย่างนั้นจะไม่เท่ากับว่าเขากำลังพูดเป็นนัย ๆ ว่าตัวเขาเองสามารถคิดหาวิธีจัดการกับประเด็นนั้นได้ดีกว่าพระยะโฮวาหรอกหรือ? เขาอาจไม่ได้เสนออย่างนั้นด้วยเจตนาไม่ดี แต่ว่าเขาไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระสติปัญญาอันน่าเกรงขามของพระองค์. เมื่อเขียนถึงคริสเตียนในกรุงโรม อัครสาวกเปาโลเจาะลึกลงไปในเรื่องพระสติปัญญาของพระเจ้า รวมถึงเรื่อง “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์” เกี่ยวกับพระประสงค์ของพระยะโฮวาที่จะใช้ราชอาณาจักรมาซีฮาให้ไถ่บาปมนุษยชาติที่ซื่อสัตย์และทำให้พระนามอันบริสุทธิ์ของพระองค์ได้รับการยกย่องเชิดชู. เปาโลรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระสติปัญญาของพระเจ้าผู้ตั้งพระประสงค์นี้ไว้? ท่านอัครสาวกกล่าวลงท้ายจดหมายของท่านด้วยคำพูดดังนี้: “ขอพระเกียรติจงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูแต่องค์เดียวโดยทางพระเยซูคริสต์ตลอดไป. อาเมน.”—16 เปาโลเข้าใจว่าพระยะโฮวา “ทรงสัพพัญญูแต่องค์เดียว” กล่าวคือ ทรงมีสติปัญญาสูงสุดในเอกภพ. มีมนุษย์ไม่สมบูรณ์คนไหนที่จะบังอาจคิดได้ว่าเขามีวิธีที่ดีกว่าในการจัดการกับสิ่งใด ๆ—อย่าว่าแต่ในเรื่องนี้ซึ่งเป็นการท้าทายที่จัดการได้ยากที่สุด? ดังนั้น เราจำเป็นต้องช่วยผู้คนให้มีความเคารพยำเกรงแบบเดียวกับที่เรามีต่อพระเจ้าผู้ “มีพระทัยประกอบด้วยสติปัญญา.” (โยบ 9:4, ล.ม.) ยิ่งเราเข้าใจพระสติปัญญาของพระยะโฮวามากเท่าใด เราก็ยิ่งจะไว้วางใจอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้นว่าแนวทางของพระองค์ในการจัดการเรื่องต่าง ๆ นั้นดีที่สุด.—สุภาษิต 3:5, 6.
ซาบซึ้งคุณลักษณะที่เด่นที่สุดของพระยะโฮวา
17. การเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความรักของพระยะโฮวาช่วยคนที่เป็นทุกข์ร้อนใจเพราะการที่พระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์ได้อย่างไร?
17 “พระเจ้าทรงเป็นความรัก.” (1 โยฮัน 4:8) ด้วยถ้อยคำที่โดดเด่นนี้ คัมภีร์ไบเบิลระบุคุณลักษณะที่เด่นที่สุดของพระยะโฮวา คุณลักษณะที่น่าดึงดูดใจที่สุดและให้กำลังใจมากที่สุดแก่คนที่เป็นทุกข์ร้อนใจเพราะความชั่วที่มีอยู่แพร่หลาย. พระยะโฮวาได้แสดงความรักในทุกแง่มุมของวิธีที่พระองค์ทรงจัดการกับอำนาจทำลายอันร้ายกาจของบาปที่มีต่อสิ่งทรงสร้างของพระองค์. ความรักกระตุ้นพระยะโฮวาให้ประทานความหวังแก่ลูกหลานที่ผิดบาปของอาดามและฮาวา. (เยเนซิศ 3:15) พระเจ้าทรงอนุญาตให้พวกเขาเข้าเฝ้าพระองค์ในคำทูลอธิษฐานและทำให้พวกเขาสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระองค์. ความรักกระตุ้นพระเจ้าให้จัดให้มีค่าไถ่ที่เปิดทางสำหรับการอภัยบาปอย่างครบถ้วนและฟื้นฟูคนเราให้กลับสู่ความสมบูรณ์และมีชีวิตนิรันดร์. (โยฮัน 3:16) และความรักได้กระตุ้นพระองค์ให้อดทนกับมนุษยชาติ ให้โอกาสแก่พวกเขามากเท่าที่จะมากได้ที่จะปฏิเสธซาตานและเลือกอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาในฐานะองค์บรมมหิศรของพวกเขา.—2 เปโตร 3:9.
18. เรามีความยินดีที่มีความเข้าใจลึกซึ้งอะไร และเราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
18 เมื่อนักเทศน์คนหนึ่งกล่าวปราศรัยต่อผู้ฟังที่มาชุมนุมกันเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันครบรอบการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้เกิดความพินาศยับเยิน เขากล่าวว่า “เราไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้ความชั่วร้ายและความทุกข์ยังคงดำเนินอยู่.” น่าเศร้าสักเพียงไร! เรารู้สึกยินดีมิใช่หรือที่เข้าใจลึกซึ้งในเรื่องนี้? (พระบัญญัติ 29:29) และเนื่องจากพระยะโฮวาทรงเปี่ยมด้วยสติปัญญา, ความยุติธรรม, และความรัก เราทราบว่าในไม่ช้าพระองค์จะจัดการให้ความทุกข์ทั้งสิ้นยุติลง. ที่จริง พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้แล้วว่าจะทำอย่างนั้น. (วิวรณ์ 21:3, 4) แต่จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่ได้เสียชีวิตตลอดศตวรรษต่าง ๆ ที่ผ่านไป? วิธีจัดการของพระยะโฮวากับประเด็นในสวนเอเดนทำให้คนเหล่านี้ปราศจากความหวังไหม? ไม่เลย. ความรักกระตุ้นพระองค์ให้จัดเตรียมเพื่อพวกเขาเช่นเดียวกัน โดยทางการกลับเป็นขึ้นจากตาย. นั่นจะเป็นหัวเรื่องของบทความถัดไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราสามารถพูดอะไรกับคนที่ถามว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์?
• ความบริสุทธิ์และความยุติธรรมของพระยะโฮวาปรากฏชัดอย่างไรในวิธีที่พระองค์ทรงจัดการกับผู้ขืนอำนาจในสวนเอเดน?
• เหตุใดเราควรช่วยผู้คนให้เข้าใจมากขึ้นในเรื่องความรักของพระยะโฮวา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
จงพยายามช่วยคนที่เป็นทุกข์ร้อนใจเพราะความทุกข์ที่มีอยู่ในโลก
[ภาพหน้า 23]
ดาวิดและฮะบาฆูคผู้ซื่อสัตย์ถามพระเจ้าด้วยความจริงใจ