เหตุใดจึงร่วมประชุมกัน?
เหตุใดจึงร่วมประชุมกัน?
จู่ ๆ สามีของคริสตินก็ทิ้งเธอไปหลังจากแต่งงานกันมาถึง 20 ปี. คริสตินต้องเลี้ยงลูกชายเจ็ดคนและลูกสาวหนึ่งคนตามลำพัง. พวกเขามีอายุไล่เลี่ยกันตั้งแต่ 7 ปีถึง 18 ปี. เธอเล่าว่า “ตอนนี้ดิฉันต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ด้วยตัวเอง. ดิฉันรู้สึกท้อใจเนื่องจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและต้องการการเกื้อหนุนและการชี้นำ.” เธอพบการช่วยเหลือที่จำเป็นได้จากที่ไหน?
คริสตินกล่าวว่า “การประชุมคริสเตียนเป็นเหมือนเชือกชูชีพสำหรับดิฉันและครอบครัว. ที่การประชุม เราได้รับการหนุนใจจากเพื่อน ๆ และการชี้นำจากพระคำของพระเจ้า. การเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เป็นประจำช่วยเราในทุกแง่มุมที่สำคัญของชีวิตครอบครัว.”
ในช่วง “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” นี้ เราทุกคนต้องรับมือกับความยากลำบากหลายอย่างต่าง ๆ กันไป. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) เช่นเดียวกับคริสติน คุณอาจมองว่าการประชุมของพยานพระยะโฮวาเป็นเหมือนเชือกชูชีพทางฝ่ายวิญญาณ เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการนมัสการพระยะโฮวา. เป็นไปได้มากทีเดียวว่า การประชุมห้ารายการในแต่ละสัปดาห์คงจะกระตุ้นคุณให้รักพระเจ้า, เสริมสร้างความหวังของคุณเกี่ยวกับอนาคต, และให้คำแนะนำที่อาศัยพระคัมภีร์เกี่ยวกับวิธีรับมือกับความยากลำบาก.
อย่างไรก็ตาม บางคนรู้สึกว่าการเข้าร่วมประชุมเป็นประจำเป็นเรื่องยาก. พวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากทำงานมาทั้งวัน และที่จะคิดในเรื่องการแต่งกายอย่างเหมาะสมและการเดินทางไปประชุมอาจดูเหมือนเป็นเรื่องยาก. บางคนพบว่าตารางเวลาทำงานของเขาเป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมประชุม. เพื่อที่จะเข้าร่วมประชุมครบทุกรายการ พวกเขาจะต้องสูญเสียรายได้ไปบ้างหรืออาจเสี่ยงต่อการตกงาน. บางคนอาจขาดการประชุมบางรายการเพราะรู้สึกว่านันทนาการบางอย่างคงจะทำให้สดชื่นมากกว่าการคบหากับพี่น้องในประชาคม.
ดังนั้น มีเหตุผลสำคัญอะไรที่กระตุ้นให้คุณเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน? คุณจะทำให้โอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ตัวคุณเองสดชื่นได้อย่างไร? เพื่อจะช่วยตอบคำถามดังกล่าว ให้เราพิจารณาคำเชิญอันอบอุ่นของพระเยซูที่บันทึกในมัดธาย 11:28-30. พระองค์ตรัสว่า “บรรดาผู้ลำบากเหน็ดเหนื่อยจงมาหาเรา, และเราจะให้ท่านทั้งหลายหายเหนื่อยเป็นสุข. จงเอาแอกของเราแบกไว้, แล้วเรียนจากเรา, เพราะว่าใจเราอ่อนสุภาพ, และท่านทั้งหลายจะได้ความสุขสำราญในใจของตน. ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ, และภาระของเราก็เบา.”
“จงมาหาเรา”
พระเยซูตรัสว่า “จงมาหาเรา.” วิธีหนึ่งที่จะตอบรับคำเชิญนั้นคือการเข้าร่วมประชุมเป็นประจำ. มีเหตุผลที่ดีที่เรามัดธาย 18:20.
ควรอยู่ที่การประชุม เพราะพระเยซูตรัสในอีกโอกาสหนึ่งว่า “มีสองสามคนประชุมกันที่ไหน ๆ ในนามของเราเราจะอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น.”—ในสมัยศตวรรษแรก พระเยซูเองทรงเชิญผู้คนมากมายให้ติดตามพระองค์. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงให้โอกาสพวกเขามีการคบหาสมาคมอย่างใกล้ชิดสนิทสนมกับพระองค์. บางคนตอบรับทันที. (มัดธาย 4:18-22) ส่วนคนอื่น ๆ ยอมให้สิ่งต่าง ๆ เช่น ผลประโยชน์ฝ่ายวัตถุมาขัดขวางพวกเขาไม่ให้ตอบรับคำเชิญ. (มาระโก 10:21, 22; ลูกา 9:57-62) สำหรับคนที่ติดตามพระองค์ พระเยซูให้คำรับรองกับพวกเขาว่า “ท่านทั้งหลายมิได้เลือกเรา, แต่เราได้เลือกท่านทั้งหลาย.”—โยฮัน 15:16.
หลังการสิ้นพระชนม์และคืนพระชนม์ พระคริสต์ไม่อยู่กับเหล่าสาวกของพระองค์อีกต่อไป. แต่พระองค์ยังคงอยู่กับพวกเขาในแง่ที่ว่าพระองค์ชี้นำการงานของพวกเขาและเฝ้าดูว่าพวกเขาตอบรับคำแนะนำอย่างไร. ตัวอย่างเช่น ประมาณ 70 ปีหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู พระองค์ให้คำแนะนำและการหนุนใจแก่เจ็ดประชาคมในเอเชียไมเนอร์. คำตรัสของพระองค์แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทราบดีถึงจุดดีและจุดด้อยของแต่ละประชาคม.—วิวรณ์ 2:1–3:22.
พระเยซูยังคงให้ความสนใจอย่างแท้จริงในสาวกแต่ละคน. พระองค์สัญญาว่า “นี่แหละ, เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอไปเป็นนิตย์กว่าจะสิ้นโลก.” (มัดธาย 28:20) เรากำลังอยู่ในสมัยสุดท้ายแล้วในตอนนี้ และเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำเชิญของพระเยซูที่ให้ติดตามพระองค์. เพื่อจะทำเช่นนั้นได้ ส่วนหนึ่งเราต้องเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เป็นประจำ. พระเยซูประสงค์ให้เราฟังพระองค์และ “ได้รับการสั่งสอนโดยทางพระองค์” โดยผ่านทางการศึกษาและคำบรรยายที่อาศัยพระคัมภีร์เป็นหลักซึ่งมีการนำเสนอเป็นประจำในการประชุมต่าง ๆ. (เอเฟโซ 4:20, 21, ล.ม.) คุณกำลังตอบรับคำเชิญของพระเยซูที่ว่า “จงมาหาเรา” ไหม?
“บรรดาผู้ลำบากเหน็ดเหนื่อย”
เหตุผลสำคัญยิ่งที่ควรเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนคือเพื่อรับการหนุนใจ. (เฮ็บราย 10:24, 25) แน่นอน พวกเราหลายคน “ลำบากเหน็ดเหนื่อย” ในหลาย ๆ ด้าน. คุณอาจกังวลเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวหลายอย่าง เช่น ปัญหาสุขภาพ. ที่การประชุมคริสเตียน คุณจะได้มีโอกาสหนุนใจซึ่งกันและกัน. (โรม 1:11, 12) ตัวอย่างเช่น คุณจะได้ฟังการออกความเห็นที่เสริมสร้างฝ่ายวิญญาณ, ได้รับการเตือนให้นึกถึงความหวังของคุณที่อาศัยพระคัมภีร์, และเห็นความเชื่อของคนอื่น ๆ ที่กำลังอดทนความยากลำบาก. ทั้งหมดนี้สามารถช่วยคุณให้รับมือและมองปัญหาอย่างที่มีความสมดุล.
ขอพิจารณาความเห็นของสตรีคริสเตียนคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์กับโรคเรื้อรัง. เธออธิบายว่า “โรคที่ดิฉันเป็นทำให้ดิฉันต้องอยู่ในโรงพยาบาลระยะหนึ่ง. การไปประชุมหลังออกจากโรงพยาบาลอาจไม่ง่ายเท่าไรนัก แต่นั่นเป็นที่ที่เหมาะสำหรับดิฉัน. ความอบอุ่นและความรักจากพี่น้องชายหญิงช่วยเติมความยินดีให้ดิฉัน อีกทั้งคำสอนและการชี้นำจากพระยะโฮวาและพระเยซูช่วยให้ชีวิตของดิฉันมีความหมาย.”
“แอกของเราก็พอเหมาะ, และภาระของเราก็เบา”
ขอสังเกตว่าในข้อความที่เรากำลังพิจารณาอย่างละเอียดนี้ พระเยซูตรัสว่าจง “เรียนจากเรา.” โดยเรียนจากพระเยซู เรากลายเป็นสาวกของพระองค์ และเรารับเอาแอกของพระองค์เมื่อเราอุทิศตัวแด่พระเจ้าและรับบัพติสมา. (มัดธาย 28:19, 20) การเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำนับว่าสำคัญยิ่งหากเราต้องการเป็นสาวกของพระเยซูต่อไป. เพราะเหตุใด? เพราะ ณ การประชุมคริสเตียนนี่เองที่เราได้รับการสอนเกี่ยวกับพระเยซู, คำสอน, และวิธีสอนของพระองค์.
ภาระที่พระคริสต์ต้องการให้เราแบกคืออะไร? ก็คือภาระเดียวกันกับที่พระองค์แบกซึ่งก็ได้แก่ สิทธิพิเศษในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (โยฮัน 4:34; 15:8) การเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้าเรียกร้องความพยายาม แต่ ภาระนี้ก็ไม่หนักเกินกว่าที่จะแบกรับได้. มันอาจดูเหมือนหนักหากเราพยายามแบกด้วยกำลังของเราเอง. อย่างไรก็ตาม หากเราอธิษฐานขอพระวิญญาณของพระเจ้าและรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณในการประชุมต่าง ๆ เราจะได้รับ “กำลังที่มากกว่าปกติ” จากพระเจ้า. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) โดยการเตรียมตัวและมีส่วนร่วมในการประชุม ความรักที่เรามีต่อพระยะโฮวาจะแรงกล้าขึ้น. และเมื่อการกระทำของเราได้รับการกระตุ้นด้วยความรัก พระบัญชาของพระเจ้าก็ “ไม่เป็นภาระหนัก.”—1 โยฮัน 5:3, ล.ม.
ผู้คนทั่วไปเผชิญปัญหาต่าง ๆ เช่น การทำมาหากิน, การรับมือกับปัญหาสุขภาพ, และปัญหาส่วนตัว. อย่างไรก็ตาม เพื่อจะรับมือได้อย่างประสบผลสำเร็จ เราไม่เพียงแค่วางใจสติปัญญาของมนุษย์. การประชุมประจำประชาคมช่วยเราให้ “เลิกกระวนกระวาย” เพราะพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมสิ่งจำเป็นและช่วยเรารับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้. (มัดธาย 6:25-33, ล.ม.) จริงทีเดียว การประชุมคริสเตียนเป็นการแสดงออกถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อเรา.
“ใจเราอ่อนสุภาพ”
เป็นกิจวัตรของพระเยซูที่จะไปที่ธรรมศาลาซึ่งมีการพิจารณาพระคำของพระเจ้า. ในโอกาสหนึ่ง พระเยซูเอาม้วนหนังสือของยะซายาออกมาและอ่านว่า “พระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่บนข้าพเจ้า, เพราะว่าพระองค์ได้ทรงชโลมตั้งข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศกิตติคุณแก่คนยากจน พระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้าให้บอกแก่พวกเชลยว่า เขาจะได้กลับเป็นไทย ให้บอกแก่คนตาบอดว่า จะได้เห็นอีก ให้บอกแก่คนที่ถูกกดขี่ข่มเหงว่า จะได้พ้นทุกข์ และให้ประกาศปีที่พระเจ้ากำหนดจะทรงโปรดปรานนั้น.” (ลูกา 4:16, 18, 19) คงจะน่ายินดีสักเพียงไรที่ได้ยินพระเยซูปฏิบัติตามถ้อยคำเหล่านั้นโดยตรัสว่า “วันนี้คัมภีร์ตอนนี้ที่ท่านได้ยินกับหูของท่านก็สำเร็จแล้ว”!—ลูกา 4:21.
พระเยซู “ผู้บำรุงเลี้ยงองค์สำคัญ” ที่สุภาพอ่อนโยน ยังคงดูแลเอาใจใส่บำรุงเลี้ยงสภาพฝ่ายวิญญาณของสาวกของพระองค์. (1 เปโตร 5:1-4, ล.ม.) ภายใต้การชี้นำของพระองค์ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ได้แต่งตั้งผู้ชายให้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงในประชาคมของพยานพระยะโฮวาตลอดทั่วโลก. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; ติโต 1:5-9) ชายเหล่านี้ “บำรุงเลี้ยงประชาคมของพระเจ้า” ด้วยความอ่อนโยนและวางแบบอย่างที่ดีโดยเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำ. คุณสามารถแสดงความหยั่งรู้ค่า “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เหล่านี้โดยมาร่วมการประชุม ซึ่งคุณสามารถหนุนใจคนอื่น ๆ โดยอยู่ที่การประชุมและเข้าส่วนร่วม.—กิจการ 15:30-33; 20:28, ล.ม.; เอเฟโซ 4:8, 11, 12, ล.ม.
“ท่านทั้งหลายจะได้ความสุขสำราญในใจของตน”
เมื่อเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน คุณจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าการประชุมจะทำให้คุณสดชื่นได้จริง ๆ? วิธีหนึ่งก็คือการนำคำแนะนำของพระเยซูไปใช้ที่ว่า “จงเอาใจใส่ว่า ท่านทั้งหลายฟังอย่างไร.” (ลูกา 8:18, ล.ม.) คนที่สนใจใคร่รู้จริง ๆ ได้เอาใจใส่ฟังพระเยซูอย่างดี. พวกเขาขอให้พระองค์อธิบายอุทาหรณ์ และผลก็คือ พวกเขาได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเป็นการตอบแทน.—มัดธาย 13:10-16.
คุณสามารถเลียนแบบผู้ที่กระหายฝ่ายวิญญาณเช่นนั้นโดยตั้งใจฟังคำบรรยายที่การประชุม. (มัดธาย 5:3, 6) เพื่อช่วยให้คุณจดจ่อกับการประชุม พยายามติดตามแนวการหาเหตุผลของผู้บรรยาย. ให้ตั้งคำถามในใจ เช่น ‘ฉันจะนำความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร? ฉันจะนำความรู้นี้ไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร? ฉันอาจจะอธิบายจุดนี้อย่างไร?’ นอกจากนี้ ให้ดูข้อคัมภีร์ที่ผู้บรรยายใช้เพื่อสนับสนุนจุดสำคัญ. ยิ่งคุณเอาใจใส่ฟังมากเท่าไร คุณก็ยิ่งได้รับความสดชื่นจากการประชุมมากเท่านั้น.
หลังจากการประชุม ให้สนทนาเรื่องที่ได้รับจากการประชุมกับคนอื่น ๆ. เน้นที่เนื้อหาและวิธีนำไปใช้. การสนทนาที่เสริมสร้างทำให้การประชุมเป็นแหล่งที่ให้ความสดชื่นจริง ๆ.
แน่นอนว่าเรามีเหตุผลที่ดีหลายอย่างในการเข้าร่วมประชุม. หลังจากทบทวนผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เพิ่งพิจารณาไป น่าจะถามตัวคุณเองว่า ‘ฉันกำลังตอบรับคำเชิญของพระเยซูไหมที่ว่า “จงมาหาเรา”?’
[ภาพหน้า 11]
คุณปล่อยให้กิจกรรมอื่น ๆ เป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมประชุมไหม?