เกิดผลฝ่ายวิญญาณในช่วงวัยชรา
เกิดผลฝ่ายวิญญาณในช่วงวัยชรา
“เขาถูกปลูกไว้ในวิหารของพระยะโฮวา . . . เมื่อผู้นั้นแก่แล้วยังจะเกิดผล.” —บทเพลงสรรเสริญ 92:13, 14.
1, 2. (ก) บ่อยครั้ง มีการพรรณนาถึงวัยชราอย่างไร? (ข) พระคัมภีร์สัญญาอะไรเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากบาปของอาดาม?
วัยชรา—คำนี้ทำให้คุณคิดถึงอะไร? ผิวที่เหี่ยวย่น? หูที่เริ่มตึง? แข้งขาที่ไม่มีแรง? หรือว่าคิดถึงแง่อื่น ๆ ของ “ยามทุกข์ร้อน” ซึ่งมีพรรณนาไว้อย่างละเอียดชัดเจนในท่านผู้ประกาศ 12:1-7? ถ้าอย่างนั้น นับว่าสำคัญที่จะจำไว้ว่าคำพรรณนาที่พบในท่านผู้ประกาศบท 12 ให้ภาพของการแก่ตัวลง ที่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พระยะโฮวาพระเจ้าพระผู้สร้างทรงประสงค์ไว้แต่แรก แต่เป็นผลจากบาปของอาดามที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์เรา.—โรม 5:12.
2 การมีอายุมากขึ้นในตัวมันเองแล้วไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเพื่อคนเราจะดำรงอยู่ต่อไปได้ก็ต้องผ่านวันเวลา. ที่จริง การเจริญเติบโตเต็มที่เป็นลักษณะที่น่าปรารถนาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด. ผลเสียหายที่เกิดจากบาปและความไม่สมบูรณ์ในช่วงหกพันปีที่เราเห็นมีอยู่รอบตัวเราในไม่ช้าจะกลายเป็นอดีต และมนุษย์ที่เชื่อฟังทั้งสิ้นจะมีชีวิตแบบที่พระเจ้าทรงมุ่งหมาย ปราศจากความทุกข์เจ็บปวดที่เกิดจากวัยชราและความตาย. (เยเนซิศ 1:28; วิวรณ์ 21:4, 5) ถึงตอนนั้น “จะไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’ ” (ยะซายา 33:24) ผู้สูงอายุจะได้ “ความกระชุ่มกระชวยแบบหนุ่มสาว” กลับคืนมา และเนื้อของเขาก็จะ “เต่งตึงกว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว.” (โยบ 33:25, ล.ม.) อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ ทุกคนต้องต่อสู้กับสภาพผิดบาปที่ได้รับตกทอดมาจากอาดาม. ถึงกระนั้น ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาได้รับประโยชน์ในวิธีพิเศษหลาย ๆ ทางขณะที่พวกเขามีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ.
3. คริสเตียนสามารถ ‘แก่แล้วแต่ก็ยังเกิดผล’ ได้ในทางใด?
3 พระคำของพระเจ้ารับรองกับเราว่า “[คนที่] ถูกปลูกไว้ในวิหารของพระยะโฮวา . . . เมื่อผู้นั้นแก่แล้วยังจะเกิดผล.” (บทเพลงสรรเสริญ 92:13, 14) ในที่นี้ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญระบุความจริงพื้นฐานนี้ด้วยภาษาโดยนัยว่า ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าสามารถก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองฝ่ายวิญญาณได้ต่อ ๆ ไป แม้ว่าพวกเขากำลังเสื่อมถอยลงด้านร่างกาย. ตัวอย่างมากมายในคัมภีร์ไบเบิลและในสมัยปัจจุบันพิสูจน์ให้เห็นจริงในเรื่องนี้.
‘ไม่เคยหายหน้าไปเลย’
4. ผู้พยากรณ์หญิงอันนาที่สูงอายุแสดงให้เห็นถึงการทุ่มเทตัวในการนมัสการพระเจ้าอย่างไร และเธอได้รับบำเหน็จอย่างไร?
4 ขอให้พิจารณาอันนา ผู้พยากรณ์หญิงในศตวรรษแรก. เมื่ออายุได้ 84 ปี นาง “มิได้ไปจากโบสถ์เลย [“ไม่เคยหายหน้าไปจากพระวิหารเลย,” ล.ม.], อยู่ปฏิบัติตามศีลอดอาหารและอธิษฐานทั้งกลางวันกลางคืน.” เนื่องจากเป็นสตรีที่บิดาอยู่ใน “ตระกูลอาเซร” ซึ่งไม่ใช่ชาวเลวี อันนาไม่อาจอาศัยอยู่ที่พระวิหารได้จริง ๆ. คิดดูซิว่านางคงต้องพยายามมากเพียงไรที่จะอยู่ ณ พระวิหารทุกวันตั้งแต่ช่วงที่มีการลูกา 2:22-24, 36-38; อาฤธโม 18:6, 7.
ถวายเครื่องบูชาตอนเช้าจนถึงการถวายเครื่องบูชาตอนเย็น! แต่เนื่องด้วยการทุ่มเทตัวเช่นนั้น อันนาได้รับพรอย่างอุดม. นางได้รับสิทธิพิเศษได้อยู่ในเหตุการณ์ตอนที่โยเซฟและมาเรียนำพระกุมารเยซูมาที่พระวิหารเพื่อถวายแด่พระยะโฮวาตามที่กฎหมายกำหนด. เมื่อเห็นพระเยซู อันนา “ก็เข้ามาโมทนาพระเจ้า, และกล่าวถึงพระกุมารนั้นให้คนทั้งปวงที่คอยท่าเวลาของกรุงยะรูซาเลมจะหลุดเป็นไทยฟัง.”—5, 6. ผู้สูงอายุหลายคนในปัจจุบันกำลังแสดงน้ำใจเหมือนกับอันนาในทางใดบ้าง?
5 ผู้สูงอายุหลายคนท่ามกลางพวกเราในทุกวันนี้ก็เหมือนกับอันนาในการเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำ, การทูลวิงวอนขอเพื่อให้ก้าวหน้าในการนมัสการแท้, และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะประกาศข่าวดี. พี่น้องชายคนหนึ่งอายุแปดสิบกว่าปีซึ่งเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำกับภรรยากล่าวว่า “เราได้ปลูกฝังจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะเข้าร่วมการประชุม. เราไม่อยากไปที่อื่นใด. ที่ไหนมีประชาชนของพระเจ้า ที่นั่นแหละคือที่ที่เราอยากอยู่. นั่นคือที่ที่ทำให้เราสบายใจ.” ช่างเป็นตัวอย่างที่ให้กำลังใจจริง ๆ สำหรับเราทุกคน!—เฮ็บราย 10:24, 25.
6 “ถ้ามีอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งฝ่ายวิญญาณและดิฉันสามารถร่วมทำได้ ดิฉันต้องการทำสิ่งนั้น.” นั่นคือคติประจำตัวของจีน คริสเตียนคนหนึ่งซึ่งเป็นหญิงม่ายวัยแปดสิบกว่าปี. เธอกล่าวต่อว่า “แน่นอน บางครั้งบางคราวดิฉันรู้สึกเศร้า แต่ทำไมจะต้องให้ทุกคนที่อยู่รอบข้างเศร้าไปด้วยล่ะ?” ด้วยดวงตาที่เป็นประกาย เธอเล่าถึงความยินดีที่ได้ไปเยือนประเทศอื่น ๆ เพื่อมีโอกาสจะรับการเสริมสร้างฝ่ายวิญญาณ. ในการเดินทางเมื่อเร็ว ๆ นี้ เธอบอกเพื่อนร่วมทางว่า “ฉันไม่อยากเห็นปราสาทมากไปกว่านี้อีกแล้ว; ฉันอยากออกประกาศ!” แม้ว่าเธอไม่รู้ภาษาท้องถิ่น จีนสามารถกระตุ้นให้ผู้คนสนใจข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิล. นอกจากนั้น เธอทำงานร่วมกับประชาคมซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นเวลาหลายปี แม้ว่านั่นหมายถึงเธอต้องเรียนภาษาใหม่และใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางไปถึงการประชุมในแต่ละครั้ง.
การรักษาความคิดไม่ให้เฉื่อย
7. ในช่วงที่อายุมากแล้ว โมเซแสดงความปรารถนาอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับพระเจ้าวัฒนาเติบโต?
7 ประสบการณ์ในชีวิตมาพร้อมกับวันเวลาที่ผ่านไป. (โยบ 12:12) ในอีกด้านหนึ่ง ความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณไม่ได้มาโดยอัตโนมัติพร้อมกับวัยที่มากขึ้น. ด้วยเหตุนั้น แทนที่จะเพียงแต่วางใจในความรู้ที่เคยสะสมมาในอดีต เมื่อเวลาผ่านไปผู้รับใช้ที่ภักดีของพระเจ้าพยายามอย่างยิ่งที่จะ “เพิ่มการเรียนรู้มากขึ้น.” (สุภาษิต 9:9, ฉบับแปลใหม่) เมื่อพระยะโฮวาทรงมอบหมายงานแก่โมเซ ท่านมีอายุ 80 ปี. (เอ็กโซโด 7:7) ในสมัยของท่าน ดูเหมือนจะถือได้ว่าการมีอายุยืนขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะท่านเขียนว่า “ในชั่วอายุของข้าพเจ้า [“พวกเรา,” ล.ม.] มีสักเจ็ดสิบปีเท่านั้น, ถ้าแม้ว่ามีกำลังมากก็จะยืนได้ถึงแปดสิบปี.” (บทเพลงสรรเสริญ 90:10) ถึงกระนั้น โมเซก็ไม่เคยรู้สึกว่าท่านแก่เกินจะเรียนรู้. หลังจากรับใช้พระเจ้ามาหลายสิบปี, ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง, และรับผิดชอบในหน้าที่ต่าง ๆ อันหนักหน่วง โมเซวิงวอนขอพระยะโฮวาว่า “ขอพระองค์ทรงโปรดสำแดงพระมรรคาของพระองค์ให้ข้าพเจ้าเห็น . . . เพื่อข้าพเจ้าจะได้รู้จักพระองค์.” (เอ็กโซโด 33:13) โมเซปรารถนาเสมอให้ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับพระยะโฮวาวัฒนาเติบโต.
8. ดานิเอลซึ่งอายุ 90 กว่าปีแล้วรักษาความคิดของท่านไม่ให้เฉื่อยไปโดยวิธีใด และพร้อมด้วยผลเช่นไร?
8 เราพบว่าผู้พยากรณ์ดานิเอล ซึ่งตอนนั้นคงจะอายุ 90 กว่าปีแล้ว ยังคงคิดใคร่ครวญในบันทึกอันศักดิ์สิทธิ์อยู่. สิ่งที่ท่านเข้าใจจากการศึกษาใน “หนังสือ”—ซึ่งอาจหมายรวมถึงพระธรรมเลวีติโก, ยะซายา, ยิระมะยา, โฮเซอา, และอาโมศ—กระตุ้นท่านให้แสวงหาพระยะโฮวาในคำอธิษฐานอันจริงใจ. (ดานิเอล 9:1, 2, ฉบับแปลใหม่) คำอธิษฐานนั้นได้รับคำตอบโดยที่ท่านได้รับการดลใจให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระมาซีฮาและอนาคตของการนมัสการบริสุทธิ์.—ดานิเอล 9:20-27.
9, 10. บางคนได้ทำอะไรเพื่อรักษาความคิดจิตใจไม่ให้เฉื่อยลง?
9 เช่นเดียวกับโมเซและดานิเอล เราสามารถพยายามอย่างจริงจังเพื่อดูแลไม่ให้ความคิดของเราเฉื่อยไปโดยจดจ่อมัดธาย 24:45, ล.ม.) เขากล่าวว่า “ผมรักความจริงเหลือเกิน และผมตื่นเต้นที่เห็นว่าแสงสว่างแห่งความจริงแรงกล้าขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไร.” (สุภาษิต 4:18) คล้ายกัน เฟรด ซึ่งได้ทำงานรับใช้เต็มเวลามามากกว่า 60 ปี พบว่าเป็นเรื่องที่ให้การกระตุ้นทางฝ่ายวิญญาณที่จะเป็นฝ่ายเริ่มพูดคุยในเรื่องคัมภีร์ไบเบิลกับเพื่อนร่วมความเชื่อ. เขากล่าวว่า “ผมต้องรักษาให้คัมภีร์ไบเบิลมีชีวิตอยู่ในความคิดจิตใจเสมอ. ถ้าคุณสามารถทำให้คัมภีร์ไบเบิลมีชีวิต—ทำให้มีความหมาย—และถ้าคุณสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้เข้ากับ ‘แบบแผนแห่งถ้อยคำที่ก่อประโยชน์’ คุณจะไม่ได้มีเพียงข้อมูลที่แยกต่างหากกัน. คุณจะเห็นได้ว่าความจริงแต่ละส่วนส่องประกายในที่อันเหมาะเจาะของมัน.”—2 ติโมเธียว 1:13, ล.ม.
อยู่กับสิ่งฝ่ายวิญญาณเสมอตราบเท่าที่เราทำได้. หลายคนกำลังทำอย่างนั้นอยู่ทีเดียว. เวอร์ท คริสเตียนผู้ปกครองคนหนึ่งซึ่งอายุ 80 กว่าปี พยายามตามให้ทันอาหารฝ่ายวิญญาณที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” แจกจ่าย. (10 การมีอายุมากไม่จำเป็นต้องกีดกันคนเราไว้จากการเรียนรู้สิ่งใหม่และเรื่องยาก ๆ. หลายคนที่อายุ 60 ปี, 70 ปี, และแม้แต่ 80 ปีได้เริ่มเรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้หรือเรียนภาษาใหม่. พยานพระยะโฮวาบางคนได้ทำอย่างนั้นโดยมีจุดประสงค์จะบอกข่าวดีแก่คนต่างชาติ. (มาระโก 13:10) แฮร์รีและภรรยามีอายุเกือบ 70 ปีแล้วเมื่อทั้งสองตัดสินใจจะช่วยเขตงานภาษาโปรตุเกส. แฮร์รีกล่าวว่า “ต้องยอมรับว่า เมื่ออายุมากขึ้นงานอะไร ๆ ในชีวิตก็กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น.” ถึงกระนั้น ด้วยความอุตสาหะพยายาม ทั้งสองคนสามารถนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลโดยใช้ภาษาโปรตุเกส. ปัจจุบัน เป็นเวลาหลายปีแล้วที่แฮร์รีเป็นผู้บรรยายในการประชุมภาคภาษาโปรตุเกส.
11. เหตุใดเราจึงพิจารณาสิ่งที่ผู้สูงอายุบางคนทำได้สำเร็จ?
11 แน่ล่ะ ไม่ใช่ทุกคนมีสุขภาพหรืออยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับข้อท้าทายเช่นนั้น. ถ้าอย่างนั้น ทำไมจึงต้องพิจารณากันถึงสิ่งที่ผู้สูงอายุบางคนสามารถทำได้ล่ะ? แน่นอนว่าไม่ใช่เพื่อแนะว่าทุกคนควรพยายามทำให้ได้ในเรื่องเดียวกัน. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น การพิจารณาดังกล่าวทำด้วยน้ำใจแบบที่อัครสาวกเปาโลเขียนไปถึงคริสเตียนชาวฮีบรูในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ปกครองที่ซื่อสัตย์ในประชาคม ที่ว่า “จงพิจารณาดูผลแห่งปลายทางแห่งประวัติของเขา, แล้วจงเอาอย่างความเชื่อของเขา.” (เฮ็บราย 13:7) เมื่อเราใคร่ครวญแบบอย่างความกระตือรือร้นเช่นนั้น เราสามารถได้รับกำลังใจที่จะทำตามแบบอย่างความเชื่อที่เข้มแข็งซึ่งผลักดันผู้สูงอายุเหล่านี้ในงานรับใช้ที่เขาถวายแด่พระเจ้า. แฮร์รี ซึ่งตอนนี้อายุได้ 87 ปีแล้ว อธิบายถึงสิ่งที่กระตุ้นเขาว่า “ผมอยากใช้วันเวลาที่เหลืออยู่อย่างสุขุมและทำตัวให้เป็นประโยชน์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ในงานรับใช้พระยะโฮวา.” เฟรด ซึ่งกล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้ พบความยินดีใหญ่หลวงในการเอาใจใส่งานมอบหมายที่เบเธล. เขาให้ข้อสังเกตว่า “คุณต้องหาให้พบว่าคุณจะสามารถรับใช้พระยะโฮวาได้ดีที่สุดอย่างไรแล้วก็ดำเนินต่อ ๆ ไปในแนวทางนั้น.”
ทุ่มเทตัวแม้สถานการณ์เปลี่ยนไป
12, 13. บาระซีลัยแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้าอย่างไรแม้สภาพการณ์ในชีวิตของเขาเปลี่ยนไป?
12 การยอมรับและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอาจเป็นเรื่องยากทีเดียว. อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่จะแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้าแม้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น. บาระซีลัย ชาวเมืองกิเลียด [ฆีละอาด] เป็น2 ซามูเอล 17:27-29; 19:31-40.
ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้. เมื่ออายุได้ 80 ปี เขาแสดงน้ำใจรับรองแขกเป็นพิเศษต่อดาวิดและกองทัพของท่าน จัดหาอาหารและที่พักให้ในช่วงที่อับซาโลมก่อกบฏ. เมื่อดาวิดกำลังจะกลับไปกรุงเยรูซาเลม บาระซีลัยนำคณะผู้ติดตามกษัตริย์ไปยังแม่น้ำจอร์แดน. ดาวิดเสนอจะให้บาระซีลัยเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนัก. บาระซีลัยตอบอย่างไร? “บัดนี้อายุข้าพเจ้าได้แปดสิบปีแล้ว. . . . จะชิมรสของ ๆ กินและดื่มได้หรือ? จะฟังเสียงชายหญิงร้องเพลงอีกได้หรือ? . . . แต่ขอโปรดให้คิมฮามทาสของพระองค์ข้ามไปตามเสด็จ, จะทรงพระกรุณาโปรดเขาอย่างไรแล้วแต่ทรงเห็นควร.”—13 แม้ว่าสภาพการณ์เปลี่ยนไป แต่บาระซีลัยทำสิ่งที่เขาทำได้เพื่อสนับสนุนกษัตริย์ที่พระยะโฮวาทรงแต่งตั้ง. แม้ว่าเขาตระหนักว่าการรับรู้รสและการได้ยินของเขาไม่ได้เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่เขาไม่ได้รู้สึกขมขื่น. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ด้วยการเสนอให้คิมฮามรับเอาผลประโยชน์ที่กษัตริย์เสนอให้ บาระซีลัยเผยให้เห็นว่าโดยแท้แล้วเขาเป็นคนแบบไหน. เช่นเดียวกับบาระซีลัย ผู้สูงอายุหลายคนในปัจจุบันแสดงน้ำใจที่ไม่เห็นแก่ตัวและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่. พวกเขาทำสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนการนมัสการแท้ โดยรู้ว่า “พระเจ้าทรงชอบพระทัยด้วยเครื่องบูชาอย่างนั้น.” ช่างเป็นพระพรจริง ๆ ที่มีผู้ภักดีท่ามกลางพวกเรา!—เฮ็บราย 13:16.
14. วัยชราของดาวิดเสริมความหมายถ้อยคำที่บันทึกในบทเพลงสรรเสริญ 37:23-25 อย่างไร?
14 แม้ว่าสภาพการณ์ในชีวิตของดาวิดเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตลอดช่วงเวลาหลายปี ท่านยังคงเชื่อมั่นว่าการดูแลของพระยะโฮวาต่อผู้รับใช้ที่ภักดีของพระองค์ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง. เมื่อใกล้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ดาวิดประพันธ์เพลงที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อเพลงสรรเสริญบท 37. ขอให้นึกภาพดาวิดในอารมณ์คิดรำพึง เล่นพิณคลอไปด้วยขณะร้องเพลงซึ่งมีเนื้อความดังนี้: “พระยะโฮวาทรงบำรุงกิจการของคนใด; ก็ทรงพอพระทัยในทางของคนนั้น. ส่วนผู้นั้นแม้ว่าพลาดลง, ก็จะไม่ถึงแก่ล้มทีเดียว; เพราะพระยะโฮวาทรงพยุงเขาไว้ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. ตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นคนหนุ่ม, จนบัดนี้เป็นคนชราแล้ว; ข้าพเจ้าก็ยังไม่เคยเห็นคนสัตย์ธรรมต้องถูกละทิ้งเสีย, ไม่เคยเห็นพงศ์พันธุ์ของเขาขอทาน.” (บทเพลงสรรเสริญ 37:23-25) พระยะโฮวาทรงเห็นสมควรที่จะอ้างถึงวัยของดาวิดไว้ด้วยในเพลงสรรเสริญส่วนนี้ที่แต่งขึ้นโดยการดลใจ. นั่นเสริมความรู้สึกอันลึกซึ้งจริง ๆ เข้ากับถ้อยคำจากใจจริงดังกล่าว!
15. อัครสาวกโยฮันวางตัวอย่างที่ดีอย่างไรในเรื่องความซื่อสัตย์แม้สภาพการณ์เปลี่ยนไปและอายุก็มาก?
15 อัครสาวกโยฮันเป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งในเรื่องความซื่อสัตย์แม้สภาพการณ์เปลี่ยนไปและอายุก็มากแล้ว. หลังจากรับใช้พระเจ้ามาเกือบ ๆ 70 ปีแล้ว โยฮันถูกเนรเทศไปยังเกาะปัตโมส “เพราะการพูดเรื่องพระเจ้าและการเป็นพยานฝ่ายพระเยซู.” (วิวรณ์ 1:9, ล.ม.) ถึงกระนั้น งานของท่านก็ยังไม่เสร็จสิ้น. ที่จริง ข้อเขียนทั้งสิ้นในคัมภีร์ไบเบิลที่โยฮันเขียนท่านเขียนในช่วงท้าย ๆ ของชีวิต. ขณะอยู่บนเกาะปัตโมส ท่านได้รับนิมิตที่น่าเกรงขามอันได้แก่พระธรรมวิวรณ์ ซึ่งท่านได้บันทึกลงไว้อย่างระมัดระวัง. (วิวรณ์ 1:1, 2) เชื่อกันว่าท่านถูกปลดปล่อยจากการถูกเนรเทศในช่วงการครองราชย์ของเนอร์วา จักรพรรดิโรมัน. หลังจากนั้น เมื่อถึงประมาณปีสากลศักราช 98 เมื่อท่านคงจะมีอายุได้ 90 หรือ 100 ปี โยฮันเขียนพระธรรมกิตติคุณและจดหมายอีกสามฉบับที่มีชื่อตามชื่อท่าน.
ประวัติในเรื่องความอดทนที่ไม่จืดจางไป
16. คนที่ความสามารถในการสื่อความบกพร่องจะแสดงความเลื่อมใสในพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด?
16 ข้อจำกัดต่าง ๆ อาจมาในหลายรูปแบบและหลายระดับ. บทเพลงสรรเสริญ 119:97, ล.ม.) สำหรับพระยะโฮวาเอง พระองค์ทรงทราบว่าใครที่ “ตรึกตรองในพระนามของพระองค์” และพระองค์ทรงตระหนักว่าคนเหล่านั้นแตกต่างอย่างไรจากมนุษยชาติส่วนใหญ่ซึ่งไม่สนใจแนวทางของพระองค์. (มาลาคี 3:16, ฉบับแปลใหม่; บทเพลงสรรเสริญ 10:4) ช่างทำให้สบายใจสักเพียงไรที่รู้ว่าพระยะโฮวาทรงยินดีกับการไตร่ตรองในหัวใจของเรา!—1 โครนิกา 28:9; บทเพลงสรรเสริญ 19:14, ล.ม.
ตัวอย่างเช่น บางคนเริ่มมีความบกพร่องแม้แต่ในเรื่องความสามารถในการสื่อความ. อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงมีความทรงจำดี ๆ เกี่ยวกับความรักของพระเจ้าและพระกรุณาคุณอันเหลือล้น. แม้ว่ามีข้อจำกัดในสิ่งที่เขาอาจพูดได้ด้วยปาก แต่ในหัวใจพวกเขากำลังกล่าวกับพระยะโฮวาว่า “ข้าพเจ้ารักข้อกฎหมายของพระองค์มากเพียงใด! ข้าพเจ้าคำนึงถึงตลอดวัน.” (17. ผู้ที่รับใช้พระยะโฮวามานานได้ทำอะไรให้สำเร็จซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่พิเศษอย่างแท้จริง?
17 ที่ไม่ควรมองข้ามได้แก่ข้อเท็จจริงที่ว่า คนที่รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์มาหลายสิบปีได้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่พิเศษอย่างแท้จริงและไม่อาจได้มาด้วยวิธีอื่นใด นั่นคือ ประวัติในเรื่องความอดทนที่ไม่จืดจางไป. พระเยซูตรัสว่า “ท่านจะได้ชีวิตรอดโดยความอดทนของท่าน.” (ลูกา 21:19, ฉบับแปลใหม่) ความอดทนเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดร์. พวกคุณที่ได้ “กระทำให้พระทัยประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จแล้ว” และได้พิสูจน์ความภักดีด้วยแนวทางชีวิตของคุณสามารถคาดหมายว่าจะได้รับ “ตามคำทรงสัญญา.”—เฮ็บราย 10:36, ล.ม.
18. (ก) พระยะโฮวาทรงเห็นอะไรเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ทำให้พระองค์มีพระทัยยินดี? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
18 พระยะโฮวาทรงเห็นค่าการรับใช้ด้วยสุดชีวิตของคุณไม่ว่าคุณอาจทำได้มากหรือน้อยเพียงใด. แม้ว่าอาจมีอะไรก็ตามเกิดขึ้นกับ “กายภายนอก” ขณะที่คนเราอายุมากขึ้น แต่ “จิตใจภายใน” สามารถฟื้นฟูขึ้นใหม่ได้ในแต่ละวันไป. (2 โกรินโธ 4:16, ฉบับแปลใหม่) ไม่มีข้อสงสัยว่าพระยะโฮวาทรงเห็นค่าสิ่งที่คุณได้ทำให้สำเร็จในอดีต แต่เห็นได้ชัดอย่างยิ่งว่าพระองค์ทรงเห็นค่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในขณะนี้เพื่อพระนามของพระองค์ด้วย. (เฮ็บราย 6:10) ในบทความถัดไป เราจะพิจารณาผลกระทบอันกว้างไกลของความซื่อสัตย์ดังกล่าว.
คุณจะตอบอย่างไร?
• อันนาวางตัวอย่างที่ดีอะไรไว้สำหรับคริสเตียนสูงอายุในทุกวันนี้?
• เหตุใดอายุไม่ได้เป็นข้อจำกัดเสมอไปในสิ่งที่เราทำได้?
• ผู้สูงอายุจะสามารถแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้าต่อ ๆ ไปได้โดยวิธีใด?
• พระยะโฮวาทรงมองดูการรับใช้ที่ผู้สูงอายุถวายแด่พระองค์อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
ดานิเอลผู้ชรารู้ว่าชาวยิวจะพลัดถิ่นนานเท่าไรโดยอาศัย “หนังสือ”
[ภาพหน้า 25]
ผู้สูงอายุหลายคนเป็นแบบอย่างในเรื่องการเข้าร่วมประชุมเป็นประจำ, การประกาศด้วยใจแรงกล้า, และความกระหายใคร่เรียนรู้