พระยะโฮวาทรงถือว่าการเชื่อฟังของคุณมีค่า
พระยะโฮวาทรงถือว่าการเชื่อฟังของคุณมีค่า
“ศิษย์ของเราเอ๋ย, จงมีปัญญาขึ้น, และกระทำให้ใจของเรามีความยินดี.”—สุภาษิต 27:11.
1. น้ำใจอะไรแทรกซึมไปทั่วในสังคมโลกทุกวันนี้?
น้ำใจเป็นเอกเทศและไม่เชื่อฟังแทรกซึมไปทุกหนแห่งในโลกทุกวันนี้. อัครสาวกเปาโลอธิบายสาเหตุที่เป็นอย่างนั้นในจดหมายที่ท่านเขียนไปถึงคริสเตียนในเอเฟโซส์ว่า “ครั้งเมื่อก่อนท่านทั้งหลายเคยประพฤติในการบาปนั้นตามอย่างโลก, ตามผู้มีอำนาจครอบครองในอากาศ, คือวิญญาณที่ครอบครองอยู่ในคนทั้งหลายที่ไม่เชื่อฟัง.” (เอเฟโซ 2:1, 2) ใช่ อาจกล่าวได้ว่าซาตานพญามาร “ผู้มีอำนาจครอบครองในอากาศ” ได้แพร่เชื้อน้ำใจแห่งการไม่เชื่อฟังไปทั่วทั้งโลก. มันทำอย่างนั้นในศตวรรษแรก และมันทำอย่างนั้นหนักข้อยิ่งขึ้นกว่าเดิมนับตั้งแต่ที่มันถูกขับออกจากสวรรค์ราว ๆ ตอนที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1.—วิวรณ์ 12:9.
2, 3. เรามีเหตุผลอะไรที่ควรเชื่อฟังพระยะโฮวา?
2 อย่างไรก็ตาม ในฐานะคริสเตียนเราทราบว่าพระยะโฮวาพระเจ้าทรงสมควรได้รับการเชื่อฟังจากหัวใจเราเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้าง, ผู้ค้ำจุนชีวิต, องค์บรมมหิศรที่เปี่ยมด้วยความรัก, และผู้ช่วยให้รอด. (บทเพลงสรรเสริญ 148:5, 6; กิจการ 4:24; โกโลซาย 1:13; วิวรณ์ 4:11) ชาวอิสราเอลในสมัยของโมเซทราบว่าพระยะโฮวาทรงเป็นผู้ประทานชีวิตและผู้ช่วยชีวิต. ด้วยเหตุนั้น โมเซบอกพวกเขาว่า “เจ้าทั้งหลายจงระวังทำตามถ้อยคำพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าได้บัญญัติไว้นั้น.” (พระบัญญัติ 5:32) ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงสมควรได้รับการเชื่อฟังจากพวกเขา. กระนั้น ไม่นานพวกเขาก็เริ่มไม่เชื่อฟังองค์บรมมหิศรของพวกเขา.
3 การเชื่อฟังของเราต่อพระผู้สร้างเอกภพสำคัญเพียงไร? ครั้งหนึ่ง พระเจ้าทรงให้ผู้พยากรณ์ซามูเอลบอกกษัตริย์ซาอูลว่า “การเชื่อฟังก็ประเสริฐกว่าเครื่องบูชา.” (1 ซามูเอล 15:22, 23) เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
การเชื่อฟัง “ประเสริฐกว่าเครื่องบูชา” อย่างไร?
4. เราสามารถถวายบางสิ่งแด่พระยะโฮวาได้ในแง่ใด?
4 เนื่องจากทรงเป็นพระผู้สร้าง พระยะโฮวาทรงเป็นเจ้าของวัตถุสิ่งของทุกอย่างที่เรามี. ในเมื่อเป็นอย่างนั้น มีสิ่งใดไหมที่เราสามารถถวายแด่พระองค์? มี เราสามารถถวายสุภาษิต 27:11) เราสามารถถวายการเชื่อฟังแด่พระเจ้าของเรา. แม้ว่าเรามีสภาพการณ์และภูมิหลังต่างกัน โดยการเชื่อฟัง เราแต่ละคนสามารถตอบข้อกล่าวหาอันชั่วร้ายของซาตานพญามารที่ว่า มนุษย์จะไม่ยืนหยัดภักดีต่อพระเจ้าเมื่อเผชิญการทดลอง. นั่นช่างเป็นสิทธิพิเศษสักเพียงไร!
บางสิ่งที่มีค่ามากแด่พระองค์. สิ่งนั้นคืออะไร? เราสามารถได้คำตอบจากคำแนะนำดังต่อไปนี้: “ศิษย์ของเราเอ๋ย, จงมีปัญญาขึ้น, และกระทำให้ใจของเรามีความยินดี; เพื่อเราจะมีคำตอบคนที่ตำหนิเราได้.” (5. การไม่เชื่อฟังก่อผลกระทบอย่างไรต่อพระผู้สร้าง? จงยกตัวอย่างเปรียบเทียบ.
5 พระเจ้าทรงสนพระทัยในการตัดสินใจที่เราทำ. หากเราไม่เชื่อฟัง นั่นก่อผลกระทบต่อพระองค์. เป็นเช่นนั้นอย่างไร? พระองค์ทรงเจ็บปวดพระทัยที่เห็นใครบางคนเลือกแนวทางที่ไม่ฉลาดสุขุม. (บทเพลงสรรเสริญ 78:40, 41) สมมุติว่าคนเป็นโรคเบาหวานคนหนึ่งไม่ได้กินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์กำหนดเพื่อผลประโยชน์ของเขา และกินแต่อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ. แพทย์ที่ดูแลเขาด้วยความเอาใจใส่จะรู้สึกอย่างไร? เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกเจ็บปวดพระทัยเมื่อมนุษย์ไม่เชื่อฟังพระองค์ เพราะพระองค์ทรงทราบผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการละเลยข้อกำหนดของพระองค์สำหรับชีวิต.
6. อะไรจะช่วยเราให้เชื่อฟังพระเจ้า?
6 อะไรจะช่วยเราแต่ละคนให้เชื่อฟัง? นับว่าเหมาะที่เราแต่ละคนจะทูลขอพระเจ้าให้พระองค์ประทาน “หัวใจที่เชื่อฟัง” แก่เรา เหมือนกับที่กษัตริย์ซะโลโมขอ. ท่านทูลขอหัวใจเช่นนั้นเพื่อท่านจะสามารถ “ดูออกว่าอะไรดีอะไรชั่ว” เพื่อจะพิพากษาเพื่อนร่วมชาติชาวอิสราเอลได้อย่างถูกต้อง. (1 กษัตริย์ 3:9, ล.ม.) เราจำเป็นต้องมี “หัวใจที่เชื่อฟัง” หากเราต้องการจะดูออกว่าอะไรดีอะไรชั่วในโลกที่เต็มไปด้วยน้ำใจแห่งการไม่เชื่อฟัง. พระเจ้าได้ทรงจัดให้เรามีพระคำของพระองค์, คู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, การประชุมคริสเตียน, และผู้ปกครองประชาคมที่ห่วงใย เพื่อเราจะสามารถปลูกฝัง “หัวใจที่เชื่อฟัง.” เรากำลังใช้ประโยชน์เต็มที่จากการจัดเตรียมด้วยความรักเช่นนั้นอยู่ไหม?
7. เหตุใดพระยะโฮวาทรงเน้นเรื่องการเชื่อฟังยิ่งกว่าเครื่องบูชา?
7 ในเรื่องนี้ ขอให้ระลึกว่าในอดีตพระยะโฮวาทรงเปิดเผยแก่ประชาชนของพระองค์ในสมัยโบราณว่า การเชื่อฟังสำคัญยิ่งกว่าเครื่องบูชาสัตว์เสียด้วยซ้ำ. (สุภาษิต 21:3, 27; โฮเซอา 6:6; มัดธาย 12:7) เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่อพระยะโฮวาเองทรงมีพระบัญชาให้ประชาชนของพระองค์ถวายเครื่องบูชาเช่นนั้น? คิดดูสิว่า เจตนารมณ์ของคนที่ถวายเครื่องบูชาคืออะไร? เขาทำอย่างนั้นเพื่อให้พระเจ้าพอพระทัยไหม? หรือเขาเพียงแต่ทำตามพิธีกรรม? หากผู้นมัสการปรารถนาอย่างแท้จริงจะทำให้พระเจ้าพอพระทัย เขาจะระมัดระวังที่จะทำตามพระบัญชาของพระเจ้าทุกประการ. พระเจ้าไม่จำเป็นต้องมีเครื่องบูชาสัตว์ แต่การเชื่อฟังของเราเป็นสิ่งเดียวที่มีค่าที่เราสามารถถวายแด่พระองค์.
ตัวอย่างที่เป็นคำเตือน
8. เหตุใดพระเจ้าไม่ทรงยอมรับซาอูลในฐานะกษัตริย์?
8 ประวัติบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับกษัตริย์ซาอูลเน้นความสำคัญอย่างยิ่งของการเชื่อฟัง. ซาอูลเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ปกครองที่ถ่อมและเจียมตน ‘เป็นแต่ผู้เล็กน้อยในสายตาของเขาเอง.’ แต่ต่อมา ความหยิ่งและการหาเหตุผลผิด ๆ เริ่มเข้าครอบงำการตัดสินใจของเขา. (1 ซามูเอล 10:21, 22; 15:17, ล.ม.) ในโอกาสหนึ่ง ซาอูลเผชิญหน้ากับพวกฟิลิสตินในการรบ. ซามูเอลบอกกษัตริย์ให้คอยท่านมาถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาและเพื่อจะให้คำแนะนำต่อไป. แต่ซามูเอลไม่ได้มาเร็วอย่างที่ซาอูลคาดหมาย และประชาชนเริ่มกระจัดกระจาย. เมื่อเห็นอย่างนั้น ซาอูล “ได้ถวายเครื่องสักการบูชา.” การทำอย่างนั้นทำให้พระยะโฮวาไม่พอพระทัย. เมื่อในที่สุดซามูเอลมาถึง กษัตริย์แก้ตัวว่าที่เขาไม่ได้เชื่อฟังก็เพราะซามูเอลมาช้า เขาจึง “จำเป็นต้อง” ถวายเครื่องบูชาเผาเพื่อจะได้ความโปรดปรานจากพระยะโฮวา. สำหรับซาอูลแล้ว การถวายเครื่องบูชาสำคัญกว่าการเชื่อฟังคำสั่งที่เขาได้รับว่าให้คอยซามูเอลมาถวายเครื่องบูชานั้น. ซามูเอลบอกซาอูลว่า “ท่านทำผิดระเบียบแล้ว, ไม่ได้รักษาพระบัญญัติแห่งพระยะโฮวาพระเจ้าของท่าน.” การ ไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาทำให้ซาอูลสูญเสียตำแหน่งของตนในฐานะกษัตริย์.—1 ซามูเอล 10:8; 13:5-13.
9. ซาอูลแสดงให้เห็นชัดเจนอย่างไรเกี่ยวกับรูปแบบของการไม่เชื่อฟังพระเจ้า?
9 กษัตริย์ทรงได้บทเรียนจากประสบการณ์ครั้งนี้ไหม? ไม่เลย! ภายหลัง พระยะโฮวาทรงมีพระบัญชาให้ซาอูลทำลายล้างชาติอะมาเลค ซึ่งก่อนหน้านั้นได้โจมตีชาติอิสราเอลโดยไม่มีเหตุยั่วยุแต่อย่างใด. ซาอูลจะต้องไม่ละเว้นแม้กระทั่งชีวิตสัตว์เลี้ยงของชาตินี้. เขาเชื่อฟังพระยะโฮวาจริงโดย “ฆ่าฟันชาติอะมาเล็คตั้งแต่ฮะวิลาทางเข้าไปเมืองซูร.” เมื่อซามูเอลมาพบเขา กษัตริย์ปีติยินดีกับชัยชนะและกล่าวว่า “ขอพระยะโฮวาทรงอวยพระพรแก่ท่านเถิด, เราได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้วทุกประการ.” ทว่า ตรงกันข้ามกับพระบัญชาที่ชัดเจนที่พวกเขาได้รับ ซาอูลและคนของเขาไว้ชีวิตกษัตริย์อะฆาฆรวมทั้ง “ฝูงแกะแพะโคอย่างดี, กับสัตว์อ้วนพีลูกแกะ, และบรรดาของวิเศษ.” กษัตริย์ซาอูลแก้ต่างการกระทำที่ไม่เชื่อฟังของตนโดยกล่าวว่า “ราษฎรได้สัตว์เหล่านี้มาจากพวกอะมาเล็คคือแกะแพะโคอย่างดีซึ่งเขาเว้นไว้เพื่อเป็นเครื่องสักการบูชาถวายพระยะโฮวาพระเจ้าของท่าน.”—1 ซามูเอล 15:1-15.
10. ซาอูลไม่ได้เรียนรู้บทเรียนอะไร?
10 เมื่อเป็นอย่างนั้น ซามูเอลบอกกับซาอูลว่า “พระยะโฮวาทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชาเครื่องถวายเสมอเหมือนกับการเชื่อฟังพระดำรัสของพระองค์หรือ? ดูกรท่าน, การเชื่อฟังก็ประเสริฐกว่าเครื่องบูชา, และการสดับฟังนั้นประเสริฐกว่ามันแกะตัวผู้อีก.” (1 ซามูเอล 15:22) เนื่องจากพระยะโฮวาทรงตั้งพระทัยแน่วแน่แล้วว่าสัตว์เหล่านั้นต้องถูกทำลาย พระองค์จึงไม่ทรงยอมรับสัตว์เหล่านั้นเป็นเครื่องบูชา.
จงเชื่อฟังในทุกสิ่ง
11, 12. (ก) พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อความพยายามที่จะทำให้พระองค์พอพระทัยในการนมัสการของเรา? (ข) โดยวิธีใดที่ใครคนหนึ่งอาจหลอกตัวเอง โดยคิดว่าเขากำลังทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าแต่ที่จริงเขากำลังไม่เชื่อฟังพระองค์?
11 พระยะโฮวาทรงยินดีสักเพียงไรที่เห็นผู้รับใช้ที่ภักดีของพระองค์รักษาความมั่นคงแน่วแน่แม้ถูกข่มเหง, ประกาศเรื่องราชอาณาจักรแม้คนส่วนใหญ่ไม่แยแส, และเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนแม้ว่ารู้สึกถูกกดดันในเรื่องการทำมาหากิน! การเชื่อฟังของเราในแง่มุมสำคัญเหล่านั้นทางฝ่ายวิญญาณทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี! ความพยายามของเราในการนมัสการพระยะโฮวามีค่าต่อพระองค์เมื่อถวายด้วยความรัก. มนุษย์อาจมองข้ามความเพียรพยายามของเรา แต่พระเจ้าทรงสังเกตเห็นการถวายเครื่องบูชาด้วยความรู้สึกจากหัวใจของเราและทรงจดจำไว้.—มัดธาย 6:4.
12 อย่างไรก็ตาม เพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าอย่างเต็มที่ เราต้องเชื่อฟังในทุกแง่มุมของชีวิต. เราต้องไม่หลอกตัวเองโดยคิดว่าเราสามารถละเว้นข้อเรียกร้องบางอย่างของพระเจ้าได้ตราบใดเราถวายการนมัสการแด่พระองค์ในฆะลาเตีย 6:7, 8.
แง่มุมอื่นของชีวิต. ตัวอย่างเช่น ใครคนหนึ่งอาจหลอกตัวเองโดยคิดว่าหากเขาทำกิจกรรมบางอย่างในการนมัสการแท้ เขาคงไม่ถูกลงโทษเพราะการทำผิดศีลธรรมหรือเพราะการทำผิดร้ายแรงอื่น ๆ. นั่นย่อมเป็นความผิดพลาดสักเพียงไร!—13. การเชื่อฟังของเราต่อพระยะโฮวาอาจถูกทดสอบอย่างไรในที่ส่วนตัว?
13 ด้วยเหตุนั้น เราสามารถถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังเชื่อฟังพระยะโฮวาในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวันแม้แต่ในเรื่องที่ดูเหมือนเป็นเรื่องส่วนตัวไหม?’ พระเยซูทรงบอกว่า “คนที่สัตย์ซื่อในของเล็กที่สุดจะสัตย์ซื่อในของมากด้วย, และคนที่อสัตย์ในของเล็กที่สุดจะอสัตย์ในของมากด้วย.” (ลูกา 16:10) เรากำลัง “ประพฤติด้วยใจสุจริต” แม้แต่ ‘ภายในเคหาของเรา’ ซึ่งเป็นที่ที่คนอื่นมองไม่เห็นเราไหม? (บทเพลงสรรเสริญ 101:2) ใช่ ขณะอยู่ที่บ้านของเราเอง ความซื่อสัตย์มั่นคงของเราอาจถูกทดสอบ. ในหลาย ๆ ดินแดนที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องใช้ธรรมดาอย่างหนึ่งในบ้าน ผู้คนสามารถชมภาพลามกได้โดยเพียงแค่คลิกเมาส์ไม่กี่ครั้ง. ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ คนเราไม่สามารถชมภาพเช่นนั้นได้ถ้าไม่เข้าไปในสถานที่ที่เน้นความบันเทิงที่ผิดศีลธรรม. เราจะใส่ใจฟังคำเตือนของพระเยซูด้วยความเชื่อฟังไหมที่ว่า “ผู้ใดแลดูผู้หญิงด้วยใจกำหนัดในหญิงนั้น, ผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับหญิงนั้นแล้ว”? ใช่ เราจะปฏิเสธแม้แต่ที่จะมองภาพที่ผิดศีลธรรมไหม? (มัดธาย 5:28; โยบ 31:1, 9, 10; บทเพลงสรรเสริญ 119:37; สุภาษิต 6:24, 25; เอเฟโซ 5:3-5) จะว่าอย่างไรสำหรับรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารุนแรง? เราเห็นพ้องกับพระเจ้าของเราไหมผู้ ‘ทรงเกลียดชังคนที่ชอบความรุนแรงอย่างแน่นอน’? (บทเพลงสรรเสริญ 11:5, ล.ม.) หรือจะว่าอย่างไรกับการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไปในที่ส่วนตัว? คัมภีร์ไบเบิลตำหนิการเมาเหล้า แต่ก็ยังเตือนคริสเตียนด้วยไม่ให้ติดนิสัยดื่ม “เหล้าองุ่นมาก.”—ติโต 2:3; ลูกา 21:34, 35; 1 ติโมเธียว 3:3.
14. มีวิธีใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าเราเชื่อฟังพระเจ้าในเรื่องเงิน?
14 อีกขอบเขตหนึ่งที่เราจำเป็นต้องระวังคือการจัดการในเรื่องเงิน. ตัวอย่างเช่น เราจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแผนการรวยเร็วที่มีลักษณะหมิ่นเหม่ใกล้เคียงกับการฉ้อโกงไหม? เราถูกล่อใจให้พึ่งวิธีการที่ผิดกฎหมายเพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีไหม? หรือแทนที่จะทำอย่างนั้น เราเชื่อฟังพระบัญชาที่ว่า “จงให้แก่ทุกคนตามที่เขาควรจะได้รับ ส่วยอากรควรจะให้แก่ผู้ใด จงให้แก่ผู้นั้น” อย่างเคร่งครัด.—โรม 13:7.
การเชื่อฟังที่เกิดมาจากความรัก
15. เหตุใดคุณจึงเชื่อฟังพระบัญชาของพระยะโฮวา?
15 การเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้านำพระพรมาให้. ตัวอย่างเช่น โดยละเว้นไม่ใช้ยาสูบ, โดยดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรมที่ดี, และโดยนับถือความศักดิ์สิทธิ์ของเลือด เราอาจหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายบางอย่าง. นอกจากนั้น โดยดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลในแง่อื่น ๆ ของชีวิต เราอาจได้รับประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ, สังคม, หรือในครอบครัว. (ยะซายา 48:17) อาจถือได้อย่างถูกต้องว่าผลประโยชน์ที่สัมผัสได้เช่นนั้นเป็นพระพรซึ่งพิสูจน์ว่ากฎหมายของพระเจ้าใช้การได้จริง. ถึงกระนั้น เหตุผลสำคัญที่เราเชื่อฟังพระยะโฮวาคือเรารักพระองค์. เราไม่รับใช้พระเจ้าด้วยเหตุผลที่เห็นแก่ตัว. (โยบ 1:9-11; 2:4, 5) พระเจ้าประทานเสรีภาพที่เราจะเลือกเชื่อฟังใครก็ได้ตามที่เราต้องการ. เราเลือกเชื่อฟังพระยะโฮวาเพราะเราต้องการทำให้พระองค์พอพระทัยและเพราะเราพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง.—โรม 6:16, 17; 1 โยฮัน 5:3.
16, 17. (ก) พระเยซูทรงแสดงการเชื่อฟังพระเจ้าด้วยความรักจากหัวใจอย่างไร? (ข) เราจะทำตามแบบอย่างของพระเยซูได้โดยวิธีใด?
16 พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างสมบูรณ์แบบในการเชื่อฟังพระยะโฮวาด้วยความรักจากหัวใจต่อพระองค์. (โยฮัน 8:28, 29) ขณะอยู่บนแผ่นดินโลกพระเยซู “ทรงเรียนรู้การเชื่อฟังจากสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทนเอา.” (เฮ็บราย 5:8, 9, ล.ม.) เป็นเช่นนั้นอย่างไร? พระเยซู “ทรงถ่อมพระองค์ และยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา คือความมรณาบนหลักทรมาน.” (ฟิลิปปอย 2:7, 8, ล.ม.) แม้ว่าพระเยซูทรงเชื่อฟังมาก่อนแล้วในสวรรค์ พระองค์ยังถูกทดสอบในเรื่องการเชื่อฟังต่อไปอีกบนแผ่นดินโลก. เรามั่นใจได้ว่าพระเยซูทรงมีคุณสมบัติที่ดีในทุก ๆ ทางที่จะรับใช้ในฐานะมหาปุโรหิต เพื่อพี่น้องฝ่ายวิญญาณของพระองค์และเพื่อมนุษยชาติที่มีความเชื่อคนอื่น ๆ.—เฮ็บราย 4:15; 1 โยฮัน 2:1, 2.
17 จะว่าอย่างไรสำหรับเรา? เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระเยซูโดยให้การเชื่อฟังพระทัยประสงค์ของพระเจ้ามีความสำคัญเป็นอันดับแรก. (1 เปโตร 2:21) เราเองสามารถพบความยินดีเมื่อความรักต่อพระเจ้ากระตุ้นเราให้ทำสิ่งที่พระยะโฮวาทรงบัญชา แม้แต่ในบางครั้งเมื่อเราถูกกดดันหรือถูกล่อใจให้ทำอย่างอื่น. (โรม 7:18-20) นี่หมายรวมถึงการที่เราเต็มใจเชื่อฟังการชี้นำที่มาจากคนที่นำหน้าในการนมัสการแท้ แม้ว่าพวกเขาไม่สมบูรณ์. (เฮ็บราย 13:17) การที่เราเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้าในชีวิตส่วนตัวของเรานับว่ามีค่าในสายพระเนตรพระยะโฮวา.
18, 19. การที่เราเชื่อฟังพระเจ้าด้วยความรักจากหัวใจต่อพระองค์ก่อผลเช่นไร?
18 ปัจจุบัน การที่เราเชื่อฟังพระยะโฮวาอาจหมายรวมถึงการอดทนการข่มเหงเพื่อรักษาความซื่อสัตย์มั่นคง. (กิจการ 5:29) นอกจากนั้น การที่เราเชื่อฟังพระบัญชาของพระยะโฮวาที่ให้ประกาศและสอนเรียกร้องให้เราอดทนจนกระทั่งอวสานของระบบนี้. (มัดธาย 24:13, 14; 28:19, 20) เราจำเป็นต้องเพียรอดทนในการร่วมประชุมกับพี่น้องของเราต่อ ๆ ไป แม้ว่าเราอาจรู้สึกถึงแรงกดดันอย่างหนักจากโลก. พระเจ้าของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักทรงทราบดีถึงความพยายามของเราที่จะเชื่อฟังในขอบเขตต่าง ๆ เช่นนั้น. แต่เพื่อจะเชื่อฟังอย่างเต็มที่ เราต้องต่อสู้กับเนื้อหนังผิดบาปของตัวเราและหันหนีจากสิ่งชั่ว ขณะเดียวกันก็ปลูกฝังความหยั่งรู้ค่าต่อสิ่งที่ดี.—โรม 12:9.
19 เมื่อเรารับใช้พระยะโฮวาด้วยความรักและด้วยหัวใจที่หยั่งรู้ค่า “พระองค์เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์” รวมทั้งตัวเราด้วย. (เฮ็บราย 11:6) การเสียสละในแง่ต่าง ๆ ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นและน่าปรารถนา แต่การเชื่อฟังอย่างครบถ้วนด้วยความรักต่อพระยะโฮวาคือสิ่งที่ทำให้พระองค์พอพระทัยที่สุด.—สุภาษิต 3:1, 2.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดเราจึงกล่าวได้ว่าเรามีบางสิ่งที่ถวายแด่พระยะโฮวาได้?
• ซาอูลทำอะไรผิดพลาด?
• คุณจะแสดงได้โดยวิธีใดว่าการเชื่อฟังประเสริฐกว่าเครื่องบูชา?
• อะไรกระตุ้นคุณให้เชื่อฟังพระยะโฮวา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 26]
แพทย์ที่ห่วงใยคงจะรู้สึกอย่างไรหากคนไข้ไม่สนใจคำแนะนำที่เขาให้?
[ภาพหน้า 28]
เหตุใดกษัตริย์ซาอูลทำให้พระยะโฮวาไม่พอพระทัย?
[ภาพหน้า 30]
คุณกำลังเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าเมื่ออยู่เป็นส่วนตัวในบ้านไหม?