ยึดมั่นกับค่านิยมที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
ยึดมั่นกับค่านิยมที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
สังคมมนุษย์ทุกชนชั้นรับเอาค่านิยมทางศีลธรรมบางอย่าง. คุณเห็นด้วยมิใช่หรือว่าคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ความซื่อสัตย์, ความกรุณา, ความเมตตาสงสาร, และความไม่เห็นแก่ตัว เป็นที่ชื่นชมสำหรับผู้คนทั่วโลกและเราส่วนใหญ่ก็ชอบคุณลักษณะเหล่านี้?
ค่านิยมของใคร?
ในสมัยศตวรรษแรก ชายคนหนึ่งชื่อเซาโลซึ่งเป็นคนที่มีการศึกษาสูงได้ดำเนินชีวิตท่ามกลางสามวัฒนธรรมซึ่งมีค่านิยมของตนเอง นั่นคือยิว, กรีก, และโรมัน. นอกจากวัฒนธรรมเหล่านั้นจะมีขนบธรรมเนียมและกฎต่าง ๆ ที่ซับซ้อนโรม 2:14, 15, ล.ม.
แล้ว เซาโลได้สังเกตเข้าใจว่าผู้คนทั่วไปได้รับการชี้นำจากความสำนึกด้านศีลธรรมที่ติดตัวมาแต่เกิด ซึ่งก็คือสติรู้สึกผิดชอบของเราเอง. หลังจากเซาโลกลายเป็นคริสเตียนอัครสาวกเปาโล ท่านเขียนว่า “เมื่อพวกต่างประเทศซึ่งไม่มีพระบัญญัติก็ได้ประพฤติตามพระบัญญัติโดยธรรมชาติ [“ตามสัญชาตญาณ,” คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่สำนวนปัจจุบัน, ภาษาอังกฤษ] คนเหล่านั้นแม้ไม่มีพระบัญญัติก็เป็นบัญญัติแก่ตัวเอง. เขาเหล่านั้นเป็นผู้ซึ่งสำแดงการที่กฎหมายเขียนไว้ในหัวใจของเขา ขณะที่สติรู้สึกผิดชอบของเขาเป็นพยานด้วยกันกับเขา.”—อย่างไรก็ตาม การที่เราพยายามตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดโดยอาศัย “สัญชาตญาณ” เพียงอย่างเดียวนั้นเพียงพอไหม? ดังที่คุณอาจสังเกตเห็น ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เต็มไปด้วยความล้มเหลวของผู้คนไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มคน. นี่ทำให้หลายคนเชื่อว่า เราต้องการการชี้นำจากแหล่งที่สูงกว่าเพื่อจะกำหนดค่านิยมที่ดีที่สุดในการดำเนินชีวิต. หลายคนจะยอมรับว่าพระผู้สร้างมนุษย์อยู่ในฐานะที่ดีที่สุดที่จะประทานมาตรฐานที่ใช้การได้ทุกยุคทุกสมัย. ในหนังสือที่ชื่อตัวตนที่ไม่เปิดเผย (ภาษาอังกฤษ) ของดร.คาร์ล ยุง ให้ข้อสังเกตว่า “คนที่ไม่หมายพึ่งพระเจ้าไม่อาจต้านทานการล่อใจอันทรงพลังทางศีลธรรมและทางวัตถุของโลกได้.”
การลงความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้พยากรณ์โบราณคนหนึ่งเขียนดังนี้: “ทางที่มนุษย์จะไปนั้นไม่ได้อยู่ในตัวของตัว, ไม่ใช่ที่มนุษย์ซึ่งดำเนินนั้นจะได้กำหนดก้าวของตัวได้.” (ยิระมะยา 10:23) พระผู้สร้างของเราตรัสว่า “พระเจ้าของเจ้าผู้สั่งสอนเจ้า, เพื่อประโยชน์แก่ตัวของเจ้าเอง, และผู้นำเจ้าให้ดำเนินในทางที่เจ้าควรดำเนิน.”—ยะซายา 48:17.
แหล่งที่น่าเชื่อถือในเรื่องค่านิยมที่ไว้ใจได้
ถ้อยคำที่เพิ่งยกขึ้นมากล่าวนี้พบได้ในแหล่งแห่งค่านิยมทางศีลธรรมที่มีการจ่ายแจกออกไปแพร่หลายมากที่สุด นั่นคือพระคัมภีร์บริสุทธิ์. ผู้คนหลายล้านตลอดทั่วโลก แม้แต่คนที่ไม่ใช่คริสเตียนและคนที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ต่างก็หันเข้าหาพระคัมภีร์เพื่อได้รับสติปัญญาและความหยั่งเห็นเข้าใจ. โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท กวีชาวเยอรมันเขียนว่า “โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้ารักและนับถือ [คัมภีร์ไบเบิล] เพราะข้าพเจ้าเป็นหนี้คัมภีร์ไบเบิลที่ช่วยพัฒนาศีลธรรมอันดีแทบทั้งหมดในตัวข้าพเจ้า.” มีรายงานว่ามหาตมา คานธีผู้นำชาวฮินดูเคยกล่าวว่า “จงดื่มให้ได้มาก ๆ จากน้ำพุที่มีให้แก่ท่านในคำเทศน์บนภูเขา [คำสอนส่วนหนึ่งของพระเยซูคริสต์ที่พบในคัมภีร์ไบเบิล] . . . เพราะคำสอนในคำเทศน์นี้มีไว้เพื่อเราแต่ละคนและทุก ๆ คน.”
อัครสาวกเปาโล ซึ่งกล่าวถึงก่อนหน้านี้ ได้เน้นบทบาทสำคัญของพระคัมภีร์บริสุทธิ์ในเรื่องค่านิยมที่ไว้ใจได้ดังนี้: “พระคัมภีร์ทุกตอนพระเจ้าได้ทรงประสาทให้ย่อมเป็นประโยชน์สำหรับสั่งสอน.” (2 ติโมเธียว 3:16) เป็นเช่นนั้นจริงไหม?
คุณน่าจะลองตรวจสอบด้วยตัวเอง. ลองพิจารณาดูหลักการต่าง ๆ ที่อยู่ในหน้าถัดไป. สังเกตดูค่านิยมที่ดีต่าง ๆ เหล่านี้. จงใคร่ครวญว่าแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งรวมอยู่ในคำสอนเหล่านั้นจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นและปรับปรุงสัมพันธภาพของคุณกับคนอื่น ๆ อย่างไร.
คุณจะได้ประโยชน์ไหม?
หลักการต่าง ๆ ดังที่แสดงไว้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของคำแนะนำที่ใช้ได้จริงซึ่งพบได้ในพระคัมภีร์บริสุทธิ์. นอกจากนี้ พระคำของพระเจ้ายังมีคำเตือนมากมายให้ระวังความเสียหายที่เกิดจากความคิด, คำพูด, และการกระทำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อชีวิตของเรา.—สุภาษิต 6:16-19.
ถูกแล้ว คำสอนของคัมภีร์ไบเบิลให้บางสิ่งที่สังคมมนุษย์ทั่วไปกำลังขาดแคลนอย่างหนัก นั่นคือคำแนะนำที่ช่วยผู้คนให้พัฒนามาตรฐานศีลธรรมที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้. คนที่ยอมรับและนำคำสอนเหล่านี้ไปใช้จะทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต. แนวการคิดของพวกเขาจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น. (เอเฟโซ 4:23, 24) แรงกระตุ้นของพวกเขาจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น. การเรียนรู้ค่านิยมของพระเจ้าที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลช่วยหลายคนขจัดการถือผิว, อคติ, และความเกลียดชังออกจากหัวใจ. (เฮ็บราย 4:12) พระคัมภีร์และค่านิยมที่พระคัมภีร์สนับสนุน กระตุ้นให้ผู้คนปฏิเสธความรุนแรงและความชั่วทุกรูปแบบ และกลายเป็นคนที่ดีขึ้น.
ใช่แล้ว ค่านิยมของคัมภีร์ไบเบิลได้ช่วยหลายล้านคนให้เอาชนะนิสัยและความประพฤติที่ฝังลึก เช่น นิสัยและการกระทำที่ก่อความเสียหายแก่ชีวิตของคนอื่น ๆ. (1 โกรินโธ 6:9-11) คำสอนของคัมภีร์ไบเบิลได้เปลี่ยนแปลงคนเหล่านั้น ไม่ใช่แค่นิสัยของเขาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนหัวใจ, ความหวัง, และชีวิตครอบครัวของเขาด้วย. ไม่ว่าโลกจะเสื่อมลงมากเพียงไร ผู้คนทั่วโลกก็ยังคงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น. และการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่มีหยุด. “หญ้านั้นก็เหี่ยวแห้ง, และดอกไม้ก็ร่วงโรยไป, แต่พระดำรัสของพระเจ้าของเราจะยั่งยืนอยู่เป็นนิจ.”—ยะซายา 40:8.
อย่างไรก็ดี คุณเองจะได้รับประโยชน์จาก “พระดำรัสของพระเจ้าของเรา” ไหม? พยานพระยะโฮวายินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยคุณให้เห็นวิธีรับเอาค่านิยมของคัมภีร์ไบเบิลเพื่อประโยชน์ของคุณ. การดำเนินชีวิตสอดคล้องกับค่านิยมดังกล่าวจะหมายถึงการได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าในตอนนี้ และจะนำไปสู่ชีวิตยืนยาวซึ่งได้รับการควบคุมโดยหลักการของพระเจ้าที่ใช้การได้ทุกยุคทุกสมัย.
[กรอบ/ภาพหน้า 6, 7]
หลักการต่าง ๆ ที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
กฎทอง. “เหตุฉะนั้นสิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน, เพราะว่าพระบัญญัติและคำของศาสดาพยากรณ์สอนดังนั้น.”—มัดธาย 7:12.
รักเพื่อนบ้านของคุณ. “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.” (มัดธาย 22:39) “ความรักไม่ทำชั่วต่อเพื่อนบ้านของตน; ฉะนั้นความรักทำให้พระบัญญัติสำเร็จ.”—โรม 13:10, ล.ม.
นับถือและให้เกียรติผู้อื่น. “จงรักกันฉันพี่น้อง ส่วนการที่ให้เกียรติแก่กันและกันนั้นจงถือว่าผู้อื่นดีกว่าตัว.”—โรม 12:10, ฉบับแปลใหม่.
มุ่งทำสิ่งที่สร้างสันติสุข. “จงอยู่สงบสุขสามัคคีซึ่งกันและกัน.” (มาระโก 9:50) “หากเป็นได้ เท่าที่ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย จงสร้างสันติกับคนทั้งปวง.” (โรม 12:18, ล.ม.) “ให้เรามุ่งทำสิ่งที่สร้างสันติสุข.”—โรม 14:19, ล.ม.
ให้อภัย. “ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น.” (มัดธาย 6:12, ฉบับแปลใหม่) “ท่านทั้งหลายจงเมตตาซึ่งกันและกัน, มีใจเอ็นดูซึ่งกันและกัน, และอภัยโทษให้กันและกัน.”—เอเฟโซ 4:32.
ภักดี, ซื่อสัตย์. “จงชื่นใจยินดีด้วยกันกับภรรยาซึ่งอยู่ด้วยกันมาแต่หนุ่มสาว . . . จงรื่นเริงยินดีกับความรักของภรรยาเสมอ . . . ด้วยเหตุประการใดเจ้าจึงไปรื่นเริงยินดีกับหญิงชั่ว, และแนบอกหญิงโสเภณีเล่า?” (สุภาษิต 5:15-20) “คนที่สัตย์ซื่อในของเล็กที่สุดจะสัตย์ซื่อในของมากด้วย, และคนที่อสัตย์ในของเล็กที่สุดจะอสัตย์ในของมากด้วย.” (ลูกา 16:10) “ผู้อารักขาเหล่านั้นต้องเป็นคนสัตย์ซื่อทุกคน.”—1 โกรินโธ 4:2.
ซื่อตรง. “เราจะนับว่าผู้ที่ใช้ตราชูขี้ฉ้อและมีถุงบรรจุลูกตุ้มฉ้อโกงเป็นผู้ไม่มีผิดได้หรือ.” (มีคา 6:11) “เรามั่นใจว่า เรามีสติรู้สึกผิดชอบที่ดี เนื่องจากเราปรารถนาจะประพฤติตัวซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง.”—เฮ็บราย 13:18, ล.ม.
มีคุณธรรม. “จงชังความชั่วแลรักความดี, แลให้ความซื่อสัตย์ตั้งมั่นคงอยู่ที่ประตูเมือง.” (อาโมศ 5:15) “ให้กล่าวแต่ตามจริงซึ่งกันแลกัน, แลจงพิพากษาการพิพากษาด้วยความจริง, แลสุภาพในประตูเมืองของท่านทั้งหลาย.” (ซะคาระยา 8:16) “ท่านทั้งหลายจงเลิกการพูดมุสาเสีย, และจงต่างคนต่างพูดตามความจริงกับเพื่อนบ้าน.”—เอเฟโซ 4:25.
ขยันหมั่นเพียร. “เจ้าเห็นคนที่ขยันขันแข็งในการงานของเขาหรือ? คนนั้นจะได้เข้ารับราชการของกษัตริย์.” (สุภาษิต 22:29) “อย่าเกียจคร้าน.” (โรม 12:11) “ท่านจะกระทำสิ่งใด, ก็จงกระทำด้วยเต็มใจ, เหมือนกระทำถวายพระเจ้า, ไม่ใช่เหมือนกระทำแก่มนุษย์.”—โกโลซาย 3:23.
สุภาพอ่อนโยน, เมตตาสงสาร, กรุณา. “จงสวมใจเมตตา, ใจปรานี, ใจถ่อม, ใจอ่อนสุภาพ, ใจอดทนไว้นาน.”—โกโลซาย 3:12.
เอาชนะความชั่วด้วยความดี. “จงรักศัตรู และอวยพรแก่ผู้ที่แช่งด่าท่าน จงทำคุณแก่ผู้ที่เกลียดชังท่าน, และจงขอพรให้แก่ผู้ที่ประทุษร้ายเคี่ยวเข็ญท่าน.” (มัดธาย 5:44) “อย่าให้ความชั่วมีชัยแก่ตัว, แต่จงระงับความชั่วด้วยความดี.”—โรม 12:21.
ถวายสิ่งที่ดีที่สุดแด่พระเจ้า. “จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตต์ของเจ้า, และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า. นั่นแหละเป็นพระบัญญัติข้อต้นข้อใหญ่.”—มัดธาย 22:37, 38.
[ภาพหน้า 7]
การรับเอาค่านิยมจากคัมภีร์ไบเบิลจะช่วยเรามีชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จ, มีสัมพันธภาพอันเปี่ยมสุขในครอบครัว, และมีมิตรภาพที่น่าพอใจ