คุณได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ไหม?
คุณได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ไหม?
“มีบาปชนิดที่นำไปสู่ความตาย.”—1 โยฮัน 5:16, ล.ม.
1, 2. เรารู้อย่างไรว่าเป็นไปได้ที่จะทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า?
“ดิฉันถูกครอบงำด้วยความคิดที่ว่าได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์.” ผู้หญิงคนหนึ่งในเยอรมนีเขียนเช่นนั้นถึงแม้รับใช้พระเจ้าอยู่ก็ตาม. คริสเตียนสามารถทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้าได้จริง ๆ ไหม?
2 ถูกแล้ว เป็นไปได้ที่จะทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา. พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ความผิดและคำหมิ่นประมาททุกอย่างจะทรงโปรดยกให้มนุษย์ได้ เว้นแต่คำหมิ่นประมาทต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงโปรดยกให้มนุษย์ไม่ได้.” (มัดธาย 12:31) เราได้รับคำเตือนดังนี้: “ถ้าเราทำบาปโดยเจตนาหลังจากได้รับความรู้ถูกต้องเรื่องความจริงแล้ว จะไม่มีเครื่องบูชาแก้บาปใด ๆ เหลืออยู่เลย แต่มีการคาดหมายด้วยความกลัวว่าจะประสบการพิพากษา.” (เฮ็บราย 10:26, 27, ล.ม.) และอัครสาวกโยฮันเขียนว่า “มีบาปชนิดที่นำไปสู่ความตาย.” (1 โยฮัน 5:16, ล.ม.) แต่นี่หมายความไหมว่าผู้ที่ทำบาปร้ายแรงจะตัดสินว่าเขาได้ทำ “บาปชนิดที่นำไปสู่ความตาย” หรือไม่?
การกลับใจนำมาซึ่งการให้อภัย
3. ถ้าเราเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อบาปที่ได้ทำ นั่นคงจะบ่งชี้ถึงอะไร?
3 พระยะโฮวาเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายต่อผู้ทำผิด. อันที่จริง เราทุกคนต้องให้การต่อพระองค์ และพระองค์ทรงทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอ. (เยเนซิศ 18:25; โรม 14:12) พระยะโฮวาเป็นผู้ตัดสินว่าเราได้ทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้หรือไม่ และเป็นผู้ที่สามารถถอนพระวิญญาณของพระองค์ไปจากเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 51:11) อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อบาปที่ได้ทำ ก็คงเป็นไปได้มากว่าเราได้กลับใจอย่างแท้จริง. แต่การกลับใจอย่างแท้จริงเป็นเช่นไร?
4. (ก) คุณจะอธิบายความหมายของการกลับใจอย่างไร? (ข) เหตุใดถ้อยคำที่บทเพลงสรรเสริญ 103:10-14 จึงเป็นการปลอบโยนจริง ๆ?
4 การกลับใจหมายความว่าเราเปลี่ยนท่าทีต่อการทำผิดที่ผ่านมาหรือที่จงใจทำ. นั่นหมายถึงเรารู้สึกโศกเศร้าหรือเสียใจและหันกลับจากแนวทางที่ผิดบาป. หากเราทำบาปร้ายแรงแต่ได้ดำเนินขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อแสดงว่าเรากลับใจจริง ๆ เราก็สามารถได้รับคำปลอบโยนจากถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “พระองค์ [พระยะโฮวา] ไม่ได้ทรงกระทำแก่พวกข้าพเจ้าตามการผิด, และมิได้ทรงปรับโทษตามความอสัตย์อธรรมของพวกข้าพเจ้านั้น. ด้วยฟ้าสวรรค์สูงจากพื้นดินมากเท่าใด, พระองค์ทรงพระกรุณาแก่คนที่ยำเกรงพระองค์มากเท่านั้น. ทิศตะวันออกไกลจากทิศตะวันตกมากเท่าใด, พระองค์ได้ทรงถอนเอาการล่วงละเมิดของพวกข้าพเจ้าไปให้ห่างไกลมากเท่านั้น. บิดาเมตตาบุตรของตนมากฉันใด, พระยะโฮวาทรงพระเมตตาคนที่ยำเกรงพระองค์มากฉันนั้น. เพราะพระองค์ทรงทราบร่างกายของพวกข้าพเจ้าแล้ว; พระองค์ทรงระลึกอยู่ว่าพวกข้าพเจ้าเป็นแต่ผงคลีดิน.”—บทเพลงสรรเสริญ 103:10-14.
5, 6. จงพูดถึงจุดสำคัญใน 1 โยฮัน 3:19-22 และอธิบายความหมายแห่งถ้อยคำของอัครสาวก.
5 ถ้อยคำของอัครสาวกโยฮันให้การปลอบโยนเช่นกันที่ว่า “เหตุฉะนั้นเราจึงรู้ว่าเราอยู่ฝ่ายความจริง, และจะได้ตั้งใจของเราให้แน่วแน่จำเพาะพระองค์ เพราะถึงแม้ว่าใจของเราเองปรับโทษตัวเรา, พระเจ้าก็ยังทรงเป็นใหญ่กว่าใจของเรา, และยังทรงทราบสารพัตรทุกสิ่ง. ดูก่อนพวกที่รัก, ถ้าใจ1 โยฮัน 3:19-22.
ของเราไม่ได้ปรับโทษตัวเรา, เราก็มีความกล้าจำเพาะพระเจ้า และเราขอสิ่งใด ๆ, เราคงได้สิ่งนั้นจากพระองค์, เพราะเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์, และปฏิบัติตามชอบพระทัยของพระองค์.”—6 เรา “รู้ว่าเราอยู่ฝ่าย [“เกิดจาก,” ล.ม.] ความจริง” โดยข้อเท็จจริงที่ว่าเราแสดงความรักฉันพี่น้องและไม่ทำบาปเป็นอาจิณ. (บทเพลงสรรเสริญ 119:11) ถ้าเรารู้สึกถูกตำหนิไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เราควรจำไว้ว่า “พระเจ้าก็ยังทรงเป็นใหญ่กว่าใจของเรา, และยังทรงทราบสารพัตรทุกสิ่ง.” พระยะโฮวาทรงแสดงความเมตตาเราเนื่องจากพระองค์ทราบว่าเรา “มีความรักฉันพี่น้องอย่างที่ปราศจากมารยา,” เราต่อสู้กับบาป, และเราพยายามทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. (1 เปโตร 1:22, ล.ม.) หัวใจของเราจะ “ไม่ได้ปรับโทษตัวเรา” ถ้าเราไว้วางใจในพระยะโฮวา, แสดงความรักฉันพี่น้อง, และไม่จงใจทำบาปเป็นนิสัย. เราจะ ‘มีความกล้าจำเพาะพระเจ้า’ ในคำอธิษฐาน และพระองค์จะตอบคำอธิษฐานของเราเนื่องจากเราปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์.
พวกเขาทำบาปต่อพระวิญญาณ
7. อะไรเป็นตัวกำหนดว่าเป็นบาปที่ให้อภัยได้หรือไม่ได้?
7 บาปชนิดใดที่ไม่ได้รับการให้อภัย? เพื่อจะตอบคำถามนี้ ขอเราพิจารณาตัวอย่างบางเรื่องจากคัมภีร์ไบเบิล. นี่น่าจะเป็นการปลอบโยนถ้าเรากลับใจแต่ยังคงระทมทุกข์เนื่องจากความผิดร้ายแรงที่ได้ทำ. เราจะเห็นว่าที่จะตัดสินว่าบาปที่เราได้ทำ ให้อภัยได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของบาปที่ได้กระทำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแรงกระตุ้น, สภาพหัวใจ, และขนาดของเจตนาด้วย.
8. พวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวในศตวรรษแรกบางคนทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างไร?
มัดธาย 12:22-32, ฉบับแปลใหม่.
8 พวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวในศตวรรษแรกซึ่งต่อต้านพระเยซูคริสต์อย่างมุ่งร้ายได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์. พวกเขาเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าดำเนินกิจในพระเยซูขณะที่พระองค์ทำการอัศจรรย์ต่าง ๆ ที่ถวายเกียรติพระยะโฮวา. กระนั้น พวกศัตรูเหล่านี้ของพระคริสต์เชื่อว่าอำนาจนั้นมาจากซาตานพญามาร. ดังนั้น ตามที่พระเยซูตรัส ผู้ที่หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ทำบาปที่ไม่อาจให้อภัยได้ “ทั้งยุคนี้ยุคหน้า.”—9. คำหมิ่นประมาทคืออะไร และพระเยซูตรัสเช่นไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
9 คำหมิ่นประมาทคือคำพูดใส่ร้าย, ทำลายชื่อเสียง, หรือหยาบหยาม. เนื่องจากพระวิญญาณบริสุทธิ์มีแหล่งกำเนิดจากพระเจ้า การพูดสิ่งใดที่ต่อต้านพระวิญญาณของพระองค์ก็เท่ากับพูดต่อต้านพระยะโฮวา. การใช้คำพูดแบบนี้และไม่กลับใจเป็นบาปชนิดที่ให้อภัยไม่ได้. คำตรัสของพระเยซูเกี่ยวกับบาปเช่นนั้นแสดงให้เห็นว่าพระเยซูกำลังตรัสถึงผู้ที่จงใจต่อต้านการดำเนินงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า. เนื่องจากพระวิญญาณของพระยะโฮวาดำเนินกิจในพระเยซูแต่พวกผู้ต่อต้านพระองค์กลับคิดว่าพลังนี้มาจากพญามาร พวกเขาจึงหมิ่นประมาทอย่างชั่วร้ายต่อพระวิญญาณ. ดังนั้น พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดจะกล่าวคำหมิ่นประมาทต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์, จะโปรดยกให้ผู้นั้นไม่ได้เลย, แต่ผู้นั้นเป็นผู้ซึ่งสมควรปรับโทษเป็นนิตย์.”—มาระโก 3:20-29.
10. เหตุใดพระเยซูทรงเรียกยูดาว่า “ลูกของความพินาศ”?
10 ขอพิจารณากรณีของยูดาอิศการิโอดด้วย. เขาติดตามแนวทางที่ไม่ซื่อสัตย์โดยขโมยเงินจากกล่องเก็บเงินที่ฝากไว้ให้เขาดูแล. (โยฮัน 12:5, 6) ต่อมายูดาไปหาผู้ปกครองชาวยิวและเตรียมการเพื่อทรยศพระเยซูเพื่อเงิน 30 แผ่น. จริงอยู่ ยูดารู้สึกผิดและเสียใจหลังจากการทรยศครั้งนั้น แต่เขาไม่เคยกลับใจต่อบาปที่จงใจทำ. ผลก็คือ ยูดาไม่คู่ควรกับการกลับเป็นขึ้นจากตาย. ดังนั้น พระเยซูทรงเรียก เขาว่า “ลูกของความพินาศ.”—โยฮัน 17:12; มัดธาย 26:14-16.
ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ได้ทำบาปต่อพระวิญญาณ
11-13. กษัตริย์ดาวิดทำบาปเกี่ยวข้องกับนางบัธเซบะอย่างไร และเราอาจได้รับการปลอบโยนเช่นไรเมื่อพิจารณาวิธีที่พระเจ้าปฏิบัติกับดาวิดและบัธเซบะ?
11 บางครั้ง คริสเตียนที่สารภาพบาปร้ายแรงของตนและได้รับการช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณจากผู้ปกครองในประชาคมอาจยังรู้สึกทุกข์ใจเมื่อนึกถึงการละเมิดกฎหมายของพระเจ้าในอดีต. (ยาโกโบ 5:14) ถ้าเราเองรู้สึกไม่สบายใจแบบนี้ เราคงจะได้ประโยชน์มากจากการพิจารณาสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวเกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่บาปของเขาได้รับการให้อภัย.
12 กษัตริย์ดาวิดทำบาปร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับนางบัธเซบะ ภรรยาของอูรียา. เมื่อดาวิดเห็นหญิงงามคนนี้กำลังอาบน้ำขณะท่านมองลงมาจากดาดฟ้าราชวังที่อยู่ใกล้ ๆ ท่านได้สั่งให้นำเธอเข้ามายังราชวังและมีเพศสัมพันธ์กับเธอ. ต่อมาเมื่อรู้ว่าเธอตั้งครรภ์ ท่านวางแผนให้อูรียาสามีหลับนอนกับเธอเพื่อปกปิดการเล่นชู้ของท่าน. เมื่อแผนการนั้นไม่สำเร็จ กษัตริย์จึงส่งอูรียาไปตายในสนามรบ. จากนั้น ดาวิดจึงรับนางบัธเซบะมาเป็นภรรยาและประสูติโอรสองค์หนึ่งให้ท่านซึ่งในที่สุดก็เสียชีวิต.—2 ซามูเอล 11:1-27.
13 พระยะโฮวาทรงจัดการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดาวิดและนางบัธเซบะ. พระเจ้าให้อภัยดาวิด และดูเหมือนว่าทรงคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น การกลับใจและคำสัญญาเรื่องราชอาณาจักรที่ทำไว้กับท่าน. (2 ซามูเอล 7:11-16; 12:7-14) ดูเหมือนว่านางบัธเซบะมีเจตคติที่กลับใจเนื่องจากเธอได้รับสิทธิพิเศษให้เป็นมารดาของกษัตริย์ซะโลโมและเป็นบรรพสตรีของพระเยซูคริสต์. (มัดธาย 1:1, 6, 16) ถ้าเราทำบาป นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงสังเกตเจตคติที่กลับใจของเรา.
14. พระเจ้าพร้อมจะให้อภัยถึงขนาดไหน ดังที่กรณีของกษัตริย์มะนาเซแสดงให้เห็น?
14 ขนาดในการให้อภัยของพระยะโฮวายังเห็นได้จากกรณีของกษัตริย์มะนาเซแห่งยูดาห์. ท่านทำสิ่งชั่วร้ายในสายพระเนตรพระยะโฮวา. มะนาเซสร้างแท่นบูชาบาละ, นมัสการ “ดวงดาวทั้งหลายในท้องฟ้า,” และถึงกับสร้างแท่นบูชาพระเท็จในลานทั้งสองของพระวิหาร. ท่านให้เหล่าราชบุตรลุยไฟ, สนับสนุนกิจปฏิบัติลัทธิผีปิศาจ, และเป็นเหตุให้ประชาชนแห่งยูดาห์และเยรูซาเลม “หลงไปประพฤติการชั่วยิ่งกว่าชนชาติอื่น ๆ ที่พระยะโฮวาทรงล้างผลาญเสียแล้วต่อหน้าพงศ์พันธุ์ยิศราเอล.” ผู้พยากรณ์ของพระเจ้าให้คำเตือนแต่ไม่มีใครฟัง. ในที่สุด กษัตริย์อัสซีเรียจับมะนาเซไปเป็นเชลย. ขณะถูกจองจำ มะนาเซกลับใจและทูลอธิษฐานถึงพระเจ้าด้วยความถ่อมใจซึ่งพระองค์ทรงให้อภัยและคืนตำแหน่งกษัตริย์ในเยรูซาเลมให้แก่ท่านซึ่งท่านได้ส่งเสริมการนมัสการแท้.—2 โครนิกา 33:2-17.
15. เหตุการณ์ใดในชีวิตของอัครสาวกเปโตรแสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาทรงให้อภัย “อย่างล้นเหลือ”?
15 หลายศตวรรษต่อมา อัครสาวกเปโตรทำบาปร้ายแรงโดยการปฏิเสธพระเยซู. (มาระโก 14:30, 66-72) อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงให้อภัยท่านเปโตร “อย่างล้นเหลือ.” (ยะซายา 55:7, ฉบับแปลใหม่) เพราะเหตุใด? เพราะท่านเปโตรกลับใจอย่างแท้จริง. (ลูกา 22:62) มีหลักฐานชัดเจนว่าพระเจ้าทรงให้อภัยในอีก 50 วันถัดมาในวันเทศกาลเพนเทคอสต์ ท่านเปโตรมีสิทธิพิเศษให้คำพยานอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับพระเยซู. (กิจการ 2:14-36) มีเหตุผลใด ๆ ไหมที่จะเชื่อว่าพระเจ้าจะให้อภัยคริสเตียนที่กลับใจอย่างแท้จริงในทุกวันนี้น้อยไปกว่านั้น? ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงดังนี้: “ข้าแต่พระยะโฮวา, ถ้าหากพระองค์จะทรงจดจำการอสัตย์อธรรมทั้งหมดไว้, ใครจะทนไหว? แต่พระองค์ทรงมีการอภัยโทษ.”—บทเพลงสรรเสริญ 130:3, 4.
การลดความกังวลเกี่ยวกับบาป
16. ภายใต้สภาพการณ์เช่นไรที่พระเจ้าทรงยอมให้อภัย?
16 ตัวอย่างต่าง ๆ ที่กล่าวไปควรช่วยเราลดความกังวลเกี่ยวกับการทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์. ตัวอย่างเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาทรงให้อภัยผู้ทำบาปที่กลับใจ. สิ่งสำคัญประการแรกคือการอธิษฐานถึงพระเจ้าด้วยความจริงใจ. ถ้าเราทำบาป เราสามารถอ้อนวอนขอการให้อภัยโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู, โดยคำนึงถึงความเมตตาของพระยะโฮวา, ความไม่สมบูรณ์ที่เราได้รับเอเฟโซ 1:7.
เป็นมรดก, และประวัติการรับใช้ที่ซื่อสัตย์ของเรา. เนื่องจากรู้ว่าพระยะโฮวามีพระกรุณาอันใหญ่หลวง เราจึงสามารถแสวงหาการให้อภัยและมั่นใจว่าจะได้รับตามที่ขอ.—17. ควรทำสิ่งใดถ้าเราทำบาปและต้องการความช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณ?
17 จะว่าอย่างไรหากเราทำบาปแต่ไม่สามารถอธิษฐานได้เนื่องจากบาปนั้นทำให้เราป่วยฝ่ายวิญญาณ? ในเรื่องนี้ สาวกยาโกโบเขียนว่า “จงให้ [คนเช่นนั้น] เชิญบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ของประชาคมมาหาตน และให้คนเหล่านั้นอธิษฐานเพื่อเขา เอาน้ำมันทาเขาในนามของพระยะโฮวา. และคำอธิษฐานด้วยความเชื่อจะทำให้ผู้ที่ไม่สบายหายเป็นปกติ และพระยะโฮวาจะทรงพยุงเขาขึ้น. และหากเขาได้ทำบาป เขาจะได้รับการอภัย.”—ยาโกโบ 5:14, 15, ล.ม.
18. แม้ว่าคนหนึ่งถูกขับออกจากประชาคม แต่เหตุใดไม่จำเป็นที่บาปของเขาจะเป็นบาปที่ให้อภัยไม่ได้?
18 แม้ว่าในตอนนั้นผู้ทำผิดไม่กลับใจและถูกขับออกจากประชาคมก็ใช่ว่าบาปที่เขาทำนั้นจะให้อภัยไม่ได้เสมอไป. ท่านเปาโลเขียนเกี่ยวกับผู้ถูกเจิมคนหนึ่งในประชาคมโครินท์ซึ่งทำผิดและถูกตัดสัมพันธ์ดังนี้: “ซึ่งคนส่วนมากได้ลงโทษคนนั้นก็พอสมควรอยู่แล้ว เหตุฉะนั้นควรท่านทั้งหลายจะยกโทษคนนั้นต่างหาก, เพื่อเขาจะได้ความบรรเทา กลัวว่าเขาจะจมลงในความทุกข์เหลือล้น.” (2 โกรินโธ 2:6-8; 1 โกรินโธ 5:1-5) อย่างไรก็ตาม เพื่อฟื้นตัวทางฝ่ายวิญญาณ ผู้ทำผิดต้องยอมรับความช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักจากคริสเตียนผู้ปกครองและให้หลักฐานของการกลับใจอย่างแท้จริง. เขาต้อง “ประพฤติให้ผลสมกับใจซึ่งกลับเสียใหม่.”—ลูกา 3:8.
19. อะไรอาจช่วยเราให้ “เข้มแข็งในความเชื่อ” ต่อ ๆ ไป?
19 อะไรอาจทำให้รู้สึกว่าเราได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์? สาเหตุอาจมาจากสภาพร่างกายและจิตใจที่อ่อนแอ. ในกรณีเช่นนั้น การอธิษฐานและการพักผ่อนมากขึ้นอาจช่วยได้. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราไม่ควรยอมให้ซาตานทำให้เราท้อแท้จนเราหยุดรับใช้พระเจ้า. เนื่องจากพระยะโฮวาไม่ยินดีกับการเสียชีวิตของคนชั่ว พระองค์ก็คงไม่ยินดียิ่งกว่านั้นอีกที่จะสูญเสียผู้รับใช้ของพระองค์คนใดคนหนึ่ง. ดังนั้น ถ้าเรากลัวว่าเราได้ทำบาปต่อพระวิญญาณ เราควรอ่านพระคำของพระเจ้าต่อ ๆ ไปซึ่งรวมไปถึงส่วนที่ให้การปลอบโยนเช่นพระธรรมบทเพลงสรรเสริญ. เราต้องเข้าร่วมการประชุมประชาคมและมีส่วนร่วมในงานประกาศราชอาณาจักรต่อ ๆ ไป. การทำเช่นนั้นจะช่วยเราให้ “เข้มแข็งในความเชื่อ” และไม่กังวลว่าอาจได้ทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้.—ติโต 2:2, ล.ม.
20. การหาเหตุผลเช่นไรอาจช่วยคนหนึ่งให้เห็นว่าเขาไม่ได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์?
20 ใครก็ตามที่กลัวว่าได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์อาจถามตัวเองดังนี้: ‘ฉันได้หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์ไหม? ฉันได้กลับใจจากบาปอย่างแท้จริงไหม? ฉันมีความเชื่อในเรื่องการให้อภัยจากพระเจ้าไหม? ฉันเป็นผู้ออกหากซึ่งปฏิเสธความสว่างทางฝ่ายวิญญาณไหม?’ เป็นไปได้มากว่าบุคคลเช่นนั้นจะตระหนักว่าเขาไม่ได้หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าและไม่ได้กลายเป็นผู้ออกหาก. เขากลับใจและมีความเชื่อต่อไปในการให้อภัยจากพระยะโฮวา. ถ้าเป็นเช่นนั้น เขาก็ไม่ได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา.
21. บทความหน้าจะพิจารณาคำถามอะไรบ้าง?
21 ช่างเป็นการปลอบโยนอะไรเช่นนี้ที่มั่นใจว่าเราไม่ได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์! อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะพิจารณาในบทความหน้า. ตัวอย่างเช่น เราอาจถามตัวเองว่า ‘พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าชี้นำฉันจริง ๆ ไหม? ผลแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏชัดในชีวิตของฉันไหม?’
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดเราอาจพูดได้ว่าเป็นไปได้ที่จะทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์?
• การกลับใจหมายถึงอะไร?
• ตอนที่พระเยซูอยู่บนแผ่นดินโลก ใครได้ทำบาปต่อพระวิญญาณ?
• อาจเอาชนะความกังวลเกี่ยวกับการทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้ได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
ผู้ที่กล่าวว่าพระเยซูทำการอัศจรรย์ด้วยอำนาจของซาตานได้ทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า
[ภาพหน้า 18]
แม้เปโตรปฏิเสธพระเยซู แต่ท่านก็ไม่ได้ทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้