การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง คุณจะบรรลุได้อย่างไร?
การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง คุณจะบรรลุได้อย่างไร?
“การใฝ่ใจกับเนื้อหนังหมายถึงความตาย แต่การใฝ่ใจกับพระวิญญาณหมายถึงชีวิตและสันติสุข” อัครสาวกเปาโลได้เขียนไว้ดังกล่าว. (โรม 8:6, ล.ม.) ด้วยถ้อยคำดังกล่าว ท่านอัครสาวกชี้แจงว่าการเป็นบุคคลที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความชอบหรือความรู้สึกส่วนตัว. ในความเป็นจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและความตาย. แต่ในความหมายใดที่คนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณได้รับ “ชีวิตและสันติสุข”? ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิล บุคคลเช่นนั้นมีสันติสุขในขณะนี้—กับตัวเองและกับพระเจ้า—และจะได้รับบำเหน็จคือชีวิตนิรันดร์ในอนาคต. (โรม 6:23; ฟิลิปปอย 4:7) ไม่น่าแปลกที่พระเยซูตรัสว่า “ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน.”—มัดธาย 5:3, ล.ม.
ข้อเท็จจริงที่ว่าคุณอ่านวารสารนี้บ่งชี้ว่าคุณมีความสนใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณ—และนี่เป็นแนวทางที่ฉลาดสุขุม. กระนั้น มีทัศนะที่ต่างกันอย่างมากมายในเรื่องนี้ ดังนั้น คุณอาจสงสัยว่า ‘การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริงหมายถึงอะไร? และเราจะเป็นคนใฝ่ใจเช่นนั้นได้อย่างไร?’
“พระทัยของพระคริสต์”
นอกจากชี้ให้เห็นความสำคัญและผลประโยชน์ของการใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณแล้ว อัครสาวกเปาโลได้กล่าวไว้มากมายว่าการเป็นคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริงหมายความเช่นไร. เปาโลได้อธิบายแก่คริสเตียนในเมืองโครินท์โบราณถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์ธรรมดา ซึ่งก็คือบุคคลที่ทำตามแรงกระตุ้นของเนื้อหนัง กับมนุษย์ฝ่ายวิญญาณ ซึ่งเป็นบุคคลที่ถือว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรมหรือศาสนานั้นมีค่า. เปาโลได้เขียนว่า “มนุษย์ธรรมดาจะรับสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นของพระวิญญาณแห่งพระเจ้าไม่ได้ ด้วยสิ่งเหล่านั้นเขาเห็นเป็นความโง่.” ในอีกด้านหนึ่ง เปาโลอธิบายว่าลักษณะเฉพาะของมนุษย์ฝ่ายวิญญาณหรือคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณคือมี “พระทัยของพระคริสต์.”—1 โกรินโธ 2:14-16.
การมี “พระทัยของพระคริสต์” โดยพื้นฐานแล้วหมายถึงการมี “เจตคติอย่างเดียวกัน . . . เหมือนพระคริสต์เยซูทรงมี.” (โรม 15:5, ล.ม.; ฟิลิปปอย 2:5) พูดอีกอย่างหนึ่ง คนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณคือคนที่คิดเหมือนพระเยซูและดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์. (1 เปโตร 2:21; 4:1) ยิ่งความคิดจิตใจของคนเราเหมือนกับพระคริสต์มากเท่าใด เขาก็ยิ่งมีความใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณมากขึ้นเท่านั้นและเขาก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้รับ “ชีวิตและสันติสุข.”—โรม 13:14.
วิธีมารู้จัก “พระทัยของพระคริสต์”
อย่างไรก็ดี เพื่อจะมีพระทัยของพระคริสต์ คนเราต้องรู้จักพระทัยนั้นก่อน. ดังนั้น ขั้นแรกในการพัฒนาความใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณคือการรู้จักวิธีคิดของพระเยซู. แต่คุณจะรู้จักความคิดของผู้ที่มีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลกเมื่อ 2,000 ปีมาแล้วได้อย่างไร? เอาละ เพื่อเป็นตัวอย่าง คุณเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลในประวัติศาสตร์ของประเทศคุณโดยวิธีใด? ก็คงจะโดยการอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวของพวกเขา. คล้ายกัน การอ่านประวัติของพระเยซูที่มีการเขียนไว้เป็นวิธีสำคัญที่จะมารู้จักพระทัยของพระคริสต์.—โยฮัน 17:3.
ในกรณีของพระเยซู มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนสี่เรื่อง นั่นคือพระธรรมกิตติคุณ เขียนโดยมัดธาย, มาระโก, ลูกา, และโยฮัน. การอ่านเรื่องราวเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนจะช่วยคุณเข้าใจวิธีคิดของพระเยซู, ความรู้สึกในส่วนลึกที่สุดของพระองค์, และแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังการกระทำของพระองค์. เมื่อคุณใช้เวลาคิดรำพึงถึงสิ่งที่คุณอ่านเกี่ยวกับพระเยซู คุณเริ่มนึกภาพในจิตใจคุณว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลเช่นไร. ถึงแม้คุณถือว่าตัวเองเป็นสาวกของพระคริสต์อยู่แล้วก็ตาม การอ่านและการคิดรำพึงเช่นนั้นจะช่วยคุณให้ “เติบโตต่อ ๆ ไปในพระกรุณาอันไม่พึงได้รับและในความรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า และพระผู้ช่วยให้รอดของเรา.”—2 เปโตร 3:18, ล.ม.
โดยคำนึงถึงเรื่องนั้น ขอให้เราพิจารณาบางตอนในพระโยฮัน 13:15.
ธรรมกิตติคุณเพื่อดูว่าอะไรทำให้พระเยซูเป็นบุคคลที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณเช่นนั้น. ครั้นแล้ว ขอให้ถามตัวเองว่าคุณจะเลียนแบบอย่างที่พระองค์วางไว้ได้โดยวิธีใด.—การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณและ “ผลแห่งพระวิญญาณ”
ลูกาผู้เขียนกิตติคุณกล่าวว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าได้หลั่งลงเหนือพระเยซูในตอนที่พระองค์ได้รับบัพติสมาและพระเยซูทรง “เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (ลูกา 3:21, 22; 4:1, ฉบับแปล 2002) ต่อมา พระเยซูได้ทรงตอกย้ำกับเหล่าสาวกถึงความสำคัญของการได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ “พลังปฏิบัติการ” ของพระเจ้า. (เยเนซิศ 1:2, ล.ม.; ลูกา 11:9-13) ทำไมเรื่องนี้สำคัญขนาดนั้น? เพราะพระวิญญาณของพระเจ้ามีพลังที่จะเปลี่ยนจิตใจของคนเรา เพื่อจิตใจของเขาจะเริ่มเหมือนกับพระทัยของพระคริสต์. (โรม 12:1, 2) พระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อคุณลักษณะต่าง ๆ ขึ้นในตัวคนเรา เช่น “ความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นไว้นาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน, การควบคุมตนเอง.” คุณลักษณะเหล่านี้ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “ผลแห่งพระวิญญาณ”—เป็นลักษณะสำคัญของคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง. (ฆะลาเตีย 5:22, 23, ล.ม.) กล่าวโดยสรุป คนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณคือคนที่ได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณของพระเจ้า.
พระเยซูทรงสำแดงผลแห่งพระวิญญาณตลอดงานรับใช้ของพระองค์. คุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ความรัก, ความกรุณา, และความดี ปรากฏชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อคนเหล่านั้นซึ่งถูกมองว่าเป็นสมาชิกที่ต่ำต้อยของสังคม. (มัดธาย 9:36) ตัวอย่างเช่น ขอสังเกตเหตุการณ์หนึ่งที่อัครสาวกโยฮันได้พรรณนาไว้. เราอ่านว่า “เมื่อ [พระเยซู] กำลังเสด็จไปทรงเห็นคนหนึ่งตาบอดแต่กำเนิด.” เหล่าสาวกของพระเยซูได้สังเกตชายคนนี้ด้วย แต่มองเขาว่าเป็นคนที่ได้ทำผิด. พวกเขาถามว่า “ใครได้ทำผิด, คนนี้หรือหรือบิดามารดาของเขา?” เพื่อนบ้านของชายคนนี้ได้เห็นเขาด้วย แต่เท่าที่พวกเขารู้คือเขาเป็นขอทาน. พวกเขาพูดว่า “คนนี้มิใช่หรือที่เคยนั่งขอทานอยู่?” อย่างไรก็ดี พระเยซูทรงมองชายตาบอดฐานะเป็นบุคคลซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ. พระองค์ตรัสกับชายตาบอดนั้นและทรงทำให้เขามองเห็นได้.—โยฮัน 9:1-8.
เหตุการณ์นี้บอกอะไรคุณเกี่ยวกับพระทัยของพระคริสต์? ประการแรก พระเยซูไม่ได้มองข้ามคนต่ำต้อย แต่ทรงปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเมตตาสงสารอันอ่อนละมุน. ประการที่สอง พระองค์ทรงริเริ่มที่จะช่วยเหลือคนอื่น. คุณคิดว่าตัวเองกำลังปฏิบัติตามตัวอย่างที่พระเยซูทรงวางไว้ไหม? คุณมองผู้คนอย่างที่พระเยซูทรงมองไหม โดยให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่เขาเพื่อทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้นและทำให้เขามีความหวังในอนาคตที่สดใส? หรือว่าคุณมีแนวโน้มที่จะนิยมชมชอบคนที่เด่นและมองข้ามคนที่ไม่เด่น? หากคุณมองผู้คนเหมือนที่พระเยซูทรงมอง คุณก็กำลังปฏิบัติตามตัวอย่างของพระเยซูอย่างแท้จริง.—บทเพลงสรรเสริญ 72:12-14.
การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณและการอธิษฐาน
เรื่องราวในกิตติคุณแสดงว่าบ่อยครั้งพระเยซูทรงหมายพึ่งพระเจ้าโดยการอธิษฐาน. (มาระโก 1:35; ลูกา 5:16; 22:41) ระหว่างงานรับใช้ของพระองค์บน แผ่นดินโลก พระเยซูทรงตั้งพระทัยกันเวลาไว้เพื่ออธิษฐาน. อัครสาวกมัดธายเขียนว่า “เมื่อทรงให้ฝูงชนไปหมดแล้ว [พระเยซู] เสด็จขึ้นไปบนภูเขาตามลำพังเพื่ออธิษฐาน.” (มัดธาย 14:23, ฉบับแปล 2002) จากช่วงเวลาดังกล่าวที่ทรงใช้ในการติดต่อสนทนาอย่างเงียบ ๆ กับพระบิดาของพระองค์ผู้สถิตในสวรรค์ พระเยซูได้รับกำลัง. (มัดธาย 26:36-44) ทุกวันนี้ คนที่มีจิตใจฝักใฝ่ทางฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริงมองหาโอกาสที่จะติดต่อสนทนากับพระเจ้าเช่นกัน โดยรู้อยู่ว่าการทำเช่นนี้จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างเขากับพระผู้สร้างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและช่วยเขาให้มีความคิดเหมือนพระคริสต์มากขึ้น.
บ่อยครั้งพระเยซูทรงใช้เวลายาวนานในการอธิษฐาน. (โยฮัน 17:1-26) ตัวอย่างเช่น ก่อนพระองค์ทรงเลือกชาย 12 คนซึ่งจะมาเป็นอัครสาวกของพระองค์ พระเยซู “เสด็จขึ้นภูเขาเพื่อจะอธิษฐาน, และได้อธิษฐานต่อพระเจ้าตลอดคืนยังรุ่ง.” (ลูกา 6:12) ถึงแม้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาตลอดทั้งคืนในการอธิษฐานเสมอไป คนที่มีจิตใจฝักใฝ่ทางฝ่ายวิญญาณปฏิบัติตามตัวอย่างของพระเยซู. ก่อนตัดสินเรื่องใหญ่ ๆ ในชีวิต พวกเขาใช้เวลามากพอที่จะอธิษฐานถึงพระเจ้า แสวงหาการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อจะเลือกอย่างที่จะทำให้เขาใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณมากขึ้น.
ในคำอธิษฐาน พระเยซูยังแสดงให้เห็นความรู้สึกอันลึกซึ้งที่เราควรเลียนแบบในการอธิษฐานของเราด้วย. ขอสังเกตสิ่งที่ลูกาได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีที่พระเยซูทรงอธิษฐานในตอนเย็นก่อนพระองค์สิ้นพระชนม์. “ด้วยทรงเป็นทุกข์สาหัสในพระทัยพระองค์จึงทรงอธิษฐานต่อไปด้วยความเร่าร้อนยิ่งขึ้น; และพระเสโทของพระองค์กลายเป็นเหมือนหยดเลือดตกลงบนพื้นดิน.” (ลูกา 22:44, ล.ม.) พระเยซูได้ทรงอธิษฐานอย่างจริงจังก่อนหน้านั้น แต่ในโอกาสนี้ ทรงเผชิญกับการทดสอบแสนสาหัสในชีวิตของพระองค์บนแผ่นดินโลก พระองค์จึงทรงอธิษฐาน “ด้วยความเร่าร้อนยิ่งขึ้น”—และคำอธิษฐานของพระองค์ได้รับการสดับ. (เฮ็บราย 5:7) คนที่ฝักใฝ่ทางฝ่ายวิญญาณปฏิบัติตามตัวอย่างของพระเยซู. เมื่อเผชิญการทดลองต่าง ๆ ที่รุนแรงเป็นพิเศษ พวกเขาอธิษฐานถึงพระเจ้า “ด้วยความเร่าร้อนยิ่งขึ้น” เพื่อได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์, การชี้นำ, และการเกื้อหนุน.
เนื่องจากเห็นได้ชัดว่าพระเยซูทรงอธิษฐานอย่างมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่าสาวกของพระองค์ต้องการเลียนแบบพระองค์ในเรื่องนี้. ดังนั้น พวกเขาทูลขอพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า, ขอสอนพวกข้าพเจ้าให้อธิษฐาน.” (ลูกา 11:1) คล้ายกันในทุกวันนี้ คนเหล่านั้นที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งฝ่ายวิญญาณและต้องการได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า ติดตามตัวอย่างของพระเยซูในวิธีที่เขาอธิษฐานถึงพระเจ้า. การเป็นคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริงกับการอธิษฐานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด.
การใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณและการประกาศข่าวดี
ในกิตติคุณของมาระโก เราพบเรื่องราวที่พระเยซูทรงรักษาคนป่วยหลายคนจนกระทั่งดึก. ตอนเช้าตรู่วันรุ่งขึ้นเมื่อพระองค์ทรงอธิษฐานอยู่ตามลำพัง เหล่าอัครสาวกมาหาพระองค์ทูลว่าผู้คนมากมายกำลังตามหาพระองค์ บางทีต้องการได้รับการรักษาโรค. อย่างไรก็ตาม พระเยซูตรัสแก่พวกเขาว่า “ให้เราไปที่อื่นเถิด เข้าไปตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อเราจะได้ประกาศที่นั่นด้วย.” แล้วพระเยซูทรงอธิบายเหตุผลว่า “เพราะเนื่องด้วยจุดประสงค์นี้เราจึงได้มา.” (มาระโก 1:32-38, ล.ม.; ลูกา 4:43) ถึงแม้การรักษาประชาชนสำคัญสำหรับพระเยซู แต่การประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นงานมอบหมายอันดับแรกของพระองค์.—มาระโก 1:14, 15.
ทุกวันนี้ การบอกคนอื่นเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้ายังคงเป็นเครื่องหมายระบุตัวคนเหล่านั้นที่มีพระทัยของพระคริสต์. พระเยซูทรงบัญชาทุกคนที่มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) นอกจากนี้ พระเยซูได้ทรงบอกล่วงหน้าว่า “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนี้จะได้รับการประกาศทั่วทั้งแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นคำพยานแก่ทุกชาติ; และครั้นแล้วอวสานจะมาถึง.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) เนื่องจากพระคำของพระเจ้าบ่งชี้ว่างานประกาศบรรลุผลสำเร็จโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ การมีส่วนร่วมในงานนี้ด้วยใจแรงกล้าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการเป็นคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง.—กิจการ 1:8.
ต้องการจะเป็นสาวกของพระองค์ว่า “ฉะนั้น จงไปทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก . . . สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (การประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรแก่ผู้คนทั่วโลกเรียกร้องให้หลายล้านคนพยายามร่วมกัน. (โยฮัน 17:20, 21) คนเหล่านั้นที่เข้าร่วมในงานนี้ไม่เพียงแต่ต้องใฝ่ใจสิ่งฝ่ายวิญญาณ แต่ต้องได้รับการจัดระเบียบอย่างดีทั่วโลกด้วย. คุณจะระบุตัวคนที่ดำเนินตามรอยพระบาทของพระคริสต์และประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรตลอดทั่วโลกได้ไหม?
คุณบรรลุข้อเรียกร้องไหม?
แน่นอน มีลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่ระบุตัวคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง แต่คุณจะบรรลุลักษณะเหล่านั้นที่พิจารณามาแล้วได้โดยวิธีใด? เพื่อจะทราบคำตอบ จงถามตัวเองว่า ‘ฉันอ่านคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้าเป็นประจำไหม รวมทั้งคิดรำพึงถึงสิ่งที่อ่านนั้น? ฉันสำแดงผลแห่งพระวิญญาณในชีวิตไหม? ฉันอธิษฐานอย่างไม่ละลดไหม? ฉันต้องการคบหากับคนที่ทำงานประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าทั่วโลกไหม?’
การตรวจสอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์อาจช่วยคุณให้รู้ว่าคุณเป็นคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณถึงขีดไหน. เราขอสนับสนุนคุณให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่จำเป็นในขณะนี้เพื่อที่ “ชีวิตและสันติสุข” จะเป็นของคุณ.—โรม 8:6; มัดธาย 7:13, 14; 2 เปโตร 1:5-11.
[กรอบ/ภาพหน้า 7]
เครื่องหมายระบุตัวคนที่ใฝ่ใจในสิ่งฝ่ายวิญญาณ
◆ มีความรักต่อพระคำของพระเจ้า
◆ สำแดงผลแห่งพระวิญญาณ
◆ อธิษฐานถึงพระเจ้าเป็นประจำและด้วยน้ำใสใจจริง
◆ บอกข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่คนอื่น
[ภาพหน้า 5]
คัมภีร์ไบเบิลช่วยคุณให้รู้จัก “พระทัยของพระคริสต์”