คุณ “มั่งมีจำเพาะพระเจ้า” ไหม?
คุณ “มั่งมีจำเพาะพระเจ้า” ไหม?
“คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัว และมิได้มั่งมีจำเพาะพระเจ้าก็เป็นเช่นนั้นแหละ.”—ลูกา 12:21.
1, 2. (ก) ผู้คนเต็มใจจะเสียสละอย่างมากเพื่อสิ่งใด? (ข) คริสเตียนต้องเผชิญกับข้อท้าทายและอันตรายอะไร?
การตามล่าหาสมบัติไม่ได้เป็นเพียงเกมที่เด็กชอบเล่นกัน แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงซ้ำแล้วซ้ำอีกมาหลายชั่วอายุในประเทศต่าง ๆ. ตัวอย่างเช่น การตื่นทองเมื่อศตวรรษที่ 19 ในออสเตรเลีย, แอฟริกาใต้, แคนาดา, และสหรัฐได้ดึงดูดผู้คนจากที่ห่างไกลให้ยินดีทิ้งบ้านและคนที่ตนรักเพื่อไปแสวงโชคในที่แปลกถิ่น และบางครั้งก็อยู่อย่างลำบาก. ใช่ ผู้คนมากมายเต็มใจเสี่ยงสุดตัวและเสียสละอย่างมากเพื่อได้มาซึ่งความร่ำรวยที่หัวใจพวกเขาปรารถนา.
2 แม้ว่าคนส่วนมากในทุกวันนี้ไม่ได้ตามล่าหาสมบัติกันจริง ๆ อย่างนั้น แต่พวกเขาก็ต้องทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงชีพ. การหาเลี้ยงชีพในระบบปัจจุบันนี้อาจเป็นเรื่องยากลำบาก, ต้องใช้แรงกายแรงใจมาก, และเป็นภาระหนัก. เป็นเรื่องง่ายที่เราอาจเริ่มกังวลกับเรื่องอาหาร, เสื้อผ้า, และที่อยู่อาศัยถึงขนาดที่ละเลยหรือแม้กระทั่งหลงลืมสิ่งที่สำคัญกว่า. (โรม 14:17) พระเยซูทรงยกอุทาหรณ์เรื่องหนึ่งซึ่งพรรณนาให้เห็นภาพแนวโน้มแบบนี้ของมนุษย์เราอย่างชัดเจน. อุทาหรณ์นี้อยู่ที่ลูกา 12:16-21.
3. จงเล่าสั้น ๆ ถึงอุทาหรณ์ของพระเยซูตามที่บันทึกไว้ในลูกา 12:16-21?
3 พระเยซูทรงเล่าอุทาหรณ์นี้ในโอกาสเดียวกับที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องระวังความโลภ ซึ่งเราได้พิจารณากันละเอียดพอสมควรในบทความก่อน. หลังจากเตือนเกี่ยวกับความโลภแล้ว พระเยซูตรัสถึงชายเศรษฐีคนหนึ่งที่ไม่พอใจกับยุ้งฉางซึ่งเต็มด้วยสมบัติที่เขามีอยู่แล้ว แต่รื้อยุ้งฉางเหล่านั้นลงแล้วสร้างให้ใหญ่กว่าเดิมเพื่อจะสะสมสมบัติได้มากขึ้น. ขณะที่เขาคิดว่าได้เวลาแล้วที่เขาจะผ่อนคลายและใช้ชีวิตอย่างสบาย ๆ พระเจ้าทรงบอกชายคนนี้ว่าชีวิตเขากำลังจะสิ้นสุดลง และสมบัติทั้งหมดที่เขาได้สะสมไว้จะกลายเป็นของคนอื่น. จากนั้น พระเยซูตรัสเพิ่มเติมในคำลงท้ายว่า “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับลูกา 12:21) เราอาจเรียนอะไรได้จากอุทาหรณ์นี้? เราจะใช้บทเรียนดังกล่าวกับชีวิตเราเองได้อย่างไร?
ตัว และมิได้มั่งมีจำเพาะพระเจ้าก็เป็นเช่นนั้นแหละ.” (ชายผู้มีปัญหายุ่งยาก
4. เราสามารถกล่าวได้ว่าชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูเป็นคนแบบไหน?
4 อุทาหรณ์ที่พระเยซูยกขึ้นมาเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันดี. เราสังเกตว่าพระเยซูทรงนำเรื่องง่าย ๆ โดยตรัสว่า “ไร่นาของเศรษฐีคนหนึ่งเกิดผลบริบูรณ์เป็นอันมาก.” พระเยซูไม่ได้ตรัสว่าชายคนนี้ร่ำรวยขึ้นมาด้วยวิธีฉ้อฉลหรือผิดกฎหมาย. กล่าวอีกอย่างคือ ไม่ได้มีการให้ภาพว่าเขาเป็นคนไม่ดี. ที่จริง จากข้อความที่พระเยซูตรัส มีเหตุผลที่จะคิดว่าชายในอุทาหรณ์คนนี้ได้ทำงานอย่างหนัก. อย่างน้อยก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเขาเป็นคนที่คิดวางแผนและเก็บสะสมเพื่ออนาคต อาจเป็นได้ว่าโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของครอบครัว. ด้วยเหตุนั้น จากมุมมองทางโลก อาจถือได้ว่าเขาเป็นตัวแทนชายที่ทำงานหนักซึ่งทำพันธะหน้าที่ของตนอย่างจริงจัง.
5. ชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูพบปัญหาอะไร?
5 ไม่ว่าจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร พระเยซูทรงเรียกชายในอุทาหรณ์นั้นว่าชายเศรษฐี ซึ่งก็หมายความว่าเขาเป็นคนที่มีทรัพย์สมบัติวัตถุอย่างบริบูรณ์อยู่แล้ว. แต่ดังที่พระเยซูทรงพรรณนา ชายเศรษฐีคนนี้มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง. ที่ดินของเขาเกิดผลมากกว่าที่เขาคาดไว้ มากเกินกว่าที่เขาจำเป็นและดูแลได้. เขาควรทำเช่นไร?
6. ผู้รับใช้พระเจ้าหลายคนเผชิญกับทางเลือกอะไรในปัจจุบัน?
6 ผู้รับใช้พระยะโฮวาหลายคนในปัจจุบันเผชิญสถานการณ์ที่คล้ายกันมากกับชายเศรษฐีคนนี้. คริสเตียนแท้พยายามเป็นคนงานที่ซื่อสัตย์, ขยันขันแข็ง, และสำนึกในหน้าที่. (โกโลซาย 3:22, 23) ไม่ว่าเป็นลูกจ้างหรือเจ้าของกิจการ พวกเขามักจะทำงานดี หรือถึงกับทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม. เมื่อมีการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหรือมีโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจเกิดขึ้น พวกเขาก็ต้องเผชิญกับการตัดสินใจ. พวกเขาควรรับข้อเสนอในการเลื่อนตำแหน่งหรือขยายกิจการไหม? คล้ายคลึงกัน เยาวชนพยานฯ หลายคนเรียนเก่ง. ผลก็คือ พวกเขาอาจได้รับข้อเสนอให้รับรางวัลหรือทุนการศึกษาเรียนต่อในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง. พวกเขาควรจะเพียงแต่เลือกทำอย่างคนทั่วไปด้วยการรับข้อเสนอไหม?
7. ชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูจัดการแก้ปัญหาของเขาอย่างไร?
7 กลับมาที่อุทาหรณ์ของพระเยซู ชายเศรษฐีนั้นทำอะไรเมื่อที่ดินของเขาเกิดผลบริบูรณ์จนไม่มีที่จะเก็บพืชผล? เขาตัดสินใจรื้อยุ้งฉางที่มีอยู่แล้วสร้างยุ้งฉางให้ใหญ่ขึ้นเพื่อจะเก็บข้าวที่มีมากเกินนั้นรวมทั้งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย. แผนการดังกล่าวดูเหมือนว่าทำให้เขารู้สึกมั่นคงและพอใจจนเขาคิดอยู่ในใจว่า “เราจะว่าแก่จิตต์ใจของเราว่า ‘จิตต์ใจเอ๋ย เจ้ามีทรัพย์สมบัติมากเก็บไว้พอหลายปี; จงหายเหนื่อย, กิน, ดื่ม, และยินดีเถิด.’ ”—ลูกา 12:19.
เหตุใดจึง “โง่”?
8. ชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูมองข้ามปัจจัยสำคัญอะไร?
8 แต่ดังที่พระเยซูทรงแสดงให้เห็น แผนการของชายเศรษฐีให้ความรู้สึกมั่นคงอันจอมปลอมเท่านั้น. แม้ว่าอาจดูเหมือนว่าน่าจะใช้ได้ แต่แผนการนี้ไม่ได้รวมปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเข้าไว้ด้วย คือพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. ชายคนนี้คิดถึงแต่ตัวเองว่าเขาจะกิน, ดื่ม, อยู่อย่างสบาย ๆ, และทำให้ตัวเขาเองเพลิดเพลินอย่างไร. เขาคิดว่าเนื่องจากลูกา 12:15, ล.ม.) คืนนั้นเอง ทุกสิ่งที่ชายคนนี้อุตส่าห์ทำงานเพื่อจะได้มาก็จบลงอย่างกะทันหัน เพราะพระเจ้าตรัสกับเขาว่า “โอคนโง่ ในคืนวันนี้ชีวิตของเจ้าจะต้องเรียกเอาไปจากเจ้า. แล้วของซึ่งเจ้าได้รวบรวมไว้นั้น จะเป็นของใครเล่า?”—ลูกา 12:20.
เขามี “ทรัพย์สมบัติมาก” เขาก็จะมีชีวิต “หลายปี.” แต่น่าเศร้าที่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคิด. ดังที่พระเยซูตรัสก่อนหน้านั้น “แม้ว่าคนเรามีอย่างบริบูรณ์ แต่ชีวิตของเขาก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขามี.” (9. เหตุใดชายในอุทาหรณ์จึงถูกเรียกว่าคนโง่?
9 ถึงตรงนี้เรามาถึงจุดสำคัญในอุทาหรณ์ของพระเยซู. พระเจ้าทรงเรียกชายคนนี้ว่าคนโง่. พจนานุกรมอรรถาธิบายศัพท์ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ (ภาษาอังกฤษ) อธิบายว่ารูปคำภาษากรีกที่ใช้ “บ่งนัยเสมอถึงการขาดความเข้าใจ.” พจนานุกรมนี้ให้ข้อสังเกตว่ามีการแสดงไว้ในอุทาหรณ์นี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงใช้คำดังกล่าวเพื่อเปิดโปง “ความไร้สาระในแผนการเพื่ออนาคตของชายเศรษฐี.” คำนี้ไม่ได้พาดพิงถึงคนที่ขาดสติปัญญา แต่กล่าวถึง “คนที่ไม่ยอมรับว่าเขาต้องหมายพึ่งพระเจ้า.” คำพรรณนาของพระเยซูเกี่ยวกับชายเศรษฐีนี้ทำให้นึกถึงสิ่งที่พระองค์ตรัสในเวลาต่อมากับคริสเตียนที่ประชาคมลาโอดิเคีย เอเชียน้อย ในศตวรรษแรก ที่ว่า “เจ้าบอกว่า ‘ข้าพเจ้าร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติมากมายและไม่ต้องการสิ่งใดอีกเลย’ แต่เจ้าไม่รู้ว่าเจ้าเป็นคนน่าสังเวช น่าสมเพช ยากจน ตาบอด และเปลือยกายอยู่.”—วิวรณ์ 3:17, ล.ม.
10. เหตุใดการมี “ทรัพย์สมบัติมาก” ไม่ใช่เครื่องรับประกันว่าจะมีชีวิต “หลายปี”?
10 เราควรใคร่ครวญบทเรียนนี้. เราอาจกลายเป็นเหมือนกับชายในอุทาหรณ์ได้ไหม—ทำงานหนักมากเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะมี “ทรัพย์สมบัติมาก” แต่ไม่ได้ทำสิ่งที่จำเป็นเพื่อจะหวังได้ว่าจะมีชีวิต “หลายปี”? (โยฮัน 3:16; 17:3) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ทรัพย์สมบัติจะไม่เป็นประโยชน์ในวันพระพิโรธ” และ “บุคคลผู้ไว้วางใจในทรัพย์สินของตนจะล้มคะมำลง.” (สุภาษิต 11:4, 28) ด้วยเหตุนั้น พระเยซูทรงเพิ่มคำเตือนสติในตอนท้ายแก่อุทาหรณ์นี้โดยตรัสว่า “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัว และมิได้มั่งมีจำเพาะพระเจ้าก็เป็นเช่นนั้นแหละ.”—ลูกา 12:21.
11. เหตุใดการสร้างความหวังและความมั่นคงบนฐานของสมบัติวัตถุจึงนับว่าไร้ประโยชน์?
11 เมื่อพระเยซูตรัสว่า “ก็เป็นเช่นนั้นแหละ” พระองค์กำลังชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับชายเศรษฐีในอุทาหรณ์ก็จะเกิดขึ้นกับคนที่สร้างชีวิตหรือสร้างความหวังและความมั่นคงไว้บนฐานของสมบัติวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว. ข้อผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่ ‘การสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัว’ แต่อยู่ที่ว่าเขาไม่ได้ “มั่งมีจำเพาะพระเจ้า.” สาวกยาโกโบเตือนคล้าย ๆ กันเมื่อท่านเขียนว่า “มาเถอะ ท่านทั้งหลายผู้กล่าวว่า ‘วันนี้หรือพรุ่งนี้ เราจะเดินทางไปเมืองนี้ และจะใช้เวลาปีหนึ่งที่นั่น และเราจะค้าขายเอากำไร’ ในเมื่อท่านไม่รู้ว่า ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่งนี้.” พวกเขาควรทำเช่นไร? “แทนที่จะทำเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรจะกล่าวว่า ‘ถ้าพระยะโฮวาทรงประสงค์ เราก็จะมีชีวิตอยู่และทำสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นด้วย.’ ” (ยาโกโบ 4:13-15, ล.ม.) ไม่ว่าคนเราจะร่ำรวยเพียงใดหรือมีทรัพย์สมบัติมากขนาดไหน ทุกสิ่งจะกลาย เป็นไร้ประโยชน์เว้นแต่เขามั่งมีจำเพาะพระเจ้า. ถ้าอย่างนั้น การมั่งมีจำเพาะพระเจ้าหมายถึงอะไร?
การมั่งมีจำเพาะพระเจ้า
12. การทำอะไรจะทำให้เรามั่งมีจำเพาะพระเจ้า?
12 ในคำตรัสของพระเยซู มีการเทียบให้เห็นความแตกต่างของการมั่งมีจำเพาะพระเจ้ากับการสะสมทรัพย์ทางวัตถุเพื่อตัวเองหรือการทำให้ตัวเองมั่งคั่งด้านวัตถุ. โดยวิธีนี้ พระเยซูกำลังตรัสว่าความสนใจหลักในชีวิตของเราไม่ควรเป็นการสะสมความมั่งคั่งด้านวัตถุหรือการหาความพึงพอใจจากสิ่งที่เราเป็นเจ้าของ. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราควรใช้สินทรัพย์ที่เรามีในทางที่จะเพิ่มพูนหรือเสริมสร้างสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา. การทำอย่างนั้นจะทำให้เรามั่งมีจำเพาะพระเจ้าอย่างแน่นอน. เพราะเหตุใด? เพราะการทำเช่นนั้นเปิดโอกาสให้ได้รับพระพรมากมายจากพระองค์. คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่า “พระพรของพระยะโฮวากระทำให้เกิดความมั่งคั่ง; และพระองค์จะไม่เพิ่มความทุกข์ยากให้เลย.”—สุภาษิต 10:22.
13. พระพรของพระยะโฮวา “กระทำให้เกิดความมั่งคั่ง” อย่างไร?
13 เมื่อพระยะโฮวาประทานพรแก่ประชาชนของพระองค์ พระองค์ประทานแต่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอ. (ยาโกโบ 1:17) ตัวอย่างเช่น เมื่อพระยะโฮวาประทานแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานแก่ชาวอิสราเอล ที่แห่งนั้นเป็น “แผ่นดินที่ไหลบริบูรณ์ด้วยน้ำนมแลน้ำผึ้ง.” แม้ว่ามีคำพรรณนาประเทศอียิปต์แบบเดียวกันนี้ด้วย แต่แผ่นดินที่พระยะโฮวาประทานแก่ชาวอิสราเอลก็ยังมีข้อแตกต่างอย่างน้อยในแง่หนึ่งที่สำคัญ. โมเซบอกชาวอิสราเอลว่าดินแดนนี้เป็น “แผ่นดินซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายทรงดูแล.” กล่าวอีกอย่างคือ พวกเขาจะเจริญรุ่งเรืองเพราะพระยะโฮวาจะคอยดูแลพวกเขา. ตราบใดชาวอิสราเอลรักษาความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวา พวกเขาจะได้รับพระพรอย่างอุดมจากพระองค์และมีวิถีชีวิตที่เห็นได้ชัดว่าเหนือกว่าชาติทั้งสิ้นที่อยู่โดยรอบ. ใช่แล้ว พระพรของพระยะโฮวา “กระทำให้เกิดความมั่งคั่ง”!—อาฤธโม 16:13; พระบัญญัติ 4:5-8; 11:8-15, ฉบับแปลใหม่.
14. คนที่มั่งมีจำเพาะพระเจ้าได้รับอะไร?
14 วลี “มั่งมีจำเพาะพระเจ้า” ยังแปลได้ด้วยว่า “มั่งมีในสายพระเนตรพระเจ้า.” (ฉบับแปล ทูเดส์ อิงลิช) คนที่มั่งมีด้านวัตถุโดยทั่วไปแล้วจะเป็นห่วงการปรากฏตัวของตนว่าเป็นอย่างไรในสายตาของคนอื่น ๆ. เรื่องนี้บ่อยครั้งสะท้อนออกมาในวิถีชีวิตของพวกเขา. พวกเขาต้องการทำให้ผู้คนประทับใจด้วยสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “การอวดอ้างปัจจัยการดำรงชีวิตของตน.” (1 โยฮัน 2:16, ล.ม.) ในทางตรงกันข้าม คนที่มั่งมีจำเพาะพระเจ้าได้รับความเห็นชอบ, ความพอพระทัย, และพระกรุณาอันใหญ่หลวงจากพระเจ้าอย่างบริบูรณ์ และมีสายสัมพันธ์อันอบอุ่นเป็นส่วนตัวกับพระองค์. การอยู่ในสภาพอันมีค่ายิ่งเช่นนี้ทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขและมั่นคงมากยิ่งกว่าที่ความมั่งคั่งด้านวัตถุจะให้ได้. (ยะซายา 40:11) คำถามที่ยังเหลืออยู่ก็คือ เราต้องทำอะไรเพื่อจะมั่งมีในสายพระเนตรพระเจ้า?
มั่งมีในสายพระเนตรพระเจ้า
15. เราต้องทำอะไรเพื่อจะมั่งมีจำเพาะพระเจ้า?
15 ชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูวางแผนและทำงานหนักเพียงเพื่อให้ตัวเองมั่งคั่งร่ำรวย และเขาถูกเรียกว่าคนโง่. ด้วยเหตุนั้น เพื่อจะมั่งมีจำเพาะพระเจ้า เราต้องพยายามมัดธาย 28:19, ล.ม.) การใช้เวลา, พลังงาน, และความสามารถของเรา ไม่ใช่เพื่อความก้าวหน้าของตัวเอง แต่ในการประกาศเรื่องราชอาณาจักรและงานทำให้คนเป็นสาวก อาจเปรียบได้กับการลงทุน. คนที่ทำอย่างนั้นได้เก็บเกี่ยวดอกผลฝ่ายวิญญาณอย่างอุดม ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์ต่อไปนี้.—สุภาษิต 19:17.
ทำงานหนักและมีส่วนร่วมเต็มที่ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีค่าและคุ้มค่าอย่างแท้จริงในสายพระเนตรพระเจ้า. ส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าวก็คือสิ่งที่พระเยซูทรงบัญชา ที่ว่า “จงไปทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก.” (16, 17. คุณสามารถเล่าประสบการณ์อะไรได้บ้างที่แสดงถึงวิถีชีวิตที่ทำให้คนเรามั่งมีในสายพระเนตรพระเจ้า?
16 ขอให้พิจารณาตัวอย่างของชายคริสเตียนคนหนึ่งในประเทศแห่งหนึ่งทางตะวันออก. เขาทำงานเป็นช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ซึ่งมีรายได้ดี. แต่งานที่เขาทำเรียกร้องเวลาแทบทั้งหมดที่เขามีและทำให้เขารู้สึกยากจนฝ่ายวิญญาณ. ในที่สุด แทนที่จะพยายามประสบความสำเร็จในงานนี้ เขาลาออกและหันมาทำไอศกรีมเร่ขายตามถนนเพื่อจะมีเวลามากขึ้นในการเอาใจใส่ความจำเป็นและหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายวิญญาณ. เพื่อนร่วมงานเก่ากระเซ้าเย้าแหย่ว่าเขาคิดผิด แต่ผลเป็นอย่างไร? “อันที่จริง ผมมีรายได้ดีกว่าตอนที่ทำงานคอมพิวเตอร์เสียอีก” เขากล่าว. “ผมมีความสุขมากขึ้นเพราะผมไม่ต้องเครียดและกังวลอย่างที่ผมต้องพบเจอในงานเก่า. และที่สำคัญที่สุด ตอนนี้ผมรู้สึกใกล้ชิดกับพระยะโฮวายิ่งขึ้น.” การเปลี่ยนงานดังกล่าวทำให้คริสเตียนผู้นี้สามารถเข้าสู่งานรับใช้เต็มเวลา และตอนนี้เขารับใช้อยู่ที่สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในประเทศของเขา. พระพรของพระยะโฮวา “กระทำให้เกิดความมั่งคั่ง” จริง ๆ.
17 อีกตัวอย่างหนึ่งคือสตรีผู้หนึ่งซึ่งเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ถือว่าการศึกษามีค่าสูงอย่างยิ่ง. เธอเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ฝรั่งเศส, เม็กซิโก, และสวิตเซอร์แลนด์ และมุ่งจะเข้าทำงานอาชีพที่คงจะทำให้ประสบความสำเร็จ. เธอกล่าวว่า “ความสำเร็จยิ้มต้อนรับดิฉัน; ชื่อเสียงและอภิสิทธิ์ไม่เคยอยู่ห่างจากดิฉัน. แต่ข้างใน ดิฉันรู้สึกว่างเปล่า ไม่มีความอิ่มใจในส่วนลึก.” ต่อมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา. เธอกล่าวว่า “เมื่อดิฉันก้าวหน้ามากขึ้นฝ่ายวิญญาณ ความปรารถนาจะทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยและตอบแทนพระองค์บ้างในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานแก่ดิฉันช่วยดิฉันให้มองเห็นแนวทางที่จะเลือกได้ชัดเจน—รับใช้พระองค์เต็มเวลา.” เธอลาออกจากงานและไม่ช้าก็รับบัพติสมา. ในช่วง 20 ปีที่ผ่านไป เธอได้ทำงานรับใช้เต็มเวลาอย่างมีความสุข. เธอเล่าว่า “บางคนคิดว่าดิฉันได้ทำให้ความสามารถของตัวเองสูญเปล่า แต่พวกเขาก็ยอมรับว่าดิฉันมีความสุข และชื่นชมหลักการที่ดิฉันใช้ในการดำเนินชีวิต. ดิฉันอธิษฐานถึงพระยะโฮวาทุกวันขอพระองค์ช่วยดิฉันให้ถ่อมใจเพื่อพระองค์จะทรงยอมรับดิฉัน.”
18. เช่นเดียวกับเปาโล เราจะมั่งมีจำเพาะพระเจ้าได้อย่างไร?
18 เซาโล ซึ่งกลายมาเป็นอัครสาวกเปาโล มีงานอาชีพที่สามารถคาดหมายความสำเร็จให้เลือกทำได้. กระนั้น ท่านเขียนในเวลาต่อมาว่า “ข้าพเจ้าก็ถือเช่นกันว่าสารพัดสิ่งไร้ประโยชน์เนื่องด้วยคุณค่าอันเลิศล้ำแห่งความรู้ของพระคริสต์เยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า.” (ฟิลิปปอย 3:7, 8, ล.ม.) สำหรับเปาโล ความมั่งคั่งที่ท่านได้โดยทางพระคริสต์เลิศล้ำกว่าสิ่งใด ๆ ที่โลกสามารถเสนอให้. คล้ายกัน โดยละทิ้งความทะเยอทะยานอันเห็นแก่ตัวทั้งหลายและมุ่งดำเนินชีวิตที่เลื่อมใสพระเจ้า เราเองก็สามารถดำเนินชีวิตอย่างมั่งมีในสายพระเนตรพระเจ้าได้เช่นกัน. พระคำของพระเจ้ารับรองกับเราว่า “บำเหน็จของความถ่อมใจและความยำเกรงพระเจ้าคือความมั่งคั่ง เกียรติ และชีวิต.”—สุภาษิต 22:4, ฉบับแปลใหม่.
คุณอธิบายได้ไหม?
• ชายในอุทาหรณ์ของพระเยซูมีปัญหาอะไร?
• เหตุใดชายในอุทาหรณ์จึงถูกเรียกว่าคนโง่?
• การมั่งมีจำเพาะพระเจ้าหมายถึงอะไร?
• เราจะมั่งมีจำเพาะพระเจ้าได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 26]
เหตุใดชายเศรษฐีจึงถูกเรียกว่าคนโง่?
[ภาพหน้า 27]
โอกาสที่จะก้าวหน้าอาจกลายเป็นการทดสอบอันแท้จริงอย่างไร?
[ภาพหน้า 28, 29]
“พระพรของพระยะโฮวากระทำให้เกิดความมั่งคั่ง”