เราสามารถรับประโยชน์จากการอดทนความทุกข์ยาก
เราสามารถรับประโยชน์จากการอดทนความทุกข์ยาก
“เราบอกว่า คนเหล่านั้นที่ได้เพียรอดทนก็เป็นสุข.”—ยาโกโบ 5:11, ล.ม.
1, 2. มีอะไรที่แสดงว่าพระยะโฮวาไม่ประสงค์ให้มนุษย์ทุกข์ยาก?
ไม่มีคนปกติคนไหนอยากจะทนทุกข์; พระผู้สร้างของเรา พระยะโฮวาพระเจ้า ก็ไม่ประสงค์ให้มนุษย์ต้องทนทุกข์. เราเห็นเรื่องนี้ได้เมื่อเราตรวจดูในพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระองค์และสังเกตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ชายและหญิง. ทีแรก พระเจ้าทรงสร้างชายขึ้นก่อน. “พระยะโฮวาเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ด้วยผงคลีดิน, ระบายลมแห่งชีวิตเข้าทางจมูกให้มีชีวิตหายใจเข้าออก; มนุษย์จึงเกิดเป็นจิตต์วิญญาณมีชีวิตอยู่.” (เยเนซิศ 2:7) อาดามสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และเขาไม่ต้องพบกับความเจ็บป่วยหรือความตาย.
2 อาดามดำรงชีวิตในสภาพเช่นไร? “พระยะโฮวาเจ้าทรงสร้างสวนแห่งหนึ่งไว้ในตำบลเอเดนทางทิศตะวันออก, และให้มนุษย์ที่พระองค์ได้ทรงสร้างไว้นั้นอยู่ที่นั่น. แล้วพระยะโฮวาเจ้าได้ทรงบันดาลให้ต้นไม้ทุกอย่างที่งามน่าดูและที่เป็นอาหารรับประทานดีงอกขึ้นจากดิน.” (เยเนซิศ 2:8, 9) ใช่ อาดามมีบ้านที่ดียอดเยี่ยม. ไม่มีความทุกข์ในสวนเอเดน.
3. มนุษย์คู่แรกมีความคาดหวังเช่นไร?
3 เยเนซิศ 2:18 ให้ข้อมูลเราว่า “พระยะโฮวาเจ้าทรงดำริว่า, ‘ซึ่งมนุษย์ผู้นั้นจะอยู่คนเดียวก็ไม่เหมาะ; เราจะสร้างขึ้นอีกคนหนึ่ง, ให้เป็นคู่เคียงเหมาะกับเขา.’ ” พระยะโฮวาจึงทรงสร้างภรรยาที่สมบูรณ์พร้อมให้แก่อาดาม ทำให้เขาคาดหวังได้ว่าจะมีชีวิตครอบครัวที่มีความสุข. (เยเนซิศ 2:21-23) คัมภีร์ไบเบิลบอกเราต่อไปอีกว่า “พระเจ้าได้ทรงอวยพระพรแก่มนุษย์นั้น, ตรัสแก่เขาว่า, ‘จงบังเกิดทวีมากขึ้นทั่วทั้งแผ่นดิน; จงมีอำนาจเหนือแผ่นดิน.’ ” (เยเนซิศ 1:28) มนุษย์คู่แรกจะมีสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมในการขยายสวนเอเดนให้ครอบคลุมแผ่นดินโลก จนกลายเป็นอุทยานทั่วทั้งลูกโลกในที่สุด. และพวกเขาจะให้กำเนิดลูกหลานที่มีความสุขและปราศจากความทุกข์. ช่างเป็นการเริ่มต้นที่ดียอดเยี่ยมอะไรเช่นนั้น!—เยเนซิศ 1:31.
ความทุกข์เริ่มขึ้น
4. จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ มีอะไรที่เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับมนุษยชาติ?
4 ถึงกระนั้น เมื่อเราพิจารณาสภาพการณ์ในครอบครัวมนุษย์เรื่อยมาในประวัติศาสตร์ เห็นได้ชัดว่ามีอะไรบางอย่างที่ผิดไปอย่างร้ายแรงเกิดขึ้น. สิ่งเลวร้ายได้เกิดขึ้น และครอบครัวมนุษย์ประสบกับความทุกข์ยากอย่างมาก. ตลอดหลายศตวรรษ ลูกหลานทั้งหมดของอาดามและฮาวาโรม 8:22 ว่า “บรรดาสรรพสิ่งที่ทรงสร้างนั้นกำลังคร่ำครวญและเป็นทุกข์ลำบากเจ็บปวดด้วยกันจนทุกวันนี้.”
เจ็บป่วย, แก่ลง, และตายในที่สุด. แผ่นดินโลกอยู่ในสภาพที่ห่างไกลอย่างยิ่งจากสภาพอุทยานที่เต็มด้วยผู้คนที่มีความสุข. สถานการณ์แบบนี้มีพรรณนาไว้อย่างไม่ผิดความเป็นจริงเลยที่5. บิดามารดาคู่แรกมีส่วนเกี่ยวข้องในการนำความทุกข์ยากมาสู่ครอบครัวมนุษย์อย่างไร?
5 พระยะโฮวาไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสำหรับความทุกข์ยากมากมายซึ่งมีอยู่มานานมาก. (2 ซามูเอล 22:31) ส่วนหนึ่งนั้นต้องโทษมนุษย์เรา. “เขาทั้งหลายประพฤติชั่วช้าลามก, กระทำการน่าเกลียด.” (บทเพลงสรรเสริญ 14:1) บิดามารดาคู่แรกได้รับทุกสิ่งที่ดีจากพระเจ้าในการเริ่มต้นชีวิต. ทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อจะดำเนินต่อ ๆ ไปอย่างราบรื่นเช่นนั้นก็เพียงแต่เขาต้องเชื่อฟังพระเจ้า แต่อาดามและฮาวาเลือกจะดำเนินโดยไม่หมายพึ่งพระยะโฮวา. เนื่องจากบิดามารดาคู่แรกตีตัวออกห่างจากพระยะโฮวา ทั้งสองจึงไม่ได้รับการค้ำจุนจากพระองค์อีกต่อไปเพื่อจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์. ทั้งสองเสื่อมลงจนกระทั่งเสียชีวิต. ความไม่สมบูรณ์ได้ถูกส่งต่อมายังเรา.—เยเนซิศ 3:17-19; โรม 5:12.
6. ซาตานมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นไรในการเริ่มต้นของความทุกข์ยาก?
6 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการเริ่มต้นของความทุกข์ยากทั้งสิ้นได้แก่กายวิญญาณที่กลายมาเป็นซาตานพญามาร. กายวิญญาณองค์นี้ได้รับเจตจำนงเสรีเป็นของประทาน. อย่างไรก็ตาม ทูตสวรรค์องค์นี้ใช้ของประทานนั้นอย่างผิด ๆ โดยพยายามจะได้รับการนมัสการ. ทว่า เฉพาะพระยะโฮวาแต่องค์เดียวเท่านั้นที่ควรได้รับการนมัสการ ไม่ใช่สิ่งทรงสร้างของพระองค์. ซาตานนี้แหละที่ได้ชักนำอาดามและฮาวาให้เลือกดำเนินในแนวทางที่ไม่หมายพึ่งพระยะโฮวา ประหนึ่งว่าโดยทำอย่างนั้นพวกเขาจะสามารถ “เป็นเหมือนพระ, จะรู้จักความดีและชั่ว.”—เยเนซิศ 3:5.
เฉพาะพระยะโฮวาเท่านั้นมีสิทธิปกครอง
7. ผลต่าง ๆ ที่สืบเนื่องจากการขืนอำนาจพระยะโฮวาแสดงให้เห็นอะไร?
7 ผลอันเลวร้ายที่สืบเนื่องจากการขืนอำนาจแสดงให้เห็นว่า เฉพาะพระยะโฮวาผู้ทรงเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพเท่านั้นมีสิทธิปกครองและเฉพาะการปกครองของพระองค์เท่านั้นที่ชอบธรรม. เวลาหลายพันปีที่ผ่านไปแสดงให้เห็นว่าซาตาน ซึ่งเป็น “ผู้ครองโลก” นี้ ได้พัฒนาการปกครองแบบที่ชั่วร้าย, อธรรม, และรุนแรงซึ่งไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างแท้จริง. (โยฮัน 12:31) การปกครองของมนุษย์ที่ทำให้เป็นทุกข์กันมานานภายใต้การควบคุมของซาตานได้แสดงให้เห็นด้วยว่าไร้ซึ่งความสามารถที่จะปกครองอย่างชอบธรรม. (ยิระมะยา 10:23) ด้วยเหตุนั้น การปกครองทุกชนิดเท่าที่มนุษย์จะคิดขึ้นมาได้ที่นอกเหนือจากการปกครองของพระยะโฮวาจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน. ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้อย่างไร้ข้อสงสัยใด ๆ.
8. พระประสงค์ของพระยะโฮวาคืออะไรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของมนุษย์ทุกรูปแบบ และพระองค์จะทำให้พระประสงค์นั้นสำเร็จอย่างไร?
8 บัดนี้หลังจากที่พระยะโฮวาได้ทรงยอมให้มนุษย์ทดลองปกครองโดยไม่หมายพึ่งพระองค์มาหลายพันปีแล้ว พระองค์จึงทรงมีเหตุผลโดยชอบธรรมในการขจัดการปกครองทุกรูปแบบออกไปจากแผ่นดินโลกและแทนที่ด้วยรัฐบาลของพระองค์เอง. คำพยากรณ์ข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้กล่าวว่า “ในสมัยของกษัตริย์เหล่านั้น [การปกครองของมนุษย์] พระเจ้าแห่งสรวงสวรรค์จะทรงตั้งอาณาจักรหนึ่งขึ้น [รัฐบาลของพระองค์ที่อยู่ในสวรรค์ภายใต้การปกครองของพระคริสต์] ซึ่งจะไม่มีวันถูกทำลาย. . . . อาณาจักรนี้จะบดขยี้อาณาจักรทั้งปวงนั้นและทำให้สิ้นไป และอาณาจักรนี้จะคงอยู่จนเวลาไม่กำหนด.” (ดานิเอล 2:44, ล.ม.) การปกครองของพวกปิศาจและมนุษย์จะสิ้นสุดลง และจะมีเพียงราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งอยู่ในสวรรค์เท่านั้นที่จะดำรงอยู่และปกครองแผ่นดินโลก. พระคริสต์จะเป็นกษัตริย์ และพระองค์จะมีผู้ร่วมปกครองซึ่งเป็นมนุษย์ผู้ซื่อสัตย์ 144,000 คนที่ถูกเลือกจากแผ่นดินโลก.—วิวรณ์ 14:1.
รับประโยชน์จากความทุกข์ยาก
9, 10. พระเยซูทรงได้รับประโยชน์อย่างไรจากสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทนเอา?
9 นับว่าน่าสนใจที่จะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะปกครองในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์. ก่อนอื่น พระคริสต์เยซูทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเหมาะสมสักเพียงไรสำหรับบทบาทในฐานะกษัตริย์. พระองค์ทรงอยู่เคียงข้างพระสุภาษิต 8:22-31, ฉบับแปลใหม่) เมื่อพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้พระองค์มายังแผ่นดินโลก พระเยซูทรงทำตามด้วยความเต็มพระทัย. บนแผ่นดินโลก พระองค์ทรงเอาจริงเอาจังในการบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระบรมเดชานุภาพและราชอาณาจักรของพระยะโฮวา. พระเยซูทรงวางตัวอย่างอันยอดเยี่ยมไว้สำหรับเราทุกคนโดยทรงอ่อนน้อมต่อพระบรมเดชานุภาพนั้นอย่างเต็มที่.—มัดธาย 4:17; 6:9.
ยะโฮวาเป็นเวลานานจนไม่อาจระบุได้เพื่อทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดา ในฐานะ “นายช่าง.” (10 พระเยซูทรงถูกข่มเหง และในที่สุดก็ถูกประหาร. ระหว่างที่พระองค์ทรงรับใช้อยู่นั้น พระองค์ทรงสามารถสังเกตเห็นสภาพอันน่าสงสารของมนุษยชาติซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบ ๆ พระองค์. มีประโยชน์ไหมที่พระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยากและประสบทุกข์ด้วยพระองค์เอง? มี. เฮ็บราย 5:8 (ล.ม.) บอกว่า “ถึงแม้พระองค์ทรงเป็นพระบุตร [ของพระเจ้า] พระองค์ได้ทรงเรียนรู้การเชื่อฟังจากสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทนเอา.” ประสบการณ์ของพระเยซูขณะอยู่บนแผ่นดินโลกทำให้พระองค์ทรงเข้าใจและเห็นอกเห็นใจมากยิ่งขึ้น. พระองค์ทรงมีประสบการณ์เกี่ยวกับสภาพของครอบครัวมนุษย์ด้วยพระองค์เอง. พระองค์ทรงสามารถเห็นอกเห็นใจคนที่ทุกข์ยากและเข้าใจบทบาทของพระองค์ในการช่วยพวกเขาให้พ้นทุกข์ได้ดีขึ้น. โปรดสังเกตวิธีที่อัครสาวกเปาโลเน้นเรื่องนี้ในพระธรรมเฮ็บราย: “พระองค์จะทรงถูกตกแต่งให้เหมือนอย่างพวกพี่น้องในทุกสิ่ง, เพื่อพระองค์จะได้ทรงเป็นมหาปุโรหิตประกอบด้วยความเมตตาและความสัตย์ซื่อในการทุกอย่างซึ่งเกี่ยวกับพระเจ้า, เพื่อจะได้ถวายสักการบูชาเพราะความผิดแห่งพลเมือง. ด้วยว่าเพราะพระองค์ได้ทรงทนทุกข์ทรมานโดยถูกทดลองนั้น, พระองค์จึงสามารถสงเคราะห์ช่วยคนทั้งหลายที่ถูกทดลองนั้นได้.” “เรามิได้มีมหาปุโรหิตที่จะร่วมสุขร่วมทุกข์กับเราไม่ได้ แต่พระองค์ได้ทรงถูกทดลองเหมือนอย่างเราทุกประการ ถึงกระนั้นก็ยังปราศจากความบาป. เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายจงมีใจกล้าเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ, เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา, และจะได้พบพระคุณที่จะช่วยเราในวาระที่ต้องการ.”—เฮ็บราย 2:17, 18; 4:14-16; มัดธาย 9:36; 11:28-30.
11. ประสบการณ์บนแผ่นดินโลกของเหล่ากษัตริย์และปุโรหิตในอนาคตเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาอย่างไรในฐานะผู้ปกครอง?
11 อาจกล่าวได้อย่างเดียวกันกับชน 144,000 คนที่ “ถูกซื้อ” จากแผ่นดินโลกเพื่อเป็นผู้ร่วมปกครองกับพระคริสต์เยซูในราชอาณาจักรที่อยู่ในสวรรค์. (วิวรณ์ 14:4, ล.ม.) พวกเขาทั้งหมดเกิดเป็นมนุษย์บนแผ่นดินโลก, เติบโตในโลกที่เต็มด้วยความทุกข์ยาก, และตัวพวกเขาเองก็ประสบกับความทุกข์ยาก. หลายคนถูกข่มเหง และบางคนถึงกับถูกฆ่าเพราะรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระยะโฮวาและเพราะแน่วแน่ในการดำเนินตามพระเยซู. แต่พวกเขา ‘ไม่ละอายที่จะเป็นพยานฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา มีส่วนในการยากลำบากเพื่อเห็นแก่ข่าวประเสริฐ.’ (2 ติโมเธียว 1:8, ฉบับแปลใหม่) ประสบการณ์ของพวกเขาบนแผ่นดินโลกทำให้พวกเขามีคุณสมบัติโดยเฉพาะที่จะพิพากษาครอบครัวมนุษย์จากสวรรค์. พวกเขาได้เรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจ, กรุณา, และกระตือรือร้นยิ่งขึ้นที่จะช่วยผู้คน.—วิวรณ์ 5:10; 14:2-5; 20:6.
ความสุขของคนที่หวังจะอยู่บนแผ่นดินโลก
12, 13. คนที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการทนทุกข์?
12 ความทุกข์ยากในปัจจุบันอาจก่อผลดีได้ไหมต่อคนที่หวังจะมีชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานซึ่งปราศจากความเจ็บป่วย, ความโศกเศร้า, และความตาย? ความเจ็บปวดและความทุกข์ใจอย่างหนักที่เกิดจากความทุกข์ยากไม่ใช่สิ่งที่น่าปรารถนาอย่างแน่นอน. แต่เมื่อเราอดทนความทุกข์ยากเช่นนั้น คุณลักษณะเฉพาะตัวที่ดี ๆ อาจได้รับการเสริมให้ดีขึ้นได้และก่อให้เกิดความสุข.
13 ขอให้พิจารณาสิ่งที่พระคำของพระเจ้าซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้: “ถ้าท่านทั้งหลายต้องถูกการร้ายเพราะเหตุประพฤติการชอบธรรม, ท่านก็เป็นสุข.” “ถ้าท่านถูกประมาทหมิ่นเพราะพระนามของพระคริสต์, ท่านทั้งหลายก็เป็นสุข.” (1 เปโตร 3:14; 4:14) “เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหงและนินทาท่านทั้งหลายต่าง ๆ เป็นความเท็จเพราะเรา, ท่านก็เป็นสุข. จงชื่นชมยินดีอย่างยิ่งเพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์.” (มัดธาย 5:11, 12) “ความสุขย่อมมีแก่คนนั้นที่สู้ทนการทดลอง เพราะเมื่อปรากฏว่าผู้นั้นทนได้แล้ว, เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิต.”—ยาโกโบ 1:12.
14. ในแง่ใดที่การทนทุกข์ทำให้ผู้นมัสการพระยะโฮวามีความสุข?
14 แน่นอนว่าไม่ใช่การทนทุกข์จริง ๆ ที่ทำให้เรามีความสุข. ความสุข ความอิ่มใจ มาจากการที่รู้ว่าเราทนทุกข์เพราะเรากำลังทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาและดำเนินตามแบบอย่างของพระเยซู. ตัวอย่างเช่น ในศตวรรษแรกอัครสาวกบางคนถูกจำคุกแล้วก็ถูกพาไปขึ้นศาลสูงของยิวและถูกแจ้งข้อหาเนื่องจากพวกเขาประกาศเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์. พวกเขาถูกเฆี่ยนแล้วก็ปล่อยตัวไป. ทัศนคติของพวกเขาเป็นเช่นไร? บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลบอกว่าพวกเขา “ไปจากที่ประชุมปรึกษาโดยความยินดีที่ได้เห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น.” (กิจการ 5:17-41) พวกเขายินดีไม่ใช่เพราะถูกเฆี่ยนและเพราะความเจ็บปวดด้านร่างกายจากการเฆี่ยนนั้น แต่ยินดีเพราะเข้าใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะพวกเขารักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระยะโฮวาและดำเนินตามรอยพระบาทของพระเยซู.—กิจการ 16:25; 2 โกรินโธ 12:10; 1 เปโตร 4:13.
15. การที่เราอดทนความทุกข์ยากในเวลานี้สามารถก่อประโยชน์ต่อเราอย่างไรในอนาคต?
15 หากเราอดทนการต่อต้านและการข่มเหงด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง เราสามารถได้รับการเสริมให้มีความเพียรอดทน. นั่นจะช่วยเราให้ผ่านพ้นความทุกข์ยากที่จะมีมาในอนาคต. เราอ่านว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า จงถือว่าเป็นความยินดีทั้งสิ้นเมื่อท่านทั้งหลายประสบการทดลองต่าง ๆ เพราะอย่างที่ท่านทั้งหลายรู้อยู่ว่า คุณภาพของความเชื่อของท่านที่ผ่านการทดสอบแล้วทำให้เกิดความเพียรอดทน.” (ยาโกโบ 1:2, 3, ล.ม.) คล้ายกัน โรม 5:3-5 (ฉบับแปลใหม่) บอกเราว่า “เราชื่นชมยินดีในความทุกข์ยากของเราด้วยเพราะเรารู้ว่าความทุกข์ยากนั้นทำให้เกิดความอดทน และความอดทนทำให้เห็นว่าเราเป็นคนที่พระเจ้าทรงใช้ได้ และการที่เราเห็นเช่นนั้นทำให้เกิดมีความหวังใจ และความหวังใจมิได้ทำให้เกิดความเสียใจเพราะผิดหวัง.” ดังนั้น ยิ่งเราอดทนมากเท่าใดในเวลานี้เนื่องด้วยแนวทางคริสเตียนของเรา เราก็จะยิ่งพร้อมมากขึ้นเท่านั้นที่จะอดทนการทดสอบต่อ ๆ ไปในระบบชั่วนี้.
พระยะโฮวาจะทรงตอบแทน
16. พระยะโฮวาจะทรงทำอะไรเพื่อกษัตริย์และปุโรหิตในอนาคตซึ่งจะเป็นการชดเชยให้กับความทุกข์ยากของพวกเขา?
16 แม้แต่เมื่อเราประสบกับการสูญเสียสิ่งฝ่ายวัตถุเนื่องจากการต่อต้านหรือทนทุกข์จากการข่มเหงเพราะยึดมั่นในแนวทางของคริสเตียน เราสามารถอิ่มใจที่รู้ว่าพระยะโฮวาจะประทานบำเหน็จแก่เราอย่างเต็มที่. ตัวอย่างเช่น อัครสาวกเปาโลเขียนถึงผู้ที่มีความหวังจะไปสวรรค์ว่า “เมื่อเขาได้ปล้นชิงเอาสิ่งของของท่านไป, ท่านได้อดกลั้นไว้ด้วยใจยินดี, เฮ็บราย 10:34) และขอให้นึกถึงความยินดีที่พวกเขาจะมีเมื่อมีส่วนร่วมในการกระจายพระพรอันน่าพิศวงแก่ประชากรโลกในโลกใหม่ภายใต้การชี้นำของพระยะโฮวาและพระคริสต์. ถ้อยคำของเปาโลที่กล่าวกับคริสเตียนผู้ซื่อสัตย์ช่างเป็นความจริงสักเพียงไร ที่ว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าความทุกข์ลำบากในปัจจุบันนี้ไม่สมควรที่จะเอาไปเปรียบกับสง่าราศีซึ่งจะปรากฏแก่เราทั้งหลาย.”—โรม 8:18.
โดยรู้แล้วว่าท่านยังมีทรัพย์สมบัติอันถาวรดียิ่งกว่านั้นอีก” ในฐานะผู้ปกครองในราชอาณาจักรของพระเจ้า. (17. พระยะโฮวาจะทำอะไรเพื่อคนที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกที่รับใช้พระองค์อย่างภักดีในเวลานี้?
17 คล้ายกัน ไม่ว่าคนที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกอาจจะสูญเสียอะไรไปหรือเสียสละสิ่งใดด้วยความสมัครใจเพื่อการรับใช้พระยะโฮวาในเวลานี้ พระองค์จะประทานบำเหน็จแก่พวกเขาอย่างอุดมบริบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระองค์จะทำในอนาคต. พระองค์จะประทานชีวิตสมบูรณ์ที่ไม่สิ้นสุดแก่พวกเขาในแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน. ในโลกใหม่นั้น พระยะโฮวา “จะทรงเช็ดน้ำตาทุก ๆ หยดจากตาของเขา ความตายจะไม่มีต่อไป การคร่ำครวญและร้องไห้และการเจ็บปวดอย่างหนึ่งอย่างใดจะไม่มีอีกเลย.” (วิวรณ์ 21:4) ช่างเป็นคำสัญญาที่ยอดเยี่ยมอะไรเช่นนั้น! ไม่มีสิ่งใดที่เราอาจสูญเสียหรือที่เราเสียสละด้วยความเต็มใจในโลกปัจจุบันนี้เพื่อเห็นแก่พระยะโฮวาจะเทียบได้กับชีวิตอันวิเศษสุดที่จะมีมา ซึ่งพระองค์จะประทานแก่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ที่อดทนความทุกข์ยาก.
18. พระยะโฮวาประทานคำสัญญาที่ให้การปลอบโยนเช่นไรแก่เราในพระคำของพระองค์?
18 ความทุกข์ยากใด ๆ ที่เรายังอาจต้องอดทนจะไม่มีทางขัดขวางความยินดีของเราในการมีชีวิตตลอดไปในโลกใหม่ของพระเจ้า. ความทุกข์ยากทั้งสิ้นจะได้รับการชดเชยด้วยสภาพอันดีเลิศในโลกใหม่. ยะซายา 65:17, 18 (ล.ม.) บอกเราว่า “สิ่งก่อนนั้นจะไม่ระลึกถึงอีก ทั้งจะไม่คำนึงถึงในหัวใจ. แต่ท่านทั้งหลาย จงยินดีปรีดา และจงปีติชื่นชมตลอดไปในสิ่งที่เรากำลังสร้างอยู่นั้น.” ด้วยเหตุนั้น นับว่าเหมาะสมที่ยาโกโบน้องชายต่างบิดาของพระเยซูจะประกาศว่า “เราบอกว่า คนเหล่านั้นที่ได้เพียรอดทนก็เป็นสุข.” (ยาโกโบ 5:11, ล.ม.) ใช่แล้ว หากเราอดทนความทุกข์ยากในปัจจุบันอย่างซื่อสัตย์ เราจะได้รับประโยชน์ทั้งในเวลานี้และในอนาคต.
คุณจะตอบอย่างไร?
• โดยวิธีใดมนุษย์เริ่มประสบกับความทุกข์ยาก?
• การทนทุกข์อาจนำผลประโยชน์อะไรมาให้ผู้ปกครองโลกและประชากรโลกในอนาคต?
• เหตุใดเราจึงมีความสุขในเวลานี้ได้แม้ต้องทนทุกข์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 27]
บิดามารดาคู่แรกมีอนาคตอันยอดเยี่ยมรออยู่ข้างหน้า
[ภาพหน้า 29]
การทนทุกข์ช่วยเตรียมพระเยซูให้พร้อมจะเป็นพระมหากษัตริย์และมหาปุโรหิตที่ดี
[ภาพหน้า 31]
เหล่าอัครสาวก ‘ยินดีที่ได้เห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติ’ เพราะความเชื่อของตน