มุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าในปัจจุบัน
มุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าในปัจจุบัน
“[พระคริสต์] ได้ทรงวายพระชนม์เพื่อคนทั้งปวง, เพื่อคนเหล่านั้นที่มีชีวิตอยู่จะมิได้เป็นอยู่เพื่อประโยชน์แก่ตัวเองต่อไป.”—2 โกรินโธ 5:15.
1. จงเล่าประสบการณ์ของมิชชันนารีคนหนึ่งในงานมอบหมายของเขา.
“รถของเราเป็นรถของพลเรือนคันแรกที่วิ่งในหมู่บ้านห่างไกลความเจริญในแอฟริกาหลังจากที่สงครามกลางเมืองยุติลง” มิชชันนารีคนหนึ่งซึ่งชื่อแอรอนเล่าความหลัง. * “การติดต่อสื่อสารกับประชาคมเล็ก ๆ ที่นั่นถูกตัดขาด และเราต้องดูแลความจำเป็นด้านต่าง ๆ ของพี่น้อง. นอกจากอาหาร, เสื้อผ้า, และสรรพหนังสืออธิบายคัมภีร์ไบเบิลแล้ว เราได้นำเอาวีดิทัศน์พยานพระยะโฮวา—องค์การเบื้องหลังชื่อนี้ไปด้วย. * ผู้คนสนใจกันอย่างล้นหลาม ต่างพากันมาชมวีดิทัศน์นี้ที่ ‘โรงภาพยนตร์’ ของหมู่บ้าน ซึ่งอันที่จริงก็คือกระท่อมใหญ่หลังหนึ่งสร้างด้วยหญ้าซึ่งมีเครื่องเล่นวีดิทัศน์และโทรทัศน์อยู่ในนั้น. คนมากันมากจนเราต้องฉายสองรอบ. การฉายในแต่ละรอบยังผลให้มีการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลหลายราย. เห็นได้ชัด ความพยายามทั้งหมดของเรานับว่าคุ้มค่าทีเดียว.”
2. (ก) เหตุใดคริสเตียนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะใช้ชีวิตในงานรับใช้พระเจ้า? (ข) ตอนนี้เราจะพิจารณาคำถามอะไร?
2 เหตุใดแอรอนและเพื่อน ๆ จึงรับงานมอบหมายที่ต้องบากบั่นพยายามมากเช่นนี้? เนื่องจากรู้สึกขอบคุณสำหรับเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์ พวกเขาจึงได้อุทิศชีวิตแด่พระเจ้าและต้องการใช้ชีวิตประสานกับพระประสงค์ของพระองค์. เช่นเดียวกับพวกเขา คริสเตียนทั้งหมดได้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘มีชีวิตอยู่มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวเองอีกต่อไป’ แต่จะทำทุกสิ่งที่ทำได้ “เพราะเห็นแก่ข่าวประเสริฐ.” (2 โกรินโธ 5:15; 1 โกรินโธ 9:23, ฉบับแปลใหม่) พวกเขาทราบว่าเมื่อเวลาในระบบนี้หมดลง เงินทองและชื่อเสียงทั้งสิ้นในโลกก็จะไม่มีค่าเลย. ดังนั้น เมื่อมีชีวิตและสุขภาพดีพอสมควร พวกเขาจึงต้องการใช้ชีวิตและกำลังความสามารถของตนอย่างที่ประสานกับพระประสงค์ของพระเจ้า. (ท่านผู้ประกาศ 12:1) เราจะทำเช่นนี้ได้อย่างไร? เราจะพบความกล้าหาญและความเข้มแข็งที่จะทำอย่างนั้นได้จากที่ไหน? และมีช่องทางอะไรบ้างในงานรับใช้ที่เปิดให้แก่เรา?
ทำสิ่งที่ต้องทำเพื่อจะก้าวหน้า
3. มีขั้นตอนพื้นฐานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า?
3 สำหรับคริสเตียนแท้ การทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเป็นสิ่งที่เราทำตลอดชีวิต. การทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้ามักเริ่มต้นด้วยขั้นตอนพื้นฐาน เช่น การสมัครเป็นนักเรียนในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า, การอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน, การเข้าร่วมในงานประกาศ, และการก้าวหน้าจนถึงขั้นรับบัพติสมา. ขณะทำความก้าวหน้า เราระลึกถึงคำกล่าวของอัครสาวกเปาโลที่ว่า “จงไตร่ตรองเรื่องเหล่านี้ จงหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเหล่านี้ เพื่อความก้าวหน้าของท่านจะปรากฏแก่ทุกคน.” (1 ติโมเธียว 4:15, ล.ม.) ความก้าวหน้าเช่นนั้นไม่ใช่การยกย่องตัวเอง แต่เป็นการสะท้อนถึงความตั้งใจแน่วแน่ที่เราจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าอย่างไม่เห็นแก่ตัว. การดำเนินในแนวทางเช่นนั้นแสดงว่าเรายอมให้พระเจ้าทรงชี้นำก้าวเดินของเราในทุกแง่มุมของชีวิต และพระองค์ทรงชี้นำเราได้ดีกว่าเรามาก.—บทเพลงสรรเสริญ 32:8.
4. เราสามารถขจัดความกลัวที่ไม่จำเป็นออกไปได้โดยวิธีใด?
4 อย่างไรก็ตาม ความลังเลใจหรือการคิดถึงตัวเองมากเกินไปสามารถขัดขวางเราไว้ทำให้ไม่ก้าวหน้าในการรับใช้ท่านผู้ประกาศ 11:4) ด้วยเหตุนั้น ก่อนที่เราจะสามารถพบความยินดีแท้ในการรับใช้พระเจ้าและผู้อื่น เราอาจต้องเอาชนะความกลัวของเราเองก่อน. ตัวอย่างเช่น เอริกวางแผนจะรับใช้ในประชาคมหนึ่งซึ่งใช้ภาษาต่างประเทศ. แต่เขากังวลว่า ‘ฉันจะปรับตัวเข้ากับประชาคมนี้ได้ไหม? ฉันจะชอบพี่น้องไหม? พี่น้องจะชอบฉันไหม?’ เขาเล่าว่า “ในที่สุด ผมก็ตระหนักว่าผมจำเป็นต้องคิดถึงพี่น้องมากกว่าจะคิดถึงตัวเอง. ผมตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจะเลิกกังวล แล้วก็เพียงแค่สนใจเฉพาะสิ่งที่ผมจะให้ผู้อื่นได้. ผมอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาทรงช่วยแล้วก็เดินหน้า. ตอนนี้ ผมชื่นชมยินดีอย่างมากในการรับใช้ที่นั่น.” (โรม 4:20) ใช่แล้ว ตราบเท่าที่เรารับใช้พระเจ้าและคนอื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว เราจะมีความยินดีและความอิ่มใจ.
พระเจ้า. (5. เหตุใดจึงจำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้า? จงยกตัวอย่าง.
5 เพื่อจะมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างประสบความสำเร็จเราจำเป็นต้องวางแผนสิ่งที่เราทำอย่างรอบคอบ. นับว่าฉลาดที่เราจะหลีกเลี่ยงการสะสมหนี้ซึ่งสามารถทำให้เรากลายเป็นทาสของระบบนี้และจำกัดเสรีภาพของเราในการทำงานรับใช้พระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลเตือนสติเราว่า “คนมักยืมก็เป็นบ่าวทาสแก่ผู้ให้ยืมนั้น.” (สุภาษิต 22:7) การวางใจในพระยะโฮวาและจัดให้สิ่งฝ่ายวิญญาณมาเป็นอันดับแรกช่วยเราจัดเรื่องต่าง ๆ ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมเสมอ. ตัวอย่างเช่น กั๊วะหมิงกับพี่สาวและน้องสาวอาศัยอยู่กับแม่ในย่านที่ราคาบ้านและค่าเช่าบ้านแพงมากและหางานทำได้ยาก. โดยใช้เงินเก็บอย่างระมัดระวังและช่วยกันออกค่าใช้จ่าย พวกเขาสามารถอยู่ได้แม้แต่ในยามที่ไม่ได้มีงานทำกันทุกคน. กั๊วะหมิงกล่าวว่า “บางครั้ง เราไม่ได้มีรายได้กันทุกคน. ถึงจะอย่างนั้น เราสามารถรับใช้เป็นไพโอเนียร์ต่อไปได้และดูแลเอาใจใส่แม่เป็นอย่างดีด้วย. เรารู้สึกขอบคุณที่แม่ไม่ต้องการให้เราละทิ้งการติดตามเป้าหมายฝ่ายวิญญาณเพื่อจัดหาสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยในชีวิตให้แม่.—2 โกรินโธ 12:14; เฮ็บราย 13:5.
6. ตัวอย่างอะไรแสดงถึงวิธีที่เราสามารถนำชีวิตให้ประสานกับพระประสงค์ของพระเจ้า?
6 หากคุณหมกมุ่นในการแสวงหาฝ่ายโลก—ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินหรือการแสวงหาอย่างอื่น—อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนขนานใหญ่เพื่อจะจัดให้พระประสงค์ของพระเจ้ามาเป็นอันดับแรก. การเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นมักจะไม่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน และเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ที่เริ่มพยายามก็ไม่ควรถือว่าเป็นความล้มเหลว. ขอให้พิจารณากรณีของโคอิชิ ซึ่งมีปัญหาในการใช้เวลากับนันทนาการมากเกินไป. โคอิชิได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตอนเป็นวัยรุ่น แต่เป็นเวลาหลายปีที่วิดีโอเกมมีอิทธิพลเหนือชีวิตเขา. วันหนึ่งโคอิชิพูดกับตัวเองว่า ‘นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่? ฉันอายุ 30 กว่าแล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมทำอะไรให้ชีวิตมีความหมายเลย!’ โคอิชิศึกษาคัมภีร์ไบเบิลต่อและยอมรับความช่วยเหลือจากประชาคม. แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่เขาไม่ยอมแพ้. ด้วยการอธิษฐานอย่างมากมายและได้รับการสนับสนุนด้วยความรักจากคนอื่น ๆ ในที่สุดเขาก็เลิกนิสัยติดวิดีโอเกมได้. (ลูกา 11:9) ตอนนี้ โคอิชิรับใช้อย่างมีความสุขในฐานะผู้ช่วยงานรับใช้.
เรียนรู้ที่จะสมดุล
7. เหตุใดเราจำเป็นต้องสมดุลในการทำงานของพระเจ้า?
7 การมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นเรื่องที่ควรทำด้วยความพยายามอย่างจริงจังและเต็มที่เท่าที่เราสามารถทำได้. เราไม่ควรสงวนตัวหรือเกียจคร้านในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า. (เฮ็บราย 6:11, 12) ถึงกระนั้น พระยะโฮวาไม่ทรงประสงค์ให้เราผลักดันตัวเองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง—ไม่ว่าจะทางกาย, ทางความคิด, หรือทางอารมณ์. การยอมรับอย่างเจียมตัวว่าเราไม่สามารถทำงานของพระเจ้าโดยอาศัยกำลังของเราเองเป็นการถวายเกียรติแด่พระองค์และยังแสดงว่าเรามีความสมดุลด้วย. (1 เปโตร 4:11) พระยะโฮวาทรงสัญญาจะประทานกำลังที่จำเป็นแก่เราในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์ แต่เราต้องไม่ผลักดันตัวเองจนเกินขีดจำกัดของเรา พยายามทำสิ่งที่พระองค์ไม่ได้คาดหมายจากเรา. (2 โกรินโธ 4:7) เพื่อจะรับใช้พระเจ้าต่อ ๆ ไปโดยไม่หมดแรงไปเสียก่อน เราจำเป็นต้องแบ่งส่วนพลังงานของเราให้เหมาะสม.
8. เกิดอะไรขึ้นเมื่อคริสเตียนสาวคนหนึ่งพยายามทำให้ดีที่สุดทั้งสำหรับโลกและสำหรับพระยะโฮวา และเธอได้ปรับเปลี่ยนเช่นไร?
8 ตัวอย่างเช่น เป็นเวลาสองปีที่ จี เฮย์ ซึ่งอยู่ในเอเชียตะวันออก ทำงานที่มีความกดดันสูงและเป็นไพโอเนียร์ไปด้วย. เธอเล่าว่า “ดิฉันพยายามทำให้ดีที่สุดทั้งสำหรับมาระโก 12:30, ล.ม.) เธอกล่าวว่า “แม้ว่าถูกกดดันจากครอบครัวให้แสวงหาความสำเร็จทางการเงิน แต่ดิฉันพยายามจัดให้พระประสงค์ของพระเจ้ามาเป็นอันดับแรก. ดิฉันยังคงหาเงินได้พอสำหรับสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าที่ดูดี. และการได้นอนมากขึ้นทำให้ดิฉันรู้สึกสดชื่น! ดิฉันมีความยินดีในงานรับใช้ และตอนนี้ดิฉันเข้มแข็งมากขึ้นทางฝ่ายวิญญาณ. นั่นเป็นเพราะว่าดิฉันไม่ได้คลุกคลีมากกับสิ่งต่าง ๆ ของโลกที่ดึงดูดใจและล่อใจให้เขว.”—ท่านผู้ประกาศ 4:6; มัดธาย 6:24, 28-30.
พระยะโฮวาและสำหรับโลก แต่ดิฉันได้นอนเพียงแค่คืนละห้าชั่วโมง. ในที่สุด ดิฉันก็ไม่มีกำลังความคิดเหลือพอสำหรับความจริง และดิฉันมีความยินดีน้อยมากในการรับใช้.” เพื่อจะรับใช้พระยะโฮวา ‘ด้วยสุดหัวใจ, สุดชีวิต, สุดความคิด, และสุดกำลัง’ จี เฮย์ หางานใหม่ที่เรียกร้องเวลาและกำลังกายน้อยกว่า. (9. ความพยายามของเราอาจส่งผลต่อผู้คนในเขตประกาศอย่างไร?
9 ไม่ใช่ทุกคนสามารถรับใช้พระเจ้าในฐานะผู้เผยแพร่เต็มเวลา. หากคุณต้องต่อสู้กับปัญหาวัยชรา, สุขภาพไม่ดี, หรือข้อจำกัดอื่น ๆ ขอให้จำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงเห็นคุณค่าความซื่อสัตย์ของคุณและการรับใช้ใด ๆ ก็ตามที่คุณสามารถทำถวายด้วยสิ้นสุดหัวใจ. (ลูกา 21:2, 3) ด้วยเหตุนั้น แม้ว่ามีข้อจำกัด ไม่ควรมีใครในพวกเราดูเบาผลกระทบที่มีต่อคนอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากความพยายามของเราในการรับใช้. ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราไปประกาศบางบ้านและไม่พบใครเลยที่ดูเหมือนว่าสนใจข่าวสารของเรา. หลังจากที่เราจากไป เจ้าของบ้านอาจคุยกันในเรื่องการเยี่ยมของเราอีกนานหลังจากนั้น แม้แต่ในที่ที่ไม่มีใครเปิดประตูบ้านต้อนรับเราเลย! เราไม่คาดหมายว่าทุกคนที่ฟังข่าวดีจะตอบรับ แต่จะมีบางคนที่ตอบรับ. (มัดธาย 13:19-23) คนอื่น ๆ อาจตอบรับภายหลังเมื่อสถานการณ์ในโลกหรือในชีวิตเขาเปลี่ยนไป. ไม่ว่าในกรณีใด โดยทำสิ่งที่เราทำได้ในงานรับใช้ เรากำลังทำงานของพระเจ้า. เราเป็น “ผู้ร่วมทำการด้วยกันกับพระเจ้า.”—1 โกรินโธ 3:9.
10. ทุกคนในประชาคมมีโอกาสจะทำอะไรได้บ้าง?
10 นอกจากนั้น เราทุกคนสามารถช่วยสมาชิกครอบครัวและพี่น้องฝ่ายวิญญาณของเรา. (ฆะลาเตีย 6:10) เราอาจมีอิทธิพลในทางที่ดีต่อคนอื่น ๆ อย่างลึกซึ้งและยาวนาน. (ท่านผู้ประกาศ 11:1, 6) เมื่อผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้ทำหน้าที่ของตนอย่างขยันขันแข็ง พวกเขามีส่วนส่งเสริมประชาคมให้มีสุขภาพดีและมั่นคงฝ่ายวิญญาณและช่วยเพิ่มกิจกรรมของคริสเตียนในประชาคม. เรามั่นใจว่าเมื่อเรา “กระทำการขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้บริบูรณ์ทุกเวลา” งานหนักที่เราทำจะ “ไร้ประโยชน์ก็หามิได้.”—1 โกรินโธ 15:58.
มุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นงานประจำชีพ
11. นอกเหนือจากการรับใช้ในประชาคมท้องถิ่นแล้ว เราอาจมีโอกาสจะทำอะไรได้อีก?
11 ในฐานะคริสเตียน เรารักชีวิตและเราปรารถนาจะถวายเกียรติแด่พระเจ้าในทุกสิ่งที่เราทำ. (1 โกรินโธ 10:31) เมื่อเราซื่อสัตย์ในการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรและสอนคนอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามทุกสิ่งที่พระเยซูทรงบัญชา เราจะพบว่ามีหลายช่องทางที่เปิดให้แก่เราในการรับใช้ที่ให้บำเหน็จ. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) นอกเหนือจากการทำงานกับประชาคมในท้องถิ่นแล้ว เราอาจมีโอกาสที่จะรับใช้ในที่ที่มีความจำเป็นมากกว่า ไม่ว่าจะในอีกเขตหนึ่ง, อีกภาษาหนึ่ง, หรืออีกประเทศหนึ่ง. ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้ที่มีคุณวุฒิซึ่งยังไม่สมรสอาจได้รับเชิญให้เข้าเรียนในโรงเรียนฝึกอบรมเพื่องานรับใช้ และหลังจากจบหลักสูตรแล้วก็จะรับใช้ในประชาคมที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากคริสเตียนที่อาวุโส อาจจะในประเทศบ้านเกิดหรือในต่างประเทศ. คู่สมรสที่อยู่ในงานรับใช้เต็มเวลาอาจมีคุณสมบัติในการรับการฝึกอบรมเป็นมิชชันนารีในโรงเรียนกิเลียดและรับมอบหมายให้ทำงานในต่างประเทศ. และยังมีความจำเป็นอยู่เรื่อย ๆ ที่จะมีอาสาสมัครทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ที่เบเธลและในการก่อสร้างและบำรุงรักษาสถานที่ประชุมและสำนักงานสาขา.
12, 13. (ก) คุณจะตัดสินได้โดยวิธีใดว่าจะทำงานรับใช้แบบไหน? (ข) จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นวิธีที่ประสบการณ์ซึ่งได้รับจากงานมอบหมายหนึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในงานมอบหมายอีกอย่างหนึ่ง.
12 การรับใช้แบบใดที่คุณควรเลือกทำ? ในฐานะผู้รับใช้ที่อุทิศตัวแล้วของพระยะโฮวา จงขอการชี้นำจากพระองค์และองค์การของพระองค์เสมอ. “พระวิญญาณบริสุทธิ์” ของพระองค์จะช่วยคุณให้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง. (นะเฮมยา 9:20) งานมอบหมายหนึ่งมักเปิดโอกาสให้เราได้ทำงานมอบหมายอีกอย่างหนึ่ง และประสบการณ์และความชำนาญที่ได้จากงานรับใช้แบบหนึ่งอาจเป็นประโยชน์ในงานมอบหมายที่ได้รับในภายหลัง.
13 ตัวอย่างเช่น คู่สามีภรรยาเดนนิสและเจนนีได้ช่วยในโครงการก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักรเป็นประจำ. หลังจากที่พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาถล่มรัฐทางใต้ของสหรัฐ ทั้งสองอาสาสมัครทำงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์. เดนนิสรายงานว่า “การใช้ความชำนาญที่เราได้จากการก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักรเพื่อช่วยพี่น้องทำให้เรามีความยินดีอย่างยิ่ง. ความหยั่งรู้ค่าซึ่งคนที่เราช่วยได้แสดงออกมาเป็นเรื่องที่ทำให้ตื้นตันใจอย่างแท้จริง. กลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่ให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ประสบความสำเร็จไม่มากนักในการสร้างและบูรณะอาคารบ้านเรือน. พยานพระยะโฮวาได้ซ่อมแซมและสร้างบ้านขึ้นใหม่ไปแล้วมากกว่า 5,300 หลัง
รวมถึงหอประชุมราชอาณาจักรอีกเป็นจำนวนมาก. ผู้คนสังเกตเห็นเรื่องนี้และในตอนนี้แสดงความสนใจข่าวสารของเรามากขึ้น.”14. คุณสามารถทำอะไรหากคุณปรารถนาจะทำงานรับใช้เต็มเวลา?
14 คุณสามารถทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าโดยเลือกงานรับใช้เต็มเวลาเป็นงานประจำชีพได้ไหม? ถ้าทำได้ คุณจะได้รับพระพรมากมายอย่างแน่นอน. หากสถานการณ์ของคุณในเวลานี้ไม่เอื้ออำนวย อาจเป็นไปได้ที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนบางอย่างได้. ขอให้อธิษฐานเช่นเดียวกับที่นะเฮมยาอธิษฐานเมื่อท่านปรารถนาอย่างยิ่งที่จะรับเอาหน้าที่มอบหมายสำคัญอย่างหนึ่ง: “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรง . . . ประทานความสำเร็จแก่ผู้รับใช้ของพระองค์.” (นะเฮมยา 1:11, ฉบับแปลใหม่) จากนั้น ด้วยความไว้วางใจใน “ผู้สดับคำอธิษฐาน” จงลงมือทำสอดคล้องกับคำอธิษฐานของคุณ. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2) เพื่อพระยะโฮวาจะทรงอวยพรความพยายามของคุณที่จะรับใช้พระองค์อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น คุณต้องพยายามก่อน. เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเริ่มทำงานรับใช้เต็มเวลา จงยึดมั่นอยู่กับการตัดสินใจของคุณ. เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะมีประสบการณ์มากขึ้น แล้วคุณก็จะมีความยินดีเพิ่มขึ้น.
ชีวิตที่คุ้มค่าอย่างแท้จริง
15. (ก) เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการพูดคุยกับผู้ที่รับใช้พระเจ้ามาเป็นเวลานานและการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพวกเขา? (ข) จงเล่าเรื่องราวชีวิตของบางคนที่คุณรู้สึกว่าให้กำลังใจเป็นพิเศษ.
15 คุณอาจคาดหมายผลเช่นไรได้จากการมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้า? ขอให้พูดคุยกับคนที่รับใช้พระยะโฮวามาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนที่ได้ทำงานรับใช้เต็มเวลานานหลายปี. ชีวิตของพวกเขาช่างอิ่มใจพอใจและมีความหมายสักเพียงไร! (สุภาษิต 10:22) พวกเขาจะบอกคุณว่าพระยะโฮวาไม่เคยขาดตกบกพร่องในการช่วยเหลือพวกเขาแม้ในยามที่อยู่ในสถานการณ์ลำบากเพื่อพวกเขาจะได้รับสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับจริง ๆ และมากยิ่งกว่านั้นอีก. (ฟิลิปปอย 4:11-13) ตั้งแต่ปี 1955 ถึงปี 1961 หอสังเกตการณ์ (ภาษาอังกฤษ) ได้ลงบทความชุดเรื่องราวชีวิตของคนที่ซื่อสัตย์โดยใช้ชื่อบทความว่า “มุ่งดำเนินตามจุดมุ่งหมายในชีวิต.” นับแต่นั้นมา ได้มีการลงเรื่องราวชีวิตอีกหลายร้อยเรื่อง. แต่ละเรื่องถ่ายทอดให้เห็นน้ำใจแห่งความกระตือรือร้นและยินดีซึ่งทำให้เรานึกถึงน้ำใจที่พบในพระธรรมกิจการ. การอ่านเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นเช่นนั้นจะกระตุ้นคุณให้กล่าวว่า ‘ฉันอยากใช้ชีวิตอย่างนี้แหละ!’
16. อะไรทำให้ชีวิตของคริสเตียนมีจุดมุ่งหมายและมีความสุข?
16 แอรอน ซึ่งกล่าวถึงในตอนต้น เล่าว่า “ในแอฟริกา ผมมักพบกับคนหนุ่มสาวที่ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ เพื่อค้นหาจุดมุ่งหมายในชีวิต. พวกเขาส่วนใหญ่หาไม่พบ. แต่พวกเราไม่เป็นอย่างนั้น. เรากำลังมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าด้วยการสนับสนุนข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร และเราอิ่มใจยินดีกับชีวิตที่ท้าทายและเปี่ยมด้วยความหมาย. เราได้ประสบด้วยตัวเองว่าการให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35.
17. เพราะเหตุใดเราต้องมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าในตอนนี้?
17 จะว่าอย่างไรสำหรับตัวคุณเอง? คุณกำลังมุ่งติดตามอะไรเป็นเป้าหมาย? หากคุณไม่มีเป้าหมายฝ่ายวิญญาณที่ชัดเจน การมุ่งติดตามสิ่งอื่น ๆ ก็จะเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว. ทำไมจึงจะใช้ชีวิตอันมีค่าให้สูญเปล่าไปกับโลกอันเพ้อฝันในระบบของซาตานเล่า? ในอีกไม่นานเมื่อ “ความทุกข์ลำบากใหญ่” เริ่มขึ้น ความมั่งคั่งด้านวัตถุและฐานะตำแหน่งใด ๆ ในโลกก็จะไร้ค่า. สิ่งที่มีความหมายก็คือสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา. เราจะรู้สึกหยั่งรู้ค่าสักเพียงไรที่เราได้รับใช้พระเจ้าและคนอื่น ๆ และมุ่งดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างเต็มที่ในชีวิตของเรา!—มัดธาย 24:21; วิวรณ์ 7:14, 15.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 บางชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ.
^ วรรค 1 ผลิตโดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• พระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการรับใช้ที่เราถวายแด่พระองค์?
• การเป็นคนที่พร้อมจะลงมือปฏิบัติและสมดุลช่วยเราอย่างไรให้รับใช้พระเจ้าและคนอื่น ๆ?
• เรามีโอกาสจะทำอะไรได้บ้างในการรับใช้?
• เราสามารถดำเนินชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายอย่างแท้จริงได้อย่างไรในเวลานี้?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
จำเป็นต้องมีความสมดุลเพื่อเราจะรับใช้พระยะโฮวาอย่างสิ้นสุดชีวิตต่อ ๆ ไป
[ภาพหน้า 24]
การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ทำได้หลายแบบ