จงฟังเสียงจากภายใน
จงฟังเสียงจากภายใน
“ชนต่างชาติซึ่งไม่มีบัญญัติ [ของพระเจ้า] ได้ทำตามบัญญัติโดยสัญชาตญาณ.”—โรม 2:14, ล.ม.
1, 2. (ก) หลายคนได้ลงมือทำอย่างไรเนื่องจากเขาสนใจผู้อื่น? (ข) มีตัวอย่างอะไรบ้างในพระคัมภีร์ที่บางคนได้แสดงความสนใจผู้อื่น?
ชายวัย 20 ปีคนหนึ่งที่ยืนอยู่บนชานชาลารถไฟใต้ดินเกิดอาการลมชักและตกลงไปที่รางรถไฟ. เมื่อเห็นอย่างนั้น ชายคนหนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ก็ปล่อยมือลูกสาวทั้งสองแล้วกระโดดลงไป. เขาดึงชายที่เป็นลมชักลงไปอยู่ในร่องระหว่างรางรถไฟทั้งสอง และคร่อมตัวกันเขาไว้จากรถไฟที่เบรกเสียงดังสนั่นมาหยุดอยู่เหนือศีรษะของทั้งสอง. บางคนคงจะเรียกผู้ช่วยชีวิตคนนี้ว่าวีรบุรุษ แต่เขากล่าวว่า “นั่นเป็นสิ่งที่คนเราควรจะทำอยู่แล้ว. ผมช่วยเขาเพราะสงสาร ไม่ได้หวังจะให้คนอื่นชื่นชมหรือเพื่อจะได้รับคำสดุดี.”
2 คุณอาจรู้จักบางคนที่เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยผู้อื่น. หลายคนทำอย่างนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้ที่ซ่อนแก่คนแปลกหน้า. นอกจากนั้น ขอให้นึกถึงประสบการณ์ของอัครสาวกเปาโลและคนอื่น ๆ อีก 275 คนซึ่งประสบภัยเรือแตกที่เกาะมอลตา ใกล้ ๆ กับซิซิลี. ชาวบ้านในท้องถิ่นได้มาช่วยคนแปลกหน้าเหล่านี้ โดยที่ได้แสดง “ความกรุณา . . . เป็นอันมาก.” (กิจการ 27:27–28:2) หรือจะว่าอย่างไรสำหรับเด็กหญิงชาวอิสราเอล ซึ่งแม้ว่าคงไม่ได้เสี่ยงชีวิตตัวเอง แต่ก็ได้แสดงความห่วงใยต่อสวัสดิภาพของแม่ทัพชาวซีเรียที่จับกุมเธอเป็นเชลย? (2 กษัตริย์ 5:1-4) และขอให้นึกถึงอุทาหรณ์ของพระเยซูซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเรื่องชาวซะมาเรียผู้มีไมตรีจิต. ปุโรหิตและชาวเลวีต่างเพิกเฉยต่อเพื่อนร่วมชาติชาวยิวที่เจ็บปางตาย แต่ชาวซะมาเรียได้ออกแรงช่วยเขา. อุทาหรณ์นี้สร้างความประทับใจแก่ผู้คนในหลายวัฒนธรรมตลอดหลายศตวรรษ.—ลูกา 10:29-37.
3, 4. ข้อเท็จจริงที่ว่ามีคนมากมายที่ทำอย่างไม่เห็นแก่ตัวแม้ต้องเสี่ยงหรือเสียสละบอกอะไรเราเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ?
3 จริงอยู่ เรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากจะรับมือได้”; หลายคนเป็นคน “ดุร้าย” และ “ไม่รักความดี.” (2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.) ถึงกระนั้น เราสังเกตเห็นการช่วยเหลือเจือจุนกันและบางทีเราเองอาจได้รับความช่วยเหลือเช่นนั้นด้วยมิใช่หรือ? แนวโน้มที่พร้อมจะช่วยคนอื่น ๆ แม้ว่าต้องเสี่ยงหรือเสียสละ เป็นเรื่องธรรมดามากจนบางคนเรียกแนวโน้มนี้ว่า “มนุษยธรรม.”
4 ความเต็มใจเช่นนั้นที่จะช่วยแม้ต้องเสี่ยงหรือเสียสละพบเห็นได้ในทุกเชื้อชาติและวัฒนธรรม และแย้งกับคำอ้างที่ว่ามนุษย์วิวัฒน์ขึ้นมาด้วยกฎของการอยู่รอดซึ่งกล่าวว่า “ผู้ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด.” ฟรานซิส เอส. คอลลินส์ นักพันธุศาสตร์ซึ่งเป็นผู้นำในความพยายามของรัฐบาลสหรัฐที่จะถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ กล่าวว่า “การทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัวเป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักวิวัฒนาการ. . . . เรื่องนี้ไม่อาจอธิบายได้โดยพลังขับของยีนที่เห็นแก่ตัวของแต่ละคนเพื่อตัวเองจะอยู่ต่อไป.” เขายังกล่าวด้วยว่า “บางคนเสียสละตนเพื่อช่วยคนที่อยู่นอกกลุ่มของตัวเองและคนที่ไม่มีอะไรที่เหมือนกับตัวเขาเลย. . . . การถือว่าประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าของตนเช่นนั้นดูเหมือนว่าไม่อาจอธิบายได้โดยทฤษฎีของดาร์วิน.”
“เสียงแห่งสติรู้สึกผิดชอบ”
5. บ่อยครั้งเราสังเกตเห็นอะไรในหมู่ผู้คน?
5 ดร. คอลลินส์ ชี้ให้เห็นแง่มุมหนึ่งของการที่เราทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัวว่า “เสียงแห่งสติรู้สึกผิดชอบเรียกให้เราช่วยผู้อื่นแม้แต่เมื่อไม่ได้รับอะไรตอบแทน.” * การที่เขากล่าวถึง “สติรู้สึกผิดชอบ” อาจทำให้เรานึกถึงข้อเท็จจริงที่อัครสาวกเปาโลเน้น ที่ว่า “เมื่อใดก็ตามที่ชนต่างชาติซึ่งไม่มีบัญญัติได้ทำตามบัญญัติโดยสัญชาตญาณ แม้คนเหล่านี้ไม่มีบัญญัติ พวกเขาก็เป็นบัญญัติสำหรับตนเอง. พวกเขาคือผู้ที่แสดงให้เห็นว่ามีหลักการของบัญญัติ นั้นเขียนไว้ในหัวใจตน และสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขาก็เป็นพยานบอกเรื่องนี้ด้วย และเมื่อพวกเขาคิดหาเหตุผล พวกเขาจึงกล่าวโทษตนเองหรือไม่ก็แก้ตัว.”—โรม 2:14, 15, ล.ม.
6. เหตุใดทุกคนต้องให้การต่อพระผู้สร้าง?
6 ในจดหมายที่เขียนไปถึงชาวโรมัน เปาโลแสดงว่ามนุษย์ต้องให้การต่อพระเจ้าเนื่องจากการดำรงอยู่และคุณลักษณะของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ชัดจากสิ่งที่มองเห็นได้. เป็นเช่นนั้นเรื่อยมา “ตั้งแต่แรกสร้างโลก.” (โรม 1:18-20; บทเพลงสรรเสริญ 19:1-4) เป็นความจริงที่ผู้คนเป็นอันมากไม่สนใจเรื่องพระผู้สร้างและดำเนินชีวิตแบบที่เสื่อมทรามทางศีลธรรม. กระนั้น พระเจ้าทรงมีพระทัยประสงค์ให้มนุษย์ยอมรับเอาความชอบธรรมของพระองค์และกลับใจจากการประพฤติชั่ว. (โรม 1:22–2:6) ชาวยิวมีเหตุผลที่หนักแน่นอย่างยิ่งที่จะทำอย่างนั้น—พวกเขาได้รับพระบัญญัติของพระเจ้าโดยทางโมเซ. ทว่า แม้แต่ประชาชนที่ไม่มี “ถ้อยแถลงอันศักดิ์สิทธิ์” ของพระเจ้าก็น่าจะตระหนักว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่จริง.—โรม 2:8-13; 3:2, ล.ม.
7, 8. (ก) ความสำนึกในเรื่องความยุติธรรมเป็นเรื่องธรรมดาขนาดไหน? จงอธิบาย. (ข) และนั่นชี้ถึงอะไร?
7 เหตุผลอย่างหนึ่งที่หนักแน่นที่ทุกคนควรยอมรับพระเจ้าและลงมือทำสอดคล้องกับการยอมรับนั้นคือความสามารถในการรับรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดที่อยู่ภายในตัวคนเรา. การที่เรารับรู้ในเรื่องความยุติธรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกว่าเรามีสติรู้สึกผิดชอบ. ขอให้นึกภาพตามนี้: เด็กเล็กกลุ่มหนึ่งกำลังเข้าคิวคอยเล่นชิงช้า. แล้วก็มีเด็กคนหนึ่งเดินตรงไปยืนอยู่ที่ด้านหน้าสุดโดยไม่สนใจเลยว่าคนอื่นเข้าคิวคอยอยู่. เด็กหลายคนแสดงปฏิกิริยาโดยบอกว่า ‘นั่นไม่ยุติธรรมเลย!’ ทีนี้ ขอให้ถามตัวคุณเองว่า ‘ทำไมแม้แต่เด็ก ๆ ก็แสดงออกให้เห็นในทันทีว่าพวกเขามีความสำนึกในเรื่องความยุติธรรม?’ การที่พวกเขาแสดงออกมาอย่างนั้นสะท้อนถึงความสำนึกด้านศีลธรรมที่อยู่ภายในตัวเขา. เปาโลเขียนดังนี้: “เมื่อใดก็ตามที่ชนต่างชาติซึ่งไม่มีบัญญัติได้ทำตามบัญญัติโดยสัญชาตญาณ.” ท่านไม่ได้กล่าวว่า “ถ้า” เหมือนกับว่านั่นเป็นเรื่องที่นาน ๆ ครั้งจึงจะเกิดขึ้น. ท่านกล่าวว่า “เมื่อใดก็ตาม” หรือ “เมื่อ” แสดงนัยว่านั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ. กล่าวคือ ผู้คน “ทำตามบัญญัติโดยสัญชาตญาณ” ซึ่งหมายความว่าพวกเขาถูกกระตุ้นจากความสำนึกด้านศีลธรรมภายในตัวเขาให้ทำสอดคล้องกับสิ่งที่เราอ่านในพระบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้า.
8 แนวโน้มด้านศีลธรรมนี้ปรากฏให้เห็นในหลายดินแดน. ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ให้ข้อสังเกตว่า หลักการด้านศีลธรรมของชาวบาบิโลน, ชาวอียิปต์, และชาวกรีก เช่นเดียวกับของชนพื้นเมืองดั้งเดิมของออสเตรเลียและอเมริกา ต่างก็มี “การประณามการกดขี่, การฆ่าคน, การโกงและความเท็จ, มีมาตรฐานด้านความกรุณาอย่างเดียวกันต่อผู้สูงอายุ เด็ก และคนที่อ่อนแอ.” และ ดร. คอลลินส์ เขียนไว้ดังนี้: “แนวคิดในเรื่องสิ่งถูกและสิ่งผิดดูเหมือนว่าเป็นเรื่องสากลในท่ามกลางสมาชิกของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทุกหมู่เหล่า.” นั่นทำให้คุณนึกถึงข้อความในโรม 2:14 มิใช่หรือ?
สติรู้สึกผิดชอบของคุณทำหน้าที่อย่างไร?
9. สติรู้สึกผิดชอบคืออะไร และสามารถช่วยคุณก่อนที่คุณจะลงมือทำได้อย่างไร?
9 คัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าสติรู้สึกผิดชอบเป็นความสามารถจากภายในที่จะพิจารณาและประเมินค่าการกระทำของคุณ. สติรู้สึกผิดชอบเป็นเหมือนกับเสียงที่อยู่ภายในตัวคุณซึ่งให้ความเห็นว่าแนวทางแต่ละอย่างถูกต้องหรือไม่. เปาโลกล่าวถึงเสียงนี้ที่อยู่ภายในตัวท่านว่า “ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ สติรู้สึกผิดชอบของข้าพเจ้าเป็นพยานยืนยันร่วมกับข้าพเจ้า.” (โรม 9:1, ล.ม.) ตัวอย่างเช่น เสียงนี้อาจพูดขึ้นมาก่อนเมื่อคุณพิจารณาว่าจะทำอะไรบางอย่างดีหรือไม่ในเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรม. สติรู้สึกผิดชอบของคุณอาจช่วยคุณให้ประเมินสิ่งที่คุณคิดจะทำและแนะให้เห็นว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรหากทำอย่างนั้น.
10. สติรู้สึกผิดชอบมักทำหน้าที่อย่างไร?
10 ตามปกติแล้ว สติรู้สึกผิดชอบของคุณทำหน้าที่หลังจากที่คุณทำอะไรบางอย่าง. ระหว่างที่ดาวิดหลบลี้หนีภัยจากกษัตริย์ซาอูล ท่านมีโอกาสที่จะทำอะไรบางอย่างที่เป็นการไม่นับถือกษัตริย์ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ และท่านได้ทำอย่างนั้นไปจริง ๆ. ในภายหลัง “ดาวิดก็เสียใจ.” (1 ซามูเอล 24:1-5; บทเพลงสรรเสริญ 32:3, 5) บันทึกในเรื่องนี้ไม่ได้ใช้คำ “สติรู้สึกผิดชอบ”; ทว่า นั่นคือความรู้สึกของดาวิด —ปฏิกิริยาที่เกิดจากสติรู้สึกผิดชอบของท่าน. เราทุกคนรู้สึกคล้าย ๆ กันถึงเสียงเตือนของสติรู้สึกผิดชอบที่ทิ่มแทงใจเรา. เราทำอะไรบางอย่าง แล้วเราก็รู้สึกไม่สบายใจ กังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้ทำลงไป. บางคนที่เลี่ยงภาษีรู้สึกทรมานใจมากเพราะสติรู้สึกผิดชอบทิ่มแทงจนในภายหลังเขาได้จ่ายชดเชย. คนอื่นถูกกระตุ้นให้สารภาพกับคู่สมรสว่าเขาได้ทำผิดประเวณี. (เฮ็บราย 13:4) แต่เมื่อคนเราประพฤติสอดคล้องกับสติรู้สึกผิดชอบ นั่นย่อมสามารถก่อให้เกิดผลที่ทำให้พึงพอใจและมีสันติสุข.
11. เหตุใดอาจเป็นอันตรายที่จะเพียงแค่ ‘ให้สติรู้สึกผิดชอบของคุณเป็นเครื่องนำทาง’? จงยกตัวอย่าง.
11 ดังนั้น เราจะเพียงแค่ ‘ให้สติรู้สึกผิดชอบของเราเป็นเครื่องนำทาง’ ได้ไหม? นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะฟังสติรู้สึกผิดชอบของเรา แต่เสียงจากสติรู้สึกผิดชอบอาจนำเราไปผิดทางและเสียหายร้ายแรง. ใช่แล้ว เสียงจาก “ภายในของเรา” อาจนำเราไปผิดทาง. (2 โกรินโธ 4:16, ล.ม.) ขอให้พิจารณาตัวอย่างหนึ่ง. คัมภีร์ไบเบิลบอกเราเกี่ยวกับซะเตฟาโน สาวกที่มีใจแรงกล้าคนหนึ่งของพระคริสต์ที่ “เปี่ยมด้วยความกรุณาและฤทธิ์.” ชาวยิวกลุ่มหนึ่งลากซะเตฟาโนออกไปนอกกรุงเยรูซาเลมและเอาหินขว้างท่านถึงตาย. เซาโล (ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นอัครสาวกเปาโล) อยู่ที่นั่นด้วยและ “เห็นชอบกับการฆ่า” ซะเตฟาโน. ดูเหมือนว่าชาวยิวเหล่านั้นเชื่อมั่นว่าพวกเขาทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว สติรู้สึกผิดชอบของพวกเขาจึงไม่รบกวนใจพวกเขา. คงต้องเป็นอย่างนั้นด้วยกับเซาโล เพราะหลังจากนั้นเขา “ยังคงขู่เข็ญเหล่าสาวกขององค์พระผู้เป็นเจ้าและอยากจะฆ่าพวกเขามาก.” เห็นได้ชัด สติรู้สึกผิดชอบของเขาในตอนนั้นไม่ส่งเสียงทักท้วงที่ถูกต้อง.—กิจการ 6:8; 7:57–8:1; 9:1, ล.ม.
12. วิธีหนึ่งที่สติรู้สึกผิดชอบของเราอาจได้รับอิทธิพลโน้มนำคืออะไร
12 อะไรอาจมีอิทธิพลโน้มนำสติรู้สึกผิดชอบของเซาโล? ปัจจัยหนึ่งอาจได้แก่การคบหาใกล้ชิดกับคนอื่น ๆ. หลายคนในพวกเราอาจเคยพูดโทรศัพท์กับคนหนึ่งซึ่งเสียงของเขาคล้ายกันมากกับเสียงพ่อของเขา. สุ้มเสียงของลูกชายอาจได้รับการถ่ายทอดทางสายเลือดมาจากพ่อในระดับหนึ่ง แต่เขายังอาจได้รับอิทธิพลจากวิธีการพูดของพ่อด้วย. คล้ายกัน เซาโลอาจได้รับผลกระทบจากการคบหาใกล้ชิดกับพวกยิวที่เกลียดชังพระเยซูและต่อต้านคำสอนของพระองค์. (โยฮัน 11:47-50; 18:14; กิจการ 5:27, 28, 33) ใช่ คนที่เซาโลคบหาอาจมีอิทธิพลโน้มนำเสียงที่เขาได้ยินจากภายใน คือสติรู้สึกผิดชอบของเขา.
13. สภาพแวดล้อมอาจส่งผลกระทบอย่างไรต่อสติรู้สึกผิดชอบของคนเรา?
13 สติรู้สึกผิดชอบอาจถูกโน้มนำได้ด้วยจากวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่คนเราอยู่ เช่นเดียวกับที่สิ่งแวดล้อมอาจนำให้บางคนพูดเหน่อหรือพูดภาษาถิ่น. (มัดธาย 26:73) คงต้องเป็นอย่างนั้นกับชาวอัสซีเรียโบราณ. พวกเขาขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเป็นนักรบ และภาพสลักนูนที่พวกเขาสลักไว้แสดงภาพการทรมานเชลยศึกของพวกเขา. (นาฮูม 2:11, 12; 3:1) ชาวเมืองนีเนเวห์ในสมัยของโยนาถูกพรรณนาไว้ว่าไม่รู้ “ข้างไหนเป็นมือขวามือซ้าย” กล่าวคือ พวกเขาไม่มีมาตรฐานที่ถูกต้องในการตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดตามทัศนะของพระเจ้า. ขอให้นึกดูว่าสภาพแวดล้อมเช่นนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของคนที่เติบโตขึ้นมาในเมืองนีเนเวห์สักเพียงไร! (โยนา 3:4, 5; 4:11) ในลักษณะเดียวกัน สติรู้สึกผิดชอบของใครคนหนึ่งในทุกวันนี้อาจได้รับผลกระทบจากทัศนคติของคนที่อยู่รอบข้าง.
วิธีที่เราสามารถปรับปรุงเสียงจากภายในของเรา
14. สติรู้สึกผิดชอบของเราสะท้อนสิ่งที่เยเนซิศ 1:27 กล่าวอย่างไร?
14 พระยะโฮวาทรงให้สติรู้สึกผิดชอบแก่อาดาม และฮาวาเป็นของประทาน และเราได้รับสติรู้สึกผิดชอบเป็นมรดกตกทอดจากเขาทั้งสอง. เยเนซิศ 1:27 บอกเราว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นตามแบบพระเจ้า. นั่นไม่ได้หมายความว่าตามรูปลักษณะทางกายภาพแบบพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงเป็นองค์วิญญาณและเราเป็นกายเนื้อหนัง. เรามีลักษณะแบบพระเจ้าตรงที่ภายในตัวเรามีคุณลักษณะแบบพระองค์ ซึ่งก็รวมถึงความสำนึกด้านศีลธรรมและมีสติรู้สึกผิดชอบที่พร้อมจะทำหน้าที่. ความเป็นจริงนี้แนะวิธีหนึ่งที่เราสามารถทำให้สติรู้สึกผิดชอบของเราทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ทำให้เป็นที่ไว้วางใจได้มากขึ้น. วิธีนั้นก็คือการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระผู้สร้างและเข้าใกล้พระองค์ยิ่งขึ้น.
15. วิธีหนึ่งที่เราสามารถได้รับประโยชน์จากการมาเรียนรู้จักกับพระบิดาของเราคืออะไร?
15 คัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าในแง่หนึ่งนั้นพระยะโฮวาทรงยะซายา 64:8) คริสเตียนที่ซื่อสัตย์ ไม่ว่าที่มีความหวังจะอยู่ในสวรรค์หรืออยู่ในอุทยานบนแผ่นดินโลก สามารถเรียกพระเจ้าว่าพระบิดา. (มัดธาย 6:9) เราควรปรารถนาจะเข้าใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพระบิดาของเรา และโดยวิธีนั้นทำให้เราสามารถซึมซับเอาทัศนะและมาตรฐานของพระองค์. (ยาโกโบ 4:8) หลายคนไม่สนใจจะทำอย่างนั้น. พวกเขาเป็นเหมือนกับชาวยิวที่พระเยซูตรัสกับพวกเขาว่า “พวกเจ้าไม่เคยได้ยินเสียงพระองค์และไม่เคยเห็นรูปกายพระองค์เลย และคำตรัสของพระองค์ไม่อยู่ในใจพวกเจ้า.” (โยฮัน 5:37, 38, ล.ม.) เราไม่ได้ยินเสียงตรัสจริง ๆ ของพระเจ้า แต่เราสามารถให้คำตรัสของพระองค์อยู่ในใจเราและโดยวิธีนั้นเราจึงกลายเป็นคนที่มีคุณลักษณะและมีความรู้สึกเหมือนที่พระองค์ทรงมี.
เป็นพระบิดาของเราทุกคน. (16. เรื่องราวของโยเซฟแสดงให้เห็นเช่นไรว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะฝึกฝนและตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของเรา?
16 เรื่องราวเกี่ยวกับโยเซฟในบ้านของโพติฟาแสดงให้เห็นเช่นนั้น. ภรรยาของโพติฟาพยายามยั่วยวนโยเซฟ. แม้ว่าท่านอยู่ในสมัยที่ยังไม่ได้มีการเขียนคัมภีร์ไบเบิล และพระเจ้ายังไม่ได้ประทานพระบัญญัติสิบประการ แต่โยเซฟตอบกลับไปว่า “ข้าพเจ้าจะทำผิดดังนี้อย่างไรได้, เป็นบาปใหญ่หลวงนักต่อพระเจ้า.” (เยเนซิศ 39:10) การที่ท่านตอบอย่างนั้นไม่ใช่เพียงแค่เพื่อให้ครอบครัวท่านพอใจ เพราะตอนนั้นท่านอยู่ห่างไกลจากครอบครัว. ในอันดับแรกเลย ท่านต้องการเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. โยเซฟทราบมาตรฐานของพระเจ้าในเรื่องการสมรส—ชายหนึ่งคนสำหรับหญิงหนึ่งคน และทั้งสองเป็น “เนื้อหนังอันเดียวกัน.” และท่านคงเคยได้ยินเรื่องที่ว่าอะบีเมเล็ครู้สึกอย่างไรเมื่อทราบว่าริบะคาแต่งงานแล้ว—คือความรู้สึกที่ว่า การรับเธอมาอยู่กับตนเป็นเรื่องผิดและจะนำความผิดมาสู่ประชาชนของเขา. และพระยะโฮวาทรงอวยพรให้เหตุการณ์เป็นไปในทางที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทัศนะของพระองค์ต่อการเล่นชู้. การที่โยเซฟทราบเรื่องเหล่านั้นที่เกิดขึ้นในอดีตคงช่วยเสริมแรงกระตุ้นของสติรู้สึกผิดชอบที่มีอยู่ในตัวอยู่แล้ว ทำให้ท่านปฏิเสธการทำผิดศีลธรรมทางเพศ.—เยเนซิศ 2:24; 12:17-19; 20:1-18; 26:7-14.
17. ในเรื่องการพยายามเป็นเหมือนกับพระบิดาของเรา เหตุใดเราจึงอยู่ในฐานะที่ดีกว่าโยเซฟ?
17 แน่นอน เวลานี้เราอยู่ในสภาพที่ดีกว่า. เรามีคัมภีร์ไบเบิลครบชุดที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกของพระบิดาของเรา รวมถึงพระองค์ทรงเห็นชอบกับอะไรและทรงห้ามสิ่งใด. ยิ่งเรารู้พระคัมภีร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเข้าใกล้พระเจ้าและเป็นเช่นเดียวกับพระองค์มากขึ้นเท่านั้น. ขณะที่เราทำอย่างนั้น สติรู้สึกผิดชอบของเราก็น่าจะกระตุ้นเราอย่างที่สอดคล้องกับความคิดของพระบิดาของเรามากขึ้น. การกระตุ้นของสติรู้สึกผิดชอบของเราจะสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระองค์มากขึ้นเรื่อย ๆ.—18. แม้ว่าอาจได้รับผลกระทบจากอิทธิพลต่าง ๆ ในอดีตเช่นไรก็ตาม เราสามารถทำอะไรได้เพื่อทำให้สติรู้สึกผิดชอบของเราไว้วางใจได้มากขึ้น?
18 จะว่าอย่างไรในเรื่องสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของเรา? เราอาจได้รับผลกระทบจากความคิดและการกระทำของญาติ ๆ และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เราเติบโตขึ้นมา. ด้วยเหตุนั้น เสียงจากสติรู้สึกผิดชอบของเราอาจถูกปิดกั้นหรือบิดเบือน. เสียงนั้นมี “สำเนียง” ของคนอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา. จริงอยู่ เราไม่สามารถเปลี่ยนอดีตของเรา แต่เราสามารถตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเลือกคนที่เราคบหาด้วยและเลือกสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบที่ดีต่อสติรู้สึกผิดชอบของเรา. ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งคือการคบหากันเป็นประจำกับคริสเตียนที่อุทิศถวายตัวแด่พระเจ้าซึ่งได้พยายามเป็นเหมือนกับพระบิดามานานหลายปี. การประชุมต่าง ๆ ของประชาคม รวมถึงการพูดคุยกันก่อนและหลังการประชุม ทำให้เรามีโอกาสที่ดีเยี่ยมในการทำอย่างนั้น. เราสามารถสังเกตได้ถึงวิธีคิดและท่าทีของเพื่อนคริสเตียนซึ่งอาศัยหลักการจากคัมภีร์ไบเบิล รวมถึงการที่พวกเขาพร้อมจะฟังเมื่อสติรู้สึกผิดชอบของตนสะท้อนให้เห็นทัศนะและแนวทางของพระเจ้า. ในที่สุด นี่จะสามารถช่วยให้สติรู้สึกผิดชอบของเราทำหน้าที่อย่างสอดคล้องกับหลักการในคัมภีร์ไบเบิล ทำให้เราสะท้อนคุณลักษณะของพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น. เมื่อเราปรับเสียงจากภายในของเราให้เข้ากับหลักการของพระบิดาของเราและทำตามแบบอย่างที่ดีของเพื่อนคริสเตียน สติรู้สึกผิดชอบของเราก็จะไว้วางใจได้มากขึ้นและเราจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะฟังเมื่อสติรู้สึกผิดชอบบอกอะไรบางอย่างกับเรา.—ยะซายา 30:21.
19. ยังมีแง่มุมใดอีกของสติรู้สึกผิดชอบที่ควรพิจารณา?
19 กระนั้น บางคนพยายามอย่างหนักเพื่อจะตอบสนองต่อสติรู้สึกผิดชอบของตนในแต่ละวัน. บทความถัดไปจะพิจารณาสถานการณ์บางอย่างที่คริสเตียนเผชิญ. โดยตรวจสอบสถานการณ์เช่นนั้น เราอาจเห็นชัดขึ้นถึงบทบาทของสติรู้สึกผิดชอบ, เหตุที่สติรู้สึกผิดชอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน, และวิธีที่เราสามารถตอบสนองต่อเสียงแห่งสติรู้สึกผิดชอบได้ดีขึ้น.—เฮ็บราย 6:11, 12.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 คล้ายกัน โอเวน กิงกริช ศาสตราจารย์วิจัยสาขาดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เขียนไว้ว่า “การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าของตนเองอาจเป็นเหตุให้เกิดคำถามที่ไม่มี . . . คำตอบตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการสังเกตอาณาจักรสัตว์. อาจเป็นได้ทีเดียวว่าคำตอบที่น่าเชื่อถือมากกว่าอยู่ในอีกแวดวงหนึ่งและเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะแห่งความมีมนุษยธรรมที่พระเจ้าประทานให้ ซึ่งก็รวมถึงสติรู้สึกผิดชอบด้วย.”
คุณได้เรียนรู้อะไร?
• เหตุใดความรู้สึกว่าอะไรถูกอะไรผิด หรือสติรู้สึกผิดชอบ จึงมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม?
• เหตุใดเราจำเป็นต้องระวังที่จะไม่เพียงแค่ให้สติรู้สึกผิดชอบของเรานำทางเรา?
• มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถปรับปรุงเสียงที่เราได้ยินจากภายใน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
สติรู้สึกผิดชอบของดาวิดทิ่มแทงใจท่าน . . .
แต่เซาโลแห่งทาร์ซัสไม่รู้สึกอย่างนั้น
[ภาพหน้า 24]
เราสามารถฝึกสติรู้สึกผิดชอบของเรา