‘ท่านทั้งหลาย จงสวมความถ่อมใจ’
‘ท่านทั้งหลาย จงสวมความถ่อมใจ’
ชายผู้นี้มาจากเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียง. เขามีสถานภาพเป็นพลเมืองโรมันโดยกำเนิดและน่าจะมาจากครอบครัวซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี. ชายผู้นี้ ซึ่งก็คือเซาโล ได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่มีในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช. ท่านพูดได้อย่างน้อยสองภาษา, และเป็นสมาชิกของกลุ่มศาสนายิวซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี—กลุ่มฟาริซาย.
เซาโลคงต้องได้ซึมซับน้ำใจที่ดูถูกคนธรรมดาและความภูมิใจในความชอบธรรมของตัวเอง. (ลูกา 18:11, 12; กิจการ 26:5) พวกฟาริซายเพื่อนของเซาโลรู้สึกว่าพวกเขาเหนือกว่าคนอื่นและชอบความเด่นดังและชอบให้คนเรียกเขาแบบยกยอปอปั้น. (มัดธาย 23:6, 7; ลูกา 11:43) การคบหากับคนเช่นนั้นคงจะทำให้เซาโลหยิ่งยโส. เราทราบว่าเขาเป็นผู้ข่มเหงคริสเตียนอย่างบ้าคลั่ง. หลายปีต่อมา เมื่อเป็นที่รู้จักฐานะอัครสาวกเปาโล ท่านได้กล่าวถึงตัวเองว่าเคยเป็น “คนหมิ่นประมาทพระเจ้า เคยข่มเหงคนของพระองค์ และเคยเป็นคนโอหังบังอาจ.”—1 ติโมเธียว 1:13.
ใช่แล้ว เซาโลได้มาเป็นคริสเตียน อัครสาวกเปาโล และบุคลิกภาพของท่านได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง. ในฐานะคริสเตียนอัครสาวก ท่านกล่าวอย่างถ่อมใจว่าท่านเป็น “ผู้ที่เล็กน้อยกว่าผู้เล็กน้อยในเหล่าผู้บริสุทธิ์.” (เอเฟโซส์ 3:8) ท่านเป็นผู้เผยแพร่กิตติคุณที่ประสบผลสำเร็จ แต่ท่านไม่ได้ถือว่าท่านควรได้รับเกียรติใด ๆ ในเรื่องนี้. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท่านถวายเกียรติทั้งสิ้นแด่พระเจ้า. (1 โครินท์ 3:5-9; 2 โครินท์ 11:7) เปาโลนั่นเองเป็นผู้ที่เตือนเพื่อนคริสเตียนว่า “ท่านทั้งหลายจงสวมความปรานี ความกรุณา ความถ่อมใจ ความอ่อนโยน และความอดกลั้นไว้นาน.”—โกโลซาย 3:12.
คำแนะนำดังกล่าวนำมาใช้ได้ในศตวรรษที่ 21 นี้ไหม? มีผลประโยชน์ไหมที่จะเป็นคนถ่อมใจ? เป็นไปได้ไหมที่ความถ่อมใจบ่งชี้ถึงความเข้มแข็ง?
พระผู้สร้างองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการทรงถ่อมไหม?
การพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับความถ่อมใจต้องคำนึงถึงทัศนะของพระเจ้า. เพราะเหตุใด? เพราะพระองค์ทรงเป็นองค์บรมมหิศรและพระผู้สร้างของเรา. ต่างกันกับพระองค์ เราต้องยอมรับขีดจำกัดของตัวเราเอง. เราต้องพึ่งอาศัยพระองค์. ชายฉลาดคนหนึ่งในสมัยโบราณชื่ออะลีฮูได้กล่าวว่า “องค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์นั้นเราจะค้นพบพระองค์ไม่ได้ พระองค์ใหญ่ยิ่งในเรื่องฤทธานุภาพ.” (โยบ 37:23, ฉบับแปลใหม่) ที่จริง แค่การเพ่งพิจารณาเอกภพอันกว้างใหญ่ไพศาลรอบตัวเราก็เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เราต้องถ่อมใจอยู่แล้ว! ผู้พยากรณ์ยะซายาเชิญชวนว่า “จงเงยหน้ามองขึ้นไปดูท้องฟ้า, และพิจารณาดูว่าใครได้สร้างสิ่งเหล่านี้? พระองค์ผู้ทรงนำดาวออกมาเป็นหมวดหมู่, และทรงเรียกมันออกมาตามชื่อ; ด้วยอานุภาพอันใหญ่ยิ่ง, และฤทธิ์เดชอันแรงกล้าของพระองค์ไม่มีสักดวงเดียวที่ขาดไป.”—ยะซายา 40:26.
นอกจากเป็นองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการแล้ว พระยะโฮวาพระเจ้าทรงถ่อมด้วย. กษัตริย์ดาวิดได้ทูลอธิษฐานต่อพระองค์ว่า “พระองค์ได้ทรงประทานความรอดของพระองค์ให้เป็นโล่แก่ข้าพเจ้า; และซึ่งพระองค์ทรงน้อมพระทัยลงนั้นกระทำให้ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ขึ้น.” (2 ซามูเอล 22:36) พระยะโฮวาทรงถ่อมในแง่ที่ว่าพระองค์ทรงแสดงความห่วงใยต่อมนุษย์ที่ต่ำต้อยผู้ซึ่งพยายามจะทำให้พระองค์พอพระทัย และแผ่ความเมตตาไปยังพวกเขา. ประหนึ่งว่าพระยะโฮวาทรงน้อมลงมาจากสวรรค์ เพื่อจะปฏิบัติด้วยความกรุณาต่อผู้ที่เกรงกลัวพระเจ้า.—บทเพลงสรรเสริญ 113:5-7.
นอกจากนี้ พระยะโฮวาทรงถือว่าความถ่อมใจในตัวผู้รับใช้ของพระองค์เป็นสิ่งที่มีค่า. อัครสาวกเปโตรได้เขียนว่า “พระเจ้าทรงต่อสู้คนเย่อหยิ่ง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาคนถ่อมใจอย่างใหญ่หลวง.” (1 เปโตร 5:5) ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวเกี่ยวกับทัศนะของพระเจ้าในเรื่องความหยิ่งว่า “ทุกคนที่มีใจหยิ่งจองหองเป็นที่สะอิดสะเอียนแด่พระยะโฮวา.” (สุภาษิต 16:5) แต่ความถ่อมใจจะบ่งชี้ถึงความเข้มแข็งได้อย่างไร?
สิ่งที่ไม่ใช่ความถ่อมใจ
ความถ่อมใจไม่ใช่การทำให้เสื่อมเสียเกียรติ. ในบางวัฒนธรรมสมัยโบราณ คนที่ถ่อมโดยทั่วไปเป็นทาส—เป็นบุคคลที่ถูกลดฐานะ, น่าสังเวช, ต่ำต้อย. ตรงกันข้าม คัมภีร์ไบเบิลเน้นว่าจิตใจอ่อนน้อมนำมาซึ่งเกียรติยศ. ตัวอย่างเช่น บุรุษผู้ชาญฉลาดได้เขียนว่า “บำเหน็จแห่งการถ่อมใจลงและความยำเกรงพระยะโฮวาก็เป็นทางนำมาถึงทรัพย์สมบัติและเกียรติศักดิ์และชีวิต.” (สุภาษิต 22:4) และเรา อ่านที่บทเพลงสรรเสริญ 138:6 ว่า “พระยะโฮวาผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, พระองค์ยังทรงระลึกถึงคนต่ำต้อย; แต่คนจองหองนั้นพระองค์ทรงรู้จักแต่เผิน ๆ.”
การเป็นคนถ่อมใจไม่ได้หมายความว่าเป็นคนไม่มีความสามารถหรือไม่ประสบความสำเร็จ. ตัวอย่างเช่น พระเยซูคริสต์ไม่เคยอ้างว่าพระองค์มิใช่พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระยะโฮวา และพระองค์ไม่เคยแกล้งทำเป็นว่างานรับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลกไม่สำคัญ. (มาระโก 14:61, 62; โยฮัน 6:51) กระนั้น พระเยซูได้แสดงความถ่อมโดยถวายเกียรติยศแด่พระบิดาสำหรับงานที่พระองค์ทำ และโดยใช้อำนาจของพระองค์เพื่อรับใช้และช่วยเหลือคนอื่นแทนที่จะควบคุมและกดขี่พวกเขา.
บ่งชี้ถึงความเข้มแข็ง
โดยไม่มีข้อสงสัย พระเยซูคริสต์เป็นที่รู้จักของคนซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกับพระองค์ “โดยการอิทธิฤทธิ์.” (กิจการ 2:22) กระนั้น ในสายตาของบางคน พระองค์เป็น “คนต่ำต้อยที่สุด.” (ดานิเอล 4:17) พระองค์ไม่เพียงดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายเท่านั้น แต่ยังทรงสอนคุณค่าของความถ่อมใจหลายครั้งหลายหนด้วย. (ลูกา 9:48; โยฮัน 13:2-16) อย่างไรก็ดี ความถ่อมของพระองค์มิได้ทำให้พระองค์เป็นคนอ่อนแอ. พระองค์ไม่หวั่นกลัวขณะที่ทรงปกป้องพระนามของพระบิดาและทำให้งานรับใช้ของพระองค์สำเร็จ. (ฟิลิปปอย 2:6-8) ในคัมภีร์ไบเบิล มีการให้ภาพพระเยซูว่าเป็นดุจสิงโตที่กล้าหาญ. (วิวรณ์ 5:5) ตัวอย่างของพระเยซูแสดงว่าความถ่อมใจเข้ากันได้กับความเข้มแข็งทางด้านศีลธรรมและความตั้งใจแน่วแน่.
ขณะที่เราพยายามจะปลูกฝังความถ่อมใจแท้ เราตระหนักว่าต้องใช้ความพยายามอย่างแท้จริงที่จะทำให้ความถ่อมใจเป็นแนวทางชีวิตของเรา. แนวทางดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการยอมทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเสมอแทนที่จะติดตามแนวทางปฏิบัติที่ง่ายที่สุดหรือการยอมจำนนต่อแนวโน้มของเนื้อหนัง. การพัฒนาความถ่อมใจต้องใช้ความเข้มแข็งทางด้านศีลธรรม เพราะเราต้องให้ผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่ในอันดับรองเพื่อที่จะรับใช้พระยะโฮวาและส่งเสริมผลประโยชน์ของคนอื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว.
ผลประโยชน์ของความถ่อมใจ
ความถ่อมใจเกี่ยวข้องกับการไม่มีความหยิ่งหรือความทะนงตน. เราสามารถพัฒนาความถ่อมใจซึ่งควบคุมความคิดของเราได้หากเราประเมินดูตัวเราเองตามความเป็นจริง—ประเมินดูความเข้มแข็งและความอ่อนแอ, ความสำเร็จและความล้มเหลวของเรา. เปาโลให้คำแนะนำที่ดีในเรื่องนี้เมื่อท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้าบอกพวกท่านทุกคนว่า อย่าคิดถึงตัวเองเกินกว่าที่จำเป็น แต่ให้แต่ละคนคิดอย่างคนที่มีสติ.” (โรม 12:3) ใคร ๆ ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้แสดงว่าเป็นคนถ่อมใจ.
ความถ่อมใจยังปรากฏชัดด้วยเมื่อเราจัดให้ผลประโยชน์ของคนอื่นอยู่เหนือผลประโยชน์ของเราเองอย่างจริงใจ. โดยการดลใจ เปาโลได้ตักเตือนคริสเตียนว่า “ไม่ทำอะไรด้วยน้ำใจชิงดีชิงเด่นหรือด้วยความถือดี แต่ให้ถ่อมใจถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว.” (ฟิลิปปอย 2:3) ข้อนี้สอดคล้องกับพระบัญชาของพระเยซูที่ให้แก่เหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ให้ผู้เป็นใหญ่ที่สุดท่ามกลางเจ้าทั้งหลายเป็นผู้รับใช้พวกเจ้า. ผู้ใดยกตัวเองจะถูกเหยียดลง และผู้ใดถ่อมตัวลงจะถูกยกฐานะให้สูงขึ้น.”—มัดธาย 23:11, 12.
ที่จริง พระเจ้าทรงถือว่าคนที่ถ่อมใจมีค่ามาก. สาวกยาโกโบเน้นความจริงข้อนี้เมื่อท่านเขียนว่า “จงถ่อมตัวเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา แล้วพระองค์จะทรงยกฐานะพวกท่านให้สูงขึ้น.” (ยาโกโบ 4:10) ใครหรือจะไม่ต้องการได้รับการยกชูจากพระเจ้า?
การขาดความถ่อมใจได้ก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวายและการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มชนชาติและระหว่างบุคคล. ในอีกด้านหนึ่ง การเป็นคนถ่อมใจก่อผลดีต่าง ๆ. เราสามารถมีคา 6:8) เราจะมีความสงบใจเนื่องจากคนถ่อมคงจะมีความสุขและความพอใจมากกว่าคนหยิ่งยโส. (บทเพลงสรรเสริญ 101:5) ความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัว, มิตรสหาย, เพื่อนร่วมงาน, และคนอื่น ๆ จะราบรื่นยิ่งขึ้น และมีความพอใจมากขึ้น. คนถ่อมใจหลีกเลี่ยงการเป็นคนชอบขัดแย้งและยืนกราน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความโกรธ, ความหมางเมิน, ความขุ่นเคือง, และความขมขื่นใจได้ง่าย ๆ.—ยาโกโบ 3:14-16.
ได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าซึ่งทำให้อบอุ่นใจ. (ใช่แล้ว การปลูกฝังความถ่อมใจเป็นวิธีที่ดีเลิศในการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น. การทำเช่นนี้สามารถช่วยเราในการรับมือกับข้อท้าทายของโลกที่เห็นแก่ตัวซึ่งชอบแข่งขันกัน. ด้วยความช่วยเหลือจากพระเจ้า อัครสาวกเปาโลสามารถเอาชนะการถือตัวและความหยิ่งที่ท่านเคยมีแต่ก่อน. คล้ายกัน เราควรจะยับยั้งแนวโน้มใด ๆ ในทางหยิ่งยโสหรือในการคิดว่าเราดีกว่าคนอื่น. คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า “ความเย่อหยิ่งนำไปถึงความพินาศ, และจิตต์ใจที่จองหองนำไปถึงการล้มลง.” (สุภาษิต 16:18) โดยปฏิบัติตามตัวอย่างและคำแนะนำของเปาโล เราจะเห็นสติปัญญาของการ ‘สวมความถ่อมใจ.”—โกโลซาย 3:12.
[ภาพหน้า 4]
เปาโลสามารถเอาชนะการถือตัวและความหยิ่งทะนง
[ภาพหน้า 7]
การมีความถ่อมใจช่วยเราให้รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น
[ที่มาของภาพหน้า 5]
Anglo-Australian Observatory/David Malin Images