“เงินและทองเป็นของเราทั้งสิ้น”
“เงินและทองเป็นของเราทั้งสิ้น”
ในศตวรรษที่หกก่อนสากลศักราช กษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียได้ปลดปล่อยประชาชนของพระเจ้าจากการเป็นเชลยในบาบิโลน. หลายพันคนเดินทางกลับสู่กรุงเยรูซาเลมเพื่อสร้างพระวิหารของพระยะโฮวาขึ้นใหม่ซึ่งตอนนั้นเป็นซากปรักหักพัง. เหล่าคนที่เดินทางกลับมามีฐานะการเงินไม่มั่นคง และเพื่อนบ้านที่เป็นปฏิปักษ์ก็ต่อต้านการก่อสร้าง. ฉะนั้น ผู้ก่อสร้างบางคนจึงสงสัยว่าพวกเขาจะมีทางทำให้โครงการที่ใหญ่โตนี้สำเร็จได้หรือไม่.
พระยะโฮวาทำให้ผู้ก่อสร้างเหล่านี้มั่นใจโดยผ่านทางผู้พยากรณ์ฮาฆีว่าพระองค์จะอยู่กับพวกเขา. พระเจ้าตรัสว่า “เราจะทำให้นานาประเทศหวาดสะดุ้ง, จนทรัพย์ศฤงคารของนานาประเทศจะไหลบ่าเข้ามา; เราจะตกแต่งวิหารหลังนี้ให้งามสะพรั่ง.” เมื่อเหล่าช่างก่อเป็นห่วงเรื่องเงิน ฮาฆีถ่ายทอดข่าวสารดังนี้: “พระยะโฮวาจอมพลโยธาตรัสต่อไปว่า, ‘เงินและทองเป็นของเราทั้งสิ้น.’ ” (ฮาฆี 2:7-9) ภายในห้าปีต่อมาหลังจากฮาฆีกล่าวถ้อยคำกระตุ้นเตือนนั้น โครงการก็แล้วเสร็จ.—เอษรา 6:13-15.
ถ้อยคำของฮาฆียังกระตุ้นเตือนผู้รับใช้พระเจ้าในสมัยปัจจุบันนี้ด้วยเช่นกันเมื่อทำงานในโครงการขนาดใหญ่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนมัสการพระยะโฮวา. ในปี 1879 เมื่อทาสสัตย์ซื่อและสุขุมได้เริ่มพิมพ์วารสารฉบับนี้ ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อว่าหอสังเกตการณ์แห่งซีโอนและผู้ป่าวประกาศถึงการประทับของพระคริสต์ (ภาษาอังกฤษ) วารสารนี้มีข้อความดังต่อไปนี้: “เราเชื่อว่า ‘หอสังเกตการณ์แห่งซีโอน’ มีพระยะโฮวาเป็นผู้หนุนหลัง และตราบเท่าที่เป็นเช่นนี้จะไม่มีการขอ หรือจะไม่ร้องขอ การสนับสนุนจากมนุษย์. เมื่อพระองค์ผู้ตรัสว่า ‘ทองคำและเงินทั้งหมดแห่งภูเขาทั้งหลายเป็นของเรา’ งดการให้เงินทุนที่จำเป็น เราก็จะเข้าใจว่านั่นเป็นเวลายุติการพิมพ์.”
วารสารนี้ไม่เคยหยุดการพิมพ์. งวดแรกมีการพิมพ์ออก 6,000 ฉบับ เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น. ทุกวันนี้ เฉลี่ยการพิมพ์ต่องวด 28,578,000 ฉบับ ใน 161 ภาษา. * ตื่นเถิด! วารสารที่ออกคู่กันกับหอสังเกตการณ์ มีการพิมพ์เฉลี่ยต่องวด 34,267,000 ฉบับ ใน 81 ภาษา.
พยานพระยะโฮวามีหลายโครงการซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกับหอสังเกตการณ์ นั่นคือเชิดชูพระยะโฮวาฐานะองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพและประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระองค์. (มัดธาย 24:14; วิวรณ์ 4:11) ความเชื่อมั่นของพยานฯ ในทุกวันนี้เป็นเช่นเดียวกับที่มีการระบุไว้ในวารสารนี้ในปี 1879. พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงหนุนหลังงานของพวกเขาและจะมีเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงเห็นชอบ. แต่ในทางปฏิบัติ กิจการงานของพยานพระยะโฮวาได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างไร? และมีโครงการอะไรบ้างที่พวกเขากำลังดำเนินการอยู่เพื่อประกาศข่าวดีไปทั่วโลก?
งานนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างไร?
เมื่อออกไปเผยแพร่ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับพยานพระยะโฮวาที่จะได้ยินคนถามว่า “คุณทำงานนี้แล้วได้ค่าจ้างไหม?” คำตอบก็คือไม่ได้. พวกเขาสละเวลาโดยไม่คิดค่า. ผู้เผยแพร่เหล่านี้ใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อพูดคุยกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระยะโฮวาและคำสัญญาในคัมภีร์ไบเบิลสำหรับอนาคตที่ดีกว่าเพราะพวกเขาได้รับแรงกระตุ้นจากความรู้สึกหยั่งรู้บุญคุณ. พวกเขาหยั่งรู้ค่าสิ่งที่พระเจ้าทำเพื่อเขาและหยั่งรู้ค่าที่ข่าวดีทำให้ชีวิตและมุมมองของเขาดีขึ้นมาก. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงต้องการแบ่งปันสิ่งดีเหล่ามัดธาย 10:8) จริงทีเดียว ความปรารถนาของพวกเขาที่จะเป็นพยานของพระยะโฮวาและพระเยซูกระตุ้นพวกเขาให้ใช้เงินของตนเองเพื่อแบ่งปันสิ่งที่ตนเชื่อแก่ประชาชน แม้แต่กับคนที่อยู่ห่างไกล.—ยะซายา 43:10; กิจการ 1:8.
นี้แก่คนอื่น ๆ. โดยการทำเช่นนี้ พวกเขาทำตามหลักการที่พระเยซูกล่าวไว้ว่า “พวกเจ้าได้รับเปล่า ๆ จงให้เปล่า ๆ.” (ขอบเขตของงานประกาศและสิ่งต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อทำให้งานนี้บรรลุผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโรงพิมพ์, สำนักงาน, หอประชุมใหญ่, บ้านมิชชันนารี, และอื่น ๆ ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก. เงินค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาจากที่ไหน? การสนับสนุนทางการเงินสำหรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมาจากการบริจาคด้วยใจสมัคร. พยานพระยะโฮวาไม่ได้เรียกร้องให้สมาชิกในประชาคมส่งเงินสนับสนุนกิจกรรมขององค์การ ทั้งไม่ได้เก็บค่าหนังสือที่พวกเขาแจกจ่าย. ถ้าใครก็ตามต้องการบริจาคเพื่อสนับสนุนงานให้การศึกษาของพวกเขา พยานฯ ก็ยินดีรับ. ให้เราพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องเพียงแง่มุมหนึ่งของความพยายามที่จะประกาศข่าวดีไปทั่วโลก นั่นคือการแปล.
สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ใน 437 ภาษา
เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่หนังสือของพยานพระยะโฮวาอยู่ในจำนวนหนังสือที่มีการแปลมากที่สุดในโลก. มีการแปลแผ่นพับ, จุลสาร, วารสาร, และหนังสือไปแล้ว 437 ภาษา. แน่นอนว่า งานแปลเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศข่าวดี ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก. ขั้นตอนการแปลเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
เมื่อกองบรรณาธิการหนังสือของพยานพระยะโฮวาจัดเตรียมเนื้อเรื่องต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษเสร็จเรียบร้อย จะมีการส่งไปยังทีมผู้แปลที่ได้รับการฝึกอบรมตลอดทั่วโลกโดยทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ทีมแปลแต่ละทีมรับผิดชอบการแปลหนึ่งภาษาสำหรับหนังสือที่มีการจัดพิมพ์. โดยขึ้นอยู่กับจำนวนสิ่งพิมพ์ที่ต้องแปลและความซับซ้อนของภาษาต่าง ๆ ที่จะแปล ทีมแปลหนึ่งอาจมีสมาชิกประมาณ 5 ถึง 25 คน.
ข้อความที่แปลเสร็จแล้วจะมีการตรวจทานและการพิสูจน์อักษร. จุดมุ่งหมายก็คือเพื่อถ่ายทอดแนวคิดจากต้นฉบับให้ถูกต้องแม่นยำและชัดเจนเท่าที่เป็นไปได้. งานนี้มีข้อท้าทายหลายอย่าง. เมื่อแปลบทความที่มีคำศัพท์เฉพาะ ผู้แปลและผู้พิสูจน์อักษรอาจต้องค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งในภาษาต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองที่ใช้เป็นภาษาต้นฉบับ เช่น ภาษาฝรั่งเศส, รัสเซีย, หรือสเปน) และในภาษาที่แปลเพื่อให้แน่ใจในความถูกต้อง. ตัวอย่างเช่น เมื่อบทความหนึ่งในตื่นเถิด! พิจารณาหัวเรื่องเกี่ยวกับวิชาการหรือประวัติศาสตร์ จะต้องมีการค้นคว้าอย่างมากมาย.
ผู้แปลหลายคนทำงานที่สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวา ทั้งแบบเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา. บางคนทำงานแปลในเขตที่มีการพูดภาษานั้น ๆ. ผู้แปลทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง. มีการจัดเตรียมที่พักและอาหารสำหรับผู้แปลเต็มเวลา รวมทั้งเงินชดเชยเล็กน้อยสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว. ตลอดทั่วโลก มีพยานพระยะโฮวาประมาณ 2,800 คนที่รับใช้เป็นผู้แปล. ในเวลานี้ สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวา 98 แห่งเป็นที่ตั้งของทีมแปลหรือไม่ก็ดูแลทีมแปลที่ตั้งอยู่ในที่อื่น. ขอยกเพียงตัวอย่างเดียว สำนักงานสาขารัสเซียดูแลผู้แปลทั้งแบบเต็มเวลาและไม่เต็มเวลามากกว่า 230 คนซึ่งทำงานแปลมากกว่า 30 ภาษา รวมถึงบางภาษาที่คนนอกพื้นที่ไม่ค่อยรู้จัก เช่น ภาษาชูวัช, โอสเซตเทียน, และวีกูร์.
การปรับปรุงคุณภาพงานแปล
ดังที่คนที่เคยพยายามเรียนอีกภาษาหนึ่งทราบดี การแปลแนวคิดที่ซับซ้อนให้ถูกต้องแม่นยำไม่ใช่เรื่องง่าย. เป้าหมายก็คือเพื่อให้งานแปลเสนอข้อเท็จจริงและแนวคิดของต้นฉบับอย่างถูกต้องและขณะเดียวกันก็อ่านเป็นธรรมชาติ ราวกับว่ามีการเขียนบทความนั้นในภาษาของผู้อ่านเอง. การบรรลุเป้าหมายนี้ต้องอาศัยความชำนาญ. ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ผู้แปลใหม่ ๆ จะมีความเชี่ยวชาญ และพยานพระยะโฮวาก็ได้จัดเตรียมโครงการฝึกอบรมอยู่เรื่อย ๆ สำหรับผู้แปลเหล่านี้. บางครั้งผู้สอนจะไปเยี่ยมทีมแปลต่าง ๆ เพื่อช่วยปรับปรุงทักษะการแปลและการใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์.โครงการอบรมให้ผลดีมาก. ตัวอย่างเช่น สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในนิการากัวได้รายงานว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ผู้แปลภาษามิสคิโทได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและเทคนิคต่าง ๆ โดยผู้สอนจากสำนักงานสาขาเม็กซิโก. การฝึกอบรมนี้ช่วยผู้แปลของเราได้มากในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย. คุณภาพของงานแปลดีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด.”
ถ้อยคำที่เข้าถึงหัวใจ
ความพยายามที่จะผลิตคัมภีร์ไบเบิลและหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักในภาษาของผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายคือเพื่อเข้าถึงหัวใจของผู้คน และนี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง. ในปี 2006 พยานพระยะโฮวาในบัลแกเรียรู้สึกตื่นเต้นที่มีการออกพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกฉบับแปลโลกใหม่ ในภาษาบัลแกเรีย. สำนักงานสาขาบัลแกเรียรายงานว่าหลายคนแสดงความขอบคุณอย่างมาก. สมาชิกในประชาคมกล่าวว่า “ตอนนี้คัมภีร์ไบเบิลเข้าถึงหัวใจของพวกเขาจริง ๆ ไม่ใช่แค่สมองเท่านั้น.” พี่น้องสูงอายุคนหนึ่งจากโซเฟียให้ความเห็นว่า “ผมอ่านพระคัมภีร์มาหลายปี แต่ผมไม่เคยอ่านฉบับแปลใดที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงใจได้มากเท่านี้.” เช่นเดียวกันที่แอลเบเนีย หลังจากได้รับฉบับแปลโลกใหม่ ในภาษาแอลเบเนีย พี่น้องหญิงคนหนึ่งกล่าวว่า “พระคำของพระเจ้าช่างไพเราะจริง ๆ เมื่อได้ยินในภาษาแอลเบเนีย! นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ยินพระยะโฮวาตรัสในภาษาของเราเอง!”
การแปลพระคัมภีร์ทั้งเล่มอาจทำให้ทีมแปลต้องใช้เวลาหลายปี. แต่เมื่อผลงานที่ออกมาทำให้ผู้คนหลายล้านคนเข้าใจพระคำของพระเจ้าอย่างแท้จริงได้เป็นครั้งแรก คุณคงจะกล่าวมิใช่หรือว่าความพยายามทั้งหมดนั้นคุ้มค่า?
“เราเป็นผู้ร่วมงานกับพระเจ้า”
แน่นอน การแปลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานหลายอย่างที่จำเป็นสำหรับการประกาศข่าวดีอย่างบังเกิดผล. การเขียน, การพิมพ์, และการขนส่งหนังสือที่อาศัยพระคัมภีร์เป็นหลัก รวมถึงสิ่งอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานในสำนักงาน, ในหมวด, และในประชาคมของพยานพระยะโฮวาจำเป็นต้องใช้ความพยายามและมีค่าใช้จ่ายมากมาย. กระนั้น ประชาชนของพระเจ้า “เสนอตัวด้วยความเต็มใจ” เพื่อทำงานนี้ให้สำเร็จ. (บทเพลงสรรเสริญ 110:3, ล.ม.) พวกเขาถือว่าเป็นสิทธิพิเศษที่สามารถมีส่วนช่วยในงานนี้และมองว่าเป็นเกียรติที่การกระทำดังกล่าวยังผลให้พระยะโฮวาถือว่าพวกเขาเป็น “ผู้ร่วมงาน” กับพระองค์.—1 โครินท์ 3:5-9.
เป็นความจริงที่พระองค์ผู้ทรงตรัสว่า “เงินและทองเป็นของเราทั้งสิ้น” ไม่จำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือด้านการเงินจากเราเพื่อทำให้งานของพระองค์บรรลุผลสำเร็จ. กระนั้น พระยะโฮวาทรงให้ผู้รับใช้ของพระองค์มีเกียรติโดยให้สิทธิพิเศษมีส่วนร่วมในการทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์โดยที่เขาบริจาคเพื่องานประกาศความจริงที่ช่วยชีวิต “คนจากทุกชาติ.” (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) คุณคงได้รับการกระตุ้นให้ทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนงานนี้ซึ่งจะไม่มีการทำซ้ำอีกมิใช่หรือ?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 สำหรับรายชื่อของภาษาต่าง ๆ ดูหน้า 2 ของวารสารนี้.
[กรอบหน้า 18]
“วารสารเหล่านี้ทำให้เราคิดอย่างจริงจัง”
เด็กหญิงวัย 14 ปีคนหนึ่งเขียนถึงสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในแคเมอรูนดังนี้: “หลังจากซื้ออุปกรณ์การเรียนสำหรับปีนี้แล้ว หนูสามารถขายหนังสือเรียนของปีที่แล้วได้สองเล่มได้เงินมา 2,500 ฟรังก์ (ประมาณ 180 บาท). หนูจะบริจาคเงินจำนวนนี้บวกกับอีก 910 ฟรังก์ (ประมาณ 50 บาท) ที่หนูเก็บออมไว้. หนูอยากสนับสนุนคุณให้ทำงานที่ดีแบบที่คุณกำลังทำอยู่นี้ต่อไปค่ะ. ขอบคุณสำหรับวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! วารสารเหล่านี้ทำให้เราคิดอย่างจริงจังค่ะ.”
[กรอบ/ภาพหน้า 18]
การบริจาคที่ไม่เหมือนใคร
สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในเม็กซิโกได้รับจดหมายดังต่อไปนี้จากแมนเวล เด็กชายวัยหกขวบจากรัฐเชียปัสที่แสดงความหยั่งรู้ค่า. เนื่องจากเขายังเขียนหนังสือไม่ได้ เพื่อนคนหนึ่งจึงเขียนแทนเขา. แมนเวลบอกว่า “คุณยายให้แม่หมูผมตัวหนึ่ง. เมื่อมันออกลูก ผมเก็บตัวที่ดีที่สุดไว้และเลี้ยงมันโดยมีพี่น้องในประชาคมคอยช่วย. ผมส่งเงินบริจาคที่ได้จากการขายหมูตัวนั้นมาให้ด้วยความรักอย่างยิ่ง. มันหนัก 100 กิโลกรัม ผมจึงขายได้ 1, 250 เปโซ (ประมาณ 3,800 บาท). โปรดใช้เงินจำนวนนี้เพื่อพระยะโฮวาครับ.”
[กรอบหน้า 19]
‘ใช้เงินนี้เพื่อการแปลคัมภีร์ไบเบิล’
ณ การประชุมภาคปี 2005 ของพยานพระยะโฮวาในยูเครน มีการออกพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกฉบับแปลโลกใหม่ ในภาษายูเครน. วันถัดมา ได้พบข้อความต่อไปนี้ในกล่องบริจาคการประชุมภาค: “หนูอายุเก้าขวบค่ะ. ขอบคุณมากสำหรับพระคัมภีร์ภาคภาษากรีก. คุณแม่ให้เงินจำนวนนี้แก่หนูและน้องชายเพื่อขึ้นรถเมล์ไปโรงเรียน. แต่เมื่อฝนไม่ตก เราเดินไปโรงเรียนและเก็บเงินไว้ได้ 50 ฮริฟเนีย (ประมาณ 320 บาท). หนูกับน้องชายอยากให้คุณใช้เงินนี้เพื่อแปลคัมภีร์ไบเบิลทั้งเล่มเป็นภาษายูเครนค่ะ.”
[กรอบหน้า 20, 21]
วิธีต่าง ๆ ที่บางคนเลือกใช้ในการให้
การบริจาคสำหรับงานทั่วโลก
หลายคนกันเงินหรือจัดงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งซึ่งเขาจะใส่ในกล่องบริจาคที่ติดป้ายว่า “เงินบริจาคสำหรับงานประกาศข่าวดีทั่วโลก—มัดธาย 24:14.”
แต่ละเดือน ประชาคมต่าง ๆ จะส่งเงินเหล่านั้นไปยังสำนักงานของพยานพระยะโฮวาที่ดูแลประเทศนั้น ๆ. เงินบริจาคโดยสมัครใจอาจส่งตรงถึง Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania, c/o Office of the Secretary and Treasurer, 25 Columbia Heights, Brooklyn, New York 11201-2483 หรือถึงสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาซึ่งดำเนินงานในประเทศของคุณ. เช็คที่ส่งถึงที่อยู่ข้างบนควรสั่งจ่ายในนาม “Watch Tower.” อาจบริจาคอัญมณีหรือของมีค่าอื่น ๆ ได้ด้วย. ควรแนบจดหมายสั้น ๆ ไปกับของบริจาค โดยระบุว่าเป็นของที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
การบริจาคแบบมีเงื่อนไข
อาจมอบเงินไว้ให้ว็อชเทาเวอร์ใช้สำหรับงานทั่วโลก. อย่างไรก็ตาม จะคืนเงินให้ผู้บริจาคหากเขาร้องขอ. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักงานเหรัญญิกตามที่อยู่ข้างต้น.
การให้แบบเตรียมการ
นอกจากเงินที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว ยังมีวิธีการให้แบบอื่นอีกเพื่อประโยชน์แก่งานราชอาณาจักรทั่วโลก. วิธีให้เหล่านี้รวมถึง:
เงินประกัน: อาจระบุชื่อว็อชเทาเวอร์ [ในประเทศไทย: มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์] ให้เป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินบำเหน็จบำนาญ.
บัญชีเงินฝาก: บัญชีเงินฝาก, ใบรับเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้, หรือบัญชีเงินบำนาญส่วนบุคคลอาจมอบไว้ให้ว็อชเทาเวอร์ดูแลหรือเบิกได้เมื่อเจ้าของบัญชีสิ้นชีวิต โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารท้องถิ่น.
หุ้นและพันธบัตร: อาจบริจาคหุ้นและพันธบัตรแก่ว็อชเทาเวอร์ด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
อสังหาริมทรัพย์: อาจบริจาคอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถขายได้ ไม่ว่าด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข หรือโดยการสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้บริจาคซึ่งจะอาศัยในบ้านหรือที่ดินนั้นจนสิ้นชีวิตในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นที่พักอาศัย. ควรติดต่อกับสำนักงานสาขาในประเทศของคุณก่อนจะทำการโอนอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ.
เงินรายปีที่เป็นของขวัญ: เป็นการจัดเตรียมที่คนหนึ่งโอนเงินหรือหลักทรัพย์ให้แก่นิติบุคคลที่พยานพระยะโฮวาใช้. ส่วนผู้บริจาค หรือคนที่ผู้บริจาคได้ระบุชื่อไว้ ได้รับเงินรายปีตามที่กำหนดไว้ตราบใดเขายังมีชีวิตอยู่. ผู้บริจาคอาจได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ในปีที่มีการโอนเงินนั้น.
พินัยกรรม: อาจยกทรัพย์สินหรือเงินให้แก่ว็อชเทาเวอร์ [ในประเทศไทย: มูลนิธิฯ] ด้วยการทำพินัยกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรืออาจระบุชื่อว็อชเทาเวอร์ [ในประเทศไทย: มูลนิธิฯ] เป็นผู้รับประโยชน์ตามข้อตกลงว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันเป็นประโยชน์ต่อองค์การศาสนาอาจมีข้อดีตรงที่ได้รับการยกเว้นภาษี.
ตามความหมายของสำนวนที่ว่า “การให้แบบเตรียมการ” ผู้บริจาคตามวิธีเหล่านี้คงต้องวางแผนอยู่บ้าง. เพื่อช่วยผู้ซึ่งประสงค์จะสนับสนุนงานทั่วโลกของพยานพระยะโฮวาโดยการให้แบบเตรียมการบางประเภทนั้น จึงมีการจัดเตรียมจุลสารเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสเปนชื่อ การให้แบบเตรียมการเพื่องานราชอาณาจักรทั่วโลก. จุลสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ที่อาจบริจาคได้ไม่ว่าในเวลานี้หรือจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เมื่อตนเสียชีวิต. หลังจากอ่านจุลสารนี้แล้วและปรึกษากับที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือภาษีของตน หลายคนจึงสามารถช่วยสนับสนุนงานด้านศาสนาและมนุษยธรรมของพยานพระยะโฮวาทั่วโลก และได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องการเสียภาษีขณะที่ทำการบริจาคดังกล่าว. จะรับจุลสารนี้ได้โดยเขียนไปขอโดยตรงจากแผนกการให้แบบเตรียมการ.
เพื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติม คุณอาจจะเขียนหรือโทรศัพท์ถึงแผนกการให้แบบเตรียมการตามที่อยู่ข้างล่างนี้ หรือคุณอาจติดต่อสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาซึ่งดำเนินงานในประเทศของคุณ.
Charitable Planning Office
Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania
100 Watchtower Drive
Patterson, New York 12563-9204 Telephone: (845) 306-0707
มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์ ตู้ ปณ. 7 คลองจั่น กรุงเทพฯ 10240
[ภาพหน้า 19]
ผู้แปลภาษามิสคิโท สาขานิการากัว