คุณกำลังทำให้ผู้อื่นสดชื่นไหม?
คุณกำลังทำให้ผู้อื่นสดชื่นไหม?
ณ ปลายเทือกเขาแอนติ-เลบานอนทางทิศใต้คือภูเขาเฮอร์โมน ยอดขุนเขางามสง่าสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,814 เมตร. หิมะปกคลุมยอดภูเขาเฮอร์โมนเกือบตลอดปี และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไอน้ำในคืนที่อากาศอุ่นลอยผ่านเทือกเขากลั่นตัวเป็นน้ำค้าง. มวลน้ำค้างนั้นโปรยลงมาบนต้นเฟอร์ ไม้จำพวกสนและต้นไม้ที่มีผลตามไหล่เขา และไร่องุ่นเบื้องล่าง. ช่วงฤดูแล้งอันยาวนานในประเทศอิสราเอลโบราณ น้ำค้างที่ยังความสดชื่นนี้จึงเป็นแหล่งให้ความชื้นที่สำคัญมากแก่ต้นพืช.
ในบทเพลงหนึ่งที่รับการดลใจจากพระเจ้าได้เปรียบเทียบเอกภาพท่ามกลางเหล่าผู้นมัสการพระยะโฮวาเป็น “ประดุจหยาดน้ำค้างแห่งเฮอร์โมน ซึ่งตกลงบนภูเขาแห่งซีโอน.” (บทเพลงสรรเสริญ 133: 1, 3, ล.ม.) ภูเขาเฮอร์โมนให้น้ำค้างที่ยังความสดชื่นแก่ต้นพืชฉันใด พวกเราก็สามารถแพร่กระจายความสดชื่นให้แก่ผู้คนที่เราพบปะได้ฉันนั้น. เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
ตัวอย่างของพระเยซูที่ทำให้สดชื่น
พระเยซูคริสต์มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อผู้คน. แม้แต่การได้พบพระองค์เพียงช่วงเวลาอันสั้นก็ทำให้สดชื่นอย่างแท้จริง. ยกตัวอย่าง มาระโกผู้เขียนพระธรรมกิตติคุณได้เล่าว่า “[พระเยซู] ทรงโอบเด็ก ๆ ไว้ แล้วทรงวางพระหัตถ์บนพวกเด็ก ๆ และอวยพรพวกเขา.” (มาระโก 10:16) คงต้องเป็นความสดชื่นมากเพียงใดสำหรับเด็ก ๆ เหล่านั้น!
ณ คืนสุดท้ายที่พระเยซูเป็นมนุษย์อยู่บนแผ่นดินโลก พระองค์ได้ล้างเท้าสาวกของพระองค์. ความถ่อมพระทัยของพระองค์คงทำให้เหล่าสาวกรู้สึกประทับใจอย่างแน่นอน. ครั้นแล้วพระเยซูได้บัญชาดังนี้: “เราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.” (โยฮัน 13:1-17) ใช่แล้ว พวกเขาต้องถ่อมใจเช่นเดียวกัน. แม้ขณะนั้นเหล่าอัครสาวกยังไม่เข้าใจนัยแห่งคำตรัสของพระเยซูทันที และในคืนนั้นเองพวกเขาก็เริ่มทุ่มเถียงกันว่าใครในพวกเขาเป็นใหญ่ที่สุด พระเยซูไม่ปล่อยตัวให้เกิดโทโส แต่ทรงหาเหตุผลกับพวกเขาอย่างใจเย็น. (ลูกา 22:24-27) แม้แต่ “เมื่อพระองค์ถูกด่า [พระเยซู] ไม่ได้ด่าตอบ.” อันที่จริง “เมื่อพระองค์ทนทุกข์ทรมาน พระองค์ไม่ได้ขู่ แต่ทรงฝากพระองค์เองไว้กับพระเจ้าผู้ทรงพิพากษาด้วยความชอบธรรม.” สมควรอย่างยิ่งที่เราพึงเลียนแบบอย่างของพระเยซูซึ่งยังความสดชื่น.—1 เปโตร 2:21, 23.
พระเยซูได้ตรัสดังนี้: “จงรับแอกของเราแบกไว้และเรียนจากเรา เพราะเราเป็นคนอ่อนโยนและถ่อมใจ แล้วเจ้าทั้งหลายจะสดชื่น.” (มัดธาย 11:29) ลองนึกภาพว่าพวกเขาได้รับการสั่งสอนจากพระเยซูโดยตรง. ภายหลังได้ยินพระองค์สั่งสอนในธรรมศาลาของพวกเขา ผู้คนในถิ่นบ้านเกิดของพระองค์ต่างก็ประหลาดใจและพูดกันว่า “คนนี้ได้สติปัญญาและความสามารถทำการอิทธิฤทธิ์เช่นนี้มาจากไหน?” (มัดธาย 13:54) การอ่านเรื่องราวเกี่ยวด้วยชีวิตและงานรับใช้ของพระเยซูสอนเรามากทีเดียวในเรื่องของการทำให้ผู้อื่นสดชื่น. ให้เราพิจารณาว่าพระเยซูทรงวางแบบอย่างอันโดดเด่นอย่างไรในการพูดในแง่ดีที่เสริมสร้างและด้วยเจตคติชอบช่วยเหลือ.
รักษาการพูดในแง่ดีเสมอ
การทุบทำลายอาคารบ้านเรือนง่ายมากกว่าการปลูกสร้างขึ้นใหม่. หลักการเดียวกันนี้นำมาใช้กับการพูดของเราได้. ฐานะเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ พวกเราทุกคนต่างก็พลั้งผิดและบกพร่อง. กษัตริย์ซะโลโมตรัสว่า “ไม่มีคนชอบธรรมสักท่านผู้ประกาศ 7:20) การจับผิดคนอื่นและทำให้เขาหมดกำลังใจด้วยถ้อยคำเย้ยหยันนั้นทำได้ง่าย. (บทเพลงสรรเสริญ 64:2-4) ในทางตรงกันข้าม ที่จะให้คำพูดของเราเป็นในแง่บวกเสมอ จำเป็นต้องมีทักษะและคิดรอบคอบ.
คนเดียวบนพื้นแผ่นดินโลก, ที่ได้ประพฤติล้วนแต่ดี, และไม่เพลี่ยงพล้ำเลย.” (พระเยซูทรงใช้คำพูดอย่างที่เสริมสร้างผู้คน. พระองค์เสนอความสดชื่นฝ่ายวิญญาณแก่พวกเขาโดยการประกาศเผยแพร่ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (ลูกา 8:1) นอกจากนั้น พระเยซูทรงบันดาลความสดชื่นแก่เหล่าสาวกของพระองค์โดยทรงเปิดเผยให้พวกเขารู้จักพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์. (มัดธาย 11:25-27) ไม่น่าประหลาดใจที่ผู้คนอยากอยู่ใกล้พระเยซู!
ในทางตรงกันข้าม พวกอาลักษณ์และฟาริซายไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของผู้อื่น. พระเยซูตรัสว่า “พวกเขาชอบนั่งในที่อันทรงเกียรติในงานเลี้ยง ชอบนั่งที่เด่น ๆ ในธรรมศาลา.” (มัดธาย 23:6) ที่จริง พวกเขาดูถูกสามัญชน โดยพูดว่า “คนพวกนี้ที่ไม่รู้พระบัญญัติก็เป็นคนถูกแช่งสาป.” (โยฮัน 7:49) แน่นอน ท่าทีดังกล่าวไม่ได้ยังความสดชื่นแม้แต่นิดเดียว!
บ่อยครั้งคำพูดของเราสะท้อนความคิดภายใน อารมณ์ความรู้สึก และสะท้อนวิธีที่เรามองคนอื่น. พระเยซูตรัสดังนี้: “คนดีย่อมนำสิ่งดีออกจากคลังดีแห่งหัวใจของตน แต่คนชั่วย่อมนำสิ่งชั่วออกจากคลังชั่วของตน เพราะใจเต็มไปด้วยสิ่งใด ปากก็พูดตามนั้น.” (ลูกา 6:45) ทีนี้ เราจะทำอย่างไรได้เพื่อจะแน่ใจว่าคำพูดของเราทำให้ผู้อื่นสดชื่น?
ประการหนึ่งที่เราจะทำได้คือตรึกตรองก่อนพูด. คำกล่าวในสุภาษิต 15:28 มีดังนี้: “ใจของคนชอบธรรมตรึกตรองก่อนแล้วจึงตอบ.” การตรึกตรองที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน. โดยการคิดล่วงหน้าสักนิด ปกติแล้วเราสามารถตัดสินได้ว่าความเห็นของเราจะทำให้ผู้คนสดชื่นหรือไม่. เราอาจถามตัวเองว่า ‘สิ่งที่ฉันจะพูดเป็นการแสดงความรักหรือเปล่า? สิ่งที่จะพูดเป็นความจริงหรือเป็นเพียงเรื่องที่ได้ยินมาจากคนอื่น? เป็นการพูดที่ “เหมาะกับกาลเทศะ” ไหม? จะยังความสดชื่นและเสริมสร้างคนเหล่านั้นที่ฟังหรือเปล่า?’ (สุภาษิต 15:23) หากเราลงความเห็นว่าความคิดนั้นจะไม่เสริมสร้างหรือไม่เหมาะกับกาลเทศะ ขอให้เราพยายามอย่างจริงจังที่จะไม่พูดเรื่องนั้น. จะดีกว่าหากหาคำพูดที่เสริมสร้างและเหมาะสมมาแทน. คำพูดโดยไม่ไตร่ตรองเป็นเหมือน “การแทงของกระบี่” แต่คำกล่าวในแง่ดี “รักษาแผลให้หาย.”—สุภาษิต 12:18.
อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือเพ่งเล็งบุคลิกลักษณะของเพื่อนร่วมความเชื่อที่ทำให้เขามีคุณค่าในสายพระเนตรของพระเจ้า. พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีใครจะมาหาเราได้เว้นแต่พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา.” (โยฮัน 6:44) พระยะโฮวาทรงเห็นคุณลักษณะที่ดีของแต่ละคนที่รับใช้พระองค์ด้วยความซื่อสัตย์—แม้เราอาจจะรู้สึกว่าพวกเขามีบุคลิกลักษณะซึ่งคงจะรับได้ยาก. โดยพยายามมองหาคุณลักษณะที่ดีของเขา เราจึงมีเหตุที่จะพูดในแง่ดีเกี่ยวกับพวกเขา.
ช่วยผู้อื่น
พระเยซูทรงเข้าใจดีในความทุกข์เดือดร้อนของคนที่ถูกข่มเหง. ที่จริง “เมื่อทรงเห็นฝูงชน พระองค์ทรงรู้สึกสงสารมัดธาย 9:36) แต่พระเยซูไม่เพียงมองเห็นสภาพการณ์ที่น่าสังเวชของพวกเขา พระองค์ทรงลงมือทำบางสิ่งเพื่อช่วยเหลือเขา. พระองค์ทรงเชิญชวนดังนี้: “เจ้าทั้งหลายที่ตรากตรำและมีภาระมากจงมาหาเราเถิด แล้วเราจะทำให้เจ้าทั้งหลายสดชื่น.” พระองค์ทรงรับรองด้วยว่า “แอกของเราพอเหมาะและภาระของเราก็เบา.”—มัดธาย 11:28, 30.
เพราะพวกเขาถูกขูดรีดและถูกทิ้งขว้างเหมือนแกะไม่มีผู้เลี้ยง.” (ทุกวันนี้ เราอยู่ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากจะรับมือได้.” (2 ติโมเธียว 3:1) ผู้คนมากมายรู้สึกท้อแท้ เพราะ “ความวิตกกังวลกับชีวิตในยุคนี้.” (มัดธาย 13:22) ส่วนคนอื่น ๆ ก็มีภาระหนักจากสภาพการณ์ทุกข์ยากส่วนตัว. (1 เทสซาโลนิเก 5:14) เราจะให้ความสดชื่นแก่คนเหล่านั้นที่ต้องการความสดชื่นโดยวิธีใด? เช่นเดียวกันกับพระคริสต์ เราอาจจะช่วยแบ่งเบาภาระของเขาได้.
บางคนพยายามเปลื้องภาระหนักของตนเองด้วยการพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาของพวกเขา. ถ้าคนหดหู่เศร้าหมองมาขอให้เราช่วย เราสละเวลาและตั้งใจฟังไหม? การจะเป็นผู้ฟังที่เห็นอกเห็นใจต้องรู้จักบังคับตัวเอง. นั่นเกี่ยวข้องกับการเพ่งเล็งจดจ่ออยู่กับเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูดอยู่ ไม่ใช่มัวแต่คิดหาวิธีตอบหรือคิดหาวิธีแก้ปัญหา. การตั้งใจฟัง, สบตาอยู่เสมอ, และยิ้มเมื่อจังหวะนั้นเหมาะ นั่นแสดงว่าเราใส่ใจ.
ในประชาคมคริสเตียน มีหลายโอกาสที่จะหนุนใจเพื่อนร่วมความเชื่อ. ตัวอย่างเช่น เมื่อเข้าร่วมการประชุม ณ หอประชุม เราอาจมองหาบางคนที่กำลังต่อสู้กับปัญหาสุขภาพ. บางครั้ง แค่การพูดให้กำลังใจเพียงไม่กี่นาทีก่อนหรือหลังการประชุมก็เป็นการเสริมสร้างพวกเขาแล้ว. อนึ่ง เราอาจสังเกตว่ามีใครบ้างไม่ได้มาร่วมการศึกษาหนังสือประจำประชาคมในกลุ่มที่เราร่วมอยู่. เราก็อาจคุยกับเขาทางโทรศัพท์แสดงความห่วงใยสวัสดิภาพของเขาหรืออาจเสนอความช่วยเหลือ.—ฟิลิปปอย 2:4.
คริสเตียนผู้ดูแลแบกหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญในประชาคม. เราสามารถช่วยแบ่งเบางานของผู้ดูแลได้มาก โดยที่เราร่วมมือและนอบน้อมยอมปฏิบัติให้ลุล่วงตามที่เราได้รับมอบหมาย. พระคำของพระเจ้ากระตุ้นเตือนเราดังนี้: “จงเชื่อฟังผู้ที่นำหน้าท่ามกลางท่านทั้งหลายและยอมรับอำนาจของพวกเขา เพราะคนเหล่านั้นคอยดูแลพวกท่านเหมือนเป็นผู้ที่ต้องถวายรายงาน เพื่อพวกเขาจะดูแลพวกท่านด้วยความยินดี ไม่ใช่ด้วยการทอดถอนใจซึ่งจะก่อผลเสียหายแก่พวกท่าน.” (ฮีบรู 13:17) โดยการแสดงความเต็มใจ เราสามารถทำให้คนเหล่านั้น “ที่นำหน้าอย่างดี” รู้สึกสดชื่น.—1 ติโมเธียว 5:17.
ใช้คำพูดที่เสริมสร้างและให้การช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
น้ำค้างที่ให้ความสดชื่นมาจากหยดน้ำเล็ก ๆ มากมายนับไม่ถ้วนที่โปรยปรายลงมาเบา ๆ ประหนึ่งมาจากที่ไหนก็ไม่รู้. เช่นเดียวกัน การทำให้คนอื่นรู้สึกสดชื่นคงไม่ใช่เพียงการกระทำที่ดีงามแค่ครั้งเดียว เนื่องจากการทำให้คนอื่นสดชื่นเป็นผลกระทบที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นจากการสำแดงคุณลักษณะเยี่ยงพระคริสต์อยู่เสมอ.
อัครสาวกเปาโลได้เขียนว่า “จงมีความรักใคร่อันอบอุ่นต่อกันฉันพี่น้อง. จงนำหน้าในการให้เกียรติกัน.” (โรม 12:10) ให้เราเอาใจใส่คำแนะนำของเปาโล. ขอให้เรายังความสดชื่นแท้จริงแก่ผู้อื่นโดยทางคำพูดและการกระทำของเรา.
[ภาพหน้า 16]
น้ำค้างที่ภูเขาเฮอร์โมน—แหล่งแห่งความชุ่มชื้นสำหรับต้นพืช
[ภาพหน้า 17]
ผู้ฟังที่เห็นอกเห็นใจย่อมทำให้ผู้อื่นสดชื่น