สิทธิปกครองของพระยะโฮวาและราชอาณาจักรของพระเจ้า
สิทธิปกครองของพระยะโฮวาและราชอาณาจักรของพระเจ้า
“ข้าแต่พระเจ้า ความยิ่งใหญ่ ฤทธานุภาพ พระสิริชัยชนะ และความโอ่อ่าตระการเป็นของพระองค์ . . . ข้าแต่พระเจ้า ราชอาณาจักรเป็นของพระองค์.” —1 โครนิกา 29:11, ฉบับแปลใหม่.
1. เหตุใดพระยะโฮวาทรงมีสิทธิเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ?
“พระยะโฮวาเองได้ทรงตั้งราชบัลลังก์ของพระองค์ไว้มั่นคงในสวรรค์; และพระองค์เองในฐานะเป็นกษัตริย์ทรงครอบครองอยู่เหนือสรรพสิ่ง.” (บทเพลงสรรเสริญ 103:19, ล.ม.) ด้วยถ้อยคำดังกล่าว ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญชี้ถึงแนวคิดพื้นฐานของการปกครอง. เนื่องจากทรงเป็นพระผู้สร้าง พระยะโฮวาพระเจ้าทรงมีสิทธิเป็นผู้ปกครององค์ใหญ่ยิ่งเหนือเอกภพ.
2. ดานิเอลพรรณนาแดนวิญญาณของพระยะโฮวาไว้อย่างไร?
2 แน่นอน เพื่อผู้ปกครองจะใช้สิทธิปกครองได้จำเป็นต้องมีไพร่ฟ้าหรือราษฎร. ในตอนแรกเริ่ม พระยะโฮวาทรงใช้อำนาจปกครองเหนือเหล่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นกายวิญญาณที่พระองค์ทรงสร้าง—อันดับแรกสุดได้แก่พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียว และหลังจากนั้นก็ได้แก่ทูตสวรรค์ทั้งหลาย. (โกโลซาย 1:15-17) เวลาล่วงเลยหลังจากนั้นอีกนาน ผู้พยากรณ์ดานิเอลได้รับการเปิดเผยให้เห็นการปกครองของพระยะโฮวาในสวรรค์อย่างคร่าว ๆ. ท่านรายงานว่า “ข้าพเจ้าเฝ้าดูจนมีพระที่นั่งมาตั้งลงหลายพระที่, และผู้ทรงพระชนม์แต่เบื้องบรรพ์ทรงประทับลง. . . . มีคนนับแสนนับล้านปฏิบัติท่าน; มีคนนับล้านนับโกฏิยืนเฝ้าต่อหน้าพระที่นั่ง.” (ดานิเอล 7:9, 10) นานจนมิอาจนับได้ พระยะโฮวา “ผู้ทรงพระชนม์แต่เบื้องบรรพ์” ทรงประทับในฐานะองค์บรมมหิศรเหนือครอบครัวแห่งเหล่าบุตรกายวิญญาณที่มีขนาดมหึมาและเป็นระเบียบ ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะ “ผู้รับใช้” ที่กระทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 103:20, 21, ฉบับแปลใหม่.
3. สิทธิปกครองของพระยะโฮวาขยายออกไปเหนือเอกภพอย่างไร?
3 ในที่สุด พระยะโฮวาทรงขยายขอบเขตการปกครองของพระองค์โดยทรงสร้างเอกภพอันไพศาลและซับซ้อนขึ้นมา รวมทั้งแผ่นดินโลกด้วย. (โยบ 38:4, 7) สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บนแผ่นดินโลก เทห์ฟากฟ้าทำหน้าที่อย่างเป็นระเบียบและแม่นยำถึงขนาดที่ดูเหมือนว่าไม่จำเป็นต้องมีใครกำหนดหรือควบคุมเทหวัตถุเหล่านี้. แต่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญประกาศดังนี้: “[พระยะโฮวา] ทรงรับสั่งแล้ว, สิ่งเหล่านั้นก็ถูกเนรมิตขึ้น. พระองค์ได้ทรงตั้งสิ่งเหล่านั้นไว้ให้ยั่งยืนถาวรอยู่เป็นนิตย์. พระองค์ทรงวางข้อกฎไว้เพื่อไม่ให้สักสิ่งศูนย์ไป.” (บทเพลงสรรเสริญ 148:5, 6) พระยะโฮวาทรงใช้สิทธิปกครองของพระองค์ในการชี้นำ, กำหนด, และควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ ในแดนวิญญาณและเอกภพมาโดยตลอด.—นะเฮมยา 9:6.
4. พระยะโฮวาทรงใช้สิทธิปกครองของพระองค์เหนือมนุษย์อย่างไร?
เยเนซิศ 1:26-28; 2:8, 9) ด้วยเหตุนั้น เห็นได้ชัดว่าการปกครองของพระเจ้าไม่เพียงแต่เมตตากรุณาเท่านั้น แต่ยังให้เกียรติและศักดิ์ศรีแก่ไพร่ฟ้าประชากรด้วย. ตราบใดอาดามและฮาวายอมอยู่ใต้อำนาจสูงสุดของพระยะโฮวา พวกเขาคาดหวังได้ว่าจะมีชีวิตตลอดไปในอุทยานบนแผ่นดินโลกซึ่งจะกลายเป็นบ้านของพวกเขา.—เยเนซิศ 2:15-17.
4 ด้วยการสร้างมนุษย์คู่แรก พระเจ้าทรงใช้สิทธิปกครองของพระองค์ในอีกวิธีหนึ่ง. นอกเหนือจากทรงจัดเตรียมทุกสิ่งที่จำเป็นให้มนุษย์สามารถดำรงชีพอย่างมีจุดมุ่งหมายและอิ่มใจพอใจ พระยะโฮวายังโปรดให้พวกเขามีอำนาจเหนือสิ่งทรงสร้างที่ต่ำกว่าที่อยู่บนแผ่นดินโลก ซึ่งนับเป็นวิธีหนึ่งในการมอบหมายอำนาจให้ตัวแทน. (5. เราอาจกล่าวได้อย่างไรเกี่ยวกับการใช้สิทธิปกครองของพระยะโฮวา?
5 ทั้งหมดนี้ช่วยเราลงความเห็นได้เช่นไร? ประการแรก พระยะโฮวาทรงใช้อำนาจสูงสุดเหนือสิ่งทรงสร้างทั้งสิ้นเสมอ. ประการที่สอง การปกครองของพระเจ้านั้นเมตตากรุณาและให้เกียรติ. ประการสุดท้าย ถ้าเราเชื่อฟังและสนับสนุนการปกครองของพระเจ้าเราจะได้รับพระพรชั่วนิรันดร์. ไม่แปลกที่กษัตริย์ดาวิดแห่งอิสราเอลโบราณถูกกระตุ้นใจให้กล่าวว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ยศศักดิ์, อำนาจ, รัศมี, ความชัยชนะ, และเดชานุภาพ: คงมีแก่พระองค์, เพราะสรรพสิ่งในสวรรค์ก็ดี, ที่พิภพโลกก็ดี, เป็นของพระองค์; ข้าแต่พระยะโฮวา, ราชสมบัติสิทธิ์ขาดแก่พระองค์, พระองค์ทรงสถิตอยู่เหนือสิ่งสารพัตร.”—1 โครนิกา 29:11.
เหตุใดจึงต้องมีราชอาณาจักรของพระเจ้า?
6. สิทธิปกครองของพระเจ้ากับราชอาณาจักรของพระองค์มีความสัมพันธ์กันเช่นไร?
6 เนื่องจากพระยะโฮวา องค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจของพระองค์มาโดยตลอด เหตุใดจึงต้องมีราชอาณาจักรของพระเจ้า? ตามปกติ กษัตริย์ใช้อำนาจของตนโดยทางตัวแทนที่ตั้งไว้ให้ปกครองไพร่ฟ้า. ดังนั้น ราชอาณาจักรของพระเจ้าจึงเป็นการสำแดงหรือการใช้สิทธิปกครองเหนือเอกภพของพระเจ้าต่อสิ่งทรงสร้าง เป็นวิธีการหรือเป็นตัวแทนที่พระองค์ทรงใช้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการปกครองของพระองค์.
7. เหตุใดพระยะโฮวาทรงก่อตั้งการปกครองในรูปแบบใหม่ขึ้น?
7 พระยะโฮวาได้สำแดงสิทธิปกครองของพระองค์ด้วยวิธีที่ต่างกันในช่วงเวลาต่าง ๆ. พระองค์ทรงก่อตั้งการปกครองในรูปแบบใหม่ขึ้นเพื่อตอบสนองสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น. สถานการณ์ใหม่ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อซาตาน บุตรกายวิญญาณที่ละทิ้งพระเจ้า โน้มน้าวอาดามและฮาวาได้สำเร็จให้ขืนอำนาจการปกครองของพระยะโฮวา. การขืนอำนาจนั้นเป็นการท้าทายการปกครองของพระเจ้า. โดยวิธีใด? ด้วยการบอกฮาวาว่าเธอ “จะไม่ตายจริงดอก” ถ้ากินผลไม้ต้องห้ามนั้น ซาตานแนะเป็นนัย ๆ ให้คิดว่าพระยะโฮวาทรงโกหก และเพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจพระองค์. ซาตานยังบอกฮาวาต่อไปอีกว่า “พระเจ้าทรงทราบอยู่ว่า, เจ้ากินผลไม้นั้นเข้าไปวันใด, ตาของเจ้าจะสว่างขึ้นในวันนั้น; แล้วเจ้าจะเป็นเหมือนพระ, จะรู้จักความดีและชั่ว.” ซาตานกำลังชี้ว่าอาดามและฮาวาจะประสบความสำเร็จได้ดีกว่าโดยที่ไม่ต้องสนใจพระบัญชาของพระเจ้าและดำเนินในแนวทางที่ไม่หมายพึ่งพระเจ้า. (เยเนซิศ 3:1-6) นั่นเป็นการท้าทายโดยตรงต่อสิทธิอันชอบธรรมแห่งการปกครองของพระเจ้า. พระยะโฮวาจะทำเช่นไร?
8, 9. (ก) ผู้ปกครองที่เป็นมนุษย์จัดการอย่างไรกับการกบฏที่เกิดขึ้นในดินแดนที่เขาปกครอง? (ข) พระยะโฮวาทรงทำเช่นไรเพื่อตอบโต้การขืนอำนาจที่เกิดขึ้นในสวนเอเดน?
8 เราคาดหมายว่าผู้ปกครองคนหนึ่งจะทำอะไรเมื่อมีการขืนอำนาจอย่างโจ่งแจ้งในดินแดนที่เขาปกครอง? คนที่คุ้นเคยดีกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์คงจะจำได้ถึงเหตุการณ์เช่นนั้นบางเหตุการณ์. แทนที่จะเพิกเฉยต่อเรื่องนั้น ตามปกติแล้วกษัตริย์—แม้แต่ผู้ปกครองที่มีเมตตาจิต—จะพิพากษาลงโทษพวกที่ก่อกบฏ และประกาศว่าพวกเขามีความผิดฐานทรยศต่อชาติ. จากนั้น ผู้ปกครองคนนั้นก็อาจมอบอำนาจให้ใครบางคนปราบปรามกองกำลังฝ่ายกบฏและดำเนินการเพื่อทำให้เกิดความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง. คล้ายกัน พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสามารถเยเนซิศ 3:16-19, 22-24.
ควบคุมสถานการณ์ทั้งหมดเอาไว้ได้เมื่อพระองค์ทรงดำเนินการทันทีและประกาศการพิพากษาต่อพวกผู้ขืนอำนาจ. พระองค์ทรงประกาศว่าอาดามและฮาวาไม่คู่ควรจะได้รับของประทานแห่งชีวิตนิรันดร์ และพระองค์ทรงขับไล่คนทั้งสองออกจากสวนเอเดน.—9 ในการประกาศการพิพากษาต่อซาตาน พระยะโฮวาทรงเผยให้เห็นการปกครองในรูปแบบใหม่ของพระองค์ ซึ่งโดยการปกครองนั้นพระองค์จะนำสันติภาพและความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่อาณาจักรทั้งสิ้นของพระองค์. พระเจ้าตรัสกับซาตานว่า “เราจะให้เจ้ากับหญิงและพงศ์พันธุ์ของเจ้ากับพงศ์พันธุ์ของนางเป็นศัตรูกัน. เขาจะบดขยี้หัวของเจ้าและเจ้าจะบดขยี้ส้นเท้าของเขา.” (เยเนซิศ 3:15, ล.ม.) โดยทำอย่างนั้น พระยะโฮวาทรงเผยให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะมอบอำนาจแก่ “พงศ์พันธุ์” ให้บดขยี้ซาตานและกองกำลังของมัน และพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงมีสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองเอกภพ.—บทเพลงสรรเสริญ 2:7-9; 110:1, 2.
10. (ก) “พงศ์พันธุ์” ปรากฏว่าได้แก่ใคร? (ข) เปาโลกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์แรก?
10 “พงศ์พันธุ์” นั้นปรากฏว่าได้แก่พระเยซูคริสต์ พร้อมกับชนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะที่ร่วมปกครองกับพระองค์. พระเยซูและกลุ่มชนดังกล่าวประกอบกันเป็นราชอาณาจักรมาซีฮาของพระเจ้า. (ดานิเอล 7:13, 14, 27; มัดธาย 19:28; ลูกา 12:32; 22:28-30) แต่เรื่องราวทั้งหมดนี้ไม่ได้ถูกเปิดเผยในทันที. ที่จริง ความสำเร็จเป็นจริงตามคำพยากรณ์แรกนั้นยังคงเป็น “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกปิดบังไว้เป็นเวลายาวนาน.” (โรม 16:25) เป็นเวลาหลายศตวรรษ ผู้คนที่มีความเชื่อเฝ้ารอคอยให้ถึงเวลาที่ “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์” จะได้รับการเปิดเผยและคำพยากรณ์แรกสำเร็จเป็นจริงเพื่อจะพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา.—โรม 8:19-21.
“ความลับอันศักดิ์สิทธิ์” ถูกเปิดเผยทีละน้อย
11. พระยะโฮวาทรงเปิดเผยอะไรแก่อับราฮาม?
11 เมื่อเวลาผ่านไป พระยะโฮวาทรงเปิดเผยแง่มุมต่าง ๆ ของ “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์เรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า” ทีละน้อย. (มาระโก 4:11) อับราฮาม ซึ่งถูกเรียกว่า “มิตรของพระยะโฮวา” เป็นคนหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงเปิดเผยให้ทราบ. (ยาโกโบ 2:23) พระยะโฮวาทรงสัญญากับอับราฮามว่าพระองค์จะทำให้ท่านเป็นต้นตระกูลของ “ชนชาติใหญ่.” ภายหลัง พระเจ้าทรงเปิดเผยแก่อับราฮามอีกว่า ‘กษัตริย์หลายองค์จะเกิดมาจากเจ้า’ และ “ชนทุกชาติทั่วโลกจะได้พรเพราะพงศ์พันธุ์ของเจ้า.”—เยเนซิศ 12:2, 3, ฉบับแปลใหม่; 17:6; 22:17, 18.
12. พงศ์พันธุ์ของซาตานแสดงตัวอย่างไรภายหลังน้ำท่วมโลก?
12 เมื่อถึงสมัยของอับราฮาม มนุษย์ก็ได้พยายามจะปกครองและมีอำนาจเหนือผู้อื่นกันอยู่แล้ว. ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงเหลนของโนฮา ว่า “นิมโรดเป็นคนแรกมีอำนาจในแผ่นดิน. นิมโรดเป็นพรานมีกำลังมากต่อพระพักตร์ [“ต่อต้าน,” ล.ม.] พระยะโฮวา.” (เยเนซิศ 10:8, 9) เห็นได้ชัด นิมโรดและคนอื่น ๆ ที่ตั้งตนเป็นผู้ปกครองเป็นหุ่นเชิดในมือของซาตาน. พวกเขาและเหล่าผู้สนับสนุนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพงศ์พันธุ์ของซาตาน.—1 โยฮัน 5:19.
13. พระยะโฮวาทรงชี้ล่วงหน้าถึงอะไรโดยทางยาโคบ?
เยเนซิศ 49:10, 11) คำ “ซีโล” มีความหมายว่า “ผู้มีสิทธิ์; ผู้เป็นเจ้าของ.” ด้วยเหตุนั้น คำพยากรณ์ดังกล่าวชี้ว่าจะมีผู้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับ “ไม้ธารพระกร” ซึ่งหมายถึงอำนาจปกครองเหนือ “ชนชาวประเทศต่าง ๆ” หรือมนุษยชาติทั้งสิ้น. ท่านผู้นี้จะได้แก่ใคร?
13 แม้ว่าซาตานพยายามสร้างผู้ปกครองมนุษย์ พระยะโฮวายังคงดำเนินการตามพระประสงค์ของพระองค์ต่อไป. โดยทางยาโคบหลานของอับราฮาม พระยะโฮวาทรงเปิดเผยว่า “ไม้ธารพระกรจะไม่ขาดไปจากยูดา, หรือผู้ปกครองจากพงศ์พันธุ์ของเขากว่าซีโลจะมา; ชนชาวประเทศต่าง ๆ จะเชื่อฟังผู้นั้น.” (“กว่าซีโลจะมา”
14. พระยะโฮวาทรงทำสัญญาอะไรกับดาวิด?
14 ลูกหลานของยูดาห์คนแรกที่ได้รับเลือกจากพระยะโฮวาให้เป็นกษัตริย์ปกครองประชาชนของพระองค์ได้แก่ดาวิดซึ่งเป็นคนเลี้ยงแกะ บุตรของยิซัย. * (1 ซามูเอล 16:1-13) แม้ว่าท่านทำบาปและมีข้อผิดพลาด ดาวิดทรงเป็นที่ชอบพระทัยพระยะโฮวาเพราะท่านภักดีต่อสิทธิปกครองของพระยะโฮวา. เพื่อให้คำพยากรณ์แรกในสวนเอเดนกระจ่างยิ่งขึ้น พระยะโฮวาทรงทำสัญญากับดาวิดโดยตรัสว่า “เราจะอุปถัมภ์เผ่าพันธุ์ [“พงศ์พันธุ์,” ล.ม.] ซึ่งเกิดมาแต่เจ้าให้สืบตระกูลต่อไป, จะตั้งแผ่นดินของเจ้าไว้ให้มั่นคง.” นั่นจะเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่ซะโลโม ราชบุตรและผู้สืบราชสมบัติต่อจากดาวิด เพราะพระองค์ตรัสไว้ในสัญญานั้นว่า “เราจะตั้งพระที่นั่งของแผ่นดินผู้นั้นให้เจริญสืบไปเป็นนิตย์.” สัญญากับดาวิดนี้ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า “พงศ์พันธุ์” แห่งราชอาณาจักรที่ทรงสัญญานั้นในที่สุดจะมาทางเชื้อวงศ์ของดาวิด.—2 ซามูเอล 7:12, 13.
15. เหตุใดจึงอาจถือได้ว่าอาณาจักรยูดาห์เป็นแบบของราชอาณาจักรของพระเจ้า?
15 ดาวิดเริ่มต้นราชวงศ์ที่มีกษัตริย์สืบราชบัลลังก์หลายองค์ซึ่งได้รับการเจิมด้วยน้ำมันบริสุทธิ์จากมหาปุโรหิต. ด้วยเหตุนี้ จึงอาจเรียกกษัตริย์เหล่านี้ได้ว่าผู้ถูกเจิมหรือมาซีฮา. (1 ซามูเอล 16:13; 2 ซามูเอล 2:4; 5:3; 1 กษัตริย์ 1:39) พวกเขาได้รับการพรรณนาว่านั่งบนราชบัลลังก์ของพระยะโฮวาและเป็นกษัตริย์ปกครองแทนพระยะโฮวาในกรุงเยรูซาเลม. (2 โครนิกา 9:8) ในแง่ดังกล่าว จึงถือได้ว่าอาณาจักรยูดาห์เป็นตัวแทนราชอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการปกครองของพระยะโฮวา.
16. ผลจากการปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์ยูดาห์เป็นเช่นไร?
16 เมื่อกษัตริย์และประชาชนยอมอ่อนน้อมอยู่ใต้การปกครองของพระยะโฮวา พวกเขาได้รับการปกป้องและพระพรจากพระองค์. การครองราชย์ของซะโลโมเป็นช่วงเวลาที่มีสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองเป็นพิเศษยิ่งกว่าสมัยใด ๆ จึงเป็นภาพพยากรณ์ที่ทำให้มองเห็นคร่าว ๆ ถึงการปกครองของราชอาณาจักรของพระเจ้าที่จะขจัดทำลายอิทธิพลของซาตานอย่างสิ้นเชิงและพิสูจน์ว่าพระยะโฮวาทรงมีสิทธิ์โดยชอบธรรมในการปกครอง. (1 กษัตริย์ 4:20, 25) น่าเศร้า กษัตริย์ส่วนใหญ่ในราชวงศ์ดาวิดไม่ได้ดำเนินชีวิตตามข้อเรียกร้องของพระยะโฮวา และประชาชนก็หลงผิดไปไหว้รูปเคารพและทำผิดศีลธรรม. ในที่สุด พระยะโฮวาทรงยอมให้อาณาจักรนี้ถูกทำลายโดยชาวบาบิโลนในปี 607 ก่อนสากลศักราช. ดูเหมือนว่าซาตานประสบผลสำเร็จอย่างมากในการพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของการปกครองของพระยะโฮวา.
17. อะไรแสดงว่าพระยะโฮวายังคงควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทั้งหมดแม้ว่าอาณาจักรแห่งราชวงศ์ดาวิดล่มสลาย?
17 การล่มสลายของอาณาจักรแห่งราชวงศ์ดาวิด—และก่อนหน้านั้น การล่มสลายของอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ—ไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ว่าการปกครองของพระยะโฮวาบกพร่องหรือล้มเหลว แต่เป็นข้อพิสูจน์ถึงผลอันน่าเศร้าที่เกิดจากอิทธิพลของซาตานและการที่มนุษย์ไม่หมายพึ่งพระเจ้า. (สุภาษิต 16:25; ยิระมะยา 10:23) เพื่อจะแสดงว่าพระองค์ยังคงใช้สิทธิปกครองของพระองค์อยู่ พระยะโฮวาทรงประกาศทางผู้พยากรณ์ยะเอศเคลว่า “จงปลดผ้าโพกและถอดมงกุฎออกเสีย . . . เราจะกระทำให้เป็นที่พังทลาย พังทลาย พังทลาย และจะไม่มีเลยจนกว่าผู้มีสิทธิ์อันชอบธรรมจะมาถึง และเราจะประทานให้แก่ท่านผู้นั้น.” (ยะเอศเคล 21:26, 27, ฉบับแปลใหม่) ถ้อยคำดังกล่าวชี้ว่า “พงศ์พันธุ์” ที่ทรงสัญญาซึ่งเป็น “ผู้มีสิทธิ์อันชอบธรรม” ยังไม่มา.
18. ทูตสวรรค์ฆับรีเอลแจ้งอะไรแก่มาเรีย?
18 ขอให้เราดูกันต่อไปจนถึงเมื่อประมาณปี 2 ก่อน ส.ศ. ทูตสวรรค์กาบรีเอลถูกใช้ให้ไปหามาเรีย หญิงพรหมจารีในนาซาเรท เมืองหนึ่งในแคว้นแกลิลีซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของปาเลสไตน์. ทูตสวรรค์องค์นี้ประกาศว่า “เจ้าจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย และเจ้าต้องเรียกบุตรนั้นว่าเยซู. บุตรนั้นจะเป็นใหญ่และจะถูกเรียกว่าพระบุตรของพระผู้สูงสุด และพระยะโฮวาพระเจ้าจะประทานบัลลังก์ของดาวิดราชบิดาของท่านให้แก่ท่าน และท่านจะเป็นกษัตริย์ปกครองเรือนของยาโคบตลอดไป และราชอาณาจักรของท่านจะไม่รู้สิ้นสุด.”—ลูกา 1:31-33.
19. เวลาสำหรับเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นอะไรได้คืบใกล้เข้ามา?
19 ในที่สุด เวลาที่จะเปิดเผย “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์” ก็คืบใกล้เข้ามา. อีกไม่นาน “พงศ์พันธุ์” หลักที่ทรงสัญญาไว้จะมาปรากฏ. (กาลาเทีย 4:4; 1 ติโมเธียว 3:16) พงศ์พันธุ์นี้จะถูกซาตานบดขยี้ส้นเท้า. แต่ในอนาคต “พงศ์พันธุ์” นี้จะบดขยี้หัวของซาตาน ทำให้อิทธิพลทุกอย่างของซาตานและพรรคพวกของมันสิ้นสุดลง. พงศ์พันธุ์นี้จะเป็นพยานยืนยันด้วยว่า โดยทางราชอาณาจักรของพระเจ้า ความเสียหายทุกอย่างที่เกิดจากซาตานจะได้รับการแก้ไขและสิทธิปกครองของพระยะโฮวาจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง. (ฮีบรู 2:14; 1 โยฮัน 3:8) พระเยซูจะทำให้สำเร็จโดยวิธีใด? พระองค์ทรงวางตัวอย่างอะไรไว้ให้เราทำตาม? เราจะพบคำตอบในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 14 ซาอูล ซึ่งเป็นคนแรกที่พระเจ้าทรงเลือกให้ปกครองชาติอิสราเอล อยู่ในตระกูลเบนยามิน.—1 ซามูเอล 9:15, 16; 10:1.
คุณอธิบายได้ไหม?
• อะไรทำให้พระยะโฮวาทรงมีสิทธิเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ?
• เหตุใดพระยะโฮวาทรงประสงค์จะก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้น?
• พระยะโฮวาทรงเปิดเผย “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์” ทีละน้อยอย่างไร?
• อะไรแสดงว่าพระยะโฮวาทรงควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทั้งหมดแม้ว่าอาณาจักรแห่งราชวงศ์ดาวิดล่มสลาย?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
พระยะโฮวาทรงชี้ล่วงหน้าถึงอะไรโดยทางอับราฮาม?
[ภาพหน้า 25]
เหตุใดการล่มสลายของอาณาจักรแห่งราชวงศ์ดาวิดไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ว่าการปกครองของพระยะโฮวาล้มเหลว?