คุณพร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวาไหม?
คุณพร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวาไหม?
“วันใหญ่ของพระยะโฮวาใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้เข้ามาแล้ว และเร่งมาก.”—ซะฟันยา 1:14, ล.ม.
1-3. (ก) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับวันของพระยะโฮวา? (ข) “วันของพระยะโฮวา” วันไหนที่เราเผชิญ?
วันของพระยะโฮวาไม่ได้นาน 24 ชั่วโมง. วันดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ยืดยาวครอบคลุมช่วงที่พระเจ้าทรงสำเร็จโทษคนชั่วตามการพิพากษาของพระองค์. คนที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้ามีเหตุผลที่จะกลัววันนี้ เพราะจะเป็นวันแห่งความมืดมิด, พระพิโรธอันแรงกล้า, ความทุกข์, และความร้างเปล่า. (ยะซายา 13:9; อาโมศ 5:18-20; ซะฟันยา 1:15) คำพยากรณ์ของโยเอลกล่าวไว้ว่า “น่าสังเวชเมื่อคิดถึงวันนั้น! เพราะว่าวันของพระยะโฮวานั้นจวนจะถึงอยู่แล้ว, และจะมาเหมือนอย่างความพินาศอันมาจากพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์.” (โยเอล 1:15) อย่างไรก็ตาม ในวันอันใหญ่ยิ่งนั้นพระเจ้าจะทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับคนที่ “ใจเที่ยงตรง.”—บทเพลงสรรเสริญ 7:10, ฉบับแปลใหม่.
2 วลี “วันของพระยะโฮวา” ใช้กับการสำเร็จโทษตามการพิพากษาของพระเจ้าในหลายสมัย. ตัวอย่างเช่น “วันของพระยะโฮวา” มาถึงชาวเยรูซาเลมเมื่อพระยะโฮวาทรงใช้ชาวบาบิโลนทำลายพวกเขาในปี 607 ก่อนสากลศักราช. (ซะฟันยา 1:4-7) การสำเร็จโทษตามการพิพากษาของพระเจ้าคล้าย ๆ กันนั้นเกิดขึ้นในปี ส.ศ. 70 เมื่อพระเจ้าทรงใช้ชาวโรมันให้สำเร็จโทษชาติยิวที่ปฏิเสธพระบุตรของพระองค์. (ดานิเอล 9:24-27; โยฮัน 19:15) คัมภีร์ไบเบิลยังบอกล่วงหน้าด้วยถึง “วันของพระยะโฮวา” เมื่อพระองค์จะ ‘รบประเทศทั้งสิ้น.’ (ซะคาระยา 14:1-3) ด้วยการดลใจจากพระเจ้า อัครสาวกเปาโลเชื่อมโยงวันนั้นเข้ากับการประทับของพระคริสต์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการที่พระเยซูทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในสวรรค์ในปี 1914. (2 เทสซาโลนิเก 2:1, 2) เนื่องจากเห็นได้ชัดถึงหลักฐานที่ว่าวันของพระยะโฮวากำลังคืบใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว ข้อพระคัมภีร์ประจำปีของพยานพระยะโฮวาสำหรับปี 2007 จึงนับว่าเหมาะมาก. ข้อพระคัมภีร์ดังกล่าวยกมาจากซะฟันยา 1:14 (ล.ม.) ซึ่งอ่านว่า “วันใหญ่ของพระยะโฮวาใกล้เข้ามาแล้ว.”
3 เนื่องจากวันใหญ่ของพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว บัดนี้เป็นเวลาที่คุณต้องเตรียมพร้อม. คุณจะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวันนั้นได้อย่างไร? คุณจำเป็นต้องทำอะไรอีกไหมเพื่อจะพร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา?
จงเตรียมพร้อม
4. พระเยซูทรงเตรียมพระองค์เองให้พร้อมสำหรับการทดสอบครั้งใหญ่อะไร?
4 ในคำพยากรณ์เกี่ยวกับอวสานของระบบ พระเยซูคริสต์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เจ้าทั้งหลายจงเตรียมพร้อม.” (มัดธาย 24:44) เมื่อพระเยซูตรัสเช่นนั้น พระองค์เองทรงพร้อมสำหรับการทดสอบครั้งใหญ่—การสิ้นพระชนม์เป็นเครื่องบูชาไถ่. (มัดธาย 20:28) เราอาจเรียนอะไรได้จากวิธีที่พระเยซูทรงเตรียมพระองค์เองให้พร้อม?
5, 6. (ก) ความรักต่อพระเจ้าและผู้คนมีส่วนสำคัญอย่างไรในการช่วยเราให้พร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา? (ข) พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรไว้ในเรื่องการรักเพื่อนบ้าน?
5 พระเยซูทรงมีความรักอย่างสุดหัวใจต่อพระยะโฮวาและต่อมาตรฐานอันชอบธรรมของพระบิดา. ฮีบรู 1:9 กล่าวถึงพระเยซูว่า “ท่านรักความชอบธรรมและท่านเกลียดการชั่ว. เพราะเหตุนั้น พระเจ้า คือพระเจ้าของท่าน จึงเจิมท่านด้วยน้ำมันแห่งความปีติยินดียิ่งกว่าเหล่าสหายของท่าน.” เนื่องจากทรงรักพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์ พระเยซูทรงรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระบิดา. หากเรามีความรักคล้ายกันนั้นต่อพระเจ้าและดำเนินชีวิตตามข้อเรียกร้องของพระองค์ พระองค์จะทรงคุ้มครองเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 31:23) ความรักและการเชื่อฟังเช่นนั้นจะช่วยเราให้พร้อมสำหรับวันใหญ่ของพระยะโฮวา.
6 ความรักต่อผู้คนเป็นลักษณะเด่นในบุคลิกภาพของมัดธาย 9:36) ด้วยเหตุนั้น พระเยซูทรงประกาศข่าวดีแก่ผู้คน เช่นเดียวกับที่ความรักกระตุ้นเราให้ประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรแก่เพื่อนบ้านของเรา. ความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนบ้านช่วยเราให้กระตือรือร้นเสมอในฐานะคริสเตียนผู้รับใช้ และโดยวิธีนั้นจึงช่วยเราให้พร้อมสำหรับวันใหญ่ของพระยะโฮวา.—มัดธาย 22:37-39.
พระเยซู. ที่จริง “พระองค์ทรงรู้สึกสงสารเพราะพวกเขาถูกขูดรีดและถูกทิ้งขว้างเหมือนแกะไม่มีผู้เลี้ยง.” (7. ขณะที่เราคอยวันของพระยะโฮวา เหตุใดเราสามารถมีความยินดี?
7 พระเยซูทรงยินดีทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 40:8) ถ้าเรามีเจตคติอย่างเดียวกัน เราจะชื่นชมยินดีในการถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้า. เช่นเดียวกับพระเยซู เราจะให้อย่างไม่เห็นแก่ตัว และการทำอย่างนั้นจะทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง. (กิจการ 20:35) ใช่แล้ว “ความยินดีในพระยะโฮวาเป็นป้อมของ [เรา].” ด้วยความยินดีอย่างนั้น เราจะพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับวันใหญ่ของพระเจ้า.—นะเฮมยา 8:10, ล.ม.
8. เหตุใดเราควรเข้าใกล้พระยะโฮวายิ่งขึ้นด้วยการอธิษฐาน?
8 การอธิษฐานอย่างแรงกล้าถึงพระเจ้าช่วยพระเยซูให้พร้อมสำหรับการทดสอบความเชื่อ. พระองค์ทรงอธิษฐานเมื่อโยฮันให้บัพติสมาแก่พระองค์. พระเยซูทรงอธิษฐานตลอดคืนเมื่อทรงเลือกอัครสาวก. (ลูกา 6:12-16) และมีผู้อ่านคัมภีร์ไบเบิลคนใดไหมที่ไม่รู้สึกประทับใจคำอธิษฐานด้วยความรู้สึกจากหัวใจของพระเยซูในคืนสุดท้ายของชีวิตพระองค์บนแผ่นดินโลก? (มาระโก 14:32-42; โยฮัน 17:1-26) คุณอธิษฐานบ่อย ๆ เหมือนพระเยซูไหม? จงเข้าเฝ้าพระยะโฮวาบ่อย ๆ, อย่ารีบอธิษฐานให้เสร็จเร็ว ๆ, ขอการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์, และพร้อมตอบรับเมื่อเห็นชัดถึงการชี้นำนั้น. ความสัมพันธ์อันมั่นคงกับพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์นั้นสำคัญมากในเวลาวิกฤตินี้ ขณะที่วันใหญ่ของพระเจ้าคืบใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว. ดังนั้น อย่ารอช้าที่จะเข้าใกล้พระยะโฮวามากขึ้นด้วยการอธิษฐานถึงพระองค์.—ยาโกโบ 4:8.
9. ความสนใจในการทำให้พระนามยะโฮวาเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์สำคัญอย่างไร?
9 ความสนใจในการทำให้พระนามอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์ยังช่วยพระเยซูด้วยให้พร้อมสำหรับการทดสอบที่พระองค์ประสบ. ที่จริง พระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกว่าเมื่ออธิษฐานถึงพระเจ้าควรขอว่า “ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์.” (มัดธาย 6:9) หากเราปรารถนาอย่างแท้จริงให้พระนามพระยะโฮวาเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์หรือศักดิ์สิทธิ์ เราจะพยายามหลีกเลี่ยงการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะนำคำตำหนิมาสู่พระนามนั้น. ผลก็คือ เราจะพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับวันใหญ่ของพระยะโฮวา.
คุณควรเปลี่ยนแปลงบางสิ่งไหม?
10. เหตุใดเราควรสำรวจชีวิตตัวเอง?
10 หากวันของพระยะโฮวามาพรุ่งนี้ คุณจะพร้อมจริง ๆ ไหมสำหรับวันนั้น? เราแต่ละคนควรสำรวจชีวิตตัวเองเพื่อดูว่ามีการกระทำหรือเจตคติใดหรือไม่ที่ต้องปรับเปลี่ยน. เมื่อคำนึงถึงชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันที่สั้นและไม่แน่นอน เราทุกคนจำเป็นต้องตื่นตัวทางฝ่ายวิญญาณทุก ๆ วัน. (ท่านผู้ประกาศ 9:11, 12; ยาโกโบ 4:13-15) ดังนั้น ให้เราพิจารณาปัจจัยบางอย่างที่เราอาจต้องใส่ใจในชีวิตเรา.
11. คุณตั้งเป้าไว้อย่างไรในการอ่านคัมภีร์ไบเบิล?
มัดธาย 24:45) คุณอาจตั้งเป้าไว้ก็ได้ว่าจะอ่านพระคัมภีร์จากเยเนซิศจนถึงวิวรณ์พร้อมกับคิดรำพึงในพระธรรมเหล่านี้ปีละหนึ่งรอบ. หากคุณอ่านประมาณวันละสี่บท คุณจะสามารถอ่าน 1,189 บทที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลจบภายในหนึ่งปี. กษัตริย์แต่ละองค์ของอิสราเอลต้องอ่านพระบัญญัติของพระยะโฮวา “มิได้ขาดจนสิ้นชีวิต.” ดูเหมือนว่ายะโฮซูอะได้ทำคล้าย ๆ กันนั้น. (พระบัญญัติ 17:14-20; ยะโฮซูอะ 1:7, 8) นับว่าสำคัญสักเพียงไรที่ผู้บำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณจะอ่านพระคำของพระเจ้าทุกวัน เพราะการทำอย่างนี้ช่วยพวกเขาให้ถ่ายทอด “คำสอนที่ก่อประโยชน์”!—ทิทุส 2:1.
11 ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือคำกระตุ้นเตือนของ “ทาสสัตย์ซื่อ” ที่ให้เราอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน. (12. ข้อเท็จจริงที่ว่าวันของพระยะโฮวาใกล้จะถึงแล้วน่าจะกระตุ้นคุณให้ทำอะไร?
12 ข้อเท็จจริงที่ว่าวันของพระยะโฮวาใกล้จะถึงแล้วน่าจะกระตุ้นคุณให้เข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำและมีส่วนร่วมเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้. (ฮีบรู 10:24, 25) การทำอย่างนี้จะช่วยคุณให้พัฒนาความสามารถในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักรที่พยายามหาและช่วยคนที่เต็มใจตอบรับความจริงซึ่งทำให้ได้ชีวิตนิรันดร์. (กิจการ 13:48) อาจเป็นได้ที่คุณสามารถมีส่วนร่วมอย่างขันแข็งในประชาคมได้มากกว่านี้ในวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น โดยช่วยผู้สูงอายุและหนุนใจเยาวชน. ความพยายามเหล่านี้ย่อมทำให้คุณมีความสุขจริง ๆ!
สายสัมพันธ์ของคุณกับคนอื่น ๆ
13. เราอาจถามตัวเราเองเช่นไรเกี่ยวกับการสวมบุคลิกภาพใหม่?
13 เนื่องจากจวนจะถึงวันของพระยะโฮวาอยู่แล้ว คุณจำเป็นต้องพยายามมากขึ้นที่จะ “สวมบุคลิกภาพใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามที่พระเจ้าทรงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซส์ 4:20-24) เมื่อคุณพัฒนาคุณลักษณะแบบพระเจ้า คนอื่น ๆ คงจะสังเกตว่าคุณกำลัง ‘ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณของพระเจ้า’ และแสดงผลของพระวิญญาณ. (กาลาเทีย 5:16, 22-25) มีแง่ใดโดยเฉพาะไหมที่คุณสามารถชี้ได้ว่าคุณและครอบครัวได้สวมบุคลิกภาพใหม่? (โกโลซาย 3:9, 10) ตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมความเชื่อและคนอื่น ๆ รู้จักคุณว่าเป็นคนที่แสดงความกรุณาไหม? (กาลาเทีย 6:10) การศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำจะช่วยคุณให้พัฒนาคุณลักษณะแบบพระเจ้าที่จะช่วยเตรียมคุณให้พร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา.
14. เหตุใดคนเราควรอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อเขาพยายามพัฒนาการรู้จักบังคับตน?
14 จะว่าอย่างไรถ้าคุณเป็นคนโมโหง่ายและรู้ตัวว่าต้องควบคุมตัวเองมากขึ้น? คุณลักษณะนั้นเป็นผลของพระวิญญาณประการหนึ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าสามารถก่อให้เกิดขึ้นในตัวคุณ. ด้วยเหตุนั้น จงอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “จงขอต่อ ๆ ไปแล้วจะได้รับ จงหาต่อ ๆ ไปแล้วจะพบ จงเคาะต่อ ๆ ไปแล้วจะเปิดให้. . . . ถ้าเจ้าทั้งหลายซึ่งแม้เป็นคนบาปก็ยังรู้จักให้ของดีแก่บุตร ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์!”—ลูกา 11:9-13.
15. หากคุณมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมความเชื่อ คุณควรทำอะไร?
15 สมมุติว่าคุณมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมความเชื่อคนหนึ่ง. หากเป็นอย่างนั้น ขอให้พยายามจริง ๆ ที่จะแก้ไขสายสัมพันธ์ที่เสียไป ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดสันติสุขและเอกภาพในประชาคม. (บทเพลงสรรเสริญ 133:1-3) จงใช้คำแนะนำของพระเยซูดังบันทึกไว้ที่มัดธาย 5:23, 24 หรือมัดธาย 18:15-17. หากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วและคุณยังโกรธอยู่ จงรีบแก้ไขเรื่องนั้นโดยเร็ว. บ่อยครั้ง สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ก็คือความเต็มใจจะให้อภัยเท่านั้นเอง. เปาโลเขียนว่า “จงกรุณาต่อกัน แสดงความเห็นใจกัน ให้อภัยกันอย่างใจกว้างอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่านทั้งหลายอย่างใจกว้างโดยพระคริสต์เช่นกัน.”—เอเฟโซส์ 4:25, 26, 32.
16. จำเป็นต้องแสดงความเห็นใจกันอย่างไรในชีวิตสมรส?
16 ในสายสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา จำเป็นต้องแสดงความเห็นใจกัน และบางครั้งก็ต้องให้อภัยกัน. หากคุณจำเป็นต้องแสดงความรักและความเห็นใจต่อคู่สมรสมากขึ้น ก็จงพยายามบรรลุเป้าหมายนี้โดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้าและพระคำของพระองค์. มีอะไรที่คุณเองจำเป็นต้องทำไหมตามที่กล่าวไว้ใน 1 โครินท์ 7:1-5 เพื่อทำให้ความสัมพันธ์กับคู่สมรสดีขึ้นและไม่ให้เกิดการนอกใจกัน? แน่นอน นี่เป็นแง่หนึ่งของชีวิตที่สามีหรือภรรยาจำเป็นต้อง “เห็นใจกัน.”
17. คนที่ทำผิดร้ายแรงควรดำเนินการอย่างไรบ้าง?
ยาโกโบ 5:13-16) จงอธิษฐานถึงพระยะโฮวาโดยมีเจตคติที่แสดงถึงการกลับใจ. หากไม่ได้ทำอย่างนั้น คุณก็จะรู้สึกผิดและสติรู้สึกผิดชอบจะรบกวนใจคุณ. ดาวิดเคยมีประสบการณ์แบบนั้น แต่เมื่อท่านสารภาพต่อพระยะโฮวาแล้ว ท่านรู้สึกโล่งอกสักเพียงไร! ดาวิดเขียนไว้ว่า “ความสุขย่อมมีแก่ผู้ซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดยกการล่วงละเมิด, และได้ทรงกลบเกลื่อนความบาปของเขาไว้แล้ว. ความสุขย่อมมีแก่ผู้ที่พระยะโฮวาไม่ทรงถือโทษ, และในใจของเขาไม่มีกลอุบาย.” (บทเพลงสรรเสริญ 32:1-5) พระยะโฮวาทรงให้อภัยคนที่ทำผิดแต่กลับใจอย่างแท้จริง.—บทเพลงสรรเสริญ 103:8-14; สุภาษิต 28:13.
17 จะว่าอย่างไรหากคุณทำผิดร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง? จงรีบลงมือแก้ไขโดยเร็วที่สุด. จงขอความช่วยเหลือจากคริสเตียนผู้ปกครอง. คำอธิษฐานและคำแนะนำของพวกเขาจะช่วยให้คุณฟื้นตัวทางฝ่ายวิญญาณ. (รักษาตัวไม่เป็นส่วนของโลก
18. คุณควรมีทัศนะอย่างไรต่อโลก?
18 ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณคาดหวังจะได้อยู่ในโลกใหม่อันยอดเยี่ยมที่พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ทรงสัญญาไว้. ถ้าอย่างนั้น คุณมีทัศนะอย่างไรต่อโลกแห่งสังคมมนุษย์ที่ไม่ชอบธรรมซึ่งเหินห่างจากพระเจ้า? ซาตาน “ผู้ปกครองโลก” ไม่มีอำนาจเหนือพระเยซูคริสต์. (โยฮัน 12:31; 14:30) แน่นอน คุณก็ไม่ต้องการให้พญามารและโลกของมันมีอำนาจเหนือคุณเช่นกัน ดังนั้น ขอให้ใส่ใจข้อความที่อัครสาวกโยฮันเขียนไว้ว่า “อย่ารักโลกหรือสิ่งของในโลก.” นั่นเป็นแนวทางที่ฉลาดสุขุม เพราะ “โลกกำลังจะสูญไปและความปรารถนาของโลกก็เช่นกัน แต่ผู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าจะคงอยู่ตลอดไป.”—1 โยฮัน 2:15-17.
19. หนุ่มสาวคริสเตียนได้รับการกระตุ้นให้ตั้งเป้าแบบไหน?
19 คุณกำลังช่วยบุตร “รักษาตัวให้ปราศจากด่างพร้อยของโลก” อยู่ไหม? (ยาโกโบ 1:27) ซาตานคงต้องการจะดึงลูก ๆ ของคุณเข้าไปหามันเหมือนกับคนตกปลาที่หมุนรอกดึงปลาเข้าไปหาเขา. ชมรมและองค์การต่าง ๆ ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดึงดูดให้เยาวชนรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในโลกของซาตาน. แต่ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การเดียวเท่านั้นที่จะรอดผ่านอวสานของระบบชั่วนี้. ดังนั้น ควรสนับสนุนเยาวชนคริสเตียนให้ “หมกมุ่นในการทำงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีให้ทำมากมาย.” (1 โครินท์ 15:58) บิดามารดาที่เลื่อมใสพระเจ้าจำเป็นต้องช่วยบุตรให้ตั้งเป้าที่จะทำให้พวกเขามีความสุขและมีชีวิตที่น่าพอใจซึ่งถวายเกียรติแด่พระเจ้าและช่วยพวกเขาให้พร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา.
มองเลยวันใหญ่ของพระยะโฮวาไป
20. เหตุใดเราควรหวังอยู่เสมอว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์?
20 คุณจะสามารถคอยท่าวันของพระยะโฮวาด้วยใจสงบ หากคุณหวังอยู่เสมอว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์. (ยูดา 20, 21) คุณคอยท่าจะได้ชีวิตนิรันดร์ในอุทยาน และนั่นทำให้คุณมีความหวังที่จะกลับมีกำลังวังชาอย่างคนหนุ่มสาวและมีเวลาไม่จำกัดในการบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่ดีงามและเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระยะโฮวา. อันที่จริง คุณสามารถเรียนรู้ต่อ ๆ ไปและตลอดไปเกี่ยวกับพระเจ้า เพราะในเวลานี้มนุษย์เรารู้เพียง “ผิวนอกแห่งราชกิจของพระองค์.” (โยบ 26:14) ช่างเป็นความคาดหวังที่น่าตื่นเต้นจริง ๆ!
21, 22. อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอะไรกันบ้างระหว่างคุณกับคนที่ถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย?
21 ในอุทยาน คนที่ถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายจะสามารถให้รายละเอียดบางอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต. ฮะโนคจะอยู่ที่นั่นและอธิบายให้เราฟังว่าอะไรทำให้ท่านกล้าประกาศข่าวสารของพระยะโฮวาแก่ผู้คนที่ดูหมิ่นพระเจ้า. (ยูดา 14, 15) โนฮาจะเล่าให้เราฟัง อย่างแน่นอนเกี่ยวกับวิธีที่ท่านสร้างนาวา. อับราฮามและซาราห์จะสามารถเปิดเผยให้เราทราบว่าท่านทั้งสองรู้สึกอย่างไรเมื่อต้องย้ายออกจากเมืองอูร์ที่สะดวกสบายไปอาศัยอยู่ในเต็นท์. ขอให้นึกภาพว่าเอศเธระกำลังเล่ารายละเอียดวิธีที่เธอปกป้องผลประโยชน์ของเพื่อนร่วมชาติและปกป้องพวกเขาไว้จากแผนร้ายของฮามาน. (เอศเธระ 7:1-6) ลองนึกภาพโยนาขณะท่านเล่าประสบการณ์ตอนที่ท่านอยู่ในท้องปลาใหญ่สามวัน หรือโยฮันผู้ให้บัพติสมาพรรณนาความรู้สึกของท่านตอนให้บัพติสมาแก่พระเยซู. (ลูกา 3:21, 22; 7:28) มีเรื่องราวที่น่าสนใจให้เรียนรู้ได้มากมายจริง ๆ!
22 ระหว่างรัชสมัยพันปีของพระคริสต์ คุณอาจได้รับสิทธิพิเศษในการช่วยคนที่ถูกปลุกเป็นขึ้นจากตายให้รับเอา “ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า.” (สุภาษิต 2:1-6, ล.ม.) ปัจจุบัน นับเป็นเรื่องน่ายินดีจริง ๆ ที่เห็นผู้คนรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้าและปฏิบัติตามความรู้นั้น! แต่ลองคิดดูสิถึงความยินดีในอนาคตเมื่อพระยะโฮวาทรงอวยพรความพยายามของคุณในการสอนผู้คนที่มาจากยุคโบราณและพวกเขาตอบรับด้วยความหยั่งรู้ค่าจากหัวใจ!
23. เราควรตั้งใจแน่วแน่จะทำอะไร?
23 ในเวลานี้ เราในฐานะประชาชนของพระยะโฮวาได้รับประโยชน์มากมายเกินกว่าที่มนุษย์ไม่สมบูรณ์อย่างเราจะกล่าวถึงและประเมินค่าได้ทั้งหมด. (บทเพลงสรรเสริญ 40:5) เรารู้สึกขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมให้เราทางฝ่ายวิญญาณ. (ยะซายา 48:17, 18) ไม่ว่าสถานการณ์ของเราเป็นอย่างไร ให้เราถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์อย่างสุดหัวใจขณะที่เราคอยท่าวันใหญ่ของพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• “วันของพระยะโฮวา” คืออะไร?
• คุณจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าคุณเองพร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา?
• เนื่องจากวันของพระยะโฮวาจวนจะถึงเต็มทีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?
• คุณคอยท่าจะได้เห็นอะไรเมื่อวันของพระยะโฮวาผ่านพ้นไปแล้ว?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
พระเยซูทรงพิสูจน์ว่าพระองค์พร้อมสำหรับการทดสอบ
[ภาพหน้า 15]
นับเป็นสิทธิพิเศษสักเพียงไรที่จะช่วยคนที่ถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา!