ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การสมรสและการเป็นบิดามารดาในสมัยสุดท้ายนี้

การสมรสและการเป็นบิดามารดาในสมัยสุดท้ายนี้

การ​สมรส​และ​การ​เป็น​บิดา​มารดา​ใน​สมัย​สุด​ท้าย​นี้

“เวลา​เหลือ​น้อย​แล้ว.”—1 โค. 7:29.

1. (ก) มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​อะไร​บ้าง​ใน​ปัจจุบัน​ซึ่ง​รวม​อยู่​ใน​สิ่ง​ต่าง ๆ ที่ “ยาก​จะ​รับมือ​ได้”? (ข) เหตุ​ใด​เรา​ควร​สนใจ​ใน​เรื่อง​ค่า​นิยม​เกี่ยว​กับ​ครอบครัว​ที่​เปลี่ยน​ไป?

พระ​คำ​ของ​พระเจ้า​บอก​ล่วง​หน้า​ว่า​ใน “เวลา​เบื้อง​ปลาย” จะ​เกิด​เหตุ​การณ์​เด่น ๆ คือ สงคราม, แผ่นดิน​ไหว, การ​กันดาร​อาหาร, และ​โรค​ระบาด. (ดานิ. 8:17, 19; ลูกา 21:10, 11) คัมภีร์​ไบเบิล​ยัง​เตือน​ด้วย​ว่า​ช่วง​เวลา​สำคัญ​นี้​ใน​ประวัติศาสตร์​ของ​มนุษย์​จะ​เป็น​ช่วง​ที่​มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​ทาง​สังคม​อย่าง​มาก. จะ​เกิด​ความ​ปั่นป่วน​ใน​ชีวิต​ครอบครัว นอก​เหนือ​จาก​สิ่ง​อื่น ๆ ที่ “ยาก​จะ​รับมือ​ได้” ใน “สมัย​สุด​ท้าย” อัน​วิกฤติ​นี้. (2 ติโม. 3:1-4) เหตุ​ใด​เรา​ควร​สนใจ​การ​เปลี่ยน​แปลง​เช่น​นั้น? เพราะ​การ​เปลี่ยน​แปลง​ดัง​กล่าว​มี​ขอบ​เขต​กว้างขวาง​และ​รุนแรง​มาก​จน​สามารถ​ส่ง​ผล​กระทบ​ต่อ​ทัศนะ​ที่​คริสเตียน​มี​ต่อ​การ​สมรส​และ​การ​เป็น​บิดา​มารดา. เป็น​เช่น​นั้น​อย่าง​ไร?

2. ผู้​คน​ทั่ว​ไป​ใน​โลก​มี​ทัศนะ​อย่าง​ไร​ต่อ​การ​สมรส​และ​การ​หย่าร้าง?

2 ใน​สมัย​นี้ การ​หย่าร้าง​กลาย​เป็น​เรื่อง​ที่​ทำ​กัน​ง่าย​ดาย​และ​แพร่​หลาย และ​อัตรา​การ​หย่าร้าง​ใน​หลาย​ประเทศ​กำลัง​เพิ่ม​ขึ้น​อย่าง​รวด​เร็ว. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เรา​ควร​คำนึง​เสมอ​ว่า​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ทรง​มี​ทัศนะ​ที่​แตกต่าง​อย่าง​สิ้นเชิง​ใน​เรื่อง​การ​สมรส​และ​การ​หย่าร้าง​เมื่อ​เทียบ​กับ​ทัศนะ​ที่​ได้​รับ​การ​ยอม​รับ​โดย​ทั่ว​ไป​ใน​โลก​รอบ​ตัว​เรา. ถ้า​อย่าง​นั้น พระ​ยะโฮวา​ทรง​มี​ทัศนะ​เช่น​ไร?

3. พระ​ยะโฮวา​และ​พระ​เยซู​คริสต์​ทรง​มี​ทัศนะ​อย่าง​ไร​ต่อ​การ​สมรส?

3 พระ​ยะโฮวา​เจ้า​ทรง​คาด​หมาย​ให้​คน​ที่​สมรส​แล้ว​รักษา​คำ​ปฏิญาณ​การ​สมรส. เมื่อ​พระ​ยะโฮวา​ทรง​ผูก​สัมพันธ์​ชาย​หญิง​คู่​แรก​ด้วย​สาย​สมรส พระองค์​ตรัส​ว่า “ผู้​ชาย​จึง​จะ . . . ผูก​พัน​อยู่​กับ​ภรรยา และ​เขา​ทั้ง​สอง​จะ​เป็น​เนื้อหนัง​อัน​เดียว​กัน.” ใน​ภาย​หลัง พระ​เยซู​คริสต์​ตรัส​ซ้ำ​พระ​ดำรัส​ดัง​กล่าว​และ​ตรัส​เสริม​ว่า “ฉะนั้น ที่​พระเจ้า​ทรง​ผูก​มัด​ไว้​ด้วย​กัน​แล้ว​นั้น​อย่า​ให้​มนุษย์​ทำ​ให้​แยก​จาก​กัน​เลย.” พระ​เยซู​ตรัส​ต่อ​ไป​อีก​ว่า “ผู้​ใด​ที่​หย่า​ภรรยา​แล้ว​แต่งงาน​ใหม่​ก็​เป็น​คน​เล่นชู้ เว้น​แต่​หย่า​เพราะ​เหตุ​ที่​นาง​ผิด​ประเวณี.” (เย. 2:24; มัด. 19:3-6, 9) ดัง​นั้น พระ​ยะโฮวา​และ​พระ​เยซู​ทรง​ถือ​ว่า​การ​สมรส​เป็น​พันธะ​ชั่ว​ชีวิต​ซึ่ง​จะ​สิ้น​สุด​ลง​ก็​ต่อ​เมื่อ​คู่​สมรส​เสีย​ชีวิต. (1 โค. 7:39) เนื่อง​จาก​การ​สมรส​เป็น​การ​จัด​เตรียม​อัน​ศักดิ์สิทธิ์ จึง​ควร​ถือ​ว่า​การ​หย่าร้าง​เป็น​เรื่อง​ร้ายแรง. ที่​จริง พระ​คำ​ของ​พระเจ้า​กล่าว​ว่า​พระ​ยะโฮวา​ทรง​เกลียด​ชัง​การ​หย่าร้าง​ที่​ไม่​ถูก​ต้อง​ตาม​หลักการ​ใน​พระ​คัมภีร์. *อ่าน​มาลาคี 2:13-16; 3:6.

รับผิดชอบ​ต่อ​สาย​สมรส

4. เหตุ​ใด​หนุ่ม​สาว​คริสเตียน​บาง​คน​สำนึก​เสียใจ​ที่​รีบ​แต่งงาน?

4 โลก​ชั่ว​ที่​เรา​มี​ชีวิต​อยู่​นี้​ถูก​ครอบ​งำ​ด้วย​เรื่อง​เพศ. ทุก​วัน เรา​พบ​เห็น​ภาพ​ยั่วยวน​กามารมณ์​มาก​มาย​ที่​มุ่ง​เข้า​มา​หา​เรา. เรา​ไม่​อาจ​เพิกเฉย​ผล​กระทบ​ที่​สิ่ง​เหล่า​นั้น​มี​ต่อ​เรา​ได้​เลย โดย​เฉพาะ​ต่อ​เยาวชน​ที่​เรา​รัก​ใน​ประชาคม. คริสเตียน​หนุ่ม​สาว​ควร​มี​ปฏิกิริยา​อย่าง​ไร​ต่อ​อิทธิพล​ที่​ไม่​ดี​งาม​นี้​ซึ่ง​อาจ​ปลุก​เร้า​ความ​ปรารถนา​ทาง​เพศ​ได้​แม้​ว่า​เขา​พยายาม​ต่อ​ต้าน​ความ​ปรารถนา​แบบ​นั้น​แล้ว​ก็​ตาม? บาง​คน​ได้​พยายาม​แก้​ปัญหา​ด้วย​การ​แต่งงาน​ตั้ง​แต่​อายุ​ยัง​น้อย ๆ. ด้วย​วิธี​นั้น พวก​เขา​หวัง​ว่า​จะ​ช่วย​ให้​ไม่​พลาด​พลั้ง​ทำ​ผิด​ศีลธรรม​ทาง​เพศ. แต่​ไม่​นาน​นัก บาง​คน​สำนึก​เสียใจ​ที่​ตัดสิน​ใจ​อย่าง​นั้น. เพราะ​เหตุ​ใด? เพราะ​เมื่อ​ความ​ตื่นเต้น​จาก​การ​แต่งงาน​จาง​หาย​ไป​แล้ว พวก​เขา​ตระหนัก​ว่า​ตัว​เขา​กับ​คู่​ของ​ตน​มี​ความ​แตกต่าง​กัน​มาก​ใน​เรื่อง​การ​ใช้​ชีวิต​แต่​ละ​วัน. จึง​เป็น​เรื่อง​เข้าใจ​ได้​เมื่อ​คู่​สมรส​ที่​อยู่​ใน​สภาพ​แบบ​นั้น​ประสบ​ปัญหา​ร้ายแรง.

5. อะไร​จะ​ช่วย​คู่​สมรส​ให้​รักษา​คำ​ปฏิญาณ​การ​สมรส? (โปรด​ดู​เชิงอรรถ​ด้วย.)

5 การ​แต่งงาน​กับ​คน​ที่​มี​ลักษณะ​ต่าง​จาก​ที่​คุณ​คาด​หมาย​ไว้​มาก—แม้​แต่​กับ​เพื่อน​คริสเตียน—อาจ​ทำ​ให้​เกิด​ปัญหา​ยุ่งยาก​ได้​อย่าง​แน่นอน. (1 โค. 7:28) แต่​ไม่​ว่า​อาจ​มี​ปัญหา​มาก​ขนาด​ไหน​ก็​ตาม คริสเตียน​แท้​รู้​ว่า​การ​หย่า​ที่​ไม่​ถูก​ต้อง​ตาม​หลัก​พระ​คัมภีร์​ไม่​ใช่​แนว​ทาง​ที่​ยอม​รับ​ได้​ใน​การ​แก้​ปัญหา​ที่​เกิด​จาก​การ​แต่งงาน​ที่​เข้า​กัน​ไม่​ได้. ดัง​นั้น คน​ที่​พยายาม​อย่าง​หนัก​เพื่อ​รักษา​ชีวิต​สมรส​ไว้​เพราะ​ต้องการ​รักษา​คำ​ปฏิญาณ​การ​สมรส​สม​ควร​ได้​รับ​การ​ช่วยเหลือ​ด้วย​ความ​รัก​และ​นับถือ​จาก​ประชาคม​คริสเตียน. *

6. หนุ่ม​สาว​คริสเตียน​ควร​มี​ทัศนะ​อย่าง​ไร​เมื่อ​นึก​ถึง​การ​สมรส?

6 คุณ​อายุ​ยัง​น้อย​และ​ยัง​ไม่​ได้​แต่งงาน​ไหม? ถ้า​อย่าง​นั้น คุณ​ควร​มี​ทัศนะ​อย่าง​ไร​เมื่อ​นึก​ถึง​การ​แต่งงาน? คุณ​มี​โอกาส​จะ​หลีก​เลี่ยง​สถานการณ์​ที่​ทำ​ให้​ปวด​ร้าว​ใจ​ได้​มาก​หาก​คุณ​คอย​จน​กระทั่ง​ตัว​คุณ​เอง​พร้อม​สำหรับ​การ​แต่งงาน​ทั้ง​ด้าน​ร่าง​กาย, จิตใจ, และ​วิญญาณ ก่อน​จะ​เริ่ม​มี​ความ​สัมพันธ์​ใกล้​ชิด​กับ​เพศ​ตรง​ข้าม​ที่​เป็น​คริสเตียน​ด้วย​กัน. จริง​อยู่​ที่​พระ​คัมภีร์​ไม่​ได้​กำหนด​ว่า​ต้อง​อายุ​เท่า​ไร​จึง​จะ​สมรส​ได้. * แต่​คัมภีร์​ไบเบิล​ชี้​ว่า​คุณ​ควร​คอย​จน​กระทั่ง​เลย​ช่วง​เวลา​ใน​ชีวิต​ที่​มี​ความ​รู้สึก​ทาง​เพศ​แรง​กล้า​มาก. (1 โค. 7:36) เพราะ​เหตุ​ใด? เพราะ​แรง​กระตุ้น​ทาง​เพศ​ที่​แรง​กล้า​อาจ​ทำ​ให้​วิจารณญาณ​เสีย​ไป และ​ทำ​ให้​คุณ​ตัดสิน​ใจ​อย่าง​ไม่​สุขุม​ซึ่ง​อาจ​ยัง​ผล​เป็น​ความ​ปวด​ร้าว​ใจ​ใน​ภาย​หลัง. จำ​ไว้​ว่า คำ​แนะ​นำ​อัน​สุขุม​ของ​พระ​ยะโฮวา​ใน​เรื่อง​การ​สมรส​มี​บันทึก​ไว้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​เพื่อ​ประโยชน์​และ​ความ​สุข​ของ​คุณ.—อ่าน​ยะซายา 48:17, 18.

การ​เป็น​บิดา​มารดา​ที่​รับผิดชอบ

7. คู่​สมรส​ที่​อายุ​ยัง​น้อย​บาง​คู่​ตก​อยู่​ใน​สถานการณ์​แบบ​ไหน และ​เหตุ​ใด​นั่น​ทำ​ให้​ชีวิต​สมรส​ตึงเครียด​ได้?

7 บาง​คู่​ที่​แต่งงาน​เมื่อ​อายุ​ยัง​น้อย​พบ​ว่า​เขา​กำลัง​จะ​กลาย​เป็น​พ่อ​คน​แม่​คน​ตอน​ที่​เขา​เอง​ยัง​ไม่​พ้น​วัยรุ่น​ดี. พวก​เขา​ไม่​ทัน​ได้​รู้​จัก​กัน​ดี​จริง ๆ ก่อน​ที่​ลูก​จะ​เกิด​มา แล้ว​ต้อง​มา​ดู​แล​เอา​ใจ​ใส่​ลูก​ตลอด 24 ชั่วโมง. เมื่อ​ทารก​ที่​เพิ่ง​คลอด​กลาย​เป็น​จุด​รวม​ความ​สนใจ​ของ​มารดา ซึ่ง​ก็​เป็น​เรื่อง​ธรรมดา​ที่​จะ​เป็น​อย่าง​นั้น สามี​ที่​อายุ​ยัง​น้อย​อาจ​รู้สึก​อิจฉา. นอก​จาก​นั้น การ​ที่​พ่อ​แม่​แทบ​ไม่​ได้​หลับ​ไม่​ได้​นอน​เพราะ​ต้อง​ดู​แล​ลูก​น้อย​ก็​อาจ​ทำ​ให้​เกิด​ความ​เครียด​ที่​ทำ​ให้​สาย​สัมพันธ์​ของ​ทั้ง​สอง​ตึงเครียด. ทั้ง​สอง​ตระหนัก​ขึ้น​มา​ใน​ทันใด​ว่า​เขา​สูญ​เสีย​อิสรภาพ​ไป​มาก​ที​เดียว. ตอน​นี้​เขา​ไม่​สามารถ​ไป​ไหน​มา​ไหน​และ​ทำ​สิ่ง​ต่าง ๆ อย่าง​เป็น​อิสระ​เหมือน​แต่​ก่อน. เขา​ควร​มอง​สถานการณ์​ที่​เปลี่ยน​ไป​อย่าง​ไร?

8. คู่​สมรส​ควร​มี​ทัศนะ​อย่าง​ไร​ต่อ​การ​เป็น​บิดา​มารดา และ​เพราะ​เหตุ​ใด?

8 เช่น​เดียว​กับ​ที่​ควร​สมรส​อย่าง​ที่​สำนึก​ถึง​ความ​รับผิดชอบ ควร​ถือ​ว่า​การ​เป็น​บิดา​มารดา​เป็น​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​และ​สิทธิ​พิเศษ​ที่​พระเจ้า​ประทาน​ให้. ไม่​ว่า​การ​เกิด​มา​ของ​ทารก​อาจ​ทำ​ให้​ต้อง​ปรับ​เปลี่ยน​อะไร​บ้าง​ก็​ตาม​ใน​ชีวิต​ของ​คู่​สมรส​คริสเตียน เขา​ควร​พร้อม​จะ​ทำ​อย่าง​เต็ม​ที่​ใน​วิธี​ที่​แสดง​ถึง​ความ​รับผิดชอบ. เนื่อง​จาก​พระ​ยะโฮวา​ประทาน​ความ​สามารถ​ให้​มนุษย์​มี​บุตร​ได้ บิดา​มารดา​ต้อง​ถือ​ว่า​ทารก​ที่​เพิ่ง​คลอด​เป็น “มรดก​จาก​พระ​ยะโฮวา.” (เพลง. 127:3) บิดา​มารดา​คริสเตียน​จะ​พยายาม​ทำ​หน้า​ที่​ของ​ตน​ใน​ฐานะ “บิดา​มารดา​อย่าง​ที่​ประสาน​กับ​พระ​ประสงค์​ของ​พระเจ้า.”—เอเฟ. 6:1.

9. (ก) การ​เลี้ยง​ดู​บุตร​หมาย​รวม​ถึง​อะไร​บ้าง? (ข) สามี​อาจ​ทำ​อะไร​ได้​บ้าง​เพื่อ​ช่วย​ภรรยา​ให้​แข็งแรง​ฝ่าย​วิญญาณ?

9 การ​เลี้ยง​ลูก​หมาย​รวม​ถึง​การ​เสีย​สละ​ตัว​เอง​หลาย​ปี. การ​เลี้ยง​ลูก​ต้อง​ทุ่มเท​ให้​ทั้ง​เวลา​และ​แรง​กาย. สามี​คริสเตียน​ต้อง​เข้าใจ​ว่า​จะ​เป็น​เวลา​หลาย​ปี​ที​เดียว​หลัง​จาก​ทารก​คลอด​มา​ซึ่ง​ภรรยา​คง​ไม่​มี​สมาธิ​จดจ่อ​กับ​การ​ประชุม​มาก​นัก และ​เธอ​อาจ​มี​โอกาส​น้อย​ลง​ใน​การ​ศึกษา​พระ​คัมภีร์​เป็น​ส่วน​ตัว​และ​การ​คิด​รำพึง. นี่​อาจ​ส่ง​ผล​ทำ​ให้​สุขภาพ​ฝ่าย​วิญญาณ​ของ​เธอ​อ่อนแอ​ลง. เพื่อ​จะ​เป็น​บิดา​ที่​รับผิดชอบ สามี​ต้อง​ทำ​ทุก​สิ่ง​ที่​เขา​สามารถ​ทำ​ได้​อย่าง​สม​เหตุ​ผล​เพื่อ​ช่วย​ภรรยา​เลี้ยง​ลูก. เขา​อาจ​พยายาม​ชดเชย​สิ่ง​ที่​ภรรยา​อาจ​พลาด​ไป ณ การ​ประชุม โดย​พิจารณา​กับ​เธอ​บาง​จุด​จาก​ระเบียบ​วาระ​การ​ประชุม​ใน​ภาย​หลัง​ที่​บ้าน. เขา​อาจ​ช่วย​เลี้ยง​ลูก​ด้วย​เพื่อ​ให้​ภรรยา​มี​โอกาส​จะ​เข้า​ร่วม​กับ​พี่​น้อง​ใน​งาน​ประกาศ​เรื่อง​ราชอาณาจักร​ได้​มาก​พอ.—อ่าน​ฟิลิปปอย 2:3, 4.

10, 11. (ก) บุตร​จะ​ได้​รับ​การ “ปลูกฝัง​แนว​คิด” ของ​พระ​ยะโฮวา​ได้​อย่าง​ไร? (ข) เหตุ​ใด​บิดา​มารดา​คริสเตียน​หลาย​คน​สม​ควร​ได้​รับ​คำ​ชมเชย?

10 การ​เป็น​บิดา​มารดา​ที่​รับผิดชอบ​ต้อง​ทำ​ไม่​เพียง​แค่​จัด​หา​อาหาร, เสื้อ​ผ้า, ที่​อยู่​อาศัย​ให้​บุตร, และ​เอา​ใจ​ใส่​สุขภาพ​ของ​เขา​เท่า​นั้น. โดย​เฉพาะ​ใน​ช่วง​อวสาน​ที่​เต็ม​ไป​ด้วย​อันตราย​อย่าง​นี้ เยาวชน​จำ​ต้อง​เรียน​รู้​หลักการ​ด้าน​ศีลธรรม​ใน​การ​ดำเนิน​ชีวิต​ตั้ง​แต่​อายุ​ยัง​น้อย. บุตร​ควร​ได้​รับ​การ​เลี้ยง​ดู “ด้วย​การ​ตี​สอน​จาก​พระ​ยะโฮวา​และ​ปลูกฝัง​แนว​คิด​ของ​พระองค์​ให้​เขา.” (เอเฟ. 6:4) การ “ปลูกฝัง​แนว​คิด” แบบ​นี้​หมาย​รวม​ถึง​การ​ปลูกฝัง​แนว​คิด​ของ​พระ​ยะโฮวา​ลง​ใน​จิตใจ​ของ​บุตร​ตั้ง​แต่​ยัง​เป็น​ทารก​แบ​เบาะ​จน​กระทั่ง​เขา​เป็น​วัยรุ่น​ซึ่ง​เป็น​ช่วง​หัวเลี้ยว​หัวต่อ.—2 ติโม. 3:14, 15.

11 เมื่อ​พระ​เยซู​ทรง​บอก​เหล่า​สาวก​ว่า​พวก​เขา​ควร “สอน​คน​จาก​ทุก​ชาติ​ให้​เป็น​สาวก” เป็น​เรื่อง​แน่นอน​ที่​สุด​ว่า​พระองค์​ทรง​หมาย​ความ​ว่า​บิดา​มารดา​ควร​ช่วย​บุตร​ให้​เป็น​สาวก. (มัด. 28:19, 20) นั่น​ไม่​ใช่​เรื่อง​ง่าย​เลย​เมื่อ​นึก​ถึง​ว่า​เยาวชน​ถูก​กดดัน​จาก​โลก​มาก​ขนาด​ไหน. ด้วย​เหตุ​นั้น บิดา​มารดา​ที่​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ใน​การ​เลี้ยง​ดู​บุตร​ให้​เป็น​คริสเตียน​ที่​อุทิศ​ตัว​จึง​สม​ควร​อย่าง​แท้​จริง​จะ​ได้​รับ​คำ​ชมเชย​อย่าง​อบอุ่น​จาก​ทุก​คน​ใน​ประชาคม. พวก​เขา​ได้ ‘เอา​ชนะ’ อิทธิพล​ของ​โลก​ด้วย​ความ​เชื่อ​และ​ความ​ซื่อ​สัตย์​ของ​เขา​ใน​ฐานะ​บิดา​มารดา​ที่​รับผิดชอบ.—1 โย. 5:4.

เป็น​โสด​หรือ​ไม่​มี​บุตร​โดย​มี​เป้าหมาย​ที่​ดี​งาม

12. เหตุ​ใด​คริสเตียน​บาง​คน​ตัดสิน​ใจ​ครอง​ตัว​เป็น​โสด​ชั่ว​ระยะ​หนึ่ง?

12 เนื่อง​จาก “เวลา​เหลือ​น้อย​แล้ว” และ “โลก​นี้​กำลัง​เปลี่ยน​ไป​เหมือน​ละคร​เปลี่ยน​ฉาก” พระ​คำ​ของ​พระเจ้า​กระตุ้น​เรา​ให้​พิจารณา​ผล​ประโยชน์​ของ​การ​เป็น​โสด. (1 โค. 7:29-31) ดัง​นั้น คริสเตียน​บาง​คน​เลือก​อยู่​เป็น​โสด​ตลอด​ชีวิต​หรือ​ตัดสิน​ใจ​ครอง​ตัว​เป็น​โสด​ระยะ​หนึ่ง​ก่อน​จะ​แต่งงาน. เป็น​เรื่อง​น่า​ชมเชย​ที่​พวก​เขา​ไม่​ได้​ฉวย​ประโยชน์​จาก​ความ​เป็น​อิสระ​ของ​การ​เป็น​โสด​เพื่อ​แสวง​ประโยชน์​แบบ​เห็น​แก่​ตัว. หลาย​คน​ครอง​ตัว​เป็น​โสด​เพื่อ​จะ​รับใช้​พระ​ยะโฮวา “โดย​ไม่​วอกแวก.” (อ่าน 1 โครินท์ 7:32-35.) คริสเตียน​โสด​บาง​คน​รับใช้​เป็น​ไพโอเนียร์​หรือ​สมาชิก​ครอบครัว​เบเธล. หลาย​คน​พยายาม​ทำ​ตัว​ให้​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​องค์การ​ของ​พระ​ยะโฮวา​มาก​ขึ้น​โดย​พัฒนา​ตัว​จน​มี​คุณสมบัติ​ที่​จะ​เข้า​อบรม​ใน​โรง​เรียน​ฝึก​อบรม​เพื่อ​การ​รับใช้. ที่​จริง บ่อย​ครั้ง​คน​ที่​เป็น​ผู้​รับใช้​เต็ม​เวลา​มา​ระยะ​หนึ่ง​ใน​ช่วง​ที่​เป็น​โสด แล้ว​ใน​ภาย​หลัง​จึง​ตัดสิน​ใจ​แต่งงาน รู้สึก​ว่า​ชีวิต​สมรส​ของ​พวก​เขา​ยัง​คง​ได้​รับ​ประโยชน์​จาก​บทเรียน​อัน​มี​ค่า​ที่​ได้​เรียน​รู้​ใน​ช่วง​แรก​ของ​ชีวิต.

13. เหตุ​ใด​คู่​สมรส​คริสเตียน​บาง​คู่​จึง​ตัดสิน​ใจ​เลือก​จะ​ไม่​มี​บุตร?

13 ใน​บาง​ส่วน​ของ​โลก ยัง​มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​อีก​อย่าง​หนึ่ง​เกิด​ขึ้น​กับ​ชีวิต​ครอบครัว นั่น​คือ หลาย​คู่​ได้​ตัดสิน​ใจ​จะ​ไม่​มี​บุตร. บาง​คน​ทำ​อย่าง​นั้น​เพราะ​เหตุ​ผล​ด้าน​การ​เงิน; คน​อื่น ๆ ทำ​อย่าง​นั้น​เพราะ​ต้องการ​มี​อิสระ​เพื่อ​จะ​สามารถ​ทำ​งาน​ทำ​เงิน​ได้​เต็ม​ที่. ใน​ท่ามกลาง​ครอบครัว​คริสเตียน มี​บาง​คู่​ด้วย​ที่​เลือก​จะ​ไม่​มี​บุตร. อย่าง​ไร​ก็​ตาม บ่อย​ครั้ง​ที่​คริสเตียน​เลือก​อย่าง​นั้น​ก็​เพื่อ​จะ​มี​อิสระ​มาก​ขึ้น​ใน​การ​รับใช้​พระ​ยะโฮวา. นี่​ไม่​ได้​หมาย​ความ​ว่า​คู่​สมรส​เหล่า​นี้​ไม่​เพลิดเพลิน​กับ​ชีวิต​สมรส​แบบ​ปกติ​เหมือน​คน​อื่น. พวก​เขา​มี​ชีวิต​สมรส​แบบ​ปกติ. ถึง​กระนั้น พวก​เขา​ยินดี​สละ​พระ​พร​บาง​อย่าง​ซึ่ง​เกิด​จาก​ชีวิต​สมรส​เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ของ​ราชอาณาจักร​มา​เป็น​อันดับ​แรก. (1 โค. 7:3-5) คู่​สมรส​เหล่า​นี้​บาง​คู่​รับใช้​พระ​ยะโฮวา​และ​รับใช้​พี่​น้อง​ใน​งาน​หมวด และ​งาน​ภาค หรือ​งาน​ที่​เบเธล. คน​อื่น ๆ รับใช้​เป็น​ไพโอเนียร์​หรือ​มิชชันนารี. พระ​ยะโฮวา​จะ​ไม่​ทรง​ลืม​การ​งาน​และ​ความ​รัก​ที่​พวก​เขา​แสดง​ต่อ​พระ​นาม​ของ​พระองค์.—ฮีบรู 6:10.

“ความ​ยาก​ลำบาก​ใน​ชีวิต”

14, 15. บิดา​มารดา​คริสเตียน​อาจ​ประสบ “ความ​ยาก​ลำบาก​ใน​ชีวิต” เช่น​ไร?

14 อัครสาวก​เปาโล​บอก​คริสเตียน​ที่​แต่งงาน​ว่า​เขา​จะ “มี​ความ​ยาก​ลำบาก​ใน​ชีวิต.” (1 โค. 7:28, ฉบับ 2002) นี่​อาจ​หมาย​รวม​ถึง​ปัญหา​สุขภาพ​ของ​คู่​สมรส, ของ​บุตร, หรือ​ของ​บิดา​มารดา​ที่​อายุ​มาก. ความ​ลำบาก​ดัง​กล่าว​อาจ​รวม​ถึง​ปัญหา​ยุ่งยาก​และ​ความ​เจ็บ​ปวด​ใจ​ที่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​เลี้ยง​ดู​บุตร. ดัง​กล่าว​ไป​แล้ว​ตอน​ต้น​บทความ​นี้ คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​ล่วง​หน้า​ว่า​ใน “สมัย​สุด​ท้าย” จะ​เกิด “วิกฤตกาล​ซึ่ง​ยาก​จะ​รับมือ​ได้.” สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ยาก​จะ​รับมือ​ได้​ก็​คือ​การ​ที่​บุตร “ไม่​เชื่อ​ฟัง​พ่อ​แม่.”—2 ติโม. 3:1-3.

15 การ​เลี้ยง​ดู​บุตร​เป็น​เรื่อง​ท้าทาย​อย่าง​แท้​จริง​สำหรับ​บิดา​มารดา​คริสเตียน. เรา​ไม่​ได้​รับ​การ​ปก​ป้อง​ไว้​จาก​ผล​กระทบ​อัน​เลว​ร้าย​ของ “วิกฤตกาล” ใน​ปัจจุบัน. ด้วย​เหตุ​นั้น บิดา​มารดา​คริสเตียน​ต้อง​คอย​ต่อ​สู้​กับ​อิทธิพล​ที่​ก่อ​ผล​เสียหาย​ร้ายแรง​จาก “โลก​ยุค​นี้” ที่​อาจ​มี​ต่อ​บุตร. (เอเฟ. 2:2, 3) และ​การ​ต่อ​สู้​นี้​ใช่​ว่า​จะ​เอา​ชนะ​ได้​เสมอ​ไป! ใน​กรณี​ที่​บุตร​ของ​ครอบครัว​คริสเตียน​เลิก​รับใช้​พระ​ยะโฮวา นั่น​เป็น​เรื่อง​ที่​ทำ​ให้​บิดา​มารดา​ที่​พยายาม​เลี้ยง​ดู​บุตร​นั้น​ให้​อยู่​ใน​ความ​จริง​ของ​พระเจ้า ‘ลำบาก​ใจ’ อย่าง​แท้​จริง.—สุภา. 17:25.

“จะ​มี​ความ​ทุกข์​ลำบาก​ใหญ่”

16. พระ​เยซู​ทรง​พยากรณ์​เกี่ยว​กับ “ความ​ทุกข์​ลำบาก” อะไร?

16 อย่าง​ไร​ก็​ตาม ‘ความ​ลำบาก’ ใด ๆ ที่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​แต่งงาน​และ​การ​มี​บุตร​จะ​กลาย​เป็น​เรื่อง​เล็ก​น้อย​เมื่อ​ความ​ทุกข์​ลำบาก​อีก​อย่าง​หนึ่ง​มา​ถึง​ซึ่ง​ใหญ่​กว่า​มาก. ใน​คำ​พยากรณ์​เกี่ยว​กับ​การ​ประทับ​ของ​พระองค์​และ​ช่วง​สุด​ท้าย​ของ​ยุค พระ​เยซู​ทรง​บอก​ว่า “จะ​มี​ความ​ทุกข์​ลำบาก​ใหญ่​อย่าง​ที่​ไม่​เคย​เกิด​ขึ้น​เลย​ตั้ง​แต่​เริ่ม​มี​มนุษย์​โลก​จน​บัด​นี้ และ​จะ​ไม่​เกิด​ขึ้น​อีก​เลย.” (มัด. 24:3, 21) พระ​เยซู​ทรง​เปิด​เผย​ใน​เวลา​ต่อ​มา​ว่า​ชน​ฝูง​ใหญ่​จะ​รอด​ชีวิต​ผ่าน “ความ​ทุกข์​ลำบาก​ใหญ่” นี้. แต่​ฝ่าย​ของ​ซาตาน​จะ​ไม่​ยอม​แพ้​ง่าย ๆ และ​จะ​โจมตี​เหล่า​พยาน​ผู้​รัก​สันติ​ของ​พระ​ยะโฮวา​เป็น​ครั้ง​สุด​ท้าย​อย่าง​สุด​กำลัง. ไม่​ต้อง​สงสัย นั่น​คง​ต้อง​เป็น​ช่วง​เวลา​ที่​ยาก​ลำบาก​สำหรับ​เรา​ทุก​คน—ทั้ง​ผู้​ใหญ่​และ​เด็ก.

17. (ก) เหตุ​ใด​เรา​สามารถ​เผชิญ​อนาคต​ด้วย​ความ​มั่น​ใจ? (ข) อะไร​ควร​ส่ง​ผล​ต่อ​ทัศนะ​ของ​เรา​ใน​เรื่อง​การ​สมรส​และ​การ​เป็น​บิดา​มารดา?

17 อย่าง​ไร​ก็​ตาม เรา​ไม่​ควร​กลัว​อนาคต​จน​เกิน​เหตุ. บิดา​มารดา​ที่​ซื่อ​สัตย์​ต่อ​พระ​ยะโฮวา​สามารถ​หวัง​ได้​ว่า​จะ​ได้​รับ​การ​ปก​ป้อง​พร้อม​กับ​บุตร​ที่​ยัง​เป็น​ผู้​เยาว์. (อ่าน​ยะซายา 26:20, 21; ซฟัน. 2:2, 3; 1 โค. 7:14) แต่​สำหรับ​ตอน​นี้ ขอ​ให้​การ​ตระหนัก​ว่า​เรา​มี​ชีวิต​อยู่​ใน​สมัย​วิกฤติ​กระตุ้น​เรา​ให้​คิด​อย่าง​รอบคอบ​เกี่ยว​กับ​การ​แต่งงาน​และ​การ​มี​บุตร​ใน​เวลา​อวสาน​นี้. (2 เป. 3:10-13) โดย​วิธี​นั้น ชีวิต​เรา—ไม่​ว่า​จะ​เป็น​คน​โสด​หรือ​สมรส​แล้ว มี​หรือ​ไม่​มี​บุตร—จะ​นำ​พระ​เกียรติ​และ​คำ​สรรเสริญ​มา​สู่​พระ​ยะโฮวา​และ​ประชาคม​คริสเตียน.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 3 โปรด​ดู​หนังสือ​จง​ดำเนิน​ชีวิต​โดย​คำนึง​ถึง​วัน​ของ​พระ​ยะโฮวา (ภาษา​อังกฤษ) ใน​หัวเรื่อง​รอง “พระองค์​ทรง​เกลียด​ชัง​การ​หย่าร้าง” ใน​หน้า 125.

^ วรรค 5 การ​ทบทวน​บทความ​ต่าง ๆ เรื่อง​การ​สมรส​ที่​พบ​ใน​หอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 กันยายน 2003 และ​ตื่นเถิด! ฉบับ 8 มกราคม 2001 จะ​ช่วย​เสริม​ความ​เข้มแข็ง​แก่​คน​ที่​กำลัง​รับมือ​กับ​ปัญหา​ใน​ชีวิต​สมรส.

^ วรรค 6 โปรด​ดู​บท 30 “ฉัน​พร้อม​จะ​สมรส​ไหม?” ใน​หนังสือ​คำ​ถาม​ที่​หนุ่ม​สาว​ถาม—คำ​ตอบ​ที่​ได้​ผล.

เพื่อ​ทบทวน

• เหตุ​ใด​คริสเตียน​ที่​อายุ​ยัง​น้อย​ไม่​ควร​รีบ​แต่งงาน?

• การ​เลี้ยง​ดู​บุตร​เกี่ยว​ข้อง​กับ​อะไร​บ้าง?

• เหตุ​ใด​คริสเตียน​หลาย​คน​จึง​อยู่​เป็น​โสด หรือ​หาก​แต่งงาน​แล้ว​ก็​เลือก​จะ​ไม่​มี​บุตร?

• บิดา​มารดา​คริสเตียน​อาจ​ประสบ ‘ความ​ลำ⁠บาก’ เช่น​ไร?

[คำ​ถาม]

[ภาพ​หน้า 17]

เหตุ​ใด​จึง​นับ​ว่า​สุขุม​ที่​คริสเตียน​ซึ่ง​อายุ​ยัง​น้อย​ไม่​รีบ​แต่งงาน?

[ภาพ​หน้า 18]

สามี​สามารถ​ช่วย​ภรรยา​ได้​มาก​เพื่อ​ให้​เธอ​มี​โอกาส​ทำ​กิจกรรม​ฝ่าย​วิญญาณ​ได้​มาก​พอ

[ภาพ​หน้า 19]

เหตุ​ใด​คู่​สมรส​คริสเตียน​บาง​คู่​จึง​ตัดสิน​ใจ​จะ​ไม่​มี​บุตร?