รับมือกับข้อท้าทายในการประกาศตามบ้าน
รับมือกับข้อท้าทายในการประกาศตามบ้าน
“เราได้รวบรวมความกล้าโดยการช่วยเหลือจากพระเจ้าของเราเพื่อบอกข่าวดีของพระองค์แก่พวกท่านทั้ง ๆ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย.”—1 เทส. 2:2.
1. ยิระมะยาเผชิญกับข้อท้าทายอะไรบ้าง และท่านรับมือข้อท้าทายเหล่านั้นได้โดยวิธีใด?
ยิระมะยาเป็นคนที่มีความรู้สึกเหมือนกับเรา. เมื่อพระยะโฮวาทรงแจ้งให้ท่านทราบเกี่ยวกับงานมอบหมายให้เป็น “ผู้ทำนายแก่เมืองทั้งปวง” ท่านร้องออกมาว่า “โอ้ยะโฮวาพระเจ้า, ดูเถิด, ข้าพเจ้าพูดไม่ได้, เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กอยู่.” อย่างไรก็ตาม ด้วยความไว้วางใจพระยะโฮวา ท่านรับเอางานมอบหมายนั้น. (ยิระ. 1:4-10) เป็นเวลามากกว่า 40 ปีที่ยิระมะยาต่อสู้กับความไม่แยแส, การปฏิเสธ, การเยาะเย้ย, และแม้แต่การทำร้ายร่างกาย. (ยิระ. 20:1, 2) บางครั้ง ท่านรู้สึกอยากหยุดเลิก. กระนั้น ท่านบากบั่นต่อไปในการประกาศข่าวสารซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้คนซึ่งส่วนมากไม่ยอมรับฟัง. โดยอาศัยกำลังจากพระเจ้า ยิระมะยาสามารถทำสิ่งที่ท่านไม่มีทางทำได้สำเร็จด้วยตัวเอง.—อ่านยิระมะยา 20:7-9.
2, 3. ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้เผชิญกับข้อท้าทายคล้าย ๆ กับที่ยิระมะยาเผชิญอย่างไร?
2 ในทุกวันนี้ ผู้รับใช้หลายคนของพระเจ้ารู้สึกคล้ายกับยิระมะยา. เมื่อคิดถึงการออกไปประกาศตามบ้าน พวกเราบางคนเคยคิดว่า ‘นั่นเป็นเรื่องที่ฉันไม่มีทางทำได้แน่ ๆ.’ ถึงกระนั้น เมื่อเราตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงประสงค์ให้เราประกาศข่าวดี เราเอาชนะความกลัวและทำงานประกาศอย่างขันแข็ง. อย่างไรก็ตาม มีหลายคนในพวกเราที่เผชิญกับสภาพการณ์บางอย่างในชีวิตที่ทำให้ยากที่จะประกาศต่อมัด. 24:13.
ไป อย่างน้อยก็ชั่วระยะหนึ่ง. ต้องยอมรับว่าการเริ่มไปประกาศตามบ้านและประกาศต่อ ๆ ไปจนถึงที่สุดเป็นข้อท้าทายอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย.—3 จะว่าอย่างไรหากคุณได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาและเข้าร่วมการประชุมประชาคมมาแล้วระยะหนึ่งแต่ยังลังเลที่จะเริ่มประกาศตามบ้าน? หรือจะว่าอย่างไรถ้าคุณเป็นพยานฯที่รับบัพติสมาแล้วแต่ก็รู้สึกว่ายากจะทำงานประกาศตามบ้าน แม้ว่าสุขภาพด้านร่างกายเอื้ออำนวย? ขอให้แน่ใจได้เลยว่ามีผู้คนจากภูมิหลังทุกชนิดที่กำลังรับมือกับข้อท้าทายในการประกาศตามบ้านได้. โดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา คุณก็จะรับมือได้เช่นกัน.
รวบรวมความกล้า
4. อะไรทำให้อัครสาวกเปาโลสามารถประกาศข่าวดีอย่างกล้าหาญ?
4 ไม่ต้องสงสัยว่าคุณตระหนักว่างานประกาศซึ่งทำกันอยู่ทั่วโลกบรรลุผลโดยอาศัยพระวิญญาณของพระเจ้า ไม่ใช่โดยกำลังหรือสติปัญญาของมนุษย์. (ซคา. 4:6) เป็นจริงอย่างนั้นด้วยกับงานรับใช้ของคริสเตียนแต่ละคน. (2 โค. 4:7) ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับอัครสาวกเปาโล. เมื่อนึกถึงตอนที่ท่านและเพื่อนร่วมเดินทางในงานมิชชันนารีถูกพวกผู้ต่อต้านปฏิบัติอย่างเลวร้าย ท่านเขียนว่า “เมื่อเราทนทุกข์และถูกปฏิบัติอย่างเหยียดหยามในเมืองฟิลิปปอยแล้ว เราได้รวบรวมความกล้าโดยการช่วยเหลือจากพระเจ้าของเราเพื่อบอกข่าวดีของพระองค์แก่พวกท่านทั้ง ๆ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย.” (1 เทส. 2:2; กิจ. 16:22-24) เราอาจรู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะนึกภาพออกว่าผู้ประกาศที่กระตือรือร้นอย่างเปาโลเคยมีช่วงเวลาที่ต้องออกแรงฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อจะประกาศต่อ ๆ ไป. ถึงกระนั้น เช่นเดียวกับเราทุกคน เปาโลต้องไว้วางใจพระยะโฮวาเพื่อจะประกาศข่าวดีอย่างกล้าหาญ. (อ่านเอเฟโซส์ 6:18-20.) เราจะเลียนแบบเปาโลได้โดยวิธีใด?
5. วิธีหนึ่งที่ช่วยเรารวบรวมความกล้าเพื่อจะประกาศได้คืออะไร?
5 วิธีหนึ่งที่ช่วยเรารวบรวมความกล้าเพื่อจะประกาศก็คือการอธิษฐาน. ไพโอเนียร์คนหนึ่งกล่าวว่า “ดิฉันอธิษฐานเพื่อจะสามารถพูดอย่างมั่นใจ, อธิษฐานให้สามารถเข้าถึงหัวใจผู้คน, และอธิษฐานให้มีความยินดีในงานรับใช้. อันที่จริง งานนี้เป็นงานของพระยะโฮวา ไม่ใช่งานของเราเอง ดังนั้นเราไม่มีทางทำอะไรได้เลยหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์.” (1 เทส. 5:17) เราทุกคนจำเป็นต้องอธิษฐานอยู่เสมอเพื่อขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าให้ช่วยเราประกาศอย่างกล้าหาญ.—ลูกา 11:9-13.
6, 7. (ก) ยะเอศเคลได้รับนิมิตอะไร และนิมิตนั้นมีความหมายอย่างไร? (ข) นิมิตของยะเอศเคลให้บทเรียนอะไรแก่ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้?
6 หนังสือยะเอศเคลเผยให้เห็นสิ่งอื่นที่สามารถช่วยเราพูดอย่างกล้าหาญ. ในนิมิต พระยะโฮวาประทานม้วนหนังสือแก่ยะเอศเคลซึ่งมี “คำเพลงโศกเศร้าร่ำไร, ด้วยความทุกข์ลำบาก” เขียนไว้ทั้งสองด้าน และทรงมีรับสั่งให้ท่านกินม้วนหนังสือนั้น โดยตรัสว่า “บุตรมนุษย์เอ๋ย, จงให้ท้องของท่านกิน, และให้ท้องของท่านเต็มด้วยหนังสือม้วนนี้ที่เราให้แก่ท่าน.” นิมิตนี้หมายความอย่างไร? ยะเอศเคลต้องซึมซับข่าวสารที่ท่านต้องส่งไปอย่างเต็มที่. ข่าวสารนั้นต้องกลายเป็นเหมือนกับส่วนหนึ่งของตัวท่าน ส่งผลต่อความรู้สึกในส่วนลึกที่สุดของท่าน. ผู้พยากรณ์เล่าต่อไปว่า “ข้าพเจ้าจึงได้กิน, และหนังสือนั้นหวานดังน้ำผึ้งอยู่ในปากข้าพเจ้า.” การประกาศข่าวสารของพระเจ้าในที่สาธารณะนับเป็นความยินดีสำหรับยะเอศเคลเหมือนกับการลิ้มรสน้ำผึ้ง. ท่านรู้สึกเป็นสิทธิพิเศษอย่างสูงที่ได้เป็นตัวแทนพระยะโฮวาและทำงานมอบหมายจากพระองค์ให้สำเร็จ แม้ว่านั่นหมายถึงการบอกข่าวสารซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่อยากฟัง.—อ่านยะเอศเคล 2:8–3:4, 7-9.
7 นิมิตนี้ให้บทเรียนอันมีค่าแก่ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้. เราก็มีข่าวสารซึ่งเป็นคำเตือนที่ต้องบอกผู้คนซึ่งไม่เห็นค่าความพยายามของเราเสมอไป. เพื่อเราจะรักษาทัศนะที่ดี โดยมองงานรับใช้ของคริสเตียนว่าเป็นสิทธิพิเศษที่พระเจ้าประทานให้ เราต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณอย่างดี. นิสัยการศึกษาอย่างลวก ๆ หรือศึกษาอย่างไม่สม่ำเสมอไม่เพียงพอที่จะทำให้เราซึมซับพระคำของพระเจ้าอย่างเต็มที่. คุณจะปรับปรุงการอ่านพระคัมภีร์และการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัวให้มีคุณภาพมากขึ้นหรือสม่ำเสมอเพลง. 1:2, 3.
ยิ่งขึ้นได้ไหม? คุณจะคิดใคร่ครวญบ่อยยิ่งขึ้นในสิ่งที่คุณอ่านได้ไหม?—การเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล
8. ผู้ประกาศราชอาณาจักรบางคนใช้วิธีใดที่เกิดผลดีในการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลเมื่อประกาศตามบ้าน?
8 สำหรับผู้ประกาศหลายคน ส่วนที่ยากที่สุดในการประกาศตามบ้านก็คือคำพูดสองสามประโยคแรกที่เริ่มพูดกับเจ้าของบ้าน. ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะเริ่มการสนทนาในเขตประกาศบางเขต. เมื่อคุยกับผู้คนที่หน้าบ้าน ผู้ประกาศบางคนรู้สึกว่าง่ายกว่าถ้าจะเริ่มการเสนอด้วยคำพูดสองสามประโยคที่เตรียมไว้อย่างดี แล้วก็ยื่นแผ่นพับให้เจ้าของบ้าน ดังที่แนะไว้ในกรอบของบทความนี้. ชื่อแผ่นพับหรือภาพประกอบที่มีสีสันสวยงามอาจดึงดูดความสนใจของเจ้าของบ้าน ทำให้เราสามารถพูดสั้น ๆ ถึงจุดประสงค์ที่เรามาเยี่ยมและตั้งคำถามกับเขาสักข้อหนึ่ง. อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้เมื่อเสนอแบบนี้ก็คือแสดงให้เจ้าของบ้านดูแผ่นพับสามสี่อย่างแล้วเชิญเขาเลือกแผ่นที่เขาสนใจ. แน่นอน เป้าหมายของเราไม่ใช่เพียงแค่เสนอแผ่นพับหรือจะใช้แผ่นพับในการประกาศทุก ๆ บ้าน แต่เราต้องการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลซึ่งอาจทำให้บางคนสนใจศึกษาพระคัมภีร์.
9. เหตุใดจึงสำคัญที่จะเตรียมตัวอย่างดี?
9 ไม่ว่าคุณใช้วิธีใด การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยคุณไม่โกโล. 3:23; 2 ติโม. 2:15.
ประหม่าและมีความกระตือรือร้นในการประกาศตามบ้าน. ไพโอเนียร์คนหนึ่งให้ความเห็นว่า “ผมมีความยินดีมากกว่าถ้าเตรียมตัวอย่างดี. เมื่อเตรียมตัวดี ผมก็จะอยากพูดกับผู้คนตามที่ได้เตรียมไว้.” ไพโอเนียร์อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อผมทำความคุ้นเคยกับหนังสือที่จะเสนอ ผมก็จะกระตือรือร้นที่จะเสนอหนังสือเหล่านั้น.” ในขณะที่มีประโยชน์อยู่บ้างเมื่อทบทวนเงียบ ๆ ว่าจะพูดอะไร แต่หลายคนรู้สึกว่าเป็นประโยชน์มากกว่าที่เขาจะซ้อมการเสนอด้วยการพูดออกเสียง. การทำอย่างนั้นช่วยพวกเขาให้ถวายสิ่งที่ดีที่สุดแด่พระยะโฮวา.—10. อาจทำอะไรได้บ้างเพื่อให้การประชุมเพื่อการประกาศเป็นประโยชน์และใช้ได้จริง?
10 การประชุมเพื่อการประกาศที่มีการพิจารณาจุดต่าง ๆ ซึ่งนำเอาไปใช้ได้จริงช่วยให้เรามีประสิทธิภาพและความยินดีมากขึ้นในการประกาศตามบ้าน. ถ้าข้อคัมภีร์ประจำวันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกาศ ก็อาจอ่านและพิจารณาด้วยกันสั้น ๆ. แต่พี่น้องที่นำการประชุมเพื่อการประกาศควรใช้เวลามากพอพิจารณาหรือสาธิตการเสนอง่าย ๆ ที่เหมาะกับเขตทำงาน หรือพิจารณาข้อมูลที่จะนำเอาไปใช้ได้จริงสำหรับการประกาศในวันนั้น. การทำอย่างนี้จะช่วยเตรียมพี่น้องให้พร้อมมากขึ้นที่จะประกาศอย่างมีประสิทธิภาพ. ด้วยการเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างดี ผู้ปกครองและคนอื่น ๆ ที่นำการประชุมเพื่อการประกาศจะสามารถบรรลุผลดังกล่าวและก็ยังจบการประชุมภายในเวลาที่กำหนดไว้ด้วย.—โรม 12:8.
พลังของการตั้งใจฟัง
11, 12. การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจช่วยเราเข้าถึงผู้คนและประกาศข่าวดีกับพวกเขาได้อย่างไร? จงยกตัวอย่าง.
11 ไม่ใช่เฉพาะการเตรียมตัวอย่างดีเท่านั้นที่ช่วยเราให้เริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลและเข้าถึงหัวใจผู้คนในการประกาศได้ แต่จำเป็นต้องมีความสนใจอย่างลึกซึ้งต่อผู้อื่นด้วย. วิธีหนึ่งที่เราแสดงความสนใจเช่นนั้นเห็นได้จากวิธีที่เราฟัง. ผู้ดูแลเดินทางคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า “การแสดงความอดทนและความเต็มใจจะฟังเมื่อผู้อื่นพูดมีพลังที่ดึงดูดใจอย่างน่าทึ่ง และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างอบอุ่นเป็นส่วนตัวได้อย่างดีเยี่ยม.” การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เจ้าของบ้านเปิดหัวใจ ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์ต่อไปนี้.
12 ในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่งซึ่งลงในหนังสือพิมพ์เลอ โปรแกร ของเมืองแซงต์-เอเตียน ประเทศฝรั่งเศส สตรีคนหนึ่งพรรณนาถึงการเยี่ยมของผู้หญิงสองคนที่มาเคาะประตูบ้านเธอหลังจากที่ลูกสาววัยสามเดือนของเธอเสียชีวิตไม่นานนัก. เธอเขียนว่า “ดิฉันรู้ทันทีว่าสองคนนี้เป็นพยานพระยะโฮวา. ดิฉันเกือบจะบอกปฏิเสธพวกเธออย่างสุภาพอยู่แล้ว แต่เผอิญดิฉันสังเกตเห็นจุลสารที่พวกเธอกำลังเสนอเสียก่อน. จุลสารนั้นพูดถึงเรื่องทำไมพระเจ้าทรงยอมให้มีความทุกข์. ดิฉันจึงตัดสินใจเชิญทั้งสองคนเข้าไปในบ้านโดยตั้งใจจะหักล้างคำพูดของพวกเธอ. . . . พยานฯทั้งสองคนอยู่นานถึงชั่วโมงเศษ ๆ. พวกเธอฟังดิฉันด้วยความเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่ง และเมื่อพวกเธอจะจากไป ดิฉันรู้สึกดีกว่าเดิมมากจนได้ตอบตกลงให้พวกเธอมาเยี่ยมอีก.” (โรม 12:15) ในที่สุด สตรีคนนี้ก็ตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. เราเรียนรู้ได้มากจากข้อเท็จจริงที่ว่า สิ่งที่สตรีคนนี้จำได้เกี่ยวกับการเยี่ยมครั้งแรกนั้นไม่ใช่สิ่งที่พยานฯพูด แต่เป็นวิธีที่ทั้งสองคนฟังเธอ.
13. เราจะปรับการเสนอข่าวดีให้เหมาะกับแต่ละคนที่เราพบได้อย่างไร?
13 เมื่อเราฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ ที่จริงเราเปิดโอกาสให้ผู้คนบอกเราเองว่าทำไมพวกเขาจำเป็นต้องพึ่งราชอาณาจักร. นี่ทำให้เราอยู่ในจุดที่ดีกว่ามากที่จะบอกข่าวดีกับพวกเขา. คุณคงสังเกตเห็นว่าผู้ประกาศข่าวดีที่มีประสิทธิภาพมักเป็นผู้ฟังที่ชำนาญ. (สุภา. 20:5) เขาแสดงความสนใจอย่างแท้จริงในตัวผู้คนที่เขาพบในการประกาศ. เขาจดไม่เพียงแค่ชื่อและที่อยู่เท่านั้น แต่ยังจดด้วยว่าคนเหล่านั้นสนใจและมีความจำเป็นในเรื่องใด. เมื่อมีใครแสดงความเป็นห่วงกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เขาก็จะไปค้นคว้าแล้วกลับมาเยี่ยมโดยเร็วเพื่อบอกสิ่งที่เขาพบ. เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโล เขาปรับการเสนอข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรให้เหมาะกับแต่ละคนที่เขาพบ. (อ่าน 1 โครินท์ 9:19-23.) ความสนใจอย่างจริงใจเช่นนั้นดึงดูดผู้คนให้สนใจข่าวดีและสะท้อน “ความเอ็นดูสงสารของพระเจ้าของเรา” อย่างดีเยี่ยม.—ลูกา 1:78.
จงรักษาทัศนะในแง่บวก
14. เมื่อเราทำงานรับใช้ เราจะสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวาได้อย่างไร?
14 พระยะโฮวาทรงเห็นว่าเราแต่ละคนมีค่าโดยที่พระองค์ประทานเจตจำนงเสรีแก่เรา. แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่ง พระองค์ไม่บังคับใครให้รับใช้พระองค์ แต่ทรงดึงดูดใจผู้คนโดยอาศัยความรัก โดยทรงอวยพรคนที่ตอบรับด้วยความหยั่งรู้ค่าต่อการจัดเตรียมอันยอดเยี่ยมของพระองค์. (โรม 2:4) ในฐานะผู้รับใช้ของพระองค์ แต่ละครั้งที่ไปประกาศเราควรพร้อมจะเสนอข่าวดีด้วยท่าทีที่เหมาะสมกับการที่เราเป็นพยานของพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา. (2 โค. 5:20, 21; 6:3-6) เพื่อจะทำได้อย่างนั้น เราต้องรักษาทัศนะในแง่บวกต่อผู้คนในเขตทำงานของเรา. อะไรจะช่วยเราได้ในการรับมือกับข้อท้าทายนี้?
15. (ก) พระเยซูทรงสอนเหล่าอัครสาวกให้ทำอะไรหากผู้คนปฏิเสธข่าวสาร? (ข) อะไรอาจช่วยเราได้ให้มุ่งเสาะหาคนที่คู่ควร?
15 พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกว่าอย่ากังวลเกินไปหากบางคนปฏิเสธข่าวสารที่พวกเขาประกาศ แต่ให้มุ่งสนใจในเรื่องการเสาะหาคนที่คู่ควร. (อ่านมัดธาย 10:11-15.) การตั้งเป้าเล็ก ๆ ที่สามารถบรรลุช่วยเราให้ทำอย่างนี้ได้. พี่น้องชายคนหนึ่งเปรียบตัวเขาเองกับนักสำรวจหาทองคำ. คติพจน์ประจำตัวของเขาคือ “ผมหวังจะขุดเจอทองในวันนี้.” พี่น้องชายอีกคนหนึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะ “พบคนที่แสดงความสนใจสักคนหนึ่งในแต่ละสัปดาห์และจะกลับไปเยี่ยมภายในไม่กี่วันเพื่อสร้างเสริมความสนใจของคนนั้น.” ผู้ประกาศบางคนพยายามอ่านข้อคัมภีร์อย่างน้อยหนึ่งข้อกับเจ้าของบ้านแต่ละคนหากเป็นไปได้. คุณตั้งเป้าอะไรที่ทำได้จริงสำหรับตัวคุณเอง?
16. เรามีเหตุผลอะไรที่จะประกาศต่อ ๆ ไป?
16 ความสำเร็จในการประกาศตามบ้านไม่ขึ้นอยู่กับแค่เพียงการตอบรับของผู้คนในเขตประกาศ. จริงอยู่ งานประกาศมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้มีหัวใจสุจริตให้รอด แต่งานนี้ยังทำหน้าที่สำคัญอย่างอื่นด้วย. งานรับใช้ของคริสเตียนทำให้เรามีโอกาสแสดงความรักของเราต่อพระยะโฮวา. (1 โย. 5:3) งานนี้ทำให้เราสามารถพ้นผิดฐานทำให้โลหิตตก. (กิจ. 20:26, 27) งานนี้ช่วยเตือนคนอธรรมว่า “เวลาที่ [พระเจ้า] จะทรงพิพากษามาถึงแล้ว.” (วิ. 14:6, 7) เหนือสิ่งอื่นใด โดยการประกาศข่าวดีนี้เองที่พระนามพระยะโฮวากำลังได้รับการยกย่องสรรเสริญทั่วโลก. (เพลง. 113:3) ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าผู้คนจะฟังหรือไม่ฟัง เราต้องประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรต่อ ๆ ไป. ความพยายามทั้งหมดที่เราใช้ไปในการประกาศข่าวดีนั้นงดงามอย่างแท้จริงในสายพระเนตรพระยะโฮวา.—โรม 10:13-15.
17. ในไม่ช้าประชาชนจะจำใจต้องยอมรับอะไร?
17 แม้ว่าหลายคนในทุกวันนี้ไม่สนใจงานประกาศของเรา แต่ในอีกไม่ช้าทัศนะของพวกเขาต่องานนี้จะเปลี่ยนไป. (มัด. 24:37-39) พระยะโฮวาทรงรับรองกับยะเอศเคลว่าเมื่อการพิพากษาที่ท่านประกาศเกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว เรือนกบฏแห่งอิสราเอลจะ “รู้ว่ามีผู้ทำนายอยู่ในท่ามกลางเขาทั้งหลาย.” (ยเอศ. 2:5) คล้ายกัน เมื่อถึงตอนที่พระเจ้าทรงสำเร็จโทษตามการพิพากษาต่อคนในยุคนี้ ประชาชนจะจำใจต้องยอมรับว่าข่าวสารที่พยานพระยะโฮวาประกาศในที่สาธารณะและตามบ้านเรือนนั้นจริง ๆ แล้วมีต้นกำเนิดมาจากพระยะโฮวาผู้เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และพยานฯได้รับใช้เป็นตัวแทนของพระองค์จริง ๆ. ช่างเป็นสิทธิพิเศษอย่างแท้จริงที่เรามีชื่อตามพระนามของพระองค์และประกาศข่าวสารของพระองค์ในสมัยสำคัญนี้! ด้วยกำลังที่ได้จากพระองค์ ขอให้เรารับมือกับข้อท้าทายในการประกาศตามบ้านต่อ ๆ ไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราจะรวบรวมความกล้าเพื่อจะประกาศได้อย่างไร?
• อะไรสามารถช่วยเราให้เริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลในการประกาศตามบ้านได้?
• เราจะแสดงความสนใจอย่างจริงใจในตัวผู้อื่นได้อย่างไร?
• อะไรอาจช่วยเราได้ให้รักษาทัศนะในแง่บวกต่อผู้คนในเขตประกาศของเรา?
[คำถาม]
[กรอบ/หน้า 9]
วิธีหนึ่งในการเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล
เพื่อเริ่มการสนทนา:
▪ หลังจากทักทายเจ้าของบ้านแล้ว คุณอาจยื่นแผ่นพับให้เขาแล้วพูดว่า “จุดประสงค์ที่ผม (ดิฉัน) มาเยี่ยมในวันนี้ก็เพื่อจะคุยกับคุณในเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ให้กำลังใจเราทุกคน.”
▪ หรือคุณอาจให้แผ่นพับแล้วพูดว่า “ผม (ดิฉัน) กำลังเยี่ยมสั้น ๆ ในวันนี้เพราะอยากรู้ว่าคุณคิดอย่างไรในเรื่องนี้.”
ถ้าเจ้าของบ้านรับแผ่นพับ:
▪ อย่าหยุดนาน ถามความเห็นเจ้าของบ้านต่อโดยอาศัยชื่อของแผ่นพับนั้น.
▪ ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจทัศนะของเจ้าของบ้าน. ขอบคุณที่เขาให้ความเห็นและคำนึงถึงความเห็นของเขาเมื่อพิจารณาเรื่องนั้นกับเขาต่อ.
เพื่อจะสนทนากันต่อไป:
▪ อ่านและพิจารณาข้อคัมภีร์สักข้อหนึ่งหรือสองสามข้อ ปรับการเสนอให้เข้ากับความสนใจและความจำเป็นเฉพาะของคนที่คุณคุยด้วย.
▪ เมื่อเจ้าของบ้านแสดงความสนใจ เสนอหนังสือให้เขารับอ่าน และสาธิตการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลถ้าเป็นไปได้. นัดหมายวันเวลาที่จะกลับมาเยี่ยมเขา.