คุณพูด “ภาษาบริสุทธิ์” คล่องไหม?
คุณพูด “ภาษาบริสุทธิ์” คล่องไหม?
“เราจะให้มีการเปลี่ยนเป็นภาษาบริสุทธิ์แก่ชนชาติต่าง ๆ เพื่อเขาทุกคนจะได้ร้องเรียกพระนามของพระยะโฮวา.”—ซฟัน. 3:9, ล.ม.
1. พระยะโฮวาทรงให้ของประทานอันยอดเยี่ยมอะไรแก่เรา?
พรสวรรค์ด้านภาษาไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากมนุษย์ แต่เกิดมาจากพระผู้สร้างมนุษย์ พระยะโฮวาพระเจ้า. (เอ็ก. 4:11, 12) พระองค์ประทานความสามารถแก่อาดาม มนุษย์คนแรก ไม่เพียงให้พูดได้ แต่ยังสามารถคิดคำใหม่ด้วย ซึ่งทำให้เขามีคำศัพท์ใช้มากขึ้น. (เย. 2:19, 20, 23) นี่นับเป็นของประทานที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ! ยิ่งกว่านั้น ของประทานนี้ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารกับพระบิดาของเขาผู้อยู่ในสวรรค์และสรรเสริญพระนามอันรุ่งโรจน์ของพระองค์.
2. เหตุใดมนุษย์จึงไม่พูดภาษาเดียวกันเหมือนในตอนแรก?
2 ในช่วง 17 ศตวรรษแรกนับตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ ทุกคนพูดภาษาเดียว มี “ถ้อยคำชุดเดียว.” (เย. 11:1, ล.ม.) ต่อมา เกิดการขืนอำนาจขึ้นในสมัยของนิมโรด. มนุษย์ที่ไม่เชื่อฟังทำตรงกันข้ามกับพระบัญชาของพระยะโฮวา โดยมารวมตัวกันอยู่ในเมืองซึ่งภายหลังถูกเรียกว่าบาเบล ตั้งใจจะอยู่ในที่แห่งเดียวต่อไป. พวกเขาเริ่มสร้างหอขนาดมหึมา ไม่ใช่เพื่อถวายเกียรติแด่พระยะโฮวา แต่เพื่อพวกเขา “จะได้มีชื่อเสียงไว้.” ดังนั้น พระยะโฮวาทรงทำให้ภาษาดั้งเดิมของผู้ขืนอำนาจเหล่านี้สับสนและทำให้พวกเขาพูดภาษา ต่างกัน. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงกระจัดกระจายไปทั่วโลก.—อ่านเยเนซิศ 11:4-8.
3. เกิดอะไรขึ้นเมื่อพระยะโฮวาทรงทำให้ภาษาของผู้ขืนอำนาจที่บาเบลสับสน?
3 ทุกวันนี้ มีภาษาที่พูดกันในโลกหลายพันภาษา—บางคนบอกว่ามีมากกว่า 6,800 ภาษา. ภาษาเหล่านี้แต่ละภาษามีแบบแผนความคิดที่แตกต่างกัน. ดังนั้น ดูเหมือนว่าเมื่อพระยะโฮวาพระเจ้าทรงทำให้ภาษาของพวกที่ขืนอำนาจสับสน พระองค์ทรงลบความทรงจำในภาษาเดิมที่พวกเขาเคยใช้ร่วมกัน. พระองค์ไม่เพียงใส่ศัพท์ใหม่เข้าไว้ในสมองของพวกเขา แต่ยังเปลี่ยนแบบแผนความคิดของพวกเขาและสร้างไวยากรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นด้วย. ไม่แปลกที่เมืองอันเป็นที่ตั้งของหอสูงดังกล่าวภายหลังถูกเรียกว่า “บาเบล” ซึ่งหมายถึงความสับสน! (เย. 11:9) น่าสนใจ เฉพาะคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้นที่อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าทำไมจึงมีภาษามากมายหลากหลายอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน.
ภาษาใหม่ ภาษาบริสุทธิ์
4. พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสมัยของเรา?
4 เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการเข้าแทรกแซงของพระเจ้าที่บาเบลอาจเป็นเรื่องน่าทึ่งอยู่แล้ว แต่มีบางสิ่งที่น่าสนใจและสำคัญยิ่งกว่านั้นเกิดขึ้นในสมัยของเรา. พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าโดยทางผู้พยากรณ์ซะฟันยาว่า “ตอนนั้น เราจะให้มีการเปลี่ยนเป็นภาษาบริสุทธิ์แก่ชนชาติต่าง ๆ เพื่อเขาทุกคนจะได้ร้องเรียกพระนามของพระยะโฮวา เพื่อจะรับใช้พระองค์เคียงบ่าเคียงไหล่กัน.” (ซฟัน. 3:9, ล.ม.) “ภาษาบริสุทธิ์” ดังกล่าวคืออะไร และเราจะฝึกพูดภาษานี้ให้คล่องได้อย่างไร?
5. ภาษาบริสุทธิ์คืออะไร และการเปลี่ยนมาพูดภาษาดังกล่าวก่อผลเช่นไร?
5 ภาษาบริสุทธิ์คือความจริงเกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์ดังที่พบในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์. “ภาษา” นี้ยังหมายรวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความจริงเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าและวิธีที่ราชอาณาจักรนี้ทำให้พระนามพระยะโฮวาได้รับความนับถืออันบริสุทธิ์, พิสูจน์ความถูกต้องแห่งอำนาจปกครองของพระองค์, และทำให้มนุษยชาติที่ซื่อสัตย์ได้รับพระพรชั่วนิรันดร์. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องภาษาดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง? คำพยากรณ์ในข้อนี้บอกเราว่าประชาชนจะ “ร้องเรียกพระนามของพระยะโฮวา” และจะ “รับใช้พระองค์เคียงบ่าเคียงไหล่กัน.” ไม่เหมือนกับเหตุการณ์ที่บาเบล การเปลี่ยนเป็นภาษาบริสุทธิ์นี้ได้ทำให้มีการสรรเสริญพระนามพระยะโฮวาและทำให้ประชาชนของพระองค์มีเอกภาพ.
การเรียนรู้ภาษาบริสุทธิ์
6, 7. (ก) การเรียนภาษาใหม่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และเป็นเช่นนั้นด้วยอย่างไรกับการเรียนภาษาบริสุทธิ์? (ข) ตอนนี้เราจะพิจารณาอะไร?
6 เมื่อใครคนหนึ่งเริ่มเรียนอีกภาษาหนึ่ง เขาต้องทำไม่เพียงแค่จำคำใหม่ ๆ. การเรียนภาษาใหม่เกี่ยวข้องกับการเรียนวิธีคิดแบบใหม่ แบบแผนความคิดใหม่. ตรรกะและอารมณ์ขันของภาษาหนึ่งอาจแตกต่างจากอีกภาษาหนึ่ง. วิธีออกเสียงแบบใหม่ต้องใช้อวัยวะในการพูด เช่น ลิ้น ต่างออกไป. เป็นเช่นนั้นด้วยเมื่อเราเริ่มเรียนภาษาบริสุทธิ์แห่งความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. เราจำเป็นต้องทำมากกว่าเพียงแค่เรียนรู้คำสอนพื้นฐานไม่กี่อย่างในคัมภีร์ไบเบิล. การเรียนภาษาบริสุทธิ์จนสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องหมายรวมถึงการปรับวิธีคิดและเปลี่ยนจิตใจของเราเสียใหม่.—อ่านโรม 12:2; เอเฟโซส์ 4:23.
7 อะไรจะช่วยเราให้ไม่เพียงแค่เข้าใจภาษาบริสุทธิ์ แต่ยังพูดภาษานี้ได้คล่องด้วย? เช่นเดียวกับการเรียนภาษาใดก็ตาม มีเทคนิคพื้นฐานบางอย่างที่ช่วยเราได้ให้ชำนาญในการพูดภาษาแห่งความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. ให้เราพิจารณาขั้นตอนพื้นฐานบางประการซึ่งคนที่เรียนภาษาใหม่ใช้ แล้วดูว่าขั้นตอนเหล่านั้นจะช่วยเราได้อย่างไรให้เรียนภาษาใหม่โดยนัยนี้.
การพูดภาษาบริสุทธิ์ให้คล่อง
8, 9. เราต้องทำอะไรหากต้องการจะเรียนภาษาบริสุทธิ์ และเหตุใดนั่นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก?
8 ตั้งใจฟัง. ทีแรก ภาษาใหม่อาจฟังแปลกหูอย่างสิ้นเชิงสำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน. (ยซา. 33:19) แต่เมื่อเขา ตั้งสมาธิฟังให้ดี ๆ ก็จะเริ่มจับคำบางคำได้รวมทั้งสังเกตเห็นรูปแบบคำพูดที่ได้ยินซ้ำ ๆ. ในทำนองเดียวกัน เราได้รับคำแนะนำว่า “เรา . . . ต้องเอาใจใส่สิ่งที่เราได้ยินให้มากกว่าปกติเพื่อเราจะไม่ลอยห่างไป.” (ฮีบรู 2:1) พระเยซูทรงเตือนสติเหล่าสาวกครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “ผู้มีหูจงฟังเถิด.” (มัด. 11:15; 13:43; มโก. 4:23; ลูกา 14:35) ดังนั้น เราจำเป็นต้อง “ฟังและเข้าใจ” สิ่งที่เราได้ยินเพื่อจะก้าวหน้าในการทำความเข้าใจภาษาบริสุทธิ์.—มัด. 15:10; มโก. 7:14.
9 การฟังจำเป็นต้องใช้สมาธิ แต่นับว่าคุ้มค่าความพยายามอย่างแท้จริง. (ลูกา 8:18) เมื่ออยู่ที่การประชุมคริสเตียน เราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่มีการอธิบายหรือว่าเราใจลอย? เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจดจ่อกับสิ่งที่กำลังมีการนำเสนอ. มิฉะนั้น เราอาจกลายเป็นคนเฉื่อยชาในการฟังได้จริง ๆ.—ฮีบรู 5:11.
10, 11. (ก) นอกจากตั้งใจฟังให้ดีแล้ว เราต้องทำอะไรอีก? (ข) มีอะไรอีกที่เกี่ยวข้องกับการพูดภาษาบริสุทธิ์?
10 เลียนแบบคนที่พูดได้คล่อง. คนที่เรียนภาษาใหม่ได้รับการสนับสนุนให้ไม่เพียงแค่ฟังอย่างตั้งใจ แต่ให้พยายามเลียนแบบการออกเสียงและรูปแบบคำพูดของคนที่พูดได้คล่องด้วย. การทำอย่างนี้ช่วยคนที่เรียนภาษาหลีกเลี่ยงการออกเสียงไม่ชัดซึ่งจะทำให้เขาสื่อความกับคนอื่นได้ลำบากในภายหลัง. คล้ายกัน เราควรเรียนจากคนที่ชำนาญ “ศิลปะในการสอน” ภาษาใหม่นี้. (2 ติโม. 4:2) จงขอความช่วยเหลือ และพร้อมจะรับการแก้ไขเมื่อคุณทำอะไรบางอย่างผิดพลาด.—อ่านฮีบรู 12:5, 6, 11.
11 การพูดภาษาบริสุทธิ์เกี่ยวข้องไม่เฉพาะแต่การเชื่อและสอนความจริงแก่คนอื่นเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการปฏิบัติสอดคล้องกับกฎหมายและหลักการของพระเจ้าด้วย. เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ดีขึ้น เราจำเป็นต้องเลียนแบบการกระทำที่ดีของคนอื่น. ทั้งนี้หมายรวมถึงการเลียนแบบความเชื่อและความกระตือรือร้นของพวกเขา. อีกทั้งยังหมายรวมถึงการเลียนแบบแนวทางชีวิตทั้งสิ้นของพระเยซูด้วย. (1 โค. 11:1; ฮีบรู 12:2; 13:7) หากเราทำอย่างนี้อยู่เรื่อยไป นั่นย่อมจะทำให้มีเอกภาพในหมู่ประชาชนของพระเจ้า ซึ่งทำให้พวกเขาพูดภาษาบริสุทธิ์แบบเดียวกัน.—1 โค. 4:16, 17.
12. การจำเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียนภาษาใหม่?
12 พยายามจำ. คนที่เรียนภาษาอื่นจำเป็นต้องจำสิ่งใหม่ ๆ หลายอย่าง. สิ่งใหม่เหล่านี้รวมถึงศัพท์และสำนวนใหม่ ๆ. สำหรับคริสเตียน การจำอาจช่วยได้มากให้ใช้ภาษาบริสุทธิ์ได้คล่อง. อย่างหนึ่งที่แน่นอนก็คือ คงนับว่าดีถ้าเราจำชื่อหนังสือของคัมภีร์ไบเบิลแต่ละเล่มเรียงตามลำดับได้. บางคนตั้งเป้าจะท่องจำข้อความของข้อคัมภีร์จำนวนหนึ่งหรือจำว่ามีพระคัมภีร์ข้อใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องสำคัญ ๆ. บางคนรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ที่จะจำเพลงราชอาณาจักร, ชื่อตระกูลต่าง ๆ ของชาติอิสราเอล, ชื่ออัครสาวก 12 คน, และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นผลพระวิญญาณ. ในสมัยโบราณ ชาวอิสราเอลหลายคนท่องจำบทเพลงสรรเสริญ. ในสมัยปัจจุบัน เด็กชายคนหนึ่งจำข้อความของข้อพระคัมภีร์ได้มากกว่า 80 ข้อเมื่อเขามีอายุเพียงแค่หกขวบ. เราจะใช้ทักษะอันมีค่ายิ่งนี้ให้ดีขึ้นได้ไหม?
13. เหตุใดการทำซ้ำ ๆ จึงสำคัญมาก?
2 เป. 1:12) เหตุใดเราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจ? เพราะข้อเตือนใจทำให้เราเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น, ขยายมุมมองของเรา, และเสริมความตั้งใจแน่วแน่ให้เราเชื่อฟังพระยะโฮวาอยู่เสมอ. (เพลง. 119:129) การทบทวนมาตรฐานและหลักการของพระเจ้าเป็นประจำช่วยเราตรวจสอบตัวเราเองอย่างละเอียดและช่วยเราต่อสู้แนวโน้มที่จะเป็น “ผู้ฟังที่หลงลืม.” (ยโก. 1:22-25) หากเราไม่คอยเตือนใจตัวเราเองในเรื่องความจริง สิ่งอื่น ๆ ก็จะเข้ามามีอิทธิพลต่อหัวใจเรา และอาจทำให้เราพูดภาษาบริสุทธิ์ได้ไม่คล่องอีกต่อไป.
13 การทำซ้ำ ๆ ช่วยให้จำได้ดีขึ้น และการได้รับข้อเตือนใจซ้ำอยู่เรื่อย ๆ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาของคริสเตียน. อัครสาวกเปโตรกล่าวว่า “ข้าพเจ้าพร้อมเสมอที่จะเตือนท่านทั้งหลายให้ระลึกถึงสิ่งเหล่านี้ แม้ว่าพวกท่านรู้แล้วและมั่นคงในความจริงที่พวกท่านได้รู้.” (14. อะไรจะช่วยเราเมื่อเรียนภาษาบริสุทธิ์?
14 อ่านออกเสียง. (วิ. 1:3) บางคนพยายามเรียนภาษาใหม่คนเดียวเงียบ ๆ. การทำอย่างนี้ไม่ใช่วิธีที่ได้ผลดีที่สุด. เมื่อเรียนภาษาบริสุทธิ์ บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องอ่าน “ด้วยเสียงแผ่วเบา” เพื่อช่วยเราให้มีสมาธิ. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 1:1, 2, ล.ม. *) การอ่านด้วยเสียงแผ่วเบาช่วยประทับสิ่งที่เราอ่านให้ฝังลึกในจิตใจเรา. ในภาษาฮีบรู วลี “อ่าน . . . ด้วยเสียงแผ่วเบา” เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการคิดใคร่ครวญ. เช่นเดียวกับที่ร่างกายจำเป็นต้องย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป เราจำเป็นต้องคิดใคร่ครวญเพื่อจะเข้าใจสิ่งที่เราอ่านอย่างถ่องแท้. เราให้เวลามากพอไหมเพื่อคิดใคร่ครวญสิ่งที่เราได้ศึกษา? หลังจากอ่านคัมภีร์ไบเบิล เราต้องคิดอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เราอ่าน.
15. เราจะเรียน “ไวยากรณ์” ของภาษาบริสุทธิ์ได้อย่างไร?
15 วิเคราะห์ไวยากรณ์. เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะศึกษาไวยากรณ์หรือแบบแผนถ้อยคำและกฎต่าง ๆ ของภาษาใหม่ที่เราเรียน. การทำอย่างนี้จะทำให้เราเข้าใจโครงสร้างของภาษาและพูดได้อย่างถูกต้อง. เช่นเดียวกับที่ภาษามีแบบแผนถ้อยคำ ภาษาบริสุทธิ์แห่งความจริงในพระคัมภีร์ก็มี “แบบแผนถ้อยคำที่ก่อประโยชน์.” (2 ติโม. 1:13) เราจำเป็นต้องทำตาม “แบบแผน” นั้น.
16. เราจำเป็นต้องเอาชนะแนวโน้มอะไร และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
ฮีบรู 5:11-14.) อะไรอาจช่วยเราให้เอาชนะแนวโน้มอย่างนี้ได้? สิ่งนั้นก็คือความเต็มใจที่จะพยายามเรียนภาษาบริสุทธิ์ต่อ ๆ ไปไม่หยุด. “เมื่อเราได้ละหลักคำสอนพื้นฐานเกี่ยวกับพระคริสต์แล้ว ให้เราพยายามก้าวหน้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ อย่าวางรากฐานซ้ำอีก คือ การกลับใจจากการกระทำที่ไร้ประโยชน์ ความเชื่อในพระเจ้า คำสอนเรื่องบัพติสมาและการวางมือ การกลับเป็นขึ้นจากตายและการพิพากษาลงโทษชั่วนิรันดร์.”—ฮีบรู 6:1, 2.
16 ทำความก้าวหน้าต่อ ๆ ไป. บางคนอาจเรียนภาษาหนึ่งจนสามารถสนทนาแบบง่าย ๆ ได้ แต่แล้วก็เลิกทำความก้าวหน้า. ปัญหาคล้าย ๆ กันอาจเกิดขึ้นกับคนที่พูดภาษาบริสุทธิ์. (อ่าน17. เหตุใดการมีนิสัยศึกษาอย่างสม่ำเสมอจึงสำคัญ? จงยกตัวอย่าง.
17 กำหนดเวลาศึกษาให้แน่นอน. การศึกษาสั้น ๆ เป็นประจำดีกว่าศึกษายาว ๆ แต่นาน ๆ ครั้ง. จงศึกษาตอนที่คุณตื่นตัวและมีสมาธิ. การเรียนภาษาใหม่เป็นเหมือนกับการตัดทางเดินผ่านป่า. ยิ่งมีการสัญจรในเส้นทางนั้นบ่อยครั้งเท่าไร การเดินทางก็ยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น. หากไม่มีคนใช้ทางเดินนั้นเป็นเวลานาน ไม่ช้าป่าก็จะแผ่คลุมเส้นทาง. ดังนั้น ความพากเพียรและความสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ! (ดานิ. 6:16, 20) “จงเฝ้าระวังด้วยใจหนักแน่น [อยู่เสมอ]” ในการพูดภาษาบริสุทธิ์แห่งความจริงในคัมภีร์ไบเบิลอย่างจริงจัง.—เอเฟ. 6:18.
18. เหตุใดเราควรพูดภาษาบริสุทธิ์ทุกเมื่อที่มีโอกาส?
18 พูด! พูด! แล้วก็พูด! บางคนที่เรียนภาษาใหม่อาจลังเลไม่กล้าพูดเพราะอายหรือกลัวจะพูดผิด. หากเป็นอย่างนั้น นั่นย่อมจะถ่วงเขาไว้ทำให้ไม่ก้าวหน้า. ในเรื่องการเรียนภาษา นับเป็นความจริงที่ว่าการฝึกปรือคือที่มาของความสมบูรณ์. ยิ่งคนที่เรียนภาษาพูดภาษาใหม่มากขึ้น เขาก็จะยิ่งรู้สึกว่าพูดได้คล่องขึ้น. เราก็เช่นกันจำเป็นต้องพูดภาษาบริสุทธิ์ทุกเมื่อที่มีโอกาส. “การแสดงความเชื่อจากหัวใจจะทำให้คนเรามีฐานะชอบธรรม แต่การประกาศความเชื่อด้วยปากอย่างเปิดเผยนำไปสู่ความรอด.” (โรม 10:10) เราไม่เพียงแต่ “ประกาศ . . . อย่างเปิดเผย” ตอนที่รับบัพติสมาเท่านั้น แต่เรายังประกาศอย่างเปิดเผยเมื่อพูดเกี่ยวกับพระยะโฮวาทุกเมื่อที่มีโอกาส รวมถึงตอนที่เราร่วมในงานประกาศ. (มัด. 28:19, 20; ฮีบรู 13:15) การประชุมคริสเตียนทำให้เราพูดภาษาบริสุทธิ์ได้อย่างกระชับและชัดเจน.—อ่านฮีบรู 10:23-25.
จงใช้ภาษาบริสุทธิ์สรรเสริญพระยะโฮวาอย่างเป็นเอกภาพ
19, 20. (ก) พยานพระยะโฮวาในสมัยนี้กำลังทำอะไรให้สำเร็จอย่างน่าทึ่ง? (ข) คุณตั้งใจแน่วแน่จะทำอะไร?
19 คงต้องเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสักเพียงไรสำหรับคนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเลมตอนเช้าวันอาทิตย์ที่ 6 เดือนซีวาน สากลศักราช 33! เช้าวันนั้น เมื่อจวนจะถึงเวลาเก้านาฬิกา คนที่มารวมตัวกันในห้องชั้นบน “เริ่มพูดเป็นภาษาต่าง ๆ” อย่างอัศจรรย์. (กิจ. 2:4) ในทุกวันนี้ พระเจ้าไม่ได้ประทานความสามารถในการพูดภาษาอื่น ๆ อย่างอัศจรรย์แก่ผู้รับใช้ของพระองค์อีกต่อไป. (1 โค. 13:8) ถึงกระนั้น พยานพระยะโฮวาประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรในภาษาต่าง ๆ กว่า 430 ภาษา.
20 เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ไม่ว่าตามปกติเราพูดภาษาอะไร พวกเราทั้งหมดล้วนแต่พูดภาษาบริสุทธิ์แห่งความจริงในคัมภีร์ไบเบิลอย่างเป็นเอกภาพ! ในแง่หนึ่ง นี่นับว่าตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่เมืองบาเบล. ประชาชนของพระยะโฮวานำคำสรรเสริญมาสู่พระนามของพระองค์ราวกับพวกเขาพูดภาษาเดียวกัน. (1 โค. 1:10) ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่จะรับใช้ “เคียงบ่าเคียงไหล่กัน” กับพี่น้องชายหญิงทั่วโลกขณะที่เราเรียนพูดภาษาเดียวกันนี้ให้คล่องยิ่งขึ้น เพื่อถวายเกียรติแด่พระยะโฮวา พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 150:1-6.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 14 บทเพลงสรรเสริญ 1:1, 2 (ล.ม.): “ความสุขมีแก่ผู้ที่ไม่ดำเนินตามคำแนะนำของคนชั่ว และไม่ได้ยืนอยู่ในทางของคนบาป และไม่ได้นั่งอยู่ในที่นั่งของคนเยาะเย้ย. แต่ความปีติยินดีของเขาอยู่ในพระบัญญัติของพระยะโฮวา และเขาอ่านพระบัญญัติของพระองค์ด้วยเสียงแผ่วเบาทั้งกลางวันและกลางคืน.”
คุณจะตอบอย่างไร?
• ภาษาบริสุทธิ์คืออะไร?
• การที่เราพูดภาษาบริสุทธิ์นั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
• อะไรจะช่วยเราให้พูดภาษาบริสุทธิ์ได้คล่อง?
[คำถาม]
[กรอบหน้า 23]
จงปรับปรุงการพูดภาษาบริสุทธิ์ให้คล่องโดย:
◆ ตั้งใจฟัง.
◆ เลียนแบบคนที่พูดได้คล่อง.
◆ พยายามจำและทำซ้ำ ๆ.
◆ อ่านออกเสียง.
◆ วิเคราะห์ “ไวยากรณ์.”
◆ ทำความก้าวหน้าต่อ ๆ ไป.
◆ กำหนดเวลาศึกษาให้แน่นอน.
◆ พูดออกมา.
[ภาพหน้า 24]
ประชาชนของพระยะโฮวาพูดภาษาบริสุทธิ์อย่างเป็นเอกภาพ