จงรักษาความภักดีไว้ด้วยหัวใจที่เป็นหนึ่งเดียว
จงรักษาความภักดีไว้ด้วยหัวใจที่เป็นหนึ่งเดียว
“ข้าพเจ้าจะดำเนินในความจริงของพระองค์. ขอทำให้หัวใจของข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียว ให้ยำเกรงพระนามของพระองค์.”—เพลง. 86:11, ล.ม.
1, 2. (ก) ตามที่กล่าวในบทเพลงสรรเสริญ 86:2, 11 อะไรจะช่วยเราให้รักษาความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวาแม้ถูกทดสอบหรือถูกล่อใจ? (ข) ควรพัฒนาความภักดีด้วยความรู้สึกจากหัวใจเมื่อไร?
เหตุใดคริสเตียนบางคนที่รักษาความซื่อสัตย์เป็นเวลาหลายปีแม้ถูกจำคุกหรือถูกข่มเหงกลับพ่ายแพ้แก่การนิยมวัตถุในภายหลัง? คำตอบเกี่ยวข้องกับหัวใจโดยนัยของเรา ซึ่งก็คือตัวตนที่แท้จริงของเราซึ่งอยู่ภายใน. บทเพลงสรรเสริญบท 86 เชื่อมโยงความภักดีเข้ากับหัวใจที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งหมายถึงหัวใจที่ครบถ้วน ไม่แบ่งแยก. ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญอธิษฐานว่า “ขอทรงโปรดคุ้มครองจิตวิญญาณของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าภักดี. ขอทรงช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ที่วางใจในพระองค์—พระองค์เป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า.” ดาวิดยังอธิษฐานด้วยว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ขอทรงสั่งสอนข้าพเจ้าถึงวิถีทางของพระองค์. ข้าพเจ้าจะดำเนินในความจริงของพระองค์. ขอทำให้หัวใจของข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียว ให้ยำเกรงพระนามของพระองค์.”—เพลง. 86:2, 11, ล.ม.
2 หากเราไม่ไว้วางใจพระยะโฮวาด้วยสุดหัวใจของเราแล้ว ความห่วงกังวลและความผูกพันรักใคร่ต่อสิ่งอื่น ๆ ก็จะค่อย ๆ เซาะกร่อนความภักดีที่เรามีต่อพระเจ้าเที่ยงแท้. ความปรารถนาที่เห็นแก่ตัวเป็นเหมือนกับระเบิดที่ซ่อนอยู่ใต้ถนนที่เราเดิน. แม้ว่าเราอาจยังคงซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวาสุภา. 4:23, ล.ม.) เราได้บทเรียนอันมีค่าในเรื่องนี้จากประสบการณ์ของผู้พยากรณ์คนหนึ่งจากยูดาห์ ซึ่งพระยะโฮวาทรงส่งไปหากษัตริย์ยาราบะอามแห่งอิสราเอล.
เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบาก เราอาจติดบ่วงแร้วหรือกับดักของซาตาน. นับว่าสำคัญจริง ๆ ที่เราจะพัฒนาความภักดีต่อพระยะโฮวาด้วยความรู้สึกจากหัวใจเสียแต่บัดนี้ ก่อนที่เราจะถูกทดสอบหรือถูกล่อใจ! คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงป้องกันรักษาหัวใจของเจ้าไว้ยิ่งกว่าสิ่งอื่นที่ควรปกป้อง.” (“ข้าพเจ้าจะให้บำเหน็จแก่ท่าน”
3. ยาราบะอามแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อข่าวสารการพิพากษาที่ผู้พยากรณ์ของพระเจ้าประกาศแก่เขา?
3 ขอให้นึกภาพฉากเหตุการณ์. คนของพระเจ้าเพิ่งประกาศข่าวสารที่ทิ่มแทงใจกษัตริย์ยาราบะอาม ซึ่งได้ตั้งการนมัสการรูปโคขึ้นในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลทางเหนือ. กษัตริย์โกรธมาก. เขาสั่งคนของเขาให้จับผู้ส่งข่าว. แต่พระยะโฮวาทรงอยู่กับผู้รับใช้ของพระองค์. ทันใดนั้นเอง มือของกษัตริย์ที่ยื่นออกไปด้วยความโกรธก็เหี่ยวแห้งไปอย่างอัศจรรย์ และแท่นบูชาที่ใช้สำหรับการนมัสการเท็จก็แตกเป็นสองส่วน. ท่าทีของยาราบะอามเปลี่ยนไปในทันที. เขาขอร้องคนของพระเจ้าว่า “จงวิงวอนขอพระกรุณาแห่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านขอจงอธิษฐานเพื่อข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะชักมือกลับเข้าหาตัวได้อีก.” ผู้พยากรณ์อธิษฐาน และมือของกษัตริย์ก็ได้รับการรักษาให้หาย.—1 กษัต. 13:1-6, ฉบับแปลใหม่.
4. (ก) เหตุใดข้อเสนอของกษัตริย์จึงเป็นการทดสอบความภักดีของผู้พยากรณ์อย่างแท้จริง? (ข) ผู้พยากรณ์ตอบอย่างไร?
4 หลังจากนั้น ยาราบะอามกล่าวกับคนของพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ว่า “เชิญไปบ้านกับข้าพเจ้า, และรับประทานอาหารด้วยกันเถิด, ข้าพเจ้าจะให้บำเหน็จแก่ท่าน.” (1 กษัต. 13:7) ผู้พยากรณ์ควรทำอย่างไรในตอนนี้? เขาควรตอบรับความเอื้อเฟื้อที่กษัตริย์แสดงต่อเขาหลังจากประกาศข่าวสารอันเป็นคำตำหนิแก่กษัตริย์ไหม? (เพลง. 119:113) หรือเขาควรปฏิเสธคำเชิญของกษัตริย์ แม้ดูเหมือนว่ากษัตริย์สำนึกเสียใจ? แน่นอน ยาราบะอามมีทรัพย์มากมายที่จะให้ของขวัญราคาแพงแก่สหายได้อย่างไม่อั้น. หากผู้พยากรณ์ของพระเจ้ามีความปรารถนาอย่างลับ ๆ ต่อสิ่งฝ่ายวัตถุอยู่แล้ว ข้อเสนอของกษัตริย์ก็คงล่อใจเขาอย่างยิ่ง. อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงมีบัญชาแก่ผู้พยากรณ์นั้นว่า “อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำ, หรือกลับโดยทางที่เจ้าเข้าไปนั้น.” ดังนั้น ผู้พยากรณ์จึงตอบอย่างหนักแน่นและชัดเจนว่า “ถ้าพระองค์จะประทานแก่ข้าพเจ้าถึงครึ่งวังของพระองค์, ข้าพเจ้าจะไม่ไปกับพระองค์หรือจะไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในตำบลนี้.” แล้วผู้พยากรณ์ก็เดินทางออกจากเบทเอลโดยใช้อีกเส้นทางหนึ่ง. (1 กษัต. 13:8-10) การตัดสินใจของผู้พยากรณ์สอนบทเรียนอะไรแก่เราเกี่ยวกับความภักดีที่ออกมาจากความรู้สึกของหัวใจ?—โรม 15:4.
‘จงอิ่มใจ’
5. การนิยมวัตถุทดสอบความภักดีอย่างไร?
5 การนิยมวัตถุอาจดูเหมือนไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ทดสอบความภักดี แต่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ. เราไว้วางใจคำสัญญาของพระยะโฮวาไหมที่ว่าพระองค์จะทรงจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้ตามที่เราจำเป็นจริง ๆ? (มัด. 6:33; ฮีบรู 13:5) แทนที่จะบากบั่นอย่างไม่คำนึงถึงว่าต้องเสียอะไรเพื่อจะมีสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้คนถือกันว่าทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นแต่เป็นสิ่งที่เกินฐานะของเราในตอนนี้ เราจะยอมไม่มีสิ่งเหล่านั้นได้ไหม? (อ่านฟิลิปปอย 4:11-13.) เราถูกล่อใจให้ทิ้งสิทธิพิเศษในงานรับใช้พระเจ้าเพื่อจะได้สิ่งที่เราต้องการในเวลานี้ไหม? การรับใช้พระยะโฮวาอย่างภักดีอยู่ในอันดับแรกของชีวิตเราไหม? คำตอบของเราส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับว่าเรารับใช้พระเจ้าอย่างสุดหัวใจหรือไม่. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ความเลื่อมใสพระเจ้าพร้อมกับความอิ่มใจพอใจในสิ่งที่มีอยู่ทำให้ได้ประโยชน์มาก. เพราะเราไม่ได้เอาอะไรเข้ามาในโลก และเราก็ไม่อาจเอาอะไรออกไปจากโลกได้เช่นกัน. ดังนั้น เมื่อเรามีเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย เราควรอิ่มใจกับสิ่งเหล่านี้.”—1 ติโม. 6:6-8.
6. อาจมีการเสนอ “บำเหน็จ” อะไรให้เรา และอะไรจะช่วยเราให้ตัดสินใจว่าจะรับข้อเสนอนั้นหรือไม่?
6 ตัวอย่างเช่น นายจ้างอาจเสนอจะเลื่อนตำแหน่งให้ซึ่งจะทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ. หรือเราอาจรู้ว่าเราสามารถมีรายได้มากกว่าถ้าย้ายไปทำงานในอีกประเทศหนึ่งหรืออีกภูมิภาคหนึ่ง. ทีแรก โอกาสเช่นนั้นอาจดูเหมือนว่าเป็นพระพรจากพระยะโฮวา. แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำอะไรในเรื่องนี้ เราควรตรวจสอบเจตนาของเราให้ดี. คำถามสำคัญที่เราควรพิจารณาก็คือ “การตัดสินใจนี้จะส่งผลอย่างไรต่อสายสัมพันธ์ของฉันกับพระยะโฮวา?”
7. เหตุใดจึงสำคัญที่จะขจัดความปรารถนาแบบนิยมวัตถุ?
1 โยฮัน 2:15, 16.) พญามารต้องการชักนำหัวใจเราไปในทางที่ไม่ดี. ด้วยเหตุนั้น เราจำเป็นต้องตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อจะมองให้ออกว่าเรามีความปรารถนาแบบนิยมวัตถุในหัวใจหรือไม่ แล้วขจัดมันออกไปจากหัวใจเรา. (วิ. 3:15-17) ไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับพระเยซูที่จะปฏิเสธเมื่อซาตานเสนอจะยกอาณาจักรทั้งสิ้นในโลกให้. (มัด. 4:8-10) พระองค์ทรงเตือนว่า “จงระวังและรักษาตัวให้พ้นจากความโลภทุกชนิด เพราะแม้ว่าคนเรามีอย่างบริบูรณ์ แต่ชีวิตของเขาก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขามี.” (ลูกา 12:15) ความภักดีจะช่วยเราให้ไว้วางใจพระยะโฮวา และไม่วางใจตัวเอง.
7 ระบบของซาตานส่งเสริมผู้คนอย่างไม่หยุดหย่อนให้แสวงหาวัตถุ. (อ่านผู้พยากรณ์ชรา ‘กล่าวมุสาแก่ผู้พยากรณ์ของพระเจ้า’
8. ความภักดีของผู้พยากรณ์ของพระเจ้าถูกทดสอบอย่างไร?
8 เหตุการณ์คงเป็นไปด้วยดีหากผู้พยากรณ์ของพระเจ้าเดินทางต่อไปจนถึงบ้าน. แต่เกือบจะในทันที เขาพบกับการทดสอบอีกอย่างหนึ่ง. คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “มีผู้พยากรณ์ [ชรา] คนหนึ่งอยู่ในเมืองเบ็ธเอล; บุตรของท่านได้บอกท่าน” ถึงเรื่องราวทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในวันนั้น. เมื่อได้ฟังเรื่องที่บุตรชายเล่าให้ฟังแล้ว ชายชราผู้นี้ก็สั่งบุตรชายให้ผูกอานลาเพื่อเขาจะตามไปให้ทันผู้พยากรณ์ของพระเจ้า. หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อพบผู้พยากรณ์พักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เขาก็กล่าวว่า “เชิญมาเถิด, มารับประทานอาหารกับฉันที่บ้าน.” เมื่อคนของพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ปฏิเสธคำเชิญ ชายชราก็ตอบว่า “ฉันก็เป็นผู้พยากรณ์ด้วยเหมือนกัน; และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งมากล่าวแก่ฉันโดยคำแห่งพระยะโฮวาว่า, ‘จงพาท่านกลับมาด้วยเจ้ายังเรือนเจ้า, เพื่อท่านจะได้รับประทานและดื่มน้ำ.’ ” แต่พระคัมภีร์บอกว่า “ท่านได้กล่าวมุสาแก่ผู้พยากรณ์.”—1 กษัต. 13:11-18.
9. พระคัมภีร์กล่าวอย่างไรเกี่ยวกับคนที่ชอบหลอกลวง และเขาทำให้ใครเสียหาย?
9 ไม่ว่าผู้พยากรณ์ชราอาจมีเจตนาอย่างไร แต่ความจริงก็คือเขาโกหก. ชายชราผู้นี้อาจเคยเป็นผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวามาก่อน. แต่เมื่อถึงตอนนี้ สิ่งที่เขาทำเป็นการหลอกลวง. พระคัมภีร์ประณามอย่างแรงต่อการกระทำเช่นนั้น. (อ่านสุภาษิต 6:16, 17.) คนที่ชอบหลอกลวงไม่เพียงทำให้ตัวเขาเองเสียหายฝ่ายวิญญาณ แต่มักทำให้ผู้อื่นเสียหายด้วย.
“ท่านจึงได้กลับไปด้วยกัน” กับชายชรา
10. ผู้พยากรณ์ของพระเจ้าตอบคำเชิญของชายชราอย่างไร และผลเป็นอย่างไร?
10 ผู้พยากรณ์จากยูดาห์น่าจะมองเล่ห์เหลี่ยมของผู้พยากรณ์ชราออก. เขาน่าจะถามตัวเองว่า ‘ทำไมพระยะโฮวาจึงจะส่งทูตสวรรค์ไปหาคนอื่นให้มาบอกพระบัญชาใหม่กับฉัน?’ ผู้พยากรณ์น่าจะทูลถามพระยะโฮวาให้รู้แน่ชัดก่อนว่าพระองค์ทรงประสงค์ให้ทำอะไร แต่พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า1 กษัต. 13:19-25. *
เขาทำเช่นนั้น. แทนที่จะทำอย่างนั้น “ท่านจึงได้กลับไปด้วยกัน [กับชายชรา], รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่เรือนเขา.” พระยะโฮวาไม่พอพระทัย. ในที่สุด เมื่อผู้พยากรณ์ที่ถูกหลอกเดินทางต่อเพื่อจะกลับยูดาห์ เขาถูกสิงโตกัดตาย. ช่างเป็นจุดจบชีวิตการทำงานในฐานะผู้พยากรณ์ที่น่าเศร้าจริง ๆ!—11. อะฮียาวางตัวอย่างที่ดีอะไร?
11 ตรงกันข้าม ผู้พยากรณ์อะฮียา ซึ่งถูกส่งไปเจิมยาราบะอามเป็นกษัตริย์ รักษาความซื่อสัตย์จนชรา. เมื่ออะฮียาชราแล้วและตาก็บอด ยาราบะอามส่งมเหสีไปเพื่อสอบถามอะฮียาเกี่ยวด้วยเรื่องสุขภาพของราชบุตรที่ล้มป่วย. อะฮียาบอกให้ทราบล่วงหน้าอย่างกล้าหาญว่าราชบุตรของยาราบะอามจะเสียชีวิต. (1 กษัต. 14:1-18) พระพรอย่างหนึ่งในบรรดาพระพรหลายอย่างที่อะฮียาได้รับก็คือท่านมีสิทธิพิเศษโดยมีส่วนช่วยสนับสนุนการเขียนพระคำของพระเจ้าซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจ. โดยวิธีใด? ในภายหลัง ปุโรหิตเอษราใช้ข้อเขียนของท่านเป็นข้อมูลในการเขียน.—2 โคร. 9:29.
12-14. (ก) เราสามารถได้บทเรียนอะไรจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับผู้พยากรณ์ที่หนุ่มกว่า? (ข) จงยกตัวอย่างให้เห็นถึงความจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและจริงจังเมื่อผู้ปกครองให้คำแนะนำที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก.
12 คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าทำไมผู้พยากรณ์ที่หนุ่มกว่าไม่ปรึกษาพระยะโฮวาก่อนจะแวะพักกินดื่มกับชายชรา. อาจเป็นได้ไหมว่าชายชราบอกสิ่งที่เขาอยากได้ยินอยู่แล้ว? มีบทเรียนอะไรในเรื่องนี้สำหรับเรา? เราจำเป็นต้องมั่นใจอย่างแท้จริงว่าข้อเรียกร้องของพระยะโฮวาถูกต้อง. และเราต้องตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำตามข้อเรียกร้องเหล่านั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม.
13 เมื่อพูดถึงเรื่องคำแนะนำ บางคนเลือกฟังสิ่งที่เขาอยากจะได้ยิน. ตัวอย่างเช่น ผู้ประกาศคนหนึ่งอาจได้รับข้อเสนอให้ทำงานอย่างหนึ่งซึ่งอาจแย่งเวลาที่เขาควรใช้กับครอบครัวและในงานตามระบอบของพระเจ้า. เขาอาจขอคำแนะนำจากผู้ปกครอง. ผู้ปกครองอาจเกริ่นนำด้วยการชี้แจงว่าเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะบอกพี่น้องว่าต้องดูแลสนับสนุนครอบครัวของเขาอย่างไร. จากนั้น ผู้ปกครองอาจทบทวนกับพี่น้องคนนั้นว่าการรับงานดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของเขาอย่างไร. พี่น้องคนนั้นจะเลือกจำเฉพาะคำพูดส่วนแรกของผู้ปกครองเท่านั้นไหม หรือว่าเขาจะพิจารณาอย่างจริงจังว่าผู้ปกครองเตือนอะไรหลังจากนั้น? เห็นได้ชัดว่า พี่น้องคนนี้จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสภาพฝ่ายวิญญาณของเขา.
1 โค. 7:10-16) พี่น้องหญิงคนนี้จะพิจารณาใคร่ครวญคำพูดของผู้ปกครองอย่างที่เธอควรทำไหม? หรือเธอได้ตัดสินใจอยู่แล้วว่าจะทิ้งสามี? เมื่อเธอจะตัดสินใจ นับว่าฉลาดสุขุมที่เธอจะพิจารณาคำแนะนำที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอย่างจริงจัง.
14 ขอให้พิจารณาอีกสถานการณ์หนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นจริง. พี่น้องหญิงคนหนึ่งอาจถามผู้ปกครองว่าเธอควรแยกทางกับสามีซึ่งเป็นผู้ไม่มีความเชื่อหรือไม่. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ปกครองก็จะอธิบายว่าเรื่องนี้เธอต้องตัดสินใจเอง. จากนั้นเขาอาจทบทวนคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคัมภีร์ไบเบิล. (จงเจียมตัว
15. เราเรียนอะไรได้จากความผิดพลาดของผู้พยากรณ์คนนี้ของพระเจ้า?
15 มีอะไรอีกที่เราจะเรียนได้จากความผิดพลาดของผู้พยากรณ์จากยูดาห์? สุภาษิต 3:5 กล่าวว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง.” แทนที่จะไว้วางใจพระยะโฮวาต่อ ๆ ไปอย่างที่เขาได้ทำในอดีต ในโอกาสนี้ผู้พยากรณ์จากยูดาห์ไว้ใจการวินิจฉัยของตัวเอง. ความผิดพลาดของเขาทำให้เขาเสียชีวิตและสูญเสียชื่อเสียงที่ดีที่เขาเคยมีกับพระเจ้า. ประสบการณ์ของเขาเน้นให้เห็นอย่างมีพลังสักเพียงไรว่าการรับใช้พระยะโฮวาอย่างภักดีและเจียมตัวนั้นสำคัญจริง ๆ!
16, 17. อะไรจะช่วยเราภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอ?
16 แนวโน้มที่เห็นแก่ตัวในหัวใจมักชักนำเราไปผิดทาง. “หัวใจทรยศยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดและสิ้นคิด.” (ยิระ. 17:9, ล.ม.) เพื่อจะภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอ เราต้องพยายามอย่างหนักต่อ ๆ ไปที่จะถอดทิ้งบุคลิกภาพเก่า รวมทั้งแนวโน้มที่จะทำเกินสิทธิ์และไว้ใจตัวเอง. และเราต้องสวมบุคลิกภาพใหม่ “ที่ถูกสร้างขึ้นตามที่พระเจ้าทรงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.”—อ่านเอเฟโซส์ 4:22-24.
17 สุภาษิต 11:2 กล่าวว่า “สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว.” การไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเจียมตัวช่วยเราหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาดที่ก่อผลเสียหายร้ายแรง. ตัวอย่างเช่น ความท้อใจอาจทำให้เราตัดสินใจอย่างผิดเพี้ยน. (สุภา. 24:10) เราอาจรู้สึกว่าไม่มีแรงจะทำงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์บางอย่างและเริ่มคิดว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาเราได้ทำมามากพอแล้ว และคิดว่าตอนนี้เป็นเวลาที่คนอื่นจะรับภาระหน้าที่นี้ต่อไป. หรือเราอาจอยากใช้ชีวิตอย่างที่คนทั่วไปถือว่าเป็นชีวิต “ปกติ.” อย่างไรก็ตาม ‘การบากบั่นพยายาม’ และ ‘การหมกมุ่นในการทำงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า’ จะป้องกันหัวใจเราไว้.—ลูกา 13:24; 1 โค. 15:58.
18. เราจะทำอะไรได้ถ้าไม่รู้ว่าควรตัดสินใจอย่างไร?
18 บางครั้ง เราอาจจำเป็นต้องตัดสินใจบางอย่างที่เป็นเรื่องยาก และอาจมองไม่เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวทางที่ถูกต้องคืออะไร. ถ้าอย่างนั้น เราจะถูกล่อใจให้แก้ปัญหาด้วยตัวเองไหม? เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น เราควรทูลขอพระยะโฮวาให้ช่วยเรา. ยาโกโบ 1:5 กล่าวว่า “ถ้าพวกท่านคนใดขาดสติปัญญา ให้เขาทูลขอพระเจ้าต่อ ๆ ไป . . . เพราะพระองค์จะทรงประทานแก่ทุกคนด้วยพระทัยกว้าง.” พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เราจำเป็นต้องมีเพื่อเราจะตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมได้.—อ่านลูกา 11:9, 13.
จงตั้งใจแน่วแน่จะภักดีอยู่เสมอ
19, 20. เราควรตั้งใจแน่วแน่จะทำอะไร?
19 ช่วงเวลาอันปั่นป่วนวุ่นวายหลังจากที่โซโลมอนถอยห่างจากการนมัสการแท้นับเป็นช่วงที่มีการทดสอบความภักดีของผู้รับใช้พระเจ้าอย่างรุนแรง. เป็นความจริงที่ว่าหลายคนประนีประนอมในทางใดทางหนึ่ง. อย่างไรก็ตาม บางคนยังคงภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอ.
20 แต่ละวันที่ผ่านไป เราเผชิญกับการเลือกและการตัดสินใจที่ทดสอบความภักดีของเรา. เราเองก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าเราซื่อสัตย์. ให้เราภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอขณะที่เรารับใช้ด้วยหัวใจที่เป็นหนึ่งเดียว โดยเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าพระองค์จะอวยพรผู้ที่ภักดีต่อพระองค์ต่อ ๆ ไป.—2 ซามู. 22:26.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าพระยะโฮวาทรงลงโทษผู้พยากรณ์ชราให้ถึงแก่ความตายหรือไม่.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดเราควรพยายามขจัดความปรารถนาแบบนิยมวัตถุออกไปจากหัวใจเรา?
• อะไรจะช่วยเราให้ภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอ?
• ความเจียมตัวจะช่วยเราได้อย่างไรให้ภักดีต่อพระเจ้าอยู่เสมอ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 9]
เป็นเรื่องยากสำหรับคุณไหมที่จะต้านทานการล่อใจ?
[ภาพหน้า 10]
คุณจะพิจารณาคำแนะนำที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอย่างจริงจังไหม?