คำสอนของพระเยซูส่งเสริมความสุขอย่างไร?
คำสอนของพระเยซูส่งเสริมความสุขอย่างไร?
“[พระเยซู] เสด็จขึ้นภูเขา . . . เหล่าสาวกก็มาหาพระองค์ พระองค์จึงสอนพวกเขา.”—มัด. 5:1, 2.
1, 2. (ก) พระเยซูตรัสคำเทศน์บนภูเขาในสภาพการณ์แบบใด? (ข) พระเยซูทรงเริ่มคำบรรยายอย่างไร?
ตอนนั้นเป็นสากลศักราช 31. พระเยซูทรงหยุดการประกาศในแคว้นแกลิลีเอาไว้ก่อนเพื่อเข้าร่วมการฉลองปัศคาในกรุงเยรูซาเลม. (โย. 5:1) เมื่อกลับมาที่แกลิลี พระองค์ทรงอธิษฐานตลอดคืนเพื่อขอการชี้นำจากพระเจ้าในการเลือกอัครสาวก 12 คน. วันถัดมา ฝูงชนพากันมารวมตัวกันขณะที่พระเยซูทรงรักษาคนเจ็บป่วย. พระองค์ทรงนั่งลงที่ไหล่เขาท่ามกลางเหล่าสาวกและคนอื่น ๆ แล้วสอนพวกเขา.—มัด. 4:23–5:2; ลูกา 6:12-19.
2 พระเยซูทรงเริ่มคำบรรยาย—คำเทศน์บนภูเขา—โดยแสดงให้เห็นว่าความสุขเกิดจากการมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า. (อ่านมัดธาย 5:1-12.) ความสุขคือ “ความสบาย, ความสำราญ, ความปราศจากโรค.” ความสุขเก้าประการที่พระเยซูตรัสถึงเน้นเหตุผลที่คริสเตียนมีความสุข และคำตรัสดังกล่าวเป็นประโยชน์ในทุกวันนี้เช่นเดียวกับเมื่อเกือบ 2,000 ปีที่แล้ว. ต่อไปนี้ ให้เราพิจารณาคำตรัสเหล่านั้นทีละอย่าง.
“ผู้ที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ”
3. การสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณหมายถึงอะไร?
3 “ผู้ที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณก็มีความสุข เพราะราชอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา.” (มัด. 5:3) “คนที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ” ตระหนักว่าเขาจำเป็นต้องได้รับการชี้นำและความเมตตาจากพระเจ้า.
4, 5. (ก) เหตุใดคนที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณจึงมีความสุข? (ข) เราจะสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณได้โดยวิธีใด?
4 คนที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณมีความสุข “เพราะราชอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา.” การยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระมาซีฮาเปิดโอกาสให้เหล่าสาวกรุ่นแรกของพระองค์ได้ร่วมปกครองกับพระองค์ในราชอาณาจักรสวรรค์ของพระเจ้า. (ลูกา 22:28-30) ไม่ว่าเราเองเป็นส่วนตัวมีความหวังจะเป็นรัชทายาทร่วมกับพระคริสต์ในสวรรค์หรือเราคอยท่าจะมีชีวิตนิรันดร์ในอุทยานบนแผ่นดินโลกภายใต้การปกครองของราชอาณาจักร เราสามารถมีความสุขถ้าเราสำนึกจริง ๆ ถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเราและสำนึกเต็มที่ว่าเราต้องพึ่งอาศัยพระเจ้า.
5 ไม่ใช่ทุกคนสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ เพราะหลายคนขาดความเชื่อและไม่เห็นค่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (2 เทส. 3:1, 2; ฮีบรู 12:16) มีหลายวิธีที่เราจะสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ ซึ่งก็รวมถึงการขยันศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, การร่วมในงานทำให้คนเป็นสาวกอย่างกระตือรือร้น, และการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ.—มัด. 28:19, 20; ฮีบรู 10:23-25.
ผู้ที่โศกเศร้า “มีความสุข”
6. “ผู้ที่โศกเศร้า” คือใคร และเหตุใดพวกเขาจึง “มีความสุข”?
6 “ผู้ที่โศกเศร้าก็มีความสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน.” (มัด. 5:4) “ผู้ที่โศกเศร้า” คือคนประเภทเดียวกับ “คนที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ.” พวกเขาไม่โศกเศร้าแบบคนที่ชอบบ่นเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง. พวกเขาโศกเศร้าเพราะสภาพผิดบาปของตนเองและสภาพการณ์ที่มีอยู่ซึ่งสืบเนื่องมาจากความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์. เหตุใดคนที่โศกเศร้าเช่นนั้นจึง “มีความสุข”? เพราะพวกเขาแสดงความเชื่อในพระเจ้าและพระคริสต์และได้รับการปลอบโยนจากการมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา.—โย. 3:36.
7. เราควรรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับโลกของซาตาน?
7 เราเองโศกเศร้าเพราะความไม่ชอบธรรมที่มีอยู่ดาษ1 โย. 2:16) แต่จะว่าอย่างไรถ้าเรารู้สึกว่าสภาพฝ่ายวิญญาณของเรากำลังถูกเซาะกร่อนจาก “น้ำใจของโลก” อันได้แก่พลังผลักดันที่ครอบงำสังคมมนุษย์ที่เหินห่างจากพระเจ้า? ถ้าอย่างนั้น ก็ขอให้เราอธิษฐานอย่างแรงกล้า, ศึกษาพระคำของพระเจ้า, และขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง. เมื่อเราใกล้ชิดพระยะโฮวามากขึ้น เราก็จะ “ได้รับการปลอบโยน” ไม่ว่าสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์จะเป็นอะไรก็ตาม.—1 โค. 2:12; เพลง. 119:52, ล.ม.; ยโก. 5:14, 15.
ดื่นในโลกของซาตานไหม? เรารู้สึกอย่างไรจริง ๆ ต่อสิ่งที่โลกนี้เสนอให้? อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “ทุกสิ่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนาทางกาย ความปรารถนาทางตา หรือการโอ้อวดทรัพย์สมบัติ ไม่ได้มาจากพระบิดา.” (“คนที่จิตใจอ่อนโยน” ช่างมีความสุขสักเพียงไร!
8, 9. การเป็นคนที่จิตใจอ่อนโยนหมายถึงอะไร และเหตุใดคนที่จิตใจอ่อนโยนจึงมีความสุข?
8 “คนที่จิตใจอ่อนโยนก็มีความสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก.” (มัด. 5:5) “จิตใจที่อ่อนโยน” หรือความอ่อนน้อมไม่ใช่ลักษณะที่แสดงถึงความอ่อนแอหรือความสุภาพแบบหน้าซื่อใจคด. (1 ติโม. 6:11) ถ้าเรามีจิตใจอ่อนโยน เราจะแสดงความอ่อนน้อมโดยทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาและยอมรับการชี้นำจากพระองค์. จิตใจอ่อนโยนยังจะเห็นได้ชัดด้วยจากวิธีที่เราปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมความเชื่อและคนอื่น ๆ. ความอ่อนน้อมเช่นนั้นสอดคล้องกับคำแนะนำของอัครสาวกเปาโล.—อ่านโรม 12:17-19.
9 เหตุใดคนที่จิตใจอ่อนโยนจึงมีความสุข? ตามที่พระเยซูผู้มีจิตใจอ่อนโยนตรัสไว้ เพราะ “เขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก.” พระเยซูทรงเป็นบุคคลหลักที่จะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก. (เพลง. 2:8; มัด. 11:29; ฮีบรู 2:8, 9) อย่างไรก็ตาม “ผู้รับมรดกร่วมกับพระคริสต์” ที่จิตใจอ่อนโยนก็ได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดกด้วย. (โรม 8:16, 17) ในอาณาเขตทางแผ่นดินโลกของราชอาณาจักรของพระเยซู คนอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากที่อ่อนน้อมจะได้รับชีวิตนิรันดร์.—เพลง. 37:10, 11.
10. การขาดความอ่อนโยนอาจมีผลกระทบอย่างไรต่อสิทธิพิเศษในการรับใช้และสายสัมพันธ์ของเรากับคนอื่น ๆ?
10 เช่นเดียวกับพระเยซู เราควรมีจิตใจอ่อนโยน. แต่จะว่าอย่างไรถ้าเรามีแนวโน้มเป็นคนก้าวร้าวชอบโต้เถียง? ทัศนคติที่ก้าวร้าวและไม่เป็นมิตรเช่นนั้นอาจทำให้คนอื่นหลบเลี่ยงเรา. ถ้าเราเป็นพี่น้องชายที่ปรารถนาจะรับเอาหน้าที่รับผิดชอบในประชาคม นิสัยแบบนี้ทำให้เราขาดคุณสมบัติ. (1 ติโม. 3:1, 3) เปาโลบอกทิทุสให้คอยเตือนคริสเตียนที่เกาะครีตว่า “อย่าเป็นคนชอบทะเลาะวิวาท ให้มีเหตุผล แสดงความอ่อนโยนต่อทุกคนให้มาก ๆ.” (ทิทุส 3:1, 2) ความอ่อนโยนเช่นนั้นนับเป็นพระพรจริง ๆ สำหรับคนอื่น ๆ!
เขาหิวกระหาย “ความชอบธรรม”
11-13. (ก) ความหิวกระหายความชอบธรรมหมายถึงอะไร? (ข) คนที่หิวกระหายความชอบธรรม “อิ่มหนำ” อย่างไร?
11 “ผู้ที่หิวกระหายความชอบธรรมก็มีความสุข เพราะเขาจะได้อิ่มหนำ.” (มัด. 5:6) “ความชอบธรรม” ที่อยู่ในความคิดของพระเยซูเป็นคุณลักษณะในการทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยการปฏิบัติตามพระทัยประสงค์และพระบัญชาของพระเจ้า. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่าท่าน “รู้สึกปวดร้าวเพราะปรารถนา” คำตัดสินอันชอบธรรมของพระเจ้า. (เพลง. 119:20, ล.ม.) เราถือว่าความชอบธรรมมีค่าสูงยิ่งถึงขนาดที่เราหิวกระหายคุณลักษณะนี้ไหม?
โย. 16:8) โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าทรงดลใจหลายคนให้รวบรวมและจัดทำพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อ “การตีสอนด้วยความชอบธรรม.” (2 ติโม. 3:16) พระวิญญาณของพระเจ้ายังช่วยเราให้สามารถ “สวมบุคลิกภาพใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามที่พระเจ้าทรงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยความชอบธรรม . . . ที่แท้จริง.” (เอเฟ. 4:24) การรู้ว่าคนที่กลับใจและขออภัยโทษบาปของตนโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูสามารถได้ฐานะที่ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระเจ้านั้นทำให้เรารู้สึกสบายใจมิใช่หรือ?—อ่านโรม 3:23, 24.
12 พระเยซูตรัสว่าคนที่หิวกระหายความชอบธรรมจะมีความสุขเพราะเขาจะ “อิ่มหนำ” หรือได้รับการสนองอย่างเต็มที่. เรื่องนี้เป็นไปได้หลังจากวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 เพราะตอนนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาเริ่ม “แสดงให้โลกเห็นชัดแจ้งในเรื่อง . . . ความชอบธรรม.” (13 ถ้าเรามีความหวังทางแผ่นดินโลก ความหิวกระหายความชอบธรรมจะได้รับการสนองอย่างเต็มที่เมื่อเราได้รับชีวิตนิรันดร์และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชอบธรรมบนแผ่นดินโลก. ระหว่างที่รออยู่นี้ ให้เราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะดำเนินชีวิตสอดคล้องกับมาตรฐานของพระยะโฮวา. พระเยซูตรัสว่า “จงแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของ [พระเจ้า] ก่อนเสมอไป.” (มัด. 6:33) การทำอย่างนั้นจะทำให้เรามีงานของพระเจ้าเต็มมือและหัวใจเราจะเปี่ยมด้วยความสุขแท้.—1 โค. 15:58.
เหตุใด “คนที่เมตตา” จึงมีความสุข?
14, 15. เราจะแสดงความเมตตาได้โดยวิธีใด และเหตุใด “คนที่เมตตา” จึงมีความสุข?
14 “คนที่เมตตาก็มีความสุข เพราะเขาจะได้รับความเมตตา.” (มัด. 5:7) “คนที่เมตตา” ได้รับการกระตุ้นจากความเห็นอกเห็นใจและความสงสารที่เขามีต่อผู้อื่น. พระเยซูทรงทำการอัศจรรย์เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ของหลายคนเพราะพระองค์ทรงสงสารพวกเขา. (มัด. 14:14) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสิน ความเมตตาปรากฏชัดเมื่อคนเราให้อภัยคนที่ทำผิดต่อเขา เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงเมตตาให้อภัยคนที่กลับใจ. (เอ็ก. 34:6, 7; เพลง. 103:10) เราสามารถแสดงความเมตตาด้วยวิธีนี้ รวมถึงด้วยคำพูดและการกระทำที่กรุณาซึ่งช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้ด้อยโอกาส. วิธีหนึ่งที่ดีในการแสดงความเมตตาคือการบอกความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่น ๆ. เพราะถูกกระตุ้นจากความสงสารฝูงชน พระเยซู “ทรงสอนพวกเขาหลายเรื่อง.”—มโก. 6:34.
15 เรามีเหตุผลที่จะเห็นด้วยกับคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “คนที่เมตตาก็มีความสุข เพราะเขาจะได้รับความเมตตา.” หากเราปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความเมตตา พวกเขาก็มักจะปฏิบัติอย่างเดียวกันต่อเรา. เราอาจพบว่าความเมตตาที่เราแสดงต่อคนอื่น ๆ ช่วยเราให้ได้รับการยกเว้นโทษจากพระเจ้าเมื่อพระองค์ทรงพิพากษาเรา. (ยโก. 2:13) การให้อภัยบาปและชีวิตนิรันดร์มีให้เฉพาะคนที่เมตตาเท่านั้น.—มัด. 6:15.
เหตุใด “คนที่ใจบริสุทธิ์” จึงมีความสุข?
16. การมี“ใจบริสุทธิ์” หมายถึงอะไร และคนที่มีคุณลักษณะนี้ “เห็นพระเจ้า” อย่างไร?
16 “คนที่ใจบริสุทธิ์ก็มีความสุข เพราะเขาจะเห็นพระเจ้า.” (มัด. 5:8) ถ้าเรามี “ใจบริสุทธิ์” ความรัก, ความปรารถนา, และแรงกระตุ้นของเราจะบริสุทธิ์. เราจะแสดง “ความรักอย่างบริสุทธิ์ใจ.” (1 ติโม. 1:5) เนื่องจากเราสะอาดภายใน เราจะ “เห็นพระเจ้า.” นี่ไม่ได้หมายความว่าเราจะเห็นพระยะโฮวาจริง ๆ เพราะ “ไม่มีมนุษย์ผู้ใดที่ได้เห็นหน้าของ [พระเจ้า] แล้วและยังจะมีชีวิตอยู่ได้.” (เอ็ก. 33:20) แต่เนื่องจากพระเยซูทรงสะท้อนบุคลิกภาพของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์แบบ พระองค์จึงสามารถตรัสว่า “ผู้ที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดาด้วย.” (โย. 14:7-9) ในฐานะผู้นมัสการพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลก เราสามารถ “เห็นพระเจ้า” ด้วยการสังเกตดูว่าพระองค์ทรงทำอะไรเพื่อประโยชน์ของเรา. (โยบ 42:5) สำหรับคริสเตียนผู้ถูกเจิม การเห็นพระเจ้าถึงจุดสุดยอดเมื่อพวกเขาถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตที่เป็นกายวิญญาณและได้เห็นพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จริง ๆ.— 1 โย. 3:2.
17. การมีใจบริสุทธิ์จะส่งผลอย่างไรต่อเรา?
17 เนื่องจากคนที่ใจบริสุทธิ์จะสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ เขาจึงไม่หมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องที่ไม่สะอาดในสายพระเนตรพระยะโฮวา. (1 โคร. 28:9; ยซา. 52:11) หากเราเป็นคนที่ใจบริสุทธิ์ สิ่งที่เราพูดและทำจะบริสุทธิ์ และการรับใช้ที่เราถวายพระยะโฮวาจะไม่เป็นแบบหน้าซื่อใจคดเลย.
“ผู้ที่สร้างสันติ” ได้มาเป็นบุตรของพระเจ้า
18, 19. “ผู้ที่สร้างสันติ” ประพฤติตัวอย่างไร?
18 “ผู้ที่สร้างสันติก็มีความสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่า ‘บุตรของพระเจ้า.’ ” (มัด. 5:9) ใครเป็น “ผู้ที่สร้างสันติ” ดูได้จากสิ่งที่เขาทำและสิ่งที่เขาจะไม่ทำ. ถ้าเราเป็นคนแบบที่พระเยซูทรงคิดและตรัสถึง เราจะรักสันติและไม่ “ทำการชั่วตอบแทนการชั่วต่อผู้ใด.” ตรงกันข้าม เรา ‘พยายามทำดีต่อคนอื่นเสมอ.’—1 เทส. 5:15.
19 เพื่อจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ที่สร้างสันติ เราต้องส่งเสริมสันติสุขอย่างขันแข็ง. ผู้สร้างสันติไม่ทำสิ่งใดก็ตามที่ “กระทำให้มิตรสนิทแตกแยกกัน.” (สุภา. 16:28) ในฐานะผู้ที่สร้างสันติ เราลงมือทำในแง่บวกเพื่อ “พยายามมีสันติสุขกับคนทั้งปวง.”—ฮีบรู 12:14.
20. ตอนนี้ใครเป็น “บุตรของพระเจ้า” และจะมีใครอีกซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นบุตรหลานของพระเจ้าด้วย?
20 คนที่สร้างสันติมีความสุขเพราะ “เขาจะได้ชื่อว่า ‘บุตรของพระเจ้า.’ ” พระยะโฮวาทรงรับคริสเตียนผู้ถูกเจิมที่ซื่อสัตย์ไว้แล้วให้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของพระองค์ และพวกเขาเป็น “บุตรของพระเจ้า.” พวกเขามีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระยะโฮวาในฐานะบุตรอยู่แล้วเพราะพวกเขาแสดงความเชื่อในพระคริสต์และนมัสการ “พระเจ้าแห่งความรักและสันติสุข” อย่างสุดหัวใจ. (2 โค. 13:11; โย. 1:12) จะว่าอย่างไรสำหรับผู้รักสันติที่เป็น “แกะอื่น” ของพระเยซู? พวกเขาจะมีพระเยซูเป็น “พระบิดาองค์ถาวร” ในช่วงรัชสมัยพันปี แต่เมื่อสิ้นสุดพันปีพระองค์จะยอมอยู่ใต้อำนาจพระยะโฮวาและพวกเขาจะกลายเป็นบุตรของพระเจ้าในความหมายที่ครบถ้วน.—โย. 10:16; ยซา. 9:6; โรม 8:21; 1 โค. 15:27, 28.
21. เราจะทำอย่างไรถ้าเรา “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ”?
21 ถ้าเรา “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ” คนอื่นก็จะเห็นได้ไม่ยากว่าความรักสันติเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของเรา. เราจะไม่ “ยั่วยุให้มีการแข่งขันชิงดีกัน” หรือ “ยั่วโทสะกัน.” (กลา. 5:22-26, ฉบับ R73) แทนที่จะทำอย่างนั้น เราพยายาม “อยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง.”—โรม 12:18.
มีความสุขแม้ถูกข่มเหง!
22-24. (ก) คนที่ถูกข่มเหงเพราะเห็นแก่ความชอบธรรมมีความสุขเพราะอะไร? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความศึกษาสองเรื่องถัดไป?
22 “ผู้ที่ถูกข่มเหงเพราะเห็นแก่ความชอบธรรมก็มีความสุข เพราะราชอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา.” (มัด. 5:10) เพื่อขยายจุดนี้ พระเยซูตรัสอีกว่า “เจ้าทั้งหลายมีความสุขเมื่อผู้คนติเตียนและข่มเหงพวกเจ้าและพูดมุสาเรื่องชั่วร้ายสารพัดอย่างต่อต้านพวกเจ้าเพราะเรา. จงปลาบปลื้มยินดีเพราะบำเหน็จของเจ้าทั้งหลายมีมากมายในสวรรค์ ด้วยว่าพวกเขาก็ได้ข่มเหงเหล่าผู้พยากรณ์ที่อยู่ก่อนพวกเจ้าอย่างนั้นแหละ.”—มัด. 5:11, 12.
23 เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์ของพระเจ้าในสมัยโบราณ คริสเตียนคาดหมายว่าพวกเขาจะถูกติเตียน, ข่มเหง, และมุสาเรื่องชั่วร้าย—ทั้งหมดนี้ “เพราะเห็นแก่ความชอบธรรม.” แต่โดยอดทนการทดสอบเช่นนั้นและรักษาความซื่อสัตย์ เราอิ่มใจที่ทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยและทำให้พระองค์ได้รับเกียรติ. (1 เป. 2:19-21) ปัญหาที่เราทนอยู่ไม่อาจบั่นทอนความยินดีของเราในการรับใช้พระยะโฮวาในเวลานี้หรือในอนาคต. ปัญหาเหล่านั้นไม่อาจลดทอนความสุขที่จะได้ร่วมปกครองกับพระคริสต์ในราชอาณาจักรสวรรค์หรือความยินดีที่ได้รับชีวิตนิรันดร์ในฐานะราษฎรบนแผ่นดินโลกของรัฐบาลนั้น. พระพรเช่นนั้นเป็นหลักฐานแสดงถึงความโปรดปราน, ความเมตตา, และความเอื้อเฟื้อของพระเจ้า.
24 ยังมีอีกหลายสิ่งที่จะเรียนรู้ได้จากคำเทศน์บนภูเขา. จะมีการพิจารณาบทเรียนหลายอย่างในบทความศึกษาสองเรื่องถัดไป. ให้เราพิจารณาดูว่าเราจะใช้คำสอนเหล่านั้นของพระเยซูคริสต์อย่างไร.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใด “ผู้ที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ” จึงมีความสุข?
• อะไรทำให้ “คนที่จิตใจอ่อนโยน” มีความสุข?
• เหตุใดคริสเตียนมีความสุขแม้ถูกข่มเหง?
• คุณประทับใจความสุขประการใดที่พระเยซูตรัสถึง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 7]
ความสุขเก้าประการที่พระเยซูทรงเน้นเป็นประโยชน์ในปัจจุบันเช่นเดียวกับในสมัยของพระองค์
[ภาพหน้า 8]
วิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการแสดงความเมตตาคือการบอกความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่น ๆ