คุณต้องไม่ลืมพระยะโฮวา
คุณต้องไม่ลืมพระยะโฮวา
บางคนในกลุ่มนี้เคยทำเรื่องคล้าย ๆ กันนี้มาก่อน. แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ นี่เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตที่พวกเขาจะเดินข้ามก้นลำน้ำโดยไม่เปียกเลย. พระยะโฮวาเพิ่งทรงบันดาลให้น้ำในแม่น้ำจอร์แดนหยุดไหล. ถึงตอนนี้ ชาวอิสราเอลนับล้านคนก็เคลื่อนขบวนอันกว้างใหญ่และยาวเหยียดข้ามผ่านก้นแม่น้ำเข้าสู่แผ่นดินที่ทรงสัญญา. เช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขาเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านั้นที่ทะเลแดง หลายคนที่ข้ามแม่น้ำจอร์แดนในตอนนี้คงต้องคิดว่า ‘ฉันจะไม่มีทางลืมสิ่งที่พระยะโฮวาทรงทำที่นี่อย่างแน่นอน.’—ยโฮ. 3:13-17.
อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงทราบว่าชาวอิสราเอลบางคนจะ ‘ลืมพระราชกิจของพระองค์ภายในเวลามิช้ามินาน.’ (เพลง. 106:13) ดังนั้น พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ยะโฮซูอะ ผู้นำชาติอิสราเอล นำหิน 12 ก้อนจากก้นแม่น้ำเอาไปตั้งไว้ในจุดที่พวกเขาจะตั้งค่ายพักแห่งแรก. ยะโฮซูอะอธิบายว่า “หินเหล่านี้จะได้เป็นที่ระลึกแก่ชาติยิศราเอล.” (ยโฮ. 4:1-8) อนุสาวรีย์ที่ก่อขึ้นด้วยหินนั้นจะเตือนชาติอิสราเอลให้นึกถึงพระราชกิจอันทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่งของพระยะโฮวาและทำให้พวกเขาสำนึกถึงเหตุผลที่พวกเขาควรรับใช้พระองค์อย่างภักดีเสมอ.
เรื่องราวดังกล่าวมีความสำคัญสำหรับประชาชนของพระเจ้าในสมัยปัจจุบันไหม? มี. เราเองก็ต้องไม่ลืมพระยะโฮวาด้วย และเราต้องรับใช้พระองค์อย่างภักดีต่อ ๆ ไป. คำเตือนอื่น ๆ ที่มีมาถึงชาติอิสราเอลสามารถใช้กับผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในทุกวันนี้. ขอให้พิจารณาถ้อยคำของโมเซ ที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจงระวังตัวอย่าได้ลืมพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, ไม่รักษาข้อบัญญัติ, ข้อพิพากษา, และข้อกฎหมายของพระองค์.” (บัญ. 8:11) คำพูดดังกล่าวแสดงว่าการหลงลืมพระยะโฮวาอาจทำให้คนเราไม่เชื่อฟังพระเจ้า. มีอันตรายอย่างนั้นในสมัยของเราด้วย. เมื่อเขียนถึงคริสเตียน อัครสาวกเปาโลเตือนให้ระวังอย่า “เอาอย่าง” ชาวอิสราเอลที่ไม่เชื่อฟังในถิ่นทุรกันดาร.—ฮีบรู 4:8-11.
ให้เรามาพิจารณาบางเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาติอิสราเอลซึ่งจะเน้นให้เห็นว่าเราไม่ควรลืมพระเจ้า. นอกจากนั้น บทเรียนจากชีวิตของชายชาวอิสราเอลที่ภักดีสองคนจะช่วยเราให้รับใช้พระยะโฮวาด้วยความอดทนและสำนึกบุญคุณ.
เหตุผลที่ควรระลึกถึงพระยะโฮวาเสมอ
ตลอดช่วงเวลายาวนานที่ชาวอิสราเอลอยู่ในอียิปต์ พระยะโฮวาไม่เคยลืมพวกเขา. พระองค์ “ทรงระลึกถึงคำสัญญาที่พระองค์ได้ทรงกระทำไว้กับอับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบ.” (เอ็ก. 2:23, 24) สิ่งที่พระองค์ทรงทำในตอนนั้นเพื่อช่วยพวกเขาให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสนับว่าน่าจดจำอย่างแท้จริง.
พระยะโฮวาทรงบันดาลให้เกิดภัยพิบัติกับอียิปต์ไปแล้วเก้าประการ. พวกปุโรหิตที่เป็นพวกทำเวทมนตร์ของฟาโรห์ไม่มีอำนาจจะหยุดยั้งภัยพิบัติเหล่านี้. ถึงกระนั้น ฟาโรห์ก็ยังลองดีพระยะโฮวา โดยไม่ยอมปล่อยให้ชาวอิสราเอลเป็นอิสระ. (เอ็ก. 7:14–10:29) แต่ผลของภัยพิบัติประการที่สิบทำให้ผู้ปกครองที่หยิ่งยโสผู้นี้จำเป็นต้องยอมทำตามที่พระเจ้าทรงประสงค์. (เอ็ก. 11:1-10; 12:12) โดยมีโมเซเป็นผู้นำ ชนชาติอิสราเอลและคนชาติอื่นที่ปะปนอยู่ด้วยจำนวนมากซึ่งอาจมีจำนวนทั้งหมด 3,000,000 คนเดินทางออกจากอียิปต์. (เอ็ก. 12:37, 38) พวกเขาเดินทางออกไปได้ไม่นาน ฟาโรห์ก็เปลี่ยนใจ. เขาสั่งกองทัพที่พรั่งพร้อมด้วยรถรบติดอาวุธและกองพลทหารม้า—กองทัพที่เกรียงไกรที่สุดในโลกสมัยนั้น—ให้จับตัวอดีตทาสของเขากลับคืนมา. ในช่วงนั้นเอง พระยะโฮวาทรงสั่งโมเซให้พาชาวอิสราเอลไปยังที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่งชื่อพีฮาฮีโรทซึ่งอยู่ระหว่างทะเลตายกับแนวสันเขา และดูเหมือนเป็นทางตันที่หนีไปไหนไม่ได้.—เอ็ก. 14:1-9.
ฟาโรห์เชื่อว่าชาวอิสราเอลได้เดินเข้าสู่กับดักแล้ว และกองทัพของเขากำลังจะโจมตีชาวอิสราเอล. แต่พระยะโฮวาทรงกันพวกอียิปต์ไว้โดยทรงตั้งเสาเมฆและเสาไฟกั้นกลางระหว่างพวกเขากับชาวอิสราเอล. จากนั้นพระเจ้าก็ทรงแยกทะเลแดง เปิดเป็นช่องทางเดินที่ก้นทะเลระหว่างกำแพงน้ำทั้งสองด้านซึ่งอาจสูงถึง 15 เมตร. ชาติอิสราเอลเริ่มข้ามทะเลโดยเดินบนดินแห้ง. ไม่ช้า ทหารอียิปต์ก็เอ็ก. 13:21; 14:10-22.
มาอยู่ที่ฝั่งทะเล และมองไปเห็นชาวอิสราเอลกำลังหนีไปขึ้นฝั่งตรงกันข้าม.—ผู้นำที่มีความคิดสุขุมรอบคอบคงล้มเลิกการไล่ตามไปแล้ว—แต่ไม่ใช่ฟาโรห์. ด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยม เขาสั่งพลทหารรถรบและพลทหารม้าให้บุกตามลงไปที่ก้นทะเล. ทหารอียิปต์ควบม้าใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ. แต่ก่อนที่พวกเขาจะตามทันชาวอิสราเอล การไล่ตามอย่างบ้าคลั่งของพวกเขาก็จบลง. ล้อรถรบของพวกอียิปต์หมุนไม่ได้อีกต่อไป เพราะพระยะโฮวาทรงทำให้ล้อรถของพวกเขาหลุด.—เอ็ก. 14:23-25; 15:9.
ขณะที่ทหารอียิปต์ดิ้นรนเสือกสนกับรถรบที่ใช้การไม่ได้ ชาวอิสราเอลทั้งหมดก็ไปถึงฝั่งตะวันออก. ถึงตอนนี้ โมเซยื่นมือออกไปเหนือทะเลแดง. แล้วพระยะโฮวาก็ทรงทำให้กำแพงน้ำทั้งสองด้านของช่องทางเดินยุบตัวลงมา. น้ำที่หนักหลายล้านตันซัดกระแทกฟาโรห์และนักรบของเขาจมมิด. ไม่มีศัตรูคนใดรอดชีวิตแม้แต่คนเดียว. ชาวอิสราเอลเป็นอิสระ!—เอ็ก. 14:26-28; เพลง. 136:13-15.
ข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ทำให้ชาติต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบหวาดหวั่นพรั่นพรึงเป็นเวลานาน. (เอ็ก. 15:14-16) สี่สิบปีต่อมา ราฮาบชาวเมืองเยริโคบอกชายชาวอิสราเอลสองคนว่า “ความสะดุ้งกลัวท่านได้ตกบนพวกข้าพเจ้า . . . ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายได้ยินเรื่องที่พระยะโฮวาทรงบันดาลให้น้ำทะเลแดงแห้งไปข้างหน้าท่าน, เมื่อท่านได้ออกมาจากเมืองอายฆุบโตนั้น.” (ยโฮ. 2:9, 10) แม้แต่ชาตินอกรีตเหล่านั้นก็ไม่ได้ลืมวิธีที่พระยะโฮวาช่วยประชาชนของพระองค์. เห็นได้ชัด ชาวอิสราเอลมีเหตุผลมากยิ่งกว่านั้นอีกที่จะระลึกถึงพระองค์เสมอ.
“ทรงรักษาเขาไว้ดังแก้วพระเนตรของพระองค์”
หลังจากผ่านทะเลแดงแล้ว ชาติอิสราเอลก็เข้าสู่ทะเลทรายไซนาย “ถิ่นทุรกันดารใหญ่น่ากลัว.” ขณะพวกเขาเดินทางไกลผ่าน “ดินแห้งแล้งไม่มีน้ำ”—และไม่มีอาหารสำหรับคนมากมายขนาดนั้น—พระยะโฮวาทรงคอยดูแลพวกเขา. โมเซเล่าว่า “[พระยะโฮวา] ทรงพบ [ชาติอิสราเอล] ในแผ่นดินทุรกันดารในที่เปลี่ยวเปล่ามีแต่เสียงเห่าหอน พระองค์ทรงโอบล้อมเขาไว้และทรงดูแลเขาอยู่ ทรงรักษาเขาไว้ดังแก้วพระเนตรของพระองค์.” (บัญ. 8:15; 32:10, ฉบับ R73) พระยะโฮวาทรงดูแลพวกเขาอย่างไร?
พระยะโฮวาประทาน “อาหารตกลงมาจากท้องฟ้า” ที่เอ็ก. 16:4, 14, 15, 35) พระยะโฮวายังทรงบันดาลให้น้ำไหล “จากหินแข็ง” ด้วย. โดยได้รับการอวยพรจากพระเจ้า เสื้อผ้าของพวกเขาไม่ขาดวิ่นและเท้าก็ไม่บวมในช่วง 40 ปีที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร. (บัญ. 8:4) พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้พวกเขาทำอะไรเป็นการตอบแทนซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเขาสมควรทำ? โมเซบอกชาวอิสราเอลว่า “เจ้าจงระวังตัว, และรักษาจิตต์ใจของเจ้าให้ดี, กลัวว่าเจ้าจะลืมสิ่งทั้งหลายที่ตาของเจ้าได้เห็นนั้น, และลืมไปเสียจากใจของเจ้าทุกวันคืนแห่งชีวิตของเจ้า.” (บัญ. 4:9) หากชาวอิสราเอลจดจำการช่วยให้รอดของพระยะโฮวาด้วยความสำนึกขอบคุณ พวกเขาจะรับใช้พระองค์เสมอและพยายามปฏิบัติตามกฎหมายของพระองค์. ชาติอิสราเอลจะทำอย่างไร?
เรียกว่ามานาแก่พวกเขา ซึ่งอาหารนี้ปรากฏอย่างอัศจรรย์ “อยู่ที่พื้นดินในป่ากันดาร.” (ความหลงลืมทำให้อกตัญญู
โมเซประกาศว่า “ศิลาที่ยังเจ้าทั้งหลายให้บังเกิดมานั้นเจ้าก็หลงลืมเสีย, คือได้หลงลืมพระเจ้า.” (บัญ. 32:18) ภายในชั่วเวลาไม่นาน ชาวอิสราเอลก็ไม่สนใจและหลงลืมพระราชกิจที่พระยะโฮวาทรงกระทำ ณ ทะเลแดง, การจัดเตรียมต่าง ๆ ที่ทำให้ชาตินี้รอดชีวิตในถิ่นทุรกันดาร, และสิ่งดีอื่น ๆ ทุกอย่างที่พระยะโฮวาได้ทำเพื่อพวกเขา. ชาวอิสราเอลกลายเป็นคนขืนอำนาจ.
ครั้งหนึ่ง ชาวอิสราเอลต่อว่าโมเซเพราะคิดว่าพวกเขาจะอดน้ำตาย. (อาฤ. 20:2-5) พวกเขาบ่นเกี่ยวกับมานาที่ช่วยพวกเขาให้มีชีวิตอยู่ว่า “จิตใจของเรา . . . เบื่อบางอาหารอันจืดจางนี้.” (อาฤ. 21:5) พวกเขาตั้งข้อสงสัยการตัดสินของพระเจ้าและไม่ยอมรับโมเซเป็นผู้นำของพวกเขาโดยกล่าวว่า “ถ้าพระเจ้าได้ทำให้เราตายที่ประเทศอายฆุบโตดีกว่า, ถ้าพระเจ้าจะให้เราตายในป่านี้ก็ดีกว่านี้อีก . . . ให้เราทั้งหลายตั้งคนหนึ่งเป็นนายขึ้น, แลให้เราทั้งหลายกลับไปยังประเทศเมืองอายฆุบโต.”—อาฤ. 14:2-4.
พระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรต่อการกระด้างกระเดื่องของชาติอิสราเอล? เมื่อคิดใคร่ครวญถึงเหตุการณ์เหล่านี้ ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนในภายหลังว่า “เขาเคยกบฏต่อพระองค์ในป่าเนือง ๆ รู้จักกี่ครั้ง, และได้ทำให้พระองค์เศร้าพระทัยในทะเลทราย! เขาได้ท้อถอยและทดลองพระเจ้าอีก, และได้ขัดพระทัยพระองค์ผู้บริสุทธิ์แห่งพวกยิศราเอล. เขามิได้ระลึกถึงพระหัตถ์ของพระองค์, หรือถึงวันเมื่อพระองค์ได้ทรงช่วยเขาให้พ้นจากผู้ข่มเหง; คราวเมื่อพระองค์ได้ทรงสำแดงเครื่องหมายสำคัญของพระองค์ในประเทศอายฆุบโต.” (เพลง. 78:40-43) ความหลงลืมของชาติอิสราเอลทำให้พระยะโฮวาเสียพระทัยอย่างยิ่ง.
สองคนที่ไม่ลืม
อย่างไรก็ตาม ชาวอิสราเอลบางคนไม่ลืมพระยะโฮวา. สองคนที่เป็นอย่างนั้นด้วยคือยะโฮซูอะและคาเลบ. ทั้งสองอยู่ในกลุ่มคนสอดแนม 12 คนที่ถูกส่งจากคาเดช-บาร์เนียอาฤ. 14:6-10.
ให้ไปสำรวจแผ่นดินที่ทรงสัญญา. สิบคนรายงานในแง่ลบ แต่ยะโฮซูอะและคาเลบบอกประชาชนว่า “แผ่นดินที่เราได้เที่ยวสืบดูทั่วตลอดนั้นเป็นประเทศดียิ่งที่สุด. ถ้าพระยะโฮวาชอบพระทัยในพวกเรา, พระองค์ก็จะพาเราทั้งหลายไปถึงประเทศนั้น, ยกประเทศนั้นให้พวกเราเป็นประเทศซึ่งมีน้ำนมแลน้ำผึ้งไหลเป็นบริบูรณ์. แต่อย่าให้พวกเรามีใจกบฏต่อพระยะโฮวา.” เมื่อประชาชนได้ฟังคำพูดนี้แล้ว พวกเขาก็พูดชักชวนกันให้เอาหินขว้างยะโฮซูอะและคาเลบ. แต่ทั้งสองก็ยังยืนหยัดมั่นคงด้วยความเชื่อมั่นในพระยะโฮวา.—หลายปีต่อมา คาเลบบอกยะโฮซูอะว่า “โมเซผู้รับใช้แห่งพระยะโฮวาได้ใช้ข้าพเจ้าไปจากเมืองคาเดศบาระเนอะให้สอดแนมดูแผ่นดินนั้น; ข้าพเจ้าได้นำข่าวกลับมาแจ้งตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นในใจ. ส่วนพี่น้องซึ่งได้ขึ้นไปกับข้าพเจ้าได้กระทำใจพลไพร่นั้นให้อิดโรยอ่อนไป: แต่ข้าพเจ้าได้ประพฤติตามพระยะโฮวาพระเจ้าของข้าพเจ้าทุกประการ.” (ยโฮ. 14:6-8) ด้วยความไว้วางใจพระเจ้า คาเลบและยะโฮซูอะอดทนความลำบากหลายอย่าง. ทั้งสองตั้งใจแน่วแน่จะระลึกถึงพระยะโฮวาไปจนชั่วชีวิต.
คาเลบและยะโฮซูอะยังแสดงความกตัญญูด้วย เนื่องจากตระหนักว่าพระยะโฮวาได้ทำตามคำสัญญาของพระองค์โดยทรงนำประชาชนของพระองค์มายังดินแดนอันอุดมสมบูรณ์. ชาวอิสราเอลเป็นหนี้ชีวิตพระองค์. ยะโฮซูอะเขียนว่า “พระยะโฮวาทรงประทานแผ่นดินให้พวกยิศราเอลทั้งสิ้นซึ่งพระองค์ได้ปฏิญาณไว้แก่บิดาเขานั้น . . . ในสรรพสิ่งที่ทุกอย่างซึ่งพระยะโฮวาตรัสไว้แก่เผ่าพันธุ์ยิศราเอล; หาได้ขาดเหลือสักสิ่งไม่, ย่อมสำเร็จไปทั้งสิ้น.” (ยโฮ. 21:43, 45) เราในปัจจุบันจะแสดงความกตัญญูรู้คุณเหมือนคาเลบและยะโฮซูอะได้โดยวิธีใด?
จงขอบพระคุณ
ครั้งหนึ่ง ชายผู้เกรงกลัวพระเจ้าคนหนึ่งถามว่า “ข้าพเจ้าจะสนองพระเดชพระคุณแก่พระยะโฮวา ตอบแทนคุณที่ทรงประทานแก่ข้าพเจ้านั้นอย่างไรได้?” (เพลง. 116:12) เราเป็นหนี้บุญคุณพระเจ้ามากเหลือเกินจากการที่พระองค์ทรงอวยพรเราด้านวัตถุ, ชี้นำเราฝ่ายวิญญาณ, และจัดเตรียมวิธีที่จะทำให้เราได้รับความรอดในอนาคต ถึงขนาดที่ถ้าเราจะขอบพระคุณพระองค์ไปชั่วนิรันดร์ก็คงยังไม่เพียงพอ. ที่จริง เราไม่มีทางทดแทนพระคุณพระยะโฮวาได้. แต่เราทุกคนสามารถแสดงความขอบพระคุณ.
คำแนะนำของพระยะโฮวาได้ช่วยคุณให้หลีกเลี่ยงปัญหาไหม? การที่พระองค์ทรงให้อภัยช่วยคุณให้มีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาดอีกครั้งไหม? ผลประโยชน์จากพระราชกิจเหล่านั้นสุภาษิต 3:5, 6 กับหนูบ่อย ๆ ที่บอกว่า ‘จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง. จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.’ หนูมั่นใจว่าพระยะโฮวาจะทรงช่วยหนูเสมอไป เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงช่วยหนูตลอดมาจนถึงตอนนี้.”
ของพระยะโฮวาคงอยู่ยาวนาน และความสำนึกบุญคุณที่คุณมีต่อพระองค์ก็ควรเป็นอย่างนั้นด้วย. เด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งอายุ 14 ปี ชื่อแซนดรา ประสบกับปัญหาร้ายแรงหลายอย่าง แต่เธอเอาชนะปัญหาเหล่านั้นด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา. เธอกล่าวว่า “หนูอธิษฐานถึงพระยะโฮวาขอให้พระองค์ช่วย และวิธีที่พระองค์ทรงช่วยหนูทำให้หนูประทับใจมาก. เดี๋ยวนี้หนูรู้แล้วว่าทำไมพ่อจึงพูดถึงจงแสดงให้เห็นว่าคุณระลึกถึงพระยะโฮวาเสมอด้วยการเพียรอดทน
คัมภีร์ไบเบิลเน้นคุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการระลึกถึงพระยะโฮวา: “จงเพียรอดทนจนถึงที่สุด เพื่อพวกท่านจะเป็นคนดีพร้อมไม่ขาดตกบกพร่องเลย.” (ยโก. 1:4) การเป็น “คนดีพร้อม” เกี่ยวข้องกับอะไร? เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ที่จะช่วยเราเผชิญกับการทดสอบด้วยความไว้วางใจพระยะโฮวาและด้วยความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเอาชนะการทดสอบเหล่านั้น โดยไม่ยอมแพ้. ความเพียรอดทนแบบนี้จะนำมาซึ่งความอิ่มใจยินดีอย่างยิ่งเมื่อการทดสอบความเชื่อสิ้นสุดลง. และการทดสอบเหล่านั้นยุติลงในที่สุดเสมอ.—1 โค. 10:13.
พี่น้องชายที่รับใช้พระยะโฮวามานานคนหนึ่งซึ่งป่วยหนักอธิบายว่าอะไรช่วยเขาให้อดทนได้: “ผมพยายามนึกถึงสิ่งที่พระยะโฮวากำลังทำอยู่ ไม่ใช่นึกถึงสิ่งที่ผมอยากทำ. ความซื่อสัตย์มั่นคงหมายถึงการที่ผมเพ่งเล็งที่พระประสงค์ของพระเจ้า ไม่ใช่ความปรารถนาของผม. เมื่อพบกับปัญหา ผมจะไม่พูดว่า ‘พระยะโฮวา ทำไมต้องเป็นผมด้วย?’ ผมก็เพียงแต่รับใช้พระองค์ต่อไปและรักษาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระองค์ แม้แต่เมื่อมีเรื่องยุ่งยากที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น.”
ปัจจุบัน ประชาคมคริสเตียนนมัสการพระยะโฮวา “ด้วยพระวิญญาณและความจริง.” (โย. 4:23, 24) เมื่อกล่าวโดยรวมทั้งกลุ่ม คริสเตียนแท้จะไม่มีทางลืมพระเจ้าแบบที่ชาติอิสราเอลลืม. แต่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมก็ไม่อาจรับรองได้เลยว่าตัวเขาเองจะรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงได้. เช่นเดียวกับคาเลบและยะโฮซูอะ เราแต่ละคนต้องแสดงความกตัญญูและความเพียรอดทนในการรับใช้พระยะโฮวา. เรามีเหตุผลที่ดีที่จะทำอย่างนั้น เพราะพระยะโฮวายังทรงชี้นำและดูแลเราแต่ละคนต่อไปในสมัยอวสานที่ยุ่งยากนี้.
เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์หินที่ยะโฮซูอะตั้งไว้ บันทึกเกี่ยวกับการช่วยให้รอดของพระเจ้าทำให้เราเชื่อมั่นว่าพระองค์จะไม่ละทิ้งประชาชนของพระองค์. ดังนั้น ขอให้คุณร่วมรู้สึกกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งเขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะประกาศกิจการของพระยะโฮวา; เพราะข้าพเจ้าจะระลึกถึงการอัศจรรย์ของพระองค์ตั้งแต่กาลโบราณมา. ข้าพเจ้าจะใคร่ครวญดูบรรดากิจการของพระองค์ด้วย, และจะรำพึงถึงกิจการที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น.”—เพลง. 77:11, 12.
[ภาพหน้า 7]
คนทั้งชาติต้องเดินทางไกลผ่าน “ดินแห้งแล้งไม่มีน้ำ”
[ที่มาของภาพ]
Pictorial Archive (Near Eastern History) Est.
[ภาพหน้า 8]
ระหว่างที่ชาติอิสราเอลตั้งค่ายพักที่คาเดช-บาร์เนีย ผู้สอดแนมถูกส่งเข้าไปในแผ่นดินที่ทรงสัญญา
[ที่มาของภาพ]
Pictorial Archive (Near Eastern History) Est.
[ภาพหน้า 9]
หลังจากหลายปีในถิ่นทุรกันดาร ชาวอิสราเอลก็สามารถแสดงความขอบพระคุณสำหรับแผ่นดินที่ทรงสัญญาอันอุดมสมบูรณ์
[ที่มาของภาพ]
Pictorial Archive (Near Eastern History) Est.
[ภาพหน้า 10]
การเพ่งเล็งที่พระประสงค์ของพระยะโฮวาทำให้เราสามารถอดทนกับความยุ่งยากใด ๆ ที่ต้องเผชิญ