‘มีเวลานิ่งเงียบ’
‘มีเวลานิ่งเงียบ’
“พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง.” ภาษิตไทยว่าไว้อย่างนั้นมาแต่โบราณ. ตามในพจนานุกรมวลีและคตินิทานของบรูเวอร์ (ภาษาอังกฤษ) ภาษิตของชาวฮีบรูที่ตรงกันก็คือ: “ถ้าคำพูดหนึ่งคำมีค่าเท่ากับหนึ่งเชเกล ความเงียบก็มีค่าเท่ากับสองเชเกล.” และกษัตริย์โซโลมอนผู้ฉลาดสุขุมแห่งอิสราเอลโบราณเขียนไว้ว่า “มีเวลากำหนดสำหรับทุกสิ่ง แม้กระทั่งเวลาสำหรับเรื่องราวทุกอย่างภายใต้ฟ้าสวรรค์ . . . เวลานิ่งเงียบและเวลาพูด.”—ผู้ป. 3:1, 7, ล.ม.
อย่างไรก็ตาม เมื่อไรที่ควรเงียบไว้แทนที่จะพูด? คำ “นิ่งเงียบ” และคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเงียบปรากฏบ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิล. บริบทที่คำเหล่านี้ถูกใช้แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะนิ่งเงียบอย่างน้อยในสามขอบเขตของชีวิต. ให้เรามาพิจารณากันให้ละเอียดกว่านี้เกี่ยวกับการนิ่งเงียบซึ่งแสดงถึงความนับถือ, เป็นหลักฐานถึงความสุขุมและความเข้าใจ, และช่วยในการคิดใคร่ครวญ.
แสดงถึงความนับถือ
ความเงียบเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความนับถือหรือการให้เกียรติ. ผู้พยากรณ์ฮะบาฆูคกล่าวว่า “พระยะโฮวาสถิตในพระวิหารบริสุทธิ์ของพระองค์. จงเงียบเฉพาะพระพักตร์พระองค์เถิด แผ่นดินโลกทั้งสิ้น!” (ฮบา. 2:20, ล.ม.) ผู้นมัสการแท้ต้อง “นิ่งสงัดต่อพระพักตร์พระยะโฮวา.” (ซคา. 2:13) ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงว่า “จงสงบอยู่ต่อพระเจ้าและเพียรรอคอยพระองค์อยู่ อย่าให้ใจของท่านเดือดร้อนเพราะเหตุผู้ที่เจริญตามทางของเขา.”—เพลง. 37:7, ฉบับ R73
เราจะสรรเสริญพระยะโฮวาโดยไม่ต้องพูดได้ไหม? ที่จริง มีหลายครั้งที่เรารู้สึกครั่นคร้ามเมื่อมองเห็นความงามของสิ่งทรงสร้างจนถึงกับพูดไม่ออกมิใช่หรือ? การใคร่ครวญถึงความยิ่งใหญ่เช่นนั้นเป็นวิธีหนึ่งในการสรรเสริญพระผู้สร้างในใจเรามิใช่หรือ? ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเริ่มบทเพลงหนึ่งของท่านโดยกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า ในซีโอนมีการสรรเสริญพระองค์ ทั้งมีความสงบเงียบ และข้าพเจ้าทั้งหลายจะทำตามที่ได้ปฏิญาณไว้ต่อพระองค์.”—เพลง. 65:1, ล.ม.
พระยะโฮวาทรงสมควรได้รับความนับถือจากเรา พระดำรัสของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน. ตัวอย่างเช่น เมื่อโมเซผู้พยากรณ์ของพระเจ้ากล่าวอำลาชาติอิสราเอล ท่านกับบัญ. 27:9, 10; 31:11, 12
เหล่าปุโรหิตเตือนสติทุกคนที่อยู่ในโอกาสนั้นว่า “จงสงบเงียบ . . . เจ้าทั้งหลายจงเชื่อฟังถ้อยคำของพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า.” การตั้งใจฟังเป็นข้อเรียกร้องแม้แต่กับเด็ก ๆ ชาวอิสราเอลเมื่อชาวอิสราเอลมาประชุมกันเพื่อฟังการอ่านพระบัญญัติของพระเจ้า. โมเซกล่าวว่า “จงให้คนทั้งปวงมาประชุมกัน, ทั้งชายหญิงกับเด็กทั้งปวง . . . ให้เขาทั้งหลายได้ยินฟัง.”—นับเป็นเรื่องที่เหมาะสมจริง ๆ ที่ผู้นมัสการพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันจะแสดงความนับถือโดยฟังคำสั่งสอนที่ได้รับในการประชุมคริสเตียน รวมทั้งในการประชุมใหญ่ด้วย! เมื่อมีการถ่ายทอดความจริงที่สำคัญในคัมภีร์ไบเบิลจากเวที คงเป็นการแสดงความไม่นับถือต่อพระคำของพระเจ้าและองค์การของพระองค์มิใช่หรือถ้าเราพูดคุยกันโดยไม่จำเป็น? ระหว่างการประชุม นั่นเป็นเวลาที่จะเงียบและฟัง.
แม้แต่ในการสนทนากันเป็นส่วนตัว การเป็นผู้ฟังที่ดีก็แสดงถึงความนับถือ. ตัวอย่างเช่น ปฐมบรรพบุรุษโยบพูดกับคนที่กล่าวหาท่านว่า “สอนข้าซี และข้าจะเงียบ.” โยบเต็มใจฟังอย่างเงียบ ๆ เมื่อพวกเขาพูด. และเมื่อถึงคราวที่ท่านจะพูดบ้าง ท่านขอร้องว่า “ขอนิ่งเถอะ และข้าจะพูด.”—โยบ 6:24; 13:13, ฉบับ R73
เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสุขุมและความเข้าใจ
คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ผู้ที่ยับยั้งริมฝีปากของตนย่อมประพฤติเป็นคนมีปัญญา.” “คนที่มีความสังเกตเข้าใจลึกซึ้งคือคนที่นิ่งเงียบอยู่.” (สุภา. 10:19; สุภา. 11:12, ล.ม.) ขอให้พิจารณาว่าพระเยซูทรงแสดงให้เห็นความสุขุมและความเข้าใจอย่างยอดเยี่ยมเพียงไรด้วยการนิ่งเงียบ. เมื่อทรงสังเกตว่าไม่มีประโยชน์ที่จะพูดในสถานการณ์ที่พวกศัตรูมุ่งร้ายต่อพระองค์ “พระเยซู [จึงทรง] นิ่งอยู่.” (มัด. 26:63) ต่อมา เมื่อถูกพิจารณาคดีต่อหน้าปีลาต พระเยซู “ไม่ได้ตอบ.” ด้วยความสุขุม พระองค์ทรงเลือกปล่อยให้การกระทำของพระองค์ที่รู้กันดีอยู่แล้วตอบข้อกล่าวหาของพวกเขา.—มัด. 27:11-14
เราก็ควรนิ่งเงียบไว้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราถูกยั่วยุให้โมโห. สุภาษิตข้อหนึ่งกล่าวว่า “บุคคลผู้ไม่โกรธเร็วเป็นคนประกอบด้วยความเข้าใจดียิ่ง; แต่บุคคลผู้มีใจฉุนเฉียวส่งเสริมความโฉดเขลาให้ยิ่งขึ้น.” (สุภา. 14:29) การรีบตอบกลับไปในสถานการณ์ที่ตึงเครียดอาจทำให้เราใช้คำพูดอย่างหุนหันพลันแล่นซึ่งทำให้รู้สึกเสียใจในภายหลัง. ในสภาพการณ์เช่นนั้น เราอาจใช้คำพูดที่ไม่ฉลาดและทำให้เรารู้สึกกระวนกระวายใจ.
นับเป็นแนวทางที่สุขุมหากเราระวังคำพูดของเราเมื่อมีคนที่ไม่ดีอยู่ด้วย. เมื่อพบกับคนที่เยาะเย้ยในงานรับใช้ การนิ่งเงียบอาจเป็นปฏิกิริยาสนองตอบที่เหมาะสม. นอกจากนั้น บางครั้งเราควรนิ่งเงียบเพื่อจะไม่ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคิดว่าเราเห็นชอบด้วย เช่น เมื่อเพื่อนนักเรียนหรือเพื่อนร่วมงานเล่าเรื่องตลกลามกหรือใช้ภาษาหยาบคาย. (เอเฟ. 5:3) ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “ข้าพเจ้าจะเอาปากของข้าพเจ้าใส่บังเหียนขณะเมื่อคนชั่วอยู่ตรงหน้าข้าพเจ้า.”—เพลง. 39:1
สุภา. 11:12, ล.ม.) คริสเตียนแท้จะไม่เผยความลับด้วยการไม่ระวังคำพูด. คริสเตียนผู้ปกครองต้องรอบคอบเป็นพิเศษในเรื่องนี้เพื่อรักษาความไว้วางใจที่พี่น้องในประชาคมมีต่อพวกเขา.
คนที่ “มีความสังเกตเข้าใจลึกซึ้ง” ไม่บอกเล่าสิ่งที่เป็นเรื่องลับเฉพาะ. (แม้ว่าในความเงียบไม่มีคำพูด แต่ความเงียบอาจก่อผลในทางที่ดีได้. ซิดนีย์ สมิท นักเขียนชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขียนเกี่ยวกับชายคนหนึ่งซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกันว่า “วิธีที่เขาเลือกใช้ความเงียบในบางครั้งทำให้การสนทนาของเขาน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง.” อันที่จริง การสนทนาในชีวิตประจำวันระหว่างคนสองคนที่เป็นเพื่อนกันควรเป็นการสื่อความแบบที่ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสพูด. คู่สนทนาที่ดีต้องเป็นผู้ฟังที่ดี.
โซโลมอนเตือนว่า “การพูดมากมักมีความผิด; แต่ผู้ที่ยับยั้งริมฝีปากของตนย่อมประพฤติเป็นคนมีปัญญา.” (สุภา. 10:19) ด้วยเหตุนั้น ยิ่งพูดน้อยเท่าไร โอกาสที่เราจะพลั้งปากก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น. ที่จริง “แม้คนโฉดเมื่อได้สงบปากของตัวไว้ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญา; และเมื่อปิดริมฝีปากของเขาไว้ก็นับได้ว่าเป็นคนฉลาด.” (สุภา. 17:28) ดังนั้น ขอให้เราทูลขอพระยะโฮวาในคำอธิษฐานให้ ‘ทรงรักษาประตูปากของเราไว้.’—เพลง. 141:3
ช่วยในการคิดใคร่ครวญ
พระคัมภีร์บอกเราเกี่ยวกับคนที่ดำเนินในแนวทางที่ชอบธรรมว่า “เขาคิดรำพึงอยู่ในพระธรรมของ [พระเจ้า] ทั้งกลางวันและกลางคืน.” (เพลง. 1:2) สภาพแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะที่สุดสำหรับการใคร่ครวญอย่างนั้น?
ยิศฮาค บุตรของอับราฮามปฐมบรรพบุรุษ ‘ออกไปที่ทุ่งนาเพื่อจะตรึกตรองถึงเรื่องต่าง ๆ ในเวลาเย็น.’ (เย. 24:63) ท่านเลือกเวลาและสถานที่ซึ่งเงียบสงบเพื่อจะใคร่ครวญ. ช่วงที่เงียบสงัดยามกลางคืนเป็นเวลาที่กษัตริย์ดาวิดใช้เพื่อใคร่ครวญ. (เพลง. 63:6) แม้แต่พระเยซูซึ่งเป็นมนุษย์สมบูรณ์ก็ยังพยายามหาโอกาสที่จะอยู่คนเดียวและคิดใคร่ครวญ ห่างจากเสียงโหวกเหวกของฝูงชน ที่ภูเขาซึ่งห่างไกลจากผู้คน ที่ทะเลทราย และในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งห่างจากผู้คน.—มัด. 14:23; ลูกา 4:42; 5:16
ผลดีของความเงียบซึ่งช่วยฟื้นฟูสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้. สภาพแวดล้อมที่เงียบสงบส่งเสริมให้เราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงตัวเอง. ความเงียบสามารถส่งเสริมให้เรามีจิตใจที่สงบ. การใคร่ครวญในช่วงเวลาที่เงียบสงบสามารถก่อให้เกิดความเจียมตัวและความถ่อมใจในตัวเรา และสามารถช่วยให้เราเห็นความสำคัญมากขึ้นต่อสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริงในชีวิต.
แม้ว่าความเงียบเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มี “เวลาพูด” ด้วยเหมือนกัน. (ผู้ป. 3:7, ล.ม.) ผู้นมัสการแท้ในปัจจุบันกำลังประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า “ไปทั่วแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่” อย่างขันแข็ง. (มัด. 24:14) เสียงอันน่ายินดีที่เกิดจากการประกาศนี้ดังขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่จำนวนของพวกเขาเพิ่มขึ้น. (มีคา 2:12) ขอให้เราเป็นส่วนหนึ่งในหมู่ผู้คนที่ประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรและพูดเกี่ยวกับพระราชกิจอันมหัศจรรย์ของพระเจ้าด้วยใจแรงกล้า. ขณะที่เราร่วมในงานสำคัญนี้ ขอให้รูปแบบชีวิตของเราสะท้อนให้เห็นด้วยว่าเราตระหนักว่าในบางครั้งความเงียบมีค่าดุจทองคำ.
[ภาพหน้า 3]
ระหว่างการประชุมคริสเตียน เราควรฟังและเรียนรู้
[ภาพหน้า 4]
การนิ่งเงียบอาจเป็นปฏิกิริยาที่เหมาะสมต่อคำพูดหยาบหยามที่พบในงานประกาศ
[ภาพหน้า 5]
ความเงียบช่วยให้ใคร่ครวญได้ดี