จงเลียนแบบพระเยซู—ประกาศอย่างกล้าหาญ
จงเลียนแบบพระเยซู—ประกาศอย่างกล้าหาญ
“เราได้รวบรวมความกล้า . . . เพื่อบอกข่าวดี . . . แก่พวกท่าน.”—1 เทส. 2:2
1. เหตุใดข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรจึงเป็นเรื่องที่ดึงดูดใจมาก?
ช่างน่ายินดีจริง ๆ ที่ได้ยินได้ฟังข่าวดี! และข่าวดีที่สุดในบรรดาข่าวดีทั้งหมดก็คือข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. ข่าวดีนี้ให้คำรับรองกับเราว่าความทุกข์, ความเจ็บป่วย, ความเจ็บปวด, ความโศกเศร้า, และความตายจะยุติลง. ข่าวดีนี้ทำให้คนที่ตอบรับได้รับชีวิตนิรันดร์, เปิดเผยพระประสงค์ของพระเจ้า, และแสดงให้เราเห็นวิธีเข้ามามีสายสัมพันธ์อันเปี่ยมด้วยความรักกับพระองค์. คุณคงคิดว่าทุกคนน่าจะยินดีที่ได้ฟังข่าวดังกล่าวที่พระเยซูทรงบอกกับมนุษย์. แต่น่าเสียดายที่ไม่เป็นอย่างนั้น.
2. จงอธิบายคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เรามาเพื่อทำให้เกิดการแตกแยก.”
2 พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่า “อย่าคิดว่าเรามาเพื่อทำให้มีสันติสุขบนโลก เรามิได้มาเพื่อทำให้มีสันติสุข แต่เพื่อให้มีการใช้ดาบ. เพราะเรามาเพื่อทำให้เกิดการแตกแยก คือ บุตรชายกับบิดา บุตรสาวกับมารดา และลูกสะใภ้กับแม่ผัว. ที่จริง คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นศัตรูกัน.” (มัด. 10:34-36) แทนที่จะยินดีรับฟังข่าวดี คนส่วนใหญ่กลับปฏิเสธ. บางคนตั้งตัวเป็นศัตรูกับคนที่ประกาศข่าวดีนี้ แม้ว่าพวกเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน.
3. เราจำเป็นต้องมีอะไรเพื่อจะทำงานประกาศที่เราได้รับมอบหมายให้สำเร็จ?
3 เราประกาศความจริงเดียวกันนี้ที่พระเยซูทรงประกาศ และเมื่อได้ฟังความจริงเหล่านั้น ผู้คนแสดงปฏิกิริยาต่อเราในปัจจุบันเหมือนกับที่หลายคนในสมัยโน้นแสดงต่อพระองค์. นี่เป็นเรื่องที่คาดหมายได้. พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกโย. 15:20) ในหลายดินแดน เราไม่ถูกข่มเหงตรง ๆ แต่เราถูกเหยียดหยามและผู้คนแสดงความไม่แยแส. ด้วยเหตุนั้น เราจำเป็นต้องมีความเชื่อและความกล้าหาญที่จะอดทนในการทำงานประกาศข่าวดีอย่างกล้าหาญ.—อ่าน 2 เปโตร 1:5-8
ว่า “ทาสไม่ใหญ่กว่านาย. ถ้าพวกเขาข่มเหงเรา พวกเขาก็จะข่มเหงพวกเจ้าด้วย.” (4. เหตุใดเปาโลจำเป็นต้อง “รวบรวมความกล้า” เพื่อจะประกาศ?
4 บางครั้ง คุณอาจพบว่าการทำงานรับใช้เป็นเรื่องยาก หรือมีบางอย่างในงานรับใช้นั้นที่ดูเหมือนว่าคุณไม่กล้าทำ. ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณกำลังรู้สึกอย่างเดียวกันกับเพื่อนผู้รับใช้ที่ภักดีอีกหลายคน. อัครสาวกเปาโลเป็นผู้ประกาศที่กล้าหาญและไม่หวั่นกลัวซึ่งมีความเข้าใจในเรื่องความจริงอย่างดีเยี่ยม แต่กระนั้น บางครั้งท่านก็ยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะประกาศ. เปาโลเขียนถึงคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเกว่า “อย่างที่พวกท่านรู้ เมื่อเราทนทุกข์และถูกปฏิบัติอย่างเหยียดหยามในเมืองฟิลิปปอยแล้ว เราได้รวบรวมความกล้าโดยการช่วยเหลือจากพระเจ้าของเราเพื่อบอกข่าวดีของพระองค์แก่พวกท่านทั้ง ๆ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย.” (1 เทส. 2:2) พวกเจ้าหน้าที่เมืองฟิลิปปอยได้ตีเปาโลและซีลัสเพื่อนร่วมเดินทางด้วยไม้, จับขังคุก, และจับใส่ขื่อ. (กิจ. 16:16-24) ถึงกระนั้น เปาโลและซีลัสก็ “รวบรวมความกล้า” เพื่อจะประกาศต่อไป. เราจะทำอย่างเดียวกันได้โดยวิธีใด? เพื่อจะได้คำตอบ ให้เรามาพิจารณาสิ่งที่ทำให้ผู้รับใช้ของพระเจ้าในสมัยคัมภีร์ไบเบิลสามารถพูดเรื่องความจริงเกี่ยวกับพระยะโฮวาด้วยใจกล้า และให้เราพิจารณาว่าเราจะเลียนแบบตัวอย่างของพวกเขาได้อย่างไร.
จำเป็นต้องมีความกล้าเพื่อเผชิญหน้ากับความเป็นศัตรู
5. เหตุใดเหล่าคนที่ภักดีต่อพระยะโฮวาจึงจำเป็นต้องมีความกล้าหาญมาโดยตลอด?
5 แน่นอน ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่สุดในเรื่องความกล้าก็คือพระเยซูคริสต์. นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มต้นขึ้น ทุกคนที่ภักดีต่อพระยะโฮวาจำเป็นต้องมีความกล้ามาโดยตลอด. เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? หลังจากที่เกิดการขืนอำนาจในเอเดน พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าว่าจะมีความเป็นศัตรูกันระหว่างคนที่รับใช้พระเจ้ากับคนที่รับใช้ซาตาน. (เย. 3:15) ความเป็นศัตรูนี้เห็นได้ในเวลาอันรวดเร็วเมื่อเฮเบล บุรุษผู้ชอบธรรม ถูกพี่ชายฆ่า. ต่อมา คนที่ถูกมุ่งร้ายคือฮะโนค ชายผู้ซื่อสัตย์อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตก่อนน้ำท่วมโลก. ท่านพยากรณ์ว่าพระเจ้าจะเสด็จมาพร้อมกับผู้บริสุทธิ์ของพระองค์นับหมื่นนับแสนเพื่อลงโทษคนดูหมิ่นพระเจ้า. (ยูดา 14, 15) ข่าวสารนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้คนนิยมชมชอบอย่างแน่นอน. ผู้คนเกลียดชังฮะโนคและดูเหมือนว่าพวกเขาคงจะฆ่าท่านไปแล้วถ้าพระยะโฮวาไม่ได้ยุติชีวิตของท่านเสียก่อน. ฮะโนคแสดงให้เห็นว่าท่านกล้าหาญจริง ๆ!—เย. 5:21-24
6. เหตุใดโมเซจำเป็นต้องมีความกล้าที่จะพูดกับฟาโรห์?
6 นอกจากนั้น ขอให้นึกถึงความกล้าหาญที่โมเซแสดงให้เห็นเมื่อท่านพูดกับฟาโรห์ ผู้ปกครองที่ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงแค่ตัวแทนเทพเจ้าทั้งหลายเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งเลยทีเดียว คือเป็นโอรสของสุริยเทพรา. อาจเป็นได้ว่าฟาโรห์องค์นี้ก็นมัสการรูปเคารพของตัวเขาเองเช่นเดียวกับฟาโรห์องค์อื่น ๆ. คำตรัสของฟาโรห์ถือเป็นกฎหมาย; เขาปกครองโดยใช้ราชกฤษฎีกา. เนื่องจากเป็นผู้ทรงอำนาจ, หยิ่งยโส, และดื้อรั้น ฟาโรห์ไม่คุ้นเคยกับการถูกผู้อื่นสั่งให้ทำอะไรบางอย่าง. ชายผู้นี้แหละคือคนที่โมเซ คนเลี้ยงแกะที่อ่อนน้อม ได้ไปอยู่ต่อหน้าเขาหลายครั้ง—โดยไม่ได้รับเชิญและไม่ได้รับการต้อนรับ. และโมเซบอกล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไร? ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะทำให้เสียหายย่อยยับ. และท่านเรียกร้องให้ทำอะไร? ให้ฟาโรห์ยอมปล่อยทาสหลายล้านคนออกไปจากประเทศ! โมเซจำเป็นต้องมีความกล้าไหม? แน่นอนที่สุด!—อาฤ. 12:3; ฮีบรู 11:27
7, 8. (ก) มีการทดสอบอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับเหล่าผู้ซื่อสัตย์ในสมัยโบราณ? (ข) อะไรทำให้คนที่อยู่ก่อนสมัยคริสเตียนมีความกล้าที่จะเชิดชูและส่งเสริมการนมัสการแท้?
7 ในช่วงหลายศตวรรษหลังจากนั้น ผู้พยากรณ์และผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ ของพระเจ้าก็ยึดมั่นในจุดยืนที่กล้าหาญเพื่อการนมัสการบริสุทธิ์ต่อไป. โลกของซาตานไม่ได้เมตตาปรานีพวกเขาเลย. เปาโลกล่าวว่า “พวกเขาบางคนถูกหินขว้าง บางคนถูกทดสอบความเชื่อ บางคนถูกเลื่อยฮีบรู 11:37) อะไรช่วยผู้รับใช้ที่ภักดีเหล่านี้ของพระเจ้ายืนหยัดมั่นคงได้? ไม่กี่ข้อก่อนหน้านั้น ท่านอัครสาวกชี้ถึงสิ่งที่ทำให้เฮเบล, อับราฮาม, ซาราห์, และคนอื่น ๆ มีความเข้มแข็งเพื่อจะอดทน. ท่านกล่าวว่า “[พวกเขา] ยังไม่ได้รับตามที่ทรงสัญญา แต่ [ด้วยความเชื่อ] พวกเขาก็มองเห็นแต่ไกลและรอรับด้วยความยินดี.” (ฮีบรู 11:13) ไม่ต้องสงสัย ผู้พยากรณ์อย่างเอลียาห์, ยิระมะยาห์, และผู้ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ ก่อนสมัยคริสเตียน ซึ่งยืนหยัดอย่างกล้าหาญเพื่อการนมัสการแท้ ได้รับความช่วยเหลือเช่นเดียวกันให้อดทนด้วยการไว้วางใจในคำสัญญาของพระยะโฮวาเสมอ.—ทิทุส 1:2
เป็นท่อน ๆ บางคนถูกฆ่าด้วยดาบ บางคนนุ่งห่มหนังแกะหนังแพะพเนจร ทั้งขัดสน ลำบาก และถูกทำทารุณ.” (8 เหล่าผู้ซื่อสัตย์ก่อนสมัยคริสเตียนมองไปยังอนาคตที่สดใสและน่ายินดี. เมื่อถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย พวกเขาจะบรรลุความสมบูรณ์ในที่สุดและจะได้รับ “การปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสความเสื่อม” โดยการปฏิบัติหน้าที่ของพระคริสต์เยซูในฐานะมหาปุโรหิตและชน 144,000 คนในฐานะรองปุโรหิต. (โรม 8:21) นอกจากนั้น ยิระมะยาและผู้รับใช้ที่กล้าหาญคนอื่น ๆ ของพระเจ้าในสมัยโบราณก็แสดงความกล้าเพราะได้รับคำรับรองจากพระยะโฮวา ดังเห็นได้จากคำสัญญาของพระองค์ที่ให้กับยิระมะยาว่า “เขาเหล่านั้นจะรบต่อสู้เจ้า, แต่เขาจะไม่ชนะแก่เจ้า, เพราะเราอยู่ด้วยเจ้าเพื่อจะให้เจ้ารอด, พระยะโฮวาได้ตรัส.” (ยิระ. 1:19) ปัจจุบัน เมื่อเราใคร่ครวญคำสัญญาของพระเจ้าสำหรับอนาคตของเราและคำรับรองของพระองค์ที่จะทรงปกป้องเราทางฝ่ายวิญญาณ เราก็ได้รับการเสริมกำลังเช่นกัน.—สุภา. 2:7; อ่าน 2 โครินท์ 4:17, 18
ความรักกระตุ้นพระเยซูให้ประกาศด้วยใจกล้า
9, 10. พระเยซูทรงแสดงให้เห็นความกล้าหาญอย่างไรเมื่ออยู่ต่อหน้า (ก) พวกหัวหน้าศาสนา (ข) กองทหาร (ค) มหาปุโรหิต (ง) ปีลาต?
9 พระเยซูผู้เป็นแบบอย่างของเราทรงแสดงความกล้าในหลายวิธี. ตัวอย่างเช่น แม้ว่าพวกผู้มีอำนาจและผู้มีอิทธิพลเกลียดชังพระองค์ พระเยซูไม่ทรงทำให้สิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้ผู้คนรู้อ่อนลง. พระองค์ทรงเปิดโปงพวกหัวหน้าศาสนาที่มีอำนาจมากในเรื่องที่พวกเขาถือว่าตัวเองชอบธรรม รวมทั้งเรื่องคำสอนที่ไม่ถูกต้องของพวกเขาอย่างไม่หวั่นกลัว. คนพวกนี้สมควรถูกตำหนิ และพระเยซูทรงบอกพวกเขาอย่างนั้นด้วยคำพูดที่ตรงไปตรงมาและชัดเจน. ในโอกาสหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า “วิบัติแก่เจ้า พวกอาลักษณ์และพวกฟาริซาย คนหน้าซื่อใจคด! เพราะพวกเจ้าเป็นเหมือนที่ฝังศพทาด้วยน้ำปูนขาวซึ่งภายนอกดูงดงาม แต่ภายในเต็มไปด้วยกระดูกคนตายและการโสโครกทุกชนิด. เจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้น ภายนอกปรากฏแก่มนุษย์ว่าชอบธรรม แต่ภายในพวกเจ้าเต็มไปด้วยความหน้าซื่อใจคดและการชั่ว.”—มัด. 23:27, 28
10 เมื่อเผชิญหน้ากับกองทหารในสวนเกทเซมาเน พระเยซูทรงแสดงพระองค์เองด้วยความกล้าหาญ. (โย. 18:3-8) ต่อมา พระองค์ทรงถูกนำตัวมาอยู่ต่อหน้าศาลซันเฮดรินและถูกมหาปุโรหิตซักถาม. แม้ทรงรู้ว่ามหาปุโรหิตกำลังหาข้ออ้างจะฆ่าพระองค์ พระเยซูทรงยืนยันอย่างไม่เกรงกลัวว่าพระองค์เป็นพระคริสต์และเป็นพระบุตรของพระเจ้า. พระองค์ตรัสเสริมด้วยว่าพวกเขาจะเห็นพระองค์ “นั่งด้านขวาพระหัตถ์ของพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์และจะเห็นท่านมาในเมฆบนท้องฟ้า.” (มโก. 14:53, 57-65) ไม่นานหลังจากนั้น พระเยซูทรงถูกมัดและยืนอยู่ต่อหน้าปีลาตซึ่งมีอำนาจ จะสั่งปล่อยพระองค์ได้. แต่พระเยซูทรงนิ่งเงียบ ไม่โต้ตอบข้อกล่าวหาใด ๆ ที่พวกเขากล่าวหาพระองค์. (มโก. 15:1-5) ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมาก.
11. ความกล้าเกี่ยวข้องกับความรักอย่างไร?
11 แต่พระเยซูก็ตรัสกับปีลาตว่า “เพราะเหตุนี้เราจึงเกิดมา และเพราะเหตุนี้เราจึงเข้ามาในโลก เพื่อเราจะเป็นพยานยืนยันความจริง.” (โย. 18:37) พระยะโฮวาทรงมอบหมายให้พระเยซูประกาศข่าวดี และพระเยซูทรงยินดีทำตามเพราะพระองค์ทรงรักพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์. (ลูกา 4:18, 19) พระเยซูทรงรักผู้คนด้วย. พระองค์ทรงรู้ว่าชีวิตของพวกเขาลำบาก. ในทำนองเดียวกัน เพราะเรามีความรักอย่างลึกซึ้งต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนบ้าน เราจึงสามารถให้คำพยานอย่างกล้าหาญโดยปราศจากความกลัว.—มัด. 22:36-40
พระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราสามารถประกาศด้วยใจกล้า
12. มีอะไรที่ทำให้เหล่าสาวกรุ่นแรกยินดี?
12 ในสัปดาห์ต่อ ๆ มาหลังจากพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ เหล่าสาวกก็มีเหตุผลที่จะยินดีเมื่อพระยะโฮวาทรงชักนำคนที่จะได้รับความรอดเข้ามาสมทบกับพวกเขา. เพียงวันเดียว มีชาวยิวและคนที่เปลี่ยนมาถือศาสนายิวถึงประมาณ 3,000 คนจากดินแดนต่าง ๆ ซึ่งมาที่กรุงเยรูซาเลมเพื่อร่วมในเทศกาลเพนเทคอสต์ได้รับบัพติสมา! ผู้คนที่อยู่ในฐานที่มั่นของศาสนายิวแห่งนี้คงได้พูดคุยกันถึงเหตุการณ์นี้! คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ทุกคนเกิดความเกรงกลัว และพวกอัครสาวกก็แสดงนิมิตและทำการอัศจรรย์หลายอย่าง.”—กิจ. 2:41, 43
13. เหตุใดพี่น้องทั้งหลายจึงอธิษฐานขอความกล้า และผลเป็นอย่างไร?
13 ด้วยความโมโห พวกหัวหน้าศาสนาจับเปโตรและโยฮัน กักขังทั้งสองไว้ทั้งคืน แล้วก็กำชับพวกเขาไม่ให้พูดเรื่องพระเยซู. เมื่อถูกปล่อยตัวแล้ว ทั้งสองรายงานกับพี่น้องถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และพวกเขาทั้งหมดก็อธิษฐานวิงวอนเกี่ยวกับการต่อต้านที่พวกเขาประสบว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา . . . ขอทรงโปรดให้ทาสของพระองค์กล่าวคำของพระองค์ต่อไปด้วยใจกล้า.” ผลเป็นอย่างไร? “พวกเขาทุกคนเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และกล่าวพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ.”—กิจ. 4:24-31
14. พระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเราอย่างไรในการประกาศ?
14 สังเกตว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์อันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวานั่นเองที่ช่วยเหล่าสาวกให้กล่าวพระคำของพระเจ้าด้วยใจกล้า. ความกล้าที่จะพูดเรื่องความจริงกับคนอื่น ๆ แม้กระทั่งกับคนที่ต่อต้านข่าวสารของเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเรา. พระยะโฮวาทรงสามารถประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ให้เราถ้าเราขอจากพระองค์ และพระองค์ทรงยินดีจะประทานแก่เรา. ด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราเองก็สามารถมีความกล้าที่จำเป็นต้องมีเพื่อจะอดทนการต่อต้านใด ๆ ที่เราประสบ.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 138:3
คริสเตียนในปัจจุบันประกาศด้วยใจกล้า
15. ความจริงทำให้ผู้คนในปัจจุบันแตกแยกกันอย่างไร?
15 ในสมัยของเราก็เช่นเดียวกับในอดีต ความจริงยังคงทำให้ผู้คนแตกแยกกันต่อไป. บางคนตอบรับ ในขณะที่คนอื่น ๆ ไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับรูปแบบการนมัสการของเรา. บางคนวิพากษ์วิจารณ์, เยาะเย้ย, หรือแม้แต่เกลียดพวกเรา ดังที่พระเยซูทรงบอกไว้ล่วงหน้า. (มัด. 10:22) บางครั้ง เราถูกโจมตีด้วยการให้ข้อมูลผิด ๆ และการโฆษณาชวนเชื่อทางสื่อต่าง ๆ ที่มุ่งให้ร้ายเรา. (เพลง. 109:1-3) ถึงกระนั้น ตลอดทั่วโลก ประชาชนของพระยะโฮวาประกาศข่าวดีด้วยใจกล้า.
16. มีประสบการณ์อะไรที่แสดงว่าความกล้าสามารถเปลี่ยนทัศนะของคนที่เราประกาศได้?
16 ความกล้าของเราอาจทำให้ผู้คนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร. พี่น้องหญิงคนหนึ่งในคีร์กิซสถานเล่าว่า “ขณะที่ดิฉันออกไปประกาศ เจ้าของบ้านคนหนึ่งบอกดิฉันว่า ‘ผมเชื่อในพระเจ้า แต่ไม่ใช่ในพระเจ้าของคริสเตียน. ถ้าคุณขืนมาที่ประตูบ้านผมอีก ผมจะปล่อยหมาให้จัดการคุณ!’ ข้างหลังเขามีสุนัขพันธุ์บุลดอกล่ามโซ่ไว้อยู่. แต่ว่าระหว่างการรณรงค์เพื่อจ่ายแจกข่าวราชอาณาจักร หมายเลข 37 ‘อวสานของศาสนาเท็จมาใกล้แล้ว!’
ดิฉันตัดสินใจว่าจะกลับไปที่บ้านหลังนั้นอีกโดยหวังว่าจะพบคนอื่นในครอบครัวของชายคนนั้น. แต่ชายคนนั้นเป็นคนมาเปิดประตู. ดิฉันรีบอธิษฐานถึงพระยะโฮวาแล้วก็พูดว่า ‘สวัสดีค่ะ ดิฉันยังจำเรื่องที่เราคุยกันเมื่อสามวันก่อนได้ และดิฉันก็ยังจำหมาของคุณได้ด้วย. แต่ดิฉันจะผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่ได้ให้แผ่นพับนี้กับคุณไม่ได้ เพราะดิฉันก็เชื่อในพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวเหมือนคุณ. อีกไม่นาน พระเจ้าจะทรงลงโทษศาสนาที่หลู่พระเกียรติพระองค์. คุณจะได้รู้อะไรอีกหลายอย่างถ้าคุณอ่านแผ่นพับนี้.’ แล้วดิฉันก็ต้องแปลกใจที่ชายคนนี้รับข่าวราชอาณาจักร. แล้วดิฉันก็ไปบ้านหลังอื่น. ไม่กี่นาทีต่อมา ชายคนนี้ก็วิ่งมาหาดิฉันพร้อมกับข่าวราชอาณาจักร ในมือ. เขาพูดว่า ‘ผมได้อ่านแล้ว. ผมต้องทำอะไรพระเจ้าจึงจะไม่พิโรธผม?’ ” ชายคนนี้ได้เริ่มศึกษากับพยานฯ และเริ่มเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน.17. ความกล้าของพี่น้องหญิงคนหนึ่งทำให้นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่กลัวหน้ามนุษย์เข้มแข็งขึ้นอย่างไร?
17 ความกล้าของเรายังช่วยสนับสนุนคนอื่น ๆ ให้มีความกล้าหาญด้วย. ที่ประเทศรัสเซีย พี่น้องหญิงคนหนึ่งซึ่งกำลังเดินทางอยู่บนรถโดยสารได้เสนอวารสารฉบับหนึ่งให้เพื่อนผู้โดยสาร. พอเห็นอย่างนั้น ชายคนหนึ่งก็ลุกพรวดพราดขึ้นมาจากที่นั่งของเขา คว้าวารสารไปจากมือของพี่น้อง ขยำ แล้วก็ขว้างลงกับพื้น. เขาด่าว่าเธอเสียงดัง แล้วก็สั่งให้พี่น้องคนนี้บอกที่อยู่กับเขาและห้ามไม่ให้เธอมาประกาศที่หมู่บ้านนั้นอีก. พี่น้องหญิงคนนี้อธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาและนึกถึงคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “อย่ากลัวคนที่ฆ่าเจ้าได้.” (มัด. 10:28) เมื่อสงบใจได้แล้ว เธอก็ลุกขึ้นยืนและพูดกับชายคนนั้นว่า “ฉันจะไม่บอกที่อยู่ของฉันกับคุณ และฉันจะประกาศในหมู่บ้านนี้ต่อไป.” แล้วเธอก็ลงจากรถโดยสารไป. พี่น้องหญิงคนนี้ไม่รู้เลยว่านักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งของเธอบังเอิญอยู่ในรถคันนั้นด้วย. สตรีคนนี้กลัวหน้ามนุษย์จนไม่กล้าเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน. แต่หลังจากเห็นความกล้าของพี่น้องหญิงของเรา นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลคนนี้ก็ตัดสินใจว่าเธอจะเริ่มเข้าร่วมการประชุม.
18. อะไรจะช่วยคุณให้ประกาศด้วยใจกล้าเหมือนกับพระเยซู?
18 ในโลกที่เหินห่างจากพระเจ้านี้ จำเป็นต้องมีความกล้าเพื่อจะประกาศเหมือนกับพระเยซู. อะไรจะช่วยคุณให้ทำอย่างนั้น? ขอให้มองไปที่อนาคต. จงรักษาความรักที่คุณมีต่อพระเจ้าและเพื่อนบ้านให้มั่นคง. จงอธิษฐานขอความกล้าจากพระยะโฮวา. จำไว้เสมอว่า คุณไม่เคยอยู่ตามลำพัง เพราะพระเยซูทรงอยู่กับคุณ. (มัด. 28:20) พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสริมกำลังคุณ. และพระยะโฮวาจะทรงอวยพรและค้ำจุนคุณ. ด้วยเหตุนั้น ขอให้เรามีความกล้าและกล่าวว่า “พระยะโฮวาทรงเป็นผู้ช่วยข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว. มนุษย์จะทำอะไรข้าพเจ้าได้เล่า?”—ฮีบรู 13:6
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดผู้รับใช้ของพระเจ้าจำเป็นต้องมีความกล้า?
• ในเรื่องความกล้า เราเรียนอะไรได้จาก . . .
ผู้ซื่อสัตย์ที่มีชีวิตก่อนพระคริสต์?
พระเยซูคริสต์?
คริสเตียนในสมัยแรก?
เพื่อนคริสเตียนในสมัยปัจจุบัน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
พระเยซูทรงเปิดโปงพวกหัวหน้าศาสนาอย่างไม่หวั่นกลัว
[ภาพหน้า 23]
พระยะโฮวาประทานความกล้าเพื่อเราจะประกาศได้