“เจ้าทั้งหลายเป็นสหายของเรา”
“เจ้าทั้งหลายเป็นสหายของเรา”
“เจ้าทั้งหลายเป็นสหายของเราถ้าพวกเจ้าทำตามที่เราสั่ง.”—โย. 15:14
1, 2. (ก) มิตรสหายของพระเยซูมีภูมิหลังแตกต่างกันอย่างไร? (ข) เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะเป็นมิตรกับพระเยซู?
ชายเหล่านั้นที่นั่งในห้องชั้นบนกับพระเยซูมีภูมิหลังแตกต่างกัน. เปโตรกับอันเดรอัสน้องชายเป็นชาวประมง. มัดธายเคยเป็นคนเก็บภาษี ซึ่งเป็นอาชีพที่ชาวยิวเหยียดหยาม. บางคน เช่น ยาโกโบและโยฮัน คงรู้จักพระเยซูมาตั้งแต่เด็ก. คนอื่น ๆ เช่น นะทานาเอล อาจรู้จักพระองค์เพียงไม่กี่ปี. (โย. 1:43-50) แต่ทุกคนที่อยู่ด้วยกันในคืนที่มีการฉลองปัศคาครั้งสำคัญในกรุงเยรูซาเลมต่างก็เชื่อมั่นว่าพระเยซูทรงเป็นพระมาซีฮาตามคำสัญญา และเป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์. (โย. 6:68, 69) คงต้องเป็นเรื่องที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นใจที่ได้ยินพระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “เราได้เรียกพวกเจ้าว่าสหาย เพราะเราบอกให้พวกเจ้ารู้ทุกสิ่งที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรา.”—โย. 15:15
2 โดยหลักการแล้ว คำตรัสดังกล่าวที่พระเยซูตรัสกับเหล่าอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ใช้ได้กับคริสเตียนผู้ถูกเจิมทุกคนในปัจจุบัน และยิ่งกว่านั้น ใช้ได้กับ “แกะอื่น” สหายของพวกเขาด้วย. (โย. 10:16) ไม่ว่าภูมิหลังของเราเป็นอย่างไร เราสามารถมีสิทธิพิเศษได้เป็นมิตรกับพระเยซู. มิตรภาพของเรากับพระองค์นั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเป็นมิตรกับพระองค์ทำให้เราเป็นมิตรกับพระยะโฮวาด้วย. ที่จริง เป็นไปไม่ได้ที่จะมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาโดยที่ไม่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระคริสต์ก่อน. (อ่านโยฮัน 14:6, 21) ถ้าอย่างนั้น เราต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นมิตรกับพระเยซูและรักษามิตรภาพนี้ไว้? ก่อนจะพิจารณาเรื่องสำคัญนี้ ให้เราพิจารณาตัวอย่างของพระเยซูเองในการเป็นมิตรสหายที่ดี แล้วดูว่าเราเรียนอะไรได้บ้างจากวิธีที่เหล่าสาวกของพระองค์ตอบสนองต่อมิตรภาพที่พระองค์ทรงมีให้พวกเขา.
ตัวอย่างของพระเยซูในการเป็นมิตรที่ดี
3. พระเยซูทรงเป็นที่รู้จักเพราะอะไร?
3 กษัตริย์โซโลมอนผู้ฉลาดสุขุมเขียนไว้ว่า “คนมั่งคั่งมีมิตรสหายมากหลาย.” (สุภา. 14:20) ข้อสังเกตดังกล่าวสรุปให้เห็นแนวโน้มอย่างหนึ่งของมนุษย์ไม่สมบูรณ์ คือชอบผูกมิตรกับคนที่สามารถให้ผลประโยชน์แก่เขา. พระเยซูไม่ได้แสดงข้ออ่อนแออย่างนี้. พระองค์ไม่ถูกโน้มน้าวโดยฐานะทางการเงินหรือสถานภาพทางสังคมของใคร. จริงอยู่ พระเยซูรู้สึกรักขุนนางหนุ่มผู้มั่งคั่งคนหนึ่งและเชิญเขามาเป็นผู้ติดตามพระองค์. แต่พระเยซูทรงสั่งให้ชายคนนี้ขายสิ่งที่เขามีและเอาเงินแจกให้คนจน. (มโก. 10:17-22; ลูกา 18:18, 23) พระเยซูทรงเป็นที่รู้จัก ไม่ใช่เพราะทรงคบกับคนรวยและคนเด่นดัง แต่เพราะทรงเป็นมิตรกับคนต่ำต้อยและคนที่ถูกเหยียดหยาม.—มัด. 11:19
4. เหตุใดเราจึงกล่าวได้ว่าสหายของพระเยซูมีข้อบกพร่อง?
4 แน่นอน คนที่เป็นสหายของพระเยซูมีข้อบกพร่อง. เปโตรไม่ได้มีทัศนะแบบเดียวกับพระเจ้าในบางครั้ง. (มัด. 16:21-23) ยาโกโบและโยฮันแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีน้ำใจมักใหญ่ใฝ่สูงเมื่อขอพระเยซูประทานตำแหน่งเด่นในราชอาณาจักรแก่ตน. การทำอย่างนั้นทำให้อัครสาวกคนอื่น ๆ โกรธเคือง และประเด็นเรื่องใครเป็นใหญ่กว่ากันจึงเป็นเหตุที่ทำให้พวกเขาถกเถียงกันอยู่เรื่อย ๆ. อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงพยายามแก้ไขความคิดของสหายของพระองค์อย่างอดทน และไม่ทรงหงุดหงิดพวกเขาโดยง่าย.—มัด. 20:20-28
5, 6. (ก) เหตุใดพระเยซูยังคงเป็นมิตรกับอัครสาวกส่วนใหญ่? (ข) เหตุใดพระเยซูทรงตัดขาดมิตรภาพกับยูดา?
5 พระเยซูยังคงเป็นมิตรกับมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงตามใจพวกเขามากเกินไปหรือปิดหูปิดตาต่อข้อบกพร่องของพวกเขา. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น มัด. 26:41
พระองค์ทรงเลือกมองไปที่เจตนาและคุณลักษณะที่ดีของพวกเขา. ตัวอย่างเช่น เปโตร, ยาโกโบ, และโยฮันผล็อยหลับไปแทนที่จะคอยสนับสนุนพระเยซูในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด. เป็นเรื่องเข้าใจได้ไม่ยากว่าพระเยซูทรงผิดหวังในตัวพวกเขา. แม้กระนั้น พระองค์ทรงมองเห็นแรงกระตุ้นที่ดีของพวกเขา และตรัสว่า “ใจกระตือรือร้นก็จริง แต่กายนั้นอ่อนแอ.”—6 ในทางตรงกันข้าม พระเยซูทรงตัดขาดมิตรภาพกับยูดาอิสการิโอต. แม้ยูดาทำทีว่ายังเป็นมิตรที่ดีกับพระเยซู แต่พระองค์ทรงจับสังเกตได้ว่าคนที่เคยเป็นสหายสนิทผู้นี้ได้ปล่อยให้หัวใจของตนเสื่อมทรามไปแล้ว. เพราะยูดาได้กลายเป็นมิตรกับโลก เขาจึงได้ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระเจ้า. (ยโก. 4:4) ด้วยเหตุนั้น พระเยซูทรงให้ยูดาออกไปก่อนจึงค่อยประกาศมิตรภาพกับเหล่าอัครสาวกผู้ซื่อสัตย์ที่ยังเหลืออยู่ 11 คน.—โย. 13:21-35
7, 8. พระเยซูทรงแสดงความรักเพื่อสหายของพระองค์อย่างไร?
7 พระเยซูทรงมองข้ามข้อผิดพลาดของสหายผู้ภักดีต่อพระองค์ และทรงทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อพวกเขา. ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงอธิษฐานขอพระบิดาให้ช่วยปกป้องเมื่อพวกเขาถูกทดสอบ. (อ่านโยฮัน 17:11) พระเยซูทรงคำนึงถึงขีดจำกัดด้านร่างกายของพวกเขา. (มโก. 6:30-32) และพระองค์ทรงสนพระทัยไม่เพียงแค่บอกพวกเขาว่าพระองค์ ทรงคิดอย่างไร แต่ทรงพร้อมจะฟังและเข้าใจความคิดและความรู้สึกของพวกเขา ด้วย.—มัด. 16:13-16; 17:24-26
8 พระเยซูทรงมีชีวิตอยู่และทรงสิ้นพระชนม์เพื่อสหายของพระองค์. จริงอยู่ พระองค์ทรงทราบว่าพระองค์ต้องถวายชีวิตของพระองค์ตามข้อเรียกร้องทางกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความยุติธรรมของพระบิดา. (มัด. 26:27, 28; ฮีบรู 9:22, 28) แต่พระเยซูประทานชีวิตเพื่อแสดงถึงความรักของพระองค์. พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่านี้ คือการที่คนหนึ่งสละชีวิตเพื่อสหายของเขา.”—โย. 15:13
เหล่าสาวกตอบสนองต่อมิตรภาพของพระเยซูอย่างไร?
9, 10. ผู้คนแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการให้อย่างใจกว้างของพระเยซู?
9 พระเยซูทรงให้เวลา, ความรัก, และวัตถุปัจจัยอย่างใจกว้าง. ผลก็คือ ผู้คนถูกดึงดูดเข้ามาหาพระองค์และยินดีให้พระองค์เป็นการตอบแทน. (ลูกา 8:1-3) พระเยซูทรงสามารถตรัสจากประสบการณ์ของพระองค์เองได้ว่า “จงให้แก่ผู้อื่นแล้วผู้อื่นจะให้แก่เจ้า. เขาจะเทใส่กระเป๋าที่หน้าอกของเจ้าจนเต็ม กดและเขย่าให้แน่นและใส่จนล้น. เพราะเจ้าตวงให้เขาอย่างไร เขาจะตวงให้เจ้าอย่างนั้น.”—ลูกา 6:38
10 แน่นอน บางคนคบหากับพระเยซูเพียงเพราะต้องการจะได้ประโยชน์จากพระองค์เท่านั้น. มิตรจอมปลอมเหล่านี้ละทิ้งพระเยซูเมื่อพวกเขาเข้าใจผิดในบางเรื่องที่พระองค์ตรัส. แทนที่จะเชื่อและไว้ใจพระเยซู พวกเขาด่วนสรุปอย่างผิด ๆ และหันหลังให้พระองค์. ตรงกันข้าม เหล่าโยฮัน 6:26, 56, 60, 66-68) ในคืนสุดท้ายของชีวิตพระองค์บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์เห็นค่าสหายของพระองค์โดยตรัสว่า “พวกเจ้าคือผู้ที่อยู่กับเราในยามที่เราถูกทดสอบ.”—ลูกา 22:28
อัครสาวกภักดีต่อพระองค์. มิตรภาพของพวกเขากับพระคริสต์ถูกทดสอบอยู่บ่อยครั้ง แต่พวกเขาพยายามเต็มที่เพื่อจะสนับสนุนพระองค์ทั้งในยามปกติและในยามลำบาก. (อ่าน11, 12. พระเยซูทรงย้ำอย่างไรให้เหล่าสาวกมั่นใจ และพวกเขาแสดงท่าทีอย่างไร?
11 ไม่นานหลังจากที่พระเยซูชมเชยเหล่าสาวกในเรื่องความภักดีของพวกเขา คนเหล่านี้ก็ละทิ้งพระองค์. มีช่วงเวลาสั้น ๆ อยู่ช่วงหนึ่งที่พวกเขาปล่อยให้ความกลัวหน้ามนุษย์เข้ามามีอิทธิพลเหนือความรักต่อพระคริสต์. อีกครั้งหนึ่ง พระเยซูทรงให้อภัยพวกเขา. หลังจากสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนม์แล้ว พระองค์ทรงปรากฏแก่พวกเขาและย้ำให้พวกเขามั่นใจในมิตรภาพของพระองค์. นอกจากนั้น พระองค์ประทานงานมอบหมายอันศักดิ์สิทธิ์ไว้กับพวกเขา คืองานสอน “คนจากทุกชาติ” ให้เป็นสาวก และเป็นพยานฝ่ายพระองค์ “จนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (มัด. 28:19; กิจ. 1:8) เหล่าสาวกแสดงท่าทีอย่างไรต่อพระบัญชานี้?
12 เหล่าสาวกทุ่มเทอย่างสุดใจและสุดชีวิตในการแพร่กระจายข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร. ด้วยการสนับสนุนจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา ไม่นานนักพวกเขาก็ทำให้กรุงเยรูซาเลมเต็มไปด้วยคำสอนของพวกเขา. (กิจ. 5:27-29) แม้ว่าถูกขู่ฆ่า พวกเขาก็ไม่ท้อถอยในการทำตามพระบัญชาของพระเยซูที่ให้สอนคนเป็นสาวก. ภายในเวลาสองสามทศวรรษหลังจากได้รับพระบัญชาจากพระเยซู อัครสาวกเปาโลสามารถเขียนได้ว่าข่าวดีได้ประกาศไป “ท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้ฟ้า.” (โกโล. 1:23) แน่นอน สาวกเหล่านี้พิสูจน์ว่าพวกเขาเห็นค่ามิตรภาพที่พวกเขามีกับพระเยซู!
13. เหล่าสาวกของพระเยซูยอมให้คำสอนของพระองค์มีผลกระทบต่อพวกเขาในทางใดบ้าง?
13 คนที่เข้ามาเป็นสาวกก็ยอมให้คำสอนของพระเยซูมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นส่วนตัวด้วย. สำหรับหลายคน นี่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในด้านความประพฤติและบุคลิกภาพของพวกเขา. สาวกใหม่บางคนเคยเป็นคนรักร่วมเพศ, คนผิดประเวณี, คนขี้เมา, หรือขโมย. (1 โค. 6:9-11) ส่วนบางคนก็ต้องเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคนอีกเชื้อชาติหนึ่ง. (กิจ. 10:25-28) ถึงกระนั้น พวกเขาเชื่อฟังพระเยซู. พวกเขาละทิ้งบุคลิกภาพเก่าและสวมบุคลิกภาพใหม่. (เอเฟ. 4:20-24) พวกเขาได้มารู้จัก “จิตใจอย่างพระคริสต์” เข้าใจและเลียนแบบวิธีคิด และการกระทำของพระองค์.—1 โค. 2:16
มิตรภาพของเรากับพระคริสต์ในปัจจุบัน
14. พระเยซูทรงสัญญาว่าจะทำอะไรในระหว่าง “ช่วงสุดท้ายของยุค”?
14 คริสเตียนเหล่านั้นหลายคนในศตวรรษแรกได้รู้จักพระเยซูเป็นส่วนตัวหรือเคยเห็นพระองค์หลังจากที่ทรงถูกปลุกให้คืนพระชนม์. เราไม่มีสิทธิพิเศษอย่างนั้น. ถ้าอย่างนั้น เราจะเป็นมิตรกับพระคริสต์ได้อย่างไร? วิธีหนึ่งก็คือโดยเชื่อฟังการชี้นำที่พระองค์ประทานทางชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุม ซึ่งประกอบด้วยเหล่าพี่น้องของพระเยซูที่ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณที่ยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลก. พระเย-ซูทรงสัญญาว่าในระหว่าง “ช่วงสุดท้ายของยุค” พระองค์จะแต่งตั้งทาสนี้ให้ “ดูแลทรัพย์สมบัติทั้งหมดของ [พระองค์].” (มัด. 24:3, 45-47) ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มาเป็นมิตรกับพระคริสต์ไม่ได้เป็นสมาชิกของชนชั้นทาสนี้. การตอบรับของพวกเขาต่อการชี้นำที่พวกเขาได้รับจากชน ชั้นทาสสัตย์ซื่อส่งผลกระทบอย่างไรต่อมิตรภาพที่พวกเขามีกับพระคริสต์?
15. อะไรเป็นสิ่งที่กำหนดว่าใครคนหนึ่งจะถูกจัดว่าเป็นแกะหรือเป็นแพะ?
15 อ่านมัดธาย 25:31-40. พระเยซูทรงเรียกคนที่จะประกอบกันเป็นชนชั้นทาสสัตย์ซื่อว่าพี่น้องของพระองค์. ในตัวอย่างเปรียบเทียบเกี่ยวกับการแยกแกะออกจากแพะ พระเยซูตรัสอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงถือว่าวิธีที่เราปฏิบัติต่อพี่น้องของพระองค์เป็นเหมือนกับวิธีที่เราปฏิบัติต่อพระองค์เอง. ที่จริง พระองค์ตรัสว่าสิ่งที่กำหนดว่าใครจะเป็นแกะหรือเป็นแพะได้แก่วิธีที่คนคนนั้นปฏิบัติต่อ “ผู้เล็กน้อยที่สุดคนหนึ่งในพวกพี่น้อง [ของพระองค์].” ด้วยเหตุนั้น วิธีสำคัญที่ผู้มีความหวังทางแผ่นดินโลกแสดงความปรารถนาจะเป็นมิตรกับพระคริสต์ก็คือโดยการสนับสนุนชนชั้นทาสสัตย์ซื่อ.
16, 17. เราจะแสดงมิตรภาพต่อพี่น้องของพระคริสต์ได้โดยวิธีใด?
16 ถ้าคุณหวังจะมีชีวิตบนแผ่นดินโลกภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรของพระเจ้า คุณจะแสดงมิตรภาพต่อพี่น้องของพระคริสต์ได้โดยวิธีใด? ให้เราพิจารณาด้วยกันแค่สามวิธี. วิธีแรก โดยมีส่วนร่วมในงานประกาศอย่างสุดใจ. พระคริสต์ทรงมีพระบัญชาให้พี่น้องของพระองค์ประกาศข่าวดีไปทั่วโลก. (มัด. 24:14) แต่ชนที่เหลือแห่งพี่น้องของพระคริสต์บนแผ่นดินโลกในทุกวันนี้คงจะรับภาระหน้าที่หนักมาก หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากแกะอื่นสหายของพวกเขา. จริงทีเดียว แต่ละครั้งที่สมาชิกแห่งแกะอื่นเข้าร่วมในงานประกาศ พวกเขาช่วยพี่น้องของพระคริสต์ทำหน้าที่มอบหมายอันศักดิ์สิทธิ์ของตนให้สำเร็จ. พระคริสต์และชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมเห็นค่าการแสดงมิตรภาพเช่นนี้อย่างยิ่ง.
17 วิธีที่สองที่แกะอื่นสามารถช่วยพี่น้องของพระคริสต์ได้ก็คือโดยสนับสนุนงานประกาศด้วยการบริจาค. พระเยซูสนับสนุนสาวกของพระองค์ให้หามิตรโดย “ใช้ทรัพย์อธรรม.” (ลูกา 16:9) นี่ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถซื้อมิตรภาพจากพระเยซูหรือพระยะโฮวา. แต่ด้วยการใช้ทรัพย์สินของเราเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ของราชอาณาจักร เราแสดงมิตรภาพและความรักของเรา ไม่ใช่ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่ “ด้วยการกระทำและด้วยความจริงใจ.” (1 โย. 3:16-18) เราให้การสนับสนุนทางการเงินเช่นนั้นเมื่อเราเข้าร่วมในงานประกาศ, เมื่อเราบริจาคเงินสำหรับการก่อสร้างและการบำรุงรักษาสถานที่ประชุม, และเมื่อเราบริจาคทรัพย์เป็นกองทุนสำหรับงานประกาศทั่วโลก. ไม่ว่าจำนวนเงินที่เราบริจาคจะมากหรือน้อย ทั้งพระยะโฮวาและพระเยซูทรงเห็นค่าการให้ด้วยใจยินดีของเราอย่างแน่นอน.—2 โค. 9:7
18. เหตุใดเราควรทำตามคำแนะนำซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักของผู้ปกครองในประชาคม?
18 วิธีที่สามที่เราทุกคนสามารถพิสูจน์ว่าเราเป็นมิตรของพระคริสต์ก็คือโดยร่วมมือกับผู้ปกครองในประชาคมที่ให้การชี้นำ. คนเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ภายใต้การชี้นำของพระคริสต์. (เอเฟ. 5:23) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “จงเชื่อฟังผู้ที่นำหน้าท่ามกลางท่านทั้งหลายและยอมรับอำนาจของพวกเขา.” (ฮีบรู 13:17) บางครั้ง เราอาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำตามคำแนะนำซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักของผู้ปกครองในประชาคม. เราคงจะรู้ว่าเขามีข้อบกพร่องบางอย่าง และนั่นอาจทำให้เรามีทัศนะที่ไม่ถูกต้องต่อคำแนะนำของเขา. ถึงกระนั้น พระคริสต์ผู้เป็นประมุขประชาคมทรงยินดีใช้มนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้. ด้วยเหตุนั้น วิธีที่เราแสดงปฏิกิริยาต่ออำนาจของพวกเขามีผลกระทบโดยตรงต่อมิตรภาพที่เรามีกับพระคริสต์. เมื่อเรามองข้ามข้อผิดพลาดของผู้ปกครองและยินดีทำตามคำแนะนำของพวกเขา เราพิสูจน์ให้เห็นว่าเรารักพระคริสต์.
เราจะหาเพื่อนที่ดีได้จากที่ไหน?
19, 20. เราสามารถพบอะไรในประชาคม และเราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
19 พระเยซูทรงห่วงใยดูแลเราเสมอไม่ใช่โดยทางการดูแลของผู้บำรุงเลี้ยงที่เปี่ยมด้วยความรักเท่านั้น แต่โดยให้เรามีแม่และพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณภายในประชาคมด้วย. (อ่านมาระโก 10:29, 30) เมื่อคุณเริ่มสมทบกับองค์การของพระยะโฮวา ญาติ ๆ ของคุณแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? คงนับว่าดีถ้าพวกเขาสนับสนุนความพยายามของคุณที่จะเข้ามามีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้าและพระคริสต์. แต่พระเยซูทรงเตือนว่า บางครั้ง “คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นศัตรูกัน.” (มัด. 10:36) ช่างให้กำลังใจสักเพียงไรที่รู้ว่า เราสามารถพบคนที่จะสนิทสนมยิ่งกว่าญาติพี่น้องได้ในประชาคม!—สุภา. 18:24
20 คำพูดในตอนท้ายของจดหมายที่เขียนถึงประชาคมในกรุงโรมซึ่งเปาโลได้ฝากความคิดถึงมายังบางคนแสดงให้เห็นว่าท่านมีเพื่อนสนิทหลายคน. (โรม 16:8-16) อัครสาวกโยฮันลงท้ายจดหมายฉบับที่สามด้วยคำพูดที่ว่า “ข้าพเจ้าขอฝากความคิดถึงมายังเพื่อน ๆ แต่ละคนด้วย.” (3 โย. 14) เห็นได้ชัดว่าท่านก็ได้พัฒนามิตรภาพที่ยั่งยืนกับหลายคนเหมือนกัน. เราจะเลียนแบบพระเยซูและเหล่าสาวกรุ่นแรกได้อย่างไรด้วยการสร้างและรักษามิตรภาพที่ดีกับพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณของเรา? บทความถัดไปจะพิจารณาคำตอบสำหรับคำถามนี้.
คุณจะตอบอย่างไร?
• พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรไว้ในเรื่องการเป็นมิตรที่ดี?
• เหล่าสาวกตอบสนองต่อมิตรภาพของพระเยซูอย่างไร?
• เราจะพิสูจน์ตัวได้โดยวิธีใดว่าเราเป็นมิตรของพระคริสต์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 14]
พระเยซูทรงสนพระทัยว่า สหายของพระองค์คิดและรู้สึกอย่างไร
[ภาพหน้า 16]
เราสามารถแสดงให้เห็นว่าเราปรารถนาจะเป็นมิตรของพระคริสต์ได้โดยวิธีใด?