คุณจะมาที่มาซิโดเนียได้ไหม?
คุณจะมาที่มาซิโดเนียได้ไหม?
ที่โตรอัส เมืองท่าในเอเชียไมเนอร์ อัครสาวกเปาโลได้รับนิมิต. ชายชาวมาซิโดเนียคนหนึ่งวิงวอนท่านว่า “โปรดมาช่วยพวกข้าพเจ้าที่แคว้นมาซิโดเนียด้วย.” หลังจากเปาโลเห็นนิมิตนั้น ท่านกับเพื่อนร่วมเดินทางก็ลงความเห็นว่า “พระเจ้าทรงเรียก [พวกเขา] มาประกาศข่าวดี” แก่ชาวมาซิโดเนีย. ผลเป็นอย่างไร? ที่ฟิลิปปอย เมืองสำคัญที่สุดของแคว้นมาซิโดเนีย ลิเดียกับคนในบ้านนางได้เข้ามาเป็นผู้มีความเชื่อ. คนอื่น ๆ ในแคว้นมาซิโดเนียของโรมก็ตามเข้ามาสมทบ.—กิจ. 16:9-15
น้ำใจแรงกล้าคล้าย ๆ กันนี้มีอยู่ในหมู่พยานพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันด้วย. หลายคนเต็มใจย้ายไปอยู่ในที่ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่าโดยออกค่าใช้จ่ายเอง. ตัวอย่างเช่น ลิซาอยากรับใช้มากขึ้น เธอจึงย้ายจากแคนาดาไปอยู่ที่เคนยา. เทรเวอร์และเอมิลี ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเหมือนกัน ไปที่มาลาวีโดยมีเป้าหมายจะขยายงานรับใช้ของตน. พอลและแมกกี จากประเทศอังกฤษ มองว่าการเกษียณอายุของตนเป็นโอกาสทองที่จะรับใช้พระยะโฮวาได้มากขึ้นและย้ายไปอยู่ที่แอฟริกาตะวันออก. คุณมีน้ำใจเสียสละไหม? คุณจะลองพิจารณาเรื่องการย้ายไปรับใช้ที่อื่นได้ไหม? ถ้าคุณทำอย่างนั้นได้ หลักการในคัมภีร์ไบเบิลข้อใดและข้อเสนอแนะอะไรในทางปฏิบัติที่อาจช่วยคุณให้ทำได้สำเร็จ?
จงวิเคราะห์ตัวคุณเอง
สิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องพิจารณาก็คือแรงกระตุ้นของคุณ. พระเยซูตรัสว่าพระบัญญัติที่สำคัญที่สุดก็คือ “จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้า ด้วยสุดมัด. 22:36-39; 28:19, 20) การรับใช้ในต่างแดนมักเกี่ยวข้องกับการงานมากมายและน้ำใจเสียสละ. การรับใช้แบบนี้ไม่ใช่เพียงแค่การผจญภัย. คุณต้องได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก. เรมโกและซูซานเนอ ซึ่งมาจากเนเธอร์แลนด์และตอนนี้รับใช้ที่นามิเบีย สรุปอย่างนี้ว่า “สิ่งที่ช่วยให้เราอยู่ที่นี่ได้คือความรัก.”
ชีวิตของเจ้า และด้วยสุดความคิดของเจ้า.” เหตุผลที่ไปรับใช้ในเขตงานต่างแดนควรได้แก่ความรักที่มีต่อพระเจ้าและความปรารถนาที่จะทำหน้าที่มอบหมายในการสอนคนเป็นสาวกให้สำเร็จ. พระเยซูตรัสต่อไปอีกว่า “บัญญัติข้อที่สองก็เช่นกัน คือ ‘จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.’ ” ความรักที่มีต่อเพื่อนบ้านนั้นเห็นได้จากความปรารถนาจากใจจริงที่จะช่วยพวกเขา. (วิลลีซึ่งเป็นผู้ดูแลหมวดในนามิเบียให้ข้อสังเกตว่า “คนที่อยู่ในเขตงานต่างแดนได้นานไม่ได้มาโดยที่คาดหมายว่าพี่น้องท้องถิ่นจะดูแลพวกเขา. พวกเขามาโดยมีความคิดที่จะรับใช้ร่วมกันกับพี่น้องท้องถิ่น เพื่อจะช่วยทำงานประกาศ.”
หลังจากตรวจสอบแรงกระตุ้นของคุณแล้ว จงถามตัวเองว่า ‘ฉันมีประสบการณ์อะไรที่อาจเป็นประโยชน์ในเขตงานต่างแดน? ฉันเป็นผู้รับใช้ที่มีประสิทธิภาพไหม? ฉันพูดภาษาอะไรได้บ้าง? ฉันพร้อมจะเรียนภาษาใหม่ไหม?’ จงพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังกับครอบครัวของคุณ. จงปรึกษากับผู้ปกครองในประชาคมของคุณ. และแน่นอน จงทูลเรื่องนี้ในคำอธิษฐานถึงพระยะโฮวา. การตรวจสอบตัวเองอย่างตรงไปตรงมาเช่นนั้นน่าจะช่วยคุณให้มองเห็นว่าคุณมีความสามารถและความตั้งใจจริง ๆ ไหมที่จะรับใช้ในต่างแดน.—ดูกรอบ “จงรู้จักตัวเอง.”
จะไปรับใช้ที่ไหน?
เปาโลถูกเรียกให้ไปที่มาซิโดเนียโดยทางนิมิต. ปัจจุบัน พระยะโฮวาไม่ได้ใช้วิธีการเหนือธรรมชาติเพื่อชี้นำเรา. แต่โดยทางวารสารนี้และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ประชาชนของพระเจ้าเรียนรู้จักเขตงานต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นมาก. ดังนั้น จงเริ่มด้วยการเขียนรายชื่อเขตงานแบบนั้น. ถ้าคุณไม่พร้อมจะเรียนภาษาใหม่หรือคุณจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศแค่ชั่วคราว คุณน่าจะพิจารณาการรับใช้ในเขตที่คุณพูดภาษากลางของประเทศนั้นได้อยู่แล้ว. จากนั้น จงตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับวีซ่า, การขนส่ง, ความปลอดภัย, ค่าครองชีพทั่วไป, และภูมิอากาศ. คุณอาจพบว่าเป็นประโยชน์ที่จะคุยกับคนที่เคยย้ายไปรับใช้ที่อื่น. จงอธิษฐานขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้เพื่อจะตัดสินใจได้ดีที่สุด. จำไว้ว่า ‘พระวิญญาณบริสุทธิ์ห้ามเปาโลและเพื่อนร่วมทางไม่ให้ประกาศพระคำในแคว้นเอเชีย.’ แม้ว่าพวกเขาพยายามจะเข้าไปในแคว้นบิทีเนีย “แต่พระเยซูทรงใช้พระวิญญาณห้ามพวกเขาไว้.” ในทำนองเดียวกัน อาจต้องใช้เวลาอยู่บ้างเพื่อจะตัดสินใจว่าคุณจะรับใช้ที่ไหนจึงจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง.—กิจ. 16:6-10
ถึงตอนนี้ คุณอาจบอกได้แล้วว่ามีเขตงานใดบ้างที่เหมาะกับคุณ. ถ้าคุณคิดจะรับใช้ในต่างประเทศ จงเขียนจดหมายถึงสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในประเทศที่คุณคิดจะไปรับใช้. จงเล่าย่อ ๆ เกี่ยวกับการรับใช้ที่คุณเคยทำในอดีตและที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงคำถามในบางเรื่องที่คุณอาจมี เช่น ค่าครองชีพ, ที่พัก, การรักษาพยาบาล, และโอกาสที่จะทำงานอาชีพ. จากนั้น จงยื่นจดหมายนี้ให้คณะกรรมการการรับใช้ในประชาคมของคุณ. คณะกรรมการจะเขียนจดหมายแนะนำตัวคุณและแนบจดหมายนั้นกับจดหมายของคุณส่งไปถึงสำนักงานสาขาที่คุณระบุ. จดหมายที่ตอบกลับมาน่าจะช่วยคุณให้ตัดสินใจได้ว่าคุณจะรับใช้ที่ไหนจึงจะเกิดผลมากที่สุด.
วิลลี ซึ่งกล่าวถึงแล้วก่อนหน้านี้ ให้ข้อสังเกตว่า “คนที่รับใช้ในเขตต่างแดนได้ดีมักไปเยือนประเทศนั้นก่อนและมองหาเขตงานที่เหมาะสมซึ่งพวกเขาสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขจริง ๆ. คู่สมรสคู่หนึ่งยอมรับว่าพวกเขารู้สึกว่ายากที่จะอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล. ดังนั้น ทั้งสองจึงเลือกไปอยู่ในเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นมากเหมือนกัน แต่เป็นที่ที่พวกเขาสามารถมีมาตรฐานการครองชีพแบบที่พวกเขาจะอยู่ได้อย่างมีความสุข.”
เผชิญข้อท้าทายใหม่
การย้ายออกจากบ้านที่คุ้นเคยไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่อย่างสิ้นเชิงย่อมจะมีข้อท้าทายบ้างอย่างไม่ต้องสงสัย. ลิซา ซึ่งกล่าวถึงแล้วในตอนต้น บอกว่า “ความรู้สึกเหงาอาจเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง.” อะไรช่วยเธอให้รับมือได้? การอยู่ใกล้ชิดเสมอกับประชาคมในถิ่นที่อยู่ใหม่ของเธอ. เธอตั้งเป้าว่าจะรู้จักชื่อพี่น้องทุกคน. เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ เธอไปประชุมแต่เนิ่น ๆ และอยู่ต่อหลังจากการประชุมจบลงเพื่อพูดคุยกับพี่น้อง. ลิซาทำงานรับใช้กับคนอื่น ๆ, เชิญ
หลายคนมาที่บ้าน, และทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หลาย ๆ คน. เธอกล่าวว่า “ดิฉันไม่รู้สึกเสียใจเลยที่ได้เสียสละบางอย่าง. พระยะโฮวาทรงอวยพรดิฉันอย่างแท้จริง.”หลังจากเลี้ยงดูครอบครัวมานาน พอลและแมกกีย้ายออกจากบ้านที่ทั้งสองอาศัยอยู่มาเป็นเวลา 30 ปี. เขาเล่าว่า “การกำจัดข้าวของทั้งหลายทิ้งไปทำได้ง่ายกว่าที่เราคาดไว้. แต่การต้องทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเป็นเรื่องยากและแย่ยิ่งกว่าที่เราคิด. ตอนที่นั่งเครื่องบิน เราสะอื้นไห้ไปตลอดทาง. เป็นเรื่องง่ายมากที่จะคิดว่า ‘เราทิ้งครอบครัวไปไม่ได้หรอก.’ แต่เราหมายพึ่งพระยะโฮวา. การรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ ช่วยเสริมความตั้งใจของเราที่จะเดินหน้าต่อไป.”
เกรกและคริสตัลเลือกย้ายจากแคนาดามาอยู่ที่นามิเบียเพราะทั้งสองพูดภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของประเทศนี้. แต่ต่อมา ทั้งสองเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะเรียนภาษาท้องถิ่น. “บางครั้ง เรารู้สึกท้อ. แต่หลังจากที่เรียนภาษาท้องถิ่นแล้วเราถึงได้เข้าใจวัฒนธรรมของที่นี่. การคบหาอย่างใกล้ชิดกับพี่น้องท้องถิ่นช่วยเราให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้.”
การมีทัศนะที่ถ่อมใจและเต็มใจอย่างนั้นสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อพี่น้องในท้องถิ่นด้วย. เจนนีระลึกถึงบางครอบครัวที่ย้ายมาอยู่ที่ไอร์แลนด์ซึ่งเธอเติบโตขึ้นมาที่นั่น. เธอกล่าวว่า “พวกเขาเป็นคนโอบอ้อมอารี. พวกเขามาเพื่อรับใช้จริง ๆ ไม่ใช่มาเพื่อให้คนอื่นรับใช้พวกเขา. พวกเขากระตือรือร้นและมีความสุขมากจนดิฉันอยากจะลองไปรับใช้เหมือนพวกเขาบ้าง.” ตอนนี้ เจนนีและสามีรับใช้เป็นมิชชันนารีในประเทศแกมเบีย.
พระพรของพระยะโฮวา ‘ทำให้มั่งคั่ง’
ประสบการณ์ของเปาโลในมาซิโดเนียช่างน่ายินดีสักเพียงไร! ประมาณสิบปีต่อมา ท่านเขียนถึงพี่น้องในเมืองฟิลิปปอยว่า “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าทุกครั้งที่ระลึกถึงท่านทั้งหลาย.”—ฟิลิป. 1:3
เทรเวอร์และเอมิลี ซึ่งรับใช้ในมาลาวีก่อนได้รับเชิญให้เข้าเรียนในโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด รู้สึกคล้าย ๆ กัน. “บางครั้งเราสงสัยว่าเรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า แต่ว่าเรามีความสุข. เราใกล้ชิดกันมากขึ้นและรู้สึกว่าพระยะโฮวาทรงอวยพรเรา.” เกรกและคริสตัล ซึ่งกล่าวถึงแล้วข้างต้น บอกว่า “ไม่มีงานใดอีกแล้วที่เราอยากทำมากกว่างานนี้.”
จริงอยู่ ไม่ใช่ทุกคนสามารถรับใช้ในต่างแดนได้. บางคนอาจรับใช้ได้ดีกว่าถ้าย้ายไปรับใช้ในเขตที่มีความจำเป็นมากกว่าในประเทศของเขาเอง. คนอื่น ๆ อาจพยายามบรรลุเป้าหมายที่จะรับใช้ในประชาคมอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้บ้าน. สิ่งสำคัญก็คือคุณควรทำทุกสิ่งที่คุณทำได้เพื่อรับใช้พระยะโฮวา. (โกโล. 3:23) เมื่อคุณทำอย่างนั้น ถ้อยคำที่มีขึ้นโดยการดลใจนี้จะเป็นจริงกับตัวคุณ ที่ว่า “พระพรของพระยะโฮวากระทำให้เกิดความมั่งคั่ง; และพระองค์จะไม่เพิ่มความทุกข์ยากให้เลย.”—สุภา. 10:22
[กรอบ/ภาพหน้า 5]
จงรู้จักตัวเอง
เพื่อตรวจสอบตัวเองว่าคุณอาจย้ายไปรับใช้ในต่างแดนได้หรือไม่ ขอให้พิจารณาคำถามต่อไปนี้อย่างตรงไปตรงมา อธิษฐานและประเมินตัวเองตามความเป็นจริงว่าการย้ายไปรับใช้เช่นนั้นเหมาะกับคุณไหม. ข้อมูลที่เคยลงในวารสารหอสังเกตการณ์ อาจช่วยคุณให้ทำอย่างนั้นได้.
• ฉันสนใจสิ่งฝ่ายวิญญาณไหม?—“ขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อบรรลุความสุข” (ฉบับ 15 ตุลาคม 1997 หน้า 6)
• ฉันเป็นผู้รับใช้ที่มีประสิทธิภาพไหม?—“วิธีที่จะประสบความสำเร็จในงานรับใช้ประเภทไพโอเนียร์” (ฉบับ 15 พฤษภาคม 1989 หน้า 28)
• ฉันสามารถอยู่ห่างไกลจากครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้ไหม?—“การรับมือกับโรคคิดถึงบ้านในงานรับใช้พระเจ้า” (ฉบับ 15 พฤษภาคม 1994 หน้า 28)
• ฉันจะเรียนภาษาใหม่ได้ไหม?—“การรับใช้ในประชาคมที่พูดภาษาต่างประเทศ” (ฉบับ 15 มีนาคม 2006 หน้า 17)
• ฉันมีเงินพอจะย้ายไปรับใช้ที่อื่นไหม?—“คุณจะรับใช้ในเขตงานต่างแดนได้ไหม?”(ฉบับ 15 ตุลาคม 1999 หน้า 23)
[ภาพหน้า 6]
การมีทัศนะที่ถ่อมใจและเต็มใจสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อพี่น้องในท้องถิ่น
[ภาพหน้า 7]
คนที่มาเพื่อรับใช้คือคนที่ประสบความสำเร็จ