การเป็นคนของพระยะโฮวาเป็นพระกรุณาอันใหญ่หลวง
การเป็นคนของพระยะโฮวาเป็นพระกรุณาอันใหญ่หลวง
“เรา . . . เป็นคนของพระยะโฮวา.”—โรม 14:8
1, 2. (ก) เราได้รับสิทธิพิเศษอะไร? (ข) เราจะพิจารณาคำถามอะไรบ้าง?
ช่างเป็นสิทธิพิเศษอันล้ำค่าจริง ๆ ที่ได้มีการเสนอแก่ชาติอิสราเอล เมื่อพระยะโฮวาตรัส กับพวกเขาว่า “เจ้าจะเป็นทรัพย์ประเสริฐของเรายิ่งกว่าชาติทั้งปวง.” (เอ็ก. 19:5) ปัจจุบัน สมาชิกประชาคมคริสเตียนก็ได้รับเกียรติด้วยการเป็นคนของพระยะโฮวาเช่นกัน. (1 เป. 2:9; วิ. 7:9, 14, 15) นั่นเป็นสิทธิพิเศษที่ให้ประโยชน์แก่เราตลอดไป.
2 นอกจากจะเป็นสิทธิพิเศษแล้ว การเป็นคนของพระยะโฮวาทำให้เรามีหน้าที่รับผิดชอบด้วย. บางคนอาจสงสัยว่า ‘ฉันจะทำสิ่งที่พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้ฉันทำได้ไหม? ถ้าฉันพลาดพลั้งทำบาป พระองค์จะปฏิเสธฉันไหม? การเป็นคนของพระยะโฮวาจะทำให้ฉันขาดเสรีภาพไหม?’ ความเป็นห่วงเช่นนั้นเป็นเรื่องที่น่าพิจารณา. แต่ก่อนอื่น มีคำถามหนึ่งที่ควรพิจารณาอย่างละเอียด: การเป็นคนของพระยะโฮวาให้ประโยชน์อะไร?
การเป็นคนของพระยะโฮวาทำให้มีความสุข
3. การที่ราฮาบตัดสินใจมารับใช้พระยะโฮวาเป็นประโยชน์อย่างไรแก่เธอ?
3 ประชาชนของพระยะโฮวาได้รับประโยชน์จากการที่พวกเขาเป็นคนของพระยะโฮวาไหม? ขอให้พิจารณากรณีของราฮาบ หญิงโสเภณีคนหนึ่งซึ่งอาศัยในเมืองเยริโคโบราณ. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเธอได้รับการเลี้ยงดูให้นมัสการพระของชาวคะนาอันที่เสื่อมทราม. ถึงกระนั้น เมื่อเธอได้ยโก. 2:25) ขอให้นึกถึงผลประโยชน์ที่เธอได้รับเมื่อเธอเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนที่สะอาดของพระเจ้า ซึ่งเป็นประชาชนที่ได้รับการสั่งสอนโดยพระบัญญัติของพระเจ้าในเรื่องแนวทางแห่งความรักและความยุติธรรม. เธอคงต้องมีความสุขสักเพียงไรเมื่อเธอทิ้งวิถีชีวิตเดิมของเธอ! เธอได้แต่งงานกับชายชาวอิสราเอลและเลี้ยงดูโบอัศบุตรชายให้เป็นคนของพระเจ้าที่โดดเด่นคนหนึ่ง.—ยโฮ. 6:25; รูธ. 2:4-12; มัด. 1:5, 6
ยินข่าวเรื่องชัยชนะที่พระยะโฮวาประทานแก่ชาติอิสราเอล เธอก็ตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าองค์เที่ยงแท้. เธอจึงเสี่ยงชีวิตช่วยปกป้องคนที่พระเจ้าทรงเลือก และโดยทำอย่างนั้นจึงเป็นการฝากอนาคตของเธอไว้กับพวกเขา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “เมื่อราฮาบหญิงแพศยาต้อนรับผู้สอดแนมด้วยใจอารีและส่งพวกเขาไปทางอื่น พระเจ้าทรงถือว่านางเป็นคนชอบธรรมเนื่องจากการกระทำของนางไม่ใช่หรือ?” (4. รูทได้รับประโยชน์อย่างไรจากการตัดสินใจรับใช้พระยะโฮวา?
4 รูทชาวโมอาบก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ตัดสินใจรับใช้พระยะโฮวา. เมื่อเป็นเด็กอยู่ เธอคงนมัสการพระคีโมศและพระอื่น ๆ ของชาวโมอาบ แต่เธอได้มารู้จักพระยะโฮวา พระเจ้าองค์เที่ยงแท้และแต่งงานกับชาวอิสราเอลที่ลี้ภัยมาอาศัยในบ้านเมืองของเธอ. (อ่านประวัตินางรูธ 1:1-6) ต่อมา เมื่อรูทและอะระฟาซึ่งเป็นคู่สะใภ้กันออกเดินทางไปเบทเลเฮมกับนาอะมีซึ่งเป็นแม่สามี นาอะมีก็บอกให้หญิงสาวทั้งสองคนกลับบ้าน. การที่พวกเธอจะมาอาศัยอยู่อย่างถาวรในอิสราเอลคงไม่ใช่เรื่องง่าย. อะระฟา “ก็กลับไปหาญาติพี่น้อง, และพระของ [เธอ]” แต่รูทไม่กลับไป. เธอปฏิบัติตามความเชื่อและรู้ว่าเธอต้องการเป็นคนของใคร. เธอบอกนาอะมีว่า “ขออย่าสั่งให้ฉันละทิ้ง, หรือกลับจากติดตามแม่เลย; ด้วยว่าแม่จะไปไหน, ฉันจะไปด้วย; แม่จะอาศัยอยู่ที่ไหน, ฉันจะอาศัยอยู่ที่นั้นด้วย. ญาติพี่น้องของแม่, จะเป็นญาติพี่น้องของฉัน, และพระเจ้าของแม่จะเป็นพระเจ้าของฉันด้วย.” (รูธ. 1:15, 16) เนื่องจากเธอเลือกรับใช้พระยะโฮวา รูทได้รับประโยชน์จากพระบัญญัติของพระเจ้าซึ่งมีข้อกำหนดพิเศษเพื่อประโยชน์ของหญิงม่าย คนจน และคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน. ภายใต้การคุ้มครองของพระยะโฮวา เธอได้รับความสุข, การปกป้อง, และความมั่นคงปลอดภัย.
5. คุณสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับผู้คนที่รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์?
5 คุณอาจรู้จักบางคนที่หลังจากอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาแล้วก็ได้รับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์เป็นเวลาหลายสิบปี. ลองถามพวกเขาดูว่าพวกเขาได้รับประโยชน์อย่างไรจากการรับใช้พระองค์. แม้ว่าไม่มีใครที่ไม่มีปัญหาเลย แต่มีหลักฐานท่วมท้นที่สนับสนุนคำพูดของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่กล่าวว่า “ชนประเทศที่นับถือพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของตนก็เป็นผาสุก.”—เพลง. 144:15
พระยะโฮวาทรงคาดหมายจากเราอย่างสมเหตุผล
6. เหตุใดเราไม่ควรกลัวว่าจะไม่สามารถทำสิ่งที่พระยะโฮวาทรงคาดหมายจากเรา?
6 คุณอาจสงสัยว่าคุณจะทำสิ่งที่พระยะโฮวาทรงคาดหมายจากคุณได้หรือไม่. เป็นเรื่องง่ายที่เราอาจรู้สึกหนักใจเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงคาดหมายจากเราในฐานะผู้รับใช้พระองค์, ในการดำเนินชีวิตตามกฎหมายของพระองค์, และในการพูดในพระนามของพระองค์. ตัวอย่างเช่น เอ็กโซโด 3:11; 4:1, 10, 13-15) เนื่องจากโมเซตอบรับความช่วยเหลือจากพระองค์ ท่านจึงมีความยินดีที่ได้ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าให้สำเร็จ. ในทำนองเดียวกัน พระยะโฮวาทรงมีเหตุผลสำหรับสิ่งที่พระองค์ทรงคาดหมายจากเรา. พระองค์ทรงเข้าใจว่าเราเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ และพระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเรา. (เพลง. 103:14) การรับใช้พระเจ้าในฐานะสาวกของพระเยซูนั้นให้ความสดชื่น ไม่ใช่ทำให้หนักใจ เพราะแนวทางชีวิตเช่นนั้นให้ประโยชน์แก่คนอื่น ๆ และทำให้พระทัยพระยะโฮวายินดี. พระเยซูตรัสว่า “จงมาหาเราเถิด แล้วเราจะทำให้เจ้าทั้งหลายสดชื่น. จงรับแอกของเราแบกไว้และเรียนจากเรา เพราะเราเป็นคนอ่อนโยนและถ่อมใจ.”—มัด. 11:28, 29
โมเซรู้สึกว่าไม่มีความสามารถพอเมื่อท่านถูกส่งไปพูดกับชาวอิสราเอลและไปเจรจากับกษัตริย์แห่งอียิปต์. แต่พระเจ้าไม่ทรงคาดหมายจากโมเซอย่างที่ขาดเหตุผล. พระยะโฮวา ‘ทรงสอนท่านให้รู้ว่าควรทำประการใด.’ (อ่าน7. เหตุใดคุณจึงเชื่อมั่นได้ว่าพระยะโฮวาจะทรงช่วยคุณให้ทำงานที่พระองค์ทรงมอบหมาย?
7 พระยะโฮวาจะทรงหนุนใจเราตามที่จำเป็นเสมอ ตราบเท่าที่เราพึ่งพระองค์ให้เสริมกำลังเรา. ตัวอย่างเช่น ดูเหมือนว่ายิระมะยาห์ไม่ใช่คนที่มีนิสัยกล้าพูด. เมื่อพระยะโฮวาทรงมอบหมายให้ท่านเป็นผู้พยากรณ์ ยิระมะยาห์จึงกล่าวว่า “โอ้ยะโฮวาพระเจ้า, ดูเถิด, ข้าพเจ้าพูดไม่ได้, เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กอยู่.” ในภายหลัง ท่านถึงกับกล่าวว่า “ข้าพเจ้า . . . จะไม่บอกในนามของพระองค์อีกแล้ว.” (ยิระ. 1:6; 20:9) กระนั้น โดยได้รับการหนุนใจจากพระยะโฮวา ยิระมะยาห์สามารถประกาศข่าวสารที่ผู้คนไม่ชอบนานถึง 40 ปี. พระยะโฮวาทรงรับรองกับท่านหลายครั้งโดยตรัสว่า “เราอยู่ด้วยเจ้าเพื่อจะช่วยเจ้าให้พ้นได้.”—ยิระ. 1:8, 19; 15:20
8. เราจะแสดงให้เห็นได้โดยวิธีใดว่าเราไว้วางใจพระยะโฮวา?
8 เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงเสริมกำลังโมเซและยิระมะยาห์ พระองค์ทรงสามารถช่วยเราให้ทำสิ่งที่พระองค์ทรงคาดหมายให้คริสเตียนในทุกวันนี้ทำ. ปัจจัยสำคัญก็คือการไว้วางใจพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง. จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.” (สุภา. 3:5, 6) เราแสดงให้เห็นว่าเราไว้วางใจพระยะโฮวาเมื่อเราพร้อมที่จะรับความช่วยเหลือที่พระองค์ทรงจัดให้โดยทางพระคำและทางประชาคม. ถ้าเรายอมให้พระยะโฮวาชี้นำก้าวเดินของเราในชีวิต ไม่มีสิ่งใดจะขัดขวางเราไว้ไม่ให้รักษาความซื่อสัตย์ต่อพระองค์.
พระยะโฮวาทรงดูแลประชาชนของพระองค์แต่ละคน
9, 10. เพลงสรรเสริญบท 91 เป็นคำสัญญาในเรื่องการปกป้องแบบไหน?
9 เมื่อใคร่ครวญในเรื่องการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวา บางคนอาจกลัวว่าเขาอาจพลาดพลั้งทำผิด ซึ่งจะทำให้เขาอยู่ในฐานะที่ไม่คู่ควรและถูกพระยะโฮวาปฏิเสธ. น่ายินดี พระยะโฮวาทรงจัดให้มีการปกป้องที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อช่วยเรารักษาสายสัมพันธ์อันล้ำค่าที่เรามีกับพระองค์. ให้เรามาดูว่ามีการพรรณนาเรื่องนี้ไว้อย่างไรในเพลงสรรเสริญบท 91.
10 เพลงสรรเสริญบทนี้เริ่มโดยกล่าวว่า “ผู้ใดอาศัยอยู่ในที่อันลับแห่งผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุดผู้นั้นจะได้อาศัยอยู่ในร่มของพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่ง. ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงพระยะโฮวาว่า, ‘พระองค์เป็นที่พึ่งพำนักและเป็นป้อมของข้าพเจ้า; พระองค์เป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า ๆ วางใจในพระองค์.’ ด้วยพระองค์จะทรงช่วยท่านให้พ้นจากบ่วงแร้วของนายพราน.” (เพลง. 91:1-3) ขอให้สังเกตว่าพระเจ้าทรงสัญญาว่าจะปกป้องคนที่รักและไว้วางใจพระองค์. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 91:9, 14) พระองค์ทรงหมายถึงการปกป้องแบบไหน? พระยะโฮวาทรงปกป้องผู้รับใช้บางคนของพระองค์ในสมัยโบราณทางด้านร่างกาย—ในบางกรณี เพื่อรักษาเชื้อสายวงศ์ตระกูลที่จะนำไปถึงพระมาซีฮาตามคำสัญญา. อย่างไรก็ตาม มีผู้ซื่อสัตย์หลายคนที่ถูกจำคุก, ถูกทรมาน, และถูกฆ่าด้วยความมุ่งหมายอันชั่วร้ายที่จะให้พวกเขาทิ้งความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า. (ฮีบรู 11:34-39) พวกเขาได้รับความกล้าที่จำเป็นเพื่อจะอดทนได้ เนื่องจากพระยะโฮวาทรงปกป้องพวกเขาไว้จากอันตรายฝ่ายวิญญาณที่อาจทำลายความซื่อสัตย์มั่นคงของพวกเขา. ด้วยเหตุนั้น เราจึงเข้าใจว่าเพลงสรรเสริญบท 91 เป็นคำสัญญาที่พระเจ้าจะทรงให้การปกป้องฝ่ายวิญญาณ.
11. “ที่อันลับแห่งผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุด” คืออะไร และพระเจ้าทรงปกป้องใครในที่แห่งนั้น?
เพลง. 15:1, 2; 121:5) ที่ดังกล่าวเป็นที่ลับเพราะผู้ไม่มีความเชื่อไม่อาจจะเข้าใจได้. ในที่อันลับนี้ พระยะโฮวาทรงปกป้องประชาชนที่กล่าวในทำนองเดียวกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญว่า “พระองค์เป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า ๆ วางใจในพระองค์.” ถ้าเราอยู่ในที่คุ้มภัยนี้เสมอ เราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเกินไปว่าจะสูญเสียความโปรดปรานจากพระเจ้าเพราะติดบ่วงแร้วของซาตานที่เป็นเหมือน “นายพราน.”
11 ดังนั้น “ที่อันลับแห่งผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุด” ที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวถึงจึงเป็นสถานที่โดยนัยที่ให้การปกป้องฝ่ายวิญญาณ. คนที่พักอาศัยที่นั่นในฐานะแขกของพระองค์จะปลอดภัยจากสิ่งใด ๆ หรือใครก็ตามที่เป็นอันตรายต่อความเชื่อและความรักที่พวกเขามีต่อพระเจ้า. (12. มีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายต่อสายสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า?
12 มีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายต่อสายสัมพันธ์อันล้ำค่าของเรากับพระเจ้า? ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวถึงอันตรายหลายอย่าง รวมถึง “โรคห่าที่ระบาดไปในเวลามืด, [และ] โรคพิษที่ล้างผลาญในเวลาตะวันเที่ยง.” (เพลง. 91:5, 6) “นายพราน” ผู้นี้ได้ดักจับหลายคนโดยใช้ความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวที่ไม่ต้องการขึ้นกับใคร. (2 โค. 11:3) มันจับคนอื่น ๆ ด้วยการส่งเสริมความโลภ, ความหยิ่ง, และวัตถุนิยม. ยังมีอีกหลายคนที่มันชักนำให้หลงด้วยปรัชญาต่าง ๆ อย่างเช่น ชาตินิยม, ทฤษฎีวิวัฒนาการ, และศาสนาเท็จ. (โกโล. 2:8) และหลายคนถูกลวงให้ติดกับดักของการมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ถูกต้อง. อันตรายฝ่ายวิญญาณเหล่านี้ซึ่งเป็นเหมือนกับโรคระบาดที่ก่อผลเสียหายทำให้หลายล้านคนสูญเสียความรักที่มีต่อพระเจ้า.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 91:7-10; มัด. 24:12
วิธีปกป้องความรักที่คุณมีต่อพระเจ้า
13. พระยะโฮวาทรงปกป้องเราไว้อย่างไรจากสิ่งที่เป็นอันตรายฝ่ายวิญญาณ?
13 พระยะโฮวาทรงปกป้องประชาชนของพระองค์ไว้จากอันตรายฝ่ายวิญญาณเหล่านี้อย่างไร? บทเพลงสรรเสริญกล่าวว่า “พระองค์จะให้พวกทูตของพระองค์คุ้มครองท่าน, ให้ระวังรักษาท่านตามมรคาของท่านทั้งสิ้น.” (เพลง. 91:11) ทูตสวรรค์ชี้นำและปกป้องเราเพื่อช่วยเราให้สามารถประกาศข่าวดี. (วิ. 14:6) นอกจากทูตสวรรค์แล้ว คริสเตียนผู้ปกครองก็ปกป้องเราไว้จากการถูกล่อลวงด้วยการหาเหตุผลผิด ๆ โดยที่พวกเขายึดมั่นกับพระคัมภีร์ในการสอนของตน. พวกเขาสามารถช่วยแต่ละคนที่พยายามอย่างหนักที่จะเอาชนะทัศนะแบบโลก. (ทิทุส 1:9; 1 เป. 5:2) นอกจากนั้น “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ยังจัดให้มีอาหารฝ่ายวิญญาณเพื่อปกป้องเราไว้จากคำสอนเรื่องวิวัฒนาการ, การล่อใจด้วยความปรารถนาที่ผิดศีลธรรม, การมุ่งแสวงหาความร่ำรวยและชื่อเสียง, และความปรารถนาและอิทธิพลอื่น ๆ อีกมากมายที่ก่อผลเสียหาย. (มัด. 24:45) อะไรได้ช่วยคุณให้ต้านทานอันตรายเหล่านี้?
14. เราสามารถรับประโยชน์โดยวิธีใดจากการปกป้องที่พระเจ้าทรงจัดให้?
14 เราต้องทำอะไรเพื่อจะอยู่ต่อ ๆ ไปใน “ที่อันลับ” ของพระเจ้าที่ให้การปกป้อง? เช่นเดียวกับที่เราปกป้องตัวเราเองเสมอจากอันตรายต่าง ๆ ด้านร่างกาย เช่น อุบัติเหตุ, อาชญากรรม, หรือการติดเชื้อ เราก็ต้องปกป้องตัวเราเองจากอันตรายฝ่ายวิญญาณต่อ ๆ ไป. ดังนั้น เราควรรับประโยชน์เป็นประจำจากการชี้นำที่พระยะโฮวาทรงจัดให้ซึ่งมีสุภา. 13:20; อ่าน 1 เปโตร 4:10
อยู่ในสรรพหนังสือต่าง ๆ และที่การประชุมประชาคมและการประชุมใหญ่. เราขอคำแนะนำจากผู้ปกครอง. และเราได้รับประโยชน์จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของพี่น้องคริสเตียนมิใช่หรือ? จริงทีเดียว การคบหาสมาคมกับประชาคมช่วยเราให้เป็นคนมีปัญญา.—15. เหตุใดคุณจึงเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาทรงสามารถปกป้องคุณไว้จากสิ่งใดก็ตามที่อาจทำให้คุณไม่เป็นที่พอพระทัยพระองค์?
15 เราไม่มีเหตุผลที่จะสงสัยว่าพระยะโฮวาสามารถปกป้องเราไว้จากสิ่งใด ๆ ที่อาจทำให้เราไม่เป็นที่พอพระทัยได้หรือไม่. (โรม 8:38, 39) พระองค์ทรงปกป้องประชาคมไว้จากศัตรูทางศาสนาและทางการเมืองที่มีอำนาจมากซึ่งมักไม่ได้มีเป้าหมายที่จะฆ่าเรา แต่ต้องการจะพรากเราไปจากพระเจ้าองค์บริสุทธิ์. คำสัญญาของพระยะโฮวาปรากฏว่าเป็นความจริง ที่ว่า “ไม่มีเครื่องมืออันใดที่สร้างไว้ประหารเจ้าจะสัมฤทธิ์ผล.”—ยซา. 54:17
ใครให้เสรีภาพแก่เรา?
16. เหตุใดโลกนี้ไม่อาจให้เสรีภาพแก่เราได้?
16 การเป็นคนของพระยะโฮวาจะทำให้เราขาดเสรีภาพไหม? ในทางตรงกันข้าม การเป็นคนของโลกต่างหากที่ทำให้เราขาดเสรีภาพ. โลกนี้เหินห่างจากพระยะโฮวาและปกครองโดยพระเจ้าที่โหดร้ายซึ่งทำให้ผู้คนตกเป็นทาส. (โย. 14:30) ตัวอย่างเช่น ระบบของซาตานใช้ความกดดันทางเศรษฐกิจทำให้ผู้คนขาดเสรีภาพ. (เทียบกับวิวรณ์ 13:16, 17) บาปยังมีอำนาจล่อลวงที่ทำให้ผู้คนตกเป็นทาสด้วย. (โย. 8:34; ฮีบรู 3:13) ดังนั้น แม้ว่าคนที่ไม่มีความเชื่ออาจสัญญาว่าจะให้เสรีภาพเมื่อพวกเขาส่งเสริมวิถีชีวิตที่ขัดกับคำสอนของพระยะโฮวา แต่ในไม่ช้าใครก็ตามที่ฟังพวกเขาก็จะพบว่าตัวเองตกเป็นทาสของรูปแบบชีวิตที่ผิดบาปและเสื่อมทราม.—โรม 1:24-32
17. พระยะโฮวาจะประทานเสรีภาพแบบใดแก่เรา?
17 ในทางตรงกันข้าม พระยะโฮวาจะทรงปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากทุกสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อเราถ้าเราฝากชีวิตไว้กับพระองค์. ในบางแง่ สถานการณ์ของเราคล้ายกับสถานการณ์ของใครคนหนึ่งที่ฝากชีวิตไว้กับศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญซึ่งสามารถช่วยเขาให้หายจากอาการป่วยที่เป็นอันตรายถึงชีวิต. เราทุกคนอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายถึงชีวิตเพราะเราได้รับบาปตกทอดมา. เฉพาะแต่เมื่อเราฝากชีวิตไว้กับพระยะโฮวาโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์เท่านั้นเราจึงมีความหวังที่จะหลุดพ้นจากผลกระทบของบาปและมีชีวิตตลอดไปได้. (โย. 3:36) เช่นเดียวกับที่ความเชื่อมั่นในตัวศัลยแพทย์อาจเพิ่มขึ้นเมื่อเรารู้จักชื่อเสียงของเขา ความไว้วางใจพระยะโฮวาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อเราเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์ต่อ ๆ ไป. ดังนั้น เราศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างละเอียดต่อ ๆ ไป เพราะการทำอย่างนั้นจะช่วยเราให้รักพระองค์และไม่กลัวที่จะเป็นคนของพระองค์.—1 โย. 4:18
18. ประชาชนที่เป็นคนของพระยะโฮวาจะได้รับผลเช่นไร?
18 พระยะโฮวาประทานเสรีภาพในการเลือกแก่ทุกคน. พระคำของพระองค์กล่าวว่า “เจ้าทั้งหลายจะเลือก เอาข้างชีวิต, ตัวเจ้าและเผ่าพันธุ์ของเจ้าจะได้มีชีวิตจำเริญอยู่; เพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้รักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า.” (บัญ. 30:19, 20) พระองค์ทรงประสงค์ให้เราแสดงความรักต่อพระองค์ด้วยการเลือกด้วยตัวเราเองที่จะรับใช้พระองค์. แทนที่จะทำให้เราขาดเสรีภาพ การเป็นคนของพระเจ้าที่เรารักจะทำให้เรามีความสุขอยู่เสมออย่างแน่นอน.
19. เหตุใดการเป็นคนของพระยะโฮวาจึงเป็นพระกรุณาอันใหญ่หลวง?
19 ในฐานะมนุษย์ผิดบาป เราไม่คู่ควรจะเป็นคนของพระเจ้าองค์สมบูรณ์. เป็นเพราะพระกรุณาอันใหญ่หลวงของพระเจ้าเท่านั้นเราจึงเป็นคนของพระเจ้าได้. (2 ติโม. 1:9) ด้วยเหตุนั้น เปาโลจึงเขียนว่า “ถ้าเราอยู่ เราก็อยู่เพื่อพระยะโฮวา และถ้าเราตาย เราก็ตายเพื่อพระยะโฮวา. ฉะนั้น ไม่ว่าเราอยู่หรือตาย เราก็เป็นคนของพระยะโฮวา.” (โรม 14:8) เราจะไม่มีวันเสียใจอย่างแน่นอนที่เลือกเป็นคนของพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การเป็นคนของพระยะโฮวามีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
• เหตุใดเราจึงสามารถทำสิ่งที่พระเจ้าทรงคาดหมายให้เราทำ?
• พระยะโฮวาทรงจัดให้มีการปกป้องเพื่อผู้รับใช้ของพระองค์อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 8]
ลองถามคนอื่น ๆ ดูว่าพวกเขาได้รับ ประโยชน์อย่างไรจากการเป็นคนของพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 10]
พระยะโฮวาทรงจัดให้มีการปกป้องด้วยวิธีใดบ้าง?