จงส่งเสริมประชาคมต่อ ๆ ไป
จงส่งเสริมประชาคมต่อ ๆ ไป
“จงชูใจกันและส่งเสริมกันเรื่อยไป.”—1 เทส. 5:11
1. การอยู่ในประชาคมคริสเตียนทำให้เราได้รับพระพรอะไรบ้าง แต่เราอาจยังต้องรับมือกับปัญหาอะไรอยู่?
การเป็นสมาชิกประชาคมคริสเตียนเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง. คุณมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา. การที่คุณหมายพึ่งพระคำของพระองค์ให้ช่วยชี้นำป้องกันคุณไว้จากผลเสียหายที่เกิดจากการดำเนินชีวิตที่ขัดกับหลักการคริสเตียน. คุณมีเพื่อนแท้ที่อยากเห็นคุณทำดีอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ. มีพระพรมากมายจริง ๆ. อย่างไรก็ตาม คริสเตียนส่วนใหญ่กำลังรับมือกับปัญหาไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง. บางคนอาจต้องการความช่วยเหลือเพื่อจะเข้าใจสิ่งที่ลึกซึ้งกว่าในพระคำของพระเจ้า. บางคนป่วยหรือซึมเศร้า หรือเขาอาจกำลังรับผลกระทบจากการตัดสินใจที่ไม่ฉลาด. และเราทุกคนต้องใช้ชีวิตในโลกที่เหินห่างจากพระเจ้า.
2. เราควรมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อพี่น้องของเราประสบความทุกข์ลำบาก และเพราะเหตุใด?
1 โค. 12:12, 26) ในสถานการณ์เช่นนั้น เราควรพยายามช่วยเหลือพี่น้องของเรา. มีบันทึกหลายตอนในพระคัมภีร์ที่บอกว่าสมาชิกประชาคมคริสเตียนช่วยกันให้สามารถรับมือและเอาชนะปัญหาต่าง ๆ. ขณะที่เราพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ขอให้คิดถึงวิธีต่าง ๆ ที่คุณอาจให้ความช่วยเหลือคล้าย ๆ กัน. คุณจะช่วยพี่น้องได้อย่างไรให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ ซึ่งโดยวิธีนั้นเป็นการส่งเสริมประชาคมของพระยะโฮวา?
2 ไม่มีใครในพวกเราอยากเห็นเพื่อนคริสเตียนทนทุกข์หรือต้องรับมือกับปัญหา. อัครสาวกเปาโลเปรียบประชาคมเหมือนกับร่างกายและกล่าวว่า “ถ้าอวัยวะหนึ่งทุกข์ อวัยวะทั้งหมดก็ทุกข์ด้วย.” (‘พวกเขาจึงรับเขามา’
3, 4. อะคีลัสและปริสกิลลาช่วยอะโปลโลสอย่างไร?
3 เมื่ออะโปลโลสมาอยู่ที่เมืองเอเฟโซส์ เขาเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดีที่มีความกระตือรือร้นอยู่แล้ว. บันทึกในหนังสือกิจการบอกว่า “ด้วยความมีใจแรงกล้าเนื่องด้วยพระวิญญาณ เขาจึงพูดและสอนเรื่องพระเยซูอย่างถูกต้อง แต่ก็รู้แค่เรื่องบัพติสมาของโยฮันเท่านั้น.” การที่อะโปลโลสไม่รู้เรื่องการรับบัพติสมา “ในนามของพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์” แสดงว่าสาวกของโยฮันผู้ให้บัพติสมาหรือสาวกของพระเยซูคงประกาศกับเขาก่อนวันเพนเทคอสต์สากลศักราช 33. แม้ว่าอะโปลโลสมีใจแรงกล้า แต่มีเรื่องสำคัญบางเรื่องที่เขาไม่เข้าใจ. การคบหากับเพื่อนร่วมความเชื่อช่วยเขาอย่างไร?—กิจ. 1:4, 5; 18:25; มัด. 28:19
4 อะคีลัสกับปริสกิลลา คู่สมรสคริสเตียน ได้ยินว่าอะโปลโลสพูดอย่างกล้าหาญในธรรมศาลา ทั้งสองก็รับเขามาและสอนเขาให้เข้าใจมากขึ้น. (อ่านกิจการ 18:24-26) นั่นนับว่าเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นถึงความรัก. แน่นอน อะคีลัสและปริสกิลลาคงเข้าไปพูดคุยกับอะโปลโลสด้วยท่าทีที่ผ่อนหนักผ่อนเบาและพร้อมจะช่วยเหลือ โดยไม่ทำให้เขารู้สึกว่ากำลังถูกตำหนิ. เขาเพียงแต่ไม่รู้ประวัติความเป็นมาของประชาคมคริสเตียนในยุคเริ่มแรก. และไม่ต้องสงสัยเลยว่าอะโปลโลสรู้สึกขอบคุณเพื่อนใหม่ที่อธิบายรายละเอียดที่สำคัญเหล่านี้ให้เขาเข้าใจ. เมื่อมีความรู้อย่างนั้นแล้ว อะโปลโลสก็ “ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างมาก” แก่พี่น้องในแคว้นอะคายะและประกาศอย่างมีน้ำหนัก.—กิจ. 18:27, 28
5. ผู้ประกาศราชอาณาจักรจำนวนมากเสนอจะให้ความช่วยเหลืออะไรด้วยความรัก และนั่นทำให้เกิดผลเช่นไร?
5 ปัจจุบัน หลายคนในประชาคมคริสเตียนรู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งต่อคนที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจคัมภีร์ไบเบิล. นักศึกษากับผู้สอนจำนวนมากได้สร้างมิตรภาพที่ยั่งยืน. ในกรณีส่วนใหญ่ การช่วยผู้คนให้เข้าใจความจริงต้องกำหนดตารางเวลาไว้เพื่อจะศึกษาพระคัมภีร์กับพวกเขาเป็นประจำนานหลายเดือน. อย่างไรก็ตาม ผู้ประกาศราชอาณาจักรเต็มใจเสียสละทำอย่างนั้นเพราะพวกเขาตระหนักว่านี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของผู้คน. (โย. 17:3) และเป็นเรื่องที่ทำให้ยินดีจริง ๆ ที่เห็นผู้คนเข้าใจความจริง, ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความจริง, และใช้ชีวิตตามพระประสงค์ของพระยะโฮวา!
‘พี่น้องต่างกล่าวถึง เขาในทางที่ดี’
6, 7. (ก) เหตุใดเปาโลเลือกติโมเธียวเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง? (ข) ติโมเธียวได้รับความช่วยเหลือให้ทำความก้าวหน้าอะไร?
6 เมื่ออัครสาวกเปาโลและซีลัสเยี่ยมเมืองลิสตราระหว่างการเดินทางรอบที่สองในงานมิชชันนารี ทั้งสองพบชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อติโมเธียวซึ่งคงมีอายุเกือบยี่สิบปีหรือยี่สิบต้น ๆ. “พี่น้องในเมืองลิสตราและเมืองอิโกนิอันต่างกล่าวถึงติโมเธียวในทางที่ดี.” ยูนิเกมารดาของติโมเธียวและโลอิสยายของเขาเป็นคริสเตียนที่อุทิศตัวแล้ว แต่บิดาของเขาไม่ได้เป็นผู้มีความเชื่อ. (2 ติโม. 1:5) เปาโลอาจเริ่มรู้จักกับครอบครัวนี้ตั้งแต่ที่ท่านเยี่ยมเมืองนี้ในครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน. แต่ในครั้งนี้ท่านอัครสาวกแสดงความสนใจเป็นพิเศษต่อติโมเธียว เพราะดูเหมือนว่าเขาเป็นชายหนุ่มที่โดดเด่น. ดังนั้น ด้วยความเห็นชอบจากคณะผู้ปกครองในท้องถิ่น ติโมเธียวได้มาเป็นผู้ช่วยของเปาโลในงานมิชชันนารี.—อ่านกิจการ 16:1-3
7 มีหลายสิ่งที่ติโมเธียวต้องเรียนจากเพื่อนร่วมงานที่อายุมากกว่า. แต่ติโมเธียวพร้อมจะเรียนรู้และก้าวหน้าจนถึงขั้นที่ในที่สุดเปาโลสามารถไว้วางใจส่งเขาไปเยี่ยมประชาคมต่าง ๆ และเป็นผู้ทำหน้าที่แทนท่าน. ในช่วง 15 ปีหรือราว ๆ นั้นที่ติโมเธียวร่วมงานกับเปาโล ชายหนุ่มที่ขาดประสบการณ์และอาจเป็นคนขี้อายด้วยได้ก้าวหน้าจนกลายมาเป็นผู้ดูแลที่ดีเยี่ยม.—ฟิลิป. 2:19-22; 1 ติโม. 1:3
8, 9. สมาชิกในประชาคมสามารถทำอะไรเพื่อกระตุ้นหนุนใจคนหนุ่มสาว? จงยกตัวอย่าง.
8 หนุ่มสาวหลายคนในประชาคมคริสเตียนทุกวันนี้มีศักยภาพที่จะก้าวหน้าได้มาก. หากได้รับการสนับสนุนและการดูแลจากเพื่อนผู้รับใช้ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการนมัสการพระเจ้า คนหนุ่มสาวเหล่านี้สามารถพยายามเพื่อจะได้ทำหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้นในหมู่ประชาชนของพระยะโฮวา. ขอให้มองไปรอบ ๆ ในประชาคมของคุณ! คุณเห็นว่ามีคนหนุ่มสาวคนใดไหมที่อยู่พร้อมจะรับหน้าที่รับผิดชอบเหมือนกับติโมเธียว? ด้วยความช่วยเหลือและกำลังใจที่ได้รับจากคุณ ในที่สุดพวกเขาอาจเป็นไพโอเนียร์, สมาชิกครอบครัวเบเธล, มิชชันนารี, หรือผู้ดูแลเดินทาง. คุณอาจทำอะไรได้เพื่อช่วยพวกเขาให้พยายามบรรลุเป้าหมายเช่นนั้น?
9 มาร์ติน ซึ่งเป็นสมาชิกครอบครัวเบเธลมา 20 ปีแล้ว เล่าด้วยความรู้สึกขอบคุณที่ผู้ดูแลหมวดแสดงความสนใจต่อเขาเมื่อ 30 ปีก่อนขณะที่ทั้งสองทำงานรับใช้ในเขตประกาศด้วยกัน. ผู้ดูแลหมวดเล่าอย่างกระตือรือร้นถึงงานรับใช้ในเบเธลที่เขาเคยทำตอนที่ยังหนุ่ม. เขาสนับสนุนมาร์ตินให้พิจารณาว่าเป็นไปได้ไหมที่เขาเองจะทำตัวให้อยู่พร้อมที่องค์การของพระยะโฮวาจะใช้เขาได้ในลักษณะเดียวกันนั้น. มาร์ตินคิดว่าการสนทนานี้ซึ่งเขาจำได้ไม่ลืมส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของเขาในเวลาต่อมา. ใครจะรู้ล่ะว่าการที่คุณ พูดคุยกับเพื่อนวัยเยาว์เหล่านี้ในเรื่องการตั้งเป้าหมายในการรับใช้พระเจ้าอาจก่อผลดีอย่างไรต่อพวกเขา?
“พูดปลอบโยนคนทุกข์ใจ”
10. เอปาโฟรดิทุสรู้สึกอย่างไร และเพราะเหตุใด?
10 เอปาโฟรดิทุสเดินทางไกลด้วยความเหนื่อยล้าจากเมืองฟิลิปปอยมายังกรุงโรมเพื่อเยี่ยมอัครสาวกเปาโลซึ่งถูกคุมขังเพราะความเชื่อของท่าน. เขาทำหน้าที่เป็นตัวแทนพี่น้องชาวฟิลิปปอย. เขาไม่เพียงแค่นำของฝากมาให้อัครสาวกเปาโลเท่านั้น แต่เขายังวางแผนที่จะอยู่กับท่านและทำอะไรก็ได้ที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเปาโลซึ่งตกอยู่ในสภาพลำบาก. แต่เมื่ออยู่ที่กรุงโรม เอปาโฟรดิทุสล้มป่วย “เจียนตาย.” เอปาโฟรดิทุสรู้สึกหดหู่เพราะคิดว่าเขาล้มเหลวในงานที่ได้รับมอบหมาย.—ฟิลิป. 2:25-27
11. (ก) เหตุใดเราไม่ควรแปลกใจถ้าบางคนในประชาคมซึมเศร้า? (ข) เปาโลแนะนำอะไรในกรณีของเอปาโฟรดิทุส?
11 ความกดดันหลายอย่างเป็นเหตุให้ผู้คนในทุกวันนี้เป็นโรคซึมเศร้า. สถิติจากองค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรมากถึง 1 ใน 5 อาจเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในชีวิต. ประชาชนของพระยะโฮวาบางคนก็ต้องรับมือกับโรคนี้ด้วย. ปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูครอบครัว, ปัญหาสุขภาพ, ความท้อแท้เพราะความล้มเหลว, หรือปัจจัยอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเรารู้สึกหดหู่ใจ. พี่น้องชาวฟิลิปปอยสามารถทำอะไรเพื่อช่วยเอปาโฟรดิทุส? เปาโลเขียนว่า “ขอให้ต้อนรับเขาด้วยความยินดียิ่งอย่างที่สาวกขององค์พระผู้เป็นเจ้าต้อนรับกัน และจงยกย่องนับถือคนอย่างนี้ เนื่องจากเขาเกือบต้องตายเพราะเห็นแก่งานขององค์พระผู้เป็นเจ้า โดยเสี่ยงชีวิตเพื่อทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่องแทนพวกท่านซึ่งไม่ได้อยู่รับใช้ข้าพเจ้าที่นี่.”—ฟิลิป. 2:29, 30
12. อะไรอาจช่วยคนที่ซึมเศร้าให้รู้สึกสบายใจขึ้น?
12 พวกเราควรหนุนใจพี่น้องที่ท้อใจหรือซึมเศร้าด้วย. ไม่ต้องสงสัยว่ามีคำพูดในแง่บวกหลายอย่างที่เราสามารถพูดได้เกี่ยวกับงานรับใช้ที่พวกเขาทำถวายพระยะโฮวา. พวกเขาอาจได้เปลี่ยนแปลงชีวิตขนานใหญ่เพื่อเข้ามาเป็นคริสเตียนหรือเพื่อจะรับใช้เต็มเวลา. เราเห็นค่าความพยายามเหล่านั้น และเราสามารถบอกให้พวกเขามั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงเห็นค่าความพยายามของพวกเขาด้วยเช่นกัน. แม้ว่าถ้าอายุที่มากขึ้นหรือปัญหาสุขภาพทำให้ผู้ซื่อสัตย์บางคนไม่สามารถทำทุกสิ่งที่พวกเขาเคยทำได้ พวกเขาก็ยังสมควรได้รับความนับถือจากเราสำหรับการรับใช้ที่พวกเขาได้ทำเป็นเวลาหลายปี. ไม่ว่าจะในกรณีใด พระยะโฮวาทรงแนะนำเหล่าผู้ซื่อสัตย์ทุกคนว่า “[จง] พูดปลอบโยนคนทุกข์ใจ ช่วยเหลือคนอ่อนแอ แสดงความอดกลั้นต่อคนทั้งปวง.”—1 เทส. 5:14
“เต็มใจให้อภัย และปลอบโยนเขา”
13, 14. (ก) ประชาคมโครินท์ลงมือทำอะไรอย่างเด็ดขาด และเพราะเหตุใด? (ข) การตัดสัมพันธ์ทำให้เกิดผลเช่นไร?
13 ประชาคมโครินท์ในศตวรรษแรกต้องจัดการกับกรณีที่มีชายคนหนึ่งทำผิดประเวณีและไม่กลับใจ. การประพฤติของเขาเป็นภัยต่อความบริสุทธิ์ของประชาคมและเป็นเรื่องน่าอายแม้แต่ในหมู่คนที่ไม่มีความเชื่อ. ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ที่เปาโลแนะนำให้ขับไล่ชายคนนี้ออกไปจากประชาคม.—1 โค. 5:1, 7, 11-13
14 การตีสอนนั้นก่อผลดี. ประชาคมได้รับการปกป้องจากอิทธิพลที่เสื่อมทราม และชายที่ทำผิดก็สำนึกผิดและกลับใจอย่างแท้จริง. เมื่อพิจารณาการกระทำที่สมกับการกลับใจของชายคนนี้ เปาโลจึงบอกไว้ในจดหมายฉบับที่สองถึงประชาคมนี้ว่าควรรับชายคนนี้กลับสู่ฐานะเดิม. อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านั้น. เปาโลยังแนะนำประชาคมนี้ด้วยว่าควร “เต็มใจให้อภัยและปลอบโยน [ชายผู้ทำผิดที่กลับใจ] . . . เขาจะได้ไม่จมอยู่ในความทุกข์ใจเหลือล้น.”—อ่าน 2 โครินท์ 2:5-8
15. เราควรมองผู้ทำผิดที่ถูกรับกลับสู่ฐานะเดิมในประชาคมอย่างไร?
15 เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? เรารู้สึกเศร้าใจเมื่อมีใครถูกตัดสัมพันธ์. พวกเขาอาจทำให้พระนามของพระเจ้าเสื่อมเสียและทำให้ประชาคมเสียชื่อเสียง. พวกเขาอาจทำผิดต่อเราเป็นส่วนตัวเสียด้วยซ้ำ. ถึงกระนั้น เมื่อผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาตัดสินความได้ตัดสินอย่างที่สอดคล้องกับคำแนะนำที่มาจากพระยะโฮวาว่าผู้ทำผิดที่กลับใจควรถูกรับกลับสู่ฐานะเดิมในประชาคม นั่นแสดงว่ามัด. 18:17-20) เราควรพยายามเลียนแบบพระยะโฮวาในเรื่องนี้มิใช่หรือ? ที่จริง การแสดงความแข็งกร้าวและไม่ให้อภัยย่อมเท่ากับเป็นการต่อต้านพระยะโฮวา. เพื่อส่งเสริมสันติสุขและเอกภาพในประชาคมของพระเจ้าและได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวา เราควรแสดงออกให้ผู้ทำผิดที่กลับใจอย่างแท้จริงและถูกรับกลับสู่ฐานะเดิม ‘แน่ใจว่าเรารักเขา’ มิใช่หรือ?—มัด. 6:14, 15; ลูกา 15:7
พระยะโฮวาทรงให้อภัยเขาแล้ว. (“เขาเป็นประโยชน์ ต่อข้าพเจ้า”
16. เหตุใดเปาโลจึงผิดหวังในตัวมาระโก?
16 บันทึกอีกเรื่องหนึ่งในพระคัมภีร์ชี้ให้เห็นว่าเราไม่ควรเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนที่ทำให้เราผิดหวังไว้ในใจ. ตัวอย่างเช่น โยฮันมาระโกทำให้อัครสาวกเปาโลผิดหวังอย่างมาก. โดยวิธีใด? เมื่อเปาโลกับบาร์นาบัสเริ่มเดินทางในงานมิชชันนารีรอบแรก มาระโกไปด้วยเพื่อช่วยพวกเขา. แต่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งของการเดินทางและด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง โยฮันมาระโกทิ้งเพื่อนร่วมเดินทางและกลับบ้าน. เปาโลผิดหวังมากในเรื่องนี้และเมื่อวางแผนสำหรับการเดินทางรอบสอง ท่านขัดแย้งกับบาร์นาบัสในเรื่องที่ว่าควรจะพามาระโกไปด้วยอีกหรือไม่. เมื่อเปาโลพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในการเดินทางรอบแรก ท่านไม่ต้องการให้มาระโกเดินทางไปด้วย.—อ่านกิจการ 13:1-5, 13; 15:37, 38
17, 18. เรารู้ได้อย่างไรว่าความขัดแย้งระหว่างเปาโลกับมาระโกได้รับการแก้ไขในที่สุด และเราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
17 ดูเหมือนว่า มาระโกไม่ปล่อยให้ตัวเองท้อใจจนเกินไปกับการปฏิเสธของเปาโล เพราะเขายังคงทำงานมิชชันนารีต่อไปในอีกเขตหนึ่งร่วมกับบาร์นาบัส. (กิจ. 15:39) สิ่งที่พิสูจน์ว่าเขาซื่อสัตย์และไว้วางใจได้เห็นได้จากถ้อยคำที่เปาโลเขียนเกี่ยวกับเขาหลังจากนั้นหลายปี. เปาโล ซึ่งตอนนี้ถูกคุมขังในกรุงโรม เขียนจดหมายเรียกติโมเธียวให้มาหาท่าน. ในจดหมายฉบับเดียวกันนี้ เปาโลกล่าวว่า “จงพามาระโกมากับท่านด้วย เพราะเขาเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าในงานรับใช้.” (2 ติโม. 4:11) ใช่แล้ว เปาโลเชื่อแล้วว่ามาระโกได้ปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น.
18 เราได้บทเรียนอย่างหนึ่งจากเรื่องนี้. มาระโกได้พัฒนาคุณลักษณะของมิชชันนารีที่ดี. เขาไม่สะดุดเมื่อถูกเปาโลปฏิเสธในตอนแรก. ตัวเขาเองและเปาโลต่างก็เป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณ และไม่ปล่อยให้ความรู้สึกที่ไม่ดีมาขวางกั้นเขาทั้งสอง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ในเวลาต่อมาเปาโลยอมรับว่ามาระโกเป็นผู้ช่วยที่มีค่า. ดังนั้น เมื่อพี่น้องเอาชนะข้อขัดแย้งและแก้ปัญหาให้หมดไป สิ่งที่ควรทำก็คือเดินหน้าต่อไปและช่วยคนอื่นให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณต่อ ๆ ไป. การมองคนอื่นในแง่ดีช่วยส่งเสริมประชาคม.
ประชาคมและคุณ
19. สมาชิกทุกคนในประชาคมคริสเตียนสามารถช่วยกันอย่างไร?
19 ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากจะรับมือได้” นี้ คุณจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพี่น้องในประชาคมและพวกเขาก็จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากคุณ. (2 ติโม. 3:1) คริสเตียนแต่ละคนอาจไม่รู้เสมอไปว่าควรทำอย่างไรเพื่อจะจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาเผชิญอยู่ แต่พระยะโฮวาทรงทราบ. และพระองค์ทรงสามารถใช้สมาชิกหลาย ๆ คนในประชาคม รวมทั้งตัวคุณ ให้ช่วยคนอื่น ๆ ดำเนินในแนวทางที่ถูกต้อง. (ยซา. 30:20, 21; 32:1, 2) ดังนั้น ขอให้เราเอาใจใส่คำกระตุ้นเตือนของอัครสาวกเปาโล! “จงชูใจกันและส่งเสริมกันเรื่อยไปอย่างที่พวกท่านทำอยู่แล้ว.”—1 เทส. 5:11
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดจึงจำเป็นต้องส่งเสริมคนอื่น ๆ ในประชาคมคริสเตียน?
• คุณอาจช่วยคนอื่น ๆ ให้เอาชนะปัญหาแบบใดได้บ้าง?
• เหตุใดเราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ในประชาคม?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 11]
เมื่อเพื่อนคริสเตียนต้องรับมือกับปัญหา เราสามารถให้ความช่วยเหลือ
[ภาพหน้า 12]
หนุ่มสาวหลายคนในประชาคมคริสเตียนทุกวันนี้มีศักยภาพที่จะก้าวหน้าได้มาก